Night   Photography
Up ]

 

การวัดแสงแบบเผื่อเลือก

       223   อธิบายวัตถุประสงค์ของการวัดแสงแบบเผื่อเลือก

                การวัดแสงแบบเผื่อเลือก (Bracketing)

                ค่าที่วัดใช้จากเครื่องวัดแสงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น   เพราะว่ามันยากที่จะพยากรณ์ว่าวัตถุในตอนกลางคืนจะถูกถ่ายทอดลงบนฟิล์ม   อย่างไรด้วยเหตุผลนี้มันจึงจำเป็นที่จะเปิดรับแสงแบบเผื่อเลือก   ซึ่งคุณจะถ่ายภาพเดียวกัน 2 รูปหรือมากกว่าเพื่อลดหรือเพิ่มแสง   การทำแบบนี้เป็นการเอาชนะธรรมชาติอันคลุมเคลือของการส่องสว่างตอนกลางคืนแฟคเตอร์อย่างเช่น   ความผิดพลาดที่สัมพันธ์กัน

                ขบวนการมาตรฐานสำหรับการเปิดรับแสงแบบเผื่อเลือกคือการถ่าย 3 เฟรมต่อหนึ่งฉาก   หนึ่งคือทำตามที่วัดได้   สองถ่ายให้ Under กว่ารูปแรก   สามถ่ายให้ Over กว่ารูปแรก

                จำนวนของรูปที่คุณจะถ่ายเผื่อและระยะการเปิดรับแสงที่ต่างกันอย่างไรขึ้นอยู่กับหลายสิ่ง   เมื่อคุณใช้ฟิล์มเนกาทีฟ   ปกติคุณถ่ายภาพเพียงสองรูป   หนึ่งคือเปิดรับแสงปกติที่วัดได้   ส่วนอีกหนึ่งคือเปิดรับแสงมากกว่าที่วัดได้ 2 Stop (Over)  ซึ่งเพียงพอต่อกาผิดพลาด   มีการยกเว้นแต่เพียงเป็นฟิล์ม   Higher - Contrast  และ  Slow  Speed   ตัวใหม่  อย่าง  Kodak  Gktar 25 และ   Agfa  Ultra   ซึ่งจะมีละติจูดการเปิดรับแสงจำกัด

                แต่สไลด์เป็นฟิล์มที่ยอมให้ผิดพลาดน้อย   ละติจูดของฟิล์มให้เพียง 1 Stop ของการเปิดรับแสง  Over ด้วย   ธรรมชาติของฟิล์มดังนี้   คุณต้องเปิดเผื่ออย่างน้อย 3 รูป  ให้ห่าง 1/2 ถึง 1 Stop ขึ้นอยู่กับค่าของแสงในฉาก

                แม้ว่าจะมีช่างภาพบางพวกบอกว่าการถ่ายภาพแบบเปิดเผื่อเลือกเป็นความสิ้นเปลือง   ซึ่งทำให้ฟิล์มนี้ใช้งานได้เหลือน้อย   แต่ความคิดนี้ไม่สามารถใช้ได้กับการถ่ายภาพตอนกลางคืน   เพราะจริงๆ แล้วฟิล์มเป็นค่าใช้จ่ายที่ถูกที่สุดในขบวนการซึ่งมันคุ้มค่ากว่าที่คุณจะได้ภาพมาอย่างไม่น่าพอใจ

 

P58_0.jpg (46877 bytes)

P59_0.jpg (47862 bytes)

P59_1.jpg (55569 bytes)

            ภาพประกอบ : วัตถุตอนกลางคืนบ่อยครั้งที่ให้ขอบเขตการเปิดรับแสงได้กว้างขวาง   ทำได้หลายแบบจนไม่รู้ว่าแบบไหนจะดี   การเปิดเผื่อจึงไห้คุณสามารถเลือกภาพดีได้หลายๆ ภาพ   ภาพแรกใช้การอ่านแสงสะท้อนจากท้องฟ้า   เครื่องวัดแนะการเปิดรับแสงที่ 4 วินาที  F/11 (รูปกลาง)   ให้การเปิดหน้ากล้องเดิมคือ F/11 แต่อีก 2 รูป (รูปแรก)  เปิดที่ 2 วินาที  และ 8 วินาที (รูปสุดท้าย)   ภาพที่ดีที่สุดเป็นภาพที่ Under คือ 2 วินาที  F/11

 

 

ใช้กล้องเป็นเครื่องวัดแสง ] [ การวัดแสงเผื่อเลือก ] แบบฝึกหัดการวัดแสง ]

Back Next

ผู้จัดทำ   นายเฉลิมพล  สุขเกษม  รหัส   42064508 

นางรุ่งระวี   สินธุรัตน์  รหัส  42064516

นักศึกษาปริญญาโท   คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

สาขาเทคโนโลยีการศึกษาทางการอาชีวะและเทคนิคศึกษา

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Hosted by www.Geocities.ws

1