แนวข้อสอบการมีส่วนทางการเมือง ( Political Participation)

อลัน ลูล๊อคและโอลิเวอร์ สตอลลี่ แบรส กล่าวว่าการมีส่วนร่วมหมายถึงการที่บุคคลจะได้รับประโยชน์จากการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองในการตัดสินใจกับสถาบันการเมืองและสังคม

เฮอร์เบิร์ท แมคคอสกี้ กล่าวว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองว่าเป็นกิจกรรมต่างๆที่เป็นไปด้วยสมัครใจ (Voluntary Activities) ของสมาชิกในสังคม ที่จะมีส่วนร่วมในการคัดเลือกผู้ปกครองและกำหนดนโยบายสาธารณะ (Public Policy ) อาจจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม

แซมมวล ฮันติงตันและโจน เนลสัน ให้ความหมายว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นกิจกรรมของประชาชนแต่ละบุคคลที่มีความมุ่งหมายเพื่อที่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของรัฐบาล เกิดจากจิตสำนึกหรือระดมไปก็ได้ (Mobilized participation)

โดยสรุป การมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political participation) หมายถึงการปฏิบัติการใดๆโดยสมัครใจหรือไม่ก็ได้ อาจจะถูกระดมหรือถูกบังคับ ก็ถือว่าเป็รการมีส่วนร่วมทางการเมือง ไม่ว่าจะบรรลุความสำเร็จหรือไม่ มีการจัดตั้งองค์กรหรือไม่ หรือจะเกิดขึ้นอย่างชั่วคราวหรือมีความต่อเนื่องและจะใช้วิธีที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะมีอิทธิพลต่อการเลือกใช้นโยบายสาธารณะ(Public policy) การบริหารนโยบายสาธารณะและการเลือกผู้นำทางการเมืองในระดับต่างๆ ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น

สำหรับการมีส่วนร่วมทางการเมือง ตาม รธน.40 แยกประเด็นดังนี้(อ.สุรพันธ์)

1.การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบบคือ “การมีส่วนร่วมทางการเมืองในโครงสร้างที่เป็นระบบ (Formal Politics) หรือจะเรียกว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่เป็นทางการ ซึ่งก็หมายความว่าเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญรองรับให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง เช่นการเลือกตั้ง หรือการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยผ่านองค์กรต่างๆ เช่น พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และกระบวนการเลือกตั้ง

1.1.การเลือกตั้ง(Election) รธน.40 ได้กำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชนชาวไทยทุกคน (รธน.40 ม.68)ต้องไปเลือกตั้ง และ รธน.40 ม.105 ได้บัญญัติให้คนไทยชาย หญิงที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไปมีสิทธิ์เลือกตั้งเป็นการขยายการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้แก่ประชาชนอีกประมาณ 1ล้าน 8 พันคน ในลักษณะนี้เรียกว่าเป็น “การพัฒนาทางการเมือง(Political Development) หมายถึงการขยายสิทธิ์การมีส่วนร่วมทางการเมืองให้แก่พลเมืองของประเทศ

การเลือกตั้ง (Election) คือการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่มีความสำคัญอย่างมากในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะประเด็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการเลือกตั้ง ซึ่งการจะเกิดการมีส่วนร่วมทางการเมือง นั้นประชาชนจะต้องตะหนักและเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการเลือกตั้งก่อนจึงจะเข้าไปมีส่วนร่วมการเมืองเมืองได้

การเลือกตั้งเป็นการสร้างการยอมรับทางการเมืองทำหใรัฐบาลเป็นรัฐบาลที่ยอมรับของประชาชนและนานาชาติ เรียกว่า “ความชอบธรรมทางการเมือง( Political Legitimacy) หมายถึงการที่ประชาชนยอมรับนักการเมือง รัฐบาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมของประชาชนก็จะไม่เกิด ความชอบธรรม เพราะฉะนั้นนานาชาติจะไม่ให้การรับรอง ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการ ถึงแม้จะมีการเลือกตั้งก็ตาม

สรุปการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งตาม รธน.40

--*-** Suffrage การรับรองสิทธิ์เลือกตั้ง การเลือกตั้ง สส. สว.ถือว่าได้รับการแต่งตั้งจากประชาชนแล้ว รธน40 มาตรา ๑๑๗ สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง มาตรา ๑๓๒ สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง นั่นก็แสดงว่า ประชาชนได้แต่งตั้ง สส.สว เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ได้รับการเลือกตั้ง

ส่วนการแต่งตั้ง ครม. ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ มาตรา ๒๐๑ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี คนหนึ่งและรัฐมนตรีอื่น

1.2 พรรคการเมือง (political party)

เอ็ดมัน เบิร์ก (Edmund Burke) บอกว่าพรรคการเมืองคือกลุ่มคนที่มารวมตัวกันเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ ด้วยความพยายามร่วมกันตามแนวหลักการบางอย่างซึ่งเห็นพ้องต้องกัน

ให้ความหมายของเบิร์กนั้นค่อนข้างกว้าง เพราะจะมีความหมายถึงกลุ่มผลประโยชน์ด้วย เพราะถ้าพรรคการเมืองจะต้องมีความมุ่งหวังที่จะเข้าไปบริหารประเทศ เพราะพรรคการเมืองหากตั้งขึ้นมาแล้วไม่มุ่งหวังที่จะบริหารประเทซก็จะเป็นแค่กลุ่มผลประโยชน์

รอย ซี แมคริช (Roy C. Macrids) กล่าวว่าพรรคการเมือง หมายถึงสมาคม องค์กรทางการเมือง (Political Organization) ซึ่งดำเนินกิจกรรมและระดมประชาชนเข้าผนึกพลังร่วมกันโดยการประนีประนอมผลประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การเป็นผู้นำทางการเมืองในฐานะผู้ปกครองในที่สุด

เคนเนท แจนดา (Kenneth Janda) กล่าวว่าพรรคการเมืองคือองค์กรที่มีเป้าหมายจะส่งตัวแทนของตนเข้าไปมีตำแหน่งในรัฐบาล

โจเซฟ เชสซิงเจอร์ มองว่าพรรคการเมืองคือองค์การทางการเมืองที่มีความต้องการอย่างกระตือรือร้นที่จะเข้าไปแข่งขันในการเลือกตั้งเพื่อเป็นรัฐบาล

ความหมายนี้เน้นว่าจะต้องพรรคการเมืองต้องผ่านการเลือกตั้งเท่านั้นจึงเข้าไปเป็นรัฐบาลได้

เอปสไตน์ บอกว่าพรรคการเมืองกลุ่มใดๆก็ตามแม้จะรวมตัวกันหลวมๆหากลงสมัครรับเลือกตั้งก็ถือว่าเป็นพรรคการเมือง

เคย์ ลอว์สัน กล่าวว่าพรรคการเมือง หมายถึงองค์การของปัจเจกบุคคลซึ่งแสวงหาอำนาจทางการเมืองโดยกระบวนการที่มีการเลือกตั้งและที่ไม่มีการเลือกตั้งเพื่อส่งตัวแทนของตนไปใช้อำนาจดังกล่าวในฐานะรัฐบาล

สรุป พรรคการเมือง จึงหมายถึง การที่กลุ่มคนหลายคน ที่มีแนวคิดไปในทางเดียวกัน มารวมตัวกันและมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหาของชาติ ทั้งนี้จะเป็นรัฐบาลหรือไม่ก็ตามหรือ หมายถึงองค์การทางการเมืองซึ่งมีเป้าหมายที่จะเข้าไปมีอำนาจทางการเมืองในฐานะรัฐบาล

รธน.40 ได้กำหนดเกี่ยวกับการจัดตั้งพรรคการเมืองไว้ในมาตรา มาตรา ๔๗ บุคคลย่อมมีเสรีภาพ ในการรวมกันจัดตั้ง เป็นพรรคการเมือง เพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมือง ของประชาชนและเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมือง ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้น ตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้

- การจัดตั้งพรรคการเมืองทำได้ง่ายขึ้นเพียง 15 คนก็ขอจดทะเบียนพรรคการเมืองได้ (มาตรา 8 พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 กำหนดว่า “ผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ และไม่มีลักษณะที่ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมีจำนวนตั้งแต่สิบห้าคน ขึ้นไปสามารถรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองได้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเจตนารมณ์ ทางการเมืองของประชาชนและเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมืองให้เป็นไปตาม เจตนารมณ์นั้น ตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข” )
-กฎหมายพรรคการเมืองยังได้กำหนดให้พรรคการเมืองที่จดทะเบียนพรรคเมืองต้อง
ต้องจัดหาสมาชิกให้ได้ 5,000 คนภายใน 180 วัน และต้อง มีสาขาพรรคอย่างน้อยพรรคละหนึ่งสาขา(มาตรา 29 พรบ.พรรคการเมือง “ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนรับ จดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง พรรคการเมืองต้องดำเนินการให้มีสมาชิกตั้งแต่ ห้าพันคนขึ้นไป ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมีที่อยู่ในแต่ละภาคตามบัญชี รายชื่อภาคและจังหวัดที่นายทะเบียนประกาศกำหนด และมีสาขาพรรคการเมือง อย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขา”)นั่นคือการต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการพรรคการเมือง ทั้งโดยตรงคือการสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมือง การจัดพรรคการเมือง ตลอดจนให้เงินบริจาคพรรค และยังให้มีการกระจายสาขาพรรคอยู่ทั่วประเทศ นั่นก็คือการกระจายการมีส่วนร่วมในการทางเมืองในแง่ของพรรคการเมืองที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ 40

1.3 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group) คือกลุ่มคนที่มารวมกันเพื่อดำเนินกิจกรรมทางผลประโยชน์ร่วมกัน ได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน กลุ่มผลประโยชน์นี้ถ้ามีการร่วมกันอย่างแน่หนาจะพัฒนาเป็นพรรคการเมืองต่อไป

การรวมกลุ่มผลประโยชน์ใน รธน.40 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 45 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน หรือหมู่คณะอื่น

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เพื่อ รักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันมิให้มีการ ผูกขาดตัดตอนในทางเศรษฐกิจ

นั่นคือ รธน.40 ได้ให้การรับรองสิทธิของประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยผ่านกลุ่มผลประโยชน์

1.4.การมีส่วนร่วมของประชาชน กรณี 50,000 ชื่อ ตาม รธน.40

มาตรา ๑๗๐ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อ ประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณา กฎหมายตามที่กำหนดในหมวด ๓ และหมวด ๕ แห่ง รัฐธรรมนูญนี้

นั่นคือการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอร่างกฎหมาย ได้ซึ่งแต่ก่อนนั้นประชาชนไม่สามารถที่จะยื่นกฎหมายได้เองต้องรอให้ สส.หรือ รัฐบาล เป็นผู้เสนอให้ซึ่งบางครั้งก็ไม่ทันกาลไม่สามารถทันในการแก้ไขปัญหาประชาชนได้

มาตรา ๓๐๔ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อย กว่าห้าหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภามีมติตามมาตรา ๓๐๗ ให้ถอดถอนบุคคลตามมาตรา ๓๐๓ ออกจากตำแหน่งได้ คำร้องขอดังกล่าวต้องระบุ พฤติการณ์ที่กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่ง ดังกล่าวกระทำความผิดเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน

นั่นคือรัฐธรรมนูญ ได้ให้อำนาจประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของ นักการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงทางราชการ ว่าทำงานถูกต้องซื่อสัตย์สุจริตสมกับที่ประชาชนได้ไว้วางใจให้เข้าไปทำงานหรือไม่ ซึ่งแต่ก่อนนั้นประชาชนมีสิทธิ์แค่ในวันเลือกตั้งเท่านั้น เลือกแล้วเลือกเลย ต้องรอ ครบวาระหรือยุบสภาถึงจะมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง แต่ปัจจุบันประชาชนสามารถติดตามสอบการทำงานได้ทุกระยะ

1.5 การลงประชามติ (Referendum) รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ใน มาตรา ๒๑๔ “ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการ ในเรื่องใดอาจกระทบถึง ประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรีอาจปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภาเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติได้”

การลงประชามติเป็นเพียงการให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลเท่านั้นยังไม่ผลเป็นกฎหมายต้องมีการตราออกมาเป็นกฎหมายก่อนจึงจะปฏิบัติได้การออกเสียงประชามติเกิดจากแนวคิดที่ว่าผู้แทนของประชาชนในสภามีหน้าที่ในการตัดสินใจแทนประชาชนในบางเรื่องเท่านั้น แต่เรื่องสำคัญต้องให้ประชาชนตัดสินใจด้วย

การแสดงประชามติจึงเป็นการใช้อำนาจในระบอบประชาธิปไตยแบบโดยตรงของประชาชน

แต่ในต่างประเทศสามารถนำไปปฏิบัติได้ เช่นเช่นในการตัดสินใจเลือกใช้เงินปอนด์หรือเงินยูโรรัฐบาลอังกฤษต้องเปิดให้ลงประชามติ ซึ่งผลที่ออกมาคือคนอังกฤษต้องการใช้เงินปอนด์ต่อไป รวมทั้งในเบลเยี่ยมก็ยังไม่ใช้เงินยูโรเช่นกัน

1.6 การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง(Recall)

ในระดับชาติ รธน.40ได้กำหนดไว้ใน มาตรา ๓๐๔ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อย กว่าห้าหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภามีมติตามมาตรา ๓๐๗ ให้ถอดถอนบุคคลตามมาตรา ๓๐๓ ออกจากตำแหน่งได้ คำร้องขอดังกล่าวต้องระบุ พฤติการณ์ที่กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่ง ดังกล่าวกระทำความผิดเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน

มาตรา ๒๘๖ ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นใดมีจำนวนไม่ น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนผู้มีสิทธิ เลือกตั้งที่มาลงคะแนนเสียง เห็นว่าสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้ใดขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไป ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

1.7.การเสนอกฎหมาย Initiative

รธน.40 มาตรา ๑๗๐ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อ ประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณา กฎหมายตามที่กำหนดในหมวด ๓ และหมวด ๕ แห่ง รัฐธรรมนูญนี้

ซึ่งในอดีตที่ผ่านมานั้น ผู้จะเสนอร่างกฎหมายได้เฉพาะ สส.กับรัฐบาล แต่ปัจจุบันได้ขยายสิทธิ์ให้ประชาชนสามารถเสนอร่างกฎหมายได้ (Initiative) ซึ่งมีประชาชนสนใจเสนอ กันมากเช่น ร่าง พรบ.ฟื้นฟูชีวิตเกษตร ร่าง พรบ.ชุมชนแออัด จะมีสภาทนายความแห่งประเทศไทยเป็นผู้ร่างภาษากฎหมายให้

1.8. การทำประชาพิจารณ์ (Public Hearing)คือการรับฟังความคิดจากประชาชนในการทำโครงการขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนหรือสาธารณะ หรือรับฟังความต้องการของประชาชนในเรื่องต่างๆ เช่น การร่าง รธน40 สสร.ได้ทำประชาพิจารย์รับฟังความคิดเห็นว่าต้องการ สส.มีคุณสมบัติเช่นใด ให้ สว.มาจากการเลือกตั้ง เป็นต้น

1.9 การปกครองส่วนท้องถิ่น รธน.40 ได้กำหนดการปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ในหมวด 9 เน้นให้สมาชิก สภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุกแห่งส่งผลให้ สุขาภิบาลต้องเปลี่ยนแปลงฐานะมาเป็นเทศบาลตำบล(มาตรา ๒๘๕ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีสภาท้องถิ่น และคณะผู้บริหาร ท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

สมาชิกสภาท้องถิ่น ต้องมาจากการเลือกตั้ง

คณะบริหารท้องถิ่นหรือผู้ บริหารท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน หรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น

การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นที่มา จากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ

สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น มีวาระการดำรง ตำแหน่งคราวละสี่ปี)

การถอดถอนนักการเมืองท้องถิ่น (มาตรา ๒๘๖ ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นใดมีจำนวนไม่ น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนผู้มีสิทธิ เลือกตั้งที่มาลงคะแนนเสียง เห็นว่าสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้ใดขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไป ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

การลงคะแนนเสียงตามวรรค หนึ่งต้องมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาลงคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่ง หนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด)

การเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น(มาตรา ๒๘๗ ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดมีจำนวนไม่ น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น มีสิทธิเข้าชื่อ ร้องขอต่อประธานสภาท้องถิ่นเพื่อ ให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้

คำร้องขอตามวรรคหนึ่งต้องจัดทำ ร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นเสนอมาด้วย)

2.การมีส่วนร่วมทางการเมืองนอกระบบหรือการมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่เป็นทางการ หรือ “การมีส่วนร่วมทางการเมืองในโครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ” (Informal Politics) ซึ่งก็หมายความว่าเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ไม่มีกฎหมายรองรับ เช่นการชุมนุมเดินขบวน เรียกร้องสิทธิต่างๆ เป็นต้น ซึ่งอาจจะเป็นการชุมชน โดยสงบหรือไม่สงบหรือมีความรุนแรงก็ได้

การมีส่วนร่วมทางการเมือง ในโครงสร้างที่ไม่เป็นทางการหรือการมีส่วนร่วมทางการเมืองนอกระบบ เช่น ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม(Social Movement) องค์กรภาคเอกชน (NGOs) เวทีประชาชน กระบวนการประชาพิจารย์ รวมไปถึงโครงสร้างและการแสดงออกของมติมหาชน (Public opinion) จากกลุ่มพลังมวลชนในประเด็นสาธารณะต่างๆ

การเกิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองนอกระบบก็เนื่องมาจาก การเพิ่มอาณาบริเวณของภาคประชาชน ในสังคมการเมืองยังส่งผลให้เนื้อหาสระของความเป็นการเมืองขยายมิติกว้างขึ้นด้วย เราอาจเรียก การเมืองเป็นมิติที่กว้างขึ้นนี้ว่า การเมืองใหม่ (New politics) หรือการเมืองภาคประชาชน (Civil Politics) หรือการเมืองที่เน้นบทบาทของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม(The politics of Social Movement)

แต่ถ้าเป็นการชุมชนกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว รธน.40 ได้รับรองสิทธิไว้ใน มาตรา 44 คือการชุมชนกันโดยสงบ และปราศจากอาวุธ

สาเหตุที่ต้องมีการเมืองภาคประชาชน(Civil Politics) ก็เพราะว่าผู้แทนไม่ได้ทำหน้าที่ของตัวเองตามที่ประชาชนมอบหมายต่างเข้าใจว่าประชาชนให้อำนาจแล้วจะทำอะไรก็ได้มุ่งเน้นการหาผลประโยชน์ส่วนตัวและพรรคพวก มากกว่าที่จะให้ความสำคัญกับปัญหาของประชาชน การเลือกตั้งเป็นเพียงการสร้างความชอบ (Legitimacy)ให้กับนักการเมืองเท่านั้น

การเมืองแบบตัวแทน หรือประชาธิปไตยแบบตัวแทน (Representative Democracy) ไม่สามารถเข้าถึงประชาชนได้จึงมีจุดอ่อน ทำให้ประชาชนต้องออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิ์ที่พึ่งมีพึ่งได้ด้วยตัวของประชาชนเอง จึงเกิดการมีส่วนร่วมของการเมืองนอกระบบได้ ไม่มีรูปแบบ ไม่เป็นทางการ ถ้ามีความรุนแรงก็จะขยายกลายเป็นMOB

2.เลือกตั้ง(อาจารย์พรชัย) อาจารย์จะถามไปในเชิงแนวคิดทฤษฎีจะต้องจำนิยาม และทฤษฎีให้มากหน่อย

การเลือกตั้ง (Election)

เดวิด บัตเลอร์ ให้คำจำกัดความว่าการเลือกตั้งคือหัวใจของกระบวนการทางการเมืองแบบประชาธิปไตย

สุจิต บุญบงการและอ.พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว ให้ความหมายว่าเป็นการระดมมติมหาชนเพื่อสร้างความชอบธรรมของการปกครอง เป็นการ

โดยสรุป การเลือกตั้งเป็นกระบวนการแสวงหาทางเลือกในการเมืองการปกครองของประชาชน นั่นคือเป็นแนวทางในการได้มาซึ่งผู้ปกครองประเทศนั่นเอง

ในระบบประชาธิปไตย การเลือกตั้ง ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ เพราะเป็นการสรรหาตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่แทนประชาชน ซึ่งเราเรียกว่าประชาธิปไตยแบบตัวแทน (Representative Democracy) เพราะเหตุผลว่า ประชาชนทุกไม่สามารถที่จะเข้าไปทำหน้าที่ในสภาได้ทุกคนเพราะประชาชนมีมาก

ความสำคัญของการเลือกตั้ง

1.เป็นการเลือกผู้นำหรือผู้ปกครองประเทศ

2.การเลือกตั้งเป็นห้ามล้อทางการเมือง กล่าวคือหากผู้ปกครองที่เลือกขึ้นมาปกครองประเทศไปในทางที่ไม่ถูกต้องก็ใช้การเลือกตั้งเป็นตัวตัดสินไม่ให้ผู้ปกครองคนนั้นเข้ามาอีกในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ทำให้ต้องมีการกำหนดระยะเวลาในการบริหารประเทศ เช่น 4 ปีเลือกตั้ง 1 ครั้งเป็นต้น

3.การเลือกตั้งเป็นกลไกในการเชื่อมโยงระหว่างความต้องการของประชาชนกับรัฐบาล นั่นคือผู้ที่ลงเลือกตั้งจะต้องนำเอาความต้องการของประชาชนมากำหนดเป็นนโยบาย

4.การเลือกตั้งเป็นตัวสร้างความชอบธรรมในทางการเมืองให้กับผู้ปกครองเพราะรัฐบาลที่ผ่านการเลือกตั้งจะมาจากความยินยอมของคนส่วนใหญ่

ประเภทของการเลือกตั้ง

1.การเลือกตั้งทั่วไป (General Election) เ ป็นการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศ เช่น การเลือก ตั้งเมื่อวันที่ 6 ม.ค.44

2.การเลือกตั้งซ่อม (By-Election) กรณีที่ สส.หรือ สว.ตาย ลาออก หรือขาดคุณสมบัติจนเป็นเหตุให้ต้องออกจากตำแหน่ง

3.การเลือกตั้งซ้ำ (Re-Election) จะทำในกรณีการเลือกตั้งครั้งแรกไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม หรือเกิดปัญหาในการเลือกตั้ง

ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากการเลือกตั้ง

1.ประชาชนจะได้ผู้แทนซึ่งเป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่

2.ได้รับการเลือกตั้งที่บริบูรณ์

3.การเลือกตั้งช่วยส่งเสริมให้คนดีมีความรู้เข้ามาสู่การเมือง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประชาชนว่าเลือกคนดีจริงๆเข้ามาหรือไม่

4.การเลือกตั้งช่วยส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย

5.การไปเลือกตั้งเป็นการทำหน้าที่ของพลเมืองดี

6.การเลือกตั้งช่วยลดความขัดแย้ง เช่นถ้าเกิดปัญหาในการบริหารประเทศมีความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาลก็จะใช้วิธีการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่

7.การเลือกตั้งช่วยสร้างบูรณาการทางการเมือง

8.การเลือกตั้งทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง ซึ่งเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่สำคัญมาก

9.การเลือกตั้งนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงผู้นำอย่างสันติ

การเลือกตั้งในประเทศไทย

ประเทศไทยปกครองในระบบรัฐสภา (Parliamentary System) ประกอบด้วย 2 สภาคือสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยวุฒสภามีสมาชิก 200 คน ส่วน สภาผู้แทนราษฎร์มี 2 ประเภทคือ ส.ส.แบบแบ่งเขต 400 คนและ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่ออีก 100 คนรวม 500 คน

ผู้สมัครเป็น ส.ว.นั้นจะต้องจบปริญญาตรีเป็นอย่างต่ำ อายุ 40 ปีขึ้นไปและดำรงตำแหน่งวาระละ 6 ปี และเว้น 6 ปีจึงละลงเลือกตั้งได้อีกครั้ง ในการเลือกตั้งจะไม่ต้องหาเสียงทำได้เพียงแนะนำตัว และไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับพรรคการเมือง ทั้งนี้เพื่อความเป็นกลางทางการเมือง

ข้อดีของการเลือกตั้ง สว.

-สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย

-จะได้ ส.ว.ที่เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง

-ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง

ข้อเสีย

-ทำให้คนที่เป็น ส.ว.ขาดคนจากหลากหลายอาชีพ

-ในความเป็นจริงผู้สมัคร ส.ว.มีความเกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองโดยไม่เปิดเผย

-ทำให้พระมหากษัตริย์ไม่ได้แต่งตั้ง สว.

ส่วนการเลือกตั้ง ส.ส.นั้นประเทศไทยได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นระบบเขตเดียวเบอร์เดียว

ข้อดีของการเลือก ส.ส.ระบบเขต

-มีประชาธิปไตยเสียงเพราะคน 1 คนลงคะแนนเสียงได้เพียง 1 เสียง

-ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับผู้แทน เนื่องจากเขตเลือกตั้งมีขนาดเล็ก

-เปิดโอกาสให้คนดีเข้าสภา

-พรรคต้องคัดคนดีลงสมัคร

-ทำให้การใช้เงินซื้อเสียงน้อยลง

-สกัดทายาทของนักการเมืองไม่ให้เข้าสภา

-ประหยัดเวลาและเงินหาเสียง เพราะพื้นที่ในการหาเสียงเล็กลง

-มีความสะดวกในการเลือกตั้งซ่อม

ข้อเสีย

-การเลือกตั้งเขตเดียวเบอร์เดียวทำให้การแข่งขันในการเลือกตั้งมีความรุนแรง และอาจถึงขั้นฆ่ากันตายได้ง่าย

-ทุ่มเงินซื้อเสียงได้ง่าย เพราะจำนวนประชากรในเขตมีน้อย ทำให้คนมีเงินมีโอกาส

-ทำให้เลือกบุคคลมากว่านโยบาย

-ทำให้ผู้แทนที่ไม่ดีมีโอกาสเข้ามาในสภาได้ง่าย

-ส.ส.ระบบเขตจะเป็นผู้แทนของคนจำนวนน้อย

ส่วนการเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อ จะมี ส.ส.ตามระบบบัญชีรายชื่อ 100 คน โดยพรรคจะต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 5% ของผู้มาลงคะแนนจึงจะได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิส 1 คน

ข้อดี

1.ส.ส.ปาร์ตี้ลีสเป็นตัวแทนของคนทั้งประเทศ

2.คะแนนทุกคะแนนที่ลงเลือกตั้งถูกนำไปคิดคำนวณทั้งหมด

3.เน้นนโยบายพรรคมากกว่าตัวบุคคล

4.ได้คนดีมีชื่อเสียงเข้าสู่สภา เพราะพรรคจะเลือกคนดีมีความสามารถมาใช้ในอันดับแรกๆของบัญชีรายชื่อ

5.ไม่ต้องหาเสียง ไม่ต้องใช้เงิน

6.กำจัดพรรคเล็กให้หมดไป เพราะถ้าไม่ได้คะแนนเสียง 5 % ก็จะไม่ได้รับการเลือกตั้ง เช่นกรณีพรรคถิ่นไทย พรรคเสรีธรรม ที่หัวหน้าต้องสอบตกเพราะได้รับคะแนนไม่ถึง 5% ของผู้มาลงคะแนน

ดังนั้นแม้ว่ากฎหมายจะเปิดโอกาสให้ตั้งพรรคการเมืองได้ง่ายแต่โอกาสที่พรรคเล็กจะเติบโตก็เป็นไปได้ยากเช่นกัน

7.ไม่มีโควต้ารัฐมนตรี

8.ให้เห็นภาพรัฐบาลเงา เพราะผู้สมัครที่อยู่ในอันดับต้นๆของบัญชีรายชื่อจะได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี

9.ไม่ต้องเลือกตั้งซ่อม

ข้อเสีย

1.ถ้าพรรคการเมืองที่มีเงินมากอาจจะซื้อเสียงคลุมทั้งประเทศ

2.บังคับให้เลือกทั้งพรรค ทั้งๆที่ประชาชนอาจจะชอบคนในบัญชีรายชื่อเพียงไม่กี่คน

3.ในทางปฏิบัติก็ยังมีโควต้ารัฐมนตรี นั่นคือก่อนจะมาสมัครในบัญชีรายชื่อได้จะต้องมีเงินสนับสนุนพรรค

4.อาจจะได้คนไม่ดีหรือเจ้าพ่อเข้าสู่สภา

5.ไม่ส่งเสริมพรรคการเมืองเล็กๆที่อาจจะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับประชาชน

การเลือกตั้งในประเทศไทย

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งในประเทศไทย ในที่นี้อาจารย์จำนำเสนอปัจจัยต่างๆเพียง 4 ตัวเท่านั้น โดยมุ่งเน้นว่าปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อการซื้อเสียงในการเลือกตั้งหรือไม่

1.สังคมไทย สภาพสังคมไทยในอดีตนั้นเรามีระบบกษัตริย์ สังคมของเราเป็นสังคมอุปถัมภ์ นิยมมีพรรคพวก พี่น้อง เจ้านาย ลูกพี่ ทำให้การเลือกตั้งคนจะเลือกคนที่รู้จัก คนที่มีบุญคุณ คนที่เป็นญาติพี่น้อง

เอมบรี่ นักวิชการตะวันตกเข้ามาศึกษาสังคมไทย และบอกว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่มีโครงสร้างหลวม คนจะรู้จักกันเป็นส่วนตัว ไม่มีความเป็นทางการ มองทุกอย่างอย่างไม่สำคัญ ไม่จริงจัง ลืมง่าย ไม่เคร่งครัดระเบียบวินัย ส่งผลให้พฤติกรรมการเลือกตั้งเลือกใครก็ได้ ไม่สนใจว่าใครจะเป็นรัฐบาล

รูปแบบการรวมกลุ่มของสังคมไทย จะมีลักษณะนายกับบ่าว (Clientalism) มีความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง (Vertical) ในพรรคการเมืองก็จะมีหัวหน้าพรรคคุมหัวหน้าพรรค

ลักษณะดังกล่าวก็ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้ง เช่นถ้านายลงสมัครคนที่เป็นลูกน้องก็จะเลือก

(อาจารย์มองว่าเราควรจะกำหนดคุณสมบัติของผู้เลือกมากว่าจะกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัคร)

ส่วนกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศไทยก็จะมีผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งเช่นกัน เช่นผู้จัดการโรงงานก็จะสั่งให้ลูกจ้างในโรงงานเลือกใครก็ได้

ดังนั้นจากสภาพสังคมแบบอุปถัมป์ที่ทำให้คนไทยเชื่อฟังคนที่มีอำนาจทำให้พฤติกรรมการเลือกตั้งถูกชี้นำด้วยคนที่มีอำนาจได้ หรือเลือกตั้งเพราะความสัมพันธ์ในแบบส่วนตัว

2.การศึกษา สำหรับคนไทยพบว่ายังมีการศึกษาต่ำคนเรียนจบ ป.6 ยังไม่ถึง 100% ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งที่เลือกอย่างไม่มีความรู้ เช่นเลือกบุคคล เลือกเพราะความสัมพันธ์ส่วนตัว เลือกเพราะได้รับเงิน เลือกตั้งเพราะถูกชักจูง แทนที่จะเลือกเพราะนโยบาย ดังนั้นจึงต้องให้การศึกษากับประชาชน

3.อาชีพ ด้านอาชีพพบว่าคนไทย 80% ทำอาชีพเกษตรกรรม รับจ้าง ใช้แรงงาน มีความยากจนทำให้คนมีส่วนร่วมทางการเมืองน้อย ไปเลือกตั้งน้อย หรือถ้าไปเลือกตั้งก็เพราะการซื้อ-ขายเสียง

4.ค่านิยม สังคมไทยจะมีค่านิยมชอบคนมีเงิน มีบารมี มีอำนาจ มีอิทธิพล เวลาเลือกจะเลือกคนที่มีเงิน มีอิทธิพล

นอกจากนี้คนไทยยังมีค่านิยมใจใหญ่ ใจกว้าง ดี เด่น ดัง ชอบผู้อาวุโส มีความกตัญญู เมตตา กรุณา อุเบกขา สนใจเครือญาติ

เช่นคนไทยมักจะคิดว่าคนที่รวยอยู่แล้วไม่น่าจะโกงกินหรือคอรับชั่นอีกต่อไป

ส่วนคนที่มีอิทธิพล มีบารมีก็จะได้รับการเลือกตั้งตลอดแม้ว่าคนที่มีอิทธิพลบางคนจะถูกสังคมมองไปในทางลบหรือตั้งคำถามว่ารวยได้อย่างไร

ทั้งนี้อาจารย์มองว่าคนที่ใจใหญ่หรือบริจาคเงินจำนวนมากๆมักจะได้เงินมาอย่างไม่บริสุทธิ์ แต่คนเหล่านี้ก็มักจะได้รับการเลือกตั้ง

ส่วนคนที่มีชื่อเสียงก็มักจะได้เปรียบในการเลือกตั้ง ทำให้ดารา พิธีกรโทรทัศน์ มักได้รับการเลือกตั้งเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ผู้อาวุโสก็จะได้รับการยอมรับมากกว่าคนที่มีอายุน้อย เช่นการเลือกประธานขององค์การต่างๆก็จะเลือกเอาผู้อาวุโส

นอกจากนี้คนไทยยังมีค่านิยมชอบพิธีรีตรอง ขาดระเบียบวินัย ไม่เคารพกฎหมาย ไม่ตรงต่อเวลา ชอบสนุกสนาน และชอบกู้หนี้ยืมสิน ชอบเล่นการพนัน (มีการสำรวจว่าคนไทยเล่นการพนันถึง 21.8 ล้านคน ทำให้มีแนวคิดที่จะตั้งบ่อนคาสิโนที่ถูกต้องตามกฎหมาย)

คนไทยนิยมเป็นลูกจ้างแต่ไม่นิยมเป็นเจ้าของธุรกิจ ทำให้ต้องเชื่อฟังนายจ้าง ชอบของฝากของฟรี ของแถม ชอบของใหม่ ใจง่าย หลอกง่าย ลืมง่าย และให้อภัยได้ง่าย ไม่ชอบเป็นผู้นำแต่ชอบเป็นผู้ตาม ชอบการประนีประนอมไม่ชอบความขัดแย้ง นับถือศาสนาแต่ไม่เคร่งศาสนา เชื่อในบาปบุญคุณโทษ เป็นต้น

ค่านิยมเหล่านี้มีผลต่อพฤติกรรมในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งสิ้น นั่นคือทำให้เกิดการซื้อขายเสียงได้ง่าย คนไทยไม่ค่อยจะจดจำพฤติกรรมที่ไม่ดีของนักการเมือง แต่มักจะเลือกตั้งเข้ามาอีกเสมอ

ดังนั้นปัจจัยต่างๆที่กล่าวมาส่งผลต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในประเทศไทยที่ทำให้เกิดการซื้อขายเสียง และแม้เราจะมีกกต.การซื้อขายเสียงยังคงมีต่อไป และยากที่การซื้อขายเสียงจะหมดไปจากสังคมไทย

แนวทางแก้ไขก็ต้องให้การศึกษา ปรับปรุงสภาวะทางเศรษฐกิจของประชาชน และแก้ไขค่านิยมในบางประการที่ส่งผลเสียต่อการเลือกตั้ง

สรุป การเลือกตั้งในประเทศไทยยังได้มีการพัฒนาขึ้นมามากตามรัฐธรรมนูญ 40 ที่ได้พยายามให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการเลือกตั้งให้มากขึ้นโดยได้กำหนดให้มีการลงคะแนนล่วงหน้าได้ในกรณีที่ คนใดไม่ว่างในวันเลือกตั้ง หรือแม้แต่คนที่อยู่ต่างประเทศก็ยังสามารถใช้สิทธิ์เลือกตั้งตามสถานที่ที่ กกต.ได้กำหนดให้ และรธน.40 ยังได้ขยายการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งให้กับ ชาย หญิง มีสิทธิ์เลือกตั้งจาก 20 ปี มาเป็น 18 ปีบริบูรณ์ ซึ่งสามารถขยายให้เยาวชนคนไทย มีสิทธิ์เลือกตั้งได้เพิ่มขึ้นจำนวนกว่า 1 ล้าน 8 พันคน

สรุปการเลือกไทยตามสไตย์ของนายนม

การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตเดียวเบอร์เดียว ก็ดี แต่การเลือกแบบบัญชีรายชื่อถือว่าเป็นประชาธิปไตยที่ถอยหลังเข้าคลอง เพราะว่า ในบัญชี 100 คน นั้นประชาชนอาจชอบแค่ ไม่กี่คนแต่ต้องเลือกทั้งพรรค อาจทำเจ้าพ่อ เจ้าแม่ ผู้มีอิทธิพลเข้ามาในเวทีการเมืองได้ง่าย เพียงแค่จ่ายเงินอุดหนุนพรรค เพียงไม่กี่ ร้อยล้านก็จะสามารถเป็นรัฐมนตรีได้ ซึ่งถ้าสมัครเพียงลำพังตัวเขาเองใช้เงินเป็นพันล้านก็อาจไม่ได้รับการเลือกตั้งเพราะประชาชนไม่ชอบ และน่าสังเกตว่าผู้ที่มีเงินบริจาคให้พรรคการเมืองมากนั้น น่าจะทำธุรกิจที่ผิดกฎหมาย

ส่วนกรณีการเลือกแบบแบ่งเขตก็คือว่าดีแต่ก็มีข้อเสียมากถ้ามีการแข่งขันขั้นรุนแรงอาจถึงกับต้องฆ่ากันตายก็ได้

  1. การเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงหรือไม่ อธิบาย ?
  2. ตอบ = การเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้จะต้องมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงแน่นอน ส่วนจะมีการซื้อมากน้อยเพียงใดแล้วแต่พื้นที่เพราะการซื้อเสียงซื้อสิทธิ์เลือกตั้งนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นการใช้เงินซื้ออย่างเดียว สามารถซื้อได้หลายวิธีเช่น การให้สิ่งของ การทำผลประโยชน์ให้หรือการช่วยเหลือใด ๆ ของผู้สมัครที่มีเจตนาหรือเพื่อให้ประชาชนผู้รับลงคะแนนเสียงให้ก็ถือว่าเป็นการซื้อสิทธิ์ขายเสียงแล้ว ถึงแม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปฎิบัติรูปการเมืองโดยมีการกำหนดให้มี ส.ส. ได้จำนวน 500 คน โดยแบ่งออกเป็น ส.ส. แบบเขตเดียวเบอร์เดียวจำนวน 400 เขต (ส.ส.400 คน) และแบบบัญชีรายชื่อพรรคจำนวน 100 คน

    1. ในแบบเขตเดียวเบอร์เดียวได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น 400 เขต ทำให้มี ส.ส. ได้เขตละ 1 คน รวม 400 คน ทั้งประเทศ ทำให้เขตการเลือกตั้งแคบลง ผู้สมัครได้ลงพื้นที่พบปะประชาชนใกล้ชิดขึ้น การซื้อสิทธิ์ขายเสียงก็คงจะยากขึ้น แต่ถ้าคิดแบบตรงกันข้ามยิ่งจะทำให้ซื้อเสียงง่ายขึ้นเพราะเขตเลือกแคบทำได้ทั่วถึง อาจจะทำให้ซื้อเสียงง่ายขึ้น “ซื้อง่ายขายคล่องแบบถึงมือ”

    2. ในระบบบัญชีรายชื่อพรรคโดยให้แต่ละพรรคส่งได้พรรคละ 1 บัญชี ไม่เกินบัญชีละ 100 คน ใช้เขตประเทศไทยเป็นเขตเลือกตั้งโดยให้พื้นที่เลือกตั้งมากหรือกว้าง คิดว่าคงจะทำให้ซื้อเสียงยากขึ้นแต่สามารถทำได้ คือถ้าแบบเขตที่พรรคส่งลงสมัครให้หาเสียงวิธีซื้อเสียงและให้ซื้อเพื่อระบบบัญชีรายชื่อพรรคด้วยโดยเฉพาะพื้นที่ใดที่ผู้สมัครเขตเป็นที่รักใคร่ของประชาชนและมีคะแนนห่างจากลำดับรองแบบทั้งห่างมาก ๆ เช่น ได้ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ถ้ารองได้เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ และบุคคลเหล่านั้นเลือกระบบบัญชีรายชื่อพรรคด้วยนี้แสดงให้เห็นว่าซื้อเสียงได้โดยเฉพาะแต่มีเงินมาก ๆ

    ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งในสมัยต่อไปนี้

    1. การศึกษา การศึกษาถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อการเลือกตั้งมากอย่างหนึ่งว่า Rober lane ได้ศึกษาวิจัยในการเลือกตั้งในอเมริกาพบว่าคนที่มีการศึกษาสูงจะไปเลือกตั้งมากกว่าคนการศึกษาต่ำหรือคนที่ไม่ได้รับการศึกษา การศึกษาในอเมริกาขั้นต่ำ คือ Hi - school ส่วนในประเทศไทยเราปัจจุบันยังไม่ถึงระดับ ม.6 คือ ยังมีการจบการศึกษาภาคบังคับอยู่ ยังไม่แยกแยะว่านโยบายของพรรคคืออะไร มีอุดมการณ์ว่าอย่างไร เมื่อมีคนนำผลประโยชน์มาให้ก็จะรับทันที

  3. เศรษฐกิจ เป็นเรื่องของรายได้ของประชาชนเป็นเรื่องของปากท้องปัจจุบัน รายได้ต่อหัวของประชากรในประเทศไทยยังต่ำมากถือว่าอยู่ในขั้นยากจน เห็นได้มีการสำรวจราษฎรจำนวน 800 ครัวเรือน ที่จังหวัดสุรินทร์ พบว่าประชาชนมีรายได้เฉลี่ยวันละ 4 บาทหรือปีละ 1,440 บาท ซึ่งถือว่าต่ำมาก ๆ ไม่เพียงพอต่อการครองชีพในปัจจุบัน ดังนั้นเมื่อประชาชนท้องกิ่วไม่มีจะกิน ถ้ามีคนนำสิ่งของ นำเงินมาให้ก็จะต้องรับเพื่อความอยู่รอดไม่สนใจว่าบุคคลที่ให้อยู่พรรคไหน มีอุดมการณ์อย่างไร จะพัฒนาไปในทิศทางใด เศรษฐกิจจึงมีผลต่อการเลือกตั้งอย่างมาก ปากท้องของประชาชนจะต้องมาก่อนการเมือง ด้วยเหตุนี้จึงมีการซื้อเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่อไป แน่นอน

3. สังคม ของประเทศไทยจะเป็นสังคมแบบหลวม ๆ ไม่ผิดระเบียบกฎเกณฑ์ ไม่มีการฝึกคนไทยเป็นคนเอาอย่างไรก็ได้ง่าย ๆ ไม่เรื่องมากจากการศึกษาพบว่าสังคมไทย

      1. เป็นระบบอุปถัมภ์ คนไทยยังชอบการแต่งตั้งอยู่ ชอบพรรคพวกกัน เคยฝากอะไรกันไว้ เคยทำให้ยังรักพี่รักพ้อง รักเจ้านายรักลูกน้อง เพื่อนที่ทำงาน ดังนั้น ถ้ามีการฝากว่าเลือกให้หน่อยนะคนนี้เพื่อนกัน ก็ได้ถือว่าช่วย ๆ กัน การซื้อเสียงจึงเกิดขึ้นแน่นอน
      2. เป็นระบบเครือญาติ สังคมไทยเป็นระบบครอบครัวใหญ่ ยังมีสายใยความผูกพันกันอยู่มีปู่ย่าตายาย ลูกป้าน้าอา ยังเกรงใจฝากมาคนนี้เป็นญาติฝ่ายแม่นะ ลงสมัครฝากหน่อยก็เลือกญาติ ต้องช่วยญาติไม่สนใจว่านโยบายพรรคหรือไม่อย่างไร โดยไม่สามารถแยกเรื่องเครือญาติหรือเรื่องส่วนตัวออกจากการเมืองได้ ดังนั้นจึงยังมีการซื้อเสียงอยู่
      3. เป็นระบบอาวุโส คนไทยยังมีระบบอาวุโส มีระบบผู้บังคับบัญชาฝากมาก็เลือก ๆ ตามผู้อาวุโสโดยไม่คิดถึงเรื่องการเมือง
      4. ระบบสะสมมรดก คือ สังคมไทยชอบการสะสมมรดกไว้ให้ลูกหลานอย่างนั้นทำอย่างไรก็ได้ขอให้ได้เงินมามาก ๆ เพื่อสะสมไว้ให้ลูกหลานของตน วิธีที่จะได้มาง่ายก็คือ การมีอำนาจทางการเมืองเพราะมีช่องทางในการหาเงินได้มากคือ การคอรัปชั่นมากเมื่อคนอยากรวยก็เลยทุจริตโดยการพยายามซื้อเสียงทำไปให้ได้เพื่อจะได้เป็น รมต.
  1. ค่านิยม ค่านิยมของคนไทยจะมีความชอบอยู่มาก เช่น
    1. ค่านิยมชอบคนมีบารมีมีอิทธิพล ร่ำรวย โดยมิได้สนใจว่าเขามีนโยบายพรรคว่าอย่างไร แต่
    2. ชอบคนนี้แหละจึงเลือกเพราะเขามีบารมี ส่วนเลือกแล้วเขาจะไปทำอะไรบ้างไม่ได้คิด

    3. ค่านิยมชอบคนใจนักเลง พูดจริง ทำจริง คำไหนคำนั้น แต่ไม่ใช่ทำเพื่อประชาชนของชาติ
    4. แต่เป็นประโยชน์ส่วนตัว คนไทยชอบเพราะใจนักเลงดี คนตรง แต่ไม่ได้พิจารณาว่าเขาอยู่พรรคไหน มีนโยบายอย่างไรเลือกเขาเพราะชอบ

    5. ชอบคนใจกว้าง ,ใจใหญ่ , ใจกว้าง ทำบุญมาก ๆ บริจาคมาก ๆ ไปจัดเสียงโดยมิต้องให้ใคร
    6. ออกค่าใช้จ่ายช่วย , เอาภาพยนต์ , เอามวยเอาหมอลำมาให้ดูฟรี นักการเมืองลงทุนไปก็ต้องหาคืน

    7. ชอบของฟรี, คนไทยจะชอบมากของฟรี อะไรก็ได้ขอให้ได้มาฟรี ๆ ชอบ เช่น เขาจัดโต๊ะ
    8. จันให้กินฟรี , จัดมโหรสพให้ดูฟรี ชอบก็เลือกเขาโดยไม่สนใจเลยว่าเขาจะทำอะไรได้บ้าง เขามีอุดมการณ์หรือนโยบายหรือไม่ จะช่วยเศรษฐกิจชาติได้อย่างไร

    9. ชอบคนที่ดีเด่น , มีชื่อเสียง , ถ้าดังมีชื่อเสียงลงสมัครรับเลือกตั้งคนไทยจะชอบเลือกโดยไม่

สนใจว่าเขาลงเพราะมีอุดมการณ์ทางการเมือง , มีนโยบายหรือเปล่า

5. ชอบลืมง่าย คนไทยจะเป็นคนที่ลืมอะไรง่าย ๆ ไม่ค่อยจำว่าในอตีตที่ผ่านมาได้ทำอะไรผิดไปบ้าง เวลาผ่านไปเพียงไม่กี่วันก็จะลืม คนที่เขาสมัครใหม่ก็จะเลือกอีกจนลืมไปว่าเขาเคยสร้างผลงานหรือไม่จำได้แต่ว่าเคยเลือก

6. เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ คนไทยจะเป็นคนที่เชื่อบาปบุญคุณโทษเมื่อได้รับเงินรับสิ่งของเขามาแล้วก็จะต้องเลือกเขาเพราะจะบาป โดยไม่สนว่าเขาได้รับเลือกตั้งแล้วเขาจะไปทำอะไรบ้าง

7. ชอบเชื่อเรื่องโชคลาง ผีสางเทวดา ดูดวงแล้วคนนี้ได้รับเลือกตั้งก็ได้รับเรื่องการดูดวง เชื่อผีบอก

  1. ชอบคนบริจาคมาก ถ้าบริจาคมาก ๆ ก็ชอบ เขาบริจาคเงินสร้างวัด , สร้างถนนให้จะต้องเลือก ๆ
  2. เพราะเขาทำให้ ไม่สนใจว่าเขาเล่นการเมืองเพราะมีนโยบายว่าอะไร

  3. ชอบให้อภัย ถ้านักการเมืองทำผิดมาในอดีตเขาออกมาขอโทษก็ให้อภัยให้เล่นการเมืองต่อได้ เลือกเขา

อีก และถ้าทำผิดอีกก็ขอโทษและให้อภัยอีกเรื่อย ๆ

10. ชอบการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ นิสัยคนไทยแต่โบราณมาแขกมาบ้านให้ต้อนรับ ยิ่งเขามีของมาฝากด้วยยิ่งต้อนรับ มาขอคะแนนถึงประตูบ้าน นำของมาฝากด้วยจะต้องเลือกเขา

11. ไม่ค่อยมีจริยธรรม คนไทยไม่ยึดติดกับระเบียบ แบบแผน การเมืองไม่มีจริยธรรมทางการเมือง

12. ถืออาวุโส ต้องเชื่อผู้ใหญ่ เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด ดังนั้นเมื่อผู้ใหญ่บอกให้เลือกใครก็เลือก ผู้บังคับบัญชาให้เลือกใครก็เลือกโดยไม่สนใจว่ามีอุดมการณ์เมืองหรือไม่

  1. คนไทยมีกตัญญู คนไทยเป็นคนมีกตัญญูเคยฝากเขาให้เอาลูกเข้าโรงเรียน ฝากลูกให้ทำงาน หรือช่วย

เหลือเขาโดยยืมเงินก็ให้ยืมแถมยังไม่ลดดอกเบี้ยจึงต้องเลือกเขา

ด้วยเหตุผลข้างต้นนั้นสรุปได้ว่า การเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งต่อไปนี้จะต้องมีการเลือกตั้งแน่นอน แม้จะมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ.2540 นี้ มีนโยบายการปฏิรูปการเมือง และมีองค์กรอิสระในการดำเนินการเลือกตั้งโดยตรงก็ตาม คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.) และองค์กรเอกชน (Ngos) อื่น ๆ ติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิดก็ตามจะต้องมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงอย่างแน่นอน เพราะการซื้อเสียงไม่ใช่แต่เพียงการใช้เงินซื้อโดยตรงเท่านั้น ก็มีวิธีการมากมายดังที่กล่าวข้างต้น

การเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อพรรค

ข้อดี

1. พรรคการเมืองเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นการกำจัดพรรคเล็ก ๆ ให้หมดไปเพื่อพัฒนาเป็นระบบพรรคการเมือง 2 พรรค เพระคนส่วนมากจะเลือกพรรคใหญ่ ต้องการให้ใครเป็นนายกฯให้เลือกพรรคนั้น

2. เสียงประชาชนในการเลือกตั้งจะมีประโยชน์มากกว่าระบบเขต เพราะเสียงประชาชนลงให้ในแต่ละเขตจะนำไปรวมกันในระดับประเทศจึงมีประโยชน์มาก

3. ได้รัฐมนตรีเขาเพราะรู้แล้วว่าบุคคลนี้จะมาเป็นรัฐมนตรีคือส่วนมากที่อยู่ในบัญชีรายชื่อพรรค

  1. ไม่ต้องเลือกตั้งซ่อม กรณีที่เลือกบุคคลใดคนหนึ่งเป็นนายกฯ ก็สามารถเลือกคนในพรรคเดียวกันที่ได้

คะแนนถัดมาขึ้นมาเป็น ส.ส. แทนได้เลย

5. ป้องกันการซื้อเสียงได้เพราะเป็นเขตใหญ่ใช้เป็นเขตเลือกตั้ง คงป้องกันการซื้อเสียงได้ระดับหนึ่ง

ข้อเสีย

1. คนที่มีเงินมากก็จะได้เปรียบในการซื้อเสียง คือ เขตใหญ่ก็จะต้องใช้เงินมาก ๆ โดยให้ซื้อทั้งระบบเขตและระบบบัญชีรายชื่อพรรค

2. อาจไม่ได้คนดีเป็นรัฐมนตรี เพราะอาจได้คนที่มีเงินมาก ๆ ลงทุนให้พรรคแล้วมาอยู่ในบัญชีรายชื่อพรรคในระบบต้น ๆ ก็อาจได้เป็นรัฐมนตรี

3. อาจได้รัฐมนตรีระบบโควต้า คือ ส่งตัวแทนหรือส่งลูกน้องลงในเขตแทน แล้วตัวเองลงบัญชีรายชื่อพรรคโดยกำหนดโควต้าว่าถ้าได้ ส.ส. จำนวนเท่าใดจะขอเป็นรัฐมนตรี เป็นต้น จึงทำให้อาจได้คนไม่มีความสามารถ ความรู้ที่เหมาะสม

    1. เป็นการมัดมือชกประชาชนไม่สามารถเลือกได้ในระบบบัญชีรายชื่อพรรค

 

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเลือกตั้ง

  1. การศึกษา
  2. เศรษฐกิจ
  3. สังคม
    1. สังคมอุปถัมภ์
    2. ระบบเครือญาติ
    3. อาวุโส
    4. ระบบมรดก
  4. ค่านิยม
    1. ชอบคนมีบารมี ,มีอิทธิพล
    2. ชอบคนใจกว้าง
    3. ชอบกินของฟรี
    4. ชอบให้อภัย
  5. ชอบลืมง่าย
  6. ชอบคนบริจาคมาก
  7. เชื่อเรื่องผีสางเทวดา
  8. ชอบคนดีเด่นมีชื่อเสียง
  9. เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ
  10. ชอบคนใจนักเลง
  11. ชอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
  12. ไม่ชอบมีจริยธรรม
  13. อาวุโส
  14. คนไทยกตัญญู

------------------------------------------

3. การหยั่งมติมหาชน( Public opinion poll)

การวัดมติมหาชน เป็นการวัดเพื่อที่จะทราบถึงลักษณะและแนวโน้มของความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประเด็นหรือปัญหาหนึ่ง มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน เป็นต้นว่า การตั้งคำถามทุกคนโดยตรง การเลือกตั้ง การออกเสียงแสดงประชามติ (Referendum)การออกเสียงถอดถอน(Recall) การลงประชามติ (Plebiscite) แม้แต่การศึกษาจากหนังสือพิมพ์ก็พอจะทราบร่องรอยหรือทิศทางของความคิดเห็นของประชาชนที่แสดงออกต่อประเด็นสาธารณะหรือปัญหาที่กระทบต่อส่วนรวมที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมือนกัน เพราะหนังสือพิมพ์เปรียบเสมือนกระจกเงาที่สะท้อนให้เห็นมติมหาชนของสังคมได้ แต่จะมีความแตกต่างกันในด้านความแน่นอน การวัดมติมหาชนที่ทำกันบ่อยๆ โดยเสียค่าใช้จ่ายไม่มากนักคือการสอบถามความคิดเห็นหรือทัศนะคติ ของตัวแทน(simple)

การหยั่งมติมหาชน( Public opinion poll) หมายถึง “ความพยายามที่จะทราบมติมหาชนเกี่ยวกับปัญหาโดยการสอบถามสมาชิกบางคนของกลุ่มที่เราต้องการทรายโดยตรง ความคิดเห็นหรือทัศนะของบุคคลที่คัดเลือกมานี้ย่อม สามารถ แทนความคิด เห็นของประชาชนทั้งหมดได้”

จากความหมายข้างต้นก็เหมือนกับการชิมแกงที่ว่าอร่อยหรือไม่อร่อยก็ตักชิมแค่ช้อนเดียวก็จะทราบว่าอร่อยหรือไม่ แต่การในความเป็นจริง กลุ่มของคนหรือสังคมที่คนอาศัยอยู่รวมกันมีความแตกต่างกันไม่สามารถรวมเป็นเนื้อเดียวกันได้ แต่เพราะมีปัจจัยบางอย่างร่วมกันหรือคล้ายคลึงกันเท่านั้น ดั้งนั้นวิธีการสำรวจความคิดเห็นและทัศนะที่แตกต่างกันของคนจึงต้องอาศัยหลักวิชาการโดย “ เป็นการนำเอาหลักการและทฤษฎีบางส่วนของการวัดทัศนคติ (Attitude test) ของวิชาจิตวิทยามาพิจารณาในแง่ของวิชารัฐศาสตร์แล้วนำมาประยุกต์กับหลักและวิธีการวิจัย(Research methodology) และวิชาสถิติ(statistics) เพื่อให้ทราบพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนล่วงหน้าได้ถูกต้อง……” การหยั่งเสียงประชามติโดยวิธีการเอาวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยนี้ ผลที่ได้เป็นเพียงการคาดคะเนให้ใกล้เคียงกับความจริงเท่านั้น

การทดลองออกเสียงคือ เป็นการวัดมติมหาชนเช่นกันโดยการนับจำนวนบุคคลที่มีความคิดเห็นต่างๆ กันว่ามีมากน้อยเท่าใด โดยไม่มีหลักเกณฑ์ พิเศษพิสดารอะไรมากไปกว่าการนับจำนวนตัวเลขธรรมดาทั่วไป การวัดมติมหาชนในสมัยแรกๆจะไม่เรียกว่า Public opinion poll แต่เรียกว่า Straw Vote หรือ Straw poll ซึ่งอาจแปลได้ว่า การทดลองออกเสียง….” การที่ถือเอาการทดลองออกเสียงเป็นการเริ่มต้นของการหยั่งเสียงมติมหาชน

แต่ Straw Vote ก็ได้เสื่อมความนิยมลงเมื่อ วารสาร Literary Digest ได้ทำนายผลการเลือกประธานาธิบดี USA ผิดพลาด คือผลทายว่า Roosevelt จะแพ้ London ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ปี 1936 แต่ก็มี Gallup Roper Crossley ก็มาทายได้ถูกต้อง แต่มาปี 1984ก็ทาย ผลของ Dewey และ Truman ผิดเมื่อ Truman ชนะการเลือกตั้ง ซึ่งสรุปสาเหตุของการผิดพลาดได้ว่า “ นักวัดมติมหาชนไม่รู้จักประมาณว่าการศึกษาวิจัยของตนมีข้อบกพร่องประการใดบ้าง นักวัดมติดมหาชนดำเนินงานในครั้งนี้ ด้วนการาทึกทักว่า ผลการ วิจัยของตนถูกต้องมากว่าที่เป็นจริง เนื่องจากในการเลือกตั้งครั้งนี้ ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้คะแนนสูงสุดสองคน ต่างได้คะแนนคู่คี่กัน ฉะนั้น ไม่ว่านักวัดมติมหาชน ผู้ใดก็ตามย่อมไม่มีทางที่จะได้ข้อเท็จจริงที่จะทำให้คาดคะเนการเลือกตั้งได้ถูกต้องเมื่อพิจารณาในแง่ของการสุ่มตัวอย่างแล้ว กล่าวสั้นๆได้ว่า การที่วัดมติมหาชนได้กำหนดปริมาณของผู้ใช้สิทธิที่ยังไม่ปลงใจให้เป็นสัดส่วน พอๆกันกับจำนวนของผู้ที่ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกใคร …..ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ เขาเหล่านั้นตัดสินใจในวาระสุดท้าย….”

ปัญหาการหยั่งประชามติ

Measurement of public opinion คือการตรวจสอบมติมหาชน เป็นการรวมมาตรการและวิธีการต่างๆที่นำมาใช้เพื่อวัดมติมหาชน ซึ่งมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน เช่น การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การออกเสียงแสดงประชามติการถอดถอนหรือเลือกตั้ง การลงประชามติ การศึกษาจากหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนต่างๆ

Public opinion poll คือการหยั่งมติมหาชน หมายถึงกระบวนการอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ เพื่อจะตรวจสอบว่ามติมหาชน ซึ่งมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน เช่น การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การออกเสียงแสดงประชามติการถอดถอน หรือเลิกตั้ง การลงประชามติ การศึกษาจากหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนต่างๆ การหยั่งมติมหาชน จะนำเอาหลักการและวิธีการอย่างหนึ่งของวิชาระเบียบวิธีวิจัย(Research Methodology) คือการวิจัยแบบสำรวจ (Survey research)

Sounding public opinion คือการหยั่งเพื่อซาวเสียงมติมหาชน ในที่นี้ให้ถือว่ามีความหมายคล้ายๆ กับการสดับตรับฟังเสียงชาวบ้านหรือมหาชนนั้นเอง วิธีนี้หากพิจารณาในแง่ของระเบียบวิธีวิจัยแล้วอาจจะเป็นการานำเอาการสังเกตการณ์ ซึ่งก็คือเป็นวิธีการวิจัยมาใช้และอาจรับฟังหรือศึกษาจากสื่อมวลต่างๆด้วย

การหยั่งมติมหาชน Public opinion poll เป็นการตรวจสอบหาความคิดเห็นของประชาชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมืองก็ดี หรือปัญหาสังคมต่างๆ ก็ดี เป็นการดำเนินงานที่นำเอาหลักการวิจัยแบบสำรวจมาใช้ เพราะฉะนั้น บางทีจึงเรียกการวิจัยแบบสำรวจน้ำว่า เป็นการสำรวจแบบสุ่มตัวอย่างหรือที่เรียกว่า Sample Survey ที่เรียกเช่นนี้ก็เพราะเหตุว่า สาระสำคัญของการวิจัยแบบสำรวจเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการสุ่มตัวอย่างหรือการเลือกตัวอย่างนั่นเอง

การวิจัยแบบสำรวจ มิใช่เป็นแต่เพียงการสำรวจโดยทั่วไป ในการวิจัยแบบนี้ผู้วิจัยจะต้องใช้หลักวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกสุ่มตัวอย่างเพื่อหาเหตุผลและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ถ้าหากผู้วิจัยที่ใช้วิธีแบบนี้จะทำการศึกษาเรื่องพฤติกรรมในการออกเสียงเลือกตั้งก็จะไม่ทำแต่เพียงการสำรวจว่าได้มีประชาชนไปออกเสียงเลือกตั้งเป็น จำนวนเท่าไร เป็นอัตราเท่าใดของประชาชนทั้งหมด การจะสำรวจทั้งหมดจะทำได้ยากมการศึกษาแต่ประชาชนบางส่วนก็อาจทำผู้วิจัยสามารถลงความเห็นเกี่ยวกับสภาพการณ์หรือลักษณะของประชาชนทั้งหมดได้

การหยั่งมติมหาชน โดยทั่วๆไป จะแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่

1.การเลือกสุ่มตัวอย่าง 2. กำหนดคำถามที่จะใช้ถามประชาชน 3.ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการถามประชาชนที่เป็นสุ่มตัวอย่าง 4. การวิเคราะห์และสรุปข้อเท็จจริงด้วยข้อมูลที่ได้มา

ข้อบกพร่องในการหยั่งมติมหาชน

1.การหยั่งมติมหาชน หรือการ Poll ที่สำคัญคือตัวอย่างเลือกจะต้องครอบคลุมกับประชาชนที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม หลากหลายจำนวนมากเท่าใดยิ่งมีความถูกต้องมากเท่านั้น หากสุ่มตัวอย่างมีข้อบกพร่อง ซึ่งความคิดเห็นของตัวอย่างที่คัดเลือกมาไม่สามารถเป็นตัวแทนความคิดเห็นหรือทัศนะของกลุ่มที่ต้องการนั้น เรียกว่า เกิดความผิดพลาดของการสุ่มตัวอย่าง หรือที่เรียกว่า sample error

2. กำหนดคำถามที่จะใช้ถามประชาชน ที่เรียกว่าหรือการสร้างแบบสอบถาม (Writing Questionnaire) จะต้องเป็นคำถามที่ไม่ใช่คำถามนำหรือคำถามเชิงปฎิเสธ หรือคำถามที่มีคำตอบอยู่แล้ว หรือต้องหลีกเลี่ยงการใช้คำถามนำในกรณีที่เกี่ยวกับการตัดสินใจ เช่น ฐานะที่คุณเป็นคนหนุ่มคนไม่ชอบหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีอายุมากใช่ไหม? ถามว่าคุณคงเห็นว่าการเปิดอธิบายไม่ไว้วางใจครั้งนี้เหมาะสมแล้วใช่มั๊ย? คำถามแบบนี้จะมีอิทธิพลต่อผู้ตอบคำถามอาจทำให้ผลาของการทำ Poll บิดเบือนได้

3. ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการถามประชาชนที่เป็นสุ่มตัวอย่าง มีอยู่ 2 วิธี คือ Mailed Questionnaire ประหยัดสะดวกแต่อาจไม่ได้รับการตอบรับมากตามที่ต้องการหรือผู้ที่ตอบอาจเป็นคนในกลุ่มเดียวกันก็ได้ อาจทำให้ผลการหยั่งมติมหาชนผิดพลาดได้ วิธีที่ 2 คือ วิธีการสัมภาษณ์ตัวต่อตัว ถือว่าเป็นวิธีที่ดีมีประสิทธิภาพ แต่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง

4. การวิเคราะห์และสรุปข้อเท็จจริงด้วยข้อมูลที่ได้มา นักวิเคราะห์หรือเจ้าของ Poll จะต้องวิเคราะห์จากข้อมูลที่ได้มาจริงจะต้องไม่ใส่ความรู้สึกส่วนตัวลงไปด้วยเพราะจะทำให้ poll บิดเบือน

4. การเมืองภาคประชาชน (Civil Politics)

การเมืองภาคพลเมืองอาจเป็นปัจจัยชี้ขาดอนาคตของการเมืองไทย ที่ผ่านมาเราไม่ได้ส่งเสริมให้ประชาชนเรียนรู้จริยธรรมแบบพลเมือง (civic virtue)เราได้แต่พัฒนาให้ฝ่ายทุน กับอำนาจรัฐ เข้มแข็ง และทำให้ประชาชนของเราเป็นเพียงแค่ ปัจจัยผลิต และปัจจัยทางการเมืองเท่านั้น (เป็นคำกล่าวของ รศ.ดร.ธีรนาถ กาญจนอักษร คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

นักศึกษาเข้าใจ คำกล่าวข้างต้นอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่

ต้องให้ความหมายของคำที่เป็น Key word ของคำถาม ?

ร่วมทางการเมือง อันเนื่องมากจาการเพิ่มอาณาบริเวณของภาคประชาชนในสังคมการเมืองยังส่งผลให้เนื้อหาสาระของความเป็นการเมืองขยายมิติที่กว้างขวางขึ้นด้วย การเมืองในมิติที่กว้างขึ้นเรียกว่า “การเมืองใหม่”(New Politics) หรือที่เรียกว่า การเมืองภาคประชาชน(Civil Politics) ซึ่งเป็นการเมืองทีเน้นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม (The politics of Social Movement)

ความหมายของขบวนการทางสังคมหรือขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม

(Social Movements) ขบวนการทางสังคมไม่ใช่กลุ่มผลประโยชน์ในทัศนะของรัฐศาสตร์แนวเก่า ไม่ใช่องค์กรทางธุรกิจ แต่เป็นการก่อตัวรวมตัวกันของกลุ่มที่หลากหลายในสังคม โดยมีประเด็นที่เรียกร้องหลากหลาย ไม่ผูกติดกับผลกำไรทางธุรกิจ กฎหมายอาจจะไม่รับร้องแต่มีพลังในการเคลื่อนไหว เช่น สมัชชาคนจน ที่เกิดขึ้นเองจากความเดือดร้อนในเรื่องต่าง ๆ แล้วชาวบ้านมารวมตัวกันเองตามธรรมชาติ คือ “การมีส่วนร่วมทางการเมืองในโครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ(Informal Politics)

-Movements เป็นลักษณะที่เป็นพลวัต จะตั้งโดยเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ เช่น สมัชชาคนจน ซึ่งมีอำนาจต่อรองมากพอสมควร

-Groups กลุ่มคือการรวมกลุ่มของประชาชนที่มีผลประโยชน์ร่วมกันที่มีแนวคิดในเรื่องผลประโยชน์ร่วมกัน รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์ในทางการเมือง

-Organization องค์กร เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มต่างที่มีอุดมการณ์แนวคิดร่วมกันเช่น พรรคการเมือง

ขบวนการทางสังคมเกิดจากการรวมกลุ่มทางสังคม (Social Collective) ประกอบด้วย

-จิตสำนึกและอุดมการณ์ เช่น Greenpeace ที่ตั้งขึ้นเพื่ออุดมการณ์เรื่องสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ ไม่มีผลประโยชน์ทางธุรกิจมาเกี่ยวข้อง

-ค่านิยมและทัศนคติชัดเจน การต่อสู้บางครั้งอาจต้องใช้ความรุนแรงมีการปะทะกับฝ่ายนายทุนหรือรัฐบาลเพื่อแสดงจุดยืน

-ผลประโยชน์ร่วม เป็นผลประโยชน์ของคนที่มีอุดมการณ์เดียวกันแต่ไม่ใช่ผลประโยชน์ทางธุรกิจที่เป็นตัวเงิน

-พฤติกรรมร่วม ต้องแสดงออกอย่างมีพลังร่วมกันกระทำการอย่างเป็นเครือข่ายทั่วโลก

-การจัดตั้งองค์กร เพื่อต่อสู้หรือรณรงค์ในเรื่องที่จำเป็นขบวนการทางสังคมจะเป็นตัวสำคัญในการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ไม่เป็นทางการ คนกลุ่มนี้จะไม่สนใจนักการเมืองต่อสู้นอกสภาอย่างเดียว

การเมืองใหม่(New Politics)หรือการเมืองภาคประชาชน(Civil Politics) จะครอบคลุมประเด็นต่างๆดังนี้

และสถาบันที่เป็นทางการเท่านั้น

เฉพาะเรื่องของการปกครอง อำนาจรัฐ และระบบราชการเท่านั้น แต่ครอบคลุมประเด็นสาธารณะใหม่เช่นสิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม ชนกลุ่มน้อย

(State Sector)



การจากส่วนกลาง การเมืองจึงเป็นเรื่องของชุมชน (Local Politics or Grassroots Politics) เน้นการกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่นให้สามารถพึ่งตนเองได้

ขอบของสังคม (Marginal Groups) เช่นคนพิการ

-ประชาธิปไตยแบบตรวจสอบ เริ่มเป็นแนวคิดใหม่ที่จะทำให้การเมืองไทยเกิดการเปลี่ยนแปลง

จริยธรรมแบบพลเมือง (Civic virtue) คือคุณธรรมของความเป็นพลเมือง เป็นแนวความคิดที่มีมานานแล้วในวิชารัฐศาสตร์ โดยไม่รู้ว่ามีใครกล่าวไว้คนแรก แต่ อาจารย์อเนก ได้ดึงมาให้เห็นใหม่ว่า ในท่ามกลางที่เราต้องการการเมืองภาคประชาชนหรือภาคพลเมือง โดยพลเมืองไทยทุกคนนอกจากจะปฏิบัติหน้าที่ของพลเมืองตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังต้องมีในเรื่องคุณธรรมหรือจริยธรรมของความเป็นพลเมืองด้วย

Civic virtue ประกอบด้วย 3 ด้าน

1.Citizenship ความเป็นพลเมือง

-สิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ

-สิทธิที่จะไม่เชื่อฟังรัฐ (Disobedience Right) ชุมชนสามารถเลือกและตัดสินการดำรงชีวิตของตนได้เอง

-สำนึกสาธารณะ (Public Mind) คือจะต้องมีจิตใจที่มุ่งถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก

2.Political virtue คุณธรรมประจำของความเป็นการเมือง

-Ethics คือถ้าเราเป็นนักการเมืองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เราจะต้องเข้าใจ การเมืองต้องเป็นเรื่องของคุณธรรมจรรยา การเมืองไม่ใช่เป็นเรื่องของน้ำเน่า หรือการเมืองไม่ใช่เป็นเรื่องของการเอาชนะในการเลือกตั้ง

การเมืองเป็นเรื่องของการพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ส่วนร่วม หมายถึงว่า เรามีแนวทางหรือนโยบายให้กลุ่มของเรา ได้รับในสิ่งที่เรียกร้องต้องการ แต่ต้องทำให้ผลประโยชน์ส่วนรวมเสียไปด้วย อย่างเช่น นายกรัฐมนตรีทักษิณ บางทีถูกโจมตีว่าคอรัปชั่นทางนโยบาย แต่ยังดีกว่ากอบโกยอย่างเดียวอีกทั้งทำลายผลประโยชน์ส่วนรวมด้วย

- Professionalism นักการเมืองควรเป็นเมืองอาชีพ หรือ ความเป็นวิชาชีพของนักการเมือง โดยอาชีพนี้ควรสงวนไว้สำหรับมืออาชีพเท่านั้น

3.civil Society ความเป็นประชาสังคม เป็นเรื่องของการเพิ่มพลังอำนาจให้กับภาคประชาชนที่ไร้การต่อรอง หรือไร้อำนาจด้วย

จะเห็นว่า การเมืองในมุมมองของอาจารย์อเนก เป็นการเมืองที่เป็นเรื่องของคนส่วนใหญ่ การเมืองเป็นเรื่องของจริบธรรมและทำเพื่อคนส่วนใหญ่ไม่ใช่เป็นการเมืองของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีทีความมั่งคั่งร่ำรวยทางเศรษฐกิจ

ทางเศรษฐกิจจนเกิดชนชั้นกลางหรือพ่อค้าที่มีเงินทุนและได้หันมาให้การสนับสนุนพรรคการเมืองหรือลงเล่นการเมืองเอง แต่ฝ่ายทุนนี้จะลงเล่นการเมืองเพื่อผลประโยชน์ต่อส่วนตนเอง ไม่สนใจส่วนรวม ดังนั้นพรรคการเมืองไทยส่วนใหญ่จะเป็นพรรคเฉพาะกิจที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับผู้เป็นหัวหน้าพรรคซึ่งเป็นนายทุนพรรคหรือมีนายทุนให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง เมื่อหัวหน้าพรรควางมือทางการเมืองไปพรรคก็มักจะยุบตามไปด้วยพรรคการเมืองไทยไม่มีลักษณะการเป็นสภาบันทางการเมือง ซึ่งถือว่าเป็นภาคเอกชน (Private Sector) ที่เข้ามามีบทบาทในทางการเมือง

อำนาจรัฐ ในยุคก่อนนั้นภาครัฐ(State Sector) ทั้งนี้การแบ่งอาณาบริเวณระหว่างรัฐกับสังคมในสังคมไทย เดิมนั้นจะมีแค่ 2 ส่วนที่ปะทะกันอยู่ ส่วนแรกคือภาครัฐ (State Sector) และภาคเอกชน (Private Sector) และภาครัฐโดยระบบราชการมีความสำคัญและเข้มแข็งมากจนกระทั่งสังคมไทยถูกเรียกจากนักวิชาการตะวันตก Fred W. Riggs เรียกว่า รัฐาชการ( Bureaucratic Polity) หรือที่เรียกว่า อำมาตยาธิปไตย หรือ อำนาจนิยมราชการ

กล่าวคือรัฐหรือระบบราชการจะเป็นตัวนำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ในสังคมอย่างสำคัญ ขณะที่ภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจเป็นภาคที่มีความอ่อนแอ เป็นเบี้ยล่างของราชการ ขณะที่ภาคประชาชนชาวไร่ชาวนาถือว่าเป็น Powerless Group หรือกลุ่มที่ได้พลังอำนาจโดยสิ้นเชิง

ความเป็นสังคมข้าราชการจะเป็นค่านิยมที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยในเวลานั้น โดยอำนาจของราชการครอบคลุมทุกตารางนิ้วของสังคม รัฐกับข้าราชการคือสิ่งเดียวกัน ชนชั้นข้าราชการเป็นชนชั้นที่มีอำนาจมากที่สุด

สภาพดังกล่าวดำรงอยู่นานมาก จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 อำนาจของรัฐและราชการถูกสั่นคลอนและท้าทายด้วยพลังอำนาจใหม่ๆ ทำให้ความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจในสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปจะเป็นภาคที่อำนาจมากในการทางเมือง

ค้าออกจำหน่ายเพื่อพัฒนาการพัฒนาไปสู่การเป็น NICs โดยรัฐบาลมุ่งพัฒนาทางด้านวัตถุมากกว่าการพัฒนาทางการเมือง ประชาชนจึงมีการเรียนรู้ว่าประชาธิปไตย น้อยมาก

ปัจจัยทางการเมืองรัฐบาลมองประชาชนเป็นเพียงแค่คนมาหย่อนบัตรลงคะแนนเลือกตั้ง ต่อไปเป็นหน้าที่ของผู้แทนที่จะไปทำอะไรโดยประชาชนไม่มีสิทธิแสดงความเห็น หรือมีส่วนร่วมในทางการเมืองเลย เป็นได้แค่เพียงปัจจัยทางการเมืองเท่านั้น

เห็นด้วยกับคำกล่าวข้างต้น การพัฒนาทางการเมืองไทยจะก้าวต่อไปต้องส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองให้มองเห็นคุณค่าทางการเมือง ให้เห็นว่าเป็นเรื่องของประชาชนทุกคนที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาของประเทศ

ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) หมายถึง

-การเมืองเรื่องสาธารณะ หมายความว่าขอบเขตของการเมืองไม่ควรอยู่ที่พรรคการเมืองและนักการเมืองเท่านั้น ในขณะที่ประชาชนถูกกันออกมาเป็นตัวประกอบ การเมืองน่าจะเป็นเรื่องของคนทุกคน อะไรก็ตามที่กระทบกับคนส่วนใหญ่นั่นคือการเมือง การเมืองไม่ใช่เรื่องของครอบครัวหรือเรื่องส่วนตัวของใคร

-การเมืองเป็นเรื่องของกลุ่มและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม เวทีทางการเมืองจะต้องเปิดโอกาสให้แต่ละกลุ่มแต่ละขบวนการมีโอกาสเสนอข้อเรียกร้องได้อย่างอิสระ เพื่อแสดงให้เห็นว่ากลุ่มตนก็มีผลประโยชน์เฉพาะ

-การเมืองเป็นเรื่องของชาวบ้านและชุมชน ประชาชนในชนบทน่าจะได้รับการเอาใจใส่มากที่สุดเพราะไร้ซึ่งอำนาจเศรษฐกิจ อำนาจทุน และการต่อรองใด ๆ การเมืองจึงควรเปิดโอกาสให้คนกลุ่มนี้ได้มีโอกาสแสดงความต้องการ

-การกระจายอำนาจ ระบบราชการต้องลดบทบาทในการควบคุมบังคับ แล้วกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่นและชุมชนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

-การเมืองต้องเสริมให้ทุกคนตระหนักในสิทธิและคุณธรรมของพลเมือง (Civic Virtue)

เห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างประชาธิปไตยแบบเก่ากับแบบใหม่ ซึ่งแบบเก่าไม่ใช่เรื่องเลวร้ายแต่เมื่อมาใช้ในประเทศไทยแล้วกลับกลายเป็นสิ่งสกปรกทำให้ประชาชนไม่อยากเข้าไปยุ่ง

กระแสโลกและการท้าทายใหม่ ๆ ในศตวรรษที่ 21 (ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองและสังคมไทย) เป็น New Context หมายถึงบริบทแวดล้อมทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมที่เข้ามาล้อมสังคมไทยส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมืองไทย

-ในแง่เศรษฐกิจทุนนิยมเสรีเป็นบริบทสำคัญในเวลานี้ สังคมไทยอยู่ในโครงสร้างของทุนนิยมโลกซึ่งเน้นเรื่องเสรีนิยม เน้นทุนข้ามชาติที่มีขนาดใหญ่โตจึงมีการขับเคลื่อนของทุน ปัญหาเศรษฐกิจไทยเป็นผลมาจากการอยู่ภายในกรอบของทุนนิยมโลก ไทยจึงต้องได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน ตลาดหุ้น Wall Street เป็นต้น

-การแพร่กระจายของวัฒนธรรมบริโภคนิยมที่เข้ามาปะทะกับวัฒนธรรมท้องถิ่น Global ปะทะกับ Local ไทยจึงตกอยู่ในสภาวะที่ถูกดึงไปทางโน้นทีทางนี้ทีกลายเป็นสภาพที่ก้ำกึ่ง คนไทยจึงดำรงชีวิตอย่างลำบาก อย่างไรก็ตามจะถอยกลับไปอยู่ในถ้ำนุ่งผ้าทอแล้วไม่ยุ่งกับโลกเลยก็ไม่ได้แม้ว่าจะประสบวิกฤตเศรษฐกิจอย่างไรก็ตาม การตัดสินใจนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก การจะเป็นนิกส์ก็ทำไม่ได้อีกแล้วทุกอย่างล่มสลายหมด การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาเป็นภาพลวงที่เกิดจากการปั่นกลายเป็นเศรษฐกิจฟองสบู่ (Bubble Economy) การสร้างงานไม่ได้เกิดขึ้นจริงกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เศรษฐกิจไม่ได้เกิดกับ Real Sector ไม่ได้มีการลงทุนแล้วสร้างงานให้ประชาชนทุกส่วนเกิดรายได้จริง

-ประชาธิปไตยแบบตรวจสอบ เริ่มเป็นแนวคิดใหม่ที่จะทำให้การเมืองไทยเกิดการเปลี่ยนแปลง

-ความเข้มแข็งของภาคประชาชน

-กระแสความคิดเรื่องสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา เราจะได้ยินคำว่า การเมืองสีเขียว เศรษฐศาสตร์สีเขียว ฯลฯ หมายความว่าทุก ๆ เรื่องในสังคมต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา เป็นจิตสำนึกของสังคมสมัยใหม่

สิ่งแวดล้อมกับนิเวศวิทยามีความหมายคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน สิ่งแวดล้อมหมายถึงอะไรก็ได้ที่อยู่รอบ ๆ ตัว เช่น ต้นไม้ มนุษย์ด้วยกันเอง แม่น้ำลำคลอง แต่นิเวศวิทยาเป็นเรื่องของระบบชีวิตจึงใหญ่กว่าสิ่งแวดล้อม หมายถึงความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นวิถีชีวิตเป็นองค์รวมทั้งระบบ

-เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ ซึ่งกลายมาเป็นวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันไปแล้ว แต่คนไทยยังไม่ค่อยคำนึงถึงเนื้อหาสาระเห็นได้จากการใช้มือถือของคนไทยที่ใช้พูดคุยกันมากกว่าคุยธุระ โดยเฉพาะวัยรุ่นที่มีกันแทบทุกคน ดังนั้นจึงต้องระวังเรื่องพิษภัยจากเทคโนโลยีด้วย เช่น คอมพิวเตอร์ที่อำนวยความสะดวกได้มากแต่ก็ทำลายความเป็นมนุษย์ลงไปด้วย

-อำนาจบรรษัทข้ามชาติและองค์กรเหนือชาติ เป็นองค์กรที่มีบทบาทมากในตอนนี้ ประเทศไทยกำลังตกอยู่ภายใต้องค์กรเหล่านี้ที่เข้ามาในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ องค์การการค้าโลกที่ทำหน้าที่จัดระบบเศรษฐกิจโลกให้เป็นระบบเดียวกัน แต่เบื้องหลังมีมหาอำนาจควบคุมอยู่แล้วออกกฎระเบียบมาบังคับประเทศเล็ก ๆ ที่เป็นสมาชิกให้ปฏิบัติตาม เช่น ต้องจดสิทธิบัตร ต้องไม่ใช้แรงงานเด็ก ทั้ง ๆ ที่บางครั้งประเทศเล็กถูกปล้นทรัพยากรไปด้วยซ้ำ อย่างกรณีข้าวหอมมะลิหรือสมุนไพรบางตัวที่ถูกสหรัฐอเมริกาจดสิทธิบัตรไปก่อนแล้วเพราะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า ประเทศเล็ก ๆ จึงต้องถูกบังคับทางอ้อมให้เกิด International Division of Labor ในรูปแบบใหม่ที่เอาเปรียบอย่างมาก ไทยมีหน้าที่เพียงปลูกพืชสมุนไพรส่งให้สหรัฐฯสกัดเป็นตัวยามาขาย เห็นได้ว่ามหาอำนาจได้เปรียบประเทศเล็ก ๆ อย่างมหาศาล

-เทคโนโลยีชีวภาพ หมายถึงการดัดแปลงสายพันธ์พืช สัตว์ เช่น การโคลนนิ่ง พืช GMO มีการดัดแปลงสายพันธุ์ให้ทนขึ้น ลูกใหญ่ขึ้น ในต่างประเทศสินค้า GMO จะมีฉลากติดไว้ให้ผู้บริโภคทราบก่อนตัดสินใจซื้อ

-สิทธิของคนกลุ่มน้อยที่ถูกเบียดเบียนโดยคนส่วนใหญ่ สิทธิของคนด้อยโอกาสและอยู่ชายขอบของสังคม เช่น สตรี เด็ก ชนเผ่า กลุ่มศาสนา กลุ่มความเชื่อ เหล่านี้จะต้องเติบโตขึ้น

สรุปการเมืองจะก้าวหน้ามีการพัฒนา จะต้องส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองให้มากที่สุดโดยการสมัครใจ

คำว่า Citizen คือพลเมืองของรัฐใดๆ แต่คำว่าประชาชน มันมีนัย ที่หมายถึงคนที่มีสิทธิและอำนาจเหนือขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งพลเมืองอาจจะเป็นเรื่องของหน้าที่ ดังนั้นนัยของพลเมืองเป็นเรื่องของหน้าที่ที่กำหดโดยรัฐให้พลเมืองต้องทำ เช่น เสียภาษี เป็นทหาร ไปเลือกตั้ง เช่น ถ้าเราไปอยู่ในอเมริกานานเกินกว่าเวลาที่กำหนดไว้ จะได้กรีนการ์ด คือให้ความเป็นพลเมืองกับเรา ซึ่งเราต้องปฏิบัติตามของของอเมริกันเพราะเรามีความเป็นพลเมืองอเมริกันแล้ว

สรุปคำว่า พลเมือง จึงมีนัย ให้ปฏิบัติตามกรอบที่รัฐกำหนดไว้

คำว่า ประชาชน หรือ Population หรือ People หมายถึงสมาชิกในสังคมที่มีสิทธิมีส่วน หรือ มีนัยของการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นมาอีก นอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ของพลเมืองที่ดีรัฐกำหนดไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สิทธิ เสรีภาพ แต่ก็ยังมีเพิ่มขึ้นมาอีก เราเรียกว่า ประชาชน

ส่วนคำว่า ราษฎร คือคำที่ใช้ในอดีต หมายถึง ไพร่ฟ้า หน้าใส ต้องอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐอย่างเข้มข้น มักจะใช้ในระบอบการปกครองแบบกษัตริย์นิยม หรือจักรพรรดินิยม หรือ ระบบสมมติเทวราช

ดังนั้น คำคำเดียว คำหลายคำที่มีความหมายเดียวกัน อาจจะมีนัย ของความหมายที่ซ่อนอยู่

คำว่า Civic virtue คือคุณธรรมของความเป็นพลเมือง เป็นแนวความคิดที่มีมานานแล้วในวิชารัฐศาสตร์ โดยไม่รู้ว่ามีใครกล่าวไว้คนแรก แต่ อาจารย์อเนก ได้ดึงมาให้เห็นใหม่ว่า ในท่ามกลางที่เราต้องการการเมืองภาคประชาชนหรือภาคพลเมือง โดยพลเมืองไทยทุกคนนอกจากจะปฏิบัติหน้าที่ของพลเมืองตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังต้องมีในเรื่องคุณธรรมหรือจริยธรรมของความเป็นพลเมืองด้วย

Civic virtue ประกอบด้วย 3 ด้าน

1.Citizenship ความเป็นพลเมือง

-สิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย

-สิทธิที่จะไม่เชื่อฟังรัฐ

-สำนึกสาธารณะ

2.Political virtue คุณธรรมประจำของความเป็นการเมือง

-Ethics คือถ้าเราเป็นนักการเมืองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เราจะต้องเข้าใจ การเมืองต้องเป็นเรื่องของคุณธรรมจรรยา การเมืองไม่ใช่เป็นเรื่องของน้ำเน่า หรือการเมืองไม่ใช่เป็นเรื่องของการเอาชนะในการเลือกตั้ง

การเมืองเป็นเรื่องของการพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ส่วนร่วม หมายถึงว่า เรามีแนวทางหรือนโยบายให้กลุ่มของเรา ได้รับในสิ่งที่เรียกร้องต้องการ แต่ต้องทำให้ผลประโยชน์ส่วนรวมเสียไปด้วย อย่างเช่น นายกรัฐมนตรีทักษิณ บางทีถูกโจมตีว่าคอรัปชั่นทางนโยบาย แต่ยังดีกว่ากอบโกยอย่างเดียวอีกทั้งทำลายผลประโยชน์ส่วนรวมด้วย

- Professionalism นักการเมืองควรเป็นเมืองอาชีพ หรือ ความเป็นวิชาชีพของนักการเมือง โดยอาชีพนี้ควรสงวนไว้สำหรับมืออาชีพเท่านั้น

3.civil Society ความเป็นประชาสังคม เป็นเรื่องของการเพิ่มพลังอำนาจให้กับภาคประชาชนที่ไร้การต่อรอง หรือไร้อำนาจด้วย

จะเห็นว่า การเมืองในมุมมองของอาจารย์อเนก เป็นการเมืองที่เป็นเรื่องของคนส่วนใหญ่ การเมืองเป็นเรื่องของจริบธรรมและทำเพื่อคนส่วนใหญ่ไม่ใช่เป็นการเมืองของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีทีความมั่งคั่งร่ำรวยทางเศรษฐกิจ

Empowerment หมายถึงการเพิ่มอำนาจ หรือการทำให้ประชาชนซึ่งครั้งหนึ่งเป็นผู้ไร้โอกาส หรือไร้การต่อรองให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น จนถึงขั้นที่จะปกครองตนเองได้

นี้เราได้ความหมายของ Civic virtue ซึ่งมันเป็นความจำเป็นในการการเมืองยุคใหม่ การเมืองภาคประชาชน ที่ Civic virtue จะครอบคลุม 3 เรื่อง คือ ความเป็นพลเมือง คุณธรรมทางการเมือง และประชาสังคม

การเมืองไทยกับกระแสความคิดเรื่องประชาสังคม

-เปลี่ยนการเมืองของพรรคการเมืองและนักการเมืองเป็นการเมืองของพลเมือง เป็นการขยายโอกาสให้คนทุกชั้นเหล่าเข้าไปมีส่วนร่วม

-ลดบทบาทของภาครัฐและภาคราชการ ปัจจุบันเริ่มมาเน้นในบทบาทการกำกับดูแล บทบาทการอำนวยความสะดวก บทบาทการเป็นที่ปรึกษาแนะนำ มากขึ้น ส่วนบทบาทการอนุมัติ อนุญาต ก็กระจายไปให้ส่วนอื่นทำ เช่น การตรวจสภาพรถยนต์ปัจจุบันก็ให้เอกชนทำ การตรวจโรงงานให้เอกชนเข้ามาดูแล จะทำให้ระบบราชการเล็กลง ใช้งบน้อยลง

-สร้างองค์กรและกลไกอิสระเพื่อการตรวจสอบทางการเมือง คือให้มีองค์การเหล่านี้มากๆตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด และองค์กรอื่นๆที่กำลังจะก่อตัวขึ้นมาเช่น เครือข่ายพีเน็ท ใช้เงิน กกต.แต่เป็นองค์กรอิสระในการดูแลกระบวนการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรม ดังนั้นต้องส่งเสริมให้มีองค์กรนี้มากๆ ในเร็วๆนี้จะมีเครือข่ายประชาชนต้านการคอรัปชั่น

-เน้นบทบาทของสื่อมวลชนในการสร้างมติมหาชน( Public Opinion) รัฐบาลนี้ถูกตั้งข้อหาริดรอนสื่อ หรือซื้อสื่อมาเป็นเจ้าของสื่อ นอกจากนี้สื่อต้องมีบทบาทสร้างวาทะทางสังคม (Public Agenda)ซึ่งพัฒนามาจากการสร้างมติหมาชนหมายถึงคนส่วนใหญ่ในสังคมนั้นยอมรับและยึดถือว่าจะต้องทำต่อไป เช่น การปฏิรูปการเมือง ซึ่งทุกเห็นด้วยว่าถึงเวลาจะต้องทำแล้วมิฉะนั้นจะเกิดวิกฤติ นอกจากนี้ก็มีการปฏิรูปการศึกษา แต่ยังไม่สำเร็จเนื่องจากรัฐมนตรีไม่ผลักดัน จะเห็นว่ามติมหาชนนั้นเป็นการพัฒนามาจากประเด็นทางสังคมเล็กๆ และกลายเป็นมติมหาชนและพัฒนาไปสู่วาระทางสังคมในที่สุด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Hosted by www.Geocities.ws

1