พระนาคเสน-พระเจ้ามิลินท์

ประวัติและความเป็นมา

บุพกรรมของ พระเจ้ามิลินท์ และ พระนาคเสน

           กล่าวคือ เมื่อครั้งศาสนาของ สมเด็จพระพุทธกัสสป โน้นมีพระราชาพระองค์หนึ่ง
ทรงพระนามว่า พระเจ้าวิชิตาวี เสวยราชอยู่ใน สาครนครราชธานี พระองค์ทรงอนุเคราะห์
มหาชนด้วยสังคหวัตถุ 4 เมื่อพระองค์ทรงสิ้นแล้ว ก็ได้ขึ้นไปบังเกิดเป็น พระอินทร์ ในสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์ ด้วยอานิสงส์นั้น และมหาวิหารที่ท้าวเธอทรงสร้างไว้ ถึงพระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้วก็มีพระภิกษุอาศัยอยู่เป็นอันมาก
ในพระภิกษุสงฆ์เหล่านั้น พระภิกษุทั้งหลายผู้สมบุญด้วยข้อวัตรเป็นอันดี เช้าขึ้นก็ถือเอา
ไม้กวาดด้ามยาว แล้วนึกถึงพระพุทธคุณ แล้วจึงพากันกวาดบริเวณพระเจดีย์ กวาดเอา
หยากเยื่อไปรวมเป็นกองไว้ มีพระภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีลองค์หนึ่งเรียกสามเณรองค์หนึ่งว่า
"จงมานี้...สามเณร? จงหอบเอาหยากเยื่อไปทิ้งเสีย"
สามเณรนั้นก็เฉยอยู่ เหมือนไม่ได้ยิน พระภิกษุองค์นั้นเรียกสามเณรนั้นถึง 3 ครั้ง เห็นสามเณรนั่งนิ่งเฉยอยู่เหมือนไม้ได้ยินก็คิดว่า สามเณรองค์นี้หัวดื้อ จึงไปตีด้วยด้าม
ไม้กวาด สามเณรก็ร้องไห้ด้วยความเจ็บปวด แล้วหอบเอาหยากเยื่อไปทิ้งด้วยความกลัว
ได้ตั้งปรารถนาว่า
“ข้าพเจ้ายังไม่ถึงนิพพานตราบใด ไม่ว่าข้าพเจ้าจะไปเกิดในชาติใด ๆ ขอให้ข้าพเจ้า
มีปัญญาไม่รู้สิ้นสุด เหมือนกับลูกคลื่นในแม่น้ำคงคานี้เถิด”
ส่วนพระภิกษุผู้เป็นอาจารย์นั้น ได้ยินเสียงสามเณรตั้งความปรารถนา จึงคิดว่า ความ
ปรารถนาของสามเณรนี้ เป็นความปรารถนาใหญ่ จะสำเร็จได้เพราะอาศัยพระพุทธคุณ
คิดดังนี้แล้ว จึงหัวเราะขึ้นด้วยความดีใจว่า สามเณรนี้ถึงเป็นผู้ที่เราใช้ก็ยังปรารถนาอย่างนี้
ความปรารถนาของสามเณรนี้ จักสำเร็จเป็นแน่แท้ คิดดังนี้แล้ว จึงตั้งความปรารถนาว่า
“ข้าพเจ้ายังไม่สำเร็จนิพพานตราบใดขอให้ข้าเจ้ามีปัญญาหาที่สุดมิได้ เหมือนกับฝั่งแม่น้ำ
คงคานี้ ให้เป็นผู้สามารถแก้ไขปัญหาปฎิภาณทั้งปวง ที่สามเณรนี้ไต่ถามได้สิ้น ให้สามารถชี้แจงเหตุผลต้นปลายได้เหมือนกับบุรุษที่ม้วนกลุ่มด้าย สางด้ายอันยุ่งให้รู้ได้ว่า
ข้างต้นข้างปลายฉะนั้น ด้วยอำนาจบุญที่ข้าพเจ้าได้กวาดวัด และใช้สามเณรให้นำหยาก
เยื่อมาเททิ้งนี้เถิด"
เมื่อบุคคลทั้งสองนั้น ท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในเทพยดาและมนุษย์ ก็ล่วงมาถึง 1
พุทธันดร พระพุทธเจ้าเราทั้งหลายผู้เป็นที่พึ่งของโลกได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า ความเกิดขึ้น
แห่งพระเถระ มี พระโมคคลีบุตรติสสเถระ และ พระอุปคุตตเถระ เป็นต้น จักปรากฏฉันใด ความเกิดขึ้นแห่งบุคคลทั้งสองนั้น ก็จะปรากฏฉันนั้น
ต่อมาสามเณรนั้น ก็ได้มาเกิดเป็น พระเจ้ามิลินท์ ในสาคลนคร อันมีในชมพูทวีปพระเจ้า
มิลินท์นั้นเป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาดมีความคิดดี สามารถรู้เหตุการณ์อันเป็นอดีต อนาคต
ปัจจุบันได้ เป็นผู้ใคร่ครวญในเหตุการณ์ถี่ถ้วนทุกประการ เป็นผู้ได้ศึกษาศาสตร์ต่าง ๆ
ไว้เป็นอันมาก 18 ประการ
อยู่มาคราวหนึ่ง พระเจ้ามิลินท์ได้เสด็จออกจากพระนครด้วยพลนิกรเป็นอันมากหยุดอย
ู่นอกพระนครแล้ว ตรัสแก่พวกอำมาตย์ว่า
"เวลายังเหลืออยู่มาก เราจะทำอะไรดีเราจะกลับเข้าเมืองก็ยังวันอยู่ สมณพราหมณ์เจ้าหมู่
เจ้าคณะคณาจารย์ที่ยืนยันว่า เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ใดหนอ อาจสนทนากันเราได้ อาจตัดความสงสัยของเราได้" เมื่อตรัสอย่างนี้ พวกโยนกข้าหลวงทั้ง 500 ก็กราบทูลขึ้นว่า
"ข้าแต่มหาราชาเจ้า บัณฑิตที่จะพอสนทนากับพระองค์ได้นั้นมีอยู่ คือครูทั้ง 6 อันได้แก่
ปรูณกัสสป มักขลิโคลาส นิคัณฐนาฏบุตร สญชัยเวฬฎฐบุตร อชิตเกสกัมพล ปกุทธกัจจายนะ
พระเจ้าข้า พระเจ้ามิลินท์ก็ห้อมล้อมด้วยข้าหลวงโยนกทั้ง 500 ขึ้นทรงราชรถเสด็จไปหา
ครูทั้ง 6
แต่หามีผู้ใดตอบปัญหาของพระองค์ให้พอพระทัยได้

พระอรหันต์ขึ้นไปเชิญมหาเสนะเทพบุตร
ในคราวนั้น มีพระอรหันต์ 100 โกฏิ อาศัยอยู่ที่ ถ้ำรักขิต ในภูเขาหิมพานต์ ได้ทราบประวัติการณ์ของพระเจ้ามิลินท์แล้วจึงได้ขึ้นไปประชุมกันที่ยอดเขายุคันธร ปรึกษากันเพื่อหาผู้ที่สามารถตอบปัญหาของพระเจ้ามิลินทร์ได้ ลำดับนั้นพระอัสสคุตตะ ผู้เป็น
หัวหน้า จึงกล่าวขึ้นว่า
"ดูก่อนท่านทั้งหลาย มหาเสนะเทพบุตรที่อยู่ในเกตุมดีวิมาน ทางด้านตะวันออกแห่งเวชยันตวิมาน
ของพระอินทร์มีอยู่ มหาเสนะเทพบุตรนั้นแหละ อาจโต้ตอบกับพระเจ้ามิลินท์ได้ อาจตัดความสงสัย
ของพระองค์ได้" พระอรหันต์ทั้ง 100 โกฏิ จึงได้พร้อมกันขึ้นไปหาพระอินทร์ที่ดาวดึงส์เทวโลก พระอินทร์จึงเสด็จออกมาต้อนรับกราบไหว้แล้วถามว่ามีเหตุอันใด พระอัสสคุตต์จึงถวายพระพรว่า "เวลานี้มหาราชาองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า "มิลินท์" อยู่ในชมพูทวีป เป็นผู้ได้เรียนศาสตร์ต่าง ๆ
ไว้เป็นอันมาก ฉลาดเจรจา ไม่มีใครสู้ได้ ได้เที่ยวเบียดเบียนพระภิกษุสงฆ์ ด้วยการถามปัญหา
ตามลัทธิเดียรถีย์ ขอถวายพระพร" พระอินทร์จึงตรัสว่า พระเจ้ามิลินทร์ได้จุติจากดาวดึงส์ พระอัสสคุตต จึงทูลขอให้มหาเสนะเทพบุตรลงไปเกิดยังโลกมนุษย์ พระอินทร์จึงตรัสว่า "นี่แน่ะ มหาเสนะผู้หาทุกข์มิได้ บัดนี้พระภิกษุสงฆ์ขอให้เจ้าลงไปเกิดในมนุษย์โลก" มหาเสนะเทพบุตรจึงกราบทูลพระองค์ไม่ต้องการลงไปเกิดในมนุษย์โลก เพราะมนุษย์โลกเดือดร้อน
ต้องการนิพพาน พระอัสสคุตตเถระจึงกล่าวขึ้นว่า “นี่แน่ะ ท่านผู้หาทุกข์มิได้ พวกเราได้พิจารณาดูตลอดแล้วไม่เห็นมีผู้อื่นนอกจากท่าน ที่จะสามารถทำลายถ้อยคำของพระเจ้ามิลินท์ได้ สามารถเชิดชูพุทธศาสนาไว้ได้ พระภิกษุสงฆ์จึงได้ขึ้นมาอ้อนวอนท่าน ขอท่านจงลงไปเกิดในมนุษย์โลก ยกย่องพระพุทธศาสนาไว้เถิด" เมื่อพระภิกษุสงฆ์อ้อนวอนอย่างนี้แล้ว มหาเสนะเทพบุตรจึงกราบทูล
พระอินทร์ว่า
"ถ้าอย่างนั้นขอพระองค์จงประทานพรแก่ข้าพระองค์ ให้ข้าพระองค์ทำลายล้างถ้อยคำของพระเจ้ามิลินท์ได้ สามารถเชิดชูพระพุทธศาสนาไว้ได้เถิด พระเจ้าข้า" ครั้งนั้นพระมหาเสนะเทพจึงไปเกิดเป็น นาคเสน
พระโรหนะเถระได้รับมอบธุระเพื่อให้นาคเสนกุมารได้บรรชา
ครั้งหนึ่งพระภิกษุทั้งหลายได้มาร่วมประชุม เมื่อมาถึงแล้ว พระอัสสคุตตเถระ จึงถามพระภิกษุสงฆ์
เหล่านั้นว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย ภิกษุที่ไม่ได้มาในที่ประชุมสงฆ์นี้มีอยู่หรือ?" มีพระภิกษุองค์หนึ่งตอบว่า
"มีอยู่ขอรับ คือ พระโรหนเถระ ท่านไปเข้านิโรธสมาบัติ อยู่ที่ภูเขาหิมพานต์ได้ 7 วันแล้ว พวกเราควรจะ
ใช้ทูตไปหา" ขณะนั้นพระโรหนเถระ ก็ออกจากนิโรธสมาบัติ นึกรู้ความประสงค์พระอรหันต์ทั้งหลายต้องการ
พบเรา จึงได้หายวับจากภูเขาหิมพานต์ มาปรากฏตัวที่ถ้ำรักขิตเลณะ ต่อหน้าพระอรหันต์ ครั้งนั้น พระอรหันต์
100 โกฏิ จึงกล่าวว่าตำหนิที่ท่านไม่สนใจช่วยเหลือกิจของสงฆ์ และให้ลงทัณฑกรรม โดยไปนำ นาคเสนกุมาร แห่งบ้านพราหมณ์ ตำบล ชังคละ บิดาชื่อว่า โสนุตตระ ท่านจงพยายามไปบิณฑบาตที่ตระกูลนั้น และนำเอานาคเสนกุมารออกบรรพชาให้ได้ เมื่อนาคเสนกุมารได้บรรพชาแล้วท่านจึงจะพ้นจากทัฑณกรรมนั้น
เมื่อล่วงมาจาก 7 ปี พระโรหนเถระได้เพียรพยายามไปบิณฑบาต โดยที่ไม่เคยได้รับอะไรเลย จนวันหนึ่งได้พบบิดาของนาคเสนกุมารได้เอ่ยปากถามพระโรหนเถระ ว่าไม่มีใครใส่บาตท่านจะมาทำไม พระโรหนะจึงตอบว่า “นี่แน่ะ พราหมณ์ เรานั้นเข้าสู่บ้านเรือนของท่านตลอด 7 ปีกับ 10 เดือนแล้วยังไม่เคย
ได้อะไรเลย พึ่งได้คำถามของท่านเมื่อวานนี้เพียงคำเดียวเท่านั้น เราจึงตอบว่าได้"
เมื่อพราหมณ์ได้ฟังดังนี้ก็ดีใจ จึงคิดว่า พระองค์นี้เพียงคำปราศรัยคำเดียวเท่านั้น ก็ยังบอกในที่ประชุมว่าได้ ถ้าได้ลาภอย่างใดอย่างหนึ่งไปจะไม่สรรเสริญหรือ นี่เพียงแต่ได้คำถามคำเดียวเท่านั้นก็ยังสรรเสริญ เมื่อคิด
ได้อย่างนี้แล้ว จึงสั่งพวกบ้านว่า พวกท่านจงเอาข้าวของเราถวายบรรพชิตนี้วันละ 1 ทัพพีทุกวันไป ต่อนั้นพราหมณ์ก็เลื่อมใสต่ออิริยาบถ และความสงบเสงี่ยมของพระเถระยิ่งขึ้นเป็นลำดับ

นาคเสนกุมารศึกษาไตรเพท

            เมื่อนาคเสนกุมารเติบโตขึ้นอายุได้ 7 ขวบ มารดาบิดาก็ให้ศึกษา ไตรเพททั้ง 3
กับศิลปศาสตร์ อื่น ๆ สำหรับพระกูลพราหมณ์ร่ำเรียนสืบ ๆ กันมา ส่วนว่าโสนุตตรพราหมณ
์ผู้เป็นบิดา เชิญพราหมณ์ผู้เป็น อาจารย์มาสอน ฝ่ายนาคเสนกุมารฟังพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์
บอกวิชาเพียงครั้งเดียว ก็สามารถจำได้ครบทุกประการ พระโรหนะไปนำนาคเสนกุมาร
เพื่อจะให้บรรพชา ในคราวนั้นพระโรหนเถระ นั่งอยู่ที่วัตตนิยเสนะวิการ ได้ทราบความคิด
ของนาคเสนกุมาร จึงหายวับไปปรากฏขึ้น ข้างหน้านาคเสน ทันที พอนาคเสนกุมารได้แลเห็น ก็เกิดความร่าเริงดีใจว่าบรรพชิตองค์นี้คงรู้จักสิ่งที่เป็นสาระเป็นแน่จึง ถามขึ้นว่า
“ผู้มีศีรษะโล้นนุ่งเหลืองเช่นนี้เป็นอะไร?”
พระเถระตอบว่า “เป็นบรรพชิต”
“เหตุไรจึงชื่อว่าบรรพชิต?”
“เหตุที่ว่าเว้นเสียซึ่งบาป เว้นเสียซึ่งโทษจึงได้ชื่อว่าบรรพชิต”
“เหตุใดผมและหนวดของท่านจึงไม่เหมือนคนอื่น?”
“นี่แน่ะ พ่อหนู บรรพชิตทั้งหลายเห็นความกังวล 16 ประการ จึงได้โกนผมโกนหนวดเสีย ในเส้นผมแต่ละเส้นย่อมมีหมู่หนอนอาศัยอยู่ที่รากผม ทำให้รากผมเศร้าหมองก็เศร้าใจเสียใจ คนทั้งหลายได้เห็นผมเศร้าหมองก็เศร้าใจ เสียใจ ไม่สบายใจ เมื่อมัวแต่ยุ่งกับผมด้วยกังวล
16 อย่างนี้ ศิลปศาสตร์ที่สุขุมยิ่งก็เสียไป เพราะฉะนั้นแหละ บรรพชิตทั้งหลายจึงได้โกนผม
โกนหนวดทิ้งเสีย”นาคเสนกุมารได้สอบถามพระโรหนเถระจนเกิด ความศรัทธาต้องการบวช
จึงไปขออนุญาตต่อมานดาบิดา เมื่อมารดาบิดาไม่อนุญาต จึงนอนอดอาหาร ต่อเมื่อมารดา
บิดาอนุญาต จึงบอกพระเถระว่า “กระผมจักถือเพศอย่างท่าน ขอท่านจงสอนศิลปศาสตร์
ที่ละเอียดให้แก่กระผม”

นาคเสนกุมารบรรพชา

          พระอรหันต์ 100 โกฏิ ก็ได้ให้นาคเสนบรรพชาอยู่ที่ถ้ำรักขิตเลณะ เมื่อนาคเสนบวชแล้ว พระโรหนเถระจึงคิดว่า เราจะสอนอะไรก่อนดีหนอ นาคเสนนี้มีปัญญาดี เราควรสอนอภิธรรมปิฎกก่อน คิดดังนี้แล้ว ก็เริ่มแสดงอภิธรรมทั้ง 7 นาคเสนสามเณรก็สามารถจำได้สิ้นเชิง เมื่อคิดพิจารณาธรรมะอย่างถ้วนถี่แล้วนาคเสนสามเณรจึงได้เข้าไปกราบนมัสการพระอรหันต์ทั้งหลาย พร้อมกับกล่าวว่า “กระผมจะขอแสดงพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ ตามที่ได้เคยเรียนมาจากพระอุปัชฌาย์โดยขออธิบายความหมายให้ขยายออกไปขอรับ”
พระอรหันต์ทั้งหลายได้ฟังดังนั้นก็ดีใจจึงอนุญาตให้สามเณรแสดงได้ตามความประสงค์ สามเณรได้วิสัชนาอยู่ประมาณ 7 เดือนจึงจบ ในขณะนั้น เหตุอัศจรรย์ ต่าง ๆ ก็เกิดขึ้น เทพยดานางฟ้าทั้งหลายก็แสดงความชื่นชมยินดี พรหมทั้งหลายก็สาธุการ

นาคเสนอุปสมบท

           เมื่ออยู่นานมาจนกระทั้งนาคเสนสามเณรมีอายุครบอุปสมบทแล้ว พระอรหันต์ 100 โกฏิ ก็ให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ในเวลาเช้า พระนาคเสนครองบาตรจีวร จะเข้าไปบิณฑบาตก็นึกขึ้นว่า พระอุปัชฌาย์ของเราเห็นจะเปล่าจากคุณธรรมอื่น ๆ คงรู้แต่อ
ภิธรรมเท่านี้ อย่างอื่นคงไม่รู้ ขณะนั้นพระโรหนเถระ จึงออกมากล่าวขึ้นว่า
“นี้แน่ะ นาคเสน การนึกเธอไม่สมควรเลย เหตุไรเธอจึงนึกดูถูกเราอย่างนี้?”
ฝ่ายพระนาคเสนก็นึกอัศจรรย์ใจว่า พระอุปัชฌาย์ของเราเป็นบัณฑิตแท้ เพียงแต่เรานึกในใจก็รู้ เราจักต้องขอโทษ ครั้นคิดแล้วจึงกล่าวขึ้นว่า “ขอจงอดโทษให้กระผมด้วยเถิด กระผมจะไม่นึก
อย่างนี้อีก จะไม่ทำอย่างนี้อีก”
“นาคเสน เรายังอดโทษให้ไม่ได้ ต่อเมื่อเธอทำให้พระเจ้ามิลินท์ ผู้เสวยราชย์อยู่ในสาคลนคร
เลื่อมใสได้ ด้วยการแก้ปัญหานั้นแหละ เราจึงอดโทษให้” “เธอจงไปหา พระอัสสคุตตเถระ ถามถึงความสุขของท่าน และบอกความทุกข์สุขของเราแทนเรา แล้วอยู่ในสำนักของท่านเถิด”
ลำดับนี้ พระนาคเสนจึงอำลาพระอุปัชฌาย์ ออกเดินทางไปหาพระอัสสคุตตเถระ กราบไหว้แล้วถามถึงทุกข์สุขตามคำสั่งของพระอุปัชฌาย์ แล้วขออาศัยอยู่ พระอัสสคุตต์จึงรู้ว่า พระภิกษุองค์นี้มีปัญญา จึงคิดว่า พระนาคเสนนี้ปรารถนาจะเรียนพระไตรปิฎก เราได้สำเร็จมรรคผลก็จริงแหล่แต่ทว่าฝ่ายพระไตรปิฎกก็รู้เป็นเพียงกลางๆ ก็อย่าเลยเราจะ
กระทำกิริยา ไม่เจรจาด้วย ทำทีเหมือนจะลงพรหมทัณฑ์ด้วยภิกษุรูปนี้
ครั้นคิดได้ดังนี้แล้ว จึงได้ลงพรหมทัณฑ์คือไม่พูดกับพระนาคเสนถึง 3 เดือน แต่พระนาคเสนก็ปรนนิบัติได้ปัดกวาดบริเวณและตักน้ำใช้น้ำฉันไว้ตลอดทั้ง 3 เดือน ส่วนพระอุสสคุตต์จึงกวาดบริเวณด้วยตนเอง และล้างหน้าด้วยน้ำอื่น

พระนาคเสนแสดงธรรมเป็นธรรมเป็นครั้งแรก

          พระอัสสคุตต์นั้นอุบาสิกาคนหนึ่ง เป็นผู้อุปัฏฐากได้มานิมนต์ท่านพร้อมพระนาคเสน
ไปฉันภัตตาหารเช้าที่บ้าน พระอัสสคุตตเถระมิได้สนทนากับพระนาคเสน จนตลอด
ถึงวันปวารณาออกพรรษา เช้าวันนั้นพระเถระจำต้องเจรจากับพระนาคเสน จึงกล่าวว่าอุบาสิกา
เข้ามานิมนต์ไปฉันภัตตาหารเช้าด้วยกัน แล้วจึงพาพระนาคเสนเข้าไปฉันที่บ้านของอุบาสิกานั้น
ครั้นฉันแล้ว จึงบอกให้พระนาคเสนอนุโมทนา ส่วนตัวท่านเองขอกลับไปก่อน
ฝ่ายอุบาสิกานั้นจึงกล่าวต่อพระนาคเสนว่า “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมแก่แล้ว ขอท่านจงอนุโมทนาด้วยคาถาที่ลึกซึ้งเถิด” พระนาคเสนก็อนุโมทนาด้วยคาถาอันลึกซึ้ง เมื่อจบคำอนุโมทนาลง อุบาสิกานั้นก็ได้สำเร็จพระโสดาปัตติผล ในขณะนั้น พระอุสสคุตตเถระกำลังนั่งอยู่ที่โรงกลมกว้างใหญ่ในวิหาร ได้ทราบความเป็นไปด้วยทิพจักขุญาณ จึงสาธุการว่า “สาธุ...สาธุ...นาคเสน ในที่ประชุมทั้งสอง คือมนุษย์และเทวดา
เธอได้ทำลายให้คลายจากความสงสัย ด้วยลูกศรเพียงลูกเดียว กล่าวคือได้แสดงธรรมเพียง
ครั้งเดียว ก็ทำให้ผู้รับฟังบรรลุมรรคผลได้ สาธุ...เราขอชมสติปัญญาของเธอนี้ประเสริฐนักหนา”
พระอุสสคุตตเถระจึงกล่าวว่า “ตัวเธอมาอยู่ที่นี่นานแล้ว จงไปขอเรียนพระพุทธวจนะจาก พระธรรมรักขิต ผู้อยู่ในอโศการามด้านทิศอุดร แห่งเมืองปาตลีบุตรนครเถิด”

พระนาคเสนสำเร็จ พระอรหันต์

ฝ่ายพระธรรมรักชิตเห็นพระนาคเสนยังเป็นปุถุชนอยู่ จึงมีเถรวาจาเป็นทางจะให้รู้โดยคำอุปมาว่า “นี่แน่ะ นาคเสน ธรรมดาว่านายโคบาลได้เลี้ยงโค ไม่ได้รู้รสแห่งนมโค มีแต่ผู้อื่นได้ดื่มรสแห่งนมโคฉันใดปุถุชนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส ถึงแม้จะทรงพระไตรปิฎก ก็มิได้รู้รสแห่งสามัญผลคือมรรคผลอันควรแก่สมณะ เปรียบเหมือนกับนายโคบาล ที่รับจ้างเลี้ยงโคและรีดนมโคขาย แต่มิได้เคยลิ้มชิมรสแห่งนมโคฉันนั้น”
พระนาคเสนได้ฟังคำเช่นนั้นก็เข้าใจ จึงมีวาจาว่า “คำสั่งสอนของท่านเท่านี้พอแล้วขอรับ” ท่านกล่าวเพียงเท่านี้แล้วก็มาลาสู่อาวาส ต่อมาก็ได้พยายามเจริญสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ช้าก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ พร้อมด้วยปฎิสัมภิทาญาณ ในเวลากลางคืนอันเป็นวันที่พระธรรมขิต
ให้นัยนั้นเอง พระอรหันต์ให้ทูตไปตาม พระนาคเสน เมื่อพระนาคเสนได้สำเร็จพระอรหันต์แล้ว
พระอรหันต์ 100 โกฏิก็ไปประชุมกันที่ถ้ำรักขิตเลณะในภูเขาหิมพานต์ แล้วส่งทูต
ไปตามพระนาคเสนให้ไปแก้ปัญหากับพระเจ้ามิลินทร์ โดกล่าวเหตุผลในการนี้ว่า
“เป็นเพราะ มิลินทราชา เบียดเบียนพวกเราด้วยการไต่ถามปัญหา เธอจงไปทรมานมิลินทราชานั้นเถิด”

พระเจ้ามิลินท์ได้ยินชื่อทรงตกพระทัยกลัว

          ในคราวนั้น เทวมันติอำมาตย์ฟังข่าวเล่าลือ ซึ่งเกียรติคุณของพระนาคเสนดังแสดงมา จึงกราบทูลพระเจ้ามิลินท์ เมื่อพระเจ้ามิลินท์ได้ทรงสดับคำว่า “พระนาคเสน” เท่านี้ก็ตกพระทัยกลัว มีพระโลมาลุกชันขึ้นทันที พระองค์ต้องการจะพบพระนาคเสน เทวมันติยอำมาตย์จึงใช้ให้ทูตไปแจ้งแก่พระนาคเสนว่า พระเจ้ามิลินท์มีพระราชประสงค์จะพบเห็น เมื่อทูตไปแจ้งแก่พระเถระแล้ว พระเถระจึงตอบว่า ถ้าอย่างนั้นขอจงเสด็จมาเถิด
พระเจ้ามิลินท์เสด็จไปหาพระนาคเสน
ลำดับนั้น พระเจ้ามิลินท์ก็ห้อมล้อมด้วยบริพารชาวโยนก 500 เสด็จขึ้นทรงรถพระที่นั่ง เสด็จไปหาพระนาคเสน ส่วนพระนาคเสนกับพระภิกษุ 8 หมื่นองค์ ได้นั่งพักอยู่ที่โรงกลมกว้างใหญ่ พอพระเจ้า มิลินท์ได้ทอดพระเนตรเห็นแต่ไกล จึงตรัสถามขึ้นว่า
“บริวารเป็นอันมากนั้นของใคร?”
เทวมันติยะทูลตอบว่า “บริวารเป็นอันมมากนั้น เป็นบริวารของพระนาคเสน พระเจ้าข้า”
พอพระเจ้ามิลินท์ได้แลเห็นพระนาคเสนแต่ที่ไกลเท่านั้น ก็สะดุ้งกลัว หวาดหวั่นในพระทัย มีพระโลมาชาติชูชัน (ขนลุก) เสียแล้ว เพราะฉะนั้นพระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า พระเจ้ามิลินท์ได้ทอดพระเนตรเห็นพระนาคเสน ผู้สมบรูณ์ด้วยจรณธรรม ผู้ได้ฝึกฝนอบรมมาเป็นอันดีแล้ว จึงตรัสขึ้นว่า “เราได้พบเห็นสมณพราหมณ์และบัณฑิตมาเป็นอันมาก ได้สนทนากับคนทั้งหลายมาเป็นอันมากแล้ว ไม่เคยมีความสะดุ้งกลัวเหมือนวันนี้เลย วันนี้ความปราชัยพ่ายแพ้จักต้องมีแก่เราเป็นแน่ เพราะจิตใจของเราไม่ตั้งอยู่เป็นปกติเหมือนแต่ก่อนเลย” ดังนี้


 
Hosted by www.Geocities.ws

1