คำบรรยายวิชา PS 712 การมีส่วนร่วมของมหาชนในการเมืองไทย

Mass Participation in Thai Politics

ผศ.เชิญ ชวิญณ์ ศรีสุวรรณ

การศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองถือว่าเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของทฤษฎีประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมทางการเมืองจะเกี่ยวข้องกับความเป็นพลเมือง ซึ่งการมีส่วนร่วมทางการเมือง มีทั้งการมีส่วนร่วมที่สังเกตได้และสังเกตไม่ได้

ประเด็นที่อาจารย์จะบรรยายคือสื่อมวลชนกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง และประเด็นเกี่ยวกับมติมหาชน

คำถามที่ต้องให้ความสนใจคือสื่อมวลชนมีบทบาทให้การเรียนรู้กับประชาชนอย่างไรบ้าง หน้าที่สื่อมวลชนคืออะไรและสื่อมวลชนจะช่วยทำให้เกิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองได้อย่างไร

กรอบทฤษฎีเกี่ยวกับสื่อสารมวลชน

1.ทฤษฎีสื่อสาร (Communication Theories) ชี้ให้เห็นว่าการสื่อสารมีกระบวนการที่แน่นอน นั่นคือมีผู้ส่งสาร มีเนื้อหาของสาร มีช่องทางในการสื่อสาร และมีผู้รับสาร

ข่าวสาร (Information) หมายถึงอะไรก็ตามที่เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมาย ซึ่งทำให้เราเกิดความรู้ เช่นการที่ผู้ชายยักคิ้วให้ผู้หญิงก็เป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง (การแลบลิ้นของผู้หญิงเป็นวัฒนธรรมที่รับมาจากอินเดีย จีน ทิเบต) ความชัดเจนของกระบวนการสื่อสารจะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้ส่งสารกับผู้รับสารเข้าใจตรงกัน ทั้งนี้ทฤษฎีจะพูดถึงการสื่อสารระหว่างบุคคลกับบุคคล

คาร์ล ดอยท์ (Karl W. Deutsch) กล่าวว่ารัฐบาลที่ฉลาดจะต้องใช้การสื่อสารที่ฉลาดกับประชาชน โดยไม่จำเป็นต้องควบคุมสื่อมวลชน แต่ต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากการสื่อสาร

2.ทฤษฎีสื่อสารมวลชน (Mass Communication Theories) จะพูดถึงการสื่อสารที่ผ่านสื่อ จะเน้นบทบาทของสื่อที่มีต่อมวลชน สามารถแยกออกเป็น 2 ทฤษฎี คือ

2.1 ทฤษฎีผลกระทบ มีสมมุติฐานว่าข่าวสารที่นำเสนอออกไปจากสื่อนั้นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ความรู้ ความเข้าใจ ไปจนถึงพฤติกรรมต่างๆที่แสดงออกมาของผู้รับสาร มีการเปิดรับข่าวสารแตกต่างกัน เช่นอ่านหนังสือพิมพ์ ดูทีวี ฟังวิทยุ

การเปิดรับข่าวสารจะมีความสัมพันธ์กับการมีความรู้ทางการเมือง เมื่อเปิดรับข่าวสารส่งผลให้มีความรู้ทางการเมืองเพิ่มขึ้น แต่การมีความรู้ทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ทำให้การมีส่วนร่วมทางการเมืองเพิ่มขึ้น

จากการศึกษาของรัตนา ทิมเมือง เรื่อง”บทบาทของสื่อมวลชนในฐานะเวทีสาธารณะของการหาเสียงเลือกตั้งทั่วไป 17 พค. 2539” พบว่า

-รายการสนทนากับนักการเมืองทางโทรทัศน์และวิทยุ พบว่าคนดูทีวีมากกว่าฟังวิทยุ

-รูปแบบรายการที่เอานักการเมืองมาออกรายการทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น เช่นการส่งคำถามหรือโทรศัพท์ไปร่วมแสดงความคิดเห็นในรายการ

-ทีวีมีครั้งแรกในปี 1927 ออกแบบโดยฟิโล เทเลอร์ ฟานเวิร์ท

ทฤษฎีผลกระทบสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 3 ทฤษฎีคือ

2.1.1 ทฤษฎีสิ่งเร้า-ตอบสนอง (Stimuli-Response) เป็นทฤษฎีทางจิตวิทยานักทฤษฎีที่สำคัญในกลุ่มนี้คือ อีลาน พับลอก ได้ศึกษาพฤติกรรมของสุนัขโดยการสั่นกระดิ่ง ก่อนให้อาหาร ถือว่าเป็นสิ่งเร้า

ทฤษฎีนี้ถูกนำมาใช้ในการตลาดอย่างสำคัญเช่นมีการวิจัยว่ารถสีเหลืองจะขายได้น้อยสำหรับเมืองไทยเพราะสีเหลืองเป็นสีแห่งศาสนาพุทธ แต่คนไทยจะนิยมใช้รถใช้สีขาวกับน้ำเงิน (Royal Blue) เพราะมองว่าเป็นสีผู้นำ ส่วนสีขาวมองว่าเป็นสีที่สะอาดบริสุทธิ์

จอห์น วัตสัน กล่าวว่ามนุษย์ไม่ได้ต่างจากสัตว์ถ้ามีสิ่งเร้าจะเกิดการรับรู้และการจำ และสิ่งที่จะมาเป็นสิ่งเร้าและดึงดูด

ทฤษฎีสื่อสารมวลชนมองว่าการสื่อสารที่ดีจะต้องมีการเร้าอารมณ์ และการเร้าอารมณ์ที่ดีก็คือการพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ ส่วนทีวีก็ใช้การนำเสนอหัวข้อข่าว

ผู้ศึกษาพบว่าสื่อนั้นสามารถสร้างภาพความรู้หรืออัตลักษณ์ขึ้นมาใหม่ มีลักษณะครอบงำความคิด เนื่องหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือทีวีนั้นจะมีคนลงทุนและใช้ทุนสูง กระบวนผลิตข่าวสารเพื่อสื่อความหมายนั้นจึงมีการพลิกแพลงไปจากความจริง เช่นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมองน้ำก็มองว่าจะใช้ประโยชน์อย่างไรขณะชาวบ้านมองว่าน้ำเป็นสิ่งที่ต้องดำรงต่อไป

ประเด็นของการสื่อสารจึงเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจ มีความพยายามที่จะดำรงโครงสร้างของอำนาจเอาไว้ แต่คนจะไม่รู้ตัวว่าตนเองถูกล้างสมอง

2.1.2 ทฤษฎีวิเคราะห์ข่าว มองว่าข่าวนั้นเป็นกระบวนการและมีความซับซ้อน จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ว่าแหล่งข่าวมาจากไหน มีความน่าเชื่อถือหรือไม่

2.1.3 ทฤษฎีกระสุนวิเศษ (Magic Bullet) มองว่าตัวสื่อมวลชนสามารถยิงข่าวไปถึงผู้รับข่าวสารเหมือนกับกระสุนวิเศษ เช่นกรณีลูกของเฉลิมเมื่อมีคดี หนังสือพิมพ์ก็ลงข่าวว่าฆ่าคนตาย ซึ่งทำให้เสียหายมากจนคุณเฉลิมต้องออกมาบอกว่าให้สู้คดีกันก่อน อย่างไรก็ตามข่าวนี้ก็ช่วยให้ลูกของคนที่มีชื่อเสียงต้องพึงระวัง เป็นเสมือนกระสุนวิเศษที่ยิงไปแล้วได้ผล

แนวคิดที่เกี่ยวกับสื่อมวลชน ซึ่งมีหลายแนวคิด เช่นแนวคิดที่มองว่าสื่อมวลชนเป็นเหมือนกับลูกกระสุนวิเศษที่ยิงออกไปแล้วได้ผลทันที เช่นในช่วงหนึ่งที่ทีวีนำเสนอข่าวคนกระโดดตึก ทำให้มีคนกระโดดตึกตามมาอีกหลายราย เนื่องจากเกิดการเลียนแบบตามสิ่งที่สื่อเสนอ

ดังนั้นเวลาติดตามข่าวจึงไม่ควรเชื่อทั้งหมด แต่ต้องคิดก่อนหรือเปรียบเทียบข้อมูลจากหลายๆแหล่งก่อนจะเชื่อ

ทฤษฎีการไหลบ่าของข่าวสาร 2 จังวะ จะมีลักษณะคล้ายกับเขื่อนกักน้ำ ที่มีการกักน้ำบางส่วนและไหลออกไปบางส่วน เช่นเดียวกับข่าวสารบางครั้งข่าวสารที่ออกมาจากสื่อมวลชนนั้นอาจจะยังไม่มีอิทธิพล แต่ถ้าหากมีนักวิชาการ หรือคนที่มีความรู้นำเอาข่าวสารนั้นมาพูดถึง หรือวิพากษ์วิจารณ์ข่าวสารก็จะมีลักษณะการไหลบ่า 2 จังหวะ (Tow -Step Flow) ข่าวสารก็จะมีอิทธิพลมากขึ้น

ทฤษฎีการไหลบ่าหลายจังหวะ (Multi-Step Flow) เช่นมท. 1 อยากจะรู้ว่าคนยากจนในจังหวัดมีคนยากจนเท่าไหร่ ก็สั่งให้จังหวัดเร่งสำรวจอย่างเร่งด่วนภายใน 24 ชั่วโมง จังหวัดก็จะแจ้งอำเภอว่าให้สำรวจข้อมูลด่วนภายใน 12 ชั่วโมง อำเภอก็สั่งไปยังตำบลให้รวบรวมข้อมูลภายใน 6 ชั่วโมง

1.เสนอข่าวสารและข้อเท็จจริง ตามสมมุติฐานนี้แสดงว่าสื่อมวลชนเสนอข้อจริงมากกว่าข้อเท็จ แต่อาจารย์มองว่าสื่อมวลชนโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์เสนอข่าวที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงก็มาก

ตามทฤษฎีสื่อมวลชนการนำเสนอข่าวสารจะต้องไม่ใส่ความคิดเห็นของสื่อมวลชน

2.สื่อมวลชนมีหน้าที่เสนอความคิดเห็นที่หลากหลาย เนื่องจากในระบอบประชาธิปไตยความคิดเห็นที่หลากหลายจะนำไปสู่ความคิดเห็นที่ดี สื่อสารมวลชนจึงเป็นเหมือนตลาดความเห็น และถ้าความเห็นนั้นมีประจักษ์หลักฐานหรือมีเหตุผลสนับสนุนว่าจริง ก็จะเป็นความคิดเห็นว่ามีประโยชน์

ทั้งนี้ ความจริงมี 2 อย่างคือ ความจริงที่ถูกสอนให้ยอมรับว่าจริงกับ ความจริงที่เกี่ยวกับประสบการณ์ที่ตนเองประสบ เช่นเราถูกสอนว่าคนเรามี 2 เพศ แต่พอเอาเข้าจริงแล้วกลับมีเพศที่ 3 ขึ้นมา

แต่การที่เราจะรู้ว่าอะไรจริงไม่จริงจะมีเหตุผลสนับสนุน (Logical Support) และความจริงที่มีประจักษ์หลักฐานสนับสนุน (Empirical Support)

3.สื่อมวลชนมีหน้าที่ให้ความบันเทิง

4.มีหน้าที่ให้การศึกษาแก่ผู้บริโภคสื่อ เพื่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

อ.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ มองว่าสื่อมวลชนจะมีหน้าที่ดังนี้

1.ให้ข้อมูลข่าวสารกับประชาชน แต่การให้ข้อมูลข่าวสารจะรวมถึงข่าวสารที่ทำให้เกิดความคิดใหม่ๆในสังคม

2.ให้ความบันเทิง

3.สื่อมวลชนทำหน้าที่ประสานส่วนต่างๆในสังคมเข้าด้วยกัน หรือทำหน้าที่ในการสร้างบูรณาการให้เกิดขึ้นในสังคม และแสวงหาฉันทามติในกรณีปัญหาความขัดแย้งต่างๆ

4.สื่อมวลชนต้องสร้างความร่วมมือทางสังคมและเศรษฐกิจ เช่นเมื่อมีเศรษฐกิจตกต่ำก็ต้องสร้างความร่วมมือให้มีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

5.สื่อมวลชนมีหน้าที่สร้างความต่อเนื่องให้เกิดขึ้นในสังคม เช่นสังคมของเราจะมีวัฒนธรรมการไหว้ สื่อมวลชนก็จะต้องสร้างการไหว้ให้ดำรงอยู่ต่อไป

บทบาทสื่อมวลชนมีในทางการเมือง (อาจจะออกเป็นข้อสอบ)

สำหรับในทางการเมืองสื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดความเห็นและความรู้ในทางการเมือง รวมทั้งมีบทบาทในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้ เนื่องจาก

1.สื่อมวลชนมีความสามารถในการสร้างระเบียบวาระในทางสังคมได้ (Agenda Setting) หมายถึงสื่อมวลชนสามารถกำหนดประเด็นที่เป็นที่สนใจของสังคมในเวลาหนึ่งๆได้ เช่นเวลานี้วาระทางสังคมที่สื่อมวลชนให้ความสนใจก็คือการปฏิรูปการศึกษา เรื่อง พ.ร.บ.สงฆ์ เป็นต้น

2.สื่อมวลชนเป็นผู้ควบคุมหรือถ่วงดุลรัฐบาลนอกระบบ เพราะในระบบตัวแทนบางครั้งตัวแทนไม่ได้ทำหน้าที่ของตนเอง

ทั้งนี้ในระบบที่เป็นทางการรัฐบาลจะถูกควบคุมและถ่วงดุลด้วยสภาผู้แทนราษฏร์ทั้งในแง่ของการอภิปราย ตั้งกระทู้ถาม ลงมติไม่ไว้วางใจ หรือไม่ลงมติใน พ.ร.บ.การเงิน ซึ่งการตรวจสอบตรงนี้อาจจะไม่ลึกซึ้งพอ ขณะสื่อมวลชนสามารถที่จะหยิบยกประเด็นของความไม่ชอบมาพากลในสังคมให้เป็นวาะของสังคมได้

3.สื่อยังมีบทบาทในการสร้างผลกระทบต่อศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เช่นสื่อนำเสนอข้อมูลที่ยังไม่ชัดเจนอาจจะทำให้เกิดความเสียหาย เช่นลงข่าวที่ไม่ดีเกี่ยวกับนักการเมืองก็จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อนักการเมืองได้

กรณีเช่นนี้ในทางปฏิบัติสื่อไม่ควรแสดงความเห็นในลักษณะที่ก้าวล่วง เช่นเดียวกับกรณีคุณดวงเฉลิม ที่สื่อมวลชนได้สร้างการตัดสินใจให้กับประชาชนไปแล้วว่าเป็นคนผิด ทั้งๆที่ศาลยังไม่ตัดสิน

****ข้อสอบอาจจะออกเป็นข้อย่อยๆ เช่นถามว่านักศึกษาเข้าใจบทบาทของสื่อมวลชนอย่างไร ใน 2 ประเด็น (คือการกำหนดวาระทางสังคม และตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาล)**

 

 

ตัวอย่างผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนกับการเมือง

จิตการต์ ธนาโอฬาร (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2536 ) เรื่อง บทบาทของสื่อมวลชนกับการรับรู้ทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพ

พบว่านักศึกษามหาวิทยาลัยติดตามข่าวจากหนังสือพิมพ์และทีวี 80 %แต่มีเพียง 7% เท่านั้นที่สนใจข่าวสารด้านการเมือง

ปาริชาติ นิติมานพ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2534) ในเรื่อง สื่อมวลชนกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีไทยพุทธและสตรีมุสลิม (ศึกษาที่สุราษฎร์ธานี) ว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ โดยอาศัยทฤษฎีผลกระทบของสื่อสารมวลชน

พบว่าสตรีไทยพุทธนิยมอ่านหนังสือพิมพ์ ส่วนสตรีมุสลิมสนใจรับข่าวสารทางทีวี แต่พบว่าสตรีไทยพุทธสนใจเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่าสตรีไทยมุสลิม

นอกจากนี้พบว่าระดับการศึกษาและรายได้ไม่มีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง

กาญจน์ คล้ายแก้ว (มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี2543) เรื่อง รัฐกับเสรีภาพของสื่อมวลชน ศึกษาการเสนอข่าวการเมืองของวิทยุและโทรทัศน์ พบว่าวิทยุและโทรทัศน์ถูกจำกัดเสรีภาพมาโดยตลอดเนื่องจากรัฐเป็นเจ้าของสื่อ

คมกฤษ ไวสืบข่าว เรื่องบทบาททางการเมืองของสื่อมวลชน กรณีการ์ตูนการเมือง (จุฬาลงกรณ์ 2534) พบว่าการ์ตูนทางการเมืองให้ความรู้ทางการเมืองระดับการบรรยายเหตุการณ์ทางการเมือง เป็นการสะท้อนเหตุการณ์ทางการเมือง และเป็นการประชดประชันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากกว่าที่จะบอกถึงสาเหตุของเหตุการณ์

(เราสามารถทำวิจัยโดยการวิเคราะห์เนื้อหาของข่าวได้)

สมชาย จิเจริญ ศึกษาเรื่อง การประเมินบทบาททางการเมืองของสื่อมวลชนช่วงรัฐบาลสุจินดา (จุฬาลงกรณ์ 2536) พบว่าสื่อมวลชนได้เข้ามาทำการถ่วงอำนาจของรัฐบาล เพราะเวลานั้นรัฐบาลมีเสียงข้างมากเด็ดขาด ถ้าไม่มีสื่อมวลชนมาถ่วงอำนาจของรัฐบาลโดวิธีการนอกระบบ ด้วยการสร้างประเด็นทางสังคมขึ้นมา การเมืองไทยก็จะกลายเป็นเผด็จการทางรัฐสภา

นฤพนธ์ เศรษฐสุวรรณ (สาระนิพนธ์ ม.ธรรมศาสตร์ 2533) ศึกษากรณีการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ว่ากทม. 2533 พบว่าคนที่เรียนจบปริญญาตรีขึ้นไปจะสนใจติดตามข่าวสารทางการเมืองและจะมีส่วนร่วมทางการเมืองสูง และคนที่มีรายได้มากก็จะเปิดรับข่าวสารมากกว่าคนที่มีรายได้น้อย

นอกจากนี้พบว่าในการรณรงค์เลือกตั้งสื่อมวลชนที่ประชาชนให้ความเชื่อถือมากที่สุดคือทีวี (ทำให้ในเวลาต่อมาพรรคการเมืองต่างอาศัยทีวีในการหาเสียง โดยเฉพาะกรณีของพรรคชาติไทยที่ใช้สื่อทีวีสร้างภาพพจน์จนชนะการเลือกตั้ง และคุณบรรหารได้เป็นนายกรัฐมนตรี)

วรงค์ รุ่งรุจิไพศาล (สาระนิพนธ์ ธรรมศาสตร์ 2527) ศึกษาเรื่องการสื่อสารกับการตื่นตัวทางการเมือง ศึกษากรณีบ้านหาดสูง จ.ปราจีนบุรี และนิยมทหารผ่านศึก จ.เชียงราย พบว่าความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนทั้ง 2 ชุมชน พบว่าประการแรกคนจะตื่นตัวทางการเมืองจะต้องมีความรู้ทางการเมืองเสียก่อน จากนั้นก็จะเข้ามามีส่วนร่วมทั้งในรูปของการเลือกตั้งและการเป็นหัวคะแนน

จากการศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของทีวีกับการให้การเรียนรู้กับประชาชน จะขึ้นกับว่าเนื้อหาของสื่อ (Media Content) จะนำเสนออย่างไร

เช่นในก่อนจะมีการเลือกตั้ง 6 มกราคม 2544 พบว่าสถานีโทรทัศน์ในแต่ละช่องของเรามีบทบาทสูงมาก มีการเชิญหัวหน้าพรรคและบุคคลสำคัญของพรรคมาโต้เวทีทางการเมือง ประเด็นการสัมภาษณ์หรือคำถามที่ป้อนต่อนักการเมืองสามารถที่จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีหรือไม่ดีก็ได้

เคนเนท พรีวิท ศึกษาผลของทีวีที่มีต่อเด็ก พบว่าเด็กๆเรียนรู้เรื่องของต่างประเทศกับเด็ก โดยเฉพาะทีวีในอเมริกา ญี่ปุ่น อิสราเอล แต่มีบางประเทศที่เด็กๆไม่ได้เรียนรู้เรื่องต่างประเทศผ่านทีวีเช่นตุรกี

ผลกระทบแบบจำกัด (Limited Effect) คือมองว่าสื่อมวลชนไม่ได้มีผลกระทบในทางการเมืองมากนัก เนื่องจากคนเรานั้นมีการเรียนรู้โดยผ่านครอบครัว เพื่อน โรงเรียน

แนวคิดว่าความสำเร็จทางการเมือง ขึ้นอยู่กับว่าสามารถควบคุมสื่อมวลชนมากน้อยแค่ไหน และประธานาธิบดีสหรัฐที่ใช้สื่อเพื่อสร้างความสำเร็จให้กับตนเองมากที่สุดคือประธานาธิบดีแฟรงคิน ดี รุสเวลส์

ยิ่งโลกยุคใหม่ที่ระบบสื่อสารมวลชนมีความรวดเร็วบทบาทสื่อมวลชนต่อการเมืองก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น

การหยั่งมติมหาชน **********อาจออกข้อสอบ

การหยังเสียงมติมหาชน (Public Opinion Polls) ต่างจากการแสดงประชามติ (Referendum ภาษาเต็มจะใช้คำว่า Ad Referendum)

คำ Ad Referendum แปลว่าการให้สัตยาบันของประชาชน เพราะในยุโรปสมัยก่อนถ้ามีเรื่องสำคัญเกิดขึ้น เช่นในการตัดสินใจเลือกใช้เงินปอนด์หรือเงินยูโรรัฐบาลอังกฤษต้องเปิดให้ลงประชามติ ซึ่งผลที่ออกมาคือคนอังกฤษต้องการใช้เงินปอนด์ต่อไป รวมทั้งในเบลเยี่ยมก็ยังไม่ใช้เงินยูโรเช่นกัน

การออกเสียงประชามติเกิดจากแนวคิดที่ว่าผู้แทนของประชาชนในสภามีหน้าที่ในการตัดสินใจแทนประชาชนในบางเรื่องเท่านั้น แต่เรื่องสำคัญต้องให้ประชาชนตัดสินใจด้วย

การแสดงประชามติจึงเป็นการใช้อำนาจในระบอบประชาธิปไตยแบบโดยตรงของประชาชน

ส่วนคำว่า Polls มีการใช้ครั้งแรกในประเด็นทางการเมืองในปี 1824 โดยหนังสือพิมพ์ 2 ฉบับคือ แฮริสเบิร์ก เพนซิลวาเนีย และหนังสือพิมพ์ราเลย์ สตาร์ ในแคโรไลนา ได้ทำการทดสอบ โดยสุ่มตัวอย่างจากคนที่คาดว่าจะไปลงคะแนน หรือ Straw Vote การทำเช่นนี้เรียกว่า Straw Polls

การทำโพลมีความสำคัญว่าในการคัดเลือกลุ่มตัวอย่างนั้นคัดเลือกจากใคร

สำหรับประเทศไทย ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด เอแบคโพลทำการสำรวจที่เรียกว่า Exit Poll โดยไปสอบถามจากคนที่ลงคะแนนเสร็จแล้วเดินออกจากคูหาว่าเลือกใคร ซึ่งเวลานั้นผลก็คือพรรคไทยรักไทยนำลิ่ว ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Bandwagon Effect (แปลว่าการเฮโลตามกันไป) หรือเกิดการเลือกตามสิ่งที่สื่อเสนอ

วิธีการในการสุ่มตัวอย่างในการทำโพลและการทำวิจัยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก จะต้องใช้วิธีการถูกต้อง ใช้ตัวอย่างที่มีจำนวนมากเพียงพอ (ตัวอย่างที่เลือกมาศึกษาจะต้องเป็นตัวแทนของประชากร) และความผิดพลาดไม่ควรจะเกิน 3%

นอกจากนี้คำถามในแบบสอบถามจะต้องมีความชัดเจน อย่าใช้คำที่ก่อให้เกิดความเบี่ยงเบนในคำตอบ และผู้ที่ทำโพลจะต้องไม่มีประโยชน์ใดๆจากการทำโพลครั้งนั้นๆ

การทำโพลในประเทศไทย

ประเทศไทยมีการจัดทำโพลเป็นครั้งแรกในวันที่ 26 มกราคม 2518 โดยนิด้า (Nida Poll)โดย อ.ทิตยา สุวรรณชฏ จากนั้นการทำโพลมาทำอีกครั้งในสมัยพลเอกเปรมโดยคุณธีระยุทธ บุญมี ซึ่งมีส่วนช่วยให้พลเอกเปรมมีคะแนนนิยมสูงขึ้น

การทำโพลจะทำมาก โดยเฉพาะในช่วงของการเลือกตั้ง

การทำโพลมีความแตกต่างจากการวิจัยเพราะการวิจัยคือการค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ยังไม่มีความรู้ การวิจัยจะเป็นกระบวนการที่ทำให้รับรู้ความจริง

การทำโพลจะมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ขึ้นอยู่กับความเคร่งครัดของระเบียบวิธี ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ประเด็นที่จะศึกษา การเก็บข้อมูล การสรุปผลจะต้องสรุปอย่างมีเหตุผล

นอกจากนี้จะต้องคิดถึงปรัชญาทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า Inductive ซึ่งเป็นการใช้การประมาณการ นั่นคือเราไม่มีโอกาสศึกษาจากคนทั้งหมดจึงประมาณการ ความรู้ที่มาจากปรัชญาแบบ Inductive จึงเป็นความรู้ในเวลานั้นๆแต่จะไม่มีความแน่นอน

เช่นปี 1986 หนังสือ GQ สำรวจว่าผู้ชายที่แต่งงานแล้วจะไปยุ่งกับผู้หญิงอื่นหรือไม่มากผู้หญิงคนนั้นยอมให้ยุ่งด้วย คำตอบคือไม่ยุ่งด้วยถึง 90% แต่ปี 1990 หนังสือ GQ สำรวจอีกครั้งในประเด็นเดิมพบว่า 70 % ของผู้ชายตอบว่ายอมยุ่งด้วย

ส่วนปรัชญา Deductive เป็นตรรกะวิทยาที่อาศัยเงื่อนไขที่เป็นองค์รวม (Premise) เช่นการพูดว่าสิ่งมีชีวิตต้องหายใจ พืชเป็นสิ่งมีชีวิตพืชจึงต้องหายใจ

ในยุคข้อมูลข่าวสารอำนาจที่สำคัญที่สุดคืออำนาจอ้างอิง (Referent Power) (เลียนแบบมาจากศัพท์ทางสังคมวิทยาคือกลุ่มอ้างอิง) อำนาจอ้างอิง คือถ้ามีการเสนอข่าวว่าสวนดุสิตได้ทำการหยั่งเสียงประชาชนในเรื่องของการตอบคำถามรัฐมนตรีของ

ส.ว.พบว่าประชาชน 70% มองว่ารัฐมนตรีตอบคำถามไม่ชัดเจน

การพูดถึง 70% ไม่ได้เป็นความคิดของคนส่วนใหญ่ แต่หลายเป็นอำนาจในการอ้างอิง โพลกลายเป็นเครื่องมือในทางการเมืองที่อาจจะนำไปใช้ในการสร้างความนิยม หรือทำลายฝ่ายตรงกันข้าม

อาจารย์ไว จามรมาน ประจำคณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี มองว่าโพลรายวันประเทศไทยไม่ควรจะมีการชี้นำอะไรมากนัก โพลเป็นเพียงกล่องแสดงความเห็นผ่านทางทีวีหรือหนังสือพิมพ์ เพราะประชาชนมีการรับข่าวสารจากแหล่งอื่นๆด้วย

อย่างไรก็ตามในอีกมุมหนึ่งก็มองได้ว่าการทำโพลจะทำในเขตเมือง และคนที่ตอบคำถามจะเป็นคนในเมือง หรือชนชั้นกลาง แสดงให้เห็นว่าคนที่ทำโพลมีเจตนาที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาล

ในการสอบ อาจจะออกว่า ปัจจุบันเนื่องจากในระบอบประชาธิปไตยจะเน้นหลักการใช้เสียงของคนหมู่มากและนำไปสู่แนวคิดเรื่องมติมหาชน และปัจจุบันมีการหยั่งมติมหาชน ให้อธิบายว่ามติมหาชนมีความสำคัญอย่างไรในทางการเมือง และให้แสดงความคิดเห็นว่าการหยั่งมติมหาชนมีข้อบกพร่องอย่างไร

*************

 

 

Hosted by www.Geocities.ws

1