วิพากษ์บทความงานวิจัยในโครงการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ผลจากการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

1.สภาพความสำคัญของปัญหา การกำหนดสภาพปัญหาของงานวิจัยนั้นสำคัญมากเพราะจะเป็นการบอกให้ทราบว่าเรื่องที่จะทำการศึกษานั้นมีปัญหาอะไร สภาพของปัญหามีอย่างไรและจะต้องบอกถึงความสำคัญของปัญหาที่จะศึกษาด้วย ซึ่งบทความการวิจัย เรื่อง ผลการจากกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น มีปัญหาว่าการกระจายอำนาจในรูปของการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบล ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบล พ.ศ.2542 ของเทศบาลตำบลท่าศาลา ซึ่งได้รับการยกฐานะจากสุขาภิบาลท่าศาลา จะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบได้มากกว่าการปกครองในรูปของสุขาภิบาลหรือไม่ ? นี้คือปัญหาที่ทำให้ต้องศึกษางานวิจัยในเรื่องนี้ ซึ่งของเป็นการขมวดปัญหาในตอนท้ายของสภาพได้อย่างชัดเจนทำให้ทราบปัญหาที่ทำให้ต้องศึกษาในเรื่องนี้ทำให้ปผู้อ่านได้อ่านสภาพปัญหาแล้วน่าติดตามต่อไป…

2.วัตถุประสงค์ของการวิจัย ในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัยเป็นตัวบอกให้รู้ว่าผู้วิจัยต้องการอยากได้อะไรจากการวิจัย ในการทำการวิจัยต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์หลักที่สามารถแตกออกเป็นวัตถุประสงค์รองๆลงมาๆได้ เพื่อจะบอกได้ว่าผลงานวิจัยได้ตอบคำถามหลักที่ได้ตั้งเอาไว้ และในการกำหนดวัตถุประสงค์จะต้องสอดคล้องกับการกำหนดชื่อเรื่อง ชื่อเรื่องจะต้องสอดคล้องกับประเด็นปัญหา ถ้าปัญหาไม่ชัดเจน ก็จะกำหนดวัตถุประสงค์ไม่ได้ ซึ่งบทความการวิจัย เรื่อง ผลการจากกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้จำนวน 2 ข้อ คือ

1.เพื่อศึกษาถึงปัจจัยทางด้านกระบวนการบริหารที่ให้เกิดผลสำเร็จหรือความล้มเหลวจากการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลท่าศาลา

2.เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลท่าศาลา บรรลุวัตถุประสงค์ของการกระจายอำนาจมากน้อยเพียงใด

จากการตั้งวัตถุประสงค์ข้างต้นนั้นจะสอดคล้องกับการกำหนดชื่อเรื่อง และสอดคล้องกับสภาพปัญหา แต่ วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 จะเป็นการนำไปสู่การตอบคำถามในข้อที่ 2 เพราะปัญหาต้องการทราบการบริหารงานในรูปเทศบาลจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากกว่าการบริหารงานในรูปของสุขาภิบาลหรือไม่มองในแง่ของการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ดั้งนั้นควรเปลี่ยน ข้อ ใหม่จากข้อ 1 เปลี่ยนเป็นข้อ 2

3.สมมุติฐานของการวิจัย การตั้งสมมุติฐานจะเป็นการคาดเดาคำตอบของการวิจัยล่วงหน้าอย่างใช้หลักวิชาการ เพราะการตั้งสมมุติฐานจะเป็นตัวชี้นำการวิจัย การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการตีความของประเด็นปัญหา ถ้าเราตั้งสมมุติฐานไม่ถูกต้องก็อาจทำให้การวิจัยผิดทางได้ ซึ่งบท

/ ความการวิจัย เรื่อง…

- 2 -

ความการวิจัย เรื่อง ผลการจากกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ไม่ได้กำหนดสมมุติฐานไว้ (เอกสารมีเป็นบทคัดย่อ) บางครั้งการวิจัยอาจจะไม่ตั้งสมมุติฐานก็ได้ ก็ลงไปจัดเก็บข้อมูลเลยและนำเอาข้อมูลมาประมวลเลยว่าการบริหารงานของเทศบาลมีประสิทธิภาพประสิทธิผลอย่างไร แต่การตั้งสมมุติฐานก็จะเป็นกรอบในการจัดเก็บข้อมูลที่ชัดเจนจะนำไปสู่การอธิบาย เพราะในการวิจัยจะต้องมีคำตอบและอธิบาย แต่ถ้าตั้งสมมุติฐานผิดก็อาจทำให้การวิจัยหลงทางได้..

4.รูปแบบการวิจัย เป็นการจัดระบบของสิ่งที่เราจะสังเกตุซึ่งสิ่งที่เราจะสังเกตุก็คือตัวเราต้องการวางรูปแบบการวิจัยจะทำให้เราทราบหน้าตาของการวิจัย ว่าจะเป็นอย่างไร สิ่งที่นักวิจัยจะวัดก็คือตัวแปร ซึ่งจะสามารถจัดวางตัวแปรได้หลายรูปแบบ การจัดกลุ่มตัวแปรต่างๆจะต้องคำนึงถึงเงื่อนไข (Condition) ว่ามีอะไรบ้างหรือมีแก่นหรือคำใดที่เป็นหัวใจหลัก(Key Word) เป็นสาระสำคัญของตัวแปรนั้นๆ ซึ่งบทความการวิจัย เรื่อง ผลการจากกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ได้กำหนดรูปแบบการวิจัย โดยการศึกษาจากเอกสาร(Documentary Research) โดยรวบรวมเอกสารทางวิชาการ ผลงานการวิจัย กฎหมาย ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจ และการเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบล และเป็นการทดลองตามธรรมชาติคือการกระทำกับกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง คือ คณะผู้บริหาร รวมทั้งสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 12 คน พนักงานเทศบาลจำนวน 20 คน และประชาชนกลุ่มตัวอย่างในเขตเทศบาลจำนวน 50 คน โดยการอาศัยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เป็นหลักซึ่งเป็นการวิจัยแบบสำรวจ(Survey Research) ข้อมูลที่เชื่อถือได้โดยตรงจากคน ซึ่งก็สอดคล้องกับหลักวิชาการ..

5. กลุ่มประชากรและวิธีการเลือกกลุ่มประชากร กลุ่มประชากรในการวิจัยครั้งนี้จะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการศึกษา ต่อวัตถุประสงค์การศึกษา คือผู้วิจัยต้องการศึกษาเรื่อง ผลการจากกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น กลุ่มประชากรที่เลือกก็คือ คือ คณะผู้บริหาร , สมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 12 คน พนักงานเทศบาลจำนวน 20 คน และประชาชนกลุ่มตัวอย่างในเขตเทศบาลจำนวน 50 คน ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับประเด็นการศึกษา ส่วนวิธีการเลือกกลุ่มประชากรนั้นจะแบบเฉพาะเจาะจงตามวัตถุประสงค์ (Purposive Sample) บทความการวิจัย เรื่อง ผลการจากกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น มีความต้องการศึกษาเรื่อง ผลของการกระจายอำนาจ เกี่ยวกับเรื่องประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการบริหารงาน ในรูปแบบเทศบาลจะดีกว่าการปกครองในรูปแบบสุขาภิบาลหรือไม่ จึงกำหนดกลุ่มประชากรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการศึกษาซึ่งก็สอดคล้องกับเรื่องที่ทำการศึกษาและเป็นไปตามหลักวิชาการ

6.ความเชื่อถือได้และความเที่ยงตรง ความเชื่อได้นั้นหมายถึงเครื่องมือที่ใช้ในการวัดในสิ่งเดียวกันได้เหมือนกันทุกครั้งที่ทำการวัด สามารถวัดได้อย่างแม่นยำ(Accurate) สิ่งที่ถูกวัด (Same thing)และผลของค่าที่มีความเที่ยงตรง (Precision) ไม่ว่าจะทำการวัดซ้ำๆสักกี่ครั้งก็จะได้ผลเหมือนกันทุก

/ครั้งนี้คือความเชื่อได้…

- 3 -

ครั้งนี้คือความเชื่อได้ ส่วน ความเที่ยงตรงนั้น หมายความว่าเครื่องนั้นสามารถวัดได้ตรงกับความต้องการที่จะวัด ไม่ว่าสถานการณ์ภายนอกจะเป็นอย่างไร ค่าความเที่ยงตรงจะได้จากการใช้เครื่องมือวัด ไม่ใช่ค่าเที่ยงตรงของเครื่องมือวัด ซึ่งแบ่งออกเป็นความเที่ยงตรงในเชิงเหตุผล(Rational)และความเที่ยงตรงในเชิงสถิติ(Statistical) ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อใช้วิธีการสัมภาษณ์ ใช้แบบสอบถาม เพื่อศึกษาจากพนักงานเทศบาล คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล และกลุ่มประชากรในเขตเทศบาล เป็นตัววัดความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ โดยนำมาคำนวณค่าสถิติ(ร้อยละ) เป็นข้อมูลที่ถือว่าน่าเชื่อถือและเที่ยงตรง จากเวลา และตัวเลขผู้ให้ข้อมูล รวมทั้งเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของเทศบาลโดยตรง จึงเป็นตัววัดความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้

7.หน่วยในการวิเคราะห์ ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามโดยการคำนวณค่าเป็นร้อย ละ ซึ่งเป็นการจากข้อมูล (Data) ของการศึกษา บริบทของข้อมูล ประโยชน์และความรู้ของผู้วิเคราะห์ เป้าหมายของการวิเคราะห์ มีการลงความเห็นของผู้วิเคราะห์ เป็นการแสดงถึงความเที่ยงตรงของการวิเคราะห์

8.ตัวแปรที่ศึกษา ตัวที่ใช้ในการศึกษาคือ ปัจจับทางด้านการบริหารงานที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลจาการเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบล โดยศึกษาจากคณะผู้บริหารเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 12 คน พนักงานเทศบาล จำนวน 20 คน และ ประชากรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน ในเขตเทศบาลตำบลท่าศาลา ซึ่งจะเป็นการวิจัยตามธรรมชาติ ไม่มีการจัดกระทำใดๆเพื่อกระตุ้นหรือ Treatment ที่จะมากระทำต่อตัวแปร ซื่งเป็นตัวแปรอิสระภายในคน คือความรุ้สึกนึกคิดของคนอาจทำให้เกิดผลต่อพฤติกรรมบางอย่างของผู้ถูกสัมภาษณ์หรือตอบแบบการวิจัยได้ ซึ่งถือว่าเป็นตัวแปรที่เชื่อถือได้

9.เครื่องมือที่ใช้ ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม จากพนักงานเทศบาลจำนวน 20 คน ผู้บริหารเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 12 คน และกลุ่มประชากรเป้าหมาย จำนวน 50 คน เกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวและการบริหารงาน และศึกษาจากข้อมูลเอกสาร(Documentary Research) ที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้ทั่งในเชิงคุณภาพ(Qualitative Study)และในเชิงปริมาณ(Quantitative Research ) ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือที่ถูกต้องตามหลักวิชการในการทำการวิจัยและเหมาะสม

10.ประมวลภาพรวมของเอกสาร/วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผู้ศึกษาได้ค้นคว้าจากแนวคิด ทฤษฎี กฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ แนวคิดเกี่ยวกับการกระจายอำนาจตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความหมายและแนวทางในการศึกษาการปกครองท้องถิ่น การปกครองท้องถิ่นไทย ในรูปแบบสุขาภิบาลและเทศบาล ทฤษฎีว่าด้วยการจัดองค์การ( Organization Management Theory) และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 พรบ.การเปลี่ยนฐานะ

/สุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบล…

- 4 -

สุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบล พ.ศ.2542 พรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ.2542 และผลงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่นและการกระจายอำนาจ ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นในการศึกษามากและยังเป็นการนำไปสู่การกำหนดกรอบการศึกษาได้อย่างถูกต้องอีกด้วย

11.กรอบความคิดของการวิจัย กรอบความคิด (Conceptualization) เป็นขั้นตอนขบวนการแรกของการวิจัย ซึ่งผู้ศึกษาได้กำหนดกรอบความคิดไว้ว่า ผลจากการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ซึ่งต่อมาก็คือการตั้งคำถามในการวิจัย ว่าการบริหารงานในรูปแบบเทศบาลจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้มากกว่าการปกครองในรูปแบบสุขาภิบาลหรือไม่ จะเป็นตัวชี้นำในการลงไปจัดเก็บข้อมูลเพื่อตอบคำถามต่อไป เป็นการกำหนดกรอบความคิดในการการวิจัยที่สมารถศึกษาได้คือสามารถนำไปวัดในโลกแห่งความเป็นจริงได้

12.ผลของการวิจัย การวิจัยคือการศึกษาค้นคว้าเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่มวลมนุษยชาติ อย่างมีแบบแผน มีการกำหนดขั้นตอนที่มีเหตุมีผล อย่างมีหลักวิชาการผลจากการศึกษาการกระจายอำนาจสูท้องถิ่น ศึกษาในกรณีการเลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบล ทำให้ทราบว่ามีปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จและความล้มเหลวจากการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล ซึ่งสามารถนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนการพัฒนาเทศบาลตำบลต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพราะทราบถึงปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องทังในด้านบวกและด้านลบแล้ว ถือว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยและเป็นไปตามหลักวิชาการคือการวิจัยก็เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก้มวลมนุษยชาติ

13.ข้อเสนอแนะของการศึกษาวิจัยที่ควรทำต่อ การทำการวิจัยนั้นเป็นการหาความรุ้เพิ่มเติมคือศึกษาในสิ่งที่ไม่รู้คำตอบแต่มีคถามและต้องการคำตอบ ในการทำงานวิจัยนั้นจะต้องไปศึกสำรวจวรรณกรรม(Literature Review) เพื่อให้ทราบว่าเรื่องที่จะทำการศึกษานั้นมีคนศึกษาไว้หรือยังและศึกษาถึงขั้นไหนแล้ว เพราะการทำวิจัยเป็นการพัฒนาความรู้ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ จึงไม่ใช่ทำในสิ่งคนอื่นศึกษาไว้แล้วอย่างซ้ำๆ ก็จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ดังนั้นข้อเสนอแนะของการศึกษาวิจัยที่ควรทำต่อ จึงสำคัญมาก โดยผู้ศึกษาได้ให้ข้อเสนอแนะของการศึกษาวิจัยที่ควรทำต่อ ในประเด็นที่ไม่ได้ทำการศึกษาและเห็นว่ามีปัญหาสมควรทำการศึกษาต่อเพื่อประโยชน์ในนำไปปรับใช้ในการบริหารงานท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นการเพิ่มพูนความรุ้แก่มวลมนุษยชาติต่อไป ซึ่งผู้วิจัยได้เสนอไว้ดีมาก

14.ประโยชน์ของการศึกษา ในการศึกษาวิจัยนั้นต้องบอกว่าเกิดประโยชน์อย่างไร ถ้างานวิจัยใดไม่มีประโยชน์ก็จะไม่ทำการศึกษา โดยประโยชน์ในการศึกษานั้นอาจจะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้หรือประโยชน์ในทางวิชาการก็ได้ ในการศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบถึงผลการเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบล ตาม พรบ.เปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบล พ.ศ.2542

/สามรถใช้เป็นแนวทาง…

- 5 -

สามรถใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและการบริหารจ้ดการตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการตอบสนองความต้องการของประชาชนต่อไป และยังใช้เป็นแนวทางการศึกษาด้านการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก็สอดคล้องกับประเด็นที่ศึกษา ได้คำตอบตรงตามคำถามที่ตั้ง ก็เป็นไปตามหลักการทำการวิจัย..

Hosted by www.Geocities.ws

1