Night   Photography
Up ]

 

การคำนวณการเปิดรับแสง

       213   อธิบายวิธีการการคำนวณการเปิดรับแสง

                แสงประดิษฐ์จะให้สีต่างๆ มากมาย จากการถ่ายภาพตอนกลางคืน แทนที่แหล่งแสงเดียวจะให้เพียงความสว่างกับฉากอย่างเดียวเท่านั้น   แต่มีแหล่งแสงมากมายที่ให้แสงได้พร้อมกัน   แสงเหล่านี้จะเกิดขึ้นด้วยตัวเองและลักษณะแสงก็มีระเบียบด้วยตัวเอง โดยแสงสีเหลืองจากหลอดไฟดวงจันทร์จะให้ความสว่างบนท้องถนนในเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ แสงสีส้มจากแสงทังสเตนจะช่วยเน้นตึกและอนุสาวรีย์ต่างๆ แสงไฟจากนีออนจะเป็นสีอะไรก็ได้ซึ่งจะให้ความสนใจจากผู้คนตามถนนและถนนหลวง   ก็มีการติดแหล่งแสงไว้เสมอรวมทั้งที่อื่นๆ ด้วย

                เมื่อคุณใช้ฟิล์มชนิด   Daylight  ตอนกลางคืน   คุณจะสังเกตพบช่วงกว้างจากการผลิตสีในเหตุการณ์ที่จะถ่าย   เมื่อคุณถ่ายภาพกับฉากหลัง (Backdrop Arbitary) ผลที่ได้จะดีมาก   และสิ่งนี้เองที่เกี่ยวกับควบคุมแสงเฉื่อย   ดังนั้นจึงต้องคำนวณการเปิดรับแสงโดยการอ่านแสงล้อมรอบ   ทำได้โดยอ่านค่าแสงสะท้อนจากน้ำหนักสีกลางในฉากหรืออ่านค่าแสงตกกระทบ   ถึงแม้จะพบว่าการเปิดรับแสงที่จะนำไปใช้ได้ จะเกิดได้ในช่องรับแสงที่มีหลากหลายช่องก็ตามแต่การเปิดรับแสงให้น้อยกว่านั้น   จะเป็นการถ่ายภาพกับฟิล์มชนิด   Daylight  ที่ดี   เพราะถ้าคุณเปิดแสงน้อย (Under-Exposure) วัตถุก็จะไม่กลืนไปกับฉากหลัง

                ครั้งหนึ่งที่คุณกำหนดการทำงานของช่องรับแสงแล้ว   ขั้นตอนถัดไปคือการเปิดรับแสงบนวัตถุ   ใช้เครื่องวัดจัดแฟลชเพราะจะทำให้อ่านค่าการรับแสงได้แม่นยำที่สุด   แต่ถ้าไม่มีอุปกรณ์ดังกล่าวหน่วยแฟลชจะเป็นเครื่องช่วยได้อย่างดี   เมื่อคุณทราบการทำงานของแฟลชนี้แล้ว   คุณก็จะปรับใช้ได้ตามความจำเป็น

                การคำนวณการเปิดรับแสง   เมื่อใช้แฟลชต้องมีความรู้เรื่องตัวเลขนำของแฟลชด้วย   ช่างภาพบางคนรู้ดีว่าการใช้แฟลชมือจะควบคุมสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีที่สุด   อีกวิธีหนึ่งที่จะเพิ่มประสบการณ์และความรู้ที่ได้รับจากการใช้แฟลช คือ   นักถ่ายภาพบางท่านใช้เทปติดช่องรับแสง ซึ่งสัมพันธ์กับแฟลชถึงระยะวัตถุบนกล้อง   ถ้าหากว่าคุณจะถ่ายด้วยแฟลชมือ สิ่งที่ควรจำคือห้องภาพในตอนกลางคืนไม่สามารถใช้กำแพง   หรือเพดานเพื่อให้แสงสะท้อนกลับสู่วัตถุ   ดังนั้นต้องเปิดรับแสงครึ่งถึง 1 Stop

                เทคนิคเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ได้จริง   หากเราใช้ฟิล์มเนกาทีฟจะมีโอกาสที่ภาพดีกว่าที่ใช้ฟิล์มโปร่งใสมากตามที่กล่าวมาข้างต้นฟิล์มเนกาทีฟมีองศาการเปิดรับแสงกว้างกว่าฟิล์มโปร่งใส   ดังนั้นถ้าฟิล์มถ่ายภาพหยุดที่ 1 Stop หรือ 2 Stop รูปก็จะยังคงที่   แต่ถ้าแฟลชที่ออกไปมีค่าไม่แน่นอนภาพฟิล์มสไลด์ก็จะใช้ไม่ได้   เมื่อเราต้องการถ่ายภาพนั้นเพื่อทำโฆษณา   ก็ควรใช้ฟิล์มเนกาทีฟไม่ว่าจะให้ฟิล์มโปร่งใสถ่ายภาพสสถานการณ์ใดๆ ก็ตาม   ก็ต้องจัดแสงได้อย่างแม่นยำ

                เมื่อถ่ายภาพสิ่งมีชีวิต   เทคนิคเทคนิคเหล่านี้ก็ใช้ไม่ได้ผล   เพราะการเปิดรับแสงมากเกินไปจะทำให้ภาพดูเกินจริง วิธีแก้คือ   ถ่ายภาพด้วยฟิล์มโปร่งใสทั้งม้วนด้วยการเปิดรับแสงเดียวกัน   จากนั้นก็นำไปทดสอบเพื่อกำหนดการเปิดรับแสงที่เหมาะสม   ถ้าฟิล์มเปิดรับแสงมากไปหรือน้อยไป   เราจะได้แก้ไขได้โดยผ่านกรรมวิธีเหล่านี้

 

P90_0.jpg (51855 bytes)

            ภาพประกอบ : สำหรับภาพการฉลองที่สั่นไหวนี้   ใช้การเลื่อนชัตเตอร์ขณะเปิดรับแสง   ใช้การเปิดรับแสงที่ F/8 เวลา 1/15 วินาที

 

P91_0.jpg (24582 bytes)

            ภาพประกอบ : การที่มีแหล่งแสงที่เดียวในภาพนี้ช่างภาพใช้การอ่านแสงแบบเฉลี่ย   โดยการใช้เครื่องวัดแสงภายในกล้อง ภาพนี้เปิดรับแสงที่ F/4 เวลา 1/30 วินาที

 

 

ผลของแสงในตอนกลางคืน ] [ การคำนวณการเปิดรับแสง ] แบบฝึกหัดระยะเวลาเปิดรับแสง ]

Back Next

ผู้จัดทำ   นายเฉลิมพล  สุขเกษม  รหัส   42064508 

นางรุ่งระวี   สินธุรัตน์  รหัส  42064516

นักศึกษาปริญญาโท   คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

สาขาเทคโนโลยีการศึกษาทางการอาชีวะและเทคนิคศึกษา

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Hosted by www.Geocities.ws

1