การเมืองภาคพลเมืองอาจเป็นปัจจัยชี้ขาดอนาคตของการเมืองไทย ที่ผ่านมาเราไม่ได้ส่งเสริมให้ประชาชนเรียนรู้จริยธรรมแบบพลเมือง (civic virtue)เราได้แต่พัฒนาให้ฝ่ายทุน กับอำนาจรัฐ เข้มแข็ง และทำให้ประชาชนของเราเป็นเพียงแค่ ปัจจัยผลิต และปัจจัยทางการเมืองเท่านั้น (เป็นคำกล่าวของ รศ.ดร.ธีรนาถ กาญจนอักษร คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

นักศึกษาเข้าใจ คำกล่าวข้างต้นอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่

ต้องให้ความหมายของคำที่เป็น Key word ของคำถาม ?

ร่วมทางการเมือง อันเนื่องมากจาการเพิ่มอาณาบริเวณของภาคประชาชนในสังคมการเมืองยังส่งผลให้เนื้อหาสาระของความเป็นการเมืองขยายมิติที่กว้างขวางขึ้นด้วย การเมืองในมิติที่กว้างขึ้นเรียกว่า “การเมืองใหม่”(New Politics) หรือที่เรียกว่า การเมืองภาคประชาชน(Civil Politics) ซึ่งเป็นการเมืองทีเน้นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม (The politics of Social Movement)

ความหมายของขบวนการทางสังคมหรือขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม

(Social Movements) ขบวนการทางสังคมไม่ใช่กลุ่มผลประโยชน์ในทัศนะของรัฐศาสตร์แนวเก่า ไม่ใช่องค์กรทางธุรกิจ แต่เป็นการก่อตัวรวมตัวกันของกลุ่มที่หลากหลายในสังคม โดยมีประเด็นที่เรียกร้องหลากหลาย ไม่ผูกติดกับผลกำไรทางธุรกิจ กฎหมายอาจจะไม่รับร้องแต่มีพลังในการเคลื่อนไหว เช่น สมัชชาคนจน ที่เกิดขึ้นเองจากความเดือดร้อนในเรื่องต่าง ๆ แล้วชาวบ้านมารวมตัวกันเองตามธรรมชาติ คือ “การมีส่วนร่วมทางการเมืองในโครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ(Informal Politics)

-Movements เป็นลักษณะที่เป็นพลวัต จะตั้งโดยเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ เช่น สมัชชาคนจน ซึ่งมีอำนาจต่อรองมากพอสมควร

-Groups กลุ่มคือการรวมกลุ่มของประชาชนที่มีผลประโยชน์ร่วมกันที่มีแนวคิดในเรื่องผลประโยชน์ร่วมกัน รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์ในทางการเมือง

-Organization องค์กร เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มต่างที่มีอุดมการณ์แนวคิดร่วมกันเช่น พรรคการเมือง

ขบวนการทางสังคมเกิดจากการรวมกลุ่มทางสังคม (Social Collective) ประกอบด้วย

-จิตสำนึกและอุดมการณ์ เช่น Greenpeace ที่ตั้งขึ้นเพื่ออุดมการณ์เรื่องสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ ไม่มีผลประโยชน์ทางธุรกิจมาเกี่ยวข้อง

-ค่านิยมและทัศนคติชัดเจน การต่อสู้บางครั้งอาจต้องใช้ความรุนแรงมีการปะทะกับฝ่ายนายทุนหรือรัฐบาลเพื่อแสดงจุดยืน

-ผลประโยชน์ร่วม เป็นผลประโยชน์ของคนที่มีอุดมการณ์เดียวกันแต่ไม่ใช่ผลประโยชน์ทางธุรกิจที่เป็นตัวเงิน

-พฤติกรรมร่วม ต้องแสดงออกอย่างมีพลังร่วมกันกระทำการอย่างเป็นเครือข่ายทั่วโลก

-การจัดตั้งองค์กร เพื่อต่อสู้หรือรณรงค์ในเรื่องที่จำเป็นขบวนการทางสังคมจะเป็นตัวสำคัญในการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ไม่เป็นทางการ คนกลุ่มนี้จะไม่สนใจนักการเมืองต่อสู้นอกสภาอย่างเดียว

การเมืองใหม่(New Politics)หรือการเมืองภาคประชาชน(Civil Politics) จะครอบคลุมประเด็นต่างๆดังนี้

และสถาบันที่เป็นทางการเท่านั้น

เฉพาะเรื่องของการปกครอง อำนาจรัฐ และระบบราชการเท่านั้น แต่ครอบคลุมประเด็นสาธารณะใหม่เช่นสิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม ชนกลุ่มน้อย

(State Sector)



การจากส่วนกลาง การเมืองจึงเป็นเรื่องของชุมชน (Local Politics or Grassroots Politics) เน้นการกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่นให้สามารถพึ่งตนเองได้

ขอบของสังคม (Marginal Groups) เช่นคนพิการ

-ประชาธิปไตยแบบตรวจสอบ เริ่มเป็นแนวคิดใหม่ที่จะทำให้การเมืองไทยเกิดการเปลี่ยนแปลง

จริยธรรมแบบพลเมือง (Civic virtue) คือคุณธรรมของความเป็นพลเมือง เป็นแนวความคิดที่มีมานานแล้วในวิชารัฐศาสตร์ โดยไม่รู้ว่ามีใครกล่าวไว้คนแรก แต่ อาจารย์อเนก ได้ดึงมาให้เห็นใหม่ว่า ในท่ามกลางที่เราต้องการการเมืองภาคประชาชนหรือภาคพลเมือง โดยพลเมืองไทยทุกคนนอกจากจะปฏิบัติหน้าที่ของพลเมืองตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังต้องมีในเรื่องคุณธรรมหรือจริยธรรมของความเป็นพลเมืองด้วย

Civic virtue ประกอบด้วย 3 ด้าน

1.Citizenship ความเป็นพลเมือง

-สิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ

-สิทธิที่จะไม่เชื่อฟังรัฐ (Disobedience Right) ชุมชนสามารถเลือกและตัดสินการดำรงชีวิตของตนได้เอง

-สำนึกสาธารณะ (Public Mind) คือจะต้องมีจิตใจที่มุ่งถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก

2.Political virtue คุณธรรมประจำของความเป็นการเมือง

-Ethics คือถ้าเราเป็นนักการเมืองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เราจะต้องเข้าใจ การเมืองต้องเป็นเรื่องของคุณธรรมจรรยา การเมืองไม่ใช่เป็นเรื่องของน้ำเน่า หรือการเมืองไม่ใช่เป็นเรื่องของการเอาชนะในการเลือกตั้ง

การเมืองเป็นเรื่องของการพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ส่วนร่วม หมายถึงว่า เรามีแนวทางหรือนโยบายให้กลุ่มของเรา ได้รับในสิ่งที่เรียกร้องต้องการ แต่ต้องทำให้ผลประโยชน์ส่วนรวมเสียไปด้วย อย่างเช่น นายกรัฐมนตรีทักษิณ บางทีถูกโจมตีว่าคอรัปชั่นทางนโยบาย แต่ยังดีกว่ากอบโกยอย่างเดียวอีกทั้งทำลายผลประโยชน์ส่วนรวมด้วย

- Professionalism นักการเมืองควรเป็นเมืองอาชีพ หรือ ความเป็นวิชาชีพของนักการเมือง โดยอาชีพนี้ควรสงวนไว้สำหรับมืออาชีพเท่านั้น

3.civil Society ความเป็นประชาสังคม เป็นเรื่องของการเพิ่มพลังอำนาจให้กับภาคประชาชนที่ไร้การต่อรอง หรือไร้อำนาจด้วย

จะเห็นว่า การเมืองในมุมมองของอาจารย์อเนก เป็นการเมืองที่เป็นเรื่องของคนส่วนใหญ่ การเมืองเป็นเรื่องของจริบธรรมและทำเพื่อคนส่วนใหญ่ไม่ใช่เป็นการเมืองของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีทีความมั่งคั่งร่ำรวยทางเศรษฐกิจ

ทางเศรษฐกิจจนเกิดชนชั้นกลางหรือพ่อค้าที่มีเงินทุนและได้หันมาให้การสนับสนุนพรรคการเมืองหรือลงเล่นการเมืองเอง แต่ฝ่ายทุนนี้จะลงเล่นการเมืองเพื่อผลประโยชน์ต่อส่วนตนเอง ไม่สนใจส่วนรวม ดังนั้นพรรคการเมืองไทยส่วนใหญ่จะเป็นพรรคเฉพาะกิจที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับผู้เป็นหัวหน้าพรรคซึ่งเป็นนายทุนพรรคหรือมีนายทุนให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง เมื่อหัวหน้าพรรควางมือทางการเมืองไปพรรคก็มักจะยุบตามไปด้วยพรรคการเมืองไทยไม่มีลักษณะการเป็นสภาบันทางการเมือง ซึ่งถือว่าเป็นภาคเอกชน (Private Sector) ที่เข้ามามีบทบาทในทางการเมือง

อำนาจรัฐ ในยุคก่อนนั้นภาครัฐ(State Sector) ทั้งนี้การแบ่งอาณาบริเวณระหว่างรัฐกับสังคมในสังคมไทย เดิมนั้นจะมีแค่ 2 ส่วนที่ปะทะกันอยู่ ส่วนแรกคือภาครัฐ (State Sector) และภาคเอกชน (Private Sector) และภาครัฐโดยระบบราชการมีความสำคัญและเข้มแข็งมากจนกระทั่งสังคมไทยถูกเรียกจากนักวิชาการตะวันตก Fred W. Riggs เรียกว่า รัฐาชการ( Bureaucratic Polity) หรือที่เรียกว่า อำมาตยาธิปไตย หรือ อำนาจนิยมราชการ

กล่าวคือรัฐหรือระบบราชการจะเป็นตัวนำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ในสังคมอย่างสำคัญ ขณะที่ภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจเป็นภาคที่มีความอ่อนแอ เป็นเบี้ยล่างของราชการ ขณะที่ภาคประชาชนชาวไร่ชาวนาถือว่าเป็น Powerless Group หรือกลุ่มที่ได้พลังอำนาจโดยสิ้นเชิง

ความเป็นสังคมข้าราชการจะเป็นค่านิยมที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยในเวลานั้น โดยอำนาจของราชการครอบคลุมทุกตารางนิ้วของสังคม รัฐกับข้าราชการคือสิ่งเดียวกัน ชนชั้นข้าราชการเป็นชนชั้นที่มีอำนาจมากที่สุด

สภาพดังกล่าวดำรงอยู่นานมาก จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 อำนาจของรัฐและราชการถูกสั่นคลอนและท้าทายด้วยพลังอำนาจใหม่ๆ ทำให้ความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจในสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปจะเป็นภาคที่อำนาจมากในการทางเมือง

ค้าออกจำหน่ายเพื่อพัฒนาการพัฒนาไปสู่การเป็น NICs โดยรัฐบาลมุ่งพัฒนาทางด้านวัตถุมากกว่าการพัฒนาทางการเมือง ประชาชนจึงมีการเรียนรู้ว่าประชาธิปไตย น้อยมาก

ปัจจัยทางการเมืองรัฐบาลมองประชาชนเป็นเพียงแค่คนมาหย่อนบัตรลงคะแนนเลือกตั้ง ต่อไปเป็นหน้าที่ของผู้แทนที่จะไปทำอะไรโดยประชาชนไม่มีสิทธิแสดงความเห็น หรือมีส่วนร่วมในทางการเมืองเลย เป็นได้แค่เพียงปัจจัยทางการเมืองเท่านั้น

เห็นด้วยกับคำกล่าวข้างต้น การพัฒนาทางการเมืองไทยจะก้าวต่อไปต้องส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองให้มองเห็นคุณค่าทางการเมือง ให้เห็นว่าเป็นเรื่องของประชาชนทุกคนที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาของประเทศ

ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) หมายถึง

-การเมืองเรื่องสาธารณะ หมายความว่าขอบเขตของการเมืองไม่ควรอยู่ที่พรรคการเมืองและนักการเมืองเท่านั้น ในขณะที่ประชาชนถูกกันออกมาเป็นตัวประกอบ การเมืองน่าจะเป็นเรื่องของคนทุกคน อะไรก็ตามที่กระทบกับคนส่วนใหญ่นั่นคือการเมือง การเมืองไม่ใช่เรื่องของครอบครัวหรือเรื่องส่วนตัวของใคร

-การเมืองเป็นเรื่องของกลุ่มและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม เวทีทางการเมืองจะต้องเปิดโอกาสให้แต่ละกลุ่มแต่ละขบวนการมีโอกาสเสนอข้อเรียกร้องได้อย่างอิสระ เพื่อแสดงให้เห็นว่ากลุ่มตนก็มีผลประโยชน์เฉพาะ

-การเมืองเป็นเรื่องของชาวบ้านและชุมชน ประชาชนในชนบทน่าจะได้รับการเอาใจใส่มากที่สุดเพราะไร้ซึ่งอำนาจเศรษฐกิจ อำนาจทุน และการต่อรองใด ๆ การเมืองจึงควรเปิดโอกาสให้คนกลุ่มนี้ได้มีโอกาสแสดงความต้องการ

-การกระจายอำนาจ ระบบราชการต้องลดบทบาทในการควบคุมบังคับ แล้วกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่นและชุมชนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

-การเมืองต้องเสริมให้ทุกคนตระหนักในสิทธิและคุณธรรมของพลเมือง (Civic Virtue)

เห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างประชาธิปไตยแบบเก่ากับแบบใหม่ ซึ่งแบบเก่าไม่ใช่เรื่องเลวร้ายแต่เมื่อมาใช้ในประเทศไทยแล้วกลับกลายเป็นสิ่งสกปรกทำให้ประชาชนไม่อยากเข้าไปยุ่ง

กระแสโลกและการท้าทายใหม่ ๆ ในศตวรรษที่ 21 (ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองและสังคมไทย) เป็น New Context หมายถึงบริบทแวดล้อมทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมที่เข้ามาล้อมสังคมไทยส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมืองไทย

-ในแง่เศรษฐกิจทุนนิยมเสรีเป็นบริบทสำคัญในเวลานี้ สังคมไทยอยู่ในโครงสร้างของทุนนิยมโลกซึ่งเน้นเรื่องเสรีนิยม เน้นทุนข้ามชาติที่มีขนาดใหญ่โตจึงมีการขับเคลื่อนของทุน ปัญหาเศรษฐกิจไทยเป็นผลมาจากการอยู่ภายในกรอบของทุนนิยมโลก ไทยจึงต้องได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน ตลาดหุ้น Wall Street เป็นต้น

-การแพร่กระจายของวัฒนธรรมบริโภคนิยมที่เข้ามาปะทะกับวัฒนธรรมท้องถิ่น Global ปะทะกับ Local ไทยจึงตกอยู่ในสภาวะที่ถูกดึงไปทางโน้นทีทางนี้ทีกลายเป็นสภาพที่ก้ำกึ่ง คนไทยจึงดำรงชีวิตอย่างลำบาก อย่างไรก็ตามจะถอยกลับไปอยู่ในถ้ำนุ่งผ้าทอแล้วไม่ยุ่งกับโลกเลยก็ไม่ได้แม้ว่าจะประสบวิกฤตเศรษฐกิจอย่างไรก็ตาม การตัดสินใจนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก การจะเป็นนิกส์ก็ทำไม่ได้อีกแล้วทุกอย่างล่มสลายหมด การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาเป็นภาพลวงที่เกิดจากการปั่นกลายเป็นเศรษฐกิจฟองสบู่ (Bubble Economy) การสร้างงานไม่ได้เกิดขึ้นจริงกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เศรษฐกิจไม่ได้เกิดกับ Real Sector ไม่ได้มีการลงทุนแล้วสร้างงานให้ประชาชนทุกส่วนเกิดรายได้จริง

-ประชาธิปไตยแบบตรวจสอบ เริ่มเป็นแนวคิดใหม่ที่จะทำให้การเมืองไทยเกิดการเปลี่ยนแปลง

-ความเข้มแข็งของภาคประชาชน

-กระแสความคิดเรื่องสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา เราจะได้ยินคำว่า การเมืองสีเขียว เศรษฐศาสตร์สีเขียว ฯลฯ หมายความว่าทุก ๆ เรื่องในสังคมต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา เป็นจิตสำนึกของสังคมสมัยใหม่

สิ่งแวดล้อมกับนิเวศวิทยามีความหมายคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน สิ่งแวดล้อมหมายถึงอะไรก็ได้ที่อยู่รอบ ๆ ตัว เช่น ต้นไม้ มนุษย์ด้วยกันเอง แม่น้ำลำคลอง แต่นิเวศวิทยาเป็นเรื่องของระบบชีวิตจึงใหญ่กว่าสิ่งแวดล้อม หมายถึงความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นวิถีชีวิตเป็นองค์รวมทั้งระบบ

-เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ ซึ่งกลายมาเป็นวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันไปแล้ว แต่คนไทยยังไม่ค่อยคำนึงถึงเนื้อหาสาระเห็นได้จากการใช้มือถือของคนไทยที่ใช้พูดคุยกันมากกว่าคุยธุระ โดยเฉพาะวัยรุ่นที่มีกันแทบทุกคน ดังนั้นจึงต้องระวังเรื่องพิษภัยจากเทคโนโลยีด้วย เช่น คอมพิวเตอร์ที่อำนวยความสะดวกได้มากแต่ก็ทำลายความเป็นมนุษย์ลงไปด้วย

-อำนาจบรรษัทข้ามชาติและองค์กรเหนือชาติ เป็นองค์กรที่มีบทบาทมากในตอนนี้ ประเทศไทยกำลังตกอยู่ภายใต้องค์กรเหล่านี้ที่เข้ามาในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ องค์การการค้าโลกที่ทำหน้าที่จัดระบบเศรษฐกิจโลกให้เป็นระบบเดียวกัน แต่เบื้องหลังมีมหาอำนาจควบคุมอยู่แล้วออกกฎระเบียบมาบังคับประเทศเล็ก ๆ ที่เป็นสมาชิกให้ปฏิบัติตาม เช่น ต้องจดสิทธิบัตร ต้องไม่ใช้แรงงานเด็ก ทั้ง ๆ ที่บางครั้งประเทศเล็กถูกปล้นทรัพยากรไปด้วยซ้ำ อย่างกรณีข้าวหอมมะลิหรือสมุนไพรบางตัวที่ถูกสหรัฐอเมริกาจดสิทธิบัตรไปก่อนแล้วเพราะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า ประเทศเล็ก ๆ จึงต้องถูกบังคับทางอ้อมให้เกิด International Division of Labor ในรูปแบบใหม่ที่เอาเปรียบอย่างมาก ไทยมีหน้าที่เพียงปลูกพืชสมุนไพรส่งให้สหรัฐฯสกัดเป็นตัวยามาขาย เห็นได้ว่ามหาอำนาจได้เปรียบประเทศเล็ก ๆ อย่างมหาศาล

-เทคโนโลยีชีวภาพ หมายถึงการดัดแปลงสายพันธ์พืช สัตว์ เช่น การโคลนนิ่ง พืช GMO มีการดัดแปลงสายพันธุ์ให้ทนขึ้น ลูกใหญ่ขึ้น ในต่างประเทศสินค้า GMO จะมีฉลากติดไว้ให้ผู้บริโภคทราบก่อนตัดสินใจซื้อ

-สิทธิของคนกลุ่มน้อยที่ถูกเบียดเบียนโดยคนส่วนใหญ่ สิทธิของคนด้อยโอกาสและอยู่ชายขอบของสังคม เช่น สตรี เด็ก ชนเผ่า กลุ่มศาสนา กลุ่มความเชื่อ เหล่านี้จะต้องเติบโตขึ้น

สรุปการเมืองจะก้าวหน้ามีการพัฒนา จะต้องส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองให้มากที่สุดโดยการสมัครใจ

คำว่า Citizen คือพลเมืองของรัฐใดๆ แต่คำว่าประชาชน มันมีนัย ที่หมายถึงคนที่มีสิทธิและอำนาจเหนือขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งพลเมืองอาจจะเป็นเรื่องของหน้าที่ ดังนั้นนัยของพลเมืองเป็นเรื่องของหน้าที่ที่กำหดโดยรัฐให้พลเมืองต้องทำ เช่น เสียภาษี เป็นทหาร ไปเลือกตั้ง เช่น ถ้าเราไปอยู่ในอเมริกานานเกินกว่าเวลาที่กำหนดไว้ จะได้กรีนการ์ด คือให้ความเป็นพลเมืองกับเรา ซึ่งเราต้องปฏิบัติตามของของอเมริกันเพราะเรามีความเป็นพลเมืองอเมริกันแล้ว

สรุปคำว่า พลเมือง จึงมีนัย ให้ปฏิบัติตามกรอบที่รัฐกำหนดไว้

คำว่า ประชาชน หรือ Population หรือ People หมายถึงสมาชิกในสังคมที่มีสิทธิมีส่วน หรือ มีนัยของการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นมาอีก นอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ของพลเมืองที่ดีรัฐกำหนดไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สิทธิ เสรีภาพ แต่ก็ยังมีเพิ่มขึ้นมาอีก เราเรียกว่า ประชาชน

ส่วนคำว่า ราษฎร คือคำที่ใช้ในอดีต หมายถึง ไพร่ฟ้า หน้าใส ต้องอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐอย่างเข้มข้น มักจะใช้ในระบอบการปกครองแบบกษัตริย์นิยม หรือจักรพรรดินิยม หรือ ระบบสมมติเทวราช

ดังนั้น คำคำเดียว คำหลายคำที่มีความหมายเดียวกัน อาจจะมีนัย ของความหมายที่ซ่อนอยู่

คำว่า Civic virtue คือคุณธรรมของความเป็นพลเมือง เป็นแนวความคิดที่มีมานานแล้วในวิชารัฐศาสตร์ โดยไม่รู้ว่ามีใครกล่าวไว้คนแรก แต่ อาจารย์อเนก ได้ดึงมาให้เห็นใหม่ว่า ในท่ามกลางที่เราต้องการการเมืองภาคประชาชนหรือภาคพลเมือง โดยพลเมืองไทยทุกคนนอกจากจะปฏิบัติหน้าที่ของพลเมืองตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังต้องมีในเรื่องคุณธรรมหรือจริยธรรมของความเป็นพลเมืองด้วย

Civic virtue ประกอบด้วย 3 ด้าน

1.Citizenship ความเป็นพลเมือง

-สิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย

-สิทธิที่จะไม่เชื่อฟังรัฐ

-สำนึกสาธารณะ

2.Political virtue คุณธรรมประจำของความเป็นการเมือง

-Ethics คือถ้าเราเป็นนักการเมืองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เราจะต้องเข้าใจ การเมืองต้องเป็นเรื่องของคุณธรรมจรรยา การเมืองไม่ใช่เป็นเรื่องของน้ำเน่า หรือการเมืองไม่ใช่เป็นเรื่องของการเอาชนะในการเลือกตั้ง

การเมืองเป็นเรื่องของการพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ส่วนร่วม หมายถึงว่า เรามีแนวทางหรือนโยบายให้กลุ่มของเรา ได้รับในสิ่งที่เรียกร้องต้องการ แต่ต้องทำให้ผลประโยชน์ส่วนรวมเสียไปด้วย อย่างเช่น นายกรัฐมนตรีทักษิณ บางทีถูกโจมตีว่าคอรัปชั่นทางนโยบาย แต่ยังดีกว่ากอบโกยอย่างเดียวอีกทั้งทำลายผลประโยชน์ส่วนรวมด้วย

- Professionalism นักการเมืองควรเป็นเมืองอาชีพ หรือ ความเป็นวิชาชีพของนักการเมือง โดยอาชีพนี้ควรสงวนไว้สำหรับมืออาชีพเท่านั้น

3.civil Society ความเป็นประชาสังคม เป็นเรื่องของการเพิ่มพลังอำนาจให้กับภาคประชาชนที่ไร้การต่อรอง หรือไร้อำนาจด้วย

จะเห็นว่า การเมืองในมุมมองของอาจารย์อเนก เป็นการเมืองที่เป็นเรื่องของคนส่วนใหญ่ การเมืองเป็นเรื่องของจริบธรรมและทำเพื่อคนส่วนใหญ่ไม่ใช่เป็นการเมืองของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีทีความมั่งคั่งร่ำรวยทางเศรษฐกิจ

Empowerment หมายถึงการเพิ่มอำนาจ หรือการทำให้ประชาชนซึ่งครั้งหนึ่งเป็นผู้ไร้โอกาส หรือไร้การต่อรองให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น จนถึงขั้นที่จะปกครองตนเองได้

นี้เราได้ความหมายของ Civic virtue ซึ่งมันเป็นความจำเป็นในการการเมืองยุคใหม่ การเมืองภาคประชาชน ที่ Civic virtue จะครอบคลุม 3 เรื่อง คือ ความเป็นพลเมือง คุณธรรมทางการเมือง และประชาสังคม

การเมืองไทยกับกระแสความคิดเรื่องประชาสังคม

-เปลี่ยนการเมืองของพรรคการเมืองและนักการเมืองเป็นการเมืองของพลเมือง เป็นการขยายโอกาสให้คนทุกชั้นเหล่าเข้าไปมีส่วนร่วม

-ลดบทบาทของภาครัฐและภาคราชการ ปัจจุบันเริ่มมาเน้นในบทบาทการกำกับดูแล บทบาทการอำนวยความสะดวก บทบาทการเป็นที่ปรึกษาแนะนำ มากขึ้น ส่วนบทบาทการอนุมัติ อนุญาต ก็กระจายไปให้ส่วนอื่นทำ เช่น การตรวจสภาพรถยนต์ปัจจุบันก็ให้เอกชนทำ การตรวจโรงงานให้เอกชนเข้ามาดูแล จะทำให้ระบบราชการเล็กลง ใช้งบน้อยลง

-สร้างองค์กรและกลไกอิสระเพื่อการตรวจสอบทางการเมือง คือให้มีองค์การเหล่านี้มากๆตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด และองค์กรอื่นๆที่กำลังจะก่อตัวขึ้นมาเช่น เครือข่ายพีเน็ท ใช้เงิน กกต.แต่เป็นองค์กรอิสระในการดูแลกระบวนการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรม ดังนั้นต้องส่งเสริมให้มีองค์กรนี้มากๆ ในเร็วๆนี้จะมีเครือข่ายประชาชนต้านการคอรัปชั่น

-เน้นบทบาทของสื่อมวลชนในการสร้างมติมหาชน( Public Opinion) รัฐบาลนี้ถูกตั้งข้อหาริดรอนสื่อ หรือซื้อสื่อมาเป็นเจ้าของสื่อ นอกจากนี้สื่อต้องมีบทบาทสร้างวาทะทางสังคม (Public Agenda)ซึ่งพัฒนามาจากการสร้างมติหมาชนหมายถึงคนส่วนใหญ่ในสังคมนั้นยอมรับและยึดถือว่าจะต้องทำต่อไป เช่น การปฏิรูปการเมือง ซึ่งทุกเห็นด้วยว่าถึงเวลาจะต้องทำแล้วมิฉะนั้นจะเกิดวิกฤติ นอกจากนี้ก็มีการปฏิรูปการศึกษา แต่ยังไม่สำเร็จเนื่องจากรัฐมนตรีไม่ผลักดัน จะเห็นว่ามติมหาชนนั้นเป็นการพัฒนามาจากประเด็นทางสังคมเล็กๆ และกลายเป็นมติมหาชนและพัฒนาไปสู่วาระทางสังคมในที่สุด

Hosted by www.Geocities.ws

1