สรุป Ps 711

สรุป อ.อนงค์ทิพย์

แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะคือ เป็นการดำเนินกิจกรรมของภาครัฐบาล ,การตัด สินใจดำเนินการของรัฐบาล,การจัดสรรทรัพยากรทั้งหมดในเกิดประโยชน์ต่อประชาชน

นโยบายสาธารณะต้องมองถึงขั้นตอนการนำนโยบายไปปฏิบัติ ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดหรือไม่ ดังมีคำกล่าวว่า” ถ้าไม่มีนโยบาย ก็ไม่มีการบริหาร และถ้าบริหารไม่ดีนโยบายนั้นก็ว่างเปล่าไม่มีความหมาย”

องค์ประกอบในการวิเคราะห์ นโยบายสาธารณะ (The elements of policy analysis) ตามแนวทางของ Quade ประกอบด้วย

1.วัตถุประสงค์(The objectives) ต้องค้าหาวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของ นโยบาย

2.ทางเลือก(The Alternatives) เป็นเงื่อนไขหรือวิธีการที่เป็นไปได้ซึ่งผู้ตัดสินใจคาดหมายว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จ

3.ผลกระทบ(The Impacts) ผลที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากทางเลือกเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการ

4.เกณฑ์การวัด (The criteria) คือกฎเกณฑ์หรือมาตรฐานที่ใช้จัดลำดับความสำคัญของทางตามเลือกตาม ที่ประสงค์ดดนจะใช้เกณฑ์การวัดที่ใช้หลักการเดียวกันในการประเมินทางเลือก ซึ่งจะสามารถเปรียบเทียบกันได้

5.ตัวแบบ (The model) หัวใจของการวิเคราะห์การตัดสินใจคือกระบวนการหรือการสร้างสรรค์ที่สามารถทำนายผลที่จะเกิดจากทางเลือกแต่ละทางเลือกได้ ดังนั้น ถ้าแนวทางเลือกใดได้รับการพิจารณาเพื่อนำไปปฏิบัติ นักวเคราะห์จะต้องประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นว่าจะบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ ซึ่งตัวแบบจะช่วยให้การดำเนินการดังกล่าวสมบูรณ์ขึ้น ตัวแบบจะช่วยทำให้ผู้ตัดสินใจมองเห็นภาพรวมทั้งหมดของทางเลือกและสามารถเปรียบเทียบเพื่อตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ต้องการได้

ปัจจัยและองค์ประกอบของนโยบาย

1.ปัจจัยทีใช้พิจารณาเพื่อการกำหนดนโยบาย

1.1.ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน(Fundamental Factors) ประกอบด้วย

1.1.1ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ เป็นปัจจัยอันดับหนึ่งเสมอสำหรับผลประโยชน์จะเน้นผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญสำหรับนโยบายสาธารณะ

1.1.2.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้กำหนดนโยบาย มองว่าใครคือผู้กำหนดนโยบายมีความรู้ความสามารถและเหตุผลในเรื่องนั้นมากน้อยแค่ไหน จะมองว่ากลุ่มของผู้นำจะมีอิทธิมากในการกำหนดนโยบาย

1.1.3.ปัจจัยที่เกี่ยวกับข้อมูลเอกสารต่างๆ ถือว่าเป็นข้อมูลสำคัญ สถิติข้อมูลต่างๆที่ใช้ประกอบการตัดสินในกำหนดนโยบายสาธารณะจะมาจากข้อมูลเอกสาร(ทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ)

1.2 ปัจจัยที่เป็นสภาพแวดล้อม (Environment Factors) สภาพแวดล้อม จะมีอิทธิพล มีปฏิสัมพันธ์ต่อการทำงานและองค์การและการทำงานและองค์การ ก็จะมีอิทธิพลต่อสภาพแวดล้อมด้วย ต่างก็จะมีปฎิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

1.2.1 ปัจจัยทางการเมืองและวัฒนธรรมทางการเมือง การเมืองจะเป็นแหล่งสนับสนุนและได้รับผลกระทบจากนโยบาย มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการกำหนดนโยบาย

- ถ้ามองในแง่ของวัฒนธรรมทางการเมืองแล้วจะขึ้นอยู่กับค่านิยมของคนในสังคมที่มีต่อการเมืองอย่างไร เช่นการชูประเด็นหาเสียงของพรรคการเมืองเพื่อให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง เป็นตัวสะท้อนในการกำหนดนโยบาย

1.2.2. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดความต้องการของประชาชน การดำเนินนโยบายของรัฐบาลก็ต้องเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้กับประชาชน

1.2.3 ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางสังคมจะมีมาก เช่น ค่านิยม วัฒนธรรม ครอบครัว จำนวนประชากร เช่นถ้ามีประชากรในวัยเด็กมาก นโยบายสาธารณะก็จะออกไปทางการจัดการศึกษา หรือคนชรามากก็จะมีนโยบายสงเคราะห์คนชราเป็นต้น

1.2.4.ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ เป็นตัวสะท้อนในการแก้ไขปัญหาในอดีต เป็นข้อมูลในการกำหนดโยบาย

1.2.5 ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี มีความสำคัญในการกำหนดนโยบาย

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกกำหนดนโยบาย

1.ค่านิยม(Values) การกำหนดนโยบายสาธารณะต้องสอดคล้องกับค่านิยมของผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายเพื่อการนำนโยบายไปปฎิบัติได้โดยไม่ถูกต่อต้าน

2.ความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง( Political party affiliation) จะดูที่จุดยืนของพรรคการเมืองก็จะสามารถวิเคราะห์ทิศทางการกำหนดนโยบายได้

3.ผลประโยชน์ของประชาชนในเขตเลือกตั้ง

4.มติมหาชน ทางรัฐศาสตร์มองว่ามีความสำคัญมีบทบาทมากกับการตัดสินใจกำหนดนโยบาย

5.ประโยชน์สาธารณะชน ในหลักการกำหนดนโยบายต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนใหญ่เป็นหลัก

แนวทางในการศึกษานโยบายสาธารณะแบ่งเป็น 2 แนวทางคือ

1.การศึกษานโยบายสาธารณะเชิงพรรณา (Descriptive Approach) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับตัวนโยบายและกระบวนการ

1.1.การศึกษาเนื้อหาสาระนโยบาย (Policy Content) ศึกษาความเป็นมา สาเหตุ รวมทั้งวิธีดำเนินการนโยบาย

1.2.การศึกษากระบวนการนโยบาย(Policy Process) อธิบายว่านโยบายนั้นกำหนดขึ้นมาอย่างไรมีขั้นตอนอะไร และในแต่ละขั้นตอนมีใครเข้ามาเกี่ยวข้องบาง

1.3.ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดนโยบาย (Policy Determinants) และผลผลิตนโยบาย (Policy Outputs) เป็นการทำความเข้าใจว่าปัจจัยอะไรบ้างเป็นตัวกำหนดนโยบายและผลผลิตของนโยบายเป็นอย่างไร

1.4 ศึกษาเกี่ยวกับผลลัพธ์ (Policy Outcome) และผลกระทบของนโยบาย (Policy Impact) เช่นนโยบายการศึกษา Input คือนักศึกษาที่เข้าเรียน Policy Output คือนักศึกษาที่เรียนจบ Policy Outcome คือนักศึกษาที่จบแล้วมีงานทำงาน การศึกษา Outcome และ Impact เป็นการศึกษาที่ตั้งใจและผลที่ไม่ตั้งใจ

2.การศึกษานโยบายเชิงเสนอแนะ (Prescriptive Approach) จะได้ รับอิทธิพลจากวิทยาการจัดการในการแบบสมัยใหม่ มีเทคนิควิธีและเครื่องมือต่างๆ มากมายเน้นแสวงหาความรู้เกี่ยวกับกระบวนการนโยบาย

2.1.การศึกษาข้อมูลข่าวสารต่างๆในการกำหนดนโยบาย (Information for Policy Making) มีการจัดเก็บข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจกำหนดนโยบาย

2.2.การให้การสนับสนุนนโยบาย (Policy Advocacy) มีการจัดวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผลการวิเคราะห์จะนำมาเป็นแนวทางในการตัดสินใจกำหนดนโยบาย ดังนั้นแนวทางที่ตัดสินใจจึงมีเหตุผลรองรับว่าทำไมจึงตัดสินใจเลือกและสนับสนุนแนวทางนี้

กรอบด้านซ้ายคือ Descriptive Approach ซึ่งเรียกว่าเป็นนโยบายศึกษา (policy studies) กรอบด้านขวาคือ Prescriptive Approachการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ (Policy Science) ทั้งสองส่วนเรียกว่านโยบายศาสตร์(Policy Science) เป็นการศึกษาที่ต้องการจะดึงทฤษฎีและการปฏิบัติเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อหานโยบายสาธารณะที่ดีกว่าครอบคลุมทั้งกระบวนการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นการศึกษาในเชิงสหวิทยาการ

ตังแบบในการศึกษา จำนวน 8 ตัวคือ

1.ตัวแบบผู้นำ ( Elite Model)ตัวแบบนี้จะตั้งสมมติฐานว่านโยบายถูกกำหนดโดยผู้นำที่ปกครองประเทศในเวลานั้น ดังนั้นนโยบายจะออกมาในรูปใดขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มผู้นำต้องการอะไร

2.ทฤษฎีกลุ่ม(Group Model) พิจารณาว่านโยบายสาธารณคือจุดดุลภาพระหว่างกลุ่มต่างๆ ในสังคม นโยบายสาธารณจะสะท้องให้เห็นถึงจุดร่วมของผลประโยชน์ระหว่างกลุ่ม

กลุ่มใดมีอิทธิพลมากนโยบายจะเอนเอียงไปทางนั้น

3.ตัวแบบสถาบัน(Institutional Model)กิจกรรมสาธารณะเป็นกิจกรรมของสถาบัน โดยเฉพาะสถาบันของรัฐ

4.ตัวแบบระบบ (System Model)นโยบายสาธารณคือผลผลิตของระบบ (Output)หรือนโยบายสาธารณะคือการโต้ตอบของระบบการเมืองต่อสภาพแวดล้อม

5.ตัวแบบกระบวนการ(Process Model)นโยบายสาธารณะเป็นกิจกรรมทางการเมืองทีมีหลายขั้นตอน

1.กำหนดปัญหา ข้อเรียกร้องต่างๆให้รัฐบาลดำเนินการ

2.เสนอทางเลือกในการแก้ปัญหา

3.เลือกทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อนำไปปฏิบัติ

4.การนำนโยบายไปปฏิบัติ

5.การประเมินผลนโยบาย

6.ตัวแบบเหตุผล(Ration Model) นโยบายสาธารณะจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวม

1.วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเป็นไปได้และวัดผลได้ 2.ค่านิยมและทรัพยากรอื่นๆที่จะทำให้ดำเนินการไปสู่เป้าหมาย

3.ทางเลือกดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย 4.วิเคราะห์ทางเลือกแต่ละทาง ว่าเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์และเหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่หรือไม่ 5.ทางเลือกที่เลือก 6.นำทางเลือกไปปฏิบัติ

7.ตัวแบบพิจารณาเฉพาะส่วนที่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มขึ้น(Incremental Model)

8.ตัวแบบทฤษฎีเกมส์(Game Theory Model) แสวงหากลยุทธ์ที่มีเหตุผลท่ามกลางสถานการณ์ที่มีการแข่งขัน

การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะจะมีข้อมูลอยู่ 3 ระดับคือ

1. การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะจะมีข้อมูลอยู่ 3 ระดับคือ

1.ข่าวสารข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง(Facts) 2.ข้อมูลข่าวสารที่เป็นค่านิยม (Values)3.ข้อมูลข่าวสารที่มีลักษณะการกระทำหรือการปฏิบัติ(Actions)

2.จะมีการตีความข้อมูลข่าว 3 ระดับ คือ - การพยากรณ์ (Prediction) – การใช้เทคนิคในการพรรณาหรือการอธิบาย (Description)- การใช้เทคนิคในการประเมิน (Evaluation) - เทคนิคการเสนอแนะ

3.การวิเคาระห์ข่าวสารต้องอาศัยเหตุผลเพื่อแปรสภาพข่าวสารให้เกิดประโยชน์ การแปรสภาพข้อมูลข่าวสารเพื่อแสดงเหตุผลที่ชัดเจนว่านโยบายที่ถูกนำเสนิอขึ้นมานั้นได้ผ่านการศึกษากลั่นกรอง วิเคราะห์อย่างรอบคอบแล้ว มีเหตุผลสนับสนุนชัดเจนนโยบายที่จะนำเสนอ เป็น Policy Argument จะมีอยู่ 6 ส่วน เช่นกรณีศึกษา นโยบายในการพัฒนาเทคโนโลยี่สารสนเทศเพื่อพัฒนาภูเก็ตนโยบายนี้ต้องกมาให้ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารสนเทศ เพื่อเป็นเมืองท่าสำหรับการลงทุนด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม ได้ศึกษา Fact Value Action แล้วจะแปลงเป็น Policy Argument ดังนี้

  1. ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย(Policy Relevant information :I ) จะเป็นหลักฐานอ้างอิงที่ใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการนำเสนอนโยบายสร้างเหตุผลในการนำเสนอ อาจจะอยู่ในรูปของผลการวิจัยก็ได้ เช่น ผลการวิจัยเรื่องการจัดระเบียบจราจรเพี่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดอาจจะอยู่ในรูปของข้อเรียกร้องของประชาชนก็ได้ เช่นกรณีศึกษา นโยบายดังกล่าวเป็นการประยุกต์ใช้ IT เพื่อการลงทุนด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม เป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาให้เป็นเมืองนานาชาติ
  2. ข้ออ้างนโยบาย (Policy Claim : C)เป็นข้อสรุปของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนโยบายทำให้เห็นผลในการนำเสนอนโยบายได้ชัดเจนวิ่งขึ้น ตามมติ ครม. 26 พ.ย.39 ให้พัฒนาภูเก็ตเป็น IT city และเป็นหนึ่งในนโยบายของ E – Thailand ควบคู่กับการพัฒนา ให้เป็นเมือง Cyber port หรือพัฒนาให้เป็นเมืองนานาชาติด้านอิเลิโทนิค
  3. หลักประกัน (Warrant : W) เป็นข้อมูลข่าวสารที่จะมายืนยัน I และ C ให้มีน้ำหนักมากขึ้น ทำให้มองเห็นถึงความเหมาะสม ความจำเป็นในการดำเนินนโยบายได้ชัดเจนขึ้น จังหวัดภูเก็ตมีความพร้อมในหลายๆด้านที่เหมาะแก่การลงทุน เช่นเป็นเมืองท่องเที่ยว มีพื้นที่ไม่ใหญ่ เป็นเกาะ และยังมีใยแก้วนำแสงใต้น้ำพร้อมที่จะดำเนินการได้ทันที
  4. ข้อสนับสนุน(Backing:B)เป็นข้อสนับสนุนที่เป็นข้อมูลเพิ่มเติมทีจะช่วยให้ W มีน้ำหนักมากขึ้นเพราะการอ้างหลักประกันขึ้นมาลอยๆ จะไม่น่าเชื่อถือ มีการสำรวจเตรียมการไว้แล้วตั้งแต่ปี 2543 มีโครงการนำร่องในการพัฒนา IT มีการใช้ IT มีการจัดทำแผนที่ภูเก็ต
  5. ข้อตรวจสอบ (Qualifier : Q) จะชี้ให้เห็นระดับความมั่นใจที่มีต่อนโยบายว่าผ่านขั้นตอนที่ถูกต้องแล้ว และเชื่อมั่นว่าจะประสบผลสำเร็จ ทำการวิเคราะห์หลายๆด้านมีความพร้อมและเชื่อมั่นที่จะทำตามนโยบายได้ถึง 90 %
  6. ข้อโต้แย้ง (Rebuttal :R) เป็นข้อมูลที่เป็นข้อคัดค้านนโยบายหรือข้อมูลที่แสดงถึงปัญหาหรืออุปสรรค ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายการมีข้อโต้แย้งเท่ากับเป็นการวิเคราะห์ในเชิงรุกคือดูว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง แล้วเตรียมแนวทางที่จะตั้งรับไว้อย่างรอบคอบ รัฐบาลไม่มีงบประมาณสนับสนุน แต่มีทางออกว่าภาคเอกชนและต่างประเทศจะให้ความช่วยเหลือจาก อังกฤษและสวีเดน

*******สีแดงคือตัวอย่างที่เห็นจริง****

การแปลงข้อมูลข่าวสารที่เป็น Fact Value และ Action เป็น Policy Relevant Information แปลงเป็น 5 ประเภทคือ

1.ปัญหานโยบาย (Policy Problem) คือสภาพปัญหาที่ก่อให้เกิดนโยบาย

2.ทางเลือกนโยบาย (Policy Alternatives) คือแนวทางในการดำเนินนโยบายที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ว่าในการแก้ปัญหาจะมีวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างไร

3.ทางเลือกที่เกี่ยวกับการลงมือนำไปปฏิบัติ (Policy Actions) นั่นคือทางเลือกที่ดีที่สุด

4.ผลลัพธ์นโยบาย(Policy Outcomes) ดูผลนโยบายว่าเกิดอะไรขึ้นจากการนำนโยบายไปปฏิบัติ

5.ระดับความสำเร็จของนโยบาย (Policy performance) ความสามารถในการดำเนินนโยบายให้บรรลุผลดูจากเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ระบบนโยบาย (Policy System )

1.ผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย (Policy Stakeholders) ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายในแง่ของผู้ทำให้เกิดนโยบาย ผลักดันนโยบาย ได้รับประโยชน์นโยบาย และยังรวมถึงผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ

2.สภาพแวดล้อมนโยบาย(Policy Environment) สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับปัญหานโยบายที่นำไปสู่การก่อรูปนโยบาย

3.ตัวนโยบายสาธารณะ (Public Policies) หมายถึงการดำเนินการของรัฐบาลที่เกิกจากการตัดสินใจว่าจะทำอะไร

ตัวแปรตาม (Dependence Variable)

1.สภาพแวดล้อมนโยบายส่งผลต่อ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายอย่างไร

2.ผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายส่งผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะอย่างไร

3.สภาพแวดล้อมของนโยบายส่งผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายอย่างไร

ตัวแปรตาม (Independence Variable)

4.นโยบายสาธารณส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

5.ผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายส่งผลต่อสภาพแวดล้อมอย่างไร

6.นโยบายสาธาณส่งผลสะท้อนกลับต่อผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างไร


1.การจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับ Policy Problems ใช้ Problems Structuring เป็นระเบียบวิธีวิเคราะห์ปัญหานโยบาย
2.ในการแปลงข้อมูลจาก Policy Problems เป็น Policy Alternatives จะใช้การ Forecasting เป็นระเบียบวิธีในการวิเคราะห์ การทำนายจะเป็นการคาดคะเนและผลของนโยบายทางเลือก
3.การแปลงจาก Policy Alternatives เป็น Policy Actions จะใช้ Recommendation การเสนอแนะคือการจัดลำดับทางเลือกว่าทางเลือกใดเหมาะสมกว่ากัน มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติแล้วนำไปดำเนินการ
4.การแปลงจาก Policy Actions เป็น Policy Outcomes จะใช้ Monitoring เป็นตัวกำกับติดตามผล
5.การแปลงจาก Policy Outcomesเป็น Policy Performance จะใช้ Evaluation เป็นตัวประเมินว่าการดำนเนินงานสำเร็จมากน้อยแค่ไหนเป็นการประเมินผลลัพธ์กับเป้าหมายที่ได้วางไว้
6.จากระดับของความสำเร็จ(Policy Performance) จะเป็นตัวประเมินว่า Policy Alternatives เหมาะสมเพียงใด
7.ถ้าหาก Policy Performance ได้แก้ไขปัญหาไปบ้างแล้วแต่ยังไม่สำเร็จก็จะใช้ Practical Inference มาวิเคราะห์ ปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขเข้าสู่วงจร Policy Problemsอีกครั้ง

 

Hosted by www.Geocities.ws

1