ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕

และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙ (+แก้ไข)
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑

นายรอง ปัญสังกา

รองผู้อำนวยการ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 4

 

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙
(+แก้ไข)
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑

  โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๒๕ ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วย การซื้อ การจ้าง และการจ้างที่ปรึกษา ภายใต้โครงการ ที่ดำเนินการ ด้วยเงินกู้จากต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๒๗ และระเบียบที่เกี่ยวกับการพัสดุ ให้เป็นระเบียบเดียวกัน เพื่อสะดวกในการปฏิบัติยิ่งขึ้น คณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ ดังนี้

ข้อ ๑ ระเบียบนี้ เรียกว่า "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕"
[๔#๔๑]ข้อ ๑ ระเบียบนี้ เรียกว่า "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑"
[๓#๓๙]ข้อ ๑ ระเบียบนี้ เรียกว่า "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบันที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙"
[๒#๓๘]ข้อ ๑ ระเบียบนี้ เรียกว่า "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบันที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘"

ข้อ ๒ ระเบียบนี้ ให้ใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนด หกสิบวัน นับแต่ วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
[๔#๔๑]ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนดหกสิบวัน นับแต่ วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
[๓#๓๙]ข้อ ๒ ระเบียบนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่ วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
[๒#๓๘]ข้อ ๒ ระเบียบนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๙ เป็นต้นไป

ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๒๑
(๒) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓
(๓) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๖
(๔) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๗
(๕) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๘
(๖) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๒๘
(๗) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๒๙
(๘) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๘ พ.ศ. ๒๕๓๑
(๙) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วย การซื้อ การจ้าง และการจ้างที่ปรึกษา ภายใต้โครงการที่ดำเนินการ ด้วยเงินกู้จากต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๒๗
(๑๐) ระเบียบว่าด้วย การจ้างออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๑   บรรดาระเบียบข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และคำสั่งอื่นใด ที่กำหนดไว้แล้ว ในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้ง กับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน

ข้อ ๔ ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รักษาการ ตามระเบียบนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมวด ๑ ข้อความทั่วไป

ส่วนที่ ๑ นิยาม

ข้อ ๕ ในระเบียบนี้

"การพัสดุ" หมายความว่า การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย และการดำเนินการอื่นๆ ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้

"พัสดุ" หมายความว่า พัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ที่กำหนดไว้ในหนังสือ การจำแนกประเภทรายจ่าย ตามงบประมาณ ของสำนักงบประมาณ หรือการจำแนกประเภทรายจ่าย ตามสัญญาเงินกู้จากต่างประเทศ

"การซื้อ" หมายความว่า การซื้อพัสดุทุกชนิด ทั้งที่มีการติดตั้ง ทดลอง และบริการ ที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ แต่ไม่รวมถึง การจัดหาพัสดุ ในลักษณะการจ้าง

"การจ้าง" ให้หมายความรวมถึง การจ้างทำของ และการรับขน ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ และการจ้างเหมาบริการ แต่ไม่รวมถึง การจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ ตามระเบียบของกระทรวงการคลัง การรับขน ในการเดินทางไปราชการ ตามกฏหมาย ว่าด้วยค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปราชการ การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน และการจ้างแรงงาน ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์

"การจ้างที่ปรึกษา" หมายความว่า การจ้างบริการจากที่ปรึกษา แต่ไม่รวมถึง การจ้าง ออกแบบและควบคุม งานก่อสร้างอาคาร ด้วยเงินงบประมาณ

"การจ้างออกแบบและควบคุมงาน" หมายความว่า การจ้างบริการ จากนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา ที่ประกอบธุรกิจบริการ ด้านงานออกแบบ และควบคุมงานก่อสร้างอาคาร ด้วยเงินงบประมาณ

"เงินงบประมาณ" หมายความว่า งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และเงินซึ่งส่วนราชการได้รับไว้ โดยได้รับอนุญาต จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ไม่ต้องส่งคลังตามกฏหมาย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ แต่ไม่รวมถึง เงินกู้และเงินช่วยเหลือ ตามระเบียบนี้

"เงินกู้" หมายความว่า เงินกู้ตามกฏหมาย ว่าด้วยการให้อำนาจ กระทรวงการคลัง กู้เงินจากต่างประเทศ

"เงินช่วยเหลือ" หมายความว่า เงินที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ องค์การต่างประเทศ ทั้งในระดับรัฐบาล และที่มิใช่ระดับรัฐบาล มูลนิธิหรือเอกชนต่างประเทศ

"อาคาร" หมายความว่า สิ่งปลูกสร้างถาวร ที่บุคคลอาจเข้าอยู่ หรือใช้สอยได้ เช่น อาคารที่ทำการโรงพยาบาล โรงเรียน สนามกีฬา สถานีนำร่อง หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน และรวมตลอดถึง สิ่งก่อสร้างอื่นๆ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอย สำหรับอาคารนั้นๆ เช่น เสาธง รั้ว ท่อระบายน้ำ หอถังน้ำ ถนน ประปา และสิ่งอื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของตัวอาคาร เช่น เครื่องปรับอากาศ ลิฟท์ เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ

"พัสดุที่ผลิตในประเทศ" หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตสำเร็จรูปแล้ว โดยสถานที่ผลิต ตั้งอยู่ในประเทศไทย

"กิจการของคนไทย" หมายความว่า กิจการที่เป็นของบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลสัญชาติไทย

"ที่ปรึกษา" หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ประกอบธุรกิจ หรือสามารถให้บริการ เป็นที่ปรึกษาทางวิศวกรรม สถาปัตยกรรม เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาอื่น รวมทั้งให้บริการด้านศึกษา สำรวจ ออกแบบและควบคุมงาน และการวิจัย แต่ไม่รวมถึง การให้บริการ ออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างอาคาร ด้วยเงินงบประมาณ

"ที่ปรึกษาไทย" หมายความว่า ที่ปรึกษาที่มีสัญชาติไทย และจดทะเบียนไว้กับ ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา ของกระทรวงการคลัง

"ส่วนราชการ" หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หรือในต่างประเทศ แต่ไม่รวมถึง รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฏหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่น ซึ่งมีกฏหมายบัญญัติ ให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น

"รัฐวิสาหกิจ" หมายความว่า รัฐวิสาหกิจ ตามกฏหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ

"ปลัดกระทรวง" หมายความรวมถึง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดทบวงด้วย

"หัวหน้าส่วนราชการ"
- สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง หมายความว่า อธิบดี หรือหัวหน้าส่วนราชการ ที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นนิติบุคคล
- สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค หมายความว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด

[๓#๓๙]ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า "หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ" ในข้อ ๕ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ" หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานระดับกอง หรือที่มีฐานะเทียบเท่ากอง ซึ่งปฏิบัติงาน ในสายงานที่เกี่ยวกับการพัสดุ ที่องค์กรกลางบริหารงานบุคคลกำหนด หรือข้าราชการอื่น ซึ่งได้รับแต่งตั้ง จากหัวหน้าส่วนราชการ ให้เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ แล้วแต่กรณี

[๑#๓๕]"หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ" หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานระดับกอง หรือแผนกที่ปฏิบัติงาน ในสายงานที่เกี่ยวกับการพัสดุ ตามที่ องค์กรกลางบริหารงานบุคคลกำหนด หรือข้าราชการอื่น ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการ ให้เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ แล้วแต่กรณี

"เจ้าหน้าที่พัสดุ" หมายความว่า เจ้าหน้าที่ซึ่งดำรงตำแหน่ง ที่มีหน้าที่ เกี่ยวกับการพัสดุ หรือผู้ได้รับแต่งตั้ง จากหัวหน้าส่วนราชการ ให้มีหน้าที่ หรือปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการพัสดุ ตามระเบียบนี้

"ผู้อำนวยการโครงการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้ง หรือมอบหมาย ให้มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการดำเนินการ เกี่ยวกับการพัสดุ ตามโครงการเงินกู้ หรือโครงการเงินช่วยเหลือ

[๓#๓๙] ข้อ ๔ ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า "โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ" ดังต่อไปนี้ ในข้อ ๕ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕
"โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ" หมายความว่า โรงงานที่ได้รับ การรับรองระบบคุณภาพ ตามมาตรฐานเลขที่ มอก. ๙๐๐๑ หรือ มอก. ๙๐๐๒ ในกิจการและขอบข่าย ที่ได้รับการรับรอง จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

[๔#๔๑]ข้อ ๓ ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า "ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน" "การขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม" "เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ" และ "งานก่อสร้างสาธารณูปโภค" ไว้ท้ายบทนิยามคำว่า "โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ" ในข้อ ๕ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๓๙
"ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน" หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่เข้าเสนอราคาขาย ในการซื้อพัสดุของทางราชการ หรือเข้าเสนอราคา เพื่อรับจ้างทำพัสดุ หรือเข้าเสนองาน เพื่อรับจ้างเป็นที่ปรึกษา หรือรับจ้างออกแบบและควบคุมงาน ให้แก่ส่วนราชการใด เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในกิจการของบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลอื่น ที่เข้าเสนอราคา หรือเข้าเสนองาน ให้แก่ส่วนราชการนั้น ในคราวเดียวกัน
  การมีส่วนได้เสีย ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมของ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ การที่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังกล่าว มีความสัมพันธ์กัน ในลักษณะดังต่อไปนี้
(๑) มีความสัมพันธ์กันในเชิงบริหาร โดยผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงาน ในกิจการของบุคคลธรรมดา หรือของนิติบุคคลรายหนึ่ง มีอำนาจ หรือสามารถใช้อำนาจ ในการบริหารจัดการกิจการ ของบุคคลธรรมดา หรือของนิติบุคคล อีกรายหนึ่ง หรือหลายราย ที่เสนอราคา หรือเสนองาน ให้แก่ส่วนราชการนั้น ในคราวเดียวกัน
(๒) มีความสัมพันธ์กันในเชิงทุน โดยผู้เป็นหุ้นส่วน ในห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือผู้เป็นหุ้นส่วน ไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ในบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด อีกรายหนึ่งหรือหลายราย ที่เสนอราคาหรือเสนองาน ให้แก่ส่วนราชการนั้น ในคราวเดียวกัน
  คำว่า "ผู้ถือหุ้นรายใหญ่" ให้หมายความว่า ผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้น เกินกว่าร้อยละยี่สิบห้า ในกิจการนั้น หรือในอัตราอื่น ตามที่ กวพ.เห็นสมควรประกาศกำหนด สำหรับกิจการบางประเภท หรือบางขนาด
(๓) มีความสัมพันธ์กัน ในลักษณะไขว้กันระหว่าง (๑) และ (๒) โดยผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงาน ในกิจการของบุคคลธรรมดา หรือของนิติบุคคลรายหนึ่ง เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด อีกรายหนึ่ง หรือหลายราย ที่เข้าเสนอราคาหรือเสนองาน ให้แก่ส่วนราชการนั้น ในคราวเดียวกัน หรือในนัยกลับกัน
  การดำรงตำแหน่ง การเป็นหุ้นส่วน หรือการเข้าถือหุ้น ดังกล่าวข้างต้น ของคู่สมรสหรือบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ของบุคคลใน (๑) (๒) หรือ (๓) ให้ถือว่า เป็นการดำรงตำแหน่ง การเป็นหุ้นส่วน หรือการถือหุ้น ของบุคคลดังกล่าว
  ในกรณีบุคคลใด ใช้ชื่อบุคคลอื่น เป็นผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้น โดยที่ตนเอง เป็นผู้ใช้อำนาจ ในการบริหารที่แท้จริง หรือเป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นที่แท้จริง ของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด แล้วแต่กรณี และห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าเสนอราคา หรือเสนองาน ให้แก่ส่วนราชการนั้น ในคราวเดียวกัน ให้ถือว่าผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานนั้น มีความสัมพันธ์กันตาม (๑) (๒) หรือ (๓) แล้วแต่กรณี

"การขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม" หมายความว่า การที่ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน รายหนึ่งหรือหลายราย กระทำการอย่างใดๆ อันเป็นการขัดขวาง หรือเป็นอุปสรรค หรือไม่เปิดโอกาส ให้มีการแข่งขันราคา อย่างเป็นธรรม ในการเสนอราคาหรือเสนองาน ต่อส่วนราชการ ไม่ว่าจะกระทำ โดยการสมยอมกัน หรือโดยการให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ เรียก รับ หรือยอมจะรับ เงิน หรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด หรือใช้กำลังประทุษร้าย หรือข่มขู่ว่า จะใช้กำลังประทุษร้าย หรือแสดงเอกสาร อันเป็นเท็จ หรือกระทำการใด โดยทุจริต ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะ แสวงหาประโยชน์ ในระหว่าง ผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน ด้วยกัน หรือเพื่อให้ประโยชน์ แก่ผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน รายหนึ่ง รายใด เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา กับส่วนราชการนั้น หรือเพื่อหลีกเลี่ยง การแข่งขันราคา อย่างเป็นธรรม หรือเพื่อให้เกิด ความได้เปรียบส่วนราชการ โดยมิใช่เป็นไปในทาง การประกอบธุรกิจปกติ

"เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ" หมายความว่า
คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา ตาม
ข้อ ๔๒
คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ตาม
ข้อ ๕๐
คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีคัดเลือก ตาม
ข้อ ๘๖
คณะกรรมการดำเนินการจ้าง โดยวิธีคัดเลือก ตาม
ข้อ ๑๐๓
คณะกรรมการดำเนินการจ้าง โดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด ตาม
ข้อ ๑๐๖
หรือผู้ว่าจ้าง ในกรณีการจ้างออกแบบและควบคุมงาน โดยวิธีพิเศษ ที่เป็นการว่าจ้าง โดยการประกวดแบบ ตาม
ข้อ ๑๐๗(๒)

"งานก่อสร้างสาธารณูปโภค" หมายความว่า งานก่อสร้าง ซ่อมแซม และบำรุงรักษา งานอันเกี่ยวกับ การประปา การไฟฟ้า การสื่อสาร การโทรคมนาคม การระบายน้ำ ระบบการขนส่งปิโตรเลียม โดยทางท่อ ทางหลวง ทางรถไฟ และการอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งดำเนินการ ในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน หรือเหนือพื้นดิน

ส่วนที่ ๒ การใช้บังคับและการมอบอำนาจ

ข้อ ๖ ระเบียบนี้ใช้บังคับแก่ข้าราชการ ซึ่งดำเนินการเกี่ยวการพัสดุ โดยใช้เงินงบประมาณ เงินกู้ และเงินช่วยเหลือ

[๔#๔๑]ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๗
สำหรับส่วนราชการของกระทรวงกลาโหม การกำหนดให้ ส่วนราชการระดับใด ผู้บังคับบัญชาชั้นใด ตำแหน่งใด มีอำนาจดำเนินการ ตามระเบียบนี้ ให้เป็นไป ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด และเมื่อได้กำหนดไป ประการใดแล้ว ให้แจ้งผู้รักษาการตามระเบียบ และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ทราบด้วย

[๑#๓๕]ข้อ ๗ สำหรับส่วนราชการกระทรวงกลาโหม การกำหนดให้ ส่วนราชการระดับใด ผู้บังคับบัญชาระดับใด ตำแหน่งใด มีอำนาจดำเนินการ ตามระเบียบนี้ ให้เป็นไป ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด และเมื่อได้กำหนดไป ประการใดแล้ว ให้แจ้งผู้รักษาการ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ทราบด้วย

ข้อ ๘ สำหรับส่วนราชการ ที่หัวหน้าส่วนราชการ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการ ที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวงใด ให้หัวหน้าส่วนราชการนั้น มีอำนาจในการดำเนินการ ตามระเบียบนี้ เท่ากับหัวหน้าส่วนราชการ ส่วนอำนาจที่เกินกว่านั้น ให้ผู้บังคับบัญชา ชั้นเหนือขึ้นไป เป็นผู้พิจารณา

[๓#๓๙]ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๙ ผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้ จะมอบอำนาจเป็นหนังสือ ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งใดก็ได้ โดยคำนึงถึงระดับ ตำแหน่ง หน้าที่ และความรับผิดชอบ ของผู้ที่จะได้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญ
  เมื่อมีการมอบอำนาจ ตามวรรคหนึ่ง ผู้รับมอบอำนาจ มีหน้าที่ ต้องรับมอบอำนาจนั้น และจะมอบอำนาจนั้น ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ต่อไปไม่ได้ เว้นแต่
(๑) การมอบอำนาจให้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด อาจมอบอำนาจนั้น ต่อไปได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑.๑) กรณีมอบอำนาจให้แก่ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด แจ้งให้ผู้มอบอำนาจชั้นต้น ทราบด้วย
(๑.๒) กรณีมอบอำนาจให้แก่บุคคลอื่น นอกจากที่กล่าวใน (๑.๑) จะกระทำได้ ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบ จากผู้มอบอำนาจชั้นต้นแล้ว
(๒) การมอบอำนาจ และการมอบอำนาจต่อ ตามระเบียบกระทรวงกลาโหม
  เพื่อความคล่องตัวในการจัดหา ให้หัวหน้าส่วนราชการ มอบอำนาจในการสั่งการ และดำเนินการจัดหา ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งรองลงไป เป็นลำดับ
  สำหรับโครงการเงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ ผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้ จะแต่งตั้งข้าราชการคนหนึ่ง ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการโครงการ และมอบหมายหน้าที่ ความรับผิดชอบ ในการดำเนินการ ตามระเบียบนี้ ให้เป็นการเฉพาะก็ได้
[๔#๔๑]ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในวรรคห้าของข้อ ๙ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
  ให้ผู้มอบ ส่งสำเนาหลักฐานการมอบอำนาจ ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค แล้วแต่กรณี ทราบทุกครั้ง

[๓#๓๙]  ให้ผู้มอบ ส่งสำเนาหลักฐาน การมอบอำนาจ ให้กรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลัง และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค แล้วแต่กรณี ทราบทุกครั้ง
[๑#๓๕]ข้อ ๙ ผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้ จะมอบอำนาจเป็นหนังสือ ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งใดก็ได้ โดยคำนึงถึงระดับ ตำแหน่ง หน้าที่ และความรับผิดชอบ ของผู้ที่จะได้รับมอบอำนาจ เป็นสำคัญ
  อำนาจในการดำเนินการตามระเบียบนี้ เฉพาะในกรณีของกระทรวงกลาโหม ผู้มีอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ อาจมอบอำนาจต่อไปได้ ตามระเบียบกระทรวงกลาโหม
  เพื่อความคล่องตัวในการจัดหา ให้หัวหน้าส่วนราชการ มอบอำนาจในการสั่งการ และดำเนินการจัดหา ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งรองลงไป เป็นลำดับ
   สำหรับโครงการเงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ ผู้มีอำนาจดำเนินการ ตามระเบียบนี้ จะแต่งตั้งข้าราชการคนหนึ่ง ทำหน้าที่ผู้อำนวยการโครงการ และมอบหมายหน้าที่ ความรับผิดชอบ ในการดำเนินการ ตามระเบียบนี้ ให้เป็นการเฉพาะก็ได้
  ให้ผู้มอบ ส่งสำเนาหลักฐานการมอบอำนาจ ให้กรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลัง และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค แล้วแต่กรณี ทราบทุกครั้ง

ส่วนที่ ๓ บทกำหนดโทษ

[๔#๔๑]ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๐ ผู้มีอำนาจหรือหน้าที่ดำเนินการ ตามระเบียบนี้ หรือผู้หนึ่งผู้ใด กระทำการใด โดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ หรือกระทำการ โดยมีเจตนาทุจริต หรือกระทำการ โดยปราศจากอำนาจ หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ รวมทั้งมีพฤติกรรม ที่เอื้ออำนวย แก่ผู้เข้าเสนอราคา หรือเสนองาน ให้มี
การขัดขวางการแข่งขันราคา อย่างเป็นธรรม ถือว่าผู้นั้น กระทำผิดวินัย ตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการ หรือตามกฎหมายเฉพาะ ของส่วนราชการนั้น ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑) ถ้าการกระทำ มีเจตนาทุจริต หรือเป็นเหตุให้ทางราชการ เสียหายอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการลงโทษอย่างต่ำ ปลดออกจากราชการ
(๒) ถ้าการกระทำ เป็นเหตุให้ทางราชการเสียหาย แต่ไม่ร้ายแรง ให้ลงโทษอย่างต่ำ ตัดเงินเดือน
(๓) ถ้าการกระทำ ไม่เป็นเหตุให้ทางราชการเสียหาย ให้ลงโทษภาคทัณฑ์ หรือว่ากล่าวตักเตือน โดยทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร
  การลงโทษทางวินัย ตาม (๑) หรือ (๒) ไม่เป็นเหตุให้ผู้กระทำ หลุดพ้นจากความรับผิด ในทางแพ่ง ตามกฎหมาย และระเบียบของทางราชการ ที่เกี่ยวข้อง หรือความรับผิด ทางอาญา (ถ้ามี)

[๑#๓๕]ข้อ ๑๐ ผู้มีอำนาจหน้าที่ หรือผู้ดำเนินการตามระเบียบนี้ หรือผู้หนึ่งผู้ใด กระทำการ โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ หรือกระทำการ โดยมีเจตนาทุจริต หรือกระทำการ โดยปราศจากอำนาจ หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ รวมทั้งมีพฤติกรรมที่ส่อ ให้มีการสมยอมกัน ในการเสนอราคา ถือว่าผู้นั้น กระทำผิดวินัย ตามกฏหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการ หรือตามกฏหมายเฉพาะ ของส่วนราชการนั้น ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้
[๓#๓๙]ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของข้อ ๑๐ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
[๓#๓๙](๑) ถ้าการกระทำมีเจตนาทุจริต หรือเป็นเหตุให้ทางราชการเสียหาย อย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการลงโทษ อย่างต่ำ ปลดออกจากราชการ
[๑#๓๕](๑) ถ้าการกระทำ มีเจตนาทุจริต หรือเป็นเหตุให้ทางราชการ เสียหายอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการลงโทษอย่างต่ำ ให้ออกจากราชการ
(๒) ถ้าการกระทำ เป็นเหตุให้ทางราชการเสียหาย แต่ไม่ร้ายแรง ให้ลงโทษอย่างต่ำ ตัดเงินเดือน
(๓) ถ้าการกระทำ ไม่เป็นเหตุให้ทางราชการเสียาย ให้ลงโทษภาคภัณฑ์ หรือว่ากล่าวตักเตือน โดยทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร
การลงโทษทางวินัย ตาม (๑) หรือ (๒) ไม่เป็นเหตุให้ผู้กระทำ หลุดพ้น จากความรับผิดชอบ ในทางแพ่ง ตามระเบียบ ความรับผิดชอบของข้าราชการในทางแพ่ง หรือความรับผิดชอบทางอาญา (ถ้ามี)

ส่วนที่ ๔ คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ

ข้อ ๑๑ ให้มีคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ เรียกโดยย่อว่า กวพ. ประกอบด้วย
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
ผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรี
ผู้แทนกระทรวงกลาโหม
ผู้แทนสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด
ผู้แทนสำนักงบประมาณ
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา
ผู้แทนสำนักงาน ป.ป.ป.
ผู้แทนกรมวิเทศสหการ
ผู้แทนกรมบัญชีกลาง
ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ผู้แทนสำนักงานมาตรฐานการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง ไม่เกินห้าคน เป็นกรรมการ
และให้เจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ
กับให้ กวพ. แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการ ไม่เกินสองคน
ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง มีวาระอยู่ในตำแหน่ง คราวละสองปี
ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้

ข้อ ๑๒ ให้ กวพ. มีอำนาจดังนี้
(๑) ตีความ และวินิจฉัย ปัญหา เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบ
(๒) พิจารณา การอนุมัติยกเว้น หรือผ่อนผัน การไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
(๓) พิจารณา คำร้องเรียน เกี่ยวกับการที่ส่วนราชการ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
(๔) เสนอแนะ การแก้ไขปรับปรุงระเบียบ ต่อคณะรัฐมนตรี
(๕) กำหนด แบบ หรือตัวอย่าง รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง และกำหนด แนวทาง วิธีปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้
(๖) เสนอความเห็น ต่อผู้รักษาการตามระเบียบ ในการพิจารณา และแจ้งเวียน ชื่อผู้ทิ้งงาน และการสั่งเปลี่ยนแปลง เพิกถอน ผู้ทิ้งงานของส่วนราชการ หน่วยงานตามกฏหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่น ซึ่งกฏหมายบัญญัติ ให้มีฐานะเป็น ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ
[๓#๓๙]ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความใน (๗) ของข้อ ๑๒ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๗) กำหนดอัตราร้อยละของราคา ตามข้อ ๑๖ (๖) (๗) (๘) และ (๑๑)
[๑#๓๕](๗) กำหนดอัตราร้อยละของราคา ตาม
ข้อ ๑๖ (๘) และ (๙)
(๘) กำหนดประเภทหรือชนิดของพัสดุ ที่จำเป็นต้องซื้อจากต่างประเทศ ตามข้อ ๖๘
(๙) เชิญราชการและลูกจ้าง ของส่วนราชการ หรือพนักงานและลูกจ้าง ของรัฐวิสาหกิจ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง มาสอบถาม หรือให้ข้อเท็จจริง รวมทั้งเรียกเอกสารจาก ส่วนราชการ หน่วยงานตามกฏหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่น ซึ่งมีกฏหมายบัญญัติ ให้มีฐานะเป็น ราชการบริการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อทำหน้าที่ ตามคณะกรรมการมอบหมาย
(๑๑) พิจารณาดำเนินการ ตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
[๔#๔๑]ข้อ ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๑๒) (๑๓) (๑๔) และ (๑๕) ของข้อ ๑๒ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๓๙
(๑๒) พิจารณารายงานการจ้าง ตาม
ข้อ ๘๓ วรรคสอง
(๑๓) กำหนดอัตราค่าจ้างที่ปรึกษา ตาม
ข้อ ๙๒
(๑๔) กำหนดหลักเกณฑ์ การกำหนดค่าปรับ ตาม
ข้อ ๑๓๔
(๑๕) กำหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีปฏิบัติ เพื่อให้มีการปฏิบัติตามระเบียบนี้

หมวด ๒ การจัดหา

ส่วนที่ ๑ บททั่วไป

[๓#๓๙]ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๓ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๓ หลังจากได้ทราบยอดเงิน ที่จะนำมาใช้ในการจัดหาแล้ว ให้ส่วนราชการ รีบดำเนินการ ให้เป็นไปตามแผน และตามขั้นตอน ของระเบียบนี้ ในส่วนที่ ๒ ส่วนที่ ๓ หรือ ส่วนที่ ๔ แล้วแต่กรณี เพื่อให้พร้อม ที่จะทำสัญญาได้ทันที เมื่อได้รับอนุมัติทางการเงินแล้ว
  การจัดหาโดยวิธีสอบราคา และวิธีประกวดราคา ให้ส่วนราชการวางแผน ในการจัดหา และดำเนินการ ให้เป็นไปตามแผนด้วย
[๑#๓๕]ข้อ ๑๓ หลังจากได้รวมยอดเงินที่จะนำมาใช้ในการจัดหาแล้ว ให้ส่วนราชการ รีบดำเนินการ ตามขั้นตอน ของระเบียบนี้ ใน
ส่วนที่ ๒ ส่วนที่ ๓ หรือ ส่วนที่ ๔ แล้วแต่กรณี เพื่อให้พร้อมที่จะทำสัญญาได้ทันที เมื่อได้รับอนุมัติทางการเงินแล้ว

ข้อ ๑๔ การได้มา ซึ่งพัสดุหรือบริการ นอกเหนือจากที่ระเบียบนี้ ได้กำหนดไว้ และไม่มีระเบียบ ของทางราชการ หรือกฏหมายกำหนดไว้ เป็นการเฉพาะ ให้ถือปฏิบัติโดยอนุโลม ตามวิธีการจัดหา ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ที่กำหนดไว้ ในหมวดนี้

ข้อ ๑๕ กรณีที่มีการจัดทำเอง ให้หัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้งผู้ควบคุม รับผิดชอบในการจัดทำเองนั้น และแต่งตั้งคณะกรรมการ ตรวจการปฏิบัติงาน โดยมีคุณสมบัติและหน้าที่ เช่นเดียวกับ คณะกรรมการตรวจการจ้าง เว้นแต่ส่วนราชการ ที่กำหนดให้ มีเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบโดยเฉพาะ อยู่แล้ว

[๔#๔๑]ข้อ ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นข้อ ๑๕ ทวิ ข้อ ๑๕ ตรี ข้อ ๑๕ จัตวา ข้อ ๑๕ เบญจ ข้อ ๑๕ ฉ และ ข้อ ๑๕ สัตต แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๑๕ ทวิ การจัดหาพัสดุตามระเบียบนี้ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ ในแต่ละขั้นตอน ของการจัดหา ต้องดำเนินการ โดยเปิดเผย โปร่งใส และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกัน อย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ โดยคำนึงถึง คุณสมบัติ และความสามารถ ของผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน เว้นแต่กรณี ที่มีลักษณะเฉพาะ อันเป็นข้อยกเว้น ตามที่กำหนดไว้ ในระเบียบนี้
  ในการดำเนินการ แต่ละขั้นตอน ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ ต้องมีการบันทึกหลักฐาน ในการดำเนินการ พร้อมทั้งต้องระบุเหตุผล ในการพิจารณาสั่งการ ในขั้นตอนที่สำคัญไว้ เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

ข้อ ๑๕ ตรี เพื่อเป็นการเปิดโอกาส ให้มีการแข่งขันกัน อย่างเป็นธรรม ตามข้อ ๑๕ ทวิ ให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน ที่เป็นผู้เสนอราคา ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน แต่เพียงรายเดียวเท่านั้น มีสิทธิที่จะเสนอราคา หรือเสนองาน ในการซื้อหรือการจ้างทำพัสดุ การจ้างที่ปรึกษา หรือการจ้างออกแบบ และควบคุมงาน ของทางราชการ ในแต่ละครั้ง
  ให้
เจ้าหน้าที่ ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติ ของผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน แต่ละราย ว่าเป็นผู้เสนอราคา ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ ก่อนการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน แล้วแต่กรณี และในกรณีการซื้อ หรือการจ้างทำพัสดุ โดยวิธีประกวดราคา ตามข้อ ๕๔ หรือการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีคัดเลือก ตามข้อ ๘๕ และข้อ ๘๙ ให้เจ้าหน้าที่ ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติ ของผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองานดังกล่าว ก่อนการเปิดซองข้อเสนอด้านเทคนิค ซองข้อเสนอด้านราคา หรือซองข้อเสนอทางการเงิน

ข้อ ๑๕ จัตวา ในการตรวจสอบคุณสมบัติ ของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน แต่ละราย ตามข้อ ๑๕ ตรี วรรคสอง ให้เจ้าหน้าที่กำหนดให้ ผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน ยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติ แยกมาต่างหาก โดยอย่างน้อย ต้องมีเอกสาร ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน เป็นนิติบุคคล ให้ยื่นสำเนาหนังสือรับรอง การจดทะเบียนนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ บัญชีรายชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้มีอำนาจควบคุม และบัญชีรายชื่อ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง
(๒) ในกรณีผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน เป็นบุคคลธรรมดา หรือคณะบุคคล ที่มิใช่นิติบุคคล ให้ยื่นสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้นั้น สำเนาข้อตกลง ที่แสดงถึง การเข้าเป็นหุ้นส่วน (ถ้ามี) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้เป็นหุ้นส่วน พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง
(๓) ในกรณีที่ผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน เป็นผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองานร่วมกัน ในฐานะเป็นผู้ร่วมค้า ให้ยื่นสำเนาสัญญา ของการเข้าร่วมค้า สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ร่วมค้า และในกรณีที่ ผู้เข้าร่วมค้าฝ่ายใด เป็นบุคคลธรรมดา ที่มิได้ถือสัญชาติไทย ก็ให้ยื่นสำเนาหนังสือเดินทาง หรือถ้าผู้ร่วมค้าฝ่ายใด เป็นนิติบุคคล ให้ยื่นเอกสาร ตามที่ระบุไว้ใน (๑)
(๔) เอกสารอื่น ตามที่ส่วนราชการกำหนด เช่น หนังสือแสดงฐานะทางการเงิน สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  การยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติ ตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นพร้อมกับ การยื่นซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน แล้วแต่กรณี สำหรับกรณีที่ระเบียบนี้ กำหนดให้ยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิค เพียงซองเดียว ตาม
ข้อ ๘๗(๒) ให้ผู้เสนองาน ยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติ ตามวรรคหนึ่ง มาพร้อมกับ การยื่นซองดังกล่าวด้วย
  เมื่อได้มีการตรวจสอบคุณสมบัติ ของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน แต่ละราย ตาม
ข้อ ๑๕ ตรี วรรคสอง แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ประกาศรายชื่อ ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน ที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือก ไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทำการ ของส่วนราชการ โดยพลัน และถ้าผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน อยู่ ณ สถานที่ ที่มีการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน แล้วแต่กรณี ให้เจ้าหน้าที่ แจ้งให้ผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน รายนั้น ทราบด้วย

ข้อ ๑๕ เบญจ เมื่อได้มีการตรวจสอบคุณสมบัติ ของผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน แต่ละราย ตามข้อ ๑๕ ตรี วรรคสอง แล้ว หากปรากฏว่า มีผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน เป็นผู้เสนอราคา ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ให้เจ้าหน้าที่ ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ตัดรายชื่อ ผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองานดังกล่าว ทุกราย ออกจากการเป็น ผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน ในการเสนอราคา หรือเสนองาน ในครั้งนั้น พร้อมทั้งแจ้ง ให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน รายดังกล่าว ทราบโดยพลัน
  ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน ที่ถูกตัดรายชื่อออก จากการเป็น ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน เพราะเหตุเป็น
ผู้เสนอราคา ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน อาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ต่อปลัดกระทรวง ภายใน ๓ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง พร้อมทั้งแสดง เหตุผลของการอุทธรณ์ และเอกสารที่เกี่ยวข้องมาด้วย
  ในกรณีที่มีการยื่นอุทธรณ์ ตามวรรคสอง ให้ปลัดกระทรวงพิจารณา วินิจฉัยอุทธรณ์ พร้อมทั้งแจ้ง ให้ผู้อุทธรณ์ทราบโดยพลัน การวินิจฉัยอุทธรณ์ ของปลัดกระทรวง ให้ถือเป็นที่สุด สำหรับการเสนอราคาหรือเสนองาน ในการซื้อหรือการจ้างทำพัสดุ การจ้างที่ปรึกษา หรือการจ้าง ออกแบบและควบคุมงาน ในครั้งนั้น และให้ส่ง คำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว ให้ กวพ. ทราบด้วย
  การยื่นอุทธรณ์ ตามวรรคสอง ย่อมไม่เป็นเหตุให้ มีการขยายระยะเวลา การเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองานแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่ปลัดกระทรวง พิจารณาเห็นว่า การขยายระยะเวลาดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ แก่ทางราชการอย่างยิ่ง และในกรณีที่ปลัดกระทรวง พิจารณาแล้ว เห็นด้วยกับคำคัดค้าน ของผู้อุทธรณ์ และเห็นว่าการยกเลิก การเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว จะเป็นประโยชน์ แก่ทางราชการอย่างยิ่ง ให้ปลัดกระทรวง มีอำนาจยกเลิก การเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน ดังกล่าวได้

ข้อ ๑๕ ฉ นอกจากการตรวจสอบคุณสมบัติ ของผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองานแต่ละราย ตามข้อ ๑๕ ตรี วรรคสอง และตามข้อ ๑๔๕ แล้ว หากปรากฏต่อเจ้าหน้าที่ ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติก่อน หรือในขณะที่มีการเปิดซอง สอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน ว่ามีผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน กระทำการอันเป็น การขัดขวางการแข่งขันราคา อย่างเป็นธรรม ให้เจ้าหน้าที่ ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว หากเชื่อได้ว่า มีการกระทำ อันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคา อย่างเป็นธรรม ให้เจ้าหน้าที่ ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ตัดรายชื่อ ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน ที่กระทำการดังกล่าวทุกราย ออกจากการเป็นผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน ในการซื้อหรือการจ้างทำพัสดุ การจ้างที่ปรึกษา หรือการจ้าง ออกแบบและควบคุมงาน ในครั้งนั้น เว้นแต่เจ้าหน้าที่ ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ จะวินิจฉัยว่า ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานนั้น เป็นผู้ที่ให้ความร่วมมือ เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ของทางราชการ และมิได้เป็นผู้ริเริ่ม ให้มีการกระทำดังกล่าว ตามนัยข้อ ๑๔๕ เบญจ จะไม่ตัดรายชื่อ ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานนั้น ออกจากการเป็นผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน ในการซื้อ หรือการจ้างทำพัสดุ การจ้างที่ปรึกษา หรือการจ้าง ออกแบบและควบคุมงานนั้น ก็ได้
  ให้นำความใน
ข้อ ๑๕ จัตวา วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม และผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน ที่ถูกตัดรายชื่อ ออกจากการเป็น ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน ตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิอุทธรณ์ คำสั่งของเจ้าหน้าที่ ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติได้ ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ ๑๕ เบญจ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้กับการอุทธรณ์ในกรณีนี้ โดยอนุโลม และให้หัวหน้าส่วนราชการ เสนอต่อปลัดกระทรวง เพื่อพิจารณา ให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน ที่ถูกตัดรายชื่อ ออกจากการเป็น ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน ตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้ทิ้งงาน ตามความในหมวด ๒ ส่วนที่ ๘ การลงโทษผู้ทิ้งงาน

ข้อ ๑๕ สัตต ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริง ภายหลังจากการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองานแล้ว ว่าผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน ที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือก ตามที่ได้ประกาศรายชื่อไว้ ตามข้อ ๑๕ จัตวา วรรคสาม เป็นผู้เสนอราคา ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน กับผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน รายอื่น หรือเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน ที่กระทำการอันเป็น การขัดขวางการแข่งขันราคา อย่างเป็นธรรม ให้หัวหน้าส่วนราชการ มีอำนาจที่จะตัดรายชื่อ ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน ที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกดังกล่าว ทุกราย ออกจากประกาศรายชื่อ ตามข้อ ๑๕ จัตวา วรรคสาม
  ให้หัวหน้าส่วนราชการ เสนอต่อปลัดกระทรวง เพื่อพิจารณาให้ ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน ที่ถูกตัดรายชื่อ ออกจากการเป็น ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน ตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้ทิ้งงาน ตามความใน
หมวด ๒ ส่วนที่ ๘ การลงโทษผู้ทิ้งงาน และในกรณีที่ปลัดกระทรวงพิจารณาแล้ว เห็นว่า การยกเลิก การเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว จะเป็นประโยชน์ แก่ทางราชการอย่างยิ่ง ให้ปลัดกระทรวงมีอำนาจ ยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน ดังกล่าวได้

ส่วนที่ ๒ การซื้อการจ้าง

การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศและกิจการของคนไทย

[๔#๔๑]ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๖ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๖ ให้ส่วนราชการใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศ หรือเป็นกิจการของคนไทย ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑) ห้ามกำหนดรายละเอียด หรือคุณลักษณะเฉพาะ ซึ่งอาจมีผลกีดกัน ไม่ให้ผู้ผลิตหรือผู้ขายพัสดุ ที่ผลิตในประเทศ หรือเป็นกิจการของคนไทย สามารถเข้าแข่งขันกัน ในการเสนอราคากับทางราชการ
(๒) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ มีประกาศกำหนด มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว ให้กำหนดรายละเอียด หรือคุณลักษณะเฉพาะ หรือรายการในการก่อสร้าง ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือเพื่อความสะดวก จะระบุเฉพาะ หมายเลขมาตรฐานก็ได้
(๓) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ ยังไม่มีประกาศกำหนด มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แต่มีผู้ได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้ กับกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ให้กำหนดรายละเอียด หรือคุณลักษณะเฉพาะ หรือรายการในการก่อสร้าง ให้สอดคล้องกับรายละเอียด หรือคุณลักษณะเฉพาะ ตามที่ระบุไว้ในคู่มือผู้ซื้อ หรือใบแทรกคู่มือผู้ซื้อ ที่กระทรวงอุตสาหกรรม จัดทำขึ้น
(๔) ในกรณีที่มีความจำเป็น จะต้องกำหนดรายละเอียด หรือคุณลักษณะเฉพาะ หรือรายการในการก่อสร้าง แตกต่างจากที่กำหนดไว้ใน (๒) หรือ (๓) ให้แจ้งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และเมื่อได้รับหนังสือ กระทรวงอุตสาหกรรม ตอบรับทราบ หรือไม่ทักท้วงแล้ว ให้ดำเนินการ ซื้อหรือจ้างต่อไปได้ หรือไม่รับพิจารณารายนั้น แล้วแต่กรณี
(๕) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ เป็นพัสดุที่มีผู้ได้รับใบอนุญาต แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกัน และในขณะเดียวกัน เป็นพัสดุที่มีผู้ผลิตจาก
โรงงานที่ได้รับการรับรอง ระบบคุณภาพ โดยมีผู้ผลิตตั้งแต่สามรายขึ้นไป ให้ระบุความต้องการเฉพาะพัสดุ ซึ่งแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน และผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรอง ระบบคุณภาพ ที่ทำในประเทศไทยเท่านั้น
  ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ ตามวรรคหนึ่ง เป็นพัสดุที่มีผู้ได้รับใบอนุญาต แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ประเภท ชนิด หรือขนาด เดียวกัน และในขณะเดียวกัน เป็นพัสดุที่มีผู้ผลิตจาก
โรงงานที่ได้รับการรับรอง ระบบคุณภาพ โดยมีผู้ผลิต น้อยกว่าสามราย แต่เป็นพัสดุ ที่มีผู้ได้รับใบอนุญาต แสดงเครื่องหมายมาตรฐานประเภท ชนิด หรือขนาด เดียวกัน โดยมีผู้ได้รับใบอนุญาต ตั้งแต่สามรายขึ้นไป หรือเป็นพัสดุ ที่มีผู้ผลิต จากโรงงานที่ได้รับการรับรอง ระบบคุณภาพ โดยมีผู้ผลิต ตั้งแต่สามรายขึ้นไป ให้ส่วนราชการ ระบุความต้องการ เฉพาะพัสดุ ซึ่งแสดงเครื่องหมาย มาตรฐาน หรือพัสดุที่ผลิต จากโรงงานที่ได้รับการรับรอง ระบบคุณภาพ ที่ทำในประเทศไทย และให้ดำเนินการตาม (๖)
(๖) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ เป็นพัสดุที่มีผู้ได้รับใบอนุญาต แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ประเภท ชนิด หรือขนาด เดียวกัน ตั้งแต่สามรายขึ้นไป ให้ระบุความต้องการเฉพาะพัสดุ ซึ่งแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ที่ทำในประเทศไทยเท่านั้น
  ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ เป็นพัสดุที่มีผู้ผลิต จาก
โรงงานที่ได้รับการรับรอง ระบบคุณภาพ ตั้งแต่สามรายขึ้นไป ให้ระบุความต้องการเฉพาะพัสดุ ซึ่งผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรอง ระบบคุณภาพ ที่ทำในประเทศไทยเท่านั้น
  การซื้อหรือการจ้างในกรณีนี้ นอกจากการจ้างก่อสร้าง หากมีผู้เสนอราคาพัสดุ ที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน และในขณะเดียวกัน เป็นพัสดุที่มีผู้ผลิตจาก
โรงงานที่ได้รับการรับรอง ระบบคุณภาพ เสนอราคาสูงกว่า ราคาต่ำสุด ของผู้เสนอราคารายอื่น ไม่เกินร้อยละห้า ให้ต่อรองราคาผู้เสนอราคาพัสดุ ที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน และผลิตจาก โรงงานที่ได้รับการรับรอง ระบบคุณภาพ รายที่เสนอราคาต่ำสุด หากต่อรองราคาแล้ว ราคาที่ลดลงสูงกว่า ราคาต่ำสุด ไม่เกินร้อยละสาม หรืออัตราที่ กวพ. กำหนด ตามข้อ ๑๒(๗) ให้ซื้อหรือจ้าง จากผู้เสนอราคารายนั้น
(๗) ในกรณีพัสดุ ที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ ตาม (๕) หรือ (๖) เป็นพัสดุที่มีผู้ได้รับใบอนุญาต แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกัน และในขณะเดียวกัน เป็นพัสดุที่ผลิตจาก
โรงงานที่ได้รับการรับรอง ระบบคุณภาพ น้อยกว่าสามราย หรือเป็นพัสดุ ที่มีผู้ได้รับใบอนุญาต แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ประเภท ชนิด หรือขนาด เดียวกัน โดยมีผู้ได้รับใบอนุญาต น้อยกว่าสามราย หรือเป็นพัสดุ ที่มีผู้ผลิตจาก โรงงานที่ได้รับการรับรอง ระบบคุณภาพ โดยมีผู้ผลิต น้อยกว่าสามราย ให้ระบุความต้องการ เฉพาะพัสดุที่ทำในประเทศไทย
  การซื้อหรือการจ้าง ในกรณีนี้ นอกจากการจ้างก่อสร้าง หากมีผู้เสนอราคาพัสดุ ที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน และในขณะเดียวกัน เป็นพัสดุที่ผลิตจาก
โรงงานที่ได้รับการรับรอง ระบบคุณภาพ หรือมีผู้เสนอราคาพัสดุ ที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือมีผู้เสนอราคาพัสดุ ที่ผลิตจาก โรงงานที่ได้รับการรับรอง ระบบคุณภาพ ให้ดำเนินการต่อรองราคา ดังนี้
(ก) ให้เรียกผู้เสนอราคาพัสดุ ที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน และในขณะเดียวกัน เป็นพัสดุที่ผลิตจาก
โรงงานที่ได้รับการรับรอง ระบบคุณภาพ รายที่เสนอราคาสูงกว่า ราคาต่ำสุด ของผู้เสนอราคารายอื่น ไม่เกินร้อยละสิบ มาต่อรองราคา ทั้งนี้ ให้เรียกผู้เสนอราคา รายที่เสนอราคาต่ำสุด มาต่อรองราคาก่อน หากต่อรองราคาแล้ว ราคาที่ลดลง สูงกว่าราคาต่ำสุด ของผู้เสนอราคารายอื่น ไม่เกินร้อยละเจ็ด หรืออัตราที่ กวพ. กำหนด ตามข้อ ๑๒(๗) ให้ซื้อหรือจ้าง จากผู้เสนอราคารายนั้น หากต่อรองราคาแล้ว ไม่ได้ผล ให้เรียกผู้เสนอราคาพัสดุ ที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน และผลิตจาก โรงงานที่ได้รับการรับรอง ระบบคุณภาพ รายที่เสนอราคาต่ำสุด ลำดับถัดไป มาต่อรองราคา หากต่อรองราคาแล้ว ราคาที่ลดลง สูงกว่าราคาต่ำสุด ของผู้เสนอราคารายอื่น ไม่เกินร้อยละเจ็ด หรืออัตราที่ กวพ. กำหนด ตามข้อ ๑๒(๗) ให้ซื้อหรือจ้าง จากผู้เสนอราคารายนั้น
(ข) หากดำเนินการตาม (ก) แล้วไม่ได้ผล ให้เรียกผู้เสนอราคาพัสดุ ที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือผู้เสนอราคาพัสดุ ที่ผลิตจาก
โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ รายที่เสนอราคาสูงกว่า ราคาต่ำสุด ของผู้เสนอราคารายอื่น ไม่เกินร้อยละเจ็ด มาต่อรองราคา หากต่อรองราคาแล้ว ราคาที่ลดลง สูงกว่าราคาต่ำสุด ของผู้เสนอราคารายอื่น ไม่เกินร้อยละห้า หรืออัตราที่ กวพ. กำหนด ตามข้อ ๑๒(๗) ให้ซื้อหรือจ้าง จากผู้เสนอราคารายนั้น
(๘) ในกรณีพัสดุ ที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ มีผู้ได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้ กับกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ให้ระบุความต้องการ เฉพาะพัสดุ ที่ทำในประเทศไทย
  การซื้อหรือการจ้างในกรณีนี้ นอกจากการจ้างก่อสร้าง หากมีผู้เสนอราคาพัสดุ ที่ได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้ กับกระทรวงอุตสาหกรรม เสนอราคา สูงกว่าราคาต่ำสุด ของผู้เข้าแข่งขันรายอื่น ไม่เกินร้อยละเจ็ด ให้ต่อรองราคา ผู้เสนอราคาพัสดุ ที่ได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้ กับกระทรวงอุตสาหกรรม รายที่เสนอราคาต่ำสุด หากต่อรองราคาแล้ว ราคาที่ลดลง สูงกว่า ราคาต่ำสุด ไม่เกินร้อยละห้า หรืออัตราที่ กวพ. กำหนด ตาม
ข้อ ๑๒(๗) ให้ซื้อหรือจ้าง จากผู้เสนอราคา รายนั้น
(๙) การดำเนินการตาม (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) ให้ถือตามที่ปรากฏ ในบัญชีคู่มือผู้ซื้อ หรือใบแทรกคู่มือผู้ซื้อ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำขึ้น ถึงเดือนก่อนหน้า ที่จะประกาศซื้อหรือจ้าง
  ถ้ามีผู้เสนอราคาพัสดุ ที่อยู่ระหว่างขอการรับรอง ระบบคุณภาพ หรือการขอรับใบอนุญาต แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือการขอจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้ กับกระทรวงอุตสาหกรรม โดยแนบใบรับ มาพร้อมกับใบเสนอราคา หากพัสดุนั้น ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ หรือใบอนุญาต แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้ กับกระทรวงอุตสาหกรรม ภายใน ๑๐ วันทำการ นับจากวันถัดจากวันเสนอราคา แต่ทั้งนี้ จะต้องก่อนการพิจารณาตัดสินราคา ของคณะกรรมการ ให้ถือเสมือนเป็นผู้เสนอราคาพัสดุ ที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ หรือได้รับใบอนุญาต แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือได้รับ การจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้ กับกระทรวงอุตสาหกรรม แล้วแต่กรณี
(๑๐) ในกรณีที่ได้ดำเนินการ ตาม (๒) (๓) (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) แล้ว แต่ไม่สามารถซื้อหรือจ้างได้ ให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างต่อไปได้ หรือไม่รับพิจารณารายนั้น แล้วแต่กรณี
(๑๑) การซื้อและการจ้าง นอกจากที่กล่าวใน (๒) (๓) (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) แต่ไม่รวมถึงการจ้างก่อสร้าง ให้กำหนดเงื่อนไข ให้ผู้เสนอราคา ระบุแหล่งกำเนิด หรือประเทศที่ผลิตด้วย ในกรณีที่ผู้เสนอราคาผลิตภัณฑ์ ที่มีแหล่งกำเนิด หรือผลิตในประเทศไทย หรือเป็นกิจการของคนไทย เสนอราคาสูงกว่า พัสดุที่มิได้มีแหล่งกำเนิด หรือผลิตในประเทศไทย หรือมิได้เป็นกิจการของคนไทย ไม่เกินร้อยละห้า ของผู้เสนอราคารายต่ำสุด ให้ต่อรองราคา ของผู้เสนอราคาพัสดุ ที่มีแหล่งกำเนิด หรือผลิตในประเทศไทย หรือเป็นกิจการของคนไทย รายที่เสนอถูกต้อง ตามเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งมีคุณสมบัติ เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ และเสนอราคาต่ำสุด หากต่อรองราคาแล้ว ราคาที่ลดลง สูงกว่า ราคาต่ำสุด ไม่เกินร้อยละสาม หรืออัตราที่ กวพ. กำหนด ตาม
ข้อ ๑๒(๗) ให้ซื้อหรือจ้าง จากผู้เสนอราคารายนั้น
(๑๒) การเปรียบเทียบราคา ให้พิจารณาราคา ที่อยู่ในฐานเดียวกัน โดยให้พิจารณา ราคารวมภาษี ราคาแยกภาษี หรือราคายกเว้นภาษี ตามหลักเกณฑ์ ที่ได้ประกาศให้ผู้เสนอราคาทราบ แล้วแต่กรณี
(๑๓) ราคาที่ซื้อหรือจ้าง ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับวิธีซื้อหรือวิธีจ้างแต่ละวิธี เว้นแต่จะเข้าหลักเกณฑ์ ตาม (๖) (๗) (๘) หรือ (๑๑)
  การซื้อหรือการจ้าง ที่ดำเนินการ ด้วยเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ ซึ่งไม่สามารถเจรจา กับแหล่งเงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ เพื่อกำหนดเงื่อนไข ตามวรรคหนึ่งได้ ให้ส่วนราชการ ส่งเสริมพัสดุที่ผลิตในประเทศไทย หรือเป็นกิจการของคนไทย ให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้
  ในกรณีที่พัสดุใด ผลิตได้ไม่เพียงพอ ต่อความต้องการในประเทศ ให้ กวพ. มีอำนาจ ยกเว้น การส่งเสริมพัสดุ ประเภท หรือชนิด ดังกล่าวได้ ตามความเหมาะสม และจำเป็น
  ผู้ได้รับใบอนุญาต แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ประเภท ชนิด หรือขนาด เดียวกัน หรือผู้ผลิตจาก
โรงงานที่ได้รับการรับรอง ระบบคุณภาพ ตาม (๕) (๖) หรือ (๗) แต่ละราย ถ้ามีลักษณะที่ เป็นการมีส่วนได้เสีย ไม่ว่าโดย ทางตรงหรือทางอ้อม ตามนัยของบทนิยาม "ผู้เสนอราคา ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน" ให้นับผู้ได้รับใบอนุญาต แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือผู้ผลิตดังกล่าว เป็นหนึ่งรายเท่านั้น
[๓#๓๙]ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๖ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
[๓#๓๙]ข้อ ๑๖ ให้ส่วนราชการ ใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศ และกิจการของคนไทย ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑) ห้ามกำหนด รายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะ ซึ่งอาจมีผลกีดกันไม่ให้ ผู้ผลิตหรือผู้ขายพัสดุ ที่ผลิตในประเทศ หรือกิจการของคนไทย สามารถเข้าแข่งขัน ในการเสนอราคากับทางราชการ
(๒) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ มีประกาศ กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว ให้กำหนดรายละเอียด หรือคุณลักษณะเฉพาะ หรือรายการในการก่อสร้าง ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือเพื่อความสะดวก จะระบุเฉพาะหมายเลขมาตรฐานก็ได้
(๓) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ ยังไม่มีประกาศ กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แต่มีผู้ได้รับการจดทะเบียน ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ให้กำหนดรายละเอียด หรือคุณลักษณะเฉพาะ หรือรายการในการก่อสร้าง ให้สอดคล้องกับรายละเอียด หรือคุณลักษณะเฉพาะ ตามที่ได้ระบุไว้ในคู่มือผู้ซื้อ หรือใบแทรกคู่มือผู้ซื้อ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำขึ้น
(๔) ในกรณีที่มีความจำเป็น จะต้องกำหนดรายละเอียด หรือลักษณะเฉพาะ หรือรายการในการก่อสร้าง แตกต่างจากที่กำหนดไว้ใน (๒) หรือ (๓) ให้แจ้ง สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และเมื่อได้รับหนังสือ กระทรวงอุตสาหกรรม ตอบรับทราบ หรือไม่ทักท้วงแล้ว ให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างต่อไปได้ หรือไม่รับพิจารณารายนั้น แล้วแต่กรณี
(๕) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ มีผู้ได้รับใบอนุญาต แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกัน และพัสดุที่ผลิตจากโรงงาน ที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ ตั้งแต่สามรายการขึ้นไป ให้ระบุความต้องการ เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ทำในประเทศไทย ซึ่งแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน และผลิตจากโรงงาน ที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ เท่านั้น
(๖) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ มีผู้ได้รับใบอนุญาต แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ประเภท ชนิด หรือขนาดเดีนวกัน ตั้งแต่สามรายการขึ้นไป ให้ระบุความต้องการ เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ทำในประเทศไทย ซึ่งแสดงเครื่องหมายมาตรฐานเท่านั้น
ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ เป็นพัสดุที่มีผู้ผลิตจากโรงงานที่ได้รับรองระบบคุณภาพ ตั้งแต่สามรายการขึ้นไป ให้ระบุความต้องการเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ทำในประเทศไทย ซึ่งผลิตจากโรงงาน ที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพเท่านั้น
การซื้อหรือการจ้างในกรณีนี้ นอกจากการจ้างก่อสร้าง หากมีผู้เสนอราคาผลิตภัณฑ์แสดงเครื่องมาตรฐาน และผลิตจากโรงงาน ที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ เสนอราคาสูงกว่า ราคาต่ำสุด ของผู้เข้าแข่งขันรายอื่น ไม่เกินร้อยละห้า ให้ต่อรองราคา ผู้เสนอผลิตภัณฑ์แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน และผลิตจากโรงงาน ที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ รายที่เสนอราคาต่ำสุด หากต่อรองแล้ว ราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุด ไม่เกินร้อยละสาม หรืออัตราที่ กวพ. กำหนดตามข้อ ๑๒ (๗) ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น
(๗) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ เป็นพัสดุที่มีผู้ผลิตน้อยกว่าที่กำหนดไว้ตาม (๖) ให้ระบุความต้องการเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ทำในประเทศไทย ซึ่งแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ
การซื้อหรือการจ้างในกรณีนี้ นอกจากการจ้างก่อสร้าง หากมีผู้เสนอราคาผลิตภัณฑ์แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน และ / หรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ เสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เข้าแข่งขันรายอื่นไม่เกินร้อยละสิบ ให้ต่อรองราคาผู้เสนอราคาผลิตภัณฑ์แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ รายที่เสนอต่ำสุด หากต่อรองแล้วราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุดไม่เกินร้อยละเจ็ด หรืออัตราที่ กวพ. กำหนดตามข้อ ๑๒ (๗) ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น
(๘) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ มีผู้ได้รับการจดทะเบียนไว้ กับกกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ให้ระบุความต้องการ เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ทำในประเทศไทย
การซื้อหรือการจ้างในกรณีนี้ นอกจากจ้างก่อสร้าง หากมีผู้เสนอราคา ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้ กับกระทรวงอุตสาหกรรม เสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุด ของผู้เข้าแข่งขันรายอื่น ไม่เกินร้อยละเจ็ด ให้ต่อรองราคาผู้เสนอราคาผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้ กับกระทรวงอุตสาหกรรม ที่เสนอราคาต่ำสุด หากต่อรองแล้ว ราคาที่ลดลง สูงกว่าราคาต่ำสุด ไม่เกินร้อยละห้า หรือ กวพ. กำหนดตามข้อ ๑๒ (๗) ให้ซื้อหรือจ้าง จากผู้เสนอราคารายนั้น
(๙) การดำเนินการตาม (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) ให้ถือตามที่ปรากฏในบัญชีคู่มือผู้ซื้อ หรือใบแทรกคู่มือผู้ซื้อ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำขึ้น ถึงเดือนก่อนหน้า ที่จะประกาศซื้อหรือจ้าง
ถ้าหากมีผู้เสนอราคาผลิตภัณฑ์ ที่อยู่ในระหว่างการขอการรับรองระบบคุณภาพ หรือการขอรับใบอนุญาต แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือการขอจดทะเบียนไว้ กับกระทรวงอุตสาหกรรม โดยแนบใบรับ มาพร้อมกับใบเสนอราคา หากผลิตภัณฑ์นั้น ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ หรือใบอนุญาต แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือได้รับการจดทะเบียนไว้ กับกระทรวงอุตสาหกรรม ภายใน ๑๐ วันทำการ นับจากวัน ถัดจากวันเสนอราคา แต่ทั้งนี้จะต้อง ก่อนการพิจารณาตัดสินราคา ของคณะกรรมการ ให้ถือเสมือน ผู้เสนอราคาผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ หรือได้รับใบอนุญาต แสดงเครื่องมาตรฐาน หรือได้รับการจดทะเบียนไว้ กับกระทรวงอุตสาหกรรม แล้วแต่กรณี
(๑๐) ในกรณีได้ดำเนินการตาม (๒) (๓) (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) แล้วแต่ไม่สมารถซื้อหรือจ้างได้ ให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างต่อไปได้ หรือไม่พิจารณารายนั้นแล้วแต่กรณี
(๑๑) การซื้อและการจ้างนอกจากที่กล่าวใน (๒) (๓) (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) แต่ไม่รวมถึงการจ้างก่อสร้าง ให้กำหนดเงื่อนไขให้ผู้เสนอราคา ระบุแหล่งกำเนิดหรือประเทศที่ผลิตด้วย ในกรณีที่ผู้เสนอราคาผลิตภัณฑ์ ที่มีแหล่งกำเนิด หรือผลิตในประเทศไทย หรือกิจการของคนไทย เสนอราคาสูงกว่า ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่มีแหล่งกำเนิด หรือไม่ได้ผลิตในประเทศไทย หรือกิจการที่ไม่ใช่ของคนไทย ไม่เกินร้อยละห้า ให้ต่อรองราคา ของผู้เสนอราคาผลิตภัณฑ์ ที่มีแหล่งกำเนิด หรือผลิตในประเทศไทย หรือกิจการของคนไทย รายที่เสนอถูกต้อง ตามเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นประโยชนต่อทางราชการ และเสนอราคาต่ำสุด หากต่อรองราคาแล้ว ราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุด ไม่เกินร้อยละสาม หรืออัตราที่ กวพ. กำหนด ตามข้อ ๑๒ (๗) ให้ซื้อหรือจ้าง จากผู้เสนอราคารายนั้น
(๑๒) การเปรียบเทียบราคา ให้พิจารณาราคาที่อยู่ในฐานเดียวกัน โดยให้พิจารณาราคารวมภาษี ราคาแยกภาษี หรือราคายกเว้นภาษี ตามหลักเกณฑ์ ที่ได้ประกาศให้ผู้เสนอราคาทราบ แล้วแต่กรณี
(๑๓) ราคาที่ซื้อหรือจ้าง ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดสำหรับ วิธีซื้อหรือวิธีจ้าง แต่ละวิธี เว้นแต่จะเข้าหลักเกณฑ์ตาม (๖) (๗) (๘) หรือ (๑๑)
การซื้อหรือการจ้าง ที่ดำเนินการด้วยเงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ ซึ่งไม่สามารถเจรจากับแหล่งเงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ กำหนดเงื่อนไข ตามวรรคหนึ่งได้ ให้ส่วนราชการ ส่งเสริมพัสดุที่ผลิตในประเทศ หรือกิจการของคนไทย ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ในกรณีพัสดุใด ผลิตได้ไม่เพียงพอ ต่อความต้องการในประเทศ ให้ กวพ. มีอำนาจยกเว้น การส่งเสริมพัสดุประเภท หรือชนิดดังกล่าวได้ ตามความเหมาะสมและจำเป็น

[๑#๓๕]ข้อ ๑๖ ให้ส่วนราชการ ใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศ และกิจการของคนไทย ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑) ห้ามกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะ ซึ่งอาจมีผลกีดกัน ไม่ให้ผู้ผลิตหรือผู้ขายพัสดุ ที่ผลิตในประเทศ หรือกิจการของคนไทย สามารถเข้าแข่งขันในการเสนอราคากับทางราชการ
(๒) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ มีประกาศกำหนด มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว ให้กำหนดรายละเอียด หรือคุณลักษณะเฉพาะ หรือรายการในการก่อสร้าง ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือเพื่อความสะดวก จะระบุเฉพาะหมายเลขมาตรฐานก็ได้ และหากมีผู้ได้รับใบอนุญาต แสดงเครื่องหมายมาตรฐานประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกัน ตั้งแต่สามรายขึ้นไป ให้ระบุความต้องการเฉพาะผลิตภัณฑ์ ที่ทำในประเทศไทย ซึ่งแสดงเครื่องหมายมาตรฐานเท่านั้น
(๓) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ ยังไม่มีประกาศกำหนด มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แต่มีผู้ได้รับการจดทะเบียนไว้ กับกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ให้กำหนดรายละเอียด หรือคุณลักษณะเฉพาะ หรือรายการในการก่อสร้าง ให้สอดคล้องกับรายละเอียด หรือคุณลักษณะเฉพาะ ตามที่ได้ระบุไว้ในคู่มือผู้ซื้อ หรือใบแทรกคู่มือผู้ซื้อ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำขึ้น
(๔) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ มีประกาศกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว แต่มีผู้ได้รับใบอนุญาต ให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานไม่ถึงสามราย และหรือมีผู้ได้รับการจดทะเบียนไว้ กับกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ให้กำหนดรายละเอียด หรือคณลักษณะเฉพาะ หรือรายการในการก่อสร้าง ตาม (๒) หรือ (๓) และระบุความต้องการ เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ทำในประเทศไทย
(๕) การกำหนดรายละเอียด หรือคุณลักษณะเฉพาะหรือรายการในการก่อสร้าง ตาม (๒) (๓) หรือ (๔) ให้ถือตามที่ปรากฏ ในบัญชีคู่มือผู้ซื้อ หรือใบแทรกคู่มือผู้ซื้อ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำขึ้น ถึงเดือนก่อนหน้า ที่จะประกาศซื้อหรือจ้าง
(๖) ในกรณีที่มีความจำเป็นพิเศษ ที่จะต้องกำหนดรายละเอียด หรือคุณลักษณะเฉพาะ หรือรายการในการก่อสร้าง แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ใน (๒) (๓) หรือ (๔) แต่ไม่สามารถซื้อหรือจ้างได้ หรือมีหลักฐานปรากฏชัดว่าหากซื้อหรือจ้างแล้ว จะเกิดความเสียหายแก่ราชการ ให้แจ้งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และเมื่อได้รับหนังสือกระทรวงอุตสาหกรรม ตอบรับทราบหรือไม่ทักท้วงแล้ว ให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างต่อไปได้ หรือไม่รับพิจารณารายนั้น แล้วแต่กรณี
(๗) การซื้อหรือจ้างตาม (๒) (๓) หรือ (๔) ถ้ามีผู้เสนอราคาผลิตภัณฑ์ ที่อยู่ในระหว่างการขอรับใบอนุญาต แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือการขอจดทะเบียนไว้ กับกระทรวงอุตสาหกรรม โดยแนบใบรับมาพร้อมกับใบเสนอราคา หากผลิตภัณฑ์นั้น ได้รับใบอนุญาต แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือได้รับการจดทะเบียนไว้ กับกระทรวงอุตสาหกรรม ภายใน ๑๐ วันทำการ นับจากวัน ถัดจากวันเสนอราคา แต่ทั้งนี้จะต้อง ก่อนการพิจารณาตัดสินราคา ของคณะกรรมการ ให้ถือเสมือน เป็นผู้เสนอราคาผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องมาตรฐาน หรือได้รับการจดทะเบียนไว้ กับกระทรวงอุตสาหกรรม แล้วแต่กรณี
(๘) การซื้อหรือจ้างตาม (๓) หรือ (๔) นอกจากการจ้างก่อสร้าง ในกรณีที่มีผู้เสนอราคา ผลิตภัณฑ์แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้ กับกระทรวงอุตสาหกรรม เสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุด ของผู้เข้าแข่งขันรายอื่น ไม่เกินร้อยละสิบห้า ให้ต่อรองราคาผู้เสนอราคาผลิตภัณฑ์ ที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้ กับกระทรวงอุตสาหกรรม รายที่เสนอราคาต่ำสุด หากต่อรองแล้ว ราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุด ไม่เกินร้อยละสิบ หรืออัตราที่ กวพ. กำหนดตาม
ข้อ ๑๒ (๗) ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น
(๙) การซื้อและการจ้างนอกจากที่กล่าวใน (๒) (๓) หรือ (๔) แต่ไม่รวมถึงการจ้างก่อสร้าง ให้กำหนดเงื่อนไข ให้ผู้เสนอราคา ระบุแหล่งกำเนิด หรือประเทศที่ผลิตด้วย ในกรณีที่ผู้เสนอราคาผลิตภัณฑ์ ที่มีแหล่งกำเนิด หรือผลิตในประเทศไทย หรือกิจการของคนไทย เสนอราคาสูงกว่าผลิตภัณฑ์ ที่ไม่ใช่มีแหล่งกำเนิด หรือไม่ได้ผลิตในประเทศไทย หรือกิจการที่ไม่ใช่ของคนไทย ไม่เกินร้อยละห้า ให้ต่อรองราคา ของผู้เสนอราคาผลิตภัณฑ์ ที่มีแหล่งกำเนิด หรือผลิตในประเทศไทย หรือกิจการของคนไทย รายที่เสนอถูกต้อง ตามเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ และเสนอราคาต่ำสุด หากต่อรองราคาแล้ว ราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุด ไม่เกินร้อยละสาม หรืออัตราที่ กวพ. กำหนด ตามข้อ ๑๒ (๗) ให้ซื้อหรือจ้าง จากผู้เสนอราคารายนั้น
(๑๐) การเปรียบเทียบราคา ให้พิจารณาราคาที่อยู่ในฐานเดียวกัน โดยให้พิจารณาราคารวมภาษี ราคาแยกภาษี หรือราคายกเว้นภาษี ตามหลักเกณฑ์ ที่ได้ประกาศให้ผู้เสนอราคาทราบ แล้วแต่กรณี
(๑๑) ราคาที่ซื้อหรือจ้าง ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดสำหรับวิธีซื้อหรือวิธีจ้างแต่ละวิธี เว้นแต่จะเข้าหลักเกณฑ์ตาม (๘) หรือ (๙)
  การซื้อหรือการจ้าง ที่ดำเนินการด้วยเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ ซึ่งไม่สามารถเจรจากับแหล่งเงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ กำหนดเงื่อนไขตามวรรคหนึ่งได้ ให้ส่วนราชการ ส่งเสริมพัสดุที่ผลิตในประเทศ หรือกิจการของคนไทย ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  ในกรณีพัสดุใดผลิตได้ไม่เพียงพอ ต่อความต้องการในประเทศ ให้ กวพ. มีอำนาจยกเว้น การส่งเสริมพัสดุประเภทหรือชนิดดังกล่าวได้ ตามความเหมาะสมและจำเป็น

ข้อ ๑๗ ให้ส่วนราชการดังต่อไปนี้ มีหน้าที่ควบคุมดูแลและสนับสนุน ให้มีการปฏิบัติ ตามข้อ ๑๖
(๑) กระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่
(๑.๑) พิจารณาคำขอรับใบอนุญาต แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน คำขอรับใบอนุญาต ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่มีพระราชกฤษฏีกากำหนด ให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน และคำขอจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ในระหว่างที่ยังพิจารณาคำขอ ตามวรรคหนึ่ง ไม่แล้วเสร็จ ให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นคำขอ เพื่อใช้เป็นหลักฐาน กับส่วนราชการ ผู้ดำเนินการซื้อหรือจ้าง
(๑.๒) จัดทำบัญชีคู่มือผู้ซื้อ ปีละหนึ่งครั้ง และใบแทรกคู่มือผู้ซื้อ ระบุรายชื่อ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่ประกาศกำหนดใหม่ และบัญชีรายชื่อ ผลิตภัณฑ์รายใหม่ ที่ได้ผ่านการพิจารณาตาม (๑.๑) เดือนละหนึ่งครั้ง เผยแพร่แก่ราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐ ที่เรียกชื่ออย่างอื่น เป็นประจำ
[๓#๓๙]ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกความใน (๑.๓) ของข้อ ๑๗(๑) แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑.๓) ตรวจสอบความจำเป็นพิเศษ ของส่วนราชการ ตามข้อ ๑๖ (๔) หากเป็นกรณีที่ไม่สมควร ให้ทักท้วง มิฉะนั้น ให้ตอบรับทราบ ทั้งนี้ ภายในสิบวันทำการ นับจากวันที่ได้รับแจ้ง
[๑#๓๕](๑.๓) ตรวจสอบความจำเป็นพิเศษ ของส่วนราชการ ตาม
ข้อ ๑๖ (๖) หากเป็นกรณีที่ไม่สมควร ให้ทักท้วง มิฉะนั้นให้ตอบรับทราบ ทั้งนี้ ภายในสิบวันทำการ นับจากวันที่ได้รับแจ้ง
(๒) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน มีหน้าที่สอดส่อง มิให้มีการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติ ตามข้อ ๑๖ หากพบการหลีกเลี่ยง ให้รายงานผู้บังคับบัญชา ชั้นเหนือขึ้นไป เพื่อดำเนินการทางวินัย แก่ผู้หลีกเลี่ยง และแจ้งให้ผู้รักษาการตามระเบียบ ทราบ

วิธีซื้อและวิธีจ้าง

ข้อ ๑๘ การซื้อหรือการจ้างกระทำได้ ๕ วิธี คือ
(๑) วิธีตกลงราคา
(๒) วิธีสอบราคา
(๓) วิธีประกวดราคา
(๔) วิธีพิเศษ
(๕) วิธีกรณีพิเศษ

[๒#๓๘]ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๙ ข้อ ๒๐ และ ข้อ ๒๑ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๙
การซื้อหรือการจ้าง โดยวิธีตกลงราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
[๑#๓๕]ข้อ ๑๙ การซื้อหรือการจ้าง โดยวิธีตกลงราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท

ข้อ ๒๐ การซื้อหรือการจ้าง โดยวิธีสอบราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาเกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท
[๑#๓๕]ข้อ ๒๐ การซื้อหรือการจ้าง โดยวิธีสอบราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาเกิน ๕๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท

ข้อ ๒๑ การซื้อหรือการจ้าง โดยวิธีประกวดราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาเกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท
[๑#๓๕]ข้อ ๒๑ การซื้อหรือการจ้าง โดยวิธีประกวดราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาเกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท

ข้อ ๒๒ การซื้อหรือการจ้าง ตามข้อ ๑๙ และข้อ ๒๐ ถ้าผู้สั่งซื้อหรือสั่งจ้าง เห็นสมควร จะสั่งให้กระทำ โดยวิธีที่กำหนดไว้ สำหรับวงเงินที่สูงกว่าก็ได้
  การแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้าง โดยลดวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ในครั้งเดียวกัน เพื่อให้วงเงิน ต่ำกว่าที่กำหนด โดยวิธีหนี่งวิธีใด หรือเพื่อให้อำนาจสั่งซื้อสั่งจ้าง เปลี่ยนไป จะกระทำมิได้
  การซื้อหรือการจ้าง ซึ่งดำเนินการด้วยเงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ ผู้สั่งซื้อ หรือสั่งจ้าง จะสั่งให้กระทำตามวงเงิน ที่สัญญาเงินกู้เงินช่วยเหลือกำหนด ก็ได้

[๓#๓๙]ข้อ ๑๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๓ และข้อ ๒๔ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๒๓
การซื้อโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาเกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้กระทำได้เฉพาะ กรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาด โดยส่วนราชการ หน่วยงานตามกฏหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่น ซึ่งมีกฏหมายบัญญัติ ให้มีฐานะเป็น ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศ หรือหน่วยงานของต่างประเทศ
(๒) เป็นพัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้า อาจจะเสียหายแก่ราชการ
(๓) เป็นพัสดุเพื่อใช้ในราชการลับ
(๔) เป็นพัสดุที่มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น ในสถานการณ์ที่จำเป็นหรือเร่งด่วน หรือเพื่อประโยชน์ของส่วนราชการ และจำเป็นต้องซื้อเพิ่ม (Repeat Order)
(๕) เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อโดยตรง จากต่างประเทศ หรือดำเนินการ โดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ
(๖) เป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งาน หรือมีข้อจำกัดทางเทคนิค ที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ ซึ่งหมายความรวมถึง อะไหล่ รถประจำตำแหน่ง หรือยารักษาโรค ที่ไม่ต้องจัดซื้อ ตามชื่อสามัญ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ตามข้อ ๖๐
(๗) เป็นพัสดุที่เป็นที่ดิน และหรือสิ่งก่อสร้าง ซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง
(๘) เป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้ว ไม่ได้ผลดี
[๒#๓๘]ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๓ และ ข้อ ๒๔ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
[๒#๓๘]ข้อ ๒๓ การซื้อโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาเกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้กระทำได้เฉพาะ กรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาด โดยส่วนราชการ หน่วยงานตามกฏหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่น ซึ่งมีกฏหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็น ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศ หรือหน่วยงานของต่างประเทศ
(๒) เป็นพัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้า อาจจะเสียหายแก่ราชการ
(๓) เป็นพัสดุเพื่อใช้ในราชการลับ
(๔) เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อ โดยตรง จากต่างประเทศ หรือดำเนินการโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ
(๕) เป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งาน หรือมีข้อจำกัดทางเทคนิค ที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ ซึ่งหมายความรวมถึง อะไหล่ รถประจำตำแหน่ง หรือยารักษาโรค ที่ไม่ต้องจัดซื้อตามชื่อสามัญ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ตามข้อ ๖๐
(๖) เป็นพัสดุที่เป็นที่ดิน และหรือสิ่งก่อสร้าง ซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง
(๘) เป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้ว ไม่ได้ผลดี

[๑#๓๕]ข้อ ๒๓ การซื้อโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาเกิน ๕๐,๐๐๐ บาท ให้กระทำได้เฉพาะ กรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาด โดยส่วนราชการ หน่วยงานตามกฏหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่น ซึ่งมีกฏหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็น ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศ หรือหน่วยงานของต่างประเทศ
(๒) เป็นพัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้า อาจจะเสียหายแก่ราชการ
(๓) เป็นพัสดุเพื่อใช้ในราชการลับ
(๔) เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อ โดยตรง จากต่างประเทศ หรือดำเนินการโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ
(๕) เป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งาน หรือมีข้อจำกัดทางเทคนิค ที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ ซึ่งหมายความรวมถึง อะไหล่ รถประจำตำแหน่ง หรือยารักษาโรค ที่ไม่ต้องจัดซื้อตามชื่อสามัญ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ตาม
ข้อ ๖๐
(๖) เป็นพัสดุที่เป็นที่ดิน และหรือสิ่งก่อสร้าง ซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง
(๘) เป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้ว ไม่ได้ผลดี

ข้อ ๒๔ การจ้างโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การจ้างครั้งหนึ่งมีราคาเกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้กระทำได้ เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นงานที่ต้องจ้างช่าง ผู้มีฝีมือโดยเฉพาะ หรือผู้มีความชำนาญเป็นพิเศษ
(๒) เป็นงานจ้างซ่อมพัสดุ ที่จำเป็นต้องถอดตรวจ ให้ทราบความชำรุดเสียหายเสียก่อน จึงจะประมาณค่าซ่อมได้ เช่น งานจ้างซ่อมเครื่องจักร เครื่องมือกล เครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้า หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
(๓) เป็นงานที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจเสียหายแก่ราชการ
(๔) เป็นงานที่ต้องปกปิด เป็นความลับของทางราชการ
(๕) เป็นงานที่จำเป็นต้องการจ้างเพิ่ม ในสถานการณ์ที่จำเป็น หรือเร่งด่วน หรือเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ และจำเป็นต้องจ้างเพิ่ม (Repeat Order)
(๖) เป็นงานที่ได้ดำเนินการจ้างโดยวิธีอื่นแล้ว ไม่ได้ผลดี
[๒#๓๘]ข้อ ๒๔ การจ้างโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การจ้างครั้งหนึ่งมีราคาเกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาทให้กระทำได้เฉพาะ กรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นงานที่ต้องจ้างช่างผู้มีฝีมือโดยเฉพาะ หรือผู้มีความชำนาญเป็นพิเศษ
(๒) เป็นงานจ้างซ่อมพัสดุ ที่จำเป็นต้องถอดตรวจ ให้ทราบความชำรุดเสียหายเสียก่อน จึงจะประมาณค่าซ่อมได้ เช่น งานจ้างซ่อมเครื่องจักร เครื่องมือกล เครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้า หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
(๓) เป็นงานที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วน หากล่าช้า อาจเสียหายแก่ราชการ
(๔) เป็นงานที่ต้องปกปิด เป็นความลับของทางราชการ
(๕) เป็นงานที่ได้ดำเนินการจ้างโดยวิธีอื่นแล้ว ไม่ได้ผลดี
[๑#๓๕]ข้อ ๒๔ การจ้างโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การจ้างครั้งหนึ่งมีราคาเกิน ๕๐,๐๐๐ บาทให้กระทำได้เฉพาะ กรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นงานที่ต้องจ้างช่าง ผู้มีฝีมือโดยเฉพาะ หรือผู้มีความชำนาญเป็นพิเศษ
(๒) เป็นงานจ้างซ่อมพัสดุ ที่จำเป็นต้องถอดตรวจ ให้ทราบความชำรุดเสียหายเสียก่อน จึงจะประมาณค่าซ่อมได้ เช่น งานจ้างซ่อมเครื่องจักร เครื่องมือกล เครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้า หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
(๓) เป็นงานที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วน หากล่าช้า อาจเสียหายแก่ราชการ
(๔) เป็นงานที่ต้องปกปิด เป็นความลับของทางราชการ
(๕) เป็นงานที่ได้ดำเนินการจ้างโดยวิธีอื่นแล้ว ไม่ได้ผลดี

ข้อ ๒๕ สำหรับส่วนราชการในต่างประเทศ หรือมีกิจกรรม ที่ต้องปฏิบัติในต่างประเทศ จะซื้อหรือจ้าง โดยวิธีพิเศษก็ได้ โดยติดต่อซื้อหรือจ้าง กับผู้มีอาชีพขาย หรือรับจ้างทำงานนั้น โดยตรง

ข้อ ๒๖ การซื้อหรือการจ้าง โดยวิธีกรณีพิเศษ ได้แก่ การซื้อหรือการจ้าง จากส่วนราชการหน่วยงานตามกฏหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่น ซึ่งมีกฏหมายบัญญัติ ให้มีฐานะเป็น ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เป็นผู้ผลิตพัสดุ หรือทำงานจ้างนั้นเอง และนายกรัฐมนตรีอนุมัติให้ซื้อ หรือจ้าง
(๒) มีกฏหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี กำหนดให้ซื้อหรือจ้าง และกรณีนี้ให้รวมถึง หน่วยงานอื่น ที่มีกฏหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี กำหนดด้วย

รายงานขอซื้อหรือขอจ้าง

ข้อ ๒๗ ก่อนดำเนินการซื้อหรือจ้างทุกวิธี นอกจากการซื้อที่ดิน และหรือสิ่งก่อสร้าง ตามข้อ ๒๘ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ จัดทำรายงาน เสนอหัวหน้าส่วนราชการ ตามรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) เหตุผลและความจำเป็น ที่ต้องซื้อหรือจ้าง
(๒) รายละเอียดของพัสดุ ที่จะซื้อ หรืองานที่จะจ้าง
(๓) ราคามาตรฐานหรือราคากลาง ของทางราชการ หรือราคาที่เคยซื้อหรือจ้าง ครั้งหลังสุด ภายในระยะเวลา ๒ ปีงบประมาณ
(๔) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ วงเงินตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ ที่จะซื้อหรือจ้าง ในครั้งนั้น ทั้งหมด ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าว ให้ระบุวงเงินที่ประมาณ ว่าจะซื้อหรือจ้าง ในครั้งนั้น
(๕) กำหนดเวลา ที่ต้องการใช้พัสดุนั้น หรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ
(๖) วิธีที่จะซื้อหรือจ้าง และเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้าง โดยวิธีนั้น
(๗) ข้อเสนออื่นๆ เช่น การขออนุมัติ แต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ ที่จำเป็น ในการซื้อหรือจ้าง การออกประกาศสอบราคา หรือประกาศประกวดราคา
[๓#๓๙]ข้อ ๑๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ ๒๗ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
  การซื้อหรือจ้าง โดยวิธีตกลงราคา ในวงเงินไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท และการซื้อหรือจ้าง โดยวิธีพิเศษ กรณีเร่งด่วน ตามข้อ ๒๓ (๒) หรือข้อ ๒๔ (๓) ซึ่งไม่อาจทำรายงานตามปกติได้ เจ้าหน้าที่พัสดุ หรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการนั้น จะทำรายงาน ตามวรรคหนึ่ง เฉพาะรายงานที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้
[๑#๓๕]  ในกรณีเร่งด่วน ที่จะต้องดำเนินการซื้อหรือจ้าง โดยวิธีพิเศษ ตาม
ข้อ ๒๓(๒) หรือ ๒๔(๓) ซึ่งไม่อาจทำรายงาน ตามปกติได้ เจ้าหน้าที่พัสดุ หรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการนั้น จะทำรายงาน ตามวรรคหนึ่ง เฉพาะรายการที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้

ข้อ ๒๘ ก่อนดำเนินการซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ ทำรายงาน เสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการ ตามรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อ
(๒) รายละเอียดของที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง ที่ต้องการซื้อรวมทั้งเนื้อที่และท้องที่ที่ต้องการ
(๓) ราคาประเมินของทางราชการในท้องที่นั้น
(๔) ราคาซื้อขายของที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง ใกล้เคียงบริเวณที่จะซื้อครั้งหลังสุด ประมาณ ๓ ราย
(๕) วงเงินที่จะซื้อ โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ วงเงินโครงการเงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ ที่จะซื้อในครั้งนั้นทั้งหมด ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าว ให้ระบุวงเงินที่ประมาณ ว่าจะซื้อในครั้งนั้น
(๖) วิธีที่จะซื้อและเหตุผลที่ต้องซื้อโดยวิธีนั้น
(๗) ข้อเสนออื่นๆ เช่น การอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการซื้อ การออกประกาศสอบราคา หรือประกาศประกวดราคา
  การซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง ให้ติดต่อกับเจ้าของโดยตรง เว้นแต่การซื้อที่ดิน และหรือสิ่งก่อสร้าง ในต่างประเทศ ที่จำเป็นต้องติดต่อผ่านนายหน้า หรือดำเนินการ ในทำนองเดียวกัน ตามกฏหมาย หรือประเพณีนิยมของท้องถิ่น

ข้อ ๒๙ เมื่อหัวหน้าส่วนราชการ ให้ความเห็นชอบ ตามรายงานที่เสนอ ตามข้อ ๒๗ หรือข้อ ๒๘ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ ดำเนินการ ตามวิธีการซื้อหรือการจ้างนั้น ต่อไปได้

การคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ในการซื้อและการจ้าง

[๓#๓๙]ข้อ ๑๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๐ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓๐ ส่วนราชการใด ประสงค์จะคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ในการซื้อและการจ้าง ให้กระทำได้ ในกรณีที่จำเป็นต้องจำกัด เฉพาะผู้ที่มีความสามารถ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือก ประกาศให้ผู้สนใจทราบ โดยเปิดเผย พร้อมทั้งส่งให้ กวพ. ด้วย
  ในการดำเนินการคัดเลือก ให้ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง จัดทำรายงานเสนอขออนุมัติ หัวหน้าส่วนราชการ ผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ พร้อมด้วยเอกสาร คัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น โดยให้มีรายละเอียด อย่างน้อยดังต่อไปนี้
(๑) เหตุผลและความจำเป็น ที่จะต้องทำการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น
(๒) ประเภท วงเงิน และรายละเอียดของพัสดุหรืองานที่จะต้องซื้อหรือจ้าง
(๓) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก ซึ่งเป็นเกณฑ์ความต้องการขั้นต่ำ เช่น ประสบการณ์และผลงานที่ผ่านมา สมรรถภาพในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ เจ้าหน้าที่ เครื่องมือ และโรงงาน ฐานะการเงิน เป็นต้น
(๔) หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือก

[๑#๓๕]ข้อ ๓๐ ส่วนราชการใด ประสงค์จะคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ในการซื้อและการจ้าง ให้กระทำได้ เฉพาะการซื้อหรือการจ้าง ที่มีลักษณะ หรือประเภทเดียวกัน ซึ่งต้องดำเนินการเป็นประจำ และจำเป็นต้องจำกัด เฉพาะผู้ที่มีความสามารถ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือก ประกาศให้ผู้สนใจทราบ โดยเปิดเผย พร้อมทั้งส่งให้ กวพ. ด้วย
  ในการดำเนินการคัดเลือก ให้ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง จัดทำรายงานเสนอขออนุมัติ หัวหน้าส่วนราชการ ผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ พร้อมด้วยเอกสาร คัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น โดยให้มีรายละเอียด อย่างน้อยดังต่อไปนี้
(๑) เหตุผลและความจำเป็น ที่จะต้องทำการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น
(๒) ประเภท วงเงิน และรายละเอียดของพัสดุหรืองาน ที่จะต้องซื้อหรือจ้าง
(๓) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก ซึ่งเป็นเกณฑ์ความต้องการขั้นต่ำ เช่น ประสบการณ์และผลงานที่ผ่านมา สมรรถภาพในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ เจ้าหน้าที่ เครื่องมือ และโรงงาน ฐานะการเงิน เป็นต้น
(๔) หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือก

ข้อ ๓๑ เมื่อหัวหน้าส่วนราชการ สั่งการอนุมัติ ในข้อ ๓๐ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ จัดทำประกาศเชิญชวน เพื่อคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น
ประกาศเชิญชวน อย่างน้อยให้แสดงรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) รายละเอียดเฉพาะ ของที่ต้องการซื้อ หรืองานที่ต้องการจ้าง
(๒) ประสบการณ์และผลงาน ของผู้เสนอ ที่มีลักษณะประเภทเดียวกัน
(๓) สมรรถภาพ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ เจ้าหน้าที่ เครื่องมือ และโรงงาน
(๔) ฐานะการเงิน
(๕) หลักเกณฑ์ทั่วไป ในการพิจารณาคัดเลือก
(๖) สถานที่ในการขอรับหรือขอซื้อ เอกสารคุณสมบัติเบื้องต้น
  ในการประกาศครั้งแรก ให้กำหนดสถานที่ วัน เวลารับข้อเสนอ ปิดการรับข้อเสนอและเปิดซองข้อเสนอ พร้อมที่ประกาศโฆษณา และแจ้งลักษณะโดยย่อ ของพัสดุที่ต้องการซื้อ หรืองานที่ต้องการจ้าง และกำหนดเวลาให้พอเพียง เพื่อเปิดโอกาสให้แก่ผู้สนใจ จัดเตรียมข้อเสนอ ทั้งนี้ จะต้องกระทำก่อนวันรับซองข้อเสนอ ไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน โดยประกาศทางวิทยุกระจายเสียง และลงประกาศในหนังสือพิมพ์ หากเห็นสมควร จะส่งประกาศเชิญชวน ไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้น โดยตรง หรือโฆษณาด้วยวิธีอื่นอีกก็ได้
  สำหรับการคัดเลือก ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ในการประกวดราคานานาชาติ ให้ประกาศโฆษณา ก่อนวันรับซองข้อเสนอ ไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน และดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ของแหล่งเงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ อีกด้วย

ข้อ ๓๒ ให้หัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๔ คน
โดยให้แต่งตั้งจาก ข้าราชการระดับ ๕ หรือเทียบเท่าขึ้นไป
และจะต้องมีผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย ๑ คน
  คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น มีหน้าที่ พิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น ตามหลักเกณฑ์ และภายในระยะเวลา ที่หัวหน้าส่วนราชการกำหนด
  ให้คณะกรรมการ รายงานผลการพิจารณา และความเห็น พร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมด ต่อหัวหน้าส่วนราชการ ผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อพิจารณาประกาศรายชื่อ ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ในการซื้อหรือจ้างต่อไป

[๔#๔๑]ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๓ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓๓ ให้ส่วนราชการพิจารณาทบทวน หลักเกณฑ์การคัดเลือก ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ในการซื้อหรือการจ้าง และตรวจสอบบัญชีรายชื่อ ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ที่ได้ประกาศไปแล้ว อย่างน้อยทุกรอบ ๓ ปี โดยปกติ ให้กระทำภายในเดือนแรก ของปีงบประมาณ และเมื่อได้ทบทวนแล้ว ให้ส่วนราชการนั้น แจ้งการทบทวน พร้อมทั้งส่งหลักเกณฑ์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ให้ กวพ. ทราบโดยเร็ว แต่ต้องไม่นานเกินกว่า ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ ดังกล่าว
  ในกรณีที่ส่วนราชการใด มีการขึ้นบัญชีผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น สำหรับการซื้อหรือการจ้างไว้ เป็นการประจำ ให้ส่วนราชการนั้น เปิดโอกาสให้ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ที่ได้ขึ้นบัญชีไว้แล้ว และประสงค์ที่จะขอเลื่อนชั้น หรือให้บุคคล ที่ประสงค์จะเข้ารับการพิจารณาคัดเลือก เพื่อขึ้นบัญชี เป็นผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น มีสิทธิยื่นคำขอเลื่อนชั้น หรือคำขอเข้ารับการพิจารณาคัดเลือก ได้ตลอดเวลา โดยให้ดำเนินการ ตามหลักเกณฑ์วิธีการคัดเลือก ตามที่กำหนดไว้ ใน
ข้อ ๓๑ และข้อ ๓๒ และโดยปกติ จะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ และเอกสารหลักฐานต่างๆ ครบถ้วนแล้ว ถ้าไม่สามารถดำเนินการ ให้แล้วเสร็จ ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จะต้องชี้แจงเหตุผล และระยะเวลาที่ต้องใช้ ตามความจำเป็น ให้ผู้ยื่นคำขอ ทราบด้วย
  ในระหว่างการยื่นคำขอ และตรวจพิจารณาคำขอ ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ที่ยื่นคำขอเลื่อนชั้น หรือผู้ที่ยื่นคำขอ เข้ารับการพิจารณาคัดเลือก เพื่อขึ้นบัญชี เป็นผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น จะใช้สิทธิ จากการที่ตนได้ยื่นคำขอเลื่อนชั้น หรือคำขอเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกดังกล่าว ในการซื้อหรือการจ้าง ที่มีขึ้นก่อน หรือในระหว่างที่ตน ยื่นคำขอเลื่อนชั้น หรือคำขอ เข้ารับ การพิจารณาคัดเลือกนั้น ไม่ได้
  ในกรณีที่ส่วนราชการ เห็นสมควรยกเลิก บัญชีรายชื่อ ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ในการซื้อหรือการจ้าง เพื่อดำเนินการคัดเลือก ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ตามหลักเกณฑ์ ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการ แจ้งให้ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อ ทราบหลักเกณฑ์ ในการพิจารณา คัดเลือก ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๒๐ วัน

[๑#๓๕]ข้อ ๓๓ หลังจากที่ได้มีการประกาศรายชื่อ ผู้ที่มีคุณสมบัติเบื้องต้น ในการซื้อการจ้างแล้ว ให้ส่วนราชการ เปิดโอกาสให้ผู้ที่ประสงค์ขอเข้ารับการพิจารณาคัดเลือก ยื่นคำขอได้ตลอดเวลา โดยใช้หลักเกณฑ์และวิธีคัดเลือก ตาม
ข้อ ๓๑ และข้อ ๓๒
ให้ส่วนราชการ มีการพิจารณาทบทวน บัญชีรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ในการซื้อการจ้าง ที่ได้ประกาศไปแล้ว อย่างน้อยทุกรอบ ๓ ปี

[๔#๔๑]ข้อ ๑๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๓๓ ทวิ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๓๓ ทวิ ในการซื้อหรือการจ้างแต่ละครั้ง ให้ส่วนราชการพิจารณา ถึงความสามารถในการรับงาน ของผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ประกอบการพิจารณาคัดเลือก ของส่วนราชการด้วย
  ในกรณีที่ส่วนราชการใด มีการขึ้นบัญชี ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น สำหรับการซื้อหรือการจ้างไว้แล้ว ให้ส่วนราชการนั้น แจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ที่อยู่ในบัญชีผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ดังกล่าว แสดงหลักฐาน ถึงขีดความสามารถและความพร้อม ที่ตนมีอยู่ ในวันเสนอราคา ตามหลักเกณฑ์ ที่ทางราชการกำหนด ทั้งในด้านบุคลากร เครื่องมือ โรงงาน และฐานะทางการเงินของตน ต่อส่วนราชการ

กรรมการ

ข้อ ๓๔ ในการดำเนินการซื้อหรือจ้างแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ พร้อมกับกำหนดระยะเวลา ในการพิจารณาของคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี คือ
(๑) คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา
(๒) คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา
(๓) คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา
(๔) คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ
(๕) คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ
(๖) คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
(๗) คณะกรรมการตรวจการจ้าง
  ให้คณะกรรมการแต่ละคณะ รายงานผลการพิจารณา ต่อหัวหน้าส่วนราชการ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้ามีเหตุที่ทำให้การรายงานล่าช้า ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการ พิจารณาขยายเวลาให้ ตามความจำเป็น

ข้อ ๓๕ คณะกรรมการตามข้อ ๓๔ แต่ละคณะให้ประกอบด้วย
ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน
โดยปกติ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการ ตั้งแต่ระดับ ๓ หรือเทียบเท่าขึ้นไป ในกรณีจำเป็น หรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการ จะแต่งตั้งบุคคล ที่มิใช่ข้าราชการ ร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้ ถ้าประธานกรรมการ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้หัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้งข้าราชการ ที่มีคุณสมบัติ ดังกล่าวข้างต้น ทำหน้าที่ประธานกรรมการแทน
  ในกรณีเมื่อถึงกำหนดเวลา การเปิดซองสอบราคา หรือรับซองประกวดราคาแล้ว ประธานกรรมการ ยังไม่มาปฏิบัติหน้าที่ ให้กรรมการที่มาประชุม เลือกกรรมการคนหนึ่ง ทำหน้าที่ประธานกรรมการ ในเวลานั้น โดยให้คณะกรรมการดังกล่าว ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะข้อ ๔๒ (๑) หรือข้อ ๔๙
แล้วแต่กรณี แล้วรายงานประธานกรรมการ ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้ง เพื่อดำเนินการต่อไป
  ในการซื้อหรือจ้างครั้งเดียวกัน ห้ามแต่งตั้งผู้ที่เป็นกรรมการ รับและเปิดซองประกวดราคา เป็นกรรมการ พิจารณาผลการประกวดราคา หรือแต่งตั้งผู้ทึ่เป็นกรรมการ เปิดซองสอบราคา หรือกรรมการ พิจารณาผลการประกวดราคา เป็นกรรมการ ตรวจรับพัสดุ
  คณะกรรมการทุกคณะ เว้นแต่คณะกรรมการ รับและเปิดซองประกวดราคา ควรแต่งตั้ง ผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ เกี่ยวกับพัสดุ หรืองานจ้างนั้นๆ เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย
  สำหรับการซื้อหรือจ้าง ในวงเงินไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท จะแต่งตั้งข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ คนหนึ่ง ซึ่งมิใช่ ผู้จัดซื้อหรือจัดจ้าง เป็นผู้ตรวจรับ พัสดุหรืองานจ้างนั้น โดยให้ปฏิบัติหน้าที่ เช่นเดียวกับ คณะกรรมการ ตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการ ตรวจการจ้าง ก็ได้

ข้อ ๓๖ ในการประชุมปรึกษา ของคณะกรรมการแต่ละคณะ ต้องมีกรรมการมาพร้อมกัน ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการทั้งหมด ให้ประธานกรรมการ และกรรมการแต่ละคน มีเสียงหนึ่ง ในการลงมติ
  มติของคณะกรรมการ ให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานกรรมการ ออกเสียงเพิ่มอีกหนึ่ง เป็นเสียงชี้ขาด เว้นแต่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ และคณะกรรมการตรวจการจ้าง ให้ถือมติเอกฉันท์
  กรรมการของคณะใด ไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการ ให้ทำบันทึกความเห็นแย้งไว้ด้วย

[๔#๔๑]ข้อ ๑๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๗ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓๗ ในการจ้างก่อสร้างแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้งผู้ควบคุมงาน ที่มีความรู้ความชำนาญ ทางด้านช่าง ตามลักษณะของงานก่อสร้าง จากข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ ในสังกัด หรือข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ ในสังกัดอื่น ตามที่ได้รับความยินยอม จากหัวหน้าส่วนราชการ ของผู้นั้นแล้ว ในกรณีที่ลักษณะของงานก่อสร้าง มีความจำเป็น ต้องใช้ความรู้ความชำนาญ หลายด้าน จะแต่งตั้งผู้ควบคุมงาน เฉพาะด้าน หรือเป็นกลุ่มบุคคล ก็ได้
  ผู้ควบคุมงาน ควรมีคุณวุฒิ ตามที่ผู้ออกแบบเสนอแนะ และโดยปกติ จะต้องมีคุณวุฒิ ไม่ต่ำกว่า ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
  ในกรณีจำเป็น จะต้องจ้างที่ปรึกษา เป็นผู้ควบคุมงาน แทนข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือปฏิบัติ ตาม
หมวด ๒ ส่วนที่ ๓ หรือส่วนที่ ๔ แล้วแต่กรณี
[๓#๓๙]ข้อ ๑๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๗ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
[๓#๓๙]ข้อ ๓๗ ในการจ้างก่อสร้างแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้งผู้ควบคุมงาน ที่มีความรู้ความชำนาญ ทางด้านช่าง ตามลักษณะของงานก่อสร้าง จากข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ ในสังกัด หรือ ข้าราชการ ในสังกัดอื่น ตามที่ได้รับความยินยอม จากหัวหน้าส่วนราชการ ของข้าราชการผู้นั้นแล้ว ในกรณีที่ลักษณะของงานก่อสร้าง มีความจำเป็น ต้องใช้ความรู้ความชำนาญหลายด้าน จะแต่งตั้งผู้ควบคุมงานเฉพาะด้าน หรือเป็นกลุ่มบุคคลก็ได้
  ผู้ควบคุมงาน ควรมีคุณวุฒิ ตามที่ผู้ออกแบบเสนอแนะ และโดยปกติ จะต้องมีคุณวุฒิ ไม่ต่ำกว่า ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
  ในกรณีจำเป็น ต้องจ้างที่ปรึกษาหรือเอกชน เป็นผู้ควบคุมงาน แทนข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบนี้ ใน ส่วนที่ ๓ หรือ ส่วนที่ ๔ แล้วแต่กรณี

[๑#๓๕]ข้อ ๓๗ ในการจ้างก่อสร้างแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้งผู้ควบคุมงาน ที่มีความรู้ความชำนาญ ทางด้านช่าง ตามลักษณะของงานก่อสร้าง จากข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในสังกัด หรือ ข้าราชการในสังกัดอื่น ตามที่ได้รับความยินยอม จากหัวหน้าส่วนราชการ ของข้าราชการผู้นั้นแล้ว ในกรณีที่ลักษณะของงานก่อสร้าง มีความจำเป็น ต้องใช้ความรู้ความชำนาญหลายด้าน จะแต่งตั้งผู้ควบคุมงานเฉพาะด้าน หรือเป็นกลุ่มบุคคลก็ได้
  ผู้ควบคุมงาน ควรมีคุณวุฒิตามที่ผู้ออกแบบเสนอแนะ และโดยปกติจะต้องมีคุณวุฒิ ไม่ต่ำกว่า ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
  ในกรณีจำเป็นต้องจ้างที่ปรึกษาหรือเอกชน เป็นผู้ควบคุมงาน แทนข้าราชการ ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบนี้ ใน
ส่วนที่ ๓ หรือ ส่วนที่ ๔ แล้วแต่กรณี

ข้อ ๓๘ ในการซื้อ หรือจ้างทำพัสดุ ที่มีเทคนิคพิเศษ และจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ ในการพิจารณา เป็นการเฉพาะ ให้อยู่ในดุลพินิจ ของหัวหน้าส่วนราชการ ที่จะขอทำความตกลงกับสำนักงานงบประมาณ เพื่อว่าจ้างที่ปรึกษา มาให้ความเห็นประกอบการพิจารณา ในการจัดซิ้อหรือจัดจ้าง ในขั้นตอนหนึ่ง ขั้นตอนใด ได้ตามความจำเป็น โดยให้ดำเนินการจ้าง โดยถือปฏิบัติ ตามระเบียบนี้ ในส่วนที่ ๓

วิธีตกลงราคา

ข้อ ๓๙ การซื้อหรือจ้าง โดยวิธีตกลงราคา ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ ติดต่อตกลงราคา กับผู้ขายหรือผู้รับจ้าง โดยตรง แล้วให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ จัดซื้อหรือจ้างได้ ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบ จากหัวหน้าส่วนราชการ ตามข้อ ๒๙
  การซื้อหรือการจ้าง โดยวิธีตกลงราคา ในกรณีจำเป็นและเร่งด่วนที่เกิดขึ้น โดยมิได้คาดหมายไว้ก่อน และไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ หรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการนั้น ดำเนินการไปก่อน แล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบ ต่อหัวหน้าส่วนราชการ และเมื่อหัวหน้าส่วนราชการ ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าว เป็นหลักฐานการตรวจรับ โดยอนุโลม

วิธีสอบราคา

ข้อ ๔๐ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ จัดทำเอกสารสอบราคา โดยอย่างน้อย ให้แสดงรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) คุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่ต้องการซื้อ และจำนวนที่ต้องการ หรือแบบรูปรายการละเอียด และปริมาณงานที่ต้องการจ้าง
ในกรณีที่จำเป็นต้องดูสถานที่ หรือชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติม ประกอบตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดสถานที่ วัน เวลาที่นัดหมายไว้ด้วย
(๒) คุณสมบัติของผู้เข้าเสนอราคา ซึ่งจะต้องมีอาชีพขายหรือรับจ้างตาม (๑) โดยให้ผู้เสนอราคา แสดงหลักฐานดังกล่าวด้วย
(๓) ในกรณีจำเป็น ให้ระบุผู้เข้าเสนอราคา ส่งตัวอย่าง แค็ตตาล็อก หรือแบบรูปและรายการละเอียด ไปพร้อมกับใบเสนอราคา
(๔) ถ้าจำเป็นต้องมีการตรวจทดลอง ให้กำหนดจำนวนตัวอย่าง ให้พอแก่การตรวจทดลอง และเหลือไว้ สำหรับการทำสัญญาด้วย ทั้งนี้ ให้มีข้อกำหนดไว้ด้วยว่า ทางราชการไม่รับผิดชอบ ในความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการทดสอบตัวอย่างนั้น
(๕) สถานที่ติดต่อ เกี่ยวกับแบบรูปรายการละเอียด ในกรณีที่มีการขาย ให้ระบุราคาขายไว้ด้วย
(๖) ข้อกำหนดให้ผู้เข้าเสนอราคา เสนอราคารวมทั้งสิ้น และราคาต่อหน่วย หรือต่อรายการ (ถ้าทำได้) พร้อมทั้งระบุหลักเกณฑ ์โดยชัดเจนว่า จะพิจารณาราคารวม หรือราคาต่อหน่วย หรือต่อรายการ ในกรณีที่ไม่ได้กำหนดไว้ ในเอกสารสอบราคา ให้พิจารณาราคารวม
(๗) แบบใบเสนอราคา โดยกำหนดไว้ด้วยว่า ในการเสนอราคา ให้ลงราคารวมทั้งสิ้น เป็นตัวเลข และต้องมีตัวหนังสือกำกับ ถ้าตัวเลขและตัวหนังสือไม่ตรงกัน ให้ถือตัวหนังสือเป็นสำคัญ
ในการสอบราคาจ้างก่อสร้าง ให้กำหนดแบบบัญชีรายการก่อสร้าง ตามความเหมาะสม ของลักษณะ และประเภทของงาน เพื่อให้ผู้เข้าเสนอราคา กรอกปริมาณวัสดุ และราคาด้วย
(๘) กำหนดระยะเวลายืนราคา เท่าที่จำเป็นต่อทางราชการ และมีเงื่อนไขด้วยว่า ซองเสนอราคา ที่ยื่นต่อทางราชการ และลงทะเบียนรับซองแล้ว จะถอนคืนมิได้
(๙) กำหนดสถานที่ ส่งมอบพัสดุ และวันส่งมอบ โดยประมาณ (สำหรับการซื้อ) หรือกำหนดวันที่จะเริ่มทำงาน และวันแล้วเสร็จ โดยประมาณ (สำหรับการจ้าง)
(๑๐) กำหนดสถานที่ วัน เวลา เปิดซองสอบราคา
(๑๑) ข้อกำหนดให้ผู้เสนอราคา ผนึกซองราคาให้เรียบร้อย ก่อนยื่นต่อทางราชการ จ่าหน้าถึง ประธานกรรมการ เปิดซองสอบราคาการซื้อการจ้าง ครั้งนั้น และส่งถึงส่วนราชการ ก่อนวันเปิดซอง โดยให้ส่งเอกสารหลักฐานต่างๆ พร้อมจัดทำบัญชีรายการเอกสาร เสนอไปพร้อมกับซองราคาด้วย
สำหรับกรณีที่จะให้มีการยื่นซองทางไปรษณีย์ได้ ให้กำหนดวิธีการปฏิบัติไว้ ให้ชัดเจนด้วย
(๑๒) กำหนดเงื่อนไขในการสงวนสิทธิ์ ที่จะถือว่า ผู้ที่ไม่ไปทำสัญญา หรือข้อตกลงกับทางราชการ เป็นผู้ทิ้งงาน
(๑๓) ข้อกำหนดว่า ผู้เข้าเสนอราคาที่ได้รับคัดเลือก ให้ไปทำสัญญา จะต้องวางหลักประกันสัญญา ตามชนิดและอัตรา ในข้อ ๑๔๑ และข้อ ๑๔๒

(๑๔) ร่างสัญญา รวมทั้งการแบ่งงวดงาน การจ่ายเงิน เงื่อนไขการจ่ายเงินล่วงหน้า (ถ้ามี) และอัตราค่าปรับ
(๑๕) ข้อสงวนสิทธิ์ว่า ส่วนราชการจะไม่พิจารณาผู้เสนอราคา ที่เป็นผู้ทิ้งงานของทางราชการ และส่วนราชการทรงไว้ ซึ่งสิทธ์ที่จะงดซื้อหรือจ้าง หรือเลือกซื้อหรือจ้าง โดยไม่จำเป็นต้องซื้อหรือจ้าง จากผู้เสนอราคาต่ำสุดเสมอไป รวมทั้งจะพิจารณายกเลิกการสอบราคา และลงโทษผู้เสนอราคา เสมือนเป็นผู้ทิ้งงาน หากมีเหตุที่เชื่อได้ว่า การเสนอราคากระทำไป โดยไม่สุจริต หรือมีการสมยอมกัน ในการเสนอราคา

ข้อ ๔๑ การซื้อหรือจ้างโดยวิธีสอบราคา ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ก่อนวันเปิดซองสอบราคา ไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน สำหรับการสอบราคาในประเทศ หรือไม่น้อยกว่า ๔๕ วัน สำหรับการสอบราคานานาชาติ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ ประกาศเผยแพร่ การสอบราคาและเอกสารสอบราคา ไปยัง ผู้มีอาชีพขายหรือจ้างหรือรับจ้าง ทำงานนั้น โดยตรง หรือโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ กับให้ปิดประกาศ เผยแพร่การสอบราคาไว้ โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการ ของส่วนราชการนั้น
(๒) ในการยื่นซองสอบราคา ผู้เสนอราคาจะต้องผนึกซอง จ่าหน้าซองถึง ประธานกรรมการ เปิดซองสอบราคาการซื้อหรือการจ้าง ครั้งนั้น และส่งถึง ส่วนราชการผู้ดำเนินการสอบราคา ก่อนวันเปิดซองสอบราคา โดยยื่นโดยตรง ต่อส่วนราชการ หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ในกรณีที่ส่วนราชการ กำหนดให้กระทำได้
(๓) ให้เจ้าหน้าที่ลงรับ โดยไม่เปิดซอง พร้อมระบุวันและเวลา ที่รับซอง ในกรณีที่ผู้เสนอราคา มายื่นซองโดยตรง ให้ออกใบรับ แก่ผู้ยื่นซอง สำหรับกรณีที่เป็น การยื่นซองทางไปรษณีย์ ให้ถือวันและเวลา ที่ส่วนราชการนั้น ลงรับจากไปรษณีย์ เป็นเวลารับซอง และได้ส่งมอบซอง ให้แก่หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุทันที
(๔) ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เก็บรักษาซองเสนอราคาทุกราย โดยไม่เปิดซอง และเมื่อถึงกำหนดเวลา เปิดซองสอบราคาแล้ว ให้ส่งมอบซองเสนอราคา พร้อมทั้งรายงานผลการรับซอง ต่อคณะกรรมการ เปิดซองสอบราคา เพื่อดำเนินการต่อไป

ข้อ ๔๒ คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา มีหน้าที่ดังนี้
(๑) เปิดซองใบเสนอราคา และอ่านแจ้งราคา พร้อมบัญชี รายการเอกสารหลักฐานต่างๆ
ของผู้เสนอราคาทุกราย โดยเปิดเผย ตามวัน เวลา และสถานที่ ที่กำหนด และตรวจสอบรายการเอกสาร ตามบัญชีของผู้เสนอราคา ทุกราย แล้วให้กรรมการทุกคน ลงลายมือชื่อกำกับไว้ ในใบเสนอราคา และเอกสารประกอบ ใบเสนอราคา ทุกแผ่น
(๒) ตรวจสอบคุณสมบัติ ของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา แค็ตตาล็อก หรือแบบรูปและรายละเอียด แล้วคัดเลือกผู้เสนอราคา ที่ถูกต้องตามเงื่อนไข ในเอกสารสอบราคา
(๓) พิจารณาคัดเลือกพัสดุ หรืองานจ้าง ของผู้เสนอราคา ที่ถูกต้องตาม (๒) ที่มีคุณภาพและคุณสมบัติ เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ และเสนอให้ซื้อหรือจ้าง จากรายที่คัดเลือกไว้แล้ว ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด
ในกรณีที่ ผู้เสนอราคาต่ำสุดดังกล่าว ไม่ยอมเข้าทำสัญญา หรือข้อตกลงกับส่วนราชการ ในเวลาที่กำหนด ตามเอกสารสอบราคา ให้คณะกรรมการ พิจารณาจากผู้เสนอราคาต่ำ รายถัดไปตามลำดับ
ถ้ามีผู้เสนอราคาเท่ากัน หลายราย ให้เรียกผู้เสนอราคาดังกล่าว มาขอให้เสนอราคาใหม่ พร้อมกัน ด้วยวิธียื่นซองเสนอราคา
ถ้าปรากฏว่า ราคาของผู้เสนอราคา รายที่คณะกรรมการ เห็นสมควรซื้อหรือจ้าง สูงกว่าวงเงิน ที่ซื้อหรือจ้าง ให้คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา ดำเนินการ ตาม
ข้อ ๔๓
(๔) ในกรณีที่มีผู้เสนอราคาถูกต้อง ตามรายการละเอียดและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ ในเอกสารสอบราคา เพียงรายเดียว ให้คณะกรรมการ ดำเนินการตาม (๓) โดยอนุโลม
(๕) ให้คณะกรรมการ รายงานผลการพิจารณา และความเห็น พร้อมด้วยเอกสาร ที่ได้รับทั้งหมด ต่อหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่าน หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ

[๔#๔๑]ข้อ ๑๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔๓ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๔๓ การซื้อหรือการจ้าง โดยวิธีสอบราคาที่ปรากฏว่า ราคาของผู้เสนอราคา รายที่คณะกรรมการ เห็นสมควรซื้อหรือจ้าง ยังสูงกว่า วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ตาม
ข้อ ๒๗(๔) หรือ ข้อ ๒๘(๕) แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการ ดำเนินการตามลำดับ ดังนี้
(๑) เรียกผู้เสนอราคารายนั้น มาต่อรองราคา ให้ต่ำสุด เท่าที่จะทำได้ หากผู้เสนอราคารายนั้น ยอมลดราคาแล้ว ราคาที่เสนอใหม่ ไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง หรือสูงกว่า แต่ส่วนที่สูงกว่านั้น ไม่เกินร้อยละสิบ ของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง หรือต่อรองราคาแล้ว ไม่ยอมลดราคาลงอีก แต่ส่วนที่สูงกว่า วงเงินที่จะซื้อหรือจ้างนั้น ไม่เกินร้อยละสิบ ของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ถ้าเห็นว่า ราคาดังกล่าว เป็นราคาที่เหมาะสม ก็ให้เสนอซื้อหรือจ้าง จากผู้เสนอราคารายนั้น
(๒) ถ้าดำเนินการตาม (๑) แล้วไม่ได้ผล ให้เรียกผู้เสนอราคา ที่คณะกรรมการ เห็นสมควรซื้อหรือจ้าง ทุกราย มาต่อรองราคาใหม่ พร้อมกัน ด้วยวิธียื่นซองเสนอราคา ภายในกำหนดระยะเวลาอันสมควร หากรายใดไม่มายื่นซอง ให้ถือว่ารายนั้น ยืนราคาตามที่เสนอไว้เดิม หากผู้เสนอราคาต่ำสุด ในการต่อรองราคาครั้งนี้ เสนอราคา ไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง หรือสูงกว่า แต่ส่วนที่สูงกว่านั้น ไม่เกินร้อยละสิบ ของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ถ้าเห็นว่า ราคาดังกล่าว เป็นราคาที่เหมาะสม ก็ให้เสนอซื้อหรือจ้าง จากผู้เสนอราคารายนั้น
(๓) ถ้าดำเนินการตาม (๒) แล้วไม่ได้ผล ให้เสนอความเห็น ต่อหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจ ว่าจะสมควร ลดรายการ ลดจำนวน หรือลดเนื้องาน หรือขอเงินเพิ่มเติม หรือยกเลิกการสอบราคา เพื่อดำเนินการสอบราคาใหม่

[๑#๓๕]ข้อ ๔๓ การซื้อหรือการจ้าง โดยวิธีสอบราค าที่ปรากฏว่า ราคาของผู้เสนอราคา รายที่คณะกรรมการ เห็นสมควรซื้อหรือจ้าง ยังสูงอยู่กว่าวงเงิน ทึ่จะซื้อหรือจ้าง ให้คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา ดำเนินการตามลำดับ ดังนี้
(๑) เรียกผู้เสนอราคารายนั้น มาต่อรองราคาให้ต่ำสุด เท่าที่จะทำได้ หากผู้เสนอราคารายนั้น ยอมลดราคา แล้วราคาที่เสนอใหม่ ไม่สูงกว่าวงเงิน ที่จะซื้อหรือจ้าง หรือสูงกว่า แต่ส่วนที่สูงกว่านั้น ไม่เกินร้อยละสิบ ของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง หรือต่อรองแล้ว ไม่ยอมลดราคาลงอีก แต่ส่วนที่สูงกว่าวงเงิน ที่จะซื้อหรือจ้างนั้น ไม่เกินร้อยละสิบ ของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ถ้าเห็นว่า ราคาดังกล่าว เป็นราคาที่เหมาะสม ก็ให้เสนอซื้อหรือจ้าง จากผู้เสนอราคารายนั้น
(๒) ถ้าดำเนินการตาม (๑) แล้วไม่ได้ผล ให้เรียกผู้เสนอราคา ที่คณะกรรมการ เห็นสมควรซื้อหรือจ้าง ทุกราย มาต่อรองราคาใหม่ พร้อมกัน ด้วยวิธียื่นซองเสนอราคา ภายในกำหนดระยะเวลาอันสมควร หากรายใดไม่มายื่นซอง ให้ถือว่ารายนั้น ยืนราคาตามที่เสนอไว้เดิม หากผู้เสนอราคาต่ำสุด ในการต่อรองราคาครั้งนี้ เสนอราคา ไม่สูงกว่าวงเงิน ที่จะซื้อหรือจ้าง หรือสูงกว่าแต่ส่วนที่สูงกว่านั้น ไม่เกินร้อยละสิบ ที่จะซื้อหรือจ้าง ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าว เป็นราคาที่เหมาะสมแล้ว ก็ให้เสนอซื้อหรือจ้าง จากผู้เสนอราคารายนั้น
(๓) ถ้าดำเนินการตาม (๒) แล้วไม่ได้ผล ให้เสนอความเห็น ต่อหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจว่า จะสมควรลดรายการ ลดจำนวน หรือลดเนื้องาน หรือขอเงินเพิ่มเติม หรือยกเลิกการสอบราคา เพื่อดำเนินการ สอบราคาใหม่

วิธีประกวดราคา

ข้อ ๔๔ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ จัดทำเอกสารประกวดราคา ตามตัวอย่าง ที่ กวพ. กำหนด หรือตามแบบ ที่ผ่านการตรวจพิจารณา ของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว
การจัดเอกสารประกวดราคา รายใด จำเป็นต้อง มีข้อความหรือรายการ แตกต่างไปจากที่ กวพ. กำหนด หรือแบบที่ผ่านการพิจารณา ของสำนักงานอัยการสูงสุด โดยมีสาระสำคัญ ตามที่กำหนดไว้ในตัวอย่าง หรือแบบดังกล่าว และไม่ทำให้ทางราชการ เสียเปรียบ ก็ให้กระทำได้ เว้นแต่หัวหน้าส่วนราชการเห็นว่า จะมีปัญหาในทางเสียเปรียบ หรือไม่รัดกุมพอ ก็ให้ส่งร่างเอกสารประกวดราคา ไปให้สำนักงานอัยการสูงสุด ตรวจพิจารณาก่อน
  การเผยแพร่ เอกสารประกวดราคา ให้จัดทำเป็นประกาศ และมีสาระสำคัญ ดังนี้
(๑) รายการพัสดุ ที่ต้องการซื้อ หรืองาน ที่ต้องการจ้าง
(๒) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ เข้าประกวดราคา
(๓) กำหนดวัน เวลา รับซอง ปิดการรับซอง และเปิดซองประกวดราคา
(๔) สถานที่ และระยะเวลา ในการขอรับหรือขอซื้อ เอกสารประกวดราคา และราคาของเอกสาร
(๕) แหล่งเงินกู้และประเทศ ผู้มีสิทธิเข้าประกวดราคา ในกรณีประกวดราคานานาชาติ

[๔#๔๑]ข้อ ๑๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔๕ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๔๕ การซื้อหรือการจ้าง โดยวิธีประกวดราคา ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ มีหน้าที่รับผิดชอบ ควบคุมดูแล และจัดทำหลักฐาน การเผยแพร่ และการปิดประกาศประกวดราคา ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยให้เจ้าหน้าที่พัสดุ ดำเนินการดังนี้
(๑) ปิดประกาศประกวดราคา โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของส่วนราชการนั้น การปิดประกาศดังกล่าว ให้กระทำในตู้ปิดประกาศ ที่มีกุญแจปิดตลอดเวลา โดยผู้ปิดประกาศ และผู้ปลดประกาศ ออกจากตู้ปิดประกาศ จะต้องจัดทำหลักฐาน การปิดประกาศ และการปลดประกาศออก เป็นหนังสือ มีพยานบุคคลรับรอง ทั้งนี้ ผู้ปิดประกาศ และผู้ปลดประกาศออก จะต้องมิใช่บุคคลเดียวกัน และจะต้องมิใช่บุคคลที่เป็นพยาน ในแต่ละกรณีด้วย
(๒) ส่งไปประกาศ ทางวิทยุกระจายเสียง และ/หรือประกาศในหนังสือพิมพ์
(๓) ส่งให้กรมประชาสัมพันธ์ และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย เพื่อเผยแพร่
(๔) ส่งไปเผยแพร่ ที่ศูนย์รวมข่าวประกวดราคา ของทางราชการ โดยให้ส่งเอกสารประกวดราคา ไปพร้อมกันด้วย
(๕) ส่งให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค แล้วแต่กรณี โดยให้ส่งเอกสารประกวดราคา ไปพร้อมกันด้วย
  นอกจากการดำเนินการ ตามวรรคหนึ่ง หากเห็นสมควร จะส่งประกาศ ไปยังผู้มีอาชีพขาย หรือรับจ้างทำงานนั้นโดยตรง หรือจะโฆษณา โดยวิธีอื่นอีกด้วย ก็ได้
  การส่งประกาศประกวดราคา ตามวรรคหนึ่ง หากจัดส่งทางไปรษณีย์ ให้จัดส่งโดยใช้บริการ ไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) เว้นแต่ท้องที่ใด ไม่มีบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) จึงให้จัดส่ง ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
  การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ให้กระทำก่อน การให้หรือการขาย เอกสารประกวดราคา ไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ
  สำหรับการซื้อหรือการจ้าง โดยวิธีประกวดราคานานาชาติ ให้ส่วนราชการ ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ของแหล่งเงินกู้ หรือแหล่งให้เงินช่วยเหลือ

[๓#๓๙]ข้อ ๑๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔๕ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๔๕ การซื้อหรือจ้าง โดยวิธีประกวดราคา ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ มีหน้าที่รับผิดชอบ ควบคุมดูแล และจัดทำหลักฐานการเผยแพร่ข่าว และการปิดประกาศประกวดราคา ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยให้เจ้าหน้าที่พัสดุ ดำเนินการดังนี้
(๑) ปิดประกาศประกวดราคาโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของส่วนราชการนั้น
(๒) ส่งไปประกาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และหรือ ประกาศในหนังสือพิมพ์
(๓) ส่งให้กรมประชาสัมพันธ์ และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
(๔) ส่งเผยแพร่ที่ ศูนย์รวมข่าวประกวดราคาของทางราชการ
(๕) ส่งให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค แล้วแต่กรณี
  นอกจากการดำเนินการ ตามวรรคหนึ่ง หากส่วนราชการเห็นสมควร จะส่งประกาศไปยัง ผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้น โดยตรง หรือจะโฆษณาโดยวิธีอื่นอีกด้วย ก็ได้
  การส่งประกาศประกวด ราคาตาม (๔) และ (๕) ให้ส่งเอกสารประกวดราคา ไปพร้อมกันด้วย
  การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม ต้องกระทำ ก่อนวันรับซองประกวดราคา ไม่น้อยกว่า ๒๐ วัน
  สำหรับการซื้อการจ้าง โดยวิธีประกวดราคานานาชาติ ให้ส่วนราชการ ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ของแหล่งเงินกู้ หรือแหล่งให้เงินช่วยเหลือ

[๑#๓๕]ข้อ ๔๕ การซื้อหรือจ้าง โดยวิธีประกวดราคา ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ปิดประกาศประกวดราคา โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของส่วนราชการนั้น และส่งไปประกาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และหรือ ประกาศในหนังสือพิมพ์ กรมประชาสัมพันธ์ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ศูนย์รวมข่าวประกวดราคา และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค แล้วแต่กรณี และหากเห็นควร จะส่งประกาศไปยัง ผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้น โดยตรง หรือจะโฆษณาโดยวิธีอื่นอีกด้วย ก็ได้
  การส่งประกาศประกวด ราคาตาม (๔) และ (๕) ให้ส่งเอกสารประกวดราคา ไปพร้อมกันด้วย
  การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม ต้องกระทำ ก่อนวันรับซองประกวดราคา ไม่น้อยกว่า ๒๐ วัน
  สำหรับการซื้อการจ้าง โดยวิธีประกวดราคานานาชาติ ให้ส่วนราชการ ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ของแหล่งเงินกู้ หรือแหล่งให้เงินช่วยเหลือ

[๔#๔๑]ข้อ ๑๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔๖ และข้อ ๔๗ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๔๖ การให้หรือการขาย เอกสารประกวดราคา รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวกับ คุณลักษณะเฉพาะ หรือรายละเอียด ให้กระทำ ณ สถานที่ ที่สามารถติดต่อได้โดยสะดวก และไม่เป็นเขตหวงห้าม และจะต้องจัดเตรียม เอกสารประกวดราคาไว้ ให้มากพอ สำหรับความต้องการ ของผู้มาขอรับ หรือขอซื้อ ที่มีอาชีพขาย หรือรับจ้าง ทำงานนั้น รายละ ๑ ชุด โดยไม่มีเงื่อนไขอื่นใด ในการให้หรือการขาย
  การให้หรือการขาย เอกสารประกวดราคา ต้องกระทำไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ และจะต้องมีช่วงเวลา สำหรับการคำนวณราคา ของผู้ประสงค์จะเข้าเสนอราคา หลังปิดการให้ หรือการขายเอกสารประกวดราคา จนถึง ก่อนวันรับซองประกวดราคา ไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ หรือไม่น้อยกว่า จำนวนวันที่มากกว่านั้น ตามที่ กวพ. กำหนด โดยคำนึงถึง ขนาด ปริมาณ และลักษณะ ของพัสดุ ที่จะซื้อหรือจ้าง
  ในกรณีที่มีการขาย ให้กำหนดราคาพอสมควร กับค่าใช้จ่าย ที่ทางราชการต้องเสียไป ในการจัดทำสำเนา เอกสารประกวดราคานั้น
  ถ้ามีการยกเลิก การประกวดราคาครั้งนั้น และมีการประกวดราคาใหม่ ให้ผู้รับหรือซื้อ เอกสารประกวดราคา ในการประกวดราคาครั้งก่อน มีสิทธิใช้เอกสารประกวดราคานั้น หรือได้รับ เอกสารประกวดราคาใหม่ โดยไม่ต้องเสียค่าซื้อเอกสารประกวดราคาอีก

[๑#๓๕]ข้อ ๔๖ การให้หรือการขาย เอกสารประกวดราคา ในการประกวดราคา ซึ่งรวมทั้ง คุณลักษณะเฉพาะ หรือรายละเอียดให้กระทำได้ ณ สถานที่ ที่ผู้ต้องการ สามารถติดต่อได้โดยสะดวก และไม่เป็นเขตหวงห้าม กับจะต้องจัดเตรียมไว้ให้มากพอ สำหรับความต้องการของผู้มาขอรับหรือขอซื้อ ที่มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้น อย่างน้อยรายละ ๑ ชุด โดยไม่มีเงื่อนไขอื่น ในการให้หรือขาย ทั้งนี้ให้เผื่อเวลาไว้ สำหรับการคำนวณราคา ของผู้ประสงค์จะเข้ามาเสนอราคา โดยจะต้องเริ่มดำเนินการให้หรือขาย ก่อนวันรับซองประกวดราคาไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน และให้มีช่วงเวลาในการให้หรือขาย ไม่น้อยกว่า ๑๐ วันด้วย
ในกรณีที่มีการขาย ให้กำหนดราคา พอสมควรกับค่าใช้จ่าย ที่ทางราชการจะต้องเสียไป ในการจัดทำสำเนาเอกสารประกวดราคานั้น
ถ้ามีการยกเลิก การประกวดราคาครั้งนั้น และมีการประกวดราคาใหม่ ให้ผู้รับหรือซื้อ เอกสารประกวดราคา ในการประกวดราคาครั้งก่อน มีสิทธิใช้เอกสารประกวดราคานั้น หรือได้รับเอกสารประกวดราคาใหม่ โดยไม่ต้องเสียค่าซื้อเอกสารประกวดราคาอีก

ข้อ ๔๗ ในกรณีที่การซื้อหรือการจ้างใด มีรายละเอียดที่มีความซับซ้อน หรือมีความจำเป็นโดยสภาพ ของการซื้อหรือการจ้าง ที่จะต้องมีการชี้แจงรายละเอียด หรือการชี้สถานที่ ให้ส่วนราชการกำหนดวัน เวลา และสถานที่ ในการชี้แจงรายละเอียด หรือการชี้สถานที่ ในประกาศประกวดราคา
  ก่อนวันปิดการรับ ซองประกวดราคา หากส่วนราชการเห็นว่า มีความจำเป็น ที่จะต้องกำหนดรายละเอียด เพิ่มเติม หรือมีการชี้สถานที่ อันเป็นการแก้ไข คุณลักษณะเฉพาะ ที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งมิได้กำหนดไว้ ในเอกสารประกวดราคา ตั้งแต่ต้น ให้ส่วนราชการ จัดทำเป็น เอกสารประกวดราคาเพิ่มเติม และให้ระบุ วัน เวลา และสถานที่ ในการชี้แจงรายละเอียด หรือการชี้สถานที่ไว้ด้วย และให้ดำเนินการ ตาม
ข้อ ๔๕ วรรคหนึ่ง โดยอนุโลม รวมทั้งให้แจ้งเป็นหนังสือ ให้ผู้ที่ได้รับ หรือได้ซื้อ เอกสารประกวดราคาไปแล้ว ทุกรายทราบ โดยมิชักช้า
  การชี้แจงรายละเอียด หรือการชี้สถานที่ ตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ จัดทำบันทึก การชี้แจงรายละเอียด หรือการชี้สถานที่ เป็นลายลักษณ์อักษร ไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง
  ถ้ามีการดำเนินการ ตามวรรคสอง ให้ส่วนราชการพิจารณาเลื่อนวัน เวลา รับซอง การปิดการรับซอง และการเปิดซองประกวดราคา ตามความจำเป็นแก่กรณีด้วย

[๑#๓๕]ข้อ ๔๗ ก่อนวันเปิดซองประกวดราคา หากมีความจำเป็นที่จะต้องชี้แจง หรือให้รายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อประโยขน์แก่ทางราชการ หรือมีความจำเป็นต้องแก้ไข คุณลักษณะเฉพาะหรือรายละเอียด ที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งมิได้กำหนดไว้ ในเอกสารประกวดราคาตั้งแต่ต้น ให้จัดทำเป็นเอกสารประกวดราคาเพิ่มเติม และดำเนินการตาม
ข้อ ๔๕ โดยอนุโลม กับแจ้งเป็นหนังสือ ให้ผู้ที่ขอรับหรือขอซื้อ เอกสารประกวดราคาไปแล้ว ทุกราย
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากจะเป็นเหตุให้ผู้เสนอราคา ไม่สามารถยื่นซองประกวดราคา ได้ทันตามกำหนดเดิม ให้เลื่อนวัน เวลา รับซอง ปิดการรับซอง และเปิดซองประกวดราคา ตามความจำเป็นด้วย

ข้อ ๔๘ นอกจากกรณีที่กำหนดไว้ตามข้อ ๔๗ เมื่อถึงกำหนดวันรับซองประกวดราคา ห้ามมิให้ร่นหรือเลื่อน หรือเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลารับซอง และเปิดซองประกวดราคา
การรับซองทางไปรษณีย์จะกระทำได้ เว้นแต่การประกวดราคานานาชาติ ซึ่งกำหนดให้มีการยื่นซองทางไปรษณีย์ได้ โดยให้ถือปฏิบัติตามข้อ ๔๑ (๒) (๓) และ (๔) โดยอนุโลม

[๓#๓๙]ข้อ ๑๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔๙ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๔๙ คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา มีหน้าที่ดังนี้
(๑) รับซองประกวดราคา ลงทะเบียนรับซองไว้เป็นหลักฐาน ลงชื่อกำกับซอง กับบันทึกไว้ที่หน้าซองว่า เป็นของผู้ใด
(๒) ตรวจสอบหลักประกันซอง ร่วมกับเจ้าหน้าที่การเงิน และให้เจ้าหน้าที่การเงิน ออกใบรับ ให้แก่ผู้ยื่นซอง ไว้เป็นหลักฐาน หากไม่ถูกต้อง ให้หมายเหตุในใบรับ และบันทึกในรายงานด้วย กรณีหลักประกันซอง เป็นหนังสือค้ำประกัน ให้ส่งสำเนาหนังสือค้ำประกันให้ธนาคาร บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ผู้ออกหนังสือค้ำประกันทราบ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับด้วย
(๓) รับเอกสารหลักฐานต่างๆ ตามบัญชีรายการเอกสาร ของผู้เสนอราคา พร้อมทั้งพัสดุตัวอย่าง แคตตาล็อก หรือแบบรูปและรายการละเอียด (ถ้ามี) หากไม่ถูกต้อง ให้บันทึกในรายงานไว้ด้วย
(๔) เมื่อพ้นกำหนดเวลารับซองแล้ว ห้ามรับซองประกวดราคา หรือเอกสารหลักฐานต่างๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาอีก เว้นแต่กรณีตามข้อ ๑๖ (๙)
(๕) เปิดซองใบเสนอราคา และอ่านแจ้งราคา พร้อมบัญชีรายการเอกสารหลักฐานต่างๆ ของผู้เสนอราคาทุกราย โดยเปิดเผย ตามเวลาและสถานที่ที่กำหนด และให้กรรมการทุกคน ลงลายมือชื่อกับกำกับไว้ ในใบเสนอราคา และเอกสารประกอบใบเสนอราคา ทุกแผ่น
  ในกรณีที่มีการยื่นซอง ข้อเสนอทางเทคนิคและข้อเสนออื่นๆ แยกจากซองข้อเสนอด้านราคา ซึ่งต้องพิจารณาทางเทคนิคและอื่นๆ ก่อน ตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ตามข้อ ๕๔ และข้อ ๕๖ คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา ไม่ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง โดยให้เป็นหน้าที่ของ คณะกรรมการพิจารารณาผลการประกวดราคา ที่จะต้องดำเนินการต่อไป
(๖) ส่งมอบใบเสนอราคาทั้งหมด และเอกสารหลักฐานต่างๆ พร้อมด้วยบันทึกรายงานการดำเนินการ ต่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาทันที ในวันเดียวกัน
[๑#๓๕]ข้อ ๔๙ คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา มีหน้าที่ดังนี้
(๑) รับซองประกวดราคา ลงทะเบียนรับซองไว้เป็นหลักฐาน ลงชื่อกำกับซอง กับบันทึกไว้ที่หน้าซองว่า เป็นของผู้ใด
(๒) ตรวจสอบหลักประกันซอง ร่วมกับเจ้าหน้าที่การเงิน และให้เจ้าหน้าที่การเงิน ออกใบรับ ให้แก่ผู้ยื่นซอง ไว้เป็นหลักฐาน หากไม่ถูกต้อง ให้หมายเหตุในใบรับ และบันทึกในรายงานด้วย กรณีหลักประกันซอง เป็นหนังสือค้ำประกัน ให้ส่งสำเนาหนังสือค้ำประกันให้ธนาคาร บริษัทเงินทุน ผู้ออกหนังสือค้ำประกันทราบ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับด้วย
(๓) รับเอกสารหลักฐานต่างๆ ตามบัญชีรายการเอกสาร ของผู้เสนอราคา พร้อมทั้งพัสดุตัวอย่าง แคตตาล็อก หรือแบบรูป และรายการละเอียด (ถ้ามี) หากไม่ถูกต้อง ให้บันทึกในรายงานไว้ด้วย
(๔) เมื่อพ้นกำหนดเวลารับซองแล้ว ห้ามรับซองประกวดราคา หรือเอกสารหลักฐานต่างๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาอีก เว้นแต่กรณีตาม
ข้อ ๑๖ (๗)
(๕) เปิดซองใบเสนอราคา และอ่านแจ้งราคา พร้อมบัญชีรายการเอกสารหลักฐานต่างๆ ของผู้เสนอราคาทุกราย โดยเปิดเผย ตามเวลาและสถานที่ที่กำหนด และให้กรรมการทุกคน ลงลายมือชื่อกับกำกับไว้ ในใบเสนอราคา และเอกสารประกอบใบเสนอราคา ทุกแผ่น
  ในกรณีที่มีการยื่นซอง ข้อเสนอทางเทคนิค และข้อเสนออื่นๆ แยกจากซองข้อเสนอด้านราคา ซึ่งต้องพิจารณาทางเทคนิคและอื่นๆ ก่อน ตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ตามข้อ ๕๔ และข้อ ๕๖ คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา ไม่ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง โดยให้เป็นหน้าที่ของ คณะกรรมการพิจารารณาผลการประกวดราคา ที่จะต้องดำเนินการต่อไป
(๖) ส่งมอบใบเสนอราคาทั้งหมด และเอกสารหลักฐานต่างๆ พร้อมด้วยบันทึกรายงานการดำเนินการ ต่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาทันที ในวันเดียวกัน

ข้อ ๕๐ คณะกรรมการ พิจารณาผลการประกวดราคา มีหน้าที่ดังนี้
(๑) ตรวจสอบคุณสมบัติ ของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา เอกสารหลักฐานต่างๆ พัสดุตัวอย่าง แค็ตตาล็อก หรือแบบรูป และรายการละเอียด แล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้อง ตามเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคา
ในกรณีที่ผู้เสนอราคารายใด เสนอรายละเอียดแตกต่างไป จากเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารประกวดราคา ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ และความแตกต่างนั้น ไม่มีผลทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ ต่อผู้เสนอราคารายอื่น หรือเป็นการผิดพลาดเล็กน้อย ให้พิจารณาผ่อนปรนให้ผู้เข้าประกวดราคา โดยไม่ตัดผู้เข้าประกวดราคารายนั้นออก ในการพิจารณา คณะกรรมการอาจสอบถามข้อเท็จจริง จากผู้เสนอราคารายใดก็ได้ แต่จะให้ผู้เสนอราคารายใด เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญที่เสนอไว้แล้ว มิได้
(๒) พิจารณาคัดเลือกสิ่งของ หรืองานจ้าง หรือคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ที่ตรวจสอบแล้วตาม (๑) ซึ่งมีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์แก่ทางราชการ แล้วเสนอให้ซื้อหรือจ้าง จากผู้เสนอราคารายที่คัดไว้แล้ว ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด
ในกรณีผู้เสนอราคาต่ำสุดดังกล่าว ไม่ยอมเข้าทำสัญญา หรือข้อตกลงกับส่วนราชการในเวลาที่กำหนด ตามเอกสารประกวดราคา ให้คณะกรรมการพิจารณาจากผู้เสนอราคาต่ำรายถัดไป ตามลำดับ
ถ้ามีผู้เสนอราคาเท่ากันหลายราย ให้เรียกผู้เสนอราคาดังกล่าวมา ขอให้เสนอราคาใหม่พร้อมกัน ด้วยวิธียื่นซองเสนอราคา
ถ้าปรากฏว่า ราคาของผู้เสนอราคา รายที่คณะกรรมการ เห็นสมควรซื้อหรือจ้าง สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ให้คณะกรรมการ พิจารณาผลการประกวดราคา ดำเนินการตามข้อ ๔๓
โดยอนุโลม
(๓) ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณา และความเห็น พร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมด ต่อหัวหน้าส่วนราชการ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ

ข้อ ๕๑ เมื่อคณะกรรมการ พิจารณาผลการประกวดราคา ได้พิจารณา ตามข้อ ๕๐ (๑) แล้วปรากฏว่า มีผู้เสนอราคารายเดียว หรือมีผู้เสนอราคาหลายราย แต่ถูกต้อง ตามรายการละเอียด และเงื่อนไขที่กำหนด ในเอกสารประกวดราคา เพียงรายเดียว โดยปกติ ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการ ยกเลิก การประกวดราคาครั้งนั้น แต่ถ้าคณะกรรมการ พิจารณาผลการประกวดราคา เห็นว่า มีเหตุผลสมควร ที่จะดำเนินการต่อไป โดยไม่ต้องยกเลิก การประกวดราคา ก็ให้ดำเนินการ ตามข้อ ๕๐ (๒) โดยอนุโลม

[๔#๔๑]ข้อ ๑๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕๒ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕๒ ในกรณีไม่มีผู้เสนอราคา หรือมี แต่ไม่ถูกต้อง ตรงตามรายการละเอียด และเงื่อนไขที่กำหนด ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการ ยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น เพื่อดำเนินการประกวดราคาใหม่ หากหัวหน้าส่วนราชการเห็นว่า การประกวดราคาใหม่ จะไม่ได้ผลดี จะสั่งให้ดำเนินการซื้อหรือจ้าง โดยวิธีพิเศษ ตาม
ข้อ ๒๓(๘) หรือข้อ ๒๔(๖) แล้วแต่กรณี ก็ได้
[๑#๓๕]ข้อ ๕๒ ในกรณีไม่มีผู้เสนอราคา หรือมีแต่ไม่ถูกต้อง ตรงตามรายการละเอียด และเงื่อนไขที่กำหนด ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการ ยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น เพื่อดำเนินการประกวดราคาใหม่ หากหัวหน้าส่วนราชการเห็นว่า การประกวดราคาใหม่ จะไม่ได้ผลดี จะสั่งให้ดำเนินการซื้อหรือจ้าง โดยวิธีพิเศษ ตาม
ข้อ ๒๓ (๗) หรือข้อ ๒๔ (๕) แล้วแต่กรณี

ข้อ ๕๓ หลังจากการประกวดราคาแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำสัญญา หรือตกลงซื้อหรือจ้าง กับผู้เสนอราคารายใด ถ้ามีความจำเป็น เพื่อประโยชน์ของทางราชการ เป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลง สาระสำคัญ ในรายการละเอียด หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ในเอกสารประกวดราคา ซึ่งทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ ระหว่างผู้เข้าเสนอราคาด้วยกัน ให้หัวหน้าส่วนราชการ พิจารณายกเลิก การประกวดราคาครั้งนั้น

[๔#๔๑]ข้อ ๑๗ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕๔ และข้อ ๕๕ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕๔ การซื้อหรือการจ้าง ที่มีลักษณะจำเป็น จะต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีของพัสดุ และหรือข้อกำหนดคุณสมบัติ ของผู้เข้าเสนอราคา ซึ่งอาจจะมีข้อเสนอ ที่ไม่อยู่ในฐานเดียวกัน เป็นเหตุให้มีปัญหา ในการพิจารณาตัดสิน และเพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องให้มีการปรับปรุงข้อเสนอ ให้ครบถ้วน และเป็นไปตามความต้องการ ก่อนพิจารณาด้านราคา หรือการซื้อหรือการจ้าง แบบเหมารวม (Lump Sum Turnkey) ที่คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้ดำเนินการได้ ให้ถือปฏิบัติ เช่นเดียวกับการประกวดราคาทั่วไป เว้นแต่การกำหนดให้ผู้เข้าเสนอราคา ยื่นซองประกวดราคา โดยแยกเป็น
(๑) ซองข้อเสนอด้านเทคนิค และข้อเสนออื่นๆ
(๒) ซองข้อเสนอด้านราคา
(๓) ซองข้อเสนอทางการเงิน ตาม
ข้อ ๕๖ (ถ้ามี)
  ทั้งนี้ ให้กำหนดวิธีการ ขั้นตอน และหลักเกณฑ์การพิจารณาไว้ เป็นเงื่อนไข ในเอกสารประกวดราคาด้วย

[๑#๓๕]ข้อ ๕๔ การซื้อหรือการจ้าง ที่มีลักษณะจำเป็นจะต้องคำนึงถึง เทคโนโลยีของพัสดุ และหรือข้อกำหนดคุณสมบัติ ของผู้เข้าเสนอราคา ซึ่งอาจมีข้อเสนอ ที่ไม่อยู่ในฐานะเดียวกัน เป็นเหตุให้มีปัญหา ในการพิจารณาตัดสิน และเพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องให้มีการปรับปรุงข้อเสนอ ให้ครบถ้วน และเป็นไปตามความต้องการ ก่อนพิจารณาด้านราคา ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับ การประกวดราคาทั่วไป เว้นแต่กำหนดให้ผู้เข้าเสนอราคา ยื่นซองประกวดราคา โดยแยกเป็น
(๑) ซองข้อเสนอด้านเทคนิค และข้อเสนออื่นๆ
(๒) ซองข้อเสนอด้านราคา
ทั้งนี้ ให้กำหนดวิธีการ ขั้นตอน และหลักเกณฑ์การพิจารณา ไว้เป็นเงื่อนไข ในเอกสารประกวดราคาด้วย

ข้อ ๕๕ เพื่อให้เป็นไปตามข้อ ๕๔ ให้คณะกรรมการ พิจารณาผลการประกวดราคา ทำหน้าที่ เปิดซองข้อเสนอด้านเทคนิค ของผู้เสนอราคา แทนคณะกรรมการ รับและเปิดซองประกวดราคา ตามข้อ ๔๙(๕) และพิจารณาผลการประกวดราคา ตามข้อ ๕๔ โดยถือปฏิบัติ ตามข้อ ๕๐ ในส่วนที่ไม่ขัดกับการดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค และข้อเสนออื่น ของผู้เข้าเสนอราคาทุกราย และคัดเลือกเฉพาะ รายที่เสนอได้ตรง หรือใกล้เคียง ตามมาตรฐานความต้องการ ของส่วนราชการมากที่สุด ในกรณีจำเป็น จะเรียกผู้เสนอราคา มาชี้แจง ในรายละเอียดข้อเสนอ เป็นการเพิ่มเติม ข้อหนึ่งข้อใด ก็ได้
(๒) เปิดซองราคาเฉพาะราย ที่ได้ผ่านการพิจารณาคัดเลือก ตาม (๑) แล้ว สำหรับราย ที่ไม่ผ่านการพิจารณา ให้ส่งคืน ซองข้อเสนอด้านราคา และซองข้อเสนอทางการเงิน (ถ้ามี) โดยไม่เปิดซอง
  ในการพิจารณา ข้อเสนอด้านเทคนิค และข้อเสนอทางการเงิน ในกรณีนี้ ให้ส่วนราชการแต่งตั้ง ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน ที่เกี่ยวข้องกับ การซื้อหรือการจ้าง อย่างน้อยด้านละ ๑ คน เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ พิจารณาผลการประกวดราคา ตามวรรคหนึ่งด้วย

[๑#๓๕]ข้อ ๕๕ เพื่อให้เป็นไปตาม
ข้อ ๕๔ ให้คณะกรรมการ พิจารณาผลการประกวดราคา ทำหน้าที่เปิดซองเทคนิค ของผู้เสนอราคา แทนคณะกรรมการรับและเปิดซอง ตามข้อ ๔๙ (๕) และพิจารณา ผลการประกวดราคา ตามข้อ ๕๔ โดยถือปฏิบัติตามข้อ ๕๐ ในส่วนที่ไม่ขัดกับการดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) การพิจารณาข้อเสนอทางเทคนิค และข้อเสนออื่น ของผู้เข้าเสนอราคาทุกราย และคัดเลือกเฉพาะรายที่เสนอ ได้ตรงหรือใกล้เคียง ตามมาตรฐานความต้องการ ของส่วนราชการมากที่สุด ในกรณีจำเป็น สามารถเรียกผู้เสนอราคา มาชี้แจงในรายละเอียดข้อเสนอ เป็นการเพิ่มเติม ข้อหนึ่งข้อใด ก็ได้
(๒) เปิดซองราคา เฉพาะรายที่ได้ผ่านการพิจารณาคัดเลือก ตาม (๑) แล้ว สำหรับรายที่ไม่ผ่านการพิจารณา ให้ส่งคืน ซองข้อเสนอด้านราคา โดยไม่เปิดซอง

ข้อ ๕๖ การซื้อหรือการจ้าง ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าเสนอราคา ยื่นข้อเสนอทางการเงินมาด้วย ให้กำหนดให้ผู้เสนอราคายื่นซองข้อเสนอทางการเงิน แยกมาต่างหาก และให้เปิดซองข้อเสนอทางการเงิน พร้อมกับการเปิดซองราคา ตามข้อ ๕๕ (๒) เพื่อทำการประเมินเปรียบเทียบต่อไป ทั้งนี้ ให้กำหนดวิธีการขั้นตอน และหลักเกณฑ์การพิจารณา ไว้เป็นเงื่อนไข ในเอกสารการประกวดราคาด้วย

วิธีพิเศษ

[๓#๓๙]ข้อ ๑๗ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕๗ และ ๕๘ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕๗
การซื้อโดยวิธีพิเศษ ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้ง คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษขึ้น เพื่อดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีเป็นพัสดุ จะขายทอดตลาด ให้ดำเนินการซื้อโดยเจรจาตกลงราคา
(๒) ในกรณีเป็นพัสดุ ที่จะต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจเสียหายแก่ทางราชการ ให้เชิญผู้มีอาชีพขายพัสดุนั้นโดยตรง มาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้น ยังสูงกว่าราคาในท้องตลาด หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควร ให้ต่อรองราคา เท่าที่จะทำได้
(๓) ในกรณีเป็นพัสดุ เพื่อใช้ในราชการลับ ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับ (๒)
(๔) ในกรณีที่เป็นพัสดุ ที่ได้ซื้อไว้แล้ว แต่มีความจำเป็นต้องใช้เพิ่ม ในสถานการณ์ที่จำเป็นหรือเร่งด่วน หรือเพื่อประโยชน์ของส่วนราชการ ให้เจรจากับผู้ขายรายเดิม ตามสัญญาหรือข้อตกลง ซึ่งยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาการส่งมอบ เพื่อขอให้มีการขายพัสดุ ตามรายละเอียด และราคาที่ต่ำกว่า หรือราคาเดิม ภายใต้เงื่อนไขที่ดีกว่า หรือเงื่อนไขเดิม โดยคำนึงถึง ราคาต่อหน่วย ตามสัญญาเดิม (ถ้ามี) เพื่อให้บังเกิดผลประโยชน์สูงสุด ที่ส่วนราชการจะได้รับ
(๕) ในกรณีเป็นพัสดุ ที่จำเป็นต้องซื้อโดยตรง จากต่างประเทศ ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อติดต่อสั่งซื้อ โดยตรงจากต่างประเทศ หรือสืบราคาจากต่างประเทศ โดยขอความร่วมมือ ให้สถานเอกอัครราชทูต หรือส่วนราชการอื่น ในต่างประเทศ ช่วยสืบราคา คุณภาพ ตลอดจนรายละเอียด ส่วนการซื้อ โดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ ให้ติดต่อกับ สำนักงานขององค์การระหว่างประเทศ ที่มีอยู่ในประเทศโดยตรง เว้นแต่กรณีที่ ไม่มีสำนักงานในประเทศ ให้ติดต่อกับ สำนักงานในต่างประเทศได้
(๖) ในกรณีเป็นพัสดุ ที่โดยลักษณะของการใช้งาน หรือมีข้อจำกัดทางเทคนิค ที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อ เป็นการเฉพาะ ให้เชิญผู้ผลิต หรือผู้แทนจำหน่าย พัสดุนั้นโดยตรง มาเสนอราคา หากเห็นว่าราคา ที่เสนอนั้น ยังสูงกว่าราคาในท้องตลาด หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควร ให้ต่อรองราคาลง เท่าที่จะทำได้
(๗) ในกรณีพัสดุ ทึ่เป็นที่ดิน และหรือสิ่งก่อสร้าง ซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง ให้เชิญเจ้าของที่ดินโดยตรง มาเสนอราคา หากเห็นว่า ราคาที่เสนอนั้น ยังสูงกว่าราคาในท้องตลาด หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควร ให้ต่อรองราคาลง เท่าที่จะทำได้
  สำหรับการจัดซื้อ ที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง ในต่างประเทศ ในกรณีจำเป็น จะติดต่อกับนายหน้า หรือดำเนินการ ในทำนองเดียวกัน ตามกฏหมาย หรือประเพณีนิยมท้องถิ่น แทนเจ้าของที่ดินก็ได้
(๘) ในกรณีเป็นพัสดุ ที่ได้ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้ว ไม่ได้ผลดี ให้สืบราคาจาก ผู้มีอาชีพขายพัสดุนั้นโดยตรง และผู้เสนอราคา ในการสอบราคา หรือประกวดราคา ซึ่งถูกยกเลิกไป (ถ้ามี) หากเห็นว่า ผู้เสนอราคาราย ที่เห็นสมควรซื้อ เสนอราคาสูงกว่าราคาในท้องตลาด หรือราคาที่ คณะกรรมการเห็นสมควร ให้ต่อรองราคาลง เท่าที่จะทำได้
  ให้คณะกรรมการ รายงานผลการพิจารณา และความเห็น พร้อมด้วยเอกสาร ที่ได้รับไว้ทั้งหมด ต่อหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่าน หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ
[๑#๓๕]ข้อ ๕๗ การซื้อโดยวิธีพิเศษ ให้หัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษขึ้น เพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีเป็นพัสดุจะขายทอดตลาด ให้ดำเนินการซื้อโดยเจรจาตกลงราคา
(๒) ในกรณีเป็นพัสดุที่จะต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจเสียหายแก่ทางราชการ ให้เชิญผู้มีอาชีพขายพัสดุนั้นโดยตรง มาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้น ยังสูงกว่าราคาในท้องตลาด หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควร ให้ต่อรองราคาเท่าที่จะทำได้
(๓) ในกรณีเป็นพัสดุเพื่อใช้ในราชการลับ ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับ (๒)
(๔) ในกรณีเป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อติดต่อสั่งซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ หรือสืบราคาจากต่างประเทศ โดยขอความร่วมมือ ให้สถานเอกอัครราชทูต หรือส่วนราชการอื่นในต่างประเทศ ช่วยสืบราคา คุณภาพ ตลอดจนรายละเอียด ส่วนการซื้อโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ ให้ติดต่อกับ สำนักงานขององค์การระหว่างประเทศ ที่มีอยู่ในประเทศโดยตรง เว้นแต่กรณีที่ไม่มีสำนักงานในประเทศ ให้ติดต่อกับ สำนักงานในต่างประเทศได้
(๕) ในกรณีเป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งาน หรือมีข้อจำกัดทางเทคนิค ที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อ เป็นการเฉพาะ ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับ (๒)
(๖) ในกรณีเป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้ว ไม่ได้ผลดี ให้สืบราคาจาก ผู้มีอาชีพขายพัสดุนั้นโดยตรง และผู้เสนอราคาในการสอบราคา หรือประกวดราคา ซึ่งถูกยกเลิกไป (ถ้ามี) หากเห็นว่า ผู้เสนอราคารายที่เห็นสมควรซื้อ เสนอราคาสูงกว่าราคาในท้องตลาด หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควร ให้ต่อรองราคาลง เท่าที่จะทำได้
(๗) ในกรณีพัสดุทึ่เป็นที่ดิน และหรือสิ่งก่อสร้าง ซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง ให้เชิญเจ้าของที่ดินโดยตรง มาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้น ยังสูงกว่าราคาในท้องตลาด หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควร ให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้
  สำหรับการจัดซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง ในต่างประเทศ ในกรณีจำเป็น จะติดต่อกับนายหน้า หรือดำเนินการในทำนองเดียวกัน ตามกฏหมายหรือประเพณีนิยมท้องถิ่น แทนเจ้าของที่ดินก็ได้
  ให้คณะกรรมการ รายงานผลการพิจารณา และความเห็น พร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมด ต่อหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่าน หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ

ข้อ ๕๘ การจ้างโดยวิธีพิเศษ ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้ง คณะกรรมการจัดจ้าง โดยวิธีพิเศษขึ้น เพื่อดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) การจ้างโดยวิธีพิเศษ ตามข้อ ๒๔ (๑) (๒) (๓) และ (๔) ให้เชิญผู้มีอาชีพรับจ้างทำงานนั้นโดยตรง มาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้น ยังสูงกว่า ราคาในท้องถิ่น หรือราคาที่ได้ประมาณได้ หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควร ให้ต่อรองราคา เท่าที่จะทำได้
(๒) การจ้างโดยวิธีพิเศษ ตามข้อ ๒๔ (๕) ให้เจรจากับผู้รับจ้างรายเดิม ตามสัญญา หรือข้อตกลง ซึ่งยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาการส่งมอบ เพื่อขอให้มีการจ้าง ตามรายละเอียด และราคาที่ต่ำกว่า หรือราคาเดิม โดยคำนึงถึง ราคาต่อหน่วย ตามสัญญาเดิม (ถ้ามี) เพื่อให้บังเกิดผลประโยชน์สูงสุด ที่ส่วนราชการจะได้รับ
(๓) การจ้างโดยวิธีพิเศษ ตามข้อ ๒๔ (๖) กรณีเป็นพัสดุ ที่ได้ดำเนินการจ้างโดยวิธีอื่นแล้ว ไม่ได้ผลดี ให้สืบราคา จากผู้มีอาชีพรับจ้างทำงานนั้นโดยตรง และผู้เสนอราคา ในการสอบราคา หรือประกวดราคา ซึ่งถูกยกเลิกไป (ถ้ามี) หากเห็นว่าผู้เสนอราคา รายที่เห็นสมควรจ้าง เสนอราคาสูงกว่า ราคาในท้องถิ่น หรือราคาที่ประมาณได้ หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควร ให้ต่อรองราคาลง เท่าที่จะทำได้
  ให้คณะกรรมการ รายงานผลการพิจารณาและความเห็น พร้อมด้วยเอกสาร ที่ได้รับไว้ทั้งหมด ต่อหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่าน หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ
[๑#๓๕]ข้อ ๕๘ การจ้างโดยวิธีพิเศษ ให้หัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้ง คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษขึ้น เพื่อดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) การจ้างโดยวิธีพิเศษ ตาม
ข้อ ๒๔ (๑) (๒) (๓) และ (๔) ให้เชิญผู้มีอาชีพรับจ้างทำงานนั้นโดยตรง มาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้น ยังสูงกว่าราคาในท้องถิ่น หรือราคาที่ได้ประมาณได้ หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควร ให้ต่อรองราคาเท่าที่จะทำได้
(๒) การจ้างโดยวิธีพิเศษ ตามข้อ ๒๔ (๖) กรณีเป็นพัสดุ ที่ได้ดำเนินการจ้างโดยวิธีอื่นแล้ว ไม่ได้ผลดี ให้สืบราคา จากผู้มีอาชีพรับจ้างทำงานนั้นโดยตรง และผู้เสนอราคา ในการสอบราคาหรือประกวดราคา ซึ่งถูกยกเลิกไป (ถ้ามี) หากเห็นว่าผู้เสนอราคารายที่เห็นสมควรจ้าง เสนอราคาสูงกว่าราคาในท้องถิ่น หรือราคาที่ประมาณได้ หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควร ให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้
  ให้คณะกรรมการ รายงานผลการพิจารณาและความเห็น พร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมด ต่อหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่าน หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ

วิธีกรณีพิเศษ

[๓#๓๙]ข้อ ๑๘ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕๙ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕๙
การดำเนินการซื้อหรือจ้าง โดยวิธีกรณีพิเศษ ให้หัวหน้าส่วนราชการ สั่งซื้อหรือสั่งจ้าง จากผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ตามข้อ ๒๖ ได้โดยตรง เว้นแต่การซื้อหรือการจ้าง ครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ จัดซื้อหรือจ้างได้ ภายในวงเงิน ที่ได้รับความเห็นชอบ จากหัวหน้าส่วนราชการ ตามข้อ ๒๙
[๑#๓๕]ข้อ ๕๙ การดำเนินการซื้อหรือจ้าง โดยวิธีกรณีพิเศษ ให้หัวหน้าส่วนราชการ สั่งซื้อหรือสั่งจ้าง จากผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ตามข้อ ๒๖ ได้โดยตรง เว้นแต่การซื้อหรือการจ้าง ครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ จัดซื้อหรือจ้างได้ ภายในวงเงิน ที่ได้รับความเห็นชอบ จากหัวหน้าส่วนราชการ ตามข้อ ๒๙

การจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์

ข้อ ๖๐ การซื้อยาของส่วนราชการ ให้จัดซื้อตามชื่อสามัญ (Generic name) ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ตามที่ คณะกรรมการแห่งชาติทางด้านยากำหนด โดยให้ใช้เงินงบประมาณ จัดซื้อยาดังกล่าว ใม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ เว้นแต่ส่วนราชการ ในสังกัดสาธารณสุข ให้ใช้เงินงบประมาณ จัดซื้อยาดังกล่าว ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

ข้อ ๖๑ การซื้อยา และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา เช่น ผ้าก๊อส สำลี หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา เฝือก วัสดุทันตกรรม ฟิล์มเอกชเรย์ และเภสัชเคมีภัณฑ์ ซึ่งองค์การเภสัชกรรม ได้ผลิตออกจำหน่ายแล้ว ให้จัดซื้อ จากองค์การเภสัชกรรม นอกจากส่วนราชการ ในสังกัดกระทรวงกลาโหม ให้จัดซื้อ จากโรงงานเภสัชกรรมทหาร ส่วนกรมตำรวจ จะจัดซื้อ จากองค์การเภสัชกรรม หรือโรงงานเภสัชกรรมทหารก็ได้ โดยให้ดำเนินการด้วยวิธี กรณีพิเศษ แต่ทั้งนี้ ราคายา ที่องค์การเภสัชกรรม หรือโรงงานเภสัชกรรมทหาร จำหน่าย ต้องไม่สูงกว่า ราคากลาง ของยาชื่อสามัญเดียวกัน ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เกินร้อยละ ๓

ข้อ ๖๒ การซื้อยาตามชื่อสามัญ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ซึ่งองค์การเภสัชกรรม มิได้เป็นผู้ผลิต แต่มีจำหน่าย ส่วนราชการ จะจัดซื้อ จากองค์การเภสัชกรรม หรือผู้ขาย หรือผู้ผลิตรายใดก็ได้ ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑) การจัดซื้อ โดยวิธีสอบราคา หรือประกวดราคา ให้ส่วนราชการ แจ้งให้องค์การเภสัชกรรม ทราบด้วย ทุกครั้ง และถ้าผลการสอบราคา หรือประกวดราคา ปรากฏว่า องค์การเภสัชกรรม เสนอราคาเท่ากัน หรือต่ำกว่า ผู้เสนอราคาอื่น ให้ส่วนราชการ ซื้อจากองค์การเภสัชกรรม
(๒) การจัดซื้อ โดยวิธีตกลงราคา หรือวิธีพิเศษ ให้ซื้อในราคาที่ ไม่สูงกว่าราคากลาง ที่กระทรวงสาธารณสุข กำหนด

ข้อ ๖๓ ในกรณีที่มีกฏหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี กำหนดให้ความสนับสนุน ให้ซื้อยาและเวชภัณฑ์ ที่มิใช่ยา จากหน่วยงานใด ก็ให้ส่วนราชการจัดซื้อยา หรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา จากหน่วยงานดังกล่าวได้ โดยวิธีกรณีพิเศษ

ข้อ ๖๔ ให้กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ แจ้งเวียนบัญชียาหลักแห่งชาติ ตามที่ คณะกรรมการแห่งชาติทางด้านยากำหหนด พร้อมทั้งราคากลาง ของยาดังกล่าว และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ให้ส่วนราชการต่างๆ ทราบ กับให้องค์การเภสัชกรรม แจ้งรายการยา ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ที่องค์การเภสัชกรรมผลิตได้ หรือมีจำหน่าย ให้ส่วนราชการต่างๆ ทราบด้วย

อำนาจในการสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง

[๒#๓๘]ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖๕ และ ข้อ ๖๖ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๖๕
การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างครั้งหนึ่ง นอกจากวิธีพิเศษ และวิธีกรณีพิเศษ ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่ง และภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้
(๑) หัวหน้าส่วนราชการ ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒) ปลัดกระทรวง เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๓) รัฐมนตรีเจ้าสังกัด เกิน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท

[๑#๓๕]ข้อ ๖๕ การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างครั้งหนึ่ง นอกจากวิธีพิเศษ และวิธีกรณีพิเศษ ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่ง และภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้
(๑) หัวหน้าส่วนราชการ ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒) ปลัดกระทรวง เกิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๓) รัฐมนตรีเจ้าสังกัด เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท

ข้อ ๖๖ การสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง โดยวิธีพิเศษ ครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่ง และภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้
(๑) หัวหน้าส่วนราชการ ไม่เกิน ๒๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒) ปลัดกระทรวง เกิน ๒๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๓) รัฐมนตรีเจ้าสังกัด เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
[๑#๓๕]ข้อ ๖๖ การสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง โดยวิธีพิเศษ ครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่ง และภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้
(๑) หัวหน้าส่วนราชการ ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒) ปลัดกระทรวง เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๒๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๓) รัฐมนตรีเจ้าสังกัด เกิน ๒๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท

ข้อ ๖๗ การสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง โดยวิธีกรณีพิเศษ ให้หัวหน้าส่วนราชการ สั่งซื้อหรือสั่งจ้าง โดยไม่จำกัดวงเงิน

การจ่ายเงินล่วงหน้า

ข้อ ๖๘ การจ่ายเงิน ค่าพัสดุหรือค่าจ้างล่วงหน้า ให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง จะกระทำมิได้ เว้นแต่หัวหน้าส่วนราชการเห็นว่า มีความจำเป็นจะต้องจ่าย และมีการกำหนดเงื่อนไขไว้ ก่อนทำสัญญาหรือข้อตกลง ให้กระทำได้เฉพาะกรณี และตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) การซื้อหรือการจ้าง จากส่วนราชการ หน่วยงานตามกฏหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่น ซึ่งมีกฏหมายบัญญัติ ให้มีฐานะเป็น ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ จ่ายได้ไม่เกิน ร้อยละห้าสิบ ของราคาซื้อหรือราคาจ้าง
(๒) การซื้อพัสดุ จากสถาบันของรัฐ ในต่างประเทศ หรือจากหน่วยงานอื่น ในต่างประเทศ ซึ่งต้องดำเนินการ ผ่านองค์การระหว่างประเทศ หรือการซื้อเครื่องมือวิทยาศาสตร์ หรือวัสดุอื่นที่ กวพ. กำหนด ตามข้อ ๑๒(๘) ซึ่งจำเป็นต้องซื้อ จากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรง ในต่างประเทศ ให้จ่ายได้ ตามที่ตกลงกับ สถาบันของรัฐ หรือองค์การระหว่างประเทศ หรือตามเงื่อนไข ที่ผู้ขายกำหนด แล้วแต่กรณี
[๓#๓๙]ข้อ ๑๙ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของข้อ ๖๘ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๓) การบอกรับวารสาร หรือการสั่งจองหนังสือ หรือการจัดซื้อ ฐานข้อมูลสำเร็จรูป (CD-ROM) ที่มีลักษณะ จะต้องบอกรับเป็นสมาชิกก่อน และมีกำหนดการออกเป็นวาระ ดังเช่นวารสาร หรือการบอกรับเป็นสมาชิก INTERNET เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ เรียกค้นหาข้อมูลข่าวสาร จากแหล่งข้อมูลต่างๆ โดยอาศัย ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ให้จ่ายได้ เท่าที่จ่ายจริง

[๑#๓๕](๓) การบอกรับวารสาร หรือการสั่งจองหนังสือ จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง
(๔) การซื้อหรือการจ้าง โดยวิธีสอบราคา หรือประกวดราคา จ่ายได้ไม่เกิน ร้อยละสิบห้า ของราคาซื้อหรือราคาจ้าง แต่ทั้งนี้ จะต้องกำหนด อัตราค่าพัสดุหรือค่าจ้าง ที่จะจ่ายล่วงหน้า ไว้เป็นเงื่อนไข ในเอกสาร สอบราคาหรือประกวดราคาด้วย
(๕) การซื้อหรือการจ้าง โดยวิธีพิเศษ ให้จ่ายได้ไม่เกิน ร้อยละสิบห้า ของราคาซื้อ หรือราคาจ้าง

ข้อ ๖๙ การจ่ายเงิน ให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ตามแบบธรรมเนียมการค้าระหว่างประเทศ โดยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต หรือโดยวิธีใช้ดราฟต์ กรณีที่วงเงินไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท หรือการจ่ายเงิน ตามความก้าวหน้า ในการจัดหาพัสดุ ที่สั่งซื้อ ให้กระทำได้ โดยไม่ถือว่า เป็นการจ่ายเงินล่วงหน้า

ข้อ ๗๐ การจ่ายเงิน ค่าพัสดุหรือค่าจ้างล่วงหน้า ตามข้อ ๖๘ (๑) (๒) และ (๓) ไม่ต้องเรียกหลักประกัน
ส่วนการจ่ายเงิน ค่าพัสดุหรือค่าจ้างล่วงหน้า ตามข้อ ๖๘ (๔) และ (๕) ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง จะต้องนำ ธนบัตรรัฐบาลไทย หรือหนังสือค้ำประกัน ของธนาคารในประเทศ มาค้ำประกัน เงินที่รับล่วงหน้าไปนั้น

การตรวจรับพัสดุ

ข้อ ๗๑ คณะกรรมการ ตรวจรับพัสดุ มีหน้าที่ดังนี้
(๑) ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุนั้น หรือสถานที่ ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง
การตรวจรับพัสดุ ณ สถานที่อื่น ในกรณีที่ ไม่มีสัญญาหรือข้อตกลง จะต้องได้รับอนุมัติ จากหัวหน้าส่วนราชการก่อน
(๒) ตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วน ตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้ สำหรับกรณีที่มีการทดลองหรือตรวจสอบ ในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์ จะเชิญผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้น มาให้คำปรึกษา หรือส่งพัสดุนั้น ไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒินั้นๆ ก็ได้
ในกรณีจำเป็น ที่ไม่สามารถตรวจนับ เป็นจำนวนหน่วยทั้งหมดได้ ให้ตรวจรับ ตามหลักวิชาการสถิติ
(๓) โดยปกติ ให้ตรวจรับพัสดุ ในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง นำพัสดุมาส่ง และให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไป โดยเร็วที่สุด
(๔) เมื่อตรวจถูกต้องควบถ้วนแล้ว ให้รับพัสดุไว้ และถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ได้ส่งมอบพัสดุถูกต้องครบถ้วน ตั้งแต่วันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง นำพัสดุนั้นมาส่ง แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พัสดุ พร้อมกับทำใบตรวจรับ โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน อย่างน้อยสองฉบับ มอบแก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ ๑ ฉบับ เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงิน ตามระเบียบว่าด้วย การเบิกจ่ายเงินจากคลัง และรายงาน ให้หัวหน้าส่วนราชการทราบ ในกรณีที่เห็นว่า พัสดุที่ส่งมอบ มีรายละเอียด ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ในสัญญาหรือข้อตกลง ให้รายงานหัวหน้าส่วนราชการ ผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อทราบ หรือสั่งการ แล้วแต่กรณี
(๕) ในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ส่งมอบพัสดุถูกต้อง แต่ไม่ครบจำนวน หรือส่งมอบครบจำนวน แต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ถ้าสัญญาหรือข้อตกลง มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ตรวจรับไว้ เฉพาะจำนวนที่ถูกต้อง โดยถือปฏิบัติตาม (๔) และโดยปกติ ให้รีบรายงาน หัวหน้าส่วนราชการ เพื่อแจ้งให้ผู้ขาย หรือผู้รับจ้างทราบ ภายใน ๓ วันทำการ นับแต่วันตรวจพบ แต่ทั้งนี้ ไม่ได้ตัดสิทธิ์ ของส่วนราชการ ที่จะปรับผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ในจำนวนที่ส่งมอบ ไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้องนั้น
(๖) การตรวจรับพัสดุ ที่ประกอบกัน เป็นชุดหรือหน่วย ถ้าขาดส่วนประกอบ อย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้ว จะไม่สามารถใช้การได้ โดยสมบูรณ์ ให้ถือว่า ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง มิได้ส่งมอบพัสดุนั้น และโดยปกติ ให้รีบรายงาน หัวหน้าส่วนราชการ เพื่อแจ้งให้ผู้ขาย หรือผู้รับจ้างทราบ ภายใน ๓ วันทำการ นับแต่วันที่ตรวจพบ
(๗) ถ้ากรรมการตรวจรับพัสดุบางคน ไม่ยอมรับพัสดุ โดยทำความเห็นแย้งไว้ ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าหัวหน้าส่วนราชการ สั่งการให้รับพัสดุนั้นไว้ จึงดำเนินการ ตาม (๔) หรือ (๕) แล้วแต่กรณี

การตรวจการจ้างและการควบคุมงานก่อสร้าง

ข้อ ๗๒ คณะกรรมการตรวจการจ้าง มีหน้าที่ดังนี้
(๑) ตรวจสอบรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง และเหตุการณ์แวดล้อม ที่ผู้ควบคุมงานรายงาน โดยตรวจสอบกับ แบบรูปรายการละเอียด และข้อกำหนดในสัญญา ทุกสัปดาห์ รวมทั้งรับทราบหรือพิจารณา การสั่งหยุดงาน หรือพนักงานของผู้ควบคุมงาน แล้วรายงาน หัวหน้าส่วนราชการ เพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
(๒) การดำเนินการตาม (๑) ในกรณีมีข้อสงสัย หรือมีกรณีที่เห็นว่า ตามหลักวิชาการช่าง ไม่น่าจะเป็นไปได้ ให้ออกตรวจงานจ้าง ณ สถานที่ ที่ทำการไว้ในสัญญา หรือที่ตกลง ให้ทำงานจ้างนั้นๆ โดยให้มีอำนาจ สั่ง เปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม หรือตัดทอน งานจ้างได้ ตามที่เห็นสมควร และตามหลักวิชาการช่าง เพื่อให้เป็นไปตาม แบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนด ในสัญญา
(๓) โดยปกติ ให้ตรวจผลงาน ที่ผู้รับ
จ้างส่งมอบ ภายใน ๓ วันทำการ นับแต่วันที่ ประธานกรรมการ ได้รับทราบ การส่งมอบงาน และให้ทำการตรวจรับ ให้เสร็จสิ้นไป โดยเร็วที่สุด
(๔) เมื่อตรวจเห็นว่า เป็นการถูกต้องครบถ้วน เป็นไปตาม แบบรูปรายการละเอียด และข้อกำหนด ในสัญญาแล้ว ให้ถือว่า ผู้รับจ้าง ส่งมอบงานครบถ้วน ตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้าง ส่งงานนั้น และให้ทำ ใบรับรองผลการปฏิบัติงานทั้งหมด หรืองานเฉพาะงวด แล้วแต่กรณี โดยลงชื่อไว้ เป็นหลักฐาน อย่างน้อย ๒ ฉบับ มอบให้แก่ผู้รับจ้าง ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ ๑ ฉบับ เพื่อทำการเบิกจ่ายเงิน ตามระเบียบว่าด้วย การเบิกจ่ายเงินจากคลัง และรายงาน ให้หัวหน้าส่วนราชการทราบ
ในกรณีที่เห็นว่า ผลงานที่ส่งมอบทั้งหมด หรืองวดใดก็ตาม ไม่เป็นไปตาม แบบรูปรายการละเอียด และข้อกำหนดในสัญญา ให้รายงาน หัวหน้าส่วนราชการ ผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อทราบ หรือสั่งการ แล้วแต่กรณี
(๕) ในกรณีที่ กรรมการตรวจการจ้างบางคน ไม่ยอมรับงาน โดยทำความเห็นแย้งไว้ ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าหัวหน้าส่วนราชการ สั่งการให้ตรวจรับงานจ้างนั้นไว้ จึงจะดำเนินการ ตาม (๔)

ข้อ ๗๓ ผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ ดังนี้
(๑) ตรวจและควบคุมงาน ณ สถานที่ ที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้นๆ ทุกวัน ให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียด และข้อกำหนดไว้ในสัญญา ทุกประการ โดยสั่งเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม หรือตัดทอน งานจ้างได้ ตามที่เห็นสมควร และตามหลักวิชาการช่าง เพื่อให้เป็นไปตาม แบบรูปรายการละเอียด และข้อกำหนดในสัญญา ถ้าผู้
รับจ้าง ขัดขืน ไม่ปฏิบัติตาม ก็สั่งให้หยุดงานนั้น เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมด แล้วแต่กรณี ไว้ก่อน จนกว่าผู้รับจ้าง จะยอมปฏิบัติ ให้ถูกต้อง ตามคำสั่ง และให้รายงาน คณะกรรมการตรวจการจ้างทันที
(๒) ในกรณีที่ปรากฏว่า แบบรูปรายการละเอียด หรือข้อกำหนดในสัญญา มีข้อความขัดกัน หรือเป็นที่คาดหมายได้ว่า ถึงแม้ว่างานนั้นจะได้เป็นไปตาม แบบรูปรายการละเอียด และข้อกำหนดในสัญญา แต่เมื่อสำเร็จแล้ว จะไม่มั่นคงแข็งแรง หรือไม่เป็นไป ตามหลักวิชาการช่างที่ดี หรือไม่ปลอดภัย ให้สั่งพักงานนั้นไว้ก่อน แล้วรายงาน คณะกรรมการตรวจการจ้าง โดยเร็ว
[๓#๓๙]ข้อ ๒๐ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของข้อ ๗๓ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๓) จดบันทึก สภาพการปฏิบัติงาน ของผู้รับจ้าง และเหตุการณ์แวดล้อม เป็นรายวัน พร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน หรือการหยุดงาน และสาเหตุที่มีการหยุดงาน อย่างน้อย ๒ ฉบับ เพื่อรายงาน ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบ ทุกสัปดาห์ และเก็บรักษาไว้ เพื่อมอบให้แก่เจ้าหน้าที่พัสดุ เมื่อเสร็จงานแต่ละงวด โดยถือว่า เป็นเอกสารสำคัญ ของทางราชการ เพื่อประกอบการตรวจสอบ ของผู้มีหน้าที่
  การบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง ให้ระบุรายละเอียด ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และวัสดุที่ใช้ด้วย
[๑#๓๕](๓) จดบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง และเหตุการณ์แวดล้อม เป็นรายวัน พร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน อย่างน้อย ๒ ฉบับ เพื่อรายงาน ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบ ทุกสัปดาห์ และเก็บรักษาไว้ เพื่อมอบให้แก่เจ้าหน้าที่พัสดุ เมื่อเสร็จงานแต่ละงวด โดยถือว่า เป็นเอกสารสำคัญ ของทางราชการ เพื่อประกอบการตรวจสอบ ของผู้มีหน้าที่
  การบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง ให้ระบุรายละเอียด ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และวัสดุที่ใช้ด้วย

(๔) ในวันกำหนดลงมือทำการ ของผู้รับจ้างตามสัญญา และในวันถึงกำหนด ส่งมอบงานแต่ละงวด ให้รายงานผลการปฏิบัติงาน ของผู้รับจ้าง ว่าเป็นไปตามสัญญาหรือไม่ ให้คณะกรรมการตรวจการจ้าง ทราบภายใน ๓ วันทำการ นับแต่วันถึงกำหนดนั้นๆ

ส่วนที่ ๓ การจ้างที่ปรึกษา

การส่งเสริมที่ปรึกษาไทย

[๔#๔๑]ข้อ ๑๘ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗๔ ข้อ ๗๕ และข้อ ๗๖ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๗๔ เพื่อเป็นการส่งเสริม และพัฒนาที่ปรึกษาไทย ให้มีศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา อยู่ภายใต้การกำกับควบคุมดูแล ของกระทรวงการคลัง เพื่อทำหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธี การจดทะเบียนที่ปรึกษาไทย
(๒) รับจดทะเบียน ต่อทะเบียน หรือเพิกถอนทะเบียน ที่ปรึกษาไทย
(๓) รวบรวม จัดทำ รวมทั้งปรับปรุง ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับที่ปรึกษาไทย
(๔) เผยแพร่หรือให้ข้อมูล เกี่ยวกับที่ปรึกษาไทย แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่น ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติ ให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น และเอกชนผู้สนใจ

[๑#๓๕]ข้อ ๗๔ เพื่อเป็นการส่งเสริม และพัฒนาที่ปรึกษาไทย ให้มีศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา ภายใต้การกำกับควบคุมดูแล ของกระทรวงการคลัง เพื่อทำหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการจดทะเบียนที่ปรึกษาไทย
(๒) รับจดทะเบียน ต่อทะเบียน หรือเพิกถอนทะเบียนที่ปรึกษาไทย
(๓) รวบรวม จัดทำ รวมทั้งปรับปรุงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับที่ปรึกษาไทย
(๔) เผยแพร่หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่ปรึกษาไทย แก่ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ข้อ ๗๕ การจ้างที่ปรึกษา ที่เป็นนิติบุคคล นอกจากการจ้างที่ปรึกษา ที่ดำเนินการด้วยเงินช่วยเหลือ หรือเงินกู้จากแหล่งที่กำหนด ให้ดำเนินการว่าจ้าง โดยวิธีอื่น ให้ส่วนราชการ จ้างที่ปรึกษาไทย เป็นที่ปรึกษาหลัก (Lead Firm) ในการดำเนินงาน เว้นแต่ได้รับการยืนยัน เป็นหนังสือจากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาว่า ไม่มีที่ปรึกษาไทย ในสาขาบริการ หรืองานนั้น
  การจ้างที่ปรึกษา ที่มิใช่นิติบุคคล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ กวพ. กำหนด เว้นแต่ระเบียบนี้ กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
  ในกรณีมีที่ปรึกษาไทย แต่มีเหตุผลและความจำเป็น ที่จะไม่จ้างที่ปรึกษาไทย ให้ขออนุมัติต่อ กวพ.
  สำหรับการจ้างที่ปรึกษา ของส่วนราชการ ในต่างประเทศ หรือมีกิจกรรม ที่ต้องปฏิบัติ ในต่างประเทศ จะไม่จ้างที่ปรึกษาไทยก็ได้

[๑#๓๕]ข้อ ๗๕ การจ้างที่ปรึกษา ที่เป็นนิติบุคคล นอกจากการจ้างที่ปรึกษา ที่ดำเนินการด้วยเงินช่วยเหลือ ให้ส่วนราชการ จ้างที่ปรึกษาไทยเป็นหลัก (Lead Firm) ในการดำเนินงาน เว้นแต่สาขาบริการ หรืองาน ที่ไม่อาจจะจ้างที่ปรึกษาไทยได้ ให้ขออนุมัติต่อ กวพ.

ข้อ ๗๖ ภายใต้บังคับ ข้อ ๗๕ การจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ ของส่วนราชการ นอกจากการจ้างที่ปรึกษา ที่ดำเนินการด้วยเงินช่วยเหลือ หรือเงินกู้จากแหล่ง ที่กำหนดให้ดำเนินการจ้าง โดยวิธีอื่น จะต้องมีบุคลากรไทย ร่วมงานด้วย ไม่น้อยกว่า ร้อยละห้าสิบ ของจำนวน คน - เดือน (man-months) ของที่ปรึกษาทั้งหมด เว้นแต่สาขาบริการ หรืองาน ที่ไม่อาจจะจ้างบุคลากรไทยได้ ให้ขออนุมัติต่อ กวพ.
[๑#๓๕]ข้อ ๗๖ การจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ ของส่วนราชการโดยทั่วไป นอกจากการจ้างที่ปรึกษา ที่ดำเนินการด้วยเงินช่วยเหลือ จะต้องมีที่ปรึกษาไทยร่วมงานด้วย ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๕๐ ของจำนวนคน/เดือน ของที่ปรึกษาทั้งหมด เว้นแต่สาขาบริการ หรืองาน ที่ไม่อาจจะจ้างที่ปรึกษาไทยได้ ให้ขออนุมัติต่อ กวพ.

วิธีจ้างที่ปรึกษา

ข้อ ๗๗ การจ้างที่ปรึกษา กระทำได้ ๒ วิธีคือ
(๑) วิธีตกลง
(๒) วิธีคัดเลือก

รายงานขอจ้างที่ปรึกษา

ข้อ ๗๘ ก่อนดำเนินการจ้างที่ปรึกษา ให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงาน เสนอหัวหน้าส่วนราชการ ตามรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) เหตุผลและความจำเป็น ที่ต้องจ้างที่ปรึกษา
(๒) ขอบเขตโดยละเอียด ของงานที่จะจ้างที่ปรึกษา (Terms of Reference)
(๓) คุณสมบัติของที่ปรึกษา ที่จะจ้าง
(๔) วงเงินค่าจ้างที่ปรึกษา โดยประมาณ
(๕) กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ ของงาน
(๖) วิธีจ้างที่ปรึกษา และเหตุผลที่ต้องจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีนั้น
(๗) ข้อเสนออื่นๆ (ถ้ามี)
เมื่อหัวหน้าส่วนราชการ ให้ความเห็นชอบ ตามรายงานที่เสนอแล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ ดำเนินการจ้าง ตามวิธีจ้างนั้น ต่อไปได้

กรรมการ

ข้อ ๗๙ ในการดำเนินการ จ้างที่ปรึกษาแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อปฏิบัติการ ตามระเบียบนี้ แล้วแต่กรณี คือ
(๑) คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีตกลง
(๒) คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีคัดเลือก

[๔#๔๑]ข้อ ๑๙ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘๐ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๘๐ คณะกรรมการ ตาม
ข้อ ๗๙ ให้ประกอบด้วย
ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการ อย่างน้อย ๔ คน
โดยปกติ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการในสังกัด ตั้งแต่ระดับ ๖ หรือเทียบเท่าขึ้นไป อย่างน้อย ๒ คน ในกรณีจำเป็น หรือเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ให้แต่งตั้งผู้แทน จากส่วนราชการอื่น หรือบุคคล ที่มิใช่ข้าราชการ ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ในงานที่จะจ้างที่ปรึกษา เป็นกรรมการด้วย และในกรณี การจ้างที่ปรึกษา ที่ดำเนินการ ด้วยเงินกู้ ให้มีผู้แทน จากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ด้วย ๑ คน

[๑#๓๕]ข้อ ๘๐ คณะกรรมการ ตาม
ข้อ ๗๙ ให้ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการ อย่างน้อย ๔ คน โดยปกติ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการในสังกัด ตั้งแต่ระดับ ๕ หรือเทียบเท่าขึ้นไป อย่างน้อย ๒ คน ในกรณีจำเป็น หรือเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ให้แต่งตั้งผู้แทน จากส่วนราชการอื่น หรือบุคคล ที่มิใช้ข้าราชการ ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ในงานที่จะจ้างที่ปรึกษา เป็นกรรมการด้วย และในกรณี การจ้างที่ปรึกษา ที่ดำเนินการ ด้วยเงินกู้ ให้มีผู้แทน จากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ๑ คน

ข้อ ๘๑ ในการประชุมของคณะกรรมการ ตามข้อ ๗๙ ต้องมีกรรมการมาประชุม ไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงเป็นองค์ประชุม
  การประชุมของคณะกรรมการ ตามวรรคหนึ่ง ให้นำความ ตามข้อ ๓๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

วิธีตกลง

ข้อ ๘๒ การจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีตกลง ได้แก่ การจ้างที่ปรึกษา ที่ผู้ว่าจ้างตกลงจ้าง รายใดรายหนึ่ง ซึ่งเคยทราบ หรือเคยเห็น ความสามารถและผลงานแล้ว และเป็นผู้ให้บริการ ที่เชื่อถือได้

[๔#๔๑]ข้อ ๒๐ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘๓ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๘๓ การจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีตกลง ให้กระทำได้ ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นการจ้าง ที่มีค่างานจ้าง ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
(๒) เป็นการจ้าง เพื่อทำงานต่อเนื่อง จากงานที่ได้ทำอยู่แล้ว
(๓) เป็นการจ้าง ในกรณีที่ทราบแน่ชัดว่า ผู้เชี่ยวชาญในงานที่จะให้บริการ ตามที่ต้องการ มีจำนวนจำกัด ไม่เหมาะสม ที่จะดำเนินการ ด้วยวิธีคัดเลือก และเป็นการจ้าง ที่มีค่างานจ้าง ไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๔) เป็นการจ้าง ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่น ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติ ให้มีฐานะเป็น ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นใด ที่มีกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี ให้การสนับสนุน ให้ดำเนินการจ้าง ได้โดยตรง
  การจ้างที่ต้องกระทำ โดยเร่งด่วน หากล่าช้า อาจจะเสียหายแก่ราชการ และมีความจำเป็น ที่จะต้องดำเนินการจ้าง โดยวิธีตกลง ก็ให้กระทำได้ โดยหัวหน้าส่วนราชการ จะต้องทำรายงาน ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็น ของการจ้าง โดยวิธีตกลง ให้ กวพ.ทราบ โดยมิชักช้า แต่อย่างช้า ต้องไม่เกิน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้มีการจ้าง ในกรณีที่ กวพ. พิจารณาแล้ว เห็นว่าการจ้างดังกล่าว ไม่เป็นกรณีเร่งด่วน ให้ กวพ. มีอำนาจ แก้ไขสัญญาการจ้าง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ การจ้างที่ปรึกษา ที่กำหนดไว้ ในระเบียบนี้ได้ และในการทำสัญญาจ้าง โดยอาศัยเหตุเร่งด่วนนี้ ส่วนราชการ จะต้องกำหนดเป็นเงื่อนไข ไว้ในสัญญาด้วย ว่าสัญญาจ้างดังกล่าว จะมีผลสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อ กวพ. ให้ความเห็นชอบ
  ในกรณีการจ้าง โดยอาศัยเหตุ ตาม (๒) หรือ (๓) กวพ. จะกำหนดให้ หัวหน้าส่วนราชการ ทำรายงาน ชี้แจงเหตุผลเพื่อทราบก็ได้ สำหรับกรณีที่เป็นการจ้าง ที่มีค่างานจ้าง เกินวงเงินขั้นสูง ที่ กวพ. กำหนด

[๑#๓๕]ข้อ ๘๓ การจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีตกลง ให้กระทำได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เป็นการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีตกลง ให้กระทำได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
(๒) เป็นการจ้าง ในกรณีที่ทราบแน่ชัดว่า ผู้เชี่ยวชาญในงานที่จะให้บริการ ตามต้องการ มีจำนวนจำกัด ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการ ด้วยวิธีคัดเลือก
(๓) เป็นการจ้าง ที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วน หากล่าช้า อาจจะเสียหายแก่ราชการ

ข้อ ๘๔ คณะกรรมการ ดำเนินการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีตกลง มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณา ข้อเสนอด้านเทคนิค ของที่ปรึกษา
(๒) พิจารณา อัตราค่าจ้าง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับ การบริการที่จะจ้าง และเจรจาต่อรอง
(๓) พิจารณา รายละเอียดที่จะกำหนดในสัญญา
(๔) ให้คณะกรรมการ รายงานผลการพิจารณา และความเห็น พร้อมเอกสาร ที่ได้รับไว้ทั้งหมด ต่อหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่าน หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ

วิธีคัดเลือก

ข้อ ๘๕ การจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีคัดเลือก ได้แก่ การจ้างที่ปรึกษา โดยคัดเลือกที่ปรึกษา ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ที่จะทำงานนั้น ให้เหลือน้อยราย และเชิญชวนที่ปรึกษา ที่ได้รับการคัดเลือก ให้เหลือน้อยรายดังกล่าว ยื่นข้อเสนอเข้ารับงานนั้นๆ เพื่อพิจารณาคัดเลือก รายที่ดีที่สุด ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร และหัวหน้าส่วนราชการเห็นชอบ ให้เชิญที่ปรึกษา ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ยื่นข้อเสนอเข้ารับงาน โดยไม่ต้องทำการคัดเลือก ให้เหลือน้อยรายก่อน ก็ได้

ข้อ ๘๖ เพื่อให้ได้รายชื่อของที่ปรึกษา ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม มากรายที่สุด ให้เจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบ ในการจ้างที่ปรึกษา ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ที่ปรึกษาต่างประเทศ ให้ขอรายชื่อ จากสถาบันการเงิน หรือองค์การระหว่างประเทศ หรือลงประกาศ ในหนังสือพิมพ์ แจ้งไปยังสมาคม หรือสถาบันอาชีพ หรือสถานทูตที่เกี่ยวข้อง หรือขอความร่วมมือ จากส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจต่างๆ ซึ่งเคยดำเนินการจ้างที่ปรึกษา ในงานประเภทเดียวกัน
(๒) ที่ปรึกษาไทย ให้ขอรายชื่อที่ปรึกษา จากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา กระทรวงการคลัง ส่วนราชการใด ที่มีรายชื่อที่ปรึกษา ที่มีคุณสมบัติ ที่เหมาะสมอยู่แล้ว อาจพิจารณาคัดเลือก ให้เหลือน้อยราย โดยไม่ดำเนินการ ตามวรรคหนึ่งก็ได้ การคัดเลือกที่ปรึกษา ให้เหลือน้อยราย ให้คณะกรรมการ ดำเนินการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีคัดเลือก ทำหน้าที่พิจารณา คัดเลือกที่ปรึกษา ให้เหลืออย่างมาก ๖ ราย
เมื่อได้ดำเนินการ คัดเลือกที่ปรึกษา ให้เหลือน้อยรายแล้ว ให้รายงาน หัวหน้าส่วนราชการ เพื่อพิจารณา และกรณีที่ เป็นการจ้างที่ปรึกษา โดยใช้เงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ ให้ดำเนินการ ตามหลักเกณฑ์ ของแหล่งเงินนั้นด้วย

ข้อ ๘๗ ให้ส่วนราชการ ออกหนังสือเชิญชวนที่ปรึกษา ที่ได้คัดเลือกไว้ ยื่นข้อเสนอ เพื่อรับงาน ตามวิธีหนึ่ง วิธีใด ดังต่อไปนี้
(๑) ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิค และข้อเสนอด้านราคา พร้อมกัน โดยแยกเป็น ๒ ซอง
(๒) ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคเพียงซองเดียว

ข้อ ๘๘ คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีคัดเลือก มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดหลักเกณฑ์ การพิจารณาคัดเลือก
(๒) พิจารณา ข้อเสนอด้านเทคนิค ของที่ปรึกษาทุกราย และจัดลำดับ
(๓) ในกรณีที่ใช้วิธี ตาม
ข้อ ๘๗ (๑) ให้เปิดซองเสนอด้านราคา ของที่ปรึกษา ที่มีข้อเสนอด้านเทคนิค ที่ดีที่สุด และเจารจาต่อรอง ให้ได้ราคาที่เหมาะสม สำหรับกรณีที่ใช้วิธี ตามข้อ ๘๗ (๒) ให้เชิญที่ปรึกษา ที่มีข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุด มายื่นข้อเสนอราคา และเจรจาต่อรอง ให้ได้ราคาที่เหมาะสม
หากเจรจาไม่ได้ผล ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อพิจารณายกเลิก การเจรจากับที่ปรึกษารายนั้น แล้วเปิดซองข้อเสนอด้านราคา ที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอด้านเทคนิค ที่ดีที่สุดรายถัดไป หรือเชิญที่ปรึกษา ที่มีข้อเสนอด้านเทคนิค ที่ดีที่สุดรายถัดไป ให้ยื่นข้อเสนอด้านราคา แล้วแต่กรณี และเจรจาต่อรอง ให้ได้ราคาที่เหมาะสม
(๔) เมื่อเจรจา ได้ราคาที่เหมาะสมแล้ว ให้พิจารณาเงื่อนไขต่างๆ ที่จะกำหนดในสัญญา
(๕) ให้คณะกรรมการ รายงานผลการพิจารณา และความเห็น พร้อมด้วยเอกสาร ที่ได้รับไว้ทั้งหมด ต่อหัวหน้าส่วนราชการ โดยเสนอผ่าน หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ
ในกรณีที่ใช้วิธีการยื่นข้อเสนอ ตามข้อ ๘๗ (๑)
หลังจากตัดสินให้ทำสัญญากับที่ปรึกษา ซึ่งได้รับการคัดเลือกแล้ว ให้ส่งคืนซองข้อเสนอราคา ให้แก่ที่ปรึกษารายอื่นที่ได้ยื่นไว้ โดยไม่เปิดซอง
สำหรับการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีคัดเลือก ที่ดำเนินการ ด้วยเงินช่วยเหลือ โดยกรมวิเทศสหการ ให้ปฏิบัติ ตามวรรคหนึ่ง และวรรคสอง โดยอนุโลม

ข้อ ๘๙ การจ้างที่ปรึกษา ที่เป็นงาน ที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และมีที่ปรึกษา ซึ่งสามารถทำงานนั้นได้ เป็นการทั่วไป ให้อยู่ในดุลพินิจ ของหัวหน้าส่วนราชการ ที่จะออกหนังสือ เชิญชวนที่ปรึกษา ที่ได้คัดเลือกไว้ ให้ยื่นข้อเสนอ เพื่อรับงาน โดยให้ดำเนินการ ตามวิธีดังต่อไปนี้ คือ
(๑) ให้ที่ปรึกษา ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิค และข้อเสนอด้านราคา พร้อมกัน โดยแยกเป็น ๒ ซอง
(๒) ให้คณะกรรมการ ดำเนินการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีคัดเลือก พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค ของที่ปรึกษาทุกราย และจัดลำดับ
(๓) เปิดซองราคา ของผู้ที่ได้รับการจัดลำดับไว้ อันดับหนึ่งถึงอันดับสาม ตาม (๒) พร้อมกัน แล้วเลือกรายที่เสนอราคาต่ำสุด มาเจราจาต่อรองราคา เป็นอันดับแรก
(๔) หากเจรจาตาม (๓) แล้วไม่ได้ผล ให้ยกเลิก แล้วเจรจากับรายที่เสนอราคาต่ำ รายถัดไปตามลำดับ เมื่อเจรจาได้ผลประการใด ให้ดำเนินการ ตาม
ข้อ ๘๘ (๔) และ (๕)

ข้อ ๙๐ การจ้างที่ปรึกษาเป็นรายบุคคล ที่ไม่ต้องยื่นข้อเสนอด้านเทคนิค ให้ดำเนินการ คัดเลือกที่ปรึกษา ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ตามนัย ข้อ ๘๖ และพิจารณาจัดลำดับ และเมื่อสามารถ จัดลำดับได้แล้ว ให้เชิญรายที่เหมาะสมที่สุด มาเสนอราคาค่าจ้าง เพื่อเจรจาต่อรองราคา ตามลำดับ

อำนาจในการสั่งจ้างที่ปรึกษา

[๒#๓๘]ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙๑ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๙๑ การสั่งจ้างที่ปรึกษาครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจ ของผู้ดำรงตำแหน่ง และภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้
(๑) หัวหน้าส่วนราชการ ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒) ปลัดกระทรวง เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๓) รัฐมนตรีเจ้าสังกัด เกิน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
[๑#๓๕]ข้อ ๙๑ การสั่งจ้างที่ปรึกษาครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจ ของผู้ดำรงตำแหน่ง และภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้
(๑) หัวหน้าส่วนราชการ ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒) ปลัดกระทรวง เกิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๓) รัฐมนตรีเจ้าสังกัด เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท

ค่าจ้างที่ปรึกษา

[๔#๔๑]ข้อ ๒๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙๒ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๙๒ อัตราค่าจ้างที่ปรึกษา ให้เป็นไป ตามความเหมาะสมและประหยัด โดยคำนึงถึง องค์ประกอบต่างๆ เช่น ลักษณะของงานที่จะจ้าง อัตราค่าจ้าง ของงานในลักษณะเดียวกัน ที่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจเคยจ้าง จำนวนคน - เดือน (man-months) เท่าที่จำเป็น ดัชนีค่าครองชีพ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่เกินกว่า อัตราค่าจ้างที่ปรึกษา ตามที่ กวพ. กำหนด (ถ้ามี) ด้วย
  ในกรณีที่มีความจำเป็น ต้องจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้า ให้จ่ายได้ ไม่เกินร้อยละสิบห้า ของค่าจ้างตามสัญญา และที่ปรึกษา จะต้องจัดให้ธนาคารในประเทศ เป็นผู้ค้ำประกันเงินค่าจ้าง ที่ได้รับล่วงหน้าไปนั้น และให้ผู้ว่าจ้าง คืนหนังสือค้ำประกันดังกล่าว ให้แก่ที่ปรึกษา เมื่อทางราชการ ได้หักเงินที่ได้จ่ายล่วงหน้า จากเงินค่าจ้าง ที่จ่ายตามผลงานแต่ละงวด ครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้ให้กำหนดเป็นเงื่อนไข ไว้ในสัญญาด้วย
  สำหรับการจ้างส่วนราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ให้จ่ายเงิน ค่าจ้างล่วงหน้าได้ ไม่เกินร้อยละห้าสิบ ของค่าจ้างตามสัญญา และไม่ต้องมี หลักประกันเงินล่วงหน้า ที่รับไปก็ได้

[๑#๓๕]ข้อ ๙๒ อัตราค่าจ้างที่ปรึกษา ให้เป็นไป ตามความเหมาะสมและประหยัด โดยให้คำนึงถึง องค์ประกอบต่างๆ เช่น ลักษณะของงานที่จ้าง อัตราค่าจ้าง ของงานในลักษณะเดียวกัน ที่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจเคยจ้าง จำนวนคน-เดือน (man-months) เท่าที่จำเป็น ดัชนีค่าครองชีพเป็นต้น
ในกรณีที่มีความจำเป็น ต้องจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้า ให้จ่ายได้ ไม่เกินร้อยละสิบห้า ของค่าจ้างตามสัญญา และที่ปรึกษา จะต้องจัดให้ธนาคารหนึ่ง หรือหลายธนาคาร เป็นผู้ค้ำประกัน เงินค่าจ้าง ที่ได้รับล่วงหน้า ไปนั้น และให้ผู้ว่าจ้าง คืนหนังสือค้ำประกันดังกล่าว ให้แก่ที่ปรึกษา เมื่อทางราชการ ได้หักเงิน ที่ได้จ่ายล่วงหน้า จากเงินค่าจ้าง ตามผลงานแต่ละงวด ครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้ ให้กำหนด เป็นเงื่อนไขไว้ ในสัญญาด้วย

หลักประกันผลงาน

ข้อ ๙๓ การจ่ายเงินให้แก่ที่ปรึกษา ที่แบ่งการชำระเงิน ออกเป็นงวด นอกจากการจ้างที่ปรึกษา ซึ่งดำเนินการ ด้วยเงินช่วยเหลือ ให้ผู้ว่าจ้าง หักเงินที่จ่ายแต่ละครั้ง ในอัตรา ไม่ต่ำกว่าร้อยละห้า แต่ไม่เกินร้อยละสิบ ของเงินค่าจ้าง เพื่อเป็นการประกันผลงาน หรือจะให้ที่ปรึกษา ใช้หนังสือค้ำประกัน ของธนาคารในประเทศ มีอายุการค้ำประกัน ตามที่ผู้ว่าจ้างจะกำหนด วางค้ำประกันแทนเงิน ที่หักไว้ก็ได้ ทั้งนี้ ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ ในสัญญาด้วย

ข้อ ๙๔ กรณีสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษา ตามโครงการเงินกู้ ที่ได้รวมเงินค่าภาษี ซึ่งที่ปรึกษา จะต้องจ่าย ให้แก่รัฐบาลไทย ไว้ในราคาจ้าง ให้แยกเงิน ส่วนที่กันเป็นค่าภาษีไว้ต่างหาก จากราคาจ้างรวม

ส่วนที่ ๔ การจ้างออกแบบและควบคุมงาน

วิธีจ้างออกแบบและควบคุมงาน

ข้อ ๙๕ การจ้างออกแบบและควบคุมงาน กระทำได้ ๔ วิธี คือ
(๑) วิธีตกลง
(๒) วิธีคัดเลือก
(๓) วิธีคัดเลือก แบบจำกัดข้อกำหนด
(๔) วิธีพิเศษ

รายงานขอจ้างออกแบบและควบคุม

ข้อ ๙๖ ก่อนดำเนินการ จ้างออกแบบ และควบคุมงาน ทุกวิธี ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ จัดทำรายงาน เสนอหัวหน้าส่วนราชการ ตามรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) ขอบเขตวงงาน รวมทั้งรายละเอียด เท่าที่จำเป็น
(๒) วงเงินงบประมาณ ค่าก่อสร้าง
(๓) ประมาณการก่อสร้าง
(๔) กำหนดเวลา แล้วเสร็จ
(๕) วิธีจะจ้าง และเหตุผลที่ต้องจ้าง โดยวิธีนั้น
(๖) ข้อเสนออื่นๆ (ถ้ามี)
เมื่อหัวหน้าส่วนราชการ ให้ความเห็นชอบ ตามรายการที่เสนอแล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ ดำเนินการจ้าง ตามวิธีจ้างนั้น ต่อไปได้

การจ้างโดยวิธีตกลง

ข้อ ๙๗ การจ้างโดยวิธีตกลง ได้แก่ การจ้างออกแบบ และควบคุมงาน ที่ผู้ว่าจ้าง เลือกจ้างผู้ให้บริการ รายหนึ่งรายใด ซึ่งเคยทราบ หรือเคยเห็น ความสามารถแล้ว และเป็นผู้ให้บริการ ที่มีหลักฐานดี ตามที่คณะกรรมการ ดำเนินการจ้าง โดยวิธีตกลง ได้พิจารณาเสนอแนะ
  ทั้งนี้ ให้ใช้กับ บริการก่อสร้าง ที่มีวงเงินงบประมาณ ค่าก่อสร้าง ตามโครงการหนึ่งๆ ไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท

ข้อ ๙๘ ในการดำเนินการ จ้างออกแบบและควบคุมงาน โดยวิธีตกลง แต่ละครั้ง ให้หัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้งกรรมการดำเนินการจ้าง โดยวิธีตกลง ขึ้นคณะหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย
ประธาน ๑ คน และกรรมการอื่น อีกอย่างน้อย ๒ คน
ปกติให้ เป็นข้าราชการ ตั้งแต่ระดับ ๔ หรือเทียบเท่าขึ้นไป อย่างน้อย ๑ คน
และควรมี ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ชำนาญ ในกิจการนี้ เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย
คณะกรรมการดังกล่าว ต้องมีจำนวน ไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนทั้งหมด จึงจะดำเนินการ ตามที่กำหนดไว้ได้

ข้อ ๙๙ คณะกรรมการดำเนินการจ้าง โดยวิธีตกลง มีหน้าที่พิจารณาข้อกำหนด ของผู้ให้บริการ ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ และให้รายงานผล การพิจารณาและความเห็น พร้อมด้วยเอกสาร ที่ได้รับไว้ทั้งหมด ต่อหัวหน้าส่วนราชการ ผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ

การจ้างโดยวิธีคัดเลือก

ข้อ ๑๐๐ การจ้างโดยวิธีคัดเลือก ได้แก่ การจ้างออกแบบและควบคุมงาน โดยผู้ว่าจ้าง ประกาศเชิญชวน การว่าจ้าง และคณะกรรมการ ดำเนินการจ้าง จะพิจารณาคัดเลือก ผู้ให้บริการ ที่มีข้อกำหนดเหมาะสมที่สุด เพื่อดำเนินการว่าจ้างต่อไป ทั้งนี้ ให้ใช้กับ การก่อสร้างอาคาร ที่มีวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง ตามโครงการหนึ่งๆ เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท

ข้อ ๑๐๑ ในการดำเนินการ จ้างออกแบบและควบคุมงาน โดยการจ้าง โดยวิธีคัดเลือก แต่ละครั้ง ให้หัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้งกรรมการ รับซองเสนอราคา และกรรมการ ดำเนินการจ้าง โดยวิธีคัดเลือก
คณะกรรมการรับซองเสนองาน ให้ประกอบด้วย
ประธาน ๑ คน และกรรมการอื่น อีกอย่างน้อย ๒ คน
ปกติ ให้เป็นข้าราชการ ตั้งแต่ระดับ ๓ หรือเทียบเท่าขึ้นไป อย่างน้อย ๒ คน
คณะกรรมการ ดำเนินการจ้าง โดยวิธีคัดเลือก ให้ประกอบด้วย
ประธาน ๑ คน และกรรมการอื่น อีกอย่างน้อย ๒ คน
ปกติ ให้เป็นข้าราชการ ตั้งแต่ระดับ ๔ หรือเทียบเท่าขึ้นไป อย่างน้อย ๒ คน
และควรมี ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ชำนาญ ในกิจการนี้ เข้าร่วมด้วย
คณะกรรมการ ดังกล่าวในข้อนี้ ต้องมีจำนวน ไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนทั้งหมด จึงจะดำเนินการ ตามที่กำหนดไว้ได้

ข้อ ๑๐๒ คณะกรรมการ รับซองเสนองานการจ้าง โดยวิธีคัดเลือก มีหน้าที่ดังนี้
(๑) รับซองเสนองาน จากผู้ให้บริการ และบันทึกไว้ ที่หน้าซองว่า เป็นผู้ให้บริการรายใด แล้วลงบัญชีไว้ เป็นหลักฐาน
(๒) มอบซองเสนองาน ในสภาพเดิม ต่อคณะกรรมการ ดำเนินการจ้าง โดยวิธีคัดเลือก และเมื่อพ้น กำหนดเวลารับซองเสนองานแล้ว ห้ามรับซองเสนองาน จากผู้ให้บริการ รายหนึ่งรายใดอีก เป็นอันขาด

ข้อ ๑๐๓ คณะกรรมการ ดำเนินการจ้าง โดยวิธีคัดเลือก มีหน้าที่ดังนี้
(๑) เมื่อคณะกรรมการ ดำเนินการจ้าง โดยวิธีคัดเลือก มาครบองค์ประชุมแล้ว จึงเปิดซองเสนองาน ตามที่คณะกรรมการ รับซองเสนองานการจ้าง โดยวิธีคัดเลือก มอบให้
(๒) พิจารณาข้อกำหนด ของผู้ให้บริการ ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ คุณวุฒิและประวัติการทำงาน จำนวนสถาปนิกและหรือวิศวกร ที่ประจำและไม่ประจำ หลักฐานแสดงผลงาน ที่ได้เคยปฏิบัติมาแล้ว ของผู้ให้บริการ และลงลายมือชื่อกำกับไว้ ในใบเสนองาน เพื่อเป็นหลักฐาน
(๓) เมื่อพิจารณาเสร็จแล้ว เห็นสมควรดำเนินการต่อไป ประการใด ให้รายงาน ต่อหัวหน้าส่วนราชการ ผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ พร้อมด้วยหลักฐาน ตามปกติ คณะกรรมการ ควรเสนอจ้าง ผู้ที่มีข้อกำหนดเหมาะสมที่สุด เว้นแต่ผู้ให้บริการดังกล่าว ไม่สามารถรับงาน ในกรณีใดก็ตาม ให้คณะกรรมการ เสนอผู้ให้บริการ ที่มีข้อกำหนดเหมาะสม รายถัดไป

การจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด

ข้อ ๑๐๔ การจ้าง โดยวิธีคัดเลือก แบบจำกัดข้อกำหนด ได้แก่ การว่าจ้าง ออกแบบและควบคุมงาน ที่ผู้ว่าจ้าง ประกาศเชิญชวน การว่าจ้าง และคณะกรรมการ ดำเนินการจ้าง โดยวิธีคัดเลือก แบบจำกัดข้อกำหนด พิจารณาคัดเลือก ผู้ให้บริการ ที่เป็นนิติบุคคล โดยคำนึงถึง ฐานะทางนิติบุคคล คุณวุฒิ และประวัติการทำงาน จำนวนสถาปนิกและหรือวิศวกร ที่ประจำและไม่ประจำ หลักฐานแสดงผลงาน ที่ได้เคยปฏิบัติมาแล้ว ตลอดจน แนวความคิดในการออกแบบ เพื่อดำเนินการจ้างต่อไป ทั้งนี้ ให้ใช้กับ การก่อสร้างอาคาร ที่มีวงเงินงบประมาณ ค่าก่อสร้าง ตามโครงการหนึ่งๆ เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท

ข้อ ๑๐๕ ในการดำเนินการจ้าง ออกแบบและควบคุมงาน โดยวิธีการจ้าง แบบจำกัดข้อกำหนด แต่ละครั้ง ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้ง คณะกรรมการรับซอง และคณะกรรมการ ดำเนินการจ้าง โดยวิธีคัดเลือก แบบจำกัดข้อกำหนด องค์ประกอบของคณะกรรมการ แต่ละคณะ คุณวุฒิหรือผู้ชำนาญ ในคณะกรรมการ ดำเนินการจ้าง โดยวิธีคัดเลือก แบบจำกัดข้อกำหนด หน้าที่ของคณะกรรมการ รับซองเสนองานการจ้าง โดยคัดเลือก แบบจำกัดข้อกำหนด ให้นำความ ในข้อ ๑๐๑ ข้อ ๑๐๒ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม

ข้อ ๑๐๖ คณะกรรมการ ดำเนินการจ้าง โดยวิธีคัดเลือก แบบจำกัดข้อกำหนด มีหน้าที่ดังนี้
(๑) เมื่อคณะกรรมการ ดำเนินการจ้าง โดยวิธีคัดเลือก แบบจำกัดข้อกำหนด มาครบ
องค์ประชุมแล้ว จึงเปิดซองเสนองาน ตามที่คณะกรรมการ รับซองเสนองาน มอบให้
(๒) พิจารณา ข้อกำหนดต่างๆ ดังนี้
ก. ข้อกำหนด ของผู้ให้บริการ ตามที่กำหนดไว้ ในส่วนนี้
ข. คุณวุฒิ และประวัติการทำงาน จำนวนสถาปนิก และหรือ วิศวกร ที่ประจำและไม่ประจำ
ค. หลักฐานแสดงผลงาน ที่ได้เคยปฏิบัติมาแล้ว
ง. แนวความคิดในการออกแบบ
(๓) พิจารณาคัดเลือก ผู้ให้บริการ ที่มีข้อกำหนดเหมาะสมไว้ เป็นจำนวน ไม่น้อยกว่า ๒ ราย และแจ้งวิธีการดำเนินการเสนองาน ตามความประสงค์ของผู้ว่าจ้าง แก่ผู้เสนองาน และอาจพิจารณา กำหนดให้ผู้ให้บริการดังกล่าว ยื่นเสนอแบบร่างของงานก็ได้ อนึ่ง การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนองาน ให้คำนึงถึงแผนปฏิบัติงาน ความเหมาะสม ทางด้านประโยชน์ใช้สอย ตลอดจนสายงาน และความเหมาะสม ทางด้านสถาปัตยกรรม และลงลายมือชื่อกำกับไว้ ในใบเสนองาน เพื่อเป็นหลักฐาน
(๔) เมื่อพิจารณาเสร็จแล้ว เห็นสมควรดำเนินการต่อไป ประการใด และสมควรเลือก ผู้ให้บริการ รายหนึ่งรายใด ให้รายงาน ต่อหัวหน้าส่วนราชการ ผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ พร้อมด้วยหลักฐาน

การจ้างโดยวิธีพิเศษ

ข้อ ๑๐๗ การจ้าง โดยวิธีพิเศษมี ๒ ลักษณะ ดังนี้
(๑) วิธีเลือกจ้าง ได้แก่ การจ้างออกแบบและควบคุมงาน ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน และความมั่นคงของชาติ หากจะดำเนินการจ้างตามวิธีอื่น ดังกล่าวมาแล้ว จะทำให้เกิดการล่าช้า เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ และความมั่นคงของประเทศชาติ ให้ปลัดกระทรวง มีอำนาจ ตกลงจ้าง ผู้ให้บริการ รายหนึ่งรายใด ตามที่พิจารณาเห็นสมควร
(๒) การว่าจ้าง โดยการประกวดแบบ ได้แก่ การว่าจ้างออกแบบอาคาร ที่มีลักษณะพิเศษ เป็นที่เชิดชูคุณค่า ทางด้านศิลปกรรม หรือสถาปัตยกรรมของชาติ เช่น อนุสาวรีย์ รัฐสภา พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ โรงละคอนแห่งชาติ หรืองานออกแบบอาคาร ที่มีโครงการสร้าง ขนาดใหญ่ เช่น สนามกีฬาแห่งชาติ สนามบิน ให้ผู้ว่าจ้าง เสนอรายละเอียด เรื่องการจ้างออกแบบ โดยวิธีประกวดแบบ ต่อ กวพ.

ข้อ ๑๐๘ ผู้ว่าจ้าง มีสิทธิ์บอกเลิก การคัดเลือกผู้ให้บริการได้ ในกรณีต่อไปนี้
(๑) มีผู้ยื่นเสนองาน น้อยกว่า ๒ ราย
(๒) ผู้ให้บริการ ยื่นเสนองานไม่ถูกต้อง ตามวัตถุประสงค์ ของผู้ว่าจ้าง

ข้อ ๑๐๙ ให้ผู้ว่าจ้าง ส่งหนังสือแจ้งผล การตัดสินคัดเลือก และนัดหมาย การทำสัญญา ไปยังผู้ให้บริการ รายที่ได้รับการคัดเลือก โดยเร็ว

การประกาศเชิญชวน

ข้อ ๑๑๐ การประกาศเชิญชวนการว่าจ้าง กระทำได้ ๓ วิธี คือ
(๑) ปิดประกาศ ไว้ในที่เปิดเผย
(๒) ประกาศทางสื่อสารมวลชน เช่น ลงประกาศ ในหนังสือพิมพ์ หรือประกาศ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียง
(๓) ส่งประกาศไปยัง สมาคมวิชาชีพสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม หรือสำนักงาน ที่ประกอบธุรกิจดังกล่าว
  การจะประกาศด้วยวิธีใด ให้พิจารณาตามความจำเป็น ของกิจการ และความเหมาะสมแห่งท้องถิ่น เป็นเรื่องๆ ไป

ข้อ ๑๑๑ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ จัดทำประกาศเชิญชวน โดยอย่างน้อย ให้แสดงรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) ความต้องการ ด้านประโยชน์ใช้สอยของอาคาร และขอบเขต ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
(๒) กำหนดวัน เวลา สถานที่เปิดและปิด รับซองเสนองาน
(๓) เงื่อนไข และระยะเวลา การออกแบบ
(๔) กำหนดให้ผู้เสนองาน วางหลักประกันซอง ตามชนิดและจำนวน ใน
ข้อ ๑๔๑ และข้อ ๑๔๒ และให้มีเงื่อนไขว่า ถ้าผู้เข้าประกวดราคา ถอนการเสนองาน หรือไม่ไปทำสัญญากับทางราชการ ภายในกำหนด ทางราชการ จะริบหลักประกันซอง หรือเรียกร้อง จากธนาคารผู้ค้ำประกัน และสงวนสิทธิ์ที่จะถือว่า ผู้ที่ไม่ไปทำสัญญา กับทางราชการ เป็นผู้ทิ้งงานด้วย
(๕) การวินิจฉัย ของคณะกรรมการ ให้ถือเป็นเด็ดขาด

การเสนองาน

ข้อ ๑๑๒ ผู้ให้บริการ ที่เสนองานการจ้าง โดยวิธีคัดเลือก และการจ้าง โดยวิธีคัดเลือก แบบจำกัดข้อกำหนด นอกจากจะต้องส่งข้อเสนองาน ให้กับผู้ว่าจ้างแล้ว ยังต้องยื่นหลักฐาน ประกอบการเสนอ ดังนี้
(๑) ข้อกำหนด ของผู้ให้บริการ ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้
(๒) คุณวุฒิ และประวัติการทำงาน จำนวนสถาปนิกและหรือวิศวกร ที่ประจำและไม่ประจำ
(๓) หลักฐานแสดงผลงาน ที่เคยปฏิบัติมาแล้ว
(๔) หลักประกัน การเสนองาน
  เมื่อการคัดเลือกการจ้าง เสร็จสิ้นแล้ว ให้ส่งข้อเสนอ และหลักฐานต่างๆ ดังกล่าว คืนแก่ผู้ให้บริการ ที่ไม่ได้รับการคัดเลือก

ข้อ ๑๑๓ ผู้ให้บริการ ที่เป็นบุคคลธรรมดา จะต้องมีสัญชาติไทย และเป็นผู้ที่ ได้รับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม และหรือ วิศวกรรม สำหรับงานว่าจ้าง ตามที่กำหนด โดย กฏหมายว่าด้วย วิชาชีพสถาปัตยกรรม และหรือ วิศวกรรม แล้วแต่กรณี และไม่เป็นข้าราชการประจำ หรือลูกจ้างของส่วนราชการ หรือพนักงานเทศบาล รัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
  ผู้ให้บริการ ที่เป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วน ผู้จัดการของนิติบุคคลนั้น จะต้องเป็นคนไทย และเป็นนิติบุคคล ที่มีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทย เกินร้อยละห้าสิบ ของทุนการจัดตั้ง นิติบุคคลนั้น

[๒#๓๘]ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความ "ผู้มีอำนาจสั่งจ้าง" และความในข้อ ๑๑๔ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

อำนาจในการสั่งจ้างออกแบบและควบคุมงาน
[๑#๓๕]ผู้มีอำนาจสั่งจ้าง

ข้อ ๑๑๔ การสั่งจ้าง ออกแบบและควบคุมงาน ครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจ ของผู้ดำรงตำแหน่ง และภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้
(๑) หัวหน้าส่วนราชการ ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒) ปลัดกระทรวง เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท

[๑#๓๕]ข้อ ๑๑๔ การสั่งจ้าง ออกแบบและควบคุมงาน ครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่ง และภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้
(๑) หัวหน้าส่วนราชการ ไม่เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒) ปลัดกระทรวง เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท

ข้อ ๑๑๕ ผู้ว่าจ้าง อาจริบหลักประกัน หรือใช้สิทธิ์เรียกร้องเอา จากผู้ค้ำประกัน การเสนองาน ที่ผู้รับจ้าง นำมามอบไว้ กับผู้ว่าจ้างได้ ในกรณีดังนี้
(๑) ผู้รับจ้าง หลีกเลี่ยงการทำสัญญา ในระยะเวลาที่กำหนด
(๒) ผู้ว่าจ้าง ไม่สามารถส่งใบแจ้ง ให้มาทำสัญญาได้ เนื่องจาก
ก. ผู้ว่าจ้าง เลิก หรือหยุดกิจการ
ข. ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา บุคคลนั้น ถูกระงับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม และหรือ วิศวกรรม
(๓) ผู้รับจ้างผิดสัญญา และผู้ว่าจ้าง ได้บอกเลิกสัญญา กับผู้รับจ้างแล้ว

การตรวจและรับมอบงาน

ข้อ ๑๑๖ ในการจ้าง ออกแบบและควบคุมงานแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้ง คณะกรรมการ ตรวจและรับมอบงาน เพื่อปฏิบัติการ ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้
คณะกรรมการ ตรวจและรับมอบงาน ประกอบด้วย
ประธาน ๑ คน และกรรมการอื่น อีกอย่างน้อย ๒ คน
ปกติ ให้เป็นข้าราชการ ตั้งแต่ระดับ ๔ หรือเทียบเท่าขึ้นไป อย่างน้อย ๒ คน และควรให้มีผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ชำนาญ ในกิจการนั้น เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย
  คณะกรรมการดังกล่าว ต้องจำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนทั้งหมด จึงจะดำเนินการ ตามที่กำหนดไว้ได้

ข้อ ๑๑๗ คณะกรรมการ ตรวจและรับมอบงาน มีหน้าที่ ตรวจและควบคุมงาน ออกแบบและก่อสร้างอาคาร ว่าถูกต้องตามเกณฑ์ ที่ระบุไว้ในสัญญา
  เมื่อตรวจเห็นเป็นการถูกต้อง ครบถ้วนแล้ว ให้ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงาน โดยลงชื่อไว้ เป็นหลักฐาน อย่างน้อย ๒ ฉบับ มอบให้แก่ผู้รับจ้าง ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ ๑ ฉบับ เพื่อทำการเบิกจ่ายเงิน ตามระเบียบว่าด้วย การเบิกเงินจากคลัง และรายงาน ให้หัวหน้าส่วนราชการทราบ

การควบคุมงาน

ข้อ ๑๑๘ ผู้ว่าจ้าง จะต้องจัดผู้ควบคุมงาน ที่มีความรู้และความชำนาญ งานการก่อสร้าง ให้เหมาะสม กับสภาพงาน การก่อสร้างนั้นๆ
ผู้รับจ้าง จะต้องส่งรายชื่อ ผู้ควบคุมงาน ผู้ตรวจการ หรือผู้แทน ให้ผู้ว่าจ้าง ให้ความเห็นชอบ และในกรณีที่ผู้ควบคุมงาน ไม่สามารถปฏิบัติงาน ตามความ ในวรรคหนึ่ง ผู้รับจ้าง จะต้องเสนอชื่อผู้ควบคุมงาน ปฏิบัติงานแทน ผู้ที่ปฏิบัติงานแทน ในกรณีดังกล่าว จะต้องได้รับความยินยอม จากผู้ว่าจ้าง

ค่าออกแบบและควบคุมงาน

ข้อ ๑๑๙ การจ่ายเงิน ค่าออกแบบและควบคุมงาน ให้เป็นไปตามอัตรา ดังนี้
(๑) อาคารที่มี งบประมาณค่าก่อสร้าง ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้จ่าย ค่าออกแบบ หรือค่าคุมงาน อย่างใดอย่างหนึ่ง ในอัตราร้อยละ ๒ ของวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง
(๒) อาคารที่มี งบประมาณค่าก่อสร้าง เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับในส่วนที่เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้จ่าย ค่าออกแบบหรือค่าคุมงาน อย่างใดอย่างหนึ่ง ในอัตราร้อยละ ๑.๗๕ ของวงเงิน งบประมาณค่าก่อสร้าง
  การจ่ายเงิน ค่าออกแบบและควบคุมงาน ตามความ ในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึง ค่าสำรวจ และวิเคราะห์ดินฐานราก

ข้อ ๑๒๐ ในกรณีที่ผู้ว่าจ้าง หรือหน่วยงานอื่นใด จะนำแบบแปลน รายละเอียดงานจ้าง ไปดำเนินการก่อสร้าง นอกเหนือจาก ที่กำหนดไว้ในสัญญา ให้ผู้ว่าจ้าง หรือหน่วยงานนั้นๆ จ่ายเงินค่าจ้าง แก่ผู้รับจ้าง ตามอัตราที่ กวพ. พิจารณากำหนด เป็นรายๆ ไป

ข้อ ๑๒๑ ห้ามผู้รับจ้าง นำแบบแปลน รายละเอียดงาน ออกแบบและควบคุมงาน ที่ได้ทำสัญญา กับผู้ว่าจ้างแล้ว ไปให้ผู้อื่น ดำเนินการก่อสร้างอีก

ข้อ ๑๒๒ ระหว่างดำเนินการ ตามสัญญาจ้าง ผู้ว่าจ้าง อาจขอให้ผู้รับจ้าง เปลี่ยนแปลงแก้ไข เล็กๆ น้อยๆ ในส่วนที่ ไม่กระทบกระเทือน โครงสร้างที่สำคัญ ของอาคาร ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ น้ำประปา ของงาน ที่ผู้รับจ้างได้ส่งมอบ ตามงวดในสัญญาแล้ว โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก
  ในกรณีที่มีความจำเป็น ต้องแก้ไข เปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่สำคัญ ให้ผู้ว่าจ้าง เสนอขออนุมัติ กวพ. ก่อน

ส่วนที่ ๕ การแลกเปลี่ยน

ข้อ ๑๒๓ การแลกเปลี่ยนพัสดุ จะกระทำมิได้ เว้นแต่ในกรณีที่ หัวหน้าส่วนราชการเห็นว่า มีความจำเป็น จะต้องแลกเปลี่ยน ให้กระทำได้เฉพาะ การแลกเปลี่ยน ครุภัณฑ์กับครุภัณฑ์ และการแลกเปลี่ยน วัสดุกับวัสดุ ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑) การแลกเปลี่ยน ครุภัณฑ์ประเภทชนิดเดียวกัน ให้แลกเปลี่ยนได้ เว้นแต่การแลกเปลี่ยน ครุภัณฑ์บางอย่าง ซึ่งสำนักงบประมาณกำหนด หรือการแลกเปลี่ยน ที่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ให้ขอทำความตกลง กับสำนักงบประมาณก่อน
(๒) การแลกเปลี่ยน ครุภัณฑ์ กับ ครุภัณฑ์ประเภทชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดกัน ให้ขอทำความตกลง กับสำนักงบประมาณก่อนทุกกรณี
(๓) การแลกเปลี่ยน วัสดุ กับวัสดุประเภทชนิดเดียวกัน ที่ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ให้แลกเปลี่ยนได้ กรณีนอกเหนือจากนี้ ให้ขอทำความตกลง กับกระทรวงการคลังก่อน

ข้อ ๑๒๔ ในกรณีต้องมีการแลกเปลี่ยนพัสดุ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ รายงานต่อ หัวหน้าส่วนราชการ เพื่อพิจารณาสั่งการ โดยให้รายงาน ตามรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) เหตุผลและความจำเป็น ที่ต้องแลกเปลี่ยน
(๒) รายละเอียดของพัสดุ ที่จะนำไปแลกเปลี่ยน
(๓) ราคาที่ซื้อ หรือได้มาของพัสดุ ที่จะนำไปแลกเปลี่ยน และราคา ทึ่จะแลกเปลี่ยนได้ โดยประมาณ
(๔) พัสดุ ที่รับแลกเปลี่ยน และให้ระบุว่า จะแลกเปลี่ยน กับส่วนราชการ หน่วยงานตามกฏหมาย ว่าด้วยระเบียบ บริหารราชการส่วนราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่น ซึ่งมีกฏหมายบัญญัติ ให้มีฐานะเป็น ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน
(๕) ข้อเสนออื่นๆ (ถ้ามี)
  ในกรณีที่จะแลกเปลี่ยน กับเอกชน ให้ระบุ วิธีที่จะแลกเปลี่ยน พร้อมทั้งเหตุผล โดยเสนอให้ นำวิธีการซื้อมาใช้ โดยอนุโลม เว้นแต่การแลกเปลี่ยนพัสดุ ที่จะนำไปแลกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาซื้อ หรือได้มา รวมกันไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท จะเสนอให้ใช้ วิธีตกลงราคา ก็ได้

ข้อ ๑๒๕ การแลกเปลี่ยนพัสดุ กับเอกชน ให้หัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้งกรรมการ ขึ้นคณะหนึ่ง หรือหลายคณะ ตามความจำเป็น โดยถือปฏิบัติ ตามข้อ ๓๕ หรือข้อ ๓๖ แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม
  ให้คณะกรรมการ มีหน้าที่ดังนี้
(๑) ตรวจสอบ และประเมินราคา พัสดุ ที่ต้องการแลกเปลี่ยน ตามสภาพปัจจุบัน ของพัสดุนั้น
(๒) ตรวจสอบ รายละเอียดพัสดุ ที่จะได้รับการแลกเปลี่ยน ว่าเป็นของใหม่ ที่ยังไม่เคยใช้งานมาก่อน เว้นแต่พัสดุเก่า ที่จะได้รับการแลกเปลี่ยนนั้น จะเป็นความจำเป็น ไม่ทำให้ทางราชการ ต้องเสียประโยชน์ หรือเพื่อประโยชน์ แก่ทางราชการ
(๓) เปรียบเทียบราคาพัสดุ ที่จะแลกเปลี่ยนกัน โดยพิจารณาจาก ราคาที่ประเมินตาม (๑) และราคาพัสดุ ที่จะได้รับจากการแลกเปลี่ยน ซึ่งถือตามราคากลาง หรือราคามาตรฐาน หรือราคาในท้องตลาด โดยทั่วไป
(๔) ต่อรอง กับผู้เสนอราคา ที่คณะกรรมการ เห็นสมควรแลกเปลี่ยน
(๕) เสนอความเห็น ต่อหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อพิจารณาสั่งการ
(๖) ตรวจรับพัสดุ โดยปฏิบัติ ตามข้อ ๗๑
โดยอนุโลม

ข้อ ๑๒๖ การแลกเปลี่ยนพัสดุของส่วนราชการ กับส่วนราชการ หน่วยงานตามกฏหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่น ซึ่งมีกฏหมายบัญญัติ ให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ ให้อยู่ในดุจพินิจของ หัวหน้าส่วนราชการ และหัวหน้าหน่วยงานนั้นๆ ที่จะตกลงกัน

ข้อ ๑๒๗ ครุภัณฑ์ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยน เมื่อลงทะเบียนครุภัณฑ์ ของส่วนราชการนั้นแล้ว ให้แจ้งสำนักงานงบประมาณ และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค แล้วแต่กรณี ทราบภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับครุภัณฑ์
  ในกรณีการแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์ กับหน่วยงาน ตามกฏหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่น ซี่งมีกฏหมายบัญญัติ ให้มีฐานะเป็น ราชการบริหารส่วนส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ให้ส่งสำเนาหลักฐาน การดำเนินการ ตาม
ข้อ ๑๒๕ หรือข้อ ๑๒๖ ไปด้วย

ส่วนที่ ๖ การเช่า

ข้อ ๑๒๘ การเช่าสังหาริมทรัพย์ และการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ในหมวดนี้ ให้หัวหน้าส่วนราชการ พิจารณาดำเนินการได้ ตามความเหมาะสมและจำเป็น โดยสำหรับการเช่าสังหาริมทรัพย์ ให้นำข้อกำหนดเกี่ยวกับ การซื้อมาใช้ โดยอนุโลม
ในกรณีที่มีความจำเป็น ต้องจ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้า ในการเช่าอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์ ให้กระทำได้เฉพาะ กรณีการเช่า ซี่งมีระยะเวลาไม่เกิน ๓ ปี ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) การเช่าจากหน่วยงาน ตามกฏหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่น ซึ่งมีกฏหมายบัญญัติ ให้มีฐานะเป็น ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือ รัฐวิสาหกิจ จ่ายได้ ไม่เกินร้อยละห้าสิบ ของค่าเช่าทั้งสัญญา
(๒) การเช่าจากเอกชน จ่ายได้ ไม่เกินร้อยละยี่สิบ ของค่าเช่าทั้งสัญญา การจ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้า นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้ทำความตกลง กับกระทรวงการคลังก่อน

การเช่าอสังหาริมทรัพย์

ข้อ ๑๒๙ การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้กระทำได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เช่าที่ดิน เพื่อใช้ประโยชน์ในราชการ
(๒) เช่าสถานที่ เพื่อใช้เป็นที่ทำการ ในกรณีที่ ไม่มีสถานที่ของทางราชการ หรือมีแต่ไม่เพียงพอ และถ้าสถานที่เช่านั้น กว้างขวางพอ จะใช้เป็นที่พัก ของผู้ซึ่ง มีสิทธิ์เบิกค่าเช่าบ้าน ตามระเบียบของทางราชการด้วยก็ได้
(๓) เช่าสถานที่ เพื่อใช้เป็นที่พัก สำหรับผู้มีสิทธิ์เบิกค่าเช่าที่พัก ตามระเบียบของทางราชการ ในกรณีที่ ต้องการประหยัดเงินงบประมาณ
(๔) เช่าสถานที่ เพื่อใช้เป็นที่เก็บพัสดุ ของทางราชการ ในกรณีที่ ไม่มีสถานที่เก็บเพียงพอ การเช่าให้ดำเนินการ โดยวิธีตกลงราคา

ข้อ ๑๓๐ ก่อนดำเนินการเช่า ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ ทำรายงาน เสนอหัวหน้าส่วนราชการ ตามรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) เหตุผล และความจำเป็น ที่จะต้องเช่า
(๒) ราคาเช่า ที่ผู้ให้เช่าเสนอ
(๓) รายละเอียด ของอสังหาริมทรัพย์ ที่จะเช่า เช่น สถาพของสถานที่ บริเวณที่ต้องการใช้ พร้อมทั้งภาพถ่าย (ถ้ามี) และราคาเช่า ครั้งหลังสุด เป็นต้น
(๔) อัตราค่าเช่า ของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีขนาดและสภาพ ใกล้เคียงกับที่จะเช่า (ถ้ามี)
ในกรณีหน่วยงาน ในส่วนกลาง ต้องการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนภูมิภาค ให้ขอความเห็น เกี่ยวกับความเหมาะสม ของสถานที่ และอัตราค่าเช่า จากจังหวัดนั้นๆ เพื่อประกอบ การพิจารณาด้วย

ข้อ ๑๓๑ อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีอัตราค่าเช่า รวมทั้งค่าบริการอื่น เกี่ยวกับค่าเช่า ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ไม่เกินเดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท ให้หัวหน้าส่วนราชการ เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ถ้าเกินเดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท ให้ขอทำความตกลง กับกระทรวงการคลังก่อน

ส่วนที่ ๗ สัญญาและหลักประกันสัญญา

ข้อ ๑๓๒ การลงนามในสัญญา ในการจัดหาตามระเบียบนี้ เป็นอำนาจของ หัวหน้าส่วนราชการ และให้ทำเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ ตามตัวอย่างที่ กวพ. กำหนด
  การทำสัญญารายใด ถ้าจำเป็นต้องมีข้อความ หรือรายการแตกต่างไป จากตัวอย่างสัญญาที่ กวพ. กำหนด โดยมีสาระสำคัญ ตามที่กำหนดไว้ ในตัวอย่างสัญญา และไม่ทำให้ราชการเสียเบรียบ ก็ให้กระทำได้ เว้นแต่หัวหน้าส่วนราชการเห็นว่า จะมีปัญหาในทางเสียเบรียบ หรือไม่รัดกุมพอ ก็ให้ส่งร่างสัญญานั้น ไปให้สำนักอัยการสูงสุด พิจารณาก่อน
  ในกรณีที่ไม่อาจทำสัญญา ตามตัวอย่างที่ กวพ. กำหนดได้ และจำเป็นต้องร่างสัญญาขึ้นใหม่ ต้องส่งร่างสัญญานั้น ไปให้สำนักอัยการสูงสุด พิจารณาก่อน เว้นแต่หัวหน้าส่วนราชการ เห็นสมควรทำสัญญา ตามแบบที่เคยผ่านการพิจารณา ของสำนักอัยการสูงสุดมาแล้ว ก็ให้กระทำได้
  สำหรับการเช่า ซึ่งผู้เช่าจะต้องเสียเงินอื่นใด นอกจากค่าเช่า หรือในกรณีที่ หัวหน้าส่วนราชการเห็นว่า จะมีปัญหาในทางเสียเบรียบ หรือไม่รัดกุมพอ ให้ส่งร่างสัญญา ให้สำนักงานอัยการสูงสุด หรืออัยการจังหวัด แล้วแต่กรณี ตรวจพิจารณาก่อน
  ในกรณีจำเป็นต้องทำสัญญา เป็นภาษาต่างประเทศ ให้ทำเป็นภาษาอังกฤษ แต่ต้องมีคำแปล ตัวสัญญาและเอกสาร แนบท้ายสัญญา เฉพาะที่สำคัญเป็นภาษาไทยไว้ด้วย เว้นแต่เป็นการทำสัญญา ตามตัวอย่างที่ กวพ. กำหนด ไม่ต้องแปลเป็นภาษาไทย การทำสัญญาของส่วนราชการ ในต่างประเทศ จะทำสัญญาเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาของประเทศ ที่หน่วยงานนั้นตั้งอยู่ โดยผ่านการพิจารณา ของผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้รู้กฏหมาย ของส่วนราชการนั้นๆ ก็ได้

[๔#๔๑]ข้อ ๒๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๓๓ และข้อ ๑๓๔ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๓๓ การจัดหาในกรณีดังต่อไปนี้ จะทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกัน โดยไม่ต้องทำเป็นสัญญา ตาม
ข้อ ๑๓๒ ก็ได้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจ ของหัวหน้าส่วนราชการ
(๑) การซื้อ การจ้าง หรือการแลกเปลี่ยน โดยวิธีตกลงราคา หรือการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีตกลง ที่มีวงเงิน ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
(๒) การจัดหา ที่คู่สัญญา สามารถส่งมอบพัสดุได้ครบถ้วน ภายในห้าวันทำการ ของทางราชการ นับตั้งแต่ วันถัดจากวันทำข้อตกลงเป็นหนังสือ
(๓) การซื้อ หรือการจ้าง โดยวิธีกรณีพิเศษ และการจัดหา จากส่วนราชการ
(๔) การซื้อ โดยวิธีพิเศษ ตาม
ข้อ ๒๓ (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕)
(๕) การจ้าง โดยวิธีพิเศษ ตาม
ข้อ ๒๔ (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕)
(๖) การเช่า ซึ่งผู้เช่า ไม่ต้องเสียเงินอื่นใด นอกจากค่าเช่า
  ในกรณีการจัดหา ซึ่งมีราคาไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือในกรณี การซื้อหรือการจ้าง ซึ่งใช้วิธีดำเนินการ ตาม
ข้อ ๓๙ วรรคสอง จะไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกัน ก็ได้
[๓#๓๙]ข้อ ๒๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๓๓ และ ๑๓๔ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
[๓#๓๙] ข้อ ๑๓๓ การจัดหาในกรณีดังต่อไปนี้ จะทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการ
(๑) การซื้อ การจ้าง หรือแลกเปลี่ยนโดยวิธีการตกลงราคา
(๒) การจัดหา ที่คู่สัญญา สามารถส่งมอบพัสดุได้ครบถ้วน ภายในห้าวันทำการ ของทางราชการ นับแต่วันถัดจากวันทำข้อตกลงเป็นหนังสือ
(๓) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ และการจัดหาจากส่วนราชการ
(๔) การซื้อโดยวิธีพิเศษ ตาม
ข้อ ๒๓ (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕)
(๕) การซื้อโดยวิธีพิเศษ ตามข้อ ๒๔ (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕)
(๖) การเช่า ซึ่งผู้เช่าไม่ต้องเสียเงินอื่นใด นอกจากค่าเช่า
  ในกรณีการจัดหา ซึ่งมีราคาไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือในกรณีการซื้อหรือการจ้าง ซึ่งใช้วิธีดำเนินการ ตามข้อ ๓๙ วรรคสอง จะไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกัน ก็ได้
[๑#๓๕]ข้อ ๑๓๓ การจัดหาในกรณีดังต่อไปนี้ จะทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการ
(๑) การซื้อ การจ้าง หรือแลกเปลี่ยนโดยวิธีการตกลงราคา
(๒) การจัดหา ที่คู่สัญญา สามารถส่งมอบพัสดุได้ครบถ้วน ภายในห้าวันทำการ ของทางราชการ นับแต่วันถัดจากวันทำข้อตกลงเป็นหนังสือ
(๓) การซื้อหรือการจ้าง โดยวิธีกรณีพิเศษ และการจัดหาจากส่วนราชการ
(๔) การซื้อ โดยวิธีพิเศษ ตามข้อ ๒๓ (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕)
(๕) การซื้อ โดยวิธีพิเศษ ตามข้อ ๒๔ (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕)
(๖) การเช่า ซึ่งผู้เช่าไม่ต้องเสียเงินอื่นใด นอกจากค่าเช่า
  ในกรณีการจัดหา ซึ่งมีราคาไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท หรือในกรณีการซื้อหรือการจ้าง ซึ่งใช้วิธีดำเนินการ ตามข้อ ๓๙ วรรคสอง จะไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกัน ก็ได้

ข้อ ๑๓๔ การทำสัญญา หรือข้อตกลงเป็นหนังสือ นอกจากการจ้างที่ปรึกษา ให้กำหนดค่าปรับ เป็นรายวัน ในอัตราตายตัว ระหว่างร้อยละ ๐.๐๑-๐.๐๒ ของราคาพัสดุ ที่ยังไม่ได้รับมอบ เว้นแต่การจ้าง ซึ่งต้องการผลสำเร็จ ของงานทั้งหมดพร้อมกัน ให้กำหนดค่าปรับ เป็นรายวัน เป็นจำนวนเงินตายตัว ในอัตราร้อยละ ๐.๐๑-๐.๑๐ ของราคางานจ้างนั้น แต่ต้องไม่ต่ำกว่า วันละ ๑๐๐ บาท สำหรับงานก่อสร้างสาธารณูปโภค ที่มีผลกระทบต่อการจราจร ให้กำหนดค่าปรับ เป็นรายวัน ในอัตราร้อยละ ๐.๒๕ ของราคางานจ้างนั้น แต่อาจจะกำหนดขั้นสูงสุด ของการปรับก็ได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ ที่ กวพ. กำหนด
  ในการทำสัญญาจ้างที่ปรึกษา หากส่วนราชการเห็นว่า ถ้าไม่กำหนดค่าปรับไว้ในสัญญา จะเกิดความเสียหาย แก่ทางราชการ ให้ส่วนราชการ ผู้จัดทำสัญญา กำหนดค่าปรับ เป็นรายวัน ในอัตรา หรือจำนวนเงินตายตัว ในอัตราร้อยละ ๐.๐๑-๐.๑๐ ของราคางานจ้างนั้น ได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
  การกำหนดค่าปรับ ตามวรรคหนึ่ง และวรรคสอง ในอัตรา หรือเป็นจำนวนเงินเท่าใด ให้อยู่ในดุลพินิจ ของหัวหน้าส่วนราชการ โดยคำนึงถึง ราคา และลักษณะของพัสดุ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการที่คู่สัญญาของทางราชการ จะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือกระทบต่อการจราจร หรือความเสียหาย แก่ทางราชการ แล้วแต่กรณี
  ในกรณีการจัดหาสิ่งของ ที่ประกอบกันเป็นชุด ถ้าขาดส่วนประกอบ ส่วนหนึ่งส่วนใดไปแล้ว จะไม่สามารถใช้การได้ โดยสมบูรณ์ แม้คู่สัญญาจะส่งมอบสิ่งของ ภายในกำหนดตามสัญญา แต่ยังขาด ส่วนประกอบบางส่วน ต่อมาได้ส่งมอบ ส่วนประกอบที่ยังขาดนั้น เกินกำหนดสัญญา ให้ถือว่า ไม่ได้ส่งมอบสิ่งของนั้นเลย ให้ปรับเต็มราคาของทั้งชุด
  ในกรณีที่การจัดหาสิ่งของ คิดราคา รวมทั้งค่าติดตั้ง หรือทดลองด้วย ถ้าติดตั้งหรือทดลอง เกินกว่ากำหนดตามสัญญา เป็นจำนวนวันเท่าใด ให้ปรับเป็นรายวัน ในอัตราที่กำหนด ของราคาทั้งหมด
  เมื่อครบกำหนดส่งมอบพัสดุ ตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้ส่วนราชการ รีบแจ้งการเรียกค่าปรับ ตามสัญญา หรือข้อตกลง จากคู่สัญญา และเมื่อคู่สัญญา ได้ส่งมอบพัสดุ ให้ส่วนราชการ บอกสงวนสิทธิ การเรียกค่าปรับ ในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย

[๓#๓๙]ข้อ ๑๓๔ การทำสัญญา หรือข้อตกลงเป็นหนังสือ ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวัน ในอัตราตายตัว ระหว่างร้อยละ ๐.๐๑ - ๐.๒๐ ของราคาพัสดุ ที่ยังไม่ได้รับมอบ เว้นแต่การจ้าง ซึ่งต้องการผลสำเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกัน ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวัน เป็นจำนวนเงินตายตัว ในอัตราร้อยละ ๐.๐๑ - ๐.๑๐ ของราคางานจ้างนั้น แต่จะต้องไม่ต่ำกว่าวันละ ๑๐๐ บาท สำหรับการก่อสร้างสาธารณูปโภค ที่มีผลกระทบต่อการจราจร ให้กำหนดค่าปรับในอัตราร้อยละ ๐.๒๕ ของราคางานจ้างนั้น
  การกำหนดค่าปรับตามวรรคหนึ่ง ในอัตราหรือเป็นจำนวนเงินเท่าใด ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการ โดยคำนึงถึงราคา และลักษณะของพัสดุ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการที่คู่สัญญาของทางราชการ จะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือกระทบต่อการจราจร แล้วแต่กรณี
  ในกรณีการจัดหาสิ่งของ ที่ประกอบกันเป็นชุด ถ้าขาดส่วนประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดไปแล้ว จะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ แม้คู่สัญญาจะส่งมอบสิ่งของภายในกำหนดตามสัญญา แต่ยังขาดส่วนประกอบบางส่วน ต่อมาได้ส่งมอบส่วนประกอบที่ยังขาดนั้น เกินกำหนดสัญญา ให้ถือว่าไม่ได้ส่งมอบสิ่งนั้นเลย ให้ปรับเต็มราคาทั้งชุด
  ในกรณีที่การจัดหาสิ่งของ คิดราคารวมทั้งค่าติดตั้ง หรือทดลองด้วย ถ้าติดตั้งหรือทดลอง เกินกว่ากำหนดตามสัญญา เป็นจำนวนวันเท่าใด ให้ปรับเป็นรายวัน ในอัตราที่กำหนดของราคาทั้งหมด
  เมื่อครบกำหนดส่งมอบพัสดุ ตามสัญญา หรือข้อตกลง ให้ส่วนราชการ รีบแจ้งการเรียกค่าปรับ ตามสัญญาหรือข้อตกลง จากคู่สัญญา และเมื่อคู่สัญญา ได้ส่งมอบพัสดุ ให้ส่วนราชการ บอกสงวนสิทธิ การเรียกค่าปรับ ในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย

[๑#๓๕]ข้อ ๑๓๔ การทำสัญญา หรือข้อตกลงเป็นหนังสือ ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวัน ในอัตราตายตัว ระหว่างร้อยละ ๐.๐๑ - ๐.๒๐ ของราคาพัสดุ ที่ยังไม่ได้รับมอบ เว้นแต่การจ้าง ซึ่งต้องการผลสำเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกัน ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวัน เป็นจำนวนเงินตายตัว ในอัตราร้อยละ ๐.๐๑ - ๐.๑๐ ของราคางานจ้างนั้น แต่จะต้องไม่ต่ำกว่าวันละ ๑๐๐ บาท
  การกำหนดค่าปรับตามวรรคหนึ่ง ในอัตราหรือเป็นจำนวนเงินเท่าใด ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการ โดยคำนึงถึงราคา และลักษณะของพัสดุ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการที่คู่สัญญาของทางราชการ จะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสัญญา
  ในกรณีการจัดหาสิ่งของ ที่ประกอบกันเป็นชุด ถ้าขาดส่วนประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดไปแล้ว จะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ แม้คู่สัญญาจะส่งมอบสิ่งของภายในกำหนดตามสัญญา แต่ยังขาดส่วนประกอบบางส่วน ต่อมาได้ส่งมอบส่วนประกอบที่ยังขาดนั้น เกินกำหนดสัญญา ให้ถือว่าไม่ได้ส่งมอบสิ่งนั้นเลย ให้ปรับเต็มราคาทั้งชุด
  ในกรณีที่การจัดหาสิ่งของ คิดราคารวมทั้งค่าติดตั้ง หรือทดลองด้วย ถ้าติดตั้งหรือทดลอง เกินกว่ากำหนดตามสัญญา เป็นจำนวนวันเท่าใด ให้ปรับเป็นรายวัน ในอัตราที่กำหนดของราคาทั้งหมด
  เมื่อครบกำหนดส่งมอบพัสดุ ตามสัญญา หรือข้อตกลง ให้ส่วนราชการ รีบแจ้งการเรียกค่าปรับ ตามสัญญาหรือข้อตกลง จากคู่สัญญา และเมื่อคู่สัญญา ได้ส่งมอบพัสดุ ให้ส่วนราชการ บอกสงวนสิทธิ การเรียกค่าปรับ ในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย

ข้อ ๑๓๕ ให้หัวหน้าส่วนราชการ ส่งสำเนาสัญญา หรือข้อตกลง เป็นหนังสือ ซึ่งมีมูลค่า ตั้งแต่ หนึ่งล้านบาทขึ้นไป ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นส่วนภูมิภาค แล้วแต่กรณี และกรมสรรพากร ภายใน ๓๐ วัน นับแต่ วันทำสัญญา หรือข้อตกลง

[๓#๓๙]ข้อ ๒๒ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๑๓๖ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๓๖
สัญญาหรือข้อตกลง เป็นหนังสือที่ได้ลงนามแล้ว จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้ เว้นแต่การแก้ไขนั้น จะเป็นความจำเป็น โดยไม่ทำให้ทางราชการ ต้องเสียประโยชน์ หรือเป็นการแก้ไข เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ให้อยู่ในอำนาจของ หัวหน้าส่วนราชการ ที่จะพิจารณาอนุมัติ ให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้ามีการเพิ่มวงเงิน จะต้องปฏิบัติตามกฏหมาย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือขอทำความตกลง ในส่วนที่ใช้เงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ แล้วแต่กรณีด้วย

[๑#๓๕]ข้อ ๑๓๖ สัญญาหรือข้อตกลง เป็นหนังสือที่ได้ลงนามแล้ว จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้ เว้นแต่การแก้ไขนั้น จะเป็นความจำเป็น โดยไม่ทำให้ทางราชการ ต้องเสียประโยชน์ หรือเป็นการแก้ไข เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ให้อยู่ในอำนาจของ หัวหน้าส่วนราชการ ที่จะพิจารณาอนุมัติ ให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้ามีการเพิ่มวงเงินและทำให้วงเงินนั้น สูงเกินอำนาจสั่งการ ของหัวหน้าส่วนราชการ ให้เสนอปลัดประทรวงพิจารณา แต่ทั้งนี้ จะต้องปฏิบัติตามกฏหมาย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือขอทำความตกลง ในส่วนที่ใช้เงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ แล้วแต่กรณีด้วย
  การแก้ไข เปลี่ยนแปลงสัญญา หรือข้อตกลง ตามวรรคหนึ่ง หากมีความจำเป็น ต้องเพิ่ม หรือลดวงเงิน หรือ เพิ่มหรือลดระยะเวลาส่งมอบของ หรือระยะเวลาในการทำงาน ให้ตกลงพร้อมกันไป
  สำหรับการจัดหา ที่เกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง หรืองานเทคนิค เฉพาะอย่าง จะต้องได้รับ การรับรอง จากวิศวกร สถาปนิก และวิศวกรผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรับผิดชอบ หรือสามารถรับรอง คุณลักษณะเฉพาะ แบบและรายการ ของงานก่อสร้าง หรืองานเทคนิค เฉพาะอย่างนั้น แล้วแต่กรณีด้วย

ข้อ ๑๓๗ ให้หัวหน้าส่วนราชการ พิจารณาใช้สิทธิ บอกเลิกสัญญา หรือข้อตกลง ในกรณีที่มีเหตุ อันเชื่อได้ว่า ผู้รับจ้าง ไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาที่กำหนด
การตกลงกับคู่สัญญา ที่จะบอกเลิกสัญญา หรือข้อตกลง ให้หัวน้าส่วนราชการ พิจารณาได้เฉพาะ กรณีที่ เป็นประโยชน์แก่ทางราชการ โดยตรง หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบ ของทางราชการ ในการที่จะปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อตกลงนั้น ต่อไป

ข้อ ๑๓๘ ในกรณีที่คู่สัญญา ไม่สามารถ ปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อตกลงได้ และจะต้องมีการปรับ ตามสัญญา หรือข้อตกลงนั้น หากจำนวนเงินค่าปรับ จะเกินร้อยละสิบ ของวงเงิน ค่าพัสดุหรือค่าจ้าง ให้ส่วนราชการ พิจารณาดำเนินการ บอกเลิกสัญญา หรือข้อตกลง เว้นแต่คู่สัญญา จะได้ยินยอมเสียค่าปรับ ให้แก่ทางราชการ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น ให้หัวหน้าส่วนราชการ พิจารณาผ่อนปรน การบอกเลิกสัญญาได้ เท่าที่จำเป็น

[๓#๓๙]ข้อ ๒๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๑๓๙ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๓๙ การงดหรือลดค่าปรับ ให้แก่คู่สัญญา หรือการขยายเวลาทำการ ตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้อยู่ในอำนาจ ของหัวหน้าส่วนราชการ ที่จะพิจารณาได้ ตามจำนวนวัน ที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เหตุเกิดจากความผิด หรือความบกพร่อง ของส่วนราชการ
(๒) เหตุสุดวิสัย
(๓) เหตุเกิดจาก พฤติการณ์อันหนึ่งอันใด ที่คู่สัญญา ไม่ต้องรับผิดตามกฏหมาย

[๑#๓๕]ข้อ ๑๓๙ การงดหรือลดค่าปรับ ให้แก่คู่สัญญา หรือการขยายเวลาทำการ ตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้อยู่ในอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการ ที่จะพิจารณา แต่ถ้าวงเงินในการสั่งการให้จัดหาครั้งนั้น เกินอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการ ให้เสนอปลัดกระทรวงพิจารณา และให้พิจารณาได้ ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เหตุเกิดจากความผิด หรือความบกพร่องของส่วนราชการ
(๒) เหตุสุดวิสัย
(๓) เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใด ที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฏหมาย

  ให้ส่วนราชการ ระบุไว้ในสัญญา กำหนดให้คู่สัญญา ต้องแจ้งเหตุดังกล่าว ให้ส่วนราชการทราบ ภายใน ๑๕ วัน นับแต่เหตุนั้น ได้สิ้นสุดลง หากมิได้แจ้ง ภายในเวลาที่กำหนด คู่สัญญา จะยกมากล่าวอ้าง เพื่อขอลด หรืองดค่าปรับ หรือขอขยายเวลา ในภายหลังมิได้ เว้นแต่กรณีตาม (๑) ซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้ง หรือส่วนราชการ ทราบดีอยู่แล้ว ตั้งแต่ต้น

ข้อ ๑๔๐ ในกรณีที่ไม่มีระเบียบ กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ และเป็นความจำเป็น เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ที่จะใช้สิทธิ ตามเงื่อนไขของสัญญาหรือข้อตกลง หรือข้อกฏหมาย ให้อยู่ในดุลพินิจ ของหัวหน้าส่วนราชการ ที่จะใช้สิทธิดังกล่าว สั่งการได้ ตามความจำเป็น

หลักประกัน

[๓#๓๙]ข้อ ๒๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๔๑ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๔๑ หลักประกันซอง หรือหลักประกันสัญญา ให้ใช้หลักประกัน อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) เงินสด
(๒) เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ ที่ใช้เช็คนั้น ชำระต่อเจ้าหน้าที่ หรือก่อนวันนั้น ไม่เกิน ๓ วันทำการ
(๓) หนังสือค้ำประกัน ของธนาคารภายในประเทศ ตามตัวอย่างที่ กวพ. กำหนด
(๔) หนังสือค้ำประกัน ของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ที่ได้รับอนุญาต ให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์ และประกอบธุรกิจค้ำประกัน ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามรายชื่อ บริษัทเงินทุน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย แจ้งเวียนให้ส่วนราชการต่างๆ ทราบแล้ว โดยอนุโลมให้ใช้ ตามตัวอย่างหนังสือค้ำประกัน ของธนาคารที่ กวพ. กำหนด
(๕) พันธบัตรรัฐบาลไทย
  สำหรับประกวดราคานานาชาติ ให้ใช้หนังสือค้ำประกัน ของธนาคารในต่างประเทศ ที่มีหลักฐานดี และหัวหน้าส่วนราชการเชื่อถือ เป็นหลักประกันซอง ได้อีกประเภทหนึ่ง

[๑#๓๕]ข้อ ๑๔๑ หลักประกันซอง หรือหลักประกันสัญญา ให้ใช้หลักประกัน อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) เงินสด
(๒) เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ ที่ใช้เช็คนั้นชำระต่อเจ้าหน้าที่ หรือก่อนวันนั้น ไม่เกิน ๓ วันทำการ
(๓) หนังสือค้ำประกัน ของธนาคารภายในประเทศ ตามตัวอย่างที่ กวพ. กำหนด
(๔) พันธบัตรรัฐบาลไทย
  สำหรับหลักประกันซอง ให้ใช้หลักประกันได้อี ๒ ประเภท คือ
(๑) หนังสือค้ำประกันบริษัทเงินทุน ที่ได้รับอนุญาต ให้ประกอบกิจการเงินทุน เพื่อการพาณิชย์ และประกอบธุรกิจค้ำประกัน ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย แจ้งเวียนให้ส่วนราชการต่างๆ ทราบแล้ว โดยอนุโลมให้ใช้ ตามตัวอย่างหนังสือค้ำประกัน ของธนาคารที่ กวพ. กำหนด
(๒) หนังสือค้ำประกัน ของธนาคารในต่างประเทศ ที่มีหลักฐานดี และหัวหน้าส่วนราชการเชื่อถือ สำหรับการประกวดราคานานาชาติ

ข้อ ๑๔๒ หลักประกันซอง และหลักประกันสัญญา ในข้อ ๑๔๑ ให้กำหนดมูลค่า เป็นจำนวนเต็ม ในอัตราร้อยละห้า ของวงเงิน หรือราคาพัสดุ ที่จัดหาครั้งนั้น แล้วแต่กรณี เว้นแต่การจัดหาพัสดุ ที่หัวหน้าส่วนราชการเห็นว่า มีความสำคัญเป็นพิเศษ จะกำหนดอัตรา สูงกว่าร้อยละห้า แต่ไม่เกินร้อยละสิบ ก็ได้
ในการทำสัญญา จัดหาพัสดุ ที่มีระยะเวลาผูกพัน ตามสัญญา เกิน ๑ ปี และพัสดุนั้น ไม่ต้องมีการประกัน เพื่อความชำรุดบกพร่อง เช่น พัสดุใช้สิ้นเปลือง ให้กำหนดหลักประกัน ในอัตราร้อยละห้า ของราคาพัสดุที่ส่งมอบ ในแต่ละปีของสัญญา โดยให้ถือหลักประกันนี้ เป็นการค้ำประกัน ตลอดอายุสัญญา และหากในปีต่อไป ราคาพัสดุที่ส่งมอบ แตกต่างไป จากราคาในรอบปีก่อน ให้ปรับปรุงหลักประกัน ตามอัตราส่วน ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ก่อนครบรอบปี ในกรณีที่หลักประกัน ต้องปรับปรุง ในทางที่เพิ่มขึ้น และคู่สัญญา ไม่นำหลักประกันมาเพิ่ม ให้ครบจำนวน ภายใน ๑๕ วัน ก่อนการส่งมอบพัสดุ งวดสุดท้าย ของปีนั้น ให้ทางราชการ หักจากเงินค่าพัสดุ งวดสุดท้ายของปีนั้น ที่ทางราชการ จะต้องจ่ายให้ เป็นหลักประกัน ในส่วนที่เพิ่มขึ้น
การกำหนดหลักประกัน ตามวรรคหนึ่ง และวรรคสอง จะต้องระบุ ให้เป็นเงื่อนไข ในเอกสารสอบราคา หรือเอกสารประกวดราคา และหรือในสัญญาด้วย ในกรณีที่ผู้เสนอราคา หรือคู่สัญญา วางหลักประกัน ที่มีมูลค่า สูงกว่าที่กำหนดไว้ ในระเบียบ เอกสารสอบราคา หรือเอกสารประกวดราคา หรือสัญญา ให้อนุโลมรับได้

ข้อ ๑๔๓ ในกรณีที่ ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ เป็นผู้เสนอราคา หรือเป็นคู่สัญญา ไม่ต้องวางหลักประกัน

ข้อ ๑๔๔ ให้ส่วนราชการ คืนหลักประกันให้แก่ ผู้เสนอราคา คู่สัญญา หรือผู้ค้ำประกัน ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑) หลักประกันซอง ให้คืนให้แก่ผู้เสนอราคา หรือผู้ค้ำประกัน ภายใน ๑๕ วัน นับแต่ วันที่ได้พิจารณาในเบื้องต้น เรียบร้อยแล้ว เว้นแต่ผู้เสนอราคา รายที่คัดเลือกไว้ ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด ไม่เกิน ๓ ราย ให้คืนได้ ต่อเมื่อได้ทำสัญญา หรือข้อตกลง หรือผู้เสนอราคา ได้พ้นจากข้อผูกพันแล้ว
(๒) หลักประกันสัญญา ให้คืนแก่ คู่สัญญา หรือผู้ค้ำประกันโดยเร็ว และอย่างช้า ไม่เกิน ๑๕ วัน นับแต่ วันที่คู่สัญญาพ้นจากข้อผูกพัน ตามสัญญาแล้ว
  การจัดหา ที่ไม่ต้องมีการประกัน เพื่อความชำรุดบกพร่อง ให้คืนหลักประกัน ให้แก่คู่สัญญา หรือผู้ค้ำประกัน ตามอัตราส่วนของพัสดุ ซึ่งทางราชการ ได้รับมอบไว้แล้ว แต่ทั้งนี้ จะต้องระบุไว้ในเงื่อนไข ในเอกสารสอบราคา หรือเอกสารประกวดราคา และในสัญญาด้วย
[๓#๓๙]ข้อ ๒๕ ให้ยกเลิกความในวรรคสาม ของข้อ ๑๔๔ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
  การคืนหลักประกัน ที่เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ในกรณีที่ ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญา ไม่มารับ ภายในกำหนดเวลาข้างต้น ให้รีบส่งต้นฉบับ หนังสือค้ำประกัน ให้แก่ ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญา โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนโดยเร็ว พร้อมกับแจ้งให้ธนาคาร บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ผู้ค้ำประกัน ทราบด้วย
[๑#๓๕]  การคืนหลักประกัน ที่เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร หรือหนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุน ในกรณีที่ ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญา ไม่มารับ ภายในกำหนดเวลาข้างต้น ให้รีบส่งต้นฉบับ หนังสือค้ำประกัน ให้แก่ ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญา โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนโดยเร็ว พร้อมกับแจ้งให้ธนาคาร หรือบริษัทเงินทุน ผู้ค้ำประกัน ทราบด้วย

ส่วนที่ ๘ การลงโทษผู้ทิ้งงาน

[๔#๔๑]ข้อ ๒๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๔๕ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๔๕ ให้ผู้รักษาการตามระเบียบ จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงาน ตามที่ได้กำหนดไว้ในหมวดนี้
  ห้ามส่วนราชการ ก่อนิติสัมพันธ์กับผู้ทิ้งงาน ที่ผู้รักษาการตามระเบียบ ได้ระบุชื่อไว้ ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงาน และได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว เว้นแต่ผู้รักษาการตามระเบียบ จะสั่งเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงาน
  การห้ามส่วนราชการ ก่อนิติสัมพันธ์กับผู้ทิ้งงาน ตามวรรคสอง ให้ใช้บังคับกับบุคคล ตาม
ข้อ ๑๔๕ ฉ วรรคสอง และวรรคสาม ด้วย
  บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลใด ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้เป็นผู้ทิ้งงาน ตามข้อกำหนดในส่วนนี้ ให้บุคคลดังกล่าว มีสิทธิเสนอราคาหรือเสนองาน ให้แก่ส่วนราชการได้ แต่ถ้าผลการพิจารณาต่อมา ผู้รักษาการตามระเบียบ ได้สั่งให้ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลนั้น เป็นผู้ทิ้งงาน ให้ปลัดกระทรวง ตัดรายชื่อบุคคลดังกล่าว ออกจากรายชื่อผู้มีสิทธิ ได้รับการคัดเลือก หรือยกเลิก การเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน หรือยกเลิก การลงนามในสัญญาซื้อหรือจ้าง ที่ได้กระทำก่อนการสั่งการ ของผู้รักษาการตามระเบียบ เว้นแต่ในกรณีที่ ปลัดกระทรวงพิจารณา เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ แก่ทางราชการอย่างยิ่ง ปลัดกระทรวง จะไม่ตัดรายชื่อบุคคลดังกล่าว ออกจากรายชื่อผู้มีสิทธิ ได้รับการคัดเลือก หรือจะไม่ยกเลิก การเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน หรือจะไม่ยกเลิก การลงนามในสัญญาซื้อหรือจ้าง ที่ได้กระทำ ก่อนการสั่งการ ของผู้รักษาการตามระเบียบก็ได้

[๑#๓๕]ข้อ ๑๔๕ ให้หัวหน้าส่วนราชการ เสนอปลัดกระทรวง เพื่อพิจารณาผู้ที่ได้รับคัดเลือก แล้วไม่ยอมไปทำสัญญาหรือข้อตกลง ภายในเวลาที่ทางราชการกำหนด หรือคู่สัญญาของทางราชการ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นผู้ทิ้งงาน และให้กระทรวงเจ้าสังกัด รีบส่งชื่อผู้ทิ้งงาน ไปยังผู้รักษาการตามระเบียบ เพื่อพิจารณา หากเห็นด้วย ให้แจ้งเวียนให้ส่วนราชการต่างๆ ทราบ พร้อมทั้งแจ้งผู้ทิ้งงานรายนั้น ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ในกรณีผู้รักษาการตามระเบียบ ไม่เห็นด้วย ให้แจ้งผลการพิจารณา ไปให้กระทรวงเจ้าสังกัดทราบ
ห้ามส่วนราชการ ก่อนิติสัมพันธ์กับผู้ทิ้งงาน ที่ได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว เว้นแต่ผู้รักษาการตามระเบียบ จะสั่งเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงาน
ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า มีการกระทำโดยไม่สุจริต หรือมีการสมยอมกัน ในการเข้าเสนอราคากับทางราชการ ให้พิจารณาลงโทษผู้เสนอราคา ที่มีการกระทำดังกล่าว เสมือนเป็นผู้ทิ้งงาน และดำเนินการตามขั้นตอน ในวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยอนุโลม

[๔#๔๑]ข้อ ๒๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๔๕ ทวิ ข้อ ๑๔๕ ตรี ข้อ ๑๔๕ จัตวา ข้อ ๑๔๕ เบญจ ข้อ ๑๔๕ ฉ และข้อ ๑๔๕ สัตต แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๑๔๕ ทวิ เมื่อปรากฏ กรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ที่ได้รับการคัดเลือก แล้วไม่ยอมไปทำสัญญาหรือข้อตกลง ภายในเวลา ที่ทางราชการกำหนด
(๒) เมื่อคู่สัญญาของทางราชการ หรือผู้รับจ้างช่วง ที่ทางราชการอนุญาตให้รับช่วงงานได้ ไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อตกลงนั้น
(๓) พัสดุที่ซื้อ หรือจ้างทำ เกิดข้อบกพร่องขึ้น ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ในสัญญาหรือข้อตกลง และไม่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง จากผู้จำหน่าย ผู้รับจ้าง หรือคู่สัญญา หรือพัสดุ ที่ซื้อหรือจ้าง ไม่ได้มาตรฐาน หรือวัสดุ ที่ใช้ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ครบถ้วน ตามที่กำหนดไว้ ในสัญญา หรือข้อตกลง ทำให้งานบกพร่องเสียหาย อย่างร้ายแรง หรือ
(๔) สำหรับ
งานก่อสร้างสาธารณูปโภค หากปรากฏว่า พัสดุหรือวัสดุ ที่ซื้อหรือจ้างหรือใช้ โดยผู้รับจ้างช่วง ที่ทางราชการอนุญาต ให้รับช่วงงานได้ มีข้อบกพร่อง หรือไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ครบถ้วน ตาม (๓)
  ให้หัวหน้าส่วนราชการ ทำรายงาน ไปยังปลัดกระทรวง โดยเร็ว เพื่อพิจารณาให้บุคคล ที่ได้รับการคัดเลือก ผู้จำหน่าย ผู้รับจ้าง คู่สัญญา หรือผู้รับจ้างช่วง ที่ทางราชการ อนุญาตให้รับช่วงงานได้ เป็นผู้ทิ้งงาน แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งเสนอความเห็นของตน เพื่อประกอบการพิจารณา ของปลัดกระทรวงด้วย
  เมื่อปลัดกระทรวง พิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำ ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) เป็นการกระทำ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และบุคคลดังกล่าว สมควรเป็นผู้ทิ้งงาน ให้ปลัดกระทรวง ส่งชื่อบุคคลดังกล่าว ไปยังผู้รักษาการตามระเบียบ เพื่อพิจารณา สั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน โดยเร็ว
  ในกรณีที่ เป็นโครงการขนาดใหญ่ ตามหลักเกณฑ์ และวงเงินที่ กวพ. กำหนด หากปลัดกระทรวง พิจารณาแล้วเห็นว่า บุคคลดังกล่าวข้างต้น ยังไม่สมควร เป็นผู้ทิ้งงาน ให้ปลัดกระทรวง รายงานไปยัง กวพ. เพื่อทราบด้วย
  เมื่อผู้รักษาการตามระเบียบ ได้พิจารณา หลังจากที่ได้ฟังความเห็น ของ กวพ. ตาม
ข้อ ๑๒(๖) แล้ว และเห็นว่าบุคคลดังกล่าว สมควรเป็นผู้ทิ้งงาน ก็ให้ผู้รักษาการตามระเบียบ สั่งให้บุคคลดังกล่าว เป็นผู้ทิ้งงาน โดยระบุชื่อผู้ทิ้งงานไว้ ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงาน พร้อมทั้งแจ้งเวียนชื่อผู้ทิ้งงาน ให้ส่วนราชการอื่นทราบ รวมทั้งแจ้งให้ผู้ทิ้งงานรายนั้นทราบ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนด้วย
  ในกรณีผู้รักษาการตามระเบียบ เห็นว่าบุคคลดังกล่าว ไม่สมควรเป็นผู้ทิ้งงาน ให้แจ้งผลการพิจารณา ไปให้ปลัดกระทรวงทราบ

ข้อ ๑๔๕ ตรี ในกรณีการจ้างที่ปรึกษา หรือการจ้าง ออกแบบและควบคุมงาน หากตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่า ผลจากการปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว มีข้อบกพร่อง ผิดพลาด หรือก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ทางราชการ อย่างร้ายแรง ให้หัวหน้าส่วนราชการ เสนอปลัดกระทรวง เพื่อพิจารณา ให้คู่สัญญานั้น เป็นผู้ทิ้งงาน
  การพิจารณา สั่งให้คู่สัญญา เป็นผู้ทิ้งงาน ตามวรรคหนึ่ง ให้นำความ ใน
ข้อ ๑๔๕ ทวิ วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า และวรรคหก มาใช้บังคับ โดยอนุโลม

ข้อ ๑๔๕ จัตวา ในการจัดหาพัสดุ ตามระเบียบนี้ หากมีเหตุอันควรสงสัย ปรากฏในภายหลังว่า ผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน รายหนึ่งหรือหลายราย ไม่ว่าจะเป็น ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน ที่ได้รับการคัดเลือก หรือไม่ก็ตาม กระทำการ อันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือกระทำการ โดยไม่สุจริต เช่น การเสนอเอกสารอันเป็นเท็จ หรือใช้ชื่อบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลอื่น มาเสนอราคาแทน ให้ส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง ว่าบุคคลดังกล่าว สมควรเป็นผู้ทิ้งงานหรือไม่ โดยมีหนังสือแจ้งเหตุ ที่ทางราชการสงสัย ไปยังผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน ที่ถูกสงสัยทราบ พร้อมทั้งให้ชี้แจง รายละเอียดข้อเท็จจริง ภายในเวลา ที่ทางราชการกำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน นับแต่ วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง จากส่วนราชการ
  เมื่อส่วนราชการ ได้รับคำชี้แจง จากผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน ที่ถูกสงสัย ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้หัวหน้าส่วนราชการ ทำรายงาน ไปยังปลัดกระทรวง พร้อมทั้งเสนอความเห็นของตน เพื่อประกอบการพิจารณา ของปลัดกระทรวง ว่าบุคคลดังกล่าว สมควรเป็นผู้ทิ้งงานหรือไม่
  หากผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองานที่ถูกสงสัย ไม่ชี้แจงภายในกำหนดเวลา ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่า มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า มีการกระทำ อันเป็น
การขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือมีการกระทำ โดยไม่สุจริต ให้หัวหน้าส่วนราชการ เสนอปลัดกระทรวง พร้อมทั้งเสนอความเห็น เพื่อพิจารณา ให้ผู้นั้น เป็นผู้ทิ้งงาน  การพิจารณา ให้ผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน เป็นผู้ทิ้งงาน ตามวรรคสองและวรรคสาม ให้นำความ ในข้อ ๑๔๕ ทวิ วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า และวรรคหก มาใช้บังคับ โดยอนุโลม

ข้อ ๑๔๕ เบญจ ในกรณีที่ ผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน ที่ร่วมกระทำการ อันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือกระทำการโดยไม่สุจริต รายใด ซึ่งมิใช่เป็นผู้ริเริ่ม ให้มีการกระทำดังกล่าวได้ ให้ความร่วมมือ เป็นประโยชน์ ต่อการพิจารณาของทางราชการ ให้หัวหน้าส่วนราชการ หรือปลัดกระทรวง หรือผู้รักษาการตามระเบียบ พิจารณาให้ ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายนั้น ได้รับการยกเว้น ที่จะไม่เป็นผู้ทิ้งงานได้ โดยแสดงเหตุผล หรือระบุเหตุผลไว้ ในการเสนอความเห็น หรือในการสั่งการ แล้วแต่กรณี

ข้อ ๑๔๕ ฉ ในกรณีที่นิติบุคคลใด ถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน ตามข้อ ๑๔๕ ทวิ ข้อ ๑๔๕ ตรี หรือข้อ ๑๔๕ จัตวา ถ้าการกระทำดังกล่าว เกิดจากหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงาน ในกิจการของนิติบุคคลนั้น ให้ผู้รักษาการตามระเบียบนี้ สั่งให้บุคคลดังกล่าว เป็นผู้ทิ้งงานด้วย
  ในกรณีที่ นิติบุคคลรายใด ถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน ตาม
ข้อ ๑๔๕ ทวิ ข้อ ๑๔๕ ตรี หรือข้อ ๑๔๕ จัตวา ให้คำสั่งดังกล่าว มีผลไปถึง นิติบุคคลอื่น ที่ดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน ซึ่งมีหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงาน ในกิจการของนิติบุคคลนั้น เป็นบุคคลเดียวกัน กับหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงาน ในกิจการของนิติบุคคล ที่ถูกพิจารณา ให้เป็นผู้ทิ้งงานด้วย
  ในกรณีที่ บุคคลธรรมดารายใด ถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน ตาม
ข้อ ๑๔๕ ทวิ ข้อ ๑๔๕ ตรี หรือข้อ ๑๔๕ จัตวา ให้คำสั่งดังกล่าว มีผลไปถึง นิติบุคคลอื่น ที่เข้าเสนอราคาหรือเสนองาน ซึ่งมีบุคคลดังกล่าว เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจ ในการดำเนินงาน ในกิจการของนิติบุคคลนั้นด้วย

ข้อ ๑๔๕ สัตต เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการ ให้เป็นไปตามระเบียบนี้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริง อันควรสงสัยว่า มีการกระทำ ตามข้อ ๑๔๕ ทวิ ข้อ ๑๔๕ ตรี หรือข้อ ๑๔๕ จัตวา และปลัดกระทรวงยังไม่ได้รายงาน ไปยังผู้รักษาการตามระเบียบ ผู้รักษาการตามระเบียบ อาจเรียกให้ ผู้ได้รับการคัดเลือก ผู้จำหน่าย ผู้รับจ้าง คู่สัญญา ผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน ที่มีข้อเท็จจริง อันควรสงสัย ว่ามีการกระทำ อันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือกระทำการ โดยไม่สุจริต มาชี้แจงข้อเท็จจริง ต่อผู้รักษาการตามระเบียบ ทั้งนี้ โดยมีหนังสือแจ้งเหตุ ที่ผู้รักษาการตามระเบียบสงสัย ไปยังบุคคลดังกล่าว พร้อมทั้งแจ้ง ให้บุคคลนั้น ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริง ภายในเวลา ที่ผู้รักษาการตามระเบียบกำหนด แต่ต้อง ไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน นับแต่ วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง จากผู้รักษาการตามระเบียบ
  เมื่อผู้รักษาการตามระเบียบ ได้รับคำชี้แจง จากผู้ได้รับการคัดเลือก ผู้จำหน่าย ผู้รับจ้าง คู่สัญญา ผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน ที่ถูกสงสัย ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้รักษาการตามระเบียบ พิจารณาคำชี้แจงดังกล่าว หากคำชี้แจง ไม่มีเหตุผลรับฟังได้ ให้ผู้รักษาการตามระเบียบ พิจารณาให้บุคคลดังกล่าว เป็นผู้ทิ้งงาน พร้อมทั้งแจ้งผลการพิจารณา ไปให้ปลัดกระทรวงทราบด้วย
  หากผู้ได้รับการคัดเลือก ผู้จำหน่าย ผู้รับจ้าง คู่สัญญา ผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน ที่ถูกสงสัย ตามวรรคหนึ่ง ไม่ชี้แจง ภายในกำหนดเวลา ที่ผู้รักษาการตามระเบียบ จะได้กำหนดไว้ ให้ถือว่า มีเหตุอันควรเชื่อได้ ว่ามีการกระทำ อันเป็น
การขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือมีการกระทำ โดยไม่สุจริต ให้ผู้รักษาการตามระเบียบ พิจารณาให้บุคคลดังกล่าว เป็นผู้ทิ้งงาน พร้อมทั้งแจ้งผลการพิจารณา ไปให้ปลัดกระทรวงทราบด้วย

หมวด ๓ การควบคุมและการจำหน่ายพัสดุ

ส่วนที่ ๑ การยืม

ข้อ ๑๔๖ การให้ยืมหรือนำพัสดุ ไปใช้ในกิจการ ซึ่งไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของทางราชการ จะกระทำมิได้

ข้อ ๑๔๗ การยืมพัสดุประเภทใช้คงรูป ไปใช้ราชการ ให้ส่วนราชการผู้ยืม ทำหลักฐานการยืม เป็นลายลักษณ์อักษร แสดงเหตุผล และกำหนดวันส่งคืน โดยมีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) การยืม ระหว่างส่วนราชการ จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการผู้ให้ยืม
(๒) การให้บุคคล ยืมใช้ ภายในสถานที่ราชการเดียวกัน จะต้องได้รับอนุมัติ จากหัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งรับผิดชอบพัสดุนั้น แต่ถ้ายืมไปใช้ นอกสถานที่ราชการ จะต้องได้รับอนุมัติ จากหัวหน้าส่วนราชการ

ข้อ ๑๔๘ ผู้ยืมพัสดุประเภทใช้คงรูป จะต้องนำพัสดุนั้น มาส่งคืนให้ ในสภาพที่ใช้การได้ เรียบร้อย หากเกิดชำรุดเสียหาย หรือใช้การไม่ได้ หรือสูญหายไป ให้ผู้ยืม จัดการแก้ไขซ่อมแซม ให้คงสถาพเดิม โดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง หรือชดใช้ เป็นพัสดุประเภท ชนิด ขนาด ลักษณะ และคุณภาพ อย่างเดียวกัน หรือชดใช้ เป็นเงินตามราคา ที่เป็นอยู่ในขณะยืม ตามหลักเกณฑ์ ที่กระทรวงการคลังกำหนด

ข้อ ๑๔๙ การยืมพัสดุ ประเภทใช้สิ้นเปลือง ระหว่างส่วนราชการ ให้กระทำได้เฉพาะ เมื่อส่วนราชการผู้ยืม มีความจำเป็นต้องใช้พัสดุนั้น เป็นการรีบด่วน จะดำเนินการจัดหา ได้ไม่ทันการ และส่วนราชการผู้ให้ยืม มีพัสดุนั้นๆ พอที่จะให้ยืมได้ โดยไม่เป็นการเสียหาย แก่ราชการของตน และให้มีหลักฐานการยืม เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ โดยปกติ ส่วนราชการผู้ยืม จะต้องจัดหาพัสดุ เป็นประเภท ชนิด และปริมาณ เช่นเดียวกัน ส่งคืนให้ ส่วนราชการ ผู้ให้ยืม

ข้อ ๑๕๐ เมื่อครบกำหนดยืม ให้ผู้ให้ยืม หรือผู้รับหน้าที่แทน มีหน้าที่ ติดตามทวงพัสดุ ที่ให้ยืมไปคืน ภายใน ๗ วัน นับแต่ วันครบกำหนด

 

ส่วนที่ ๒ การควบคุม

การเก็บรักษาพัสดุ

ข้อ ๑๕๑ พัสดุของส่วนราชการ ไม่ว่าจะได้มาด้วยประการใด ให้อยู่ในความควบคุม ตามระเบียบนี้ เว้นแต่ มีระเบียบของทางราชการ หรือกฎหมาย กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

ข้อ ๑๕๒ เมื่อเจ้าหน้าที่พัสดุ ได้รับมอบแล้ว ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ลงบัญชี หรือทะเบียน เพื่อควบคุมพัสดุ แล้วแต่กรณี แยกเป็นชนิด และแสดงรายการ ตามตัวอย่างที่ กวพ. กำหนด โดยให้มีหลักฐาน การรับเข้าบัญชีหรือทะเบียน ไว้ประกอบรายการด้วย
สำหรับพัสดุ ประเภทอาหารสด จะลงรายการ อาหารสดทุกชนิด ในบัญชีเดียวกันก็ได้
(๒) เก็บรักษาพัสดุ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย และครบถ้วนถูกต้อง ตรงบัญชี หรือทะเบียน

การเบิก-จ่ายพัสดุ

ข้อ ๑๕๓ หน่วยงานระดับกอง หน่วยงาน ซึ่งแยกต่างหาก จากส่วนราชการ ระดับกรม หรือหน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค ประสงค์จะเบิกพัสดุ จากหน่วยงานพัสดุ ระดับกรม ให้หัวหน้าหน่วยงาน เป็นผู้เบิก
  การเบิกพัสดุ จากหน่วยพัสดุ ของหน่วยงาน ในส่วนภูมิภาค หรือของหน่วยงาน ซึ่งแยกต่างหาก จากส่วนราชการ ระดับกรม ให้หัวหน้างาน ที่ต้องใช้พัสดุนั้น เป็นผู้เบิก
  ให้หัวหน้าหน่วยพัสดุ ซึ่งเป็นหัวหน่วยงาน ระดับแผนก หรือต่ำกว่าระดับแผนก ที่มีหน้าที่ เกี่ยวกับ การควบคุมพัสดุ หรือข้าราชการอื่น ซึ่งได้รับการแต่งตั้ง จากหัวหน้าส่วนราชการ เป็นหัวหน้าหน่วยพัสดุ เป็นผู้สั่งจ่ายพัสดุ แล้วแต่กรณี
  ส่วนราชการใด มีความจำเป็น หัวหน้าส่วนราชการ จะกำหนดวิธีการเบิกจ่ายพัสดุ เป็นอย่างอื่นก็ได้ และให้แจ้ง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค แล้วแต่กรณี ทราบด้วย

ข้อ ๑๕๔ ผู้จ่ายพัสดุ ต้องตรวจสอบความถูกต้อง ของใบเบิก และเอกสารประกอบ (ถ้ามี) แล้วลงบัญชีทุกครั้ง ที่มีการจ่าย และเก็บใบเบิกจ่ายไว้ เป็นหลักฐานด้วย

การตรวจสอบพัสดุประจำปี

ข้อ ๑๕๕ ก่อนสิ้นเดือนกันยายนทุกปี ให้หัวหน้าส่วนราชการ หรือหัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งมีพัสดุไว้จ่าย ตามข้อ ๑๕๓ แล้วแต่กรณี แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ในส่วนราชการ หรือหน่วยงานนั้น ซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่พัสดุ คนหนึ่ง หรือหลายคน ตามความจำเป็น เพื่อตรวจสอบ การรับจ่ายพัสดุ งวดตั้งแต่ วันที่ ๑ ตุลาคม ปีก่อน จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ปีปัจจุบัน และตรวจนับพัสดุ ประเภทที่คงเหลืออยู่ เพียงวันสิ้นงวดนั้น
ในการตรวจสอบ ตามวรรคหนึ่ง ให้เริ่มดำเนินการ ตรวจสอบพัสดุ ในวันเปิดทำการ วันแรกของเดือนตุลาคม เป็นต้นไป ว่าการรับจ่าย ถูกต้องหรือไม่ พัสดุคงเหลือ มีตัวอยู่ ตรงตามบัญชีหรือทะเบียน หรือไม่ มีพัสดุใดชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือสูญหายไป เพราะเหตุใด หรือพัสดุใด ไม่จำเป็นต้องใช้ ในราชการต่อไป   แล้วให้เสนอรายงาน ผลการตรวจสอบดังกล่าว ต่อผู้แต่งตั้ง ภายใน ๓๐ วันทำการ นับแต่ วันเริ่มการตรวจสอบพัสดุนั้น
เมื่อผู้แต่งตั้ง ได้รับรายงาน จากเจ้าหน้าที่ ผู้ตรวจสอบแล้ว ให้ส่งรายงานเสนอ ตามลำดับชั้น จนถึง หัวหน้าส่วนราชการ ๑ ชุด และส่งสำเนารายงาน ไปยัง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินส่วนภูมิภาค แล้วแต่กรณี ๑ ชุด สำหรับหน่วยงาน ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ให้ส่งสำเนารายงาน ไปยัง ส่วนราชการต้นสังกัด อีก ๑ ชุด ด้วย

[๔#๔๑]ข้อ ๒๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๕๖ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

ข้อ ๑๕๖ เมื่อหัวหน้าส่วนราชการ ได้รับรายงานดังกล่าว ตาม
ข้อ ๑๕๕ และปรากฏว่า มีพัสดุชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญไป หรือไม่จำเป็นต้องใช้ ในราชการต่อไป ก็ให้แต่งตั้ง คณะกรรมการ สอบหาข้อเท็จจริง ขึ้นคณะหนึ่ง โดยให้นำความ ในข้อ ๓๕ และข้อ ๓๖ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม เว้นแต่กรณี ที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่า เป็นการเสื่อมสภาพ เนื่องมาจากการใช้งานตามปกติ หรือสูญไปตามธรรมชาติ ให้หัวหน้าส่วนราชการ พิจารณาสั่งการ ให้ดำเนินการจำหน่ายต่อไปได้
  ถ้าผลการพิจารณา ปรากฏว่า จะต้องหาตัวผู้รับผิดด้วย ให้หัวหน้าส่วนราชการ ดำเนินการตามกฏหมาย และระเบียบ ของทางราชการ ที่เกี่ยวข้องต่อไป

[๓#๓๙]ข้อ ๒๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๕๖ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
[๓#๓๙]ข้อ ๑๕๖ เมื่อหัวหน้าส่วนราชการ ได้รับรายงานดังกล่าว ตาม
ข้อ ๑๕๕ และปรากฏว่า มีพัสดุชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญไป หรือไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการต่อไป ก็ให้แต่งตั้ง คณะกรรมการ สอบหาข้อเท็จจริงขึ้น คณะหนึ่ง โดยให้นำความในข้อ ๓๕ และ ข้อ ๓๖ มาใช้โดยอนุโลม เว้นแต่ กรณีที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่า เป็นการเสื่อมสภาพ เนื่องมาจากการใช้งานตามปกติ หรือสูญไปตามธรรมชาติ ให้หัวหน้าส่วนราชการ พิจารณาสั่งการ ให้ดำเนินการจำหน่าย ต่อไปได้
  ถ้าผลการพิจารณา ปรากฏว่า จะต้องหาตัวผู้รับผิดด้วย ให้หัวหน้าส่วนราชการ ดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยความรับผิดทางแพ่ง ของเจ้าหน้าที่ส่วนราชการต่อไป
[๑#๓๕]ข้อ ๑๕๖ เมื่อหัวหน้าส่วนราชการ ได้รับรายงานดังกล่าว ตามข้อ ๑๕๕ และปรากฏว่า มีพัสดุชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญไป หรือไม่จำเป็นต้องใช้ ในราชการต่อไป ก็ให้แต่งตั้ง คณะกรรมการ สอบหาข้อเท็จจริงขึ้น คณะหนึ่ง โดยให้นำความในข้อ ๓๕ และ ข้อ ๓๖ มาใช้โดยอนุโลม
  ถ้าผลการพิจารณา ปรากฏว่า จะต้องหาตัวผู้รับผิดด้วย ให้หัวหน้าส่วนราชการ ดำเนินการ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยความรับผิดทางแพ่ง ของเจ้าหน้าที่ส่วนราชการต่อไป

ส่วนที่ ๓ การจำหน่าย

ข้อ ๑๕๗ หลังจากการตรวจสอบแล้ว พัสดุใด หมดความจำเป็น หรือหากใช้ราชการต่อไป จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ เสนอรายงาน ต่อหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อพิจารณา สั่งให้ดำเนินการ ตามวิธีการ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) ขาย ให้ดำเนินการขาย โดยวิธีทอดตลาดก่อน แต่ถ้าขาย โดยวิธีทอดตลาด แล้วไม่ได้ผลดี ให้นำวิธีที่กำหนด เกี่ยวกับการซื้อมาใช้ โดยอนุโลม เว้นแต่การขายพัสดุครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาซื้อหรือได้มา รวมกันไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท จะขาย โดยวิธีตกลงราคา โดยไม่ต้องทอดตลาดก่อน ก็ได้ การขาย ให้ส่วนราชการ หน่วยงานตามกฏหมาย ว่าด้วยระเบียบ บริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่น ซึ่งมีกฏหมายบัญญัติ ให้มีฐานะเป็น ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ หรือองค์การสถาน สาธารณกุศล ตามมาตรา ๔๗ (๗) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ขาย โดยวิธีตกลงราคา
(๒) แลกเปลี่ยน ให้ดำเนินการ ตามวิธีการแลกเปลี่ยน ที่กำหนดไว้ ในระเบียบนี้
(๓) โอน ให้โอนแก่ส่วนราชการ หน่วยงานตามกฏหมาย ว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่น ซึ่งมีกฏหมายบัญญัติ ให้มีฐานะเป็น ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การสถานสาธารณกุศล ตามมาตรา ๔๗ (๗) แห่งประมวลรัษฏากร ทั้งนี้ ให้มีหลักฐานการส่งมอบ ไว้ต่อกันด้วย
(๔) แปรสภาพ หรือทำลาย ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการ ที่ส่วนราชการกำหนด การดำเนินการ ตามวรรคหนึ่ง โดยปกติ ให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน นับแต่ วันที่หัวหน้าส่วนราชการสั่งการ และสำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค จะต้องได้รับความเห็นชอบ จากหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าของงบประมาณก่อนด้วย

ข้อ ๑๕๘ เงินที่ได้ จากการจำหน่ายพัสดุ ให้ถือปฏิบัติ ตามกฏหมายว่าด้วย วิธีการงบประมาณ หรือข้อตกลง ในส่วนที่ใช้เงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ แล้วแต่กรณี

การจำหน่ายเป็นสูญ

[๔#๔๑]ข้อ ๒๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๕๙ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๕๙ ในกรณีที่พัสดุสูญไป โดยไม่ปรากฏ ตัวผู้รับผิด หรือมีตัวผู้รับผิด แต่ไม่สามารถชดใช้ได้ หรือมีตัวพัสดุอยู่ แต่ไม่สมควรดำเนินการ ตาม
ข้อ ๑๕๗ ให้จำหน่ายพัสดุนั้น เป็นสูญ ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ถ้าพัสดุนั้น มีราคาซื้อหรือได้มา รวมกัน ไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้หัวหน้าส่วนราชการ เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
(๒) ถ้าพัสดุนั้น มีราคาซื้อหรือได้มา รวมกัน เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้อยู่ในอำนาจ ของกระทรวงการคลัง หรือส่วนราชการ ที่กระทรวงการคลังมอบหมาย ที่จะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ

[๑#๓๕]ข้อ ๑๕๙ ในกรณีที่พัสดุสูญไป โดยไม่ปรากฏตัวผู้รับผิด หรือมีตัวผู้รับผิด แต่ไม่สามารถชดใช้ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งของเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ หรือมีตัวพัสดุอยู่ แต่ไม่สมควรดำเนินการตาม
ข้อ ๑๕๗ ให้จำหน่ายพัสดุนั้น เป็นสูญ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) ถ้าพัสดุนั้น มีราคาซื้อหรือได้มารวมกัน ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ให้หัวหน้าส่วนราชการ เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
(๒) ถ้าพัสดุ มีราคาซื้อหรือได้มารวมกัน เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ให้อยู่ในอำนาจของกระทรวงการคลัง ที่จะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ

การลงจ่ายออกจากบัญชีหรือทะเบียน

[๔#๔๑]ข้อ ๒๗ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๖๐ และข้อ ๑๖๑ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๖๐ เมื่อได้ดำเนินการ ตาม
ข้อ ๑๕๗ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ ลงจ่ายพัสดุนั้น ออกจากบัญชี หรือทะเบียนทันที แล้วแจ้งให้ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค แล้วแต่กรณี ทราบภายใน ๓๐ วัน นับแต่ วันลงจ่ายพัสดุนั้น
  เมื่อได้ดำเนินการตาม
ข้อ ๑๕๙ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ ลงจ่ายพัสดุนั้น ออกจากบัญชี หรือทะเบียนทันที แล้วแจ้งให้ กระทรวงการคลัง หรือส่วนราชการ ที่กระทรวงการคลังมอบหมาย และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค แล้วแต่กรณี ทราบภายใน ๓๐ วัน นับแต่ วันลงจ่ายพัสดุนั้น
  สำหรับพัสดุ ซึ่งต้องจดทะเบียนตามกฏหมาย ให้แจ้งแก่ นายทะเบียน ภายในระยะเวลา ที่กฏหมายกำหนดด้วย

[๑#๓๕]ข้อ ๑๖๐ เมื่อได้ดำเนินการตาม
ข้อ ๑๕๗ หรือข้อ ๑๕๙ แล้วให้เจ้าหน้าที่พัสดุ ลงจ่ายพัสดุนั้น ออกจากบัญชี หรือทะเบียนทันที แล้วแจ้งให้ กระทรวงการคลัง และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินส่วนภูมิภาค แล้วแต่กรณีทราบ ภายใน ๓๐ วัน นับแต่ วันลงจ่ายพัสดุนั้น
สำหรับพัสดุ ซึ่งต้องจดทะเบียน ตามกฏหมาย ให้แจ้งแก่นายทะเบียน ภายในระยะเวลา ที่กฏหมายกำหนดด้วย

ข้อ ๑๖๑ ในกรณีที่พัสดุ ของทางราชการ เกิดการชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือสูญไป หรือไม่จำเป็นต้องใช้ ในราชการต่อไป ก่อนมีการตรวจสอบ ตามข้อ ๑๕๕ และได้ดำเนินการ ตามกฏหมาย หรือระเบียบ ของทางราชการ ที่เกี่ยวข้อง หรือระเบียบนี้ โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี เสร็จสิ้นแล้ว ถ้าไม่มีระเบียบอื่นใดกำหนดไว้ เป็นการเฉพาะ ให้ดำเนินการ ตามข้อ ๑๕๗ ข้อ ๑๕๘ ข้อ ๑๕๙ และข้อ ๑๖๐ โดยอนุโลม
[๑#๓๕]ข้อ ๑๖๑ ในกรณีที่พัสดุของทางราชการ เกิดชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือสูญไป หรือไม่จำเป็นต้องใช้ ในราชการต่อไป ก่อนมีการตรวจสอบตาม
ข้อ ๑๕๕ และได้ดำเนินการ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วย ความรับผิดทางแพ่ง ของเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ หรือระเบียบนี้โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี เสร็จสิ้นแล้ว ถ้าระเบียบความรับผิด ของข้าราชการในทางแพ่ง มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ดำเนินการตามข้อ ๑๕๗ ข้อ ๑๕๙ และข้อ ๑๖๐ โดยอนุโลม

หมวด ๔ บทเฉพาะกาล

ข้อ ๑๖๒ ในระหว่างที่ยังไม่ได้ตั้งศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา ตามข้อ ๗๔ ให้ยกเว้น ไม่นำข้อกำหนดเกี่ยวกับ ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษามาใช้บังคับ กับการดำเนินการจ้างที่ปรึกษา ตามที่กำหนดไว้ในหมวด ๒ ส่วนที่ ๓ และให้ดำเนินการหา รายชื่อที่ปรึกษาไทย ตามวิธีการที่กำหนดไว้ สำหรับที่ปรึกษาต่างประเทศ โดยอนุโลม

ข้อ ๑๖๓ รายชื่อผู้ทิ้งงาน ที่มีอยู่ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นผู้ทิ่งงาน ตามระเบียบนี้ด้วย
สำหรับการพิจารณาลงโทษ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกแล้วไม่ยอมไปทำสัญญา หรือข้อตกลงภายในเวลาที่กำหนด หรือคู่สัญญาของทางราชการ ไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อตกลงนั้น โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ก่อนที่ระเบียบนี้จะใช้บังคับ ให้พิจารณาสั่งการ ตามระเบียบที่ใช้บังคับอยู่เดิม

ข้อ ๑๖๔ การพัสดุใด ที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ และยังไม่แล้วเสร็จ ในวันที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุฉบับนี้ ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไป ตามระเบียบที่ใช้บังคับอยู่เดิม จนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ หรือจนกว่าจะสามารถดำเนินการตามระเบียบนี้ได้

ข้อ ๑๖๕ ให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๒๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป กับให้มีอำนาจหน้าที่ กำหนดแบบหรือตัวอย่าง ตามระเบียบข้อ ๑๒ (๕) จนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ว่าด้วยการพัสดุ ตามระเบียบนี้

ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕
(นายอานันท์  ปันยารชุน)
นายกรัฐมนตรี

ประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป
เล่ม ๑๐๙ ตอนพิเศษ ๗ วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๓๕

[๔#๔๑]ข้อ ๒๘ ให้ส่วนราชการ ปฏิบัติการให้ถูกต้อง ตามข้อ ๑๕ ตรี ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่ วันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ แต่ในระหว่างระยะเวลา ที่ยังไม่ได้ปฏิบัติการให้ถูกต้อง ตามข้อ ๑๕ ตรี ให้การตรวจสอบคุณสมบัติ ของผู้เสนอราคา เป็นไปตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙

[๔#๔๑]ข้อ ๒๙ ขั้นตอนการดำเนินการ ตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุเดิม ที่ยังไม่แล้วเสร็จ ในวันที่ระเบียบฉบับนี้ใช้บังคับ ให้นำหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ในระเบียบฉบับนี้ มาใช้บังคับแทน เว้นแต่การดำเนินการ ตามขั้นตอนดังกล่าว ไม่อาจกระทำได้ ให้ดำเนินการตามขั้นตอน ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙

[๔#๔๑]ข้อ ๓๐ ในการพิจารณา ให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เป็นผู้ทิ้งงาน แม้พฤติการณ์ดังกล่าว จะได้เกิดขึ้น ก่อนที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้หัวหน้าส่วนราชการ ปลัดกระทรวง และผู้รักษาการตามระเบียบนี้ พิจารณาสั่งการ ตามระเบียบนี้ เว้นแต่การดำเนินการ ตามขั้นตอนดังกล่าว ไม่อาจกระทำได้ ให้ดำเนินการ ตามขั้นตอนของ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙

ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
(นายชวน หลีกภัย)
นายกรัฐมนตรี

ประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป
เล่ม ๑๑๕ ตอนพิเศษ ๑๓๑ ง วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๑

[๓#๓๙]ข้อ ๒๘ การพัสดุใด ที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ และยังไม่แล้วเสร็จ ในวันที่ระเบียบฉบับนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไป ตามระเบียบที่ใช้บังคับอยู่เดิม จนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ หรือจนกว่าจะดำเนินการ ตามระเบียบนี้ได้

ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
(นายบรรหาร  ศิลปอาชา)
นายกรัฐมนตรี

ประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป
เล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๗๑ ง วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๓๙

[๒#๓๘]ข้อ ๘ การพัสดุใด ที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ และยังไม่แล้วเสร็จ ในวันที่ระเบียบฉบับนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไป ตามระเบียบที่ใช้บังคับอยู่เดิม จนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ หรือจนกว่าจะดำเนินการ ตามระเบียบนี้ได้

ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘
(นายบรรหาร  ศิลปอาชา)
นายกรัฐมนตรี

ประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป
เล่ม ๑๑๒ ตอนพิเศษ ๑๐๔ ง วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๘

 

แก้ไขเพิ่มเติม ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๑
๑, ๒, ๓{
}, ๔{}, ๕{}, ๖{๑๐}, ๗{๑๒}, ๘{๑๕ ทวิ, ๑๕ ตรี, ๑๕ จัตวา, ๑๕ เบญจ, ๑๕ ฉ, ๑๕ สัตต}, ๙{๑๖} ๑๐{๓๓}, ๑๑{๓๓ ทวิ}, ๑๒{๓๗}, ๑๓{๔๓}, ๑๔{๔๕}, ๑๕{๔๖, ๔๗}, ๑๖{๕๒}, ๑๗{๕๔, ๕๕}, ๑๘{๗๔, ๗๕, ๗๖}, ๑๙{๘๐}, ๒๐{๘๓}, ๒๑{๙๒}, ๒๒{๑๓๓, ๑๓๔}, ๒๓{๑๔๕}, ๒๔{๑๔๕ ทวิ, ๑๔๕ ตรี , ๑๔๕ จัตวา, ๑๔๕ เบญจ , ๑๔๕ ฉ, ๑๔๕ สัตต }, ๒๕{๑๕๖}, ๒๖{๑๕๙}, ๒๗{๑๖๐, ๑๖๑}, ๒๘, ๒๙, ๓๐

แก้ไขเพิ่มเติม ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙
๑, ๒, ๓{}, ๔{}, ๕{}, ๖{๑๐}, ๗{๑๒}, ๘{๑๓}, ๙{๑๖} ๑๐{๑๗}, ๑๑{๒๓, ๒๔}, ๑๒{๒๗}, ๑๓{๓๐}, ๑๔{๓๗}, ๑๕{๔๕}, ๑๖{๔๙}, ๑๗{๕๗, ๕๘}, ๑๘{๕๙}, ๑๙{๖๘}, ๒๐{๗๓}, ๒๑{๑๓๓, ๑๓๔}, ๒๒{๑๓๖}, ๒๓{๑๓๙}, ๒๔{๑๔๑}, ๒๕{๑๔๔}, ๒๖{๑๕๖}, ๒๗

แก้ไขข้อความระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๓๙ ลงวันที่ ๓๐ ก.ย. ๓๙
๑{๑๓๔}, ๒{๑๓๙}

แก้ไขเพิ่มเติม ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘
๑, ๒, ๓{๑๙, ๒๐, ๒๑}, ๔{๒๓, ๒๔}, ๕{๖๕, ๖๖}, ๖{๙๑}, ๗{๑๑๔}, ๘

 

ดูหมายเหตุการจัดทำเอกสารนี้

 

[email protected]
Created: 1998-12
Revised: 2001-06-06

1