; เสาสัญญาณ
เสาสัญญาณ




องค์ประกอบของสถานีฐาน

1.เสาสัญญาณ ตัวเสาตัวนี้มีราคาแพง
2.สายอากาศ (Antenna) เอาไว้ รับ/ส่งสัญญาณคลื่นวิทยุ ตามทิศทางที่หันไป
3.สาย feeder เป็นสายนำสัญญาณที่มาจากสายอากาศเข้ามาที่อุปกรณ์ BTS
4.surg protection ไว้กันภัยที่เกิดจาก ฟ้าผ่า
5.อุปกรณ์ BTS เป็นตัวกลางในการรับ/ส่ง สัญญาณ ระหว่าง เครือข่าย กับผู้ใช้งาน เพื่อควบคุมการทำงานระหว่าง สถานีฐานกับเครื่องโทรศัพท์ ที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของสถานี
6.rectifier สำหรับแปลงไฟให้กับตัวอุปกณ์ภายในสถานีฐาน เพราะอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ได้ใช้ไฟกระแสสลับ (AC) โดยตรง
7.battery สำรอง สำหรับป้องกันในกรณีที่ไฟฟ้าดับ ซึ่งโดยปกติจะสามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ ในสถานีฐานได้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ทันต่อการแก้ไขปัญหา
8.อุปกรณ์สื่อสัญญาณ (Transmission) เป็นอุปกรณ์ที่นำสัญญาณจากภายนอกสถานีฐาน ซึ่งเป็นสัญญาณที่วิ่งในเครือข่ายของระบบเข้ามาที่สถานีฐานโดยจะนำไปต่อเข้ากับ อุปกรณ์สถานีฐาน
9.แอร์ เนื่องจากอุปกรณ์ทั้งหลายในสถานีฐาน เมื่อทำงานอยู่จะมีความร้อนมาก อุปกรณ์ต่าง ๆ ร้อนมาก อาจทำให้เสียได้ เลยต้องเปิดแอร์ด้วย ปกติจะใช้ 2 ตัวสำหรับสลับกันเปิดใช้งานและในกรณีที่เสียไป 1 ตัว
10.ชุดอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้า เช่น เบรกเกอร์ เพื่อจ่ายไฟฟ้า AC เข้ามายังอุปกรณ์สถานี แต่จะเข้าไปที่ rectifier เพื่อแปลงไฟให้เหมาะสมก่อน



เสาโทรคมนาคมแบบ Self Supporting



รูปต้นฉบับ


เสา Self Supporting เป็นเสาสูง มีฐานที่กว้าง ความสูงขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า มีโครงสร้างทั้งแบบ 3 ขา 4 ขา มีความแข็งแรงมั่นคงมาก ไม่ต้องมีสายยึดโยงกับโครงเสากับพื้นที่ติดตั้ง เหมาะสมสำหรับการติดตั้งเสาโทรคมนาคมบนพื้นดินแนวราบ

เสาโทรคมนาคมแบบ Guyed Mast



รูปต้นฉบับ


เสา Guyed Mast เป็นโครงเหล็กที่เชื่อมชิ้นส่วนเหล็กให้เป็นโครงเสา ถูกออกแบบมาให้เป็นงานเสาที่ต้องมีสลิงยึดโยงไว้ 3 ด้าน ยึดโยงโครงเหล็กกับฐานรากอีกทอดหนึ่ง จำเป็นต้องใช้พื้นที่บริเวณกว้างสำหรับการติดตั้ง

เสาโทรคมนาคมแบบ Pole



รูปต้นฉบับ


เสา Pole เป็นเสาหลักที่มีแกนเดียว มีขนาดเล็ก สามารถติดตั้งในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิยมใช้บนชั้นดาดฟ้าของอาคารในชุมชนเมือง

Remote Radio Unit



รูปต้นฉบับ

RRU หรือ Remote Radio Unit มีหน้าที่แปลง สัญญาณ จาก Modem หรือ BBU ที่ส่งมาทางใยแก้ว น าแสง ติดตั้งบนเสาสูง เพื่อออกอากาศความถี่ วิทยุ ที่ ความถี่มือถือ 850Mhz หรือ 900 Mhz หรือ 1800Mhz หรือ 2100 Mhz ทางเสาอากาศ ที่เห็นเป็น แท่งยาวๆ สีเท่าหรือสีขาว เพื่อส่งไปยังเครื่องโทรศัพท์มือถือ และรับสัญญาณจากเครื่องโทรศัพท์กลับ ส่งลงมาที่ BBU ผ่าน IP LAN กลับไปยังชุมสาย หน้าตาที่เห็น คือจะติด ตั้งอยู่ด้านล่างแท่งเสาอากาศ เป็นกล่องสี่เหลี่ยม มีครีบ ระบายความร้อน เพราะเป็นเครื่องส่งวิทยุจึงร้อน

BaseBandUnit



รูปต้นฉบับ

BBU คือBaseBandUnitมีหน้าที่เป็นModemสื่อสารกับชุดเครื่องส่งวิทยุหรือRRUและควบคุมการทางานของRRUเป็นอุปกรณ์ที่มีPortเส้นใยแก้วนำแสงต่อไปที่RRUบนเสาหรือส่งไปที่RRUที่ติดตั้งห่างไกลออกไปได้โดยปกติ1BBUจะควบคุมกับRRUได้3หรือ6ตัวBBUมีอีกชื่อว่าMasterUnit การเรียกจะแล้วแต่ผู้ผลิตBBUมีขนาด2Uหรือ3Uติดตั้งบนRackมาตราฐาน19นิ้วและจะต่อเข้ากับSwitchIP LAN เพื่อส่งกลับข้อมูลไปยังชุมสายเพื่อจะกระจายไปยังสถานีอื่นๆ


ชนิดของระบบป้องกันฟ้าผ่า


1. ระบบสายล่อฟ้า แบบ Early Streamer Emission (ESE)
หลักการทำงานของระบบล่อฟ้าแบบ ESE หรือ หัวล่อฟ้าแบบ ESE เมื่อมีลำประจุเริ่มจากก้อนเมฆลงมา ทำให้สนามแม่เหล็กมีค่าสูงขึ้นทำให้หัวล่อฟ้าแบบ ESE นั้นปล่อยประจุออกมา และสร้างลำประจุอย่างรวดเร็วทำให้ฟ้าผ่าลงมาที่หัวล่อฟ้าแบบ ESE โดยหัวล่อฟ้าแบบ ESE นั้นถูกสร้าง ออกแบบ และออกมาตรฐาน โดยประเทศฝรั่งเศส ระบบสายล่อฟ้า ESE นั้น 1 หัวสามารถป้องกันเป็นรัศมีวงกว้าง ตามแต่สเปคของแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ หากพื้นที่ที่เราต้องการให้มีการป้องกันฟ้าผ่านั้นกว้าง ระบบสายล่อฟ้าแบบ ESE ทำให้ลดต้นทุนในเรื่องของสายทองแดง และแท่งกราวด์ได้การติดตั้งระบบสายล่อฟ้าแบบ ESE นั้นเริ่มจากคำนวณความกว้าง และความยาวของพื้นที่ที่ต้องการป้องกันฟ้าผ่า จากนั้นเลือกรุ่นของหัวล่อฟ้า กำหนดจุดติดตั้งหัวล่อฟ้า ทางเดินสายกราวด์ และจุดตอกแท่งกราวด์


2. ระบบสายล่อฟ้าแบบ Faraday Cage
หลักการทำงานของระบบสายล่อฟ้าแบบ Faraday Cage มีแท่งแฟรงกลิน เป็นตัวล่อ โดยมีการต่อเชื่อมกันของแท่งแฟรงกลิน ด้วยสายทองแดงเป็นตาราง แท่งแฟรงกลิน แต่ละแท่งนั้นจะห่างกันไม่เกิน 25-30 m ทำให้การติดตั้งระบบสายล่อฟ้าแบบ ฟาราเดย์ นั้นใช้สายทองแดง แท่งแฟรงกลิน และแท่งกราวด์เป็นจำนวนมาก การติดตั้งระบบสายล่อฟ้าแบบ ฟาราเดย์นั้นต้องติดตั้งให้เต็มพื้นที่ที่ต้องการป้องกันทำให้ใช้เวลาในการติดตั้งนาน หากพื้นที่ที่ต้องการป้องกันฟ้าผ่านั้นไม่กว้างมากทำให้การติดตั้งระบบสายล่อฟ้าแบบ ฟาราเดย์ นั้นประหยัดกว่า แบบ ESE




รูปต้นฉบับ


องค์ประกอบของสายล่อฟ้า (ระบบป้องกันฟ้าผ่า)


1.ตัวนำล่อฟ้า AIR TERMINAL
เป็นแท่งทองแดง ยาวประมาณ 30-60 เซ็นต์หรือมากกว่า ประกอบกับฐานเสา จะติดตั้งบนหลังคา ตามบริเวณจุดสูงสุดของอาคาร มุมบนสุดของอาคาร โดยติดตั้งให้มีระยะห่างไม่เกิน 20 ฟุต (กรณีโครงสร้างไม่ซับซ้อนอะไร) ที่ฐานเสาจะมีรูสำหรับติดตั้งตัวนำ


2.ตัวนำลงสู่ดิน : GROUND CONNECTIONS
ตัวนำลงสู่ดินทั่วไปมักใช้ สายทองแดงเปลือย ขนาดไม่น้อยกว่า 35 ตร.มม. ติดตั้งโดยการเดินสายบนหลังคา หรือจุดสูงสุดของอาคาร เชื่อมต่อตัวนำล่อฟ้าต่างๆเข้าด้วยกันให้ถึงกันทั้งหมด ต้องยึดด้วยอุปกรณ์จับยึดที่แข็งแรงมั่นคง เนื่องจากฟ่าผ่า จะมีแรงทางกลมากอาจทำให้เกิดการสะบัดอย่างรุนแรงได้ ทำให้สายหลุด ขาดเสียหายได้
เมื่อเดินสายเชื่อมกัน ก็ต้องเชื่อตัวนำลงดิน อาคารไม่ใหญ่มาก โครงสร้างง่ายๆ ให้ลง 2 จุด อาจจะเดินสายร้อยด้วยท่อเหล็กเคลือบ (IMC Conduit) หรือ ท่อ PVC เหลือง ขนาด 3/4"
รากสายดินใช้เมือต่อตัวนำลงสู่ดินก็จะต้องมีหลักดินเพื่อทำให้กระแสไฟฟ้าจากฟ้าผ่ากระจายสู่ดินให้เร็วที่สุด หลักดินทั่วไปเป็นหลักดินเหล็กชุบทองแดงหรือเหล็กหุ้มทองแดง ความยาว 3 เมตรขนาด 5/8" ตอกเป็นกริด สามเหลี่ยม ห่างกัน 6 เมตร เท่าๆกัน พร้อมเชื่อมต่อสายตัวนำถึงกัน


3.LIGHTNING ARRESTER
อุปกรณ์ส่องสว่างเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องระบบไฟฟ้าและส่วนประกอบจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้า ไฟกระชากดังกล่าวอาจเป็นผลมาจากฟ้าผ่าหรือการสลับไฟฟ้าและอาจเป็นอันตรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เช่นคอมพิวเตอร์ สาธารณูปโภคติดตั้งสายไฟกับตัวป้องกันฟ้าผ่ารวมถึงมาตรการด้านความปลอดภัยอื่น ๆ และอุปกรณ์เหล่านี้ยังสามารถติดตั้งบนกล่องไฟฟ้าส่วนบุคคล
เมื่อกระแสไฟฟ้าพุ่งเข้าชนระบบไฟฟ้าก็จะพยายามทำให้เท่าเทียมกันและกระจายตัวเองโดยใช้เส้นทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่าจัดเตรียมเส้นทางที่มีความต้านทานน้อยที่สุดสำหรับการทำเช่นนี้การกำหนดเส้นทางไฟฟ้าส่วนเกินออกจากระบบและลงสู่พื้นดินที่สามารถกระจายไปโดยไม่ทำอันตรายใด ๆ ตัวต้านทานแสงรวมถึงส่วนประกอบที่ติดกับระบบไฟฟ้าพร้อมตัวนำที่ไปถึงพื้น


พิกัดที่ตั้งเสาสัญญาณ




ผู้จัดทำ



นายประพฤทธิ์ เล่าเทียนไชย
รหัสนักศึกษา 162404710035
กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศกรรมไฟฟ้า หลักสูตรวิศกรรมโทรคมนาคม