สรุป อ.อรัสธรรม Ps 711

การวิเคราะห์นโยบาย(Policy Analysis) ในเรื่องทฤษฎีและเทคนิค

1.ทฤษฎีและเทคนิคในขั้นการกำหนดนโยบาย (Policy Formulation/Policy Making)หมายถึงการกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

2.ทฤษฎีและเทคนิคในขั้นการแปลงนโยบายเป็นแผนงานและโครงการ(หมายถึง ขั้นตอนของการนำเอานโยบายซึ่งไว้วางกรอบกว้างๆมาแปลงเป็นแผนงานเพื่อให้นำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม

3.ทฤษฎีและเทคนิคในขั้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) หมายถึงการนำแผนและโครงการไปลงมือปฏิบัติ

อาจารย์จะเน้น 3 ตัวนี้ เท่านั้นนะคะ

ถ้ามองในภาพรวมของความสัมพันธ์ของนโยบายทั้ง 3 คือ

ตัวแบบที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย

1.ตัวแบบผู้นำ ( Elite Model)ตัวแบบนี้จะตั้งสมมติฐานว่านโยบายถูกกำหนดโดยผู้นำที่ปกครองประเทศในเวลานั้น ดังนั้นนโยบายจะออกมาในรูปใดขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มผู้นำต้องการอะไร

 

 

2.ทฤษฎีกลุ่ม(Group Model) พิจารณาว่านโยบายสาธารณคือจุดดุลภาพระหว่างกลุ่มต่างๆ ในสังคม นโยบายสาธารณจะสะท้องให้เห็นถึงจุดร่วมของผลประโยชน์ระหว่างกลุ่ม

กลุ่มใดมีอิทธิพลมากนโยบายจะเอนเอียงไปทางนั้น

3.ตัวแบบสถาบัน(Institutional Model)กิจกรรมสาธารณะเป็นกิจกรรมของสถาบัน โดยเฉพาะสถาบันของรัฐ

4.ตัวแบบระบบ (System Model)นโยบายสาธารณคือผลผลิตของระบบ (Output)หรือนโยบายสาธารณะคือการโต้ตอบของระบบการเมืองต่อสภาพแวดล้อม

5.ตัวแบบกระบวนการ(Process Model)นโยบายสาธารณะเป็นกิจกรรมทางการเมืองทีมีหลายขั้นตอน

1.กำหนดปัญหา ข้อเรียกร้องต่างๆให้รัฐบาลดำเนินการ

2.เสนอทางเลือกในการแก้ปัญหา

3.เลือกทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อนำไปปฏิบัติ

4.การนำนโยบายไปปฏิบัติ

5.การประเมินผลนโยบาย

6.ตัวแบบเหตุผล(Ration Model) นโยบายสาธารณะจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวม

1.วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเป็นไปได้และวัดผลได้ 2.ค่านิยมและทรัพยากรอื่นๆที่จะทำให้ดำเนินการไปสู่เป้าหมาย

3.ทางเลือกดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย 4.วิเคราะห์ทางเลือกแต่ละทาง ว่าเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์และเหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่หรือไม่ 5.ทางเลือกที่เลือก 6.นำทางเลือกไปปฏิบัติ

 

7.ตัวแบบพิจารณาเฉพาะส่วนที่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มขึ้น(Incremental Model)

8.ตัวแบบทฤษฎีเกมส์(Game Theory Model) แสวงหากลยุทธ์ที่มีเหตุผลท่ามกลางสถานการณ์ที่มีการแข่งขัน

เทคนิคการกำหนดนโยบาย(ที่สำคัญที่อาจารย์เน้น)

1.เทคนิคการวิเคราะห์สถานการณ์ที่เป็นปัญหา

ลักษณะของปัญหานโยบาย (Policy Problem)

1.ปัญหานโยบายจะมีลักษณะอิงอาศัยกัน (Independence)

2.ปัญหาที่เป็นอัตตะวิสัย(Subjectivity) ปัญหานโยบายที่เกี่ยวกับความรู้สึก

3.ปัญหาที่เกิดจากมนุษย์(Artificiality)

4.ปัญหาทางด้านนโยบายจะมีลักษณะพลวัตร (Dynamic)

เทคนิคการเปรียบเทียบส่วนคล้าย(Synectics) เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นคล้ายกับอะไร เคยมีการ แก้อะไร

-การเปรียบเทียบความคล้ายส่วนบุคคล(Personal Analogies)

-การเปรียบเทียบส่วนคล้ายโดยตรง (Direct Analogies)

-การเปรียบเทียบส่วนคล้ายเชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Analogies)

-การเปรียบเทียบทางจิตนาการ(Fantasy Analogies)

ทฤษฎีการแปลงนโยบายเป็นแผนและโครงการ

1.แนวทางการวางแผนที่เน้นเนื้อหาสาระ (Object – Centered) จะโยงออกเป็นทฤษฎีที่เรียกว่า Substantive Theory

2.แนวทางการวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ (Decision Centred) มาจากทฤษฎีการตัดสินใจ 3 แนวคือ แบบสม2.1เหตุสมผล (Comprehensive Rationalism)ปทัสถาน (Normative)(หน้าที่(Function)

2.2การตัดสินใจแบบส่วนเพิ่ม (Disjointed Incrementalism)

2.3การตัดสินใจแบบผสม(Mixed Scanning)

3.การวางแผนและการควบคุม (Control Centred) จะมองว่าใครเป็นผู้ควบคุมแผนพิจารณา 3 แนว

เทคนิคการวางแผน

เทคนิคการพยากรณ์ (Forecasting)3 วิธี

1.พยากรณ์แนวโน้ม(Extrapolative Forecasting) ดูสถิติจากอตีดทำนายอนาคต

2.การพยากรณ์เชิงทฤษฎี (Theoretical Forecasting)

3.การพยากรณ์เชิงอัชฌติกติญาน (Intuitive Forecasting)

 

 

ภาพรวมเทคนิคการพยากรณ์

Approach

Basis

Reasoning

Product

Extrapolative Forecasting

Trend Extrapolation

Inductive Logic

Projection

Theoretical Forecasting

Theoretical Assumptions

Deductive Logic

Predictive

Intuitive Forecasting

Subjective Judgement

Retroductive Logic

Conjectures

การเก็บข้อมูลให้หลักการ How Why When Who

เทคนิคการวิเคราะห์ความเป็นไปได้(Feasibility Study)ของแผนและโครงการ

1.ความเป็นไปได้ด้านเทคนิควิชาการ(Technical Feasibility)

2.ความเป็นได้ทางด้านเศรษฐกิจและการคลัง (Economic and Financial Feasibility)

3.การวัดความอยู่รอดทางการเมือง (political Viability) แยกเป็นการยอมรับ,ความเหมาะสม ,การสนองตอบจากประชาชน และกฎหมาและความเป็นธรรม

4.ความสามารถในการปฏิบัติทางด้านการบริหาร (Administrative Operability) แยกเป็น อำนาจหน้าที่ ,ความผูกพันกับสถาบัน ,สมรรถนะขององค์การและการสนับสนุนจากองค์การต่างๆ

ตัวแบบ เหตุผล(Rational Model)

สาเหตุ(Cause) หรือตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย

ตัวแบบ ทฤษฎีการบริหารและองค์การ

สาเหตุ(Cause) หรือตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย

1.ตัวแปรที่มาจาก Management Model จะดูทีสมรรถนะขององค์การ

2.ตัวแปรจากระบบราชการ

-ความเข้าใจในการให้บริการของผู้กำหนดนโยบาย

-ระดับการยอมปรับนโยบายให้เป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานหรือเจ้าหน้าที่

3.ตัวแปรจากตัวแบบการพัฒนาองค์การ

-การมีส่วนร่วม

-ความผูกพันของเจ้าหน้าที่ต่อองค์การ

-การได้รับการยอมรับจากผู้ร่วมงาน

-ภาวะผู้นำของผู้นำนโยบาย

-การทำงานเป็นทีม

-การมีสิ่งจูงใจในการปฏิบัติงาน

4.ตัวแปรของเงื่อนไขสิ่งแวดล้อม

5.ตัวแบบทางการเมือง

เทคนิคการนำนโยบายไปปฏิบัติ

1.การกำกับดูแล(Monitoring)

2.การประเมินผล(Evaluation)

Hosted by www.Geocities.ws

1