กำเนิดและพัฒนาการของสภาพยุโรป (European Union)

สภาพยุโรป (European Union) ตั้งขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1993 โดยสนธิสัญญามาสทริกต์ (สนธิสัญญาลงนามกันในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1993) รวมเอาสายงานประชาคมเข้ามาเป็นสายงานหนึ่ง

ก่อนหน้านี้ ประชาคมยุโรปเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของ 3 ประชาคม คือ

1. ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (European Coal and Steel

Community: ECSC) ตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาปารีส เมื่อวันที่ 18

เมษายน ค.ศ. 1951

2. ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community: EEC)

ตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาโรม เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1957

3. ประชาคมพลังงานปรมณูแห่งยุโรป (European Atomic Energy

Community: ERATOM) ตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาโรม เมื่อวันที่ 25

มีนาคม ค.ศ. 1957

ทั้ง 3 ประชาคมได้รวมกันเป็นประชาคมยุโรป (European Community: EC) โดยสนธิสัญญาบริสเซลส์ เมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1965 ในปัจจุบันสหภาพยุโรปประกอบด้วยสายงานที่เป็นพื้นฐานสำคัญอยู่ 3 สาย คือ

สายงานส่วนแรก ได้แก่ ประชามคม 3 ประชาคมดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศ 3 ประชาคม และเป็นองค์การเหนือชาติ ซึ่งในปี ค.ศ. 1965 ได้รวมตัวกันเป็น ประชาคมยุโรป (European Community)

สายงานส่วนที่สอง ได้แก่ความร่วมมือในด้านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วมกัน (Common Foreing and Security Policy) หมายถึง ความร่วมมืออย่างเสมอภาคระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป

สายงานส่วนที่สาม ได้แก่ ความร่วมมือในด้านยุติธรรมและกิจการภายใน (Intergovernmental Cooperation) หมายถึง อย่างเสมอภาคระหว่างรัฐบาลทำนองเดียวกับสายงานส่วนที่สอง

ตัวสหภาพยุโรปจึงไม่ได้เป็นทั้งสหพันธรัฐ (Federation) ทั้งสมาพันธรัฐ (Confederation) และทั้งองค์การระหว่างประเทศ (International Organization) เพราะสหภาพยุโรปไม่มีสถานะบุคคลตามกฎหมาย ซึ่งตรงข้ามกับประชาคมยุโรปข้างต้น เพราะฉะนั้น สนธิสัญญามาสตริชต์ จึงใช้ชื่อเป็นทางการว่า “สนธิสัญญาเกี่ยวกับสหภาพยุโรป”

สถาบันทั้งหลายของสหภาพยุโรปนั้นมีอำนาจในการจัดทำข้อเสนอ อำนาจในการตัดสินใจ และอำนาจในการปรึกษาหารือ ซึ่งไม่ได้จัดอยู่ในประเภทใดๆ ตามที่เคยแบ่งกันมาก่อนในกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศ

สถาบันที่สำคัญของสหภาพยุโรป

  1. สภายุโรป (European Council) อันเป็นที่ประชุมสุดยอดของประมุขของรัฐและของรัฐบาลทั้ง 15 ประเทศ
  2. รัฐสภายุโรป (European Parliament) อันเป็นตัวแทนของประชาชนของรัฐสมาชิกทั้งหมด
  3. คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) อันเป็นองค์กรอิสระมีภารกิจในการ “เฝ้าดูสนธิสัญญา” และในการเป็นกลไกในการรวมยุโรปเป็นหนึ่งเดียว (European Intergration)
  4. สภารัฐมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (Council of the European Union) ซึ่งเป็นองค์กรที่ประกอบด้วยรัฐมนตรีจากทั้ง 15 ประเทศของประเทศสมาชิก ที่ประชุมนี้จะเป็นผู้อนุมัติกฎเกณฑ์และโครงการร่วม (Common Normer and Programmer) ของสหภาพ องค์การทั้ง 4 เป็นองค์การที่เป็นของสถาบันหนึ่งเดียว

 

นอกจากนี้ ยังมีการตั้งองค์กรใหม่ๆ ซึ่งเป็นองค์กรปฏิบัติงานเพื่อมุ่งไปสู่

ความป็นสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน (Economic and Monetary Union) ซึ่งได้แก่สถาบันการเงินยุโรป ซึ่งเป็นองค์กรสำคัญในเครือข่ายของระบบธนาคารกลางแห่งยุโรป (European System of Central Bank - ESCB)

ยังมีองค์กรอื่นๆ ของประชาคมทั้งสามของสหภาพยุโรปอีกจำนวนมากที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น ทบวงการสิ่งแวดล้อมแห่งยุโรป ทบวงการกำหนดราคายาแห่งยุโรป สำนักงานสังเกตการณ์เกี่ยวกับยาเสพติด สถาบันการฝึกอบรมแห่งยุโรป ฯลฯ หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้ มิได้มีลักษณะเป็นสถาบัน เพียงแต่แต่งตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณานโยบายเฉพาะด้านต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อม สุขภาพ ความร่วมมือเกี่ยวกับกิจการภายใน สถาบันของสหภาพยุโรปตั้งอยู่ใน 3 เมือง คือ บริสเซลส์ (เบลเยี่ยม) ลักเซมเบอร์ก และสคราสบูร์ก (ฝรั่งเศส)

สมาชิกสหภาพยุโรป

จากแนวคิดร่วมกันของ Robert Scheman รัฐมนตรีต่างประเทศของฝรั่งเศสและ Jean Monnet (โมเน่ต์นั้นเป็นเจ้าหน้าที่ด้านการคลังของฝรั่งเศส แต่เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดและเสนอแนวคิดไปยังโรเบิร์ต ชูมาน และต่อมาเขาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของยุโรป )ได้ก่อให้เกิด “แผนการชูมาน” (Schuman Plan) ขึ้นในวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1950 สาระสำคัญของแผนนี้คือ ฝรั่งเศสกับเยอรมนี จะไม่เป็นคู่สงครามยุโรปอีกต่อไปเหมือนที่เคยผ่านมาในประวัติศาสตร์ นำเอาผลผลิตหลักของแต่ละฝ่ายมารวมอยู่ภายใต้อำนาจการตัดสินใจขององค์การเหนือรัฐ (Supranation Organization) ในฐานะองค์กรกลาง ทั้งนี้ เพื่อมิให้ต่างฝ่ายต่างใช้เหล็กและถ่านหินไปสร้างยุทธปัจจัยเพื่อการสงครามได้ตามอำเภอใจอีกต่อไปหลังเกิดสงครามโลกมาแล้ว 2 ครั้ง และสงครามในภูมิภาคอีกหลายครั้ง

สหภาพยุโรปจนถึงปัจจุบัน มีสมาชิกจำนวน 15 ประเทศ ได้แก่

1. ฝรั่งเศส 6. ลักเซมเบอร์ก 11. สเปน

2. เยอรมนี 7. อังกฤษ 12. โปรตุเกส

3. อิตาลี 8. ไอร์แลนด์ 13. ออสเตรเลีย

4. เนเธอร์แลนด์ 9. เดนมาร์ก 14. สวีเดน

5. เบลเยี่ยม 10. กรีซ 15. ฟินแลนด์

การประชุมของสภยุโรปจะใช้ภาษาทางการ 11 ภาษา ทำนองเดียวกับการประชุมสภายุโรป

จำนวนสมาชิกในการประชุมรัฐสภายุโรปที่เมืองเอดินเบอร์ก ที่ประชุมได้มีมติกำหนดจำนวนสมาชิกรัฐสภายุโรประหว่าง 518 – 567 คน ทั้งนี้ นับตั้งแต่การเลือกตั้งเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1994 เป็นต้นไป และให้มีการแบ่งสรรที่นั่งของแต่ละประเทศดังต่อไปนี้

เยอรมนี จำนวน 99 ที่นั่ง

ออสเตรีย จำนวน 21 ที่นั่ง

เบลเยี่ยม จำนวน 25 ที่นั่ง

เดนมาร์ก จำนวน 16 ที่นั่ง

สเปน จำนวน 64 ที่นั่ง

ฟินแลนด์ จำนวน 16 ที่นั่ง

ฝรั่งเศส จำนวน 87 ที่นั่ง

กรีซ จำนวน 25 ที่นั่ง

ไอร์แลนด์ จำนวน 15 ที่นั่ง

อิตาลี จำนวน 87 ที่นั่ง

ลักเซมเบอร์ก จำนวน 6 ที่นั่ง

เนเธอร์แลนด์ จำนวน 31 ที่นั่ง

โปรตุเกส จำนวน 25 ที่นั่ง

อังกฤษ จำนวน 87 ที่นั่ง

สวีเดน จำนวน 22 ที่นั่ง

รวมทั้งสิ้นจำนวน 626 ที่นั่ง

จากการรวมกันของสมาชิกในทวีปยุโรปขึ้นในสหภาพยุโรป (European Union) นั้น มีหลักการที่สำคัญหลายประการพอสรุปได้ดังนี้

1. เป็นการรวมตัวเพื่อแลกเปลี่ยน เพราะในทวีปยุโรปเอง ศักยภาพของ

แต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน การรวมตัวกันทางเศรษฐกิจทำให้เกิด

ความร่วมมือ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคมี

ความมั่งคั่ง

2. เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศสมาชิก ยุโรปทราบดีว่า หากให้

แต่ละประเทศ ต่อรองผลประโยชน์โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจกับประเทศ

มหาอำนาจ เช่น สหรัฐอเมริกา ย่อมเป็นการยากที่จะรักษาผลประโยชน์

ของตนได้ การรวมตัวกันทำให้อำนาจต่อรองมีสูง ทั้งในแง่ของปริมาณ

สินค้า และจำนวนของความต้องการ (Demand) ที่มีมากเช่นกัน ทำให้

ผลประโยชน์ของยุโรปได้รับการปกป้อง ซึ่งกระทำการเช่นนั้น ทั้งการค้า

การทำธุรกิจในกลุ่มและนอกกลุ่มของสหภาพยุโรป

3. การรวมตัวกันเพื่อป้องกันภัยสงคราม ซึ่งมีปัจจัยที่สำคัญดังนี้

      1. ประเทศในยุโรปด้วยกันเองเคยเป็นคู่สงคราม เช่น เยอรมนี – ฝรั่งเศส

การรวมตัวกันของคู่สงครามในอดีตเป็นเครื่องยืนยันว่าจะไม่ทำสงครามต่อกันอีกด้วย “แผนชูมาน” ทำให้ยุโรปเกิดความเชื่อมั่นของความสงบสุข

3.2 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดการแข่งขั้วอำนาจของลัทธิทางการเมือง

ซึ่งส่วนหนึ่งนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์และอีกส่วนหนึ่งนิยมประชาธิปไตย

ในยุโรปตะวันออกซึ่งมีรัสเซียเป็นผู้นำคอมมิวนิสต์ ทำให้ยุโรป

ตะวันตกเกิดความไม่เชื่อมั่น ต่อความมั่นคงของตน การรวมกันก็เป็น

การสกัดกั้นการแพร่ขยายของลัทธิ อุดมการณ์

4. การรวมกันเพื่อส่งเสริมพัฒนา โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจให้เกิดความยั่งยืน

เพื่อให้ยุโรปเป็นยุโรปเดียวมาแทน Nation State รัฐ-ชาติ

การรวมกลุ่มของสหภาพยุโรป (European Union) จำแนกการรวมตัวในทางเศรษฐกิจออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ

1.เขตเศรษฐกิจเสรี (Free Trade Area) ขั้นแรกนี้จะมีการยกเลิกกำแพงภาษี ยกเลิกระบบโควต้า และการกำหนดปริมาณสินค้า

2.สหภาพศุลกากร (Customs Union) ขั้นนี้จะมีการ ขจัดการเลือกปฏิบัติระหว่างสมาชิก นั่นคือภายในกลุ่มจะไม่มีการเก็บภาษี เคลื่อนย้ายสินค้าบริการภายในกลุ่มอย่างสะดวก ขจัดข้ออุปสรรต่างๆภายในกลุ่ม แต่ไปตั้งการกีดกัดกับภายนอกกลุ่ม

3.ตลาดร่วม (Common Markets) ขั้นนี้จะมีนโยบายทางเศรษฐกิจแบบเดียวกัน เช่นใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือนกัน

4. สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) จะมีการจัดระบบตลาดร่วมที่มีนโยบายเศรษฐกิจเป็นมาตรฐานเดียวกัน ขจัดความเหลื่อมล้ำและเลือกปฏิบัติต่อกันภายในกลุ่ม เช่นกำหนดอัตราดอกเบี้ยเดียวกัน

5. การบูรณาการทางเศรษฐกิจสมบูรณ์ (Total Economic Integration) ขั้นนี้จะมีการรวมตัวกันอย่างสมบูรณ์ทั้งด้านการเงิน การคลัง มีการจัดตั้งองค์กรที่มีลักษณะเหนือรัฐ หรือ Supra-National

อย่างไรก็ตามมีการถามเสมอว่าอียูเป็นองค์การระหว่างประเทศ (International Organization) หรือไม่คำตอบก็คือ ไม่ใช่เพราะอียูมีลักษณะที่พิเศษกว่าองค์การระหว่างประเทศ เพราะอียูนั้นอยู่เหนือกว่าชาติรัฐในด้านเศรษฐกิจ

ขณะสถาบันระหว่างประเทศมาจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล แต่องค์การระหว่างประเทศจะไม่มีอำนาจนอกเหนือไปกว่าการตกลงของรัฐบาล นั่นคือรัฐบาลยังมีอำนาจอธิปไตยเต็มที่ ขณะสหภาพยุโรปอำนาจอธิปไตยของรัฐบาลในทางเศรษฐกิจได้หมดสิ้นไปแล้ว

 

ยุโรปความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกามิติใหม่

การเปลี่ยนแปลงของยุโรปในปัจจุบัน (มีการรวมตัวกันเป็นสหภาพยุโรป) ย่อมส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของยุโรปเองและสหรัฐอเมริกาในอนาคต การล่มสลายของสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1991) นับเป็นการสิ้นสุดของสงครามเย็น (Cold War) ทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นอภิมหาอำนาจแต่เพียงผู้เดียว การลดลงของภยันตรายจากการข่มขู่ของคอมมิวนิสต์ ในขณะที่ยุโรปเริ่มจะมีความเข้มแข็งเป็นอภิมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ย่อมเป็นปัจจัยและเงื่อนไขที่จะส่งเสริมบทบาททางการเมืองในอนาคตของยุโรป ซึ่งในยุคต่อไปนี้เองที่เป็นยุคที่สหรัฐอเมริกาจะต้องปรับแนวนโยบายต่างประเทศกับยุโรป บทบาทของสหรัฐอเมริกาในองค์การนาโต้ต้องมีการประเมินใหม่ ตลอดจนท่าทีของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อประชาคมยุโรปในฐานะกลุ่มประเทศและเป็นประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ

การปรับความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาในด้านเศรษฐกิจ การเมือง การป้องกันยุโรป

ความขัดแย้งของยุโรปและสหรัฐอเมริกามิติใหม่

ซึ่งมีปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการ ดังนี้

    1. ปัจจัยด้านกำลังทหาร
    2. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ

ด้านกำลังทหาร การลดบทบาทของสหรัฐอเมริกา และการขยายบทบาท

ของประเทศในยุโรป การสิ้นสุดของสงครามเย็น ภายหลังของการล่มสลายขององค์การกติกาสัญญาวอซอ เป็นการสิ้นสุดของการเผชิญหน้าระหว่างค่ายโลกเสรีกับค่ายโลกคอมมิวนิสต์ในยุโรป นอกจากนั้น การลดกำลังอาวุธขนาดกลาง ยิ่งทำให้ภาพของการคุกคามลดลง ในบริบทดังกล่าว ความจำเป็นในด้านการพึ่งพากำลังอำนาจทางการทหารและนิวเคลียร์จากสหรัฐอเมริกาก็ย่อมลดลงไปด้วย ในช่วงขณะเดียวกันยุโรปเองก็มีพลังทางเศรษฐกิจและการรวมตัวกันในกรอบของประชาคมยุโรป ซึ่งเป็นฐานสำคัญสู่การขยายพลังทางการเมืองและการทหารในอนาคต

การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเมืองดังกล่าว ย่อมส่งผลต่อการ

ปรับโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับยุโรป เพราะผลที่ตามมาคือ การปรับโครงสร้างภายในกรอบของนาโต้เพื่อสะท้อนแนวโน้มการขยายบทบาทของยุโรปและการมีอิสระยิ่งขึ้น อีกส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์ก็คือ การขยายบทบาทขององค์การสหภาพยุโรปตะวันตก อันเป็นองค์การการทหารและความมั่นคงภายในกรอบของยุโรปเอง

จากการลดอัตตาของนาโต้ ทำให้บทบาทของสหรัฐอเมริกาลดลงด้วย

สร้างความไม่พอใจแก่สหรัฐอเมริกา เพราะอำนาจต่อรองต่างๆ ในภูมิภาคลดลง ในขณะที่เยอรมันและฝรั่งเศสเป็นประเทศที่รวมอำนาจเป็นศูนย์กลางของยุโรป ยุโรปมีบทบาทเรียนจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ว่า การแข่งขันระหว่างรัฐชาติได้นำความหายนะมาสู่ยุโรป จึงพยายามสร้างสันติภาพใหม่และจัดระเบียบใหม่ในความเป็นตัวของตัวเอง

ด้านเศรษฐกิจ การรวมตัวกันของชาติยุโรปขึ้นเป็นสหภาพยุโรป (European Union) มีหลักการที่สำคัญต่างๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือ การจัดตั้งตลาดเดียวแห่งยุโรป คือ การกำหนดโครงการจัดตั้งตลาดภายในประชาคมเป็นตลาดเดียว ซึ่งจะกลายเป็นเขตพื้นที่พรมแดนภายในขวางกัน ทั้งนี้ เพื่อค้ำประกันการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า บุคคล บริการ และทุนของประชาคม เกิดความจำเป็นที่จะต้องประสานนโยบายด้านอื่นๆ ของประเทศสมาชิกตามมา อาทิเช่น นโยบายด้านเศรษฐกิจการค้า สังคม และแรงงานสัมพันธ์ ตลอดจนการยกเลิกการควบคุมพรมแดน ทั้งนี้ เพื่อรับรองสภาพการเป็นตลาดเดียวของยุโรป การสร้างตลาดเดียวสามารถทำให้เกิดการบูรณาการในภาคอื่นๆ ตามมาด้วย

“โครงการ 1992” ถูกมองว่าเป็นแบบแปลนของการสร้าง “ป้อมปราการยุโรป” ที่มีนโยบายปกป้องเศรษฐกิจการค้าเฉพาะภายในกลุ่มและกีดกันสินค้าและการลงทุนนอกกลุ่ม ส่งผลกระทบต่อสินค้าของสหรัฐอเมริกาในการเข้ามาจำหน่ายในยุโรป ซึ่งทั้งสหรัฐอเมริกาและยุโรปต่างตอบโต้เกี่ยวกับเรื่องการค้าซึ่งกันและกัน เช่น

สหภาพยุโรป (European Union) สั่งระงับการนำเข้าพืชตัดต่อสายพันธุกรรม (GMOS) ประเภทใหม่ๆ เป็นเวลา 3 ปี ในขณะที่สหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารจากข้าวโพดและถั่วเหลืองจาก GMOS รายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกของสหรัฐอเมริกา

สหภาพยุโรป แจ้งให้ประเทศผู้ที่ส่งพืช GMOS เข้าจำหน่ายในสภาพยุโรปต้องติดฉลากด้วย ซึ่งสหรัฐอเมริกาเองก็ออกมาคัดค้านการติดฉลาก โดยอ้างว่า จะทำให้ผู้บริโภคหวาดกลัวโดยใช่เหตุและเป็นอุปสรรคต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม (Inovation) ซึ่งมีการพัฒนาการอย่างรวดเร็ว

สหรัฐอเมริกาประกาศขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศ เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกเหล็ก ทั้งจาก ญี่ปุ่น และมากที่สุดคือยุโรป ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง และจะนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาขององค์การการค้าโลก (WTO) แต่สิ่งที่สหภาพยุโรปจะดำเนินการเพื่อตอบโต้สหรัฐอเมริกาคือ การเพิ่มภาษีสินค้าที่ส่งออกมายังยุโรป เช่น น้ำส้มฟลอริด้า ผักแช่แข็ง ไปจนถึงผลิตภัณฑ์กระดาษ ซึ่งสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 15 ประเทศ ให้ความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ในการตอบโต้

สหรัฐอเมริกาเพิ่มเงินอุดหนุนภาคการเกษตรและการตั้งกำแพงภาษีนำ

เข้า ซึ่งกระทบต่อการส่งออกของสหภาพยุโรป นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการเกษตรของประเทศยากจน

ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่สำคัญคือ “เงินยูโร”

นับตั้งแต่มีการให้สัตยาบันสนธิสัญญามาสทริกท์จัดตั้ง “สหภาพยุโรป”

เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 จนกระทั่งมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1993 ส่งผลให้ประชาคมยุโรปกลายมาเป็นให้ต้นทุนการผลิตสินค้าในยุโรปเองลดลง ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันสินค้าจากนอกภูมิภาค คือทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง จากในกรณีของเหล็กซึ่งสหรัฐอเมริกาไม่สามารถสู้ราคาเหล็กยุโรปที่ส่งเข้าไปจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาจึงขึ้นภาษีการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศ ทำให้เกิดกรณีพิพาทขึ้น

จากภาษีเงินยูโร ซึ่งเป็นเงินของสหภาพยุโรปนั้น ส่งผลกระทบต่อ

สหรัฐอเมริกา เช่น ส่วนแบ่งของการอ้างอิงสกุลเงิน การแข่งขันทางการค้ารุนแรงขึ้น

กระบวนการกีดกันสินค้านำเข้า
จากสมุดปกขาวอียู ถึง กฎหมายอาวุธชีวภาพสหรัฐ สหภาพยุโรป

สหภาพยุโรป

-ออกร่างสมุดปกเขียวว่าด้วยนโยบายสินค้าครบวงจร (Green Paperon Integrated Product Policy) ซึ่งเป็นนโยบายส่วนเสริมของนโยบายด้านสภาวะแวดล้อมของสหภาพยุโรป โดยพิจารณาว่าสินค้านั้นๆ จะส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมอย่างใดบ้าง ตั้งแต่นำวัตถุดิบมาผลิตขึ้นเป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายและผ่านการใช้โดยผู้บริโภคไปจนกระทั่งกำจัดหรือทำลายเศษซากทิ้งของสินค้านั้น

- คณะกรรมาธิการอียู ยังได้พิจารณาจัดทำสมุดปกขาวว่าด้วยความปลอดภัยของอาหารในอียู (White Paper on Food Safety) เพื่อใช้เป็นแนวทางการฟื้นฟูและเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค โดยอียูจะต้องปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องว่า 80 รายการ ภายใน 3 ปี นโยบายจากสมุดปกขาว มีประเด็นสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่ออาหารส่งออกของไทยดังนี้

1) ระบบการสืบแหล่งที่มาของอาหารสัตว์ โดยผู้ประกอบการต้องจัดเตรียมกระบวนการผลิตที่สามารถให้ข้อมูลแหล่งที่มาของวัตถุดิบได้ทุกขั้นตอน

2) การกำหนดมาตรการปกป้อง เมื่อพบว่าอาหารและอาหารสัตว์ไม่มีความปลอดภัย ทำให้สินค้าปศุสัตว์หรือประมงทั้งหมดจากประเทศอาจถูกห้ามนำเข้า หากมีการตรวจพบว่าผลผลิตจากบางแหล่งมีความไม่ปลอดภัยต่ออาหาร

3) ข้อเสนอของอียู ในการปรับปรุงกฎระเบียบเกี่ยวกับการติดฉลาก Novel Food และ Novel Feed โดยเฉพาะที่เป็น GMOs พร้อมทั้งการออกกฎระเบียบให้ระบุส่วนประกอบที่มีปริมาณสินค้าต่ำกว่าร้อยละ 25 บนฉลากนั้น อาจเป็นการเผยความลับทางการค้า และเป็นการเพิ่มภาระต้นทุนต่อผู้ผลิตอาหารสัตว์ในการคัดแยกสินค้าที่เป็น GMOs และไม่เป็น GMOs

4) นโยบายของอียูเกี่ยวกับการจำกัดการนำเข้าชั่วคราว อาจส่งผลกระทบต่อสินค้าประมงและปศุสัตว์ที่มีส่วนผสมเป็น GMOs ซึ่งมีความเสี่ยงสูงมากต่อการถูกสั่งห้ามนำเข้าโดยไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เพียงพอมาสนับสนุน


สหรัฐอเมริกา

- ร่างกฎหมายต่อต้านอาวุธชีวภาพ (Bioterrosim Preparedness Act of 2001) จากเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 และการแพร่กระจายของเชื้อโรคแอนแทรกซ์ ทำให้มีการยกร่างกฎหมาย Bioterrorism Preparedness Act of 2001 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 ซึ่งขณะนี้ผ่านสภาสูงแล้วและคาดว่าจะสามารถผ่านออกมาเป็นกฎหมายมีผลบังคับใช้ภายในปี 2002

ร่างกฎหมายดังกล่าว มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ

ระบบสุขอนามัยในการตอบโต้การก่อการร้าย โดยจะเพิ่มงบประมาณให้แก่สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) ทันที 123 ล้านเหรียญสหรัฐ และ USDA จำนวน 120 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ FDA ในการตรวจวิเคราะห์สินค้าจำนวน 100 คน และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบทั่วไปอีก 100 คน

ผลกระทบของร่างกฎหมาย Bioterrorism ที่อาจมีต่อไทยได้แก่

1) จะมีการเพิ่มเงื่อนไขในการนำเข้าสินค้าอาหารให้ยุ่งยากไปกว่าเดิม มีค่าใช้

จ่ายเพิ่มขึ้น

2) มีกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าอาหารเพิ่มขึ้น อาทิ การจดทะเบียนโรงงาน

ผลิตอาหารในประเทศสหรัฐ

    1. การตรวจสอบอาหารนำเข้าจะเข้มงวดขึ้นจากข้ออ้างเป็นการป้องกัน

การก่อการร้าย

4) สหรัฐขยายอำนาจในการตรวจสอบสำหรับพนักงานผู้มีอำนาจตรวจ

5) โอกาสที่สินค้าอาหารนำเข้าสหรัฐจะถูกกักกันหรือห้ามนำเข้าจะมีมากขึ้น

    1. กฎหมายเปิดโอกาสให้มีการกักกันสินค้าที่ฝ่าฝืนกฎหมายได้นานถึง 45 วัน

และยังไม่มีมาตรการเกี่ยวกับการกักกันสินค้าเน่าเสีย (Perishable Food)

7) บริษัทผู้ส่งออกอาจถูกสั่งห้ามนำเข้าสินค้าอาหารได้อย่างถาวร

8) ผู้นำเข้าสหรัฐจะต้องแจ้งล่วงหน้าในการจัดส่งออกอาหารนำเข้าในแต่ละครั้ง

บทบาทมหาอำนาจสหรัฐอเมริกาในองค์การการค้าโลกกับสหภาพยุโรป

กลไกที่สำคัญขององค์การการค้าโลก (WTO) คือ การเปิดเสรีทางการค้า

(Free trad) สหรัฐอเมริกามักโจมตีสหภาพยุโรปอยู่เสมอว่า ไม่ปฏิบัติตามกฎขององค์การการค้าโลก เนื่องจากมีการให้การสนับสนุนเกษตรกรภายในประเทศ เป็นการกีดกันการค้า

อีกประเด็นคือ การสนับสนุนการเลือกผู้อำนวยการการค้าโลก ซึ่งสหรัฐ

อเมริกาได้สนับสนุนให้นายไมค์มัวร์ จากนิวซีแลนด์ แต่ในขณะเดียวกันประเทศในแถบ

สหภาพยุโรป ออสเตรเลียและประเทศกำลังพัฒนา สนับสุน ดร.ศุภชัย พาณิชภักดิ์ จนกระทั่งหาฉันทานุมัติไม่ได้ จึงตกลงให้ทั้ง 2 คน ดำรงตำแหน่งคนละครึ่งคือ 3 ปี ซึ่ง ดร.ศุภชัย จะเข้าดำรงตำแหน่งในเดือนกันยายน 2545 นี้ เป็นการมองผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาและยุโรปในเรื่องการค้า

การที่มีสหภาพยุโรป ทำให้สหรัฐอเมริกา มิได้เป็นหนึ่งของเศรษฐกิจโลก การกระทำทุกวิถีทางของสหรัฐอเมริกาในการให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบ เพราะถ้าสถานการณ์ยังเป็นอยู่เช่นในปัจจุบัน สหภาพยุโรปในอนาคตจะมีความยิ่งใหญ่ขึ้น ประเทศอื่นๆ ที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมสหภาพยุโรปยังมีอีกมาก เช่น ตุรกี มอลตา ไซปรัส ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นคู่แข่งเป็นอย่างมาก

สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป

เสนอเรื่องแรงงานเข้าสู่การพิจารณาขององค์การการค้าโลก(WTO)

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2542 สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป เสนอเรื่องแรงงานเข้าสู่การพิจารณาของ WTO ในระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึง 3 ธันวาคม 2543 มีการประชุมระดับรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลกครั้งที่ 3 (WTO 3rd Ministerial Conference) ที่เมืองซีแอตเติล ประเทศสหรัฐอเมริกา ขณะนี้ประเทศสมาชิก WTO อยู่ระหว่างการเจรจาร่างปฏิญญารัฐมนตรีขององค์การการค้าโลก (Draft Ministerial Declaration) ซึ่งจะมีผลผูกพันให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามหลักการและแนวทางในเรื่องต่างๆ ภายใต้กรอบการเจรจาของ WTO ในระยะที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป พยายามผลักดันอย่างหนักให้มีการนำเรื่องมาตรฐานแรงงานเข้าสู่การพิจารณาของ WTO และล่าสุดมหาอำนาจทั้งสอง ได้จัดทำข้อเสนอเรื่องแรงงาน เสนอต่อคณะมนตรีทั่วไปของ WTO แต่ยังมีประเทศสมาชิกให้การสนับสนุนไม่มากนัก ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่รวมทั้งไทย ยังคงคัดค้านการนำประเด็นเรื่องมาตรฐานแรงงานมาใช้เป็นข้ออ้างในการใช้มาตรฐานกีดกันทางการค้าในอนาคต สาระสำคัญของข้อเสนอฯ มีดังนี้

โดย สหรัฐอเมริกา เชื่อว่า การจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อศึกษาเรื่องนี้ ประเทศสมาชิก WTO จะได้รับประโยชน์จากการหารือ และประสานงานกับ ILO IMF World Bank และ UNCTAD สหภาพยุโรป เสนอให้รัฐมนตรีที่ ซีแอตเติล มีมติให้ WTO ยอมให้มีการนำเรื่องมาตรฐานแรงงานหลักมาใช้เป็นเครื่องจูงใจในระบบการให้สิทธิพิเศษทางการค้า เพื่อต้องการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานหลัก (incensive – based approach) และยังเสนอให้มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่าง WTO และ ILO (jiont ILO/WTO standing working forum) ว่าด้วย การค้าโลกาภิวัตน์ และประเด็นด้านแรงงาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวมากขึ้น โดยผ่านการหารือระหว่างผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งประกอบด้วย รัฐบาล นายจ้าง สหภาพการค้า และองค์การระหว่างประเทศอื่นๆ และให้มีการตรวจสอบถึงความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายการค้า การเปิดเสรีทางการค้า การพัฒนากับมาตรฐานแรงงานด้วย แต่จะไม่รวมถึงประเด็นใดๆ ที่ให้มีการกำหนดบทลงโทษทางการค้า สำหรับประเทศไทย คัดค้านการเชื่อมโยงเรื่องมาตรฐานแรงงานกับการค้าระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี เนื่องจากเรื่องดังกล่าว เป็นเรื่องที่ประเทศสมาชิกยังมีความเห็นแบ่งเป็นสองขั้วอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น เพื่อให้ประเทศสมาชิก WTO มีความเข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้น ไทยเห็นว่า ควรใช้วิธีแก้ไขในทางสร้างสรรค์ (positive approach) อาทิ การจัดประชุมระดับสูง (a one – off high level meeting) ในเรื่องแรงงาน เพื่อหารือปัญหาและแนวทางแก้ไข ซึ่งจะเหมาะสมกว่าการเลือกแนวทางใช้มาตรการกีดกันทางการค้า ลงโทษผู้ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานได้ (negative approach) แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่มีการเชื่อมโยงระหว่างประเด็นการค้ากับประเด็นแรงงาน (non - linkage) และจะเป็นการประชุมที่ไม่มีผลผูกพันต่อผู้เข้าร่วมประชุม (non – binding) ตลอดจนเป็นการประชุมครั้งเดียวไม่มีต่อเนื่อง (one – off basis)

 

 

 

ตัวอย่างการกีดกันการค้า ที่มิใช่ภาษีในอุตสาหกรรมอาหาร

สหภาพยุโรป

ประกาศห้ามใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ 4 ชนิด โดยอ้างว่ายาปฏิชีวนะดังกล่าวอาจทำให้เกิดความต้านทานแบคทีเรียในร่างกายมนุษย์ต่อยารักษาโรคทั่วไป

ตรวจสินค้ากุ้งและไก่ที่นำเข้าจากไทยทุก consignment อย่างเข้มงวด หากตรวจพบสารไนโตรฟลูแรนตกค้างจะทำลายทิ้งทันที

กำหนดให้ใช้สาร Benzoic Acid (สารรักษาและถนอมกุ้งต้มสุก) ได้ไม่เกิน 0.2% สำหรับกุ้งทุกชนิด ยกเว้นกุ้ง Crangon Crangon ซึ่งสามารถใช้สาร Benzoic Acid ได้ถึง 0.6% เพราะสหภาพยุโรปจับกุ้ง Crangon Crangon ได้

การบังคับให้สถานแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้นมีสุขลักษณะเทียบเท่าโรงงานแปรรูป
สเปน

ห้ามนำเข้าปลาหมึกแช่เย็นแช่แข็ง หากตรวจพบสาร Cadmium เกินกว่า 1 ppm. ในขณะที่มาตรฐานสหภาพยุโรปกำหนดไว้ไม่เกิน 2 ppm.

กำหนดระดับสาร 3-MCPD (สารก่อมะเร็ง) ในซอสปรุงรสที่ปริมาณ 0.02 ppm. ในขณะที่ CODEX ยังไม่มีการกำหนดระดับสาร 3-MCPD ที่เป็นมาตรฐาน

กำหนดให้ต้องติดฉลากสินค้าที่มีส่วนผสมของ GMOs (เริ่มมีผลบังคับใช้ตุลาการ 2545)

กำหนดให้ต้องติดฉลาก Novel Food และ Novel Feed โดยเฉพาะที่เป็น GMOs (เริ่มมีผลบังคับใช้ตุลาการ 2545)
ญี่ปุ่น

ตรวจสอบไก่นำเข้าอย่างต่อเนื่อง หลังจากพบเชื้อ VRE (Vancomycin Resistant Enteroccocus) คาดว่ามีสาเหตุมาจากการใช้ยา Avopracin ผสมในอาหารสัตว์

ใช้กฎหมาย Domestic Animal Infection Control Law และ Food Sanitation Law ห้ามนำเข้าเนื้อสุกรแช่เย็น แช่แข็งจากไทย เนื่องจากโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย

กำหนดให้ตรวจสอบยาปฏิชีวนะตกค้างในกุ้ง 100% ได้แก่ Oxolinic acid และ Oxytetracycline
ออสเตรเลีย

กำหนดอุณหภูมิในการต้มไก่สุกสูง 70ํC/114 นาที และระยะเวลาการต้มนานมาก โดยอ้างว่าประเทศไทยมีโรค IBD (Infectious Bursal Disease) ทำให้ไก่ไทยไม่สามารถเข้าตลาดได้

กำหนดให้จัดทำ Risk Analysis เกี่ยวกับเชื้อ IBD (Infectious Bursal Disease) ในไก่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ประกอบการพิจารณาของออสเตรเลีย

ปฏิเสธการนำเข้าผักและผลไม้กระป๋องของไทยหลายชนิด ด้วยเงื่อนไขด้านสุขอนามัยเกี่ยวกับการปนเปื้อน หรือมีส่วนผสมของสารเคมีบางชนิดที่ออสเตรเลียไม่อนุญาตให้ใช้ในการผสมอาหาร
ฮ่องกง

ห้ามนำเข้าเนื้อสุกรแช่เย็น หากตรวจพบว่ามีสารเร่งเนื้อแดง (Beta Agonists) โดยจะกักสินค้าเพื่อตรวจหาสารดังกล่าวก่อน ซึ่งใช้เวลา 5 วันทำให้กลายเป็นเนื้อสุกรแช่แข็งทำให้เกิดความเสียหายด้านราคา
สหรัฐอเมริกา

กำหนดมาตรการตรวจสอบโรงงานผลิตสินค้าอาหารสำเร็จรูปประเภท Low Acid Canned Food โดยเฉพาะผักและผลไม้กระป๋องที่จะส่งไปจำหน่ายในสหรัฐ ทำให้เป็นข้อจำกัดในการส่งออก
กลุ่มสแกนดิเนเวีย

กำหนดระดับปนเปื้อนสูงสุดของดีบุกในผลิตภัณฑ์ผักผลไม้กระป๋องที่ 150 ppm. ในขณะที่ Codex กำหนดไว้ที่ 250 ppm.
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ สหภาพยุโรป ฟิลิปปินส์

ใช้เงื่อนไขด้านสุขอนามัยเกี่ยวกับ 1) ปัญหาโรคแมลงและศัตรูพืช 2) ปัญหาการปนเปื้อนหรือมีการตกค้างของสารเคมีเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดในการกักกันตรวจสอบห้ามนำเข้าและทำลายสินค้าผักและผลไม้สดของไทยหลายชนิด
สิงคโปร์ มาเลเซีย และฮ่องกง

กำหนดปริมาณตกค้างของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ไว้ในระดับที่ต่ำ หรือห้ามใช้กับผลไม้สดทำให้เป็นข้อจำกัดในการถนอมรักษาคุณภาพสินค้า เช่น ลำไยสด

ยุโรปกับสหรัฐอเมริการในมิติใหม่

การลงนามในข้อตกลงก่อตั้งสภาพยุโรป (European Union) ณ เมือง

มาสทริกท์ ประเทศเนเธอแลนด์ ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 โดย 12 ประเทศ ประเทศสมาชิกประชาคมยุโรปอาจถือได้ว่าเป็นก้าวกระโดดสำคัญของประชาคมยุโรป ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้เมื่อครั้งการลงนามในสนธิสัญญาปารีส ซึ่งก่อตั้งประชาคมถ่านหิน และเหล็กยุโรป อันเป็นองค์การแห่งแรกของประชาคมยุโรปในปี ค.ศ. 1951 และการลงนามในสนธิสัญญากรุงโรมสองฉบับเพื่อก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรปในปี ค.ศ. 1957 ข้อตกลงก่อตั้ง “สหภาพยุโรป” ฉบับใหม่นี้ ได้กำหนดทิศทางสู่การรวมตัวในทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยจะผลักดันประชาคมยุโรปจากการเป็น “ยุโรปตลาดเดียว” สู่การเป็น “สหภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน” (Economic monetary Union) ซึ่งนับเป็นปรากฏการณ์ครั้งใหม่ เพราะเดิมทีการประสานนโยบายที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง และทางทหารนั้น จะทำในกรอบขององค์การนาโต้ ที่มีสหรัฐอเมริกาและแคนาดาร่วมเป็นภาคีอยู่ด้วย การเพิ่มมิติทางด้านความมั่นคง และทางการทหารภายในกรอบของกลุ่มประเทศสมาชิกประชาคมยุโรป จึงแสดงให้เห็นถึงลักษณะการก่อตัวของเอกลักษณ์ยุโรปอีกมิติหนึ่ง นอกเหนือจากมิติทางเศรษฐกิจที่แสดงออกจากประชาคมยุโรป เอกลักษณ์ทางการเมืองของยุโรป แม้จะมีการกำหนดในกรอบที่ประสานและสอดคล้องกับนาโต้ก็ตาม การประกาศเอกลักษณ์ในด้านความมั่นคงของยุโรป จึงเป็นเครื่องแสดงถึงการตระหนักถึงบทบาทของยุโรปในทัศนะของกลุ่มประเทศประชาคมยุโรป ซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องแสดงถึงทิศทางทางการเมืองในอนาคตของยุโรป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ยุโรปกำลังจะเปลี่ยนตัวเองจากมหาอำนาจที่มีบทบาทอันจำกัด และอยู่ในฐานะบทบาทของผู้ตามมากกว่าบทบาทของผู้นำในอดีตมาสู่การวางตัวเพื่อให้มีบทบาทในฐานะผู้นำในเวทีการเมืองโลกในอนาคต นั่นก็คือ ผู้นำยุโรปกำลังมองตัวเองและผลักดันตัวเองสู่การเป็นอภิมหาอำนาจในอนาคต โดยอาศัยกลไกการกระตุ้นการรวมตัวทางเศรษฐกิจและการเมือง เพื่อเสริมสร้างเอกาภพ และความแข็งแกร่งให้แก่ตน

ว่ากันที่จริงแล้ว ทิศทางของยุโรปนั้น อาจจำแนกเป็น 2 แนวทางใหญ่ๆ แนวทางหนึ่งนั้น อาจจะแสดงออกได้ดีจากสุนทรพจน์ของ นายจ๊าค เดอลอร์ ประธานกรรมาธิการประชาคมยุโรปที่กล่าวไว้เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1991 ว่า ยุโรปจะเป็นการรวมตัว “ในลักษณะของการเป็นประชาคมที่เป็นการรวมตัวของประชาชนและรัฐชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เดียวกัน และมีการพัฒนาให้มีเอกลักษณ์ของยุโรปเดียวกัน” และ “เอกลักษณ์ดังกล่าวนั้น จะต้องมีนโยบายเกี่ยวกับการป้องกันเป็นของตนเอง อันเป็นนโยบายที่เปรียบเสมือนเสาหลักของพันธมิตรแอตแลนติก เคียงคู่กับเสาหลักอีกเสาหนึ่งที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นตัวแทน” แนวคิดดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นถึงทิศทางของยุโรปในการมุ่งสู่การเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกันในอนาคตกับสหรัฐอเมริกาในกรอบของพันธมิตรแอตแลนติก ซึ่งหมายถึงการกำหนดบทบาทของยุโรปในฐานะ “ตัวแสดง” (Actor) ในระบบการเมืองโลกไม่ใช่เป็นแค่คนดูดังในอดีต

ในอีกแนวทางหนึ่งนั้น ทัศนะของอดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ นางมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ ซึ่งแสดงไว้ในสุนทรพจน์เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1991 ที่ให้ไว้แก่ มูลนิธิ Heritage กรุงวอชิงตัน ย่อมสะท้อนแนวทางของอีกกลุ่มหนึ่งได้ดี นางมาร์กาเร็ต ได้กล่าวไว้ดังนี้ “ถ้าอภิรัฐยุโรปจะเกิดขึ้นก็จะเป็นการก่อกำหนดในลักษณะที่มีผลประโยชน์ และทัศนะที่แตกต่างไปจากสหรัฐอเมริกา ในสภาพดังกล่าวนั้นย่อมหมายความว่า เรากำลังจะเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองระหว่างประเทศที่มีเสถียรภาพ โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ มาเป็นโลกใหม่ที่มีอันตรายมากขึ้น อันเป็นโลกที่ประกอบด้วยกลุ่มการเมืองที่แข่งขันในอำนาจอื่นหลากหลาย”

ในความเห็นของ นางมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ นั้น ยุโรปจะต้องไม่ใช่การรวมตัวเพื่อสร้างกลุ่มอันแน่นแฟ้น แต่ควรเป็น “ยุโรปแห่งรัฐชาติที่เปิดโอกาสให้ประเทศอื่นๆ นอกจากประชาคมยุโรป โดยเฉพาะประเทศยุโรปตะวันออกเข้าร่วมด้วยในอนาคต”

ข้อแตกต่างระหว่าง นายจ๊าค เดอลอร์ และนางมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ อยู่ที่มุมมองตรงที่ว่า ในขณะที่ประธานคณะกรรมาธิการประชาคมยุโรปมองยุโรปในลักษณะเอกลักษณ์อันหนึ่งอันเดียวกัน หรือมองทิศทางสู่การเป็น “อภิรัฐ” (Superstate) นั้น อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษกลับมองเห็นความสำคัญของ “รัฐชาติ” หรือ การเน้นอธิปไตยในชาติเท่านั้น ยุโรปในทัศนะดังกล่าว จึงไม่ใช่ยุโรปที่เป็นอภิมหาอำนาจ หรือ “อภิรัฐ” แต่เป็นยุโรปที่เปิดโอกาสให้มีการรวมตัวกันโดยแต่ละประเทศยังสงวนเอกลักษณ์ของตนเอาไว้

ความแตกต่างระหว่าง นายจ๊าค เดอลอร์ และนางมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ อันที่จริงก็เป็นความแตกต่างของกระแสการเมืองสองกระแสที่มีอยู่ในยุโรป หรือในกลุ่มประเทศประชาคมยุโรปทุกวันนี้ กระแสแรกนั้นมีฝรั่งเศส และเยอรมันเป็นหัวหอก ส่วนกระแสที่สองนั้นในอดีตสมัยนางมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ ได้เป็นหัวหอกในกระแสนี้

การลงนามในข้อตกลงก่อตั้ง “สหภาพยุโรป” ณ เมืองมาสทริกท์ อย่างน้อยก็เป็นเครื่องชี้ชัยชนะของกลุ่มแรกที่ต้องการผลักดันทิศทางของยุโรปสู่การเป็น “อภิรัฐ” หรือ “สหรัฐยุโรป” ในภายภาคหน้า

การเปลี่ยนแปลงของยุโรปทุกวันนี้ ย่อมที่จะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของยุโรป และสหรัฐอเมริกาในอนาคต การล่มสลายของสหภาพโซเวียตนอกจากถือเป็นการปิดด่านสุดท้ายของสงครามเย็นแล้ว ยังทำให้สหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นอภิมหาอำนาจแต่ผู้เดียว การลดลงหรือการสิ้นสุดของภยันตรายจากการข่มขู่ของคอมมิวนิสต์ และสหภาพโซเวียตในช่วงที่ยุโรปเริ่มปีกกล้าขาแข็ง และเป็นอภิมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ จึงย่อมเป็นปัจจัยและเงื่อนไขที่จะส่งเสริมบทบาททางการเมืองในอนาคตของยุโรป ในยุคต่อไปนี้เองจะเป็นยุคที่สหรัฐอเมริกา และยุโรปจะต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวนโยบายต่างประเทศ ที่มีต่อกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บทบาทและขอบเขตของสหรัฐอเมริกาในนาโต้คงต้องมีการประเมินกันใหม่ ตลอดจนท่าทีของสหรัฐอเมริกาที่จะมีต่อประชาคมยุโรป ในฐานะกลุ่มประเทศ และประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ

นอกจากยุโรปภาคพื้นเอเชียเองก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย การขยายตัวของบทบาททางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ย่อมนำมาซึ่งการขยายอำนาจทางการเมืองของญี่ปุ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะเดียวกัน การขยายตัวของจีนในทางเศรษฐกิจ และขนาดความสำคัญของประเทศดังกล่าวในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ย่อมทำให้จีนอนาคตมีบทบาทในเวทีการเมืองมากกว่าปัจจุบัน ซึ่งจะมีลักษณะเพียงมหาอำนาจในภูมิภาคเท่านั้น

โลกในยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ทั้งในยุโรปและเอเชีย ในส่วนหนึ่งก็มีมุมมองในแง่ที่เป็นโลกที่ปลอดจากการขัดแย้งทางการเมืองในระดับที่เคยมีมาก่อน ภายใต้บรรยายกาศของสงครามเย็น เป็นโลกที่การแข่งขันทางเศรษฐกิจ และความจำเป็นในความร่วมมือของมหาอำนาจจะเข้ามาแทนที่บรรยากาศแห่งการขัดแย้งที่มีมาแต่เดิม อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาอีกมุมหนึ่งนั้น โลกใหม่ยังเป็นโลกของการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลในเชิงโครงสร้าง โครงสร้างดังกล่าวจะเป็นอย่างไรนั้น ยังต้องขึ้นกับเวลาเท่านั้น ที่จะเป็นเครื่องตัดสินความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับยุโรป และสหรัฐอเมริกาและเอเชีย โดยเฉพาะต่อญี่ปุ่นและจีน จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะกำหนดโครงสร้างและทิศทางดังกล่าวได้ โลกยุคใหม่หรือระเบียบโลกใหม่ จึงเป็นเพียงความหวังที่รอการกำหนดให้เป็นรูปธรรมในอนาคต และเพื่อบรรลุถึงจุดที่ได้เป็นรูปธรรมเท่านั้น เราจะได้คำตอบว่า ความคาดหวังที่จะเห็นเสถียรภาพทางการเมือง โลกในยุคใหม่นั้นจะตรงกับความเป็นจริงหรือไม่

กล่าวโดยสรุป การเติบโตของประเทศในยุโรป การรวมกันโดยอยู่บนพื้นฐานของการพึ่งพาและการแลกเปลี่ยน การเฉลี่ยการกระจายศักยภาพของแต่ละประเทศในการช่วยเหลือประเทศในยุโรปด้วยกัน ทำให้เกิดเป็นสหภาพยุโรปขึ้น (European Union) การล่มสลายของสหภาพโซเวียต การสิ้นสุดของสงครามเย็น ทำให้บทบาทของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคยุโรปลดลง นับตั้งแต่มีการให้สัตยาบันสนธิสัญญามาสทริคท์จัดตั้ง “สหภาพยุโรป”

เป้าหมายและวิธีการของอียู

1.ต้องการเป็นมหาอำนาจในทางเศรษฐกิจ

2.ต้องการกระจายและจัดสรรทรัพยากรและความมั่งคั่ง

3.ต้องการการแข่งขันกับโลก

4.ต้องการผลิตอย่างเต็มที สร้างงานเต็มที่เพื่อกำไรสูงสุด เพื่อจัดระเบียบโลกใหม่

5.เพื่อสร้างระบบความร่วมมือที่สามารถแข่งขันกันได้

6.สร้างกฎระเบียบใหม่

7.สร้างบูรณาการที่เป็นเอกลักษณ์ที่เป็น 1 เดียวของโลก ซึ่งยากที่ภูมิภาคอื่นจะเอาอย่างได้ เช่นอาเซี่ยนมาความพยายามแต่ความแตกต่างของอาเซียนมีมากเกินไป

สุดท้ายต้องการสร้างยุโรปให้เป็น 1 เดียว

ดังนั้นยุโรปจึงมีความต้องการที่จะให้เกิดสังคมที่มี 4 ลักษณะ

1.เป็นสังคมที่มีการจัดการด้วยกฎหมาย Rule of law Community

2.เป็นสังคมทีมีการแบ่งสรรทรัพยากร Resource Sharing Community

3.เป็นสังคมที่ทุกส่วนต้องได้ประโยชน์ร่วมกัน Mutual Benefit Community

4.เป็นสังคมที่มีความร่วมมือกันด้วยการประชุม Diplomacy by Conference Community

เวลานี้สหภาพยุโรปมีเพลงแห่งสหภาพยุโรป คนยุโรปจะมีสัญชาติยุโรป เป็นพลเมืองยุโรป มีพาสปอร์ตยุโรป สหภาพยุโรปเป็นทั้งหน่วยที่เหนือกว่าชาติ เป็นทั้งองค์การระหว่างประเทศ และยังเป็นรัฐชาติด้วย

โดยสรุปสหภาพยุโรปก็คือกระบวนการบูรณาการที่มาจากความร่วมมือในการทำงานโดยมีเป้าหมายที่จะมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และในอนาคตอาจจะเป็นสหรัฐในยุโรป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Hosted by www.Geocities.ws

1