หน้าที่ประจำวัน | ข้าพเจ้าเชื่อ | ข้าแต่พระบิดา | วันทามารีอา | เทวฑูตแจ้งสาร | คำภาวนาของบิดามารดา | คำภาวนาของวัยรุ่นคนหนึ่ง | สวดลูกประคำ


         เทวฑูตถือสาร มาแจ้งแด่พระนางมารีอา      
    วันทามารีอา เปี่ยมด้วยพระหรรษทาน พระเจ้าสถิตกับท่าน ผู้มีบุญกว่าหญิงใดใด และพระเยซู โอรสของท่าน ทรงบุญนักหนา สันตะมารีอา มารดาพระเจ้า โปรดภาวนาเพื่อเราคนบาป บัดนี้ และเมื่อจะตาย อาแมน

              วันทามารีอา เปี่ยมด้วยพระหรรษทาน พระเจ้าสถิตกับท่าน ผู้มีบุญยิ่งกว่าหญิงใดใด           
    วันทามารีอา

         ก. เทวฑูตถือสารมาแจ้งแด่พระนางมารีอา
    ร. และพระนางได้ทรงครรภ์ด้วยเดชะพระจิต
    Click !    วันทามารีอา .....
    ก.ข้าพเจ้าคือผู้รับใช้ของพระสวามี
    ร. จงเป็นไปแก่ข้าพเจ้า ตามวาทะของท่าน
    Click !   วันทามารีอา .....
    ก. และพระวจนาถทรงรับเอากาย
    ร. และมาประทับอยู่ท่ามกลางเรา
    Click !   วันทามารีอา .....
    ก. โปรดภาวนาอุทิศแก่เราเถิด พระชนนีเจ้าข้า
    ร. เพื่อเราสมจะได้รับตามสัญญา ของพระคริสตเจ้า
     เราจงภาวนา
      พระสวามีเจ้าข้า เทวฑูตมาแจ้งให้เราทราบแล้วว่า พระคริสตเจ้า พระบุตรของพระองค์ทรงรับเอากาย, เราจึงขอพระองค์ โปรดประทาน
    พระหรรษทานลงในจิตใจ ให้เราเข้าพึ่งมหาทรมานและกางเขนของพระองค์ เพื่อจะได้กลับเป็นขึ้นมาอย่างรุ่งเรือง เดชะพระสวามีคริสตเจ้า อาแมน.

     ราชินีแห่งสวรรค์

  • ราชินีแห่งสวรรค์ เชิญยินดี อัลเลลูยา
  • เพราะผู้ที่ท่านได้มีบุญอุ้มในครรภ์นั้น อัลเลลูยา
  • ได้กลับคืนชีพดังตรัสไว้ อัลเลลูยา,
  • โปรดวิงวอนพระเจ้าเพื่อเราด้วย อัลเลลูยา.

    ก. จงชื่นชมยินดีเถิด พรหมจารีมารีอา อัลเลลูยา
    ร. เพราะว่า พระสวามีได้กลับคืนชีพจริงแท้ อัลเลลูยา

    เราจงภาวนา    ข้าแต่พระเป็นเจ้า อาศัยการกลับคืนชีพแห่งพระบุตร พระเยซูคริสตเจ้าสวามีของเรา,
    พระองค์ได้บันดาลให้โลกยินดีฉันใด, อาศัยพระนางพรหมจารีมารีอา พระมารดาของพระองค์,
    ขอโปรดให้เราได้มีส่วน ในความยินดีแห่งชีวิตนิรันดรฉันนั้น, เดชะพระสวามีคริสตเจ้า, อาแมน.


     ความเป็นมาของบท "เทวทูตถือสาร"

    • สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 ได้ทรงเน้นให้คริสตังสวดบทเทวทูตถือสารทุกวัน เพื่อระลึกถึงการที่พระบุตรทรงบังเกิดเป็นมนุษย์ จากพระมารดามารีอา และพระองค์เองรวมทั้งพระสันตะปาปาองค์ก่อนๆ ก็ได้ประทานตัวอย่าง โดยทรงนำสวดบทเทวทูตถือสาร ทุกวันอาทิตย์เวลาเที่ยง และวิทยุวาติกันก็ถ่ายทอดการสวด สำหรับคริสตังทั่วโลกด้วย.

    • บท "เทวทูตถือสาร" มิได้เกิดมาสำเร็จรูปเหมือนที่เราสวดอยู่ทุกวันนี้ แต่ค่อย ๆ มีพัฒนาการมาเป็นเวลาหลายร้อยปี บทภาวนานี้ แต่ก่อนเรียกว่า บทสวดวันทามารีอาเพื่อสันติภาพ จุดประสงค์เพื่อถวายเกียรติแด่พระบุตรผู้เสด็จมาไถ่บาปมนุษย์ และถวายเกียรติแด่พระมารดาของพระองค์ แรกๆ สวดเพื่อสันติภาพในตอนเย็นเท่านั้น เพราะสมัยนั้นถือกันว่า อัครเทวดาคาเบียลถือสารมาตอนเย็น ทำให้เกิดสันติภาพระหว่างพระเป็นเจ้ากับมนุษย์ หลังจากที่ขาดสัมพันธ์กันเพราะบาปของอาดัมเอวา ระยะต่อมาจึงสวดเวลาเช้าด้วย และในที่สุดจึงสวดเวลาเที่ยง

    • จากเอกสารปรากฏ ใน ค.ศ.1263 คณะฟรันซิสกันเป็นผู้เริ่มสวดบทนี้ สมัยที่ นักบุญบอนาเวนตูรา เป็นหัวหน้าคณะ ได้มีประกาศว่า "ให้นักบวชสนับสนุนสัตบุรุษให้สวดบทวันทามารีอา เมื่อได้ยินเสียงระฆังหลังทำวัตรสวดนอน การสวดได้ขยายไปทั่วยุโรป

    • ใน ค.ศ. 1318 มีเอกสารจาก พระสันตะปาปายวง ที่ 22 ทรงสรรเสริญขนบธรรมเนียมของวัด ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งตีระฆังเชิญสัตบุรุษสวดวันทามารีอาเวลาเย็น และประทานพระการุณย์ 10 วัน แก่ผู้ที่คุกเข่าสวดบทนี้

    • ปี 1327 ธรรมเนียมนี้ได้เกิดขึ้นในอิตาลี พระสังฆราชต่างๆ ทำตามแบบอย่างพระสันตะปาปา

      สวดวันทามารีอาเวลาเช้า ในอิตาลีมีหลักฐานว่า ตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 มีการตีระฆัง 3 ครั้ง และสวดวันทามารีอาเวลาเช้า

    • ในฝรั่งเศส สังคายนาแห่งหนึ่งในปี 1368 พ่อเจ้าวัดตีระฆังเช้า (เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น) เหมือนเวลาค่ำ (เย็น) และสวดบทข้าแต่พระบิดา 5 ครั้ง เพื่อระลึกถึงรอยแผล 5 ประการของ พระเยซูเจ้า และสวดบทวันทามารีอา 5 ครั้ง เพื่อร่วมแสดงความยินดีกับแม่พระ ที่ได้รับพระพรมากมายจากพระเป็นเจ้า

    • ที่อังกฤษในปี 1399 พระสังฆราชแห่งแคนเตอร์เบอรี่ สั่งให้ตีระฆังอาเวมารีอาตอนเช้า เช่นเดียวกับที่เคยทำในเวลาเย็น และให้สวดเหมือนตอนเย็นด้วย คือ ข้าแต่พระบิดา 1 บท วันทามารีอา 5 บท เพื่อขอบคุณที่แม่พระได้ช่วยเหลือประเทศอังกฤษตลอดมา

    • ในเยอรมนี ได้ออกประกาศให้ตีระฆัง 3 ครั้งในตอนเช้า และให้สวดข้าแต่พระบิดา 1 ครั้ง วันทามารีอา 3 ครั้ง. ต่อมาเปลี่ยนเป็นข้าแต่พระบิดา 3 ครั้ง วันทามารีอา 3 ครั้ง

      วันทามารีอาตอนเที่ยง ดูเหมือนจะเริ่มในปี 1460 ให้สวดวันทามารีอา 3 ครั้งต่อวัน แต่มีหลายแห่งที่ตีระฆังเที่ยงเพื่อจุดประสงค์อย่างอื่น เช่นระลึกถึงพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้า เพื่อขอพระพรสำหรับสู้รบในสงครามครูเสด ฯลฯ แต่ในที่สุดก็กลายเป็นสวดวันทามารีอาตอนเที่ยงไป

    • บทเทวทูตถือสารในรูปปัจจุบัน พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 13 ในปี 1724 ได้ทรงประกาศสูตรบทเทวทูตถือสารตามที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ และประทานพระการุณย์ 100 วัน แก่ผู้ที่คุกเข่าสวดบทนี้เวลาเช้า, เที่ยง และเย็น เมื่อได้ยินเสียงระฆัง

    • ในปี 1742 สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 14 ทรงอนุญาตให้ยืนสวดบทเทวทูตถือสารได้ ตั้งแต่เย็นวันเสาร์และตลอดวันอาทิตย์ และในเทศกาลปาสกา ให้สวดบท "พระราชินีแห่งสวรรค์" แทนบทนี้

    • ในปี 1781 พระสันตะปาปาปีโอที่ 6 ทรงอนุญาตให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลจากวัด ที่ไม่สามารถได้ยินเสียงระฆังเทวทูตถือสาร สวดบทนี้วันละ 3 ครั้งได้ โดยกะเวลาให้ ใกล้เคียงกับความจริง

    • พระสันตะปาปาทุกพระองค์ ทรงสนับสนุนให้เราสวดบทเทวทูตถือสารวันละ 3 ครั้ง และให้ความสะดวกต่าง ๆ ในการสวดนี้ ขอให้เราพยายามคิดถึงความรักของพระเป็นเจ้าและแม่พระ วันละ 3 ครั้ง เชื่อได้อย่าง แน่นอนว่า ชีวิตของเราจะสดชื่นสงบราบรื่น กว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ อย่างมากมาย
      ... พลมารีสาร ตุลาคม'2000      



พระมารดาน่ารักยิ่ง / พระนางมารีย์ร่วมมือกับพระเป็นเจ้า / คำอธิบาย บทวันทามารีอา / พระแม่เจ้าแห่งกัวดาลูป / พระแม่เจ้าแห่งเหรียญอัศจรรย์

สายจำพวกของแม่พระแห่งภูเขาคาร์เมล [ PRAYER] [ NAME JESUS ] [ST.JOSEPH] [THAI CATHOLIC][ HOLY BIBLE] [ NICHOLAS]
[ คืนสุดท้าย ] [ เดินรูป 14 ภาค ][ LONG POPE] [ HOLY ALBUM] [ PRAY ROSARY] [ ALL SAINTS] [JUBILEE 2000] [ MARIE SLIDE]

bCentral Counter  
  Send mail to [email protected] with question or comments about this web.
Copyright @ 2000 Data Computer's House.  2123-2125 Suebsiri Rd. Nai-muang,
Nakorn-Ratchasima. 30000 Thailand.   Last  

 

1