โครงการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ผลจากการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น :

ศึกษาเฉพาะกรณียกฐานะสุขาภิบาลท่าศาลาเป็นเทศบาลตำบล ของ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช

วัตถุประสงค์ของการวิจัย ในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัยเป็นตัวบอกให้รู้ว่าผู้วิจัยต้องการอยากได้อะไรจากการวิจัย ในการทำการวิจัยต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์หลักที่สามารถแตกออกเป็นวัตถุประสงค์รองๆลงมาๆได้ เพื่อจะบอกได้ว่าผลงานวิจัยได้ตอบคำถามหลักที่ได้ตั้งเอาไว้ และในการกำหนดวัตถุประสงค์จะต้องสอดคล้องกับการกำหนดชื่อเรื่อง ชื่อเรื่องจะต้องสอดคล้องกับประเด็นปัญหา ถ้าปัญหาไม่ชัดเจน ก็จะกำหนดวัตถุประสงค์ไม่ได้ ซึ่งบทความการวิจัย เรื่อง ผลการจากกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้เดิมจำนวน 2 ข้อ คือ

1.เพื่อศึกษาถึงปัจจัยทางด้านกระบวนการบริหารที่ให้เกิดผลสำเร็จหรือความล้มเหลวจากการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลท่าศาลา

2.เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลท่าศาลา บรรลุวัตถุประสงค์ของการกระจายอำนาจมากน้อยเพียงใด

ประเด็นวิพากษ์การตั้งสมมุติฐาน ยังไม่เป็นคำถามเห็นควรปรับใหม่ให้เป็นประโยชน์คำถาม และเป็นการศึกษาภาพรวมของกระบวนการบริหารจึง แก้เป็น

1.เพื่อศึกษาถึงปัจจัยทางด้านกระบวนการบริหารที่ให้เกิดผลสำเร็จหรือความล้มเหลวจากการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลท่าศาลา ?

ส่วนวัตถุประสงค์ในข้อที่ 2 นั้นดีอยู่แล้วไม่ต้องเปลี่ยนแต่เพิ่มวัตถุประสงค์ข้อที่ 3อีกว่า

3.การบริหารงานของเทศบาลตำบลท่าศาลาตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในเขตเทศบาลหรือไม่?

ดั้งนั้นจะได้สมมุติฐานที่ปรับใหม่แล้วดังนี้

1.เพื่อศึกษาถึงปัจจัยทางด้านกระบวนการบริหารที่ให้เกิดผลสำเร็จหรือความล้มเหลวจากการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลท่าศาลา ?

2.เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลท่าศาลา บรรลุวัตถุประสงค์ของการกระจายอำนาจมากน้อยเพียงใด ?

3.การบริหารงานของเทศบาลตำบลท่าศาลาตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในเขตเทศบาลหรือไม่?

ประเด็นวิพากษ์ งานวิจัยชิ้นนี้ไม่มีสมมุติฐานจึงสามารถนำวัตถุประสงค์ของงานวิจัยมา สร้างสมมุติฐานได้ดังนี้

ข้อ 1. ปัจจัยทางด้านกระบวนการบริหารงานของเทศบาลตำบลท่าศาลามีผลสำเร็จจากการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล

ข้อ 2.ผลจากการกระจายอำนาจเทศบาลตำบลท่าศาลาสามารถระดมความร่วมมือของประชาชนได้ในระดับชุมชน

ข้อ 3. การบริหารของเทศบาลตำบลท่าศาลาตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ มีรายได้เพิ่มขึ้น และ ประชาชนส่วนใหญ่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลการบริหารงานของเทศบาล

ตัวแปรของการวิจัย

A = องค์ประกอบในการบริหาร ประด้วย

A1 = คน

- ศักยภาพ – การศึกษา – ศาสนา - อิทธิพล

A2 = การบริหารจัดการในภาวะจำกัด

A3 = การบริหารงานเงิน

A4 = วัสดุอุปกรณ์

B = ความสำเร็จในการกระจายอำนาจ

B1 = ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับดูการบริหารงานของเทศบาล

- การวางแผนพัฒนา – การจัดทำงบประมาณ - การจัดหาพัสดุ

B2 = การกระจายอำนาจคือ

- ให้ท้องถิ่นพึ่งตนเอง - ตัดสินใจในกิจการเอง

B3 = การกระจายความเจริญ

- รายได้เพิ่มขึ้นมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ - มีการขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐาน

C = สนองความต้องการ

C 1= สาธารณูปโภค

- ไฟฟ้า - น้ำประปา - ตลาดสด - ถนน - โรงฆ่าสัตว์

C 2 = การกระจายรายได้

- ส่งเสริมอาชีพ

C 3= การสังคมสงเคราะห์

- ช่วยเหลือผู้เสียชีวิต - ช่วยเหลือผู้ประสบภัย - มอบทุนการศึกษา

กลุ่มประชากรและวิธีการเลือกกลุ่มประชากร กลุ่มประชากรในการวิจัยครั้งนี้จะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการศึกษา ต่อวัตถุประสงค์การศึกษา คือผู้วิจัยต้องการศึกษาเรื่อง ผลการจากกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น กลุ่มประชากรที่เลือกก็คือ คือ คณะผู้บริหาร , สมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 12 คน พนักงานเทศบาลจำนวน 20 คน และประชาชนกลุ่มตัวอย่างในเขตเทศบาลจำนวน 50 คน ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับประเด็นการศึกษา ส่วนวิธีการเลือกกลุ่มประชากรนั้นจะแบบเฉพาะเจาะจงตามวัตถุประสงค์ (Purposive Sample) บทความการวิจัย เรื่อง ผลการจากกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น มีความต้องการศึกษาเรื่อง ผลของการกระจายอำนาจ เกี่ยวกับเรื่องประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการบริหารงาน ในรูปแบบเทศบาลจะดีกว่าการปกครองในรูปแบบสุขาภิบาลหรือไม่ จึงกำหนดกลุ่มประชากรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการศึกษาซึ่งก็สอดคล้องกับเรื่องที่ทำการศึกษาและเป็นไปตามหลักวิชาการ

กรอบความคิด(Concept )

A1

A2

A3

A4

®

B1

B2

B3

+

C1

C2

C3

A = องค์ประกอบในการบริหาร ประด้วย

A1 = คน

- ศักยภาพ – การศึกษา – ศาสนา - อิทธิพล

A2 = การบริหารจัดการในภาวะจำกัด

A3 = การบริหารงานเงิน

A4 = วัสดุอุปกรณ์

B = ความสำเร็จในการกระจายอำนาจ

B1 = ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับดูการบริหารงานของเทศบาล

- การวางแผนพัฒนา – การจัดทำงบประมาณ - การจัดหาพัสดุ

B2 = การกระจายอำนาจคือ

- ให้ท้องถิ่นพึ่งตนเอง - ตัดสินใจในกิจการเอง

B3 = การกระจายความเจริญ

- รายได้เพิ่มขึ้นมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ - มีการขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐาน

C = สนองความต้องการ

C 1= สาธารณูปโภค

- ไฟฟ้า - น้ำประปา - ตลาดสด - ถนน - โรงฆ่าสัตว์

C 2 = การกระจายรายได้

- ส่งเสริมอาชีพ

C 3= การสังคมสงเคราะห์

- ช่วยเหลือผู้เสียชีวิต - ช่วยเหลือผู้ประสบภัย - มอบทุนการศึกษา

ความเชื่อถือได้และความเที่ยงตรง ความเชื่อได้นั้นหมายถึงเครื่องมือที่ใช้ในการวัดในสิ่งเดียวกันได้เหมือนกันทุกครั้งที่ทำการวัด สามารถวัดได้อย่างแม่นยำ(Accurate) สิ่งที่ถูกวัด (Same thing)และผลของค่าที่มีความเที่ยงตรง (Precision) ไม่ว่าจะทำการวัดซ้ำๆสักกี่ครั้งก็จะได้ผลเหมือน

กันทุกครั้งนี้คือความเชื่อได้ ส่วน ความเที่ยงตรงนั้น หมายความว่าเครื่องนั้นสามารถวัดได้ตรงกับความต้องการที่จะวัด ไม่ว่าสถานการณ์ภายนอกจะเป็นอย่างไร ค่าความเที่ยงตรงจะได้จากการใช้เครื่องมือวัด ไม่ใช่ค่าเที่ยงตรงของเครื่องมือวัด ซึ่งแบ่งออกเป็นความเที่ยงตรงในเชิงเหตุผล(Rational)และความเที่ยงตรงในเชิงสถิติ(Statistical) ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อใช้วิธีการสัมภาษณ์ ใช้แบบสอบถาม เพื่อศึกษาจากพนักงานเทศบาล คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล และกลุ่มประชากรในเขตเทศบาล เป็นตัววัดความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ โดยนำมาคำนวณค่าสถิติ(ร้อยละ) เป็นข้อมูลที่ถือว่าน่าเชื่อถือและเที่ยงตรง จากเวลา และตัวเลขผู้ให้ข้อมูล รวมทั้งเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของเทศบาลโดยตรง จึงเป็นตัววัดความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้

สิ่งที่ต้องสังเกตในการทำวิจัยเชิงคุณภาพ

1)สังเกต(Acts) หรือการกระทำ หรือ Behavior พฤติกรรม เช่น ทำวิจัยเกี่ยวกับวัดธรรมกาย ต้องสังเกตช่วงเวลาเทศน์ของธัมมะชโย สังเกตวิธีการเทศน์ พิธีกรรมในการเทศน์ เป็นต้น

2) สังเกตแบบแผนของการกระทำ (Pattern of Activities) คือการกระทำที่กระทำซ้ำๆ จนเป็นประเพณี

3)สังเกตความหมาย (Meaning) คือ การตีความพฤติกรรมที่แสดงออกมา

4) สังเกตความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Relationship) เช่น กรณีธรรมกายสังเกตความสัมพันธ์ ระหว่างเจ้าอาวาสกับลูกศิษย์ว่าเป็นในรูปแบบใด

5) สังเกตเรื่องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม

6)สังเกตสภาพสังคมโดยทั่วไป (Social Setting)

 

 

 

 

 

 


Hosted by www.Geocities.ws

1