( CIRCLE  OF  DEMOCRACY )

ลำดับเหตุการณ์ทางการเมือง

24     มิถุนายน  2475 คณะราษฎรยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช  เป็นระบอบ

กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

27     มิถุนายน  2475  ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว  พ.. 2475

10     ธันวาคม  2475  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ..2475 

1         เมษายน  2476  พระยามโนปกรณ์นิติธาดา  เสนอให้ออกพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาฯ  อันเนื่องจากความ

คิดเห็นขัดแย้งเกี่ยวกับเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี  พนมยงค์ และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราเป็นการชั่วคราว

20  มิถุนายน  2476  พล อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาผู้นำก่อการรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา

11  ตุลาคม  2476  พล อ.พระองค์เจ้าบวรเดชผู้นำในการ ยึดอำนาจรัฐบาลพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาแต่ไม่สำเร็จ

มีนาคม  2477  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ สละราชสมบัติ เพราะไม่ทรงสามารถรับแนวทางการบริหารประเทศของคณะราษฎร

สิงหาคม  2478  นายทหารในกองทัพระดับชั้นประทวนกลุ่มหนึ่งวางแผนก่อความไม่สงบเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมจากผู้นำในกองทัพ

24     กรกฎาคม  2487  รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ลาออก เพราะร่าง พ...สำคัญ 2 ฉบับ ไม่ผ่านความเห็นชอบของ

สภาผู้แทนราษฎร

พฤศจิกายน  2490  พลโทผิน  ชุณหะวัณ  เป็นผู้นำในการ ยึดอำนาจจากพลตรีหลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์

เมษายน  2491  คณะนายทหารกระทำการยึดอำนาจรัฐบาลนายควง  อภัยวงศ์ เพื่อเปิดทางให้จอมพล ป.พิบูลสงครามขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี

26  กุมภาพันธ์  2492  คณะบุคคลกลุ่มหนึ่งซื่งใช้พระบรมมหาราชวังเป็นศูนย์บัญชาการในการล้มล้างรัฐบาล

จอมพล ป.พิบูลสงครามแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ

29  มิถุนายน  2494  นายทหารเรือกลุ่มหนึ่งจับกุมตัวจอมพล ป.พิบูลสงคราม บนเรือขุด “แมนฮัตตัน” เพื่อบังคับให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ไม่สำเร็จ

29  พฤศจิกายน  2494  พลโทผิน  ชุณหะวัณ  กระทำการรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2492 แต่ยังคงให้จอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป

10     พฤศจิกายน  2495  รัฐบาลได้ทำการจับกุมนายกุหลาบ  สายประดิษฐ์ กับพวกข้อหากบฏ เพราะกล่าวโจมตีรัฐบาลที่

ทอดทิ้งราษฎรในภาคอีสาน ที่ได้ประสบความทุกข์ยากเนื่องจากความแห้งแล้งอย่างหนัก

26  กุมภาพันธ์  2500  มีการเลือกตั้งทั่วไป ที่ใช้วิธีการทุจริตหลายรูปแบบจนทำให้พรรคเสรีมนังคศิลา ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น

16  กันยายน  2500  จอมพลสฤษดิ์ ยึดอำนาจการบริหาร ทำให้จอมพล ป.พิบูลสงคราม ต้องถึงกับออกนอกประเทศ

15     ธันวาคม  2500  มีการเลือกตั้งทั่วไปที่ดำเนินไปอย่างเรียบร้อยโดยการกำกับดูแลของรัฐบาล นายพจน์  สารสิน

20  ตุลาคม  2501  จอมพลสฤษดิ์ ยึดอำนาจการบริหารประเทศหลังจากที่ พลโทถนอม กิตติขจร กราบถวายบังคับลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

28  มกราคม  2502  ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินชั่วคราว ซึ่งมาตรา 17 ให้อำนาจอย่างสมบูรณ์แก่ นายกฯ

20     มิถุนายน  2511  ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ..2511 ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้เวลาร่างยาวนานที่สุด

10  กุมภาพันธ์  2512  มีการเลือกตั้งทั่วไปหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2511 ซึ่งพรรคสหประชาไทยของรัฐบาลได้คะแนนมากที่สุด

17  พฤศจิกายน  2514  จอมพลถนอม  กิตติขจร  ประกาศล้มรัฐธรรมนูญ พ..2511

15     ธันวาคม  2515  มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ..2515 ซึ่งส่งผลให้มีการแต่งตั้งคณะ

รัฐมนตรีขึ้นบริหารประเทศแทนคณะปฏิวัติ

14     ตุลาคม  2516  การแสดงพลังของนักศึกษา และประชาชนเพื่อขับไล่อำนาจเผด็จการทหารอันมีผลให้ผู้นำรัฐบาลและ

ครอบครัวเดินทางออกนอกประเทศ

7         ตุลาคม  2517  ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2517 ซึ่งกันถือว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด

12  มกราคม  2519  ...คึกฤทธิ์  ปราโมช ประกาศว่า ไม่อาจบริหารประเทศในฐานะหัวหน้ารัฐบาลผสมต่อไปได้ จึงให้มีการยุบสาภาเพื่อให้มีการเลือกตั้ง

เมษายน  2519  มีการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งพรรคประชาธิปัติย์ได้รับเลือตั้งมากที่สุดจึงเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล

ตุลาคม  2519  พลเรือเอกสงัด  ชลออยู่ ประกาศยึดอำนาจรัฐบาล ม...เสนีย์  ปราโมช ภายหลังเหตุการณ์ประท้วงการเดินทางกลับของจอมพลถนอม  กิตติขจร

21     ตุลาคม  2519  ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ..2519 ซึ่งมาตรา 21 ให้อำนาจอย่างสมบูรณ์แก่

นายกรัฐมนตรี

25     มีนาคม  2520  พลเอกฉลาด  หิรัญศิริ  เป็นผู้นำก่อการล้มล้างรัฐบาลแต่ไม่สำเร็จ และถูกดำเนินคดีจนต้องได้รับโทษ

ประหารชีวิต

20     ตุลาคม  2520  พลเรือเอกสงัด  ชลออยู่ยึดอำนาจการบริหารประเทศ จากนายธานินทร์  กรัยวิเชียร ซึ่งมีผลทำให้

พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์  ก้าวสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

16  กันยายน  2521  ประกาศใช้ พ...นิรโทษกรรมผู้ต้องหาคดี 6 ตุลาคม 2519

22     ธันวาคม  2521  ประกาศใชํ้ธรรมนูญ ฉบับ พ..2521

11     กุมภาพันธ์  2523  พลเอก เกรียงศักดิ์  ชมะนันท์  ประกาศลาออกจากนายกรัฐมนตรีในที่ประชุมสภาผู้แทนเพราะ

ถูกคัดค้านเรื่องนโยบายน้ำมัน

มีนาคม  2523  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งพลเอกเปรม  ติณสูลานนท์  ผบ.ทบ.เป็นนายกรัฐมนตรี

เมษายน  2524  พลเอกสัณท์  จิตรปฏิมา รองผู้บัญชาการทหารบกนำคณะนายทหารยึดอำนาจการปกครองภายใต้การนำของพลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ

19     มีนาคม  2526  พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภาครั้งที่ 1 เพื่อหลีกเลี่ยงการอภิปรายไม่ไว้

วางใจ

กันยายน  2528  คณะนายทหารนำโดยพลเอกเสริม ณ นคร และพันเอกมนูญ  รูปขจร ได้พยายามยึดอำนาจการบริหารประเทศแต่ไม่สำเร็จ

1 พฤษภาคม 2529 พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ นายกฯ ประกาศยุบสภาครั้งที่ 2 เพื่อหลีกเลี่ยงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

27  กรกฎาคม  2529  มีการเลือกตั้งทั่วไป พรรคการเมืองส่วนใหญ่ยังเห็นควรให้พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป

29  เมษายน  2531  พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ นายกฯ ประกาศยุบสภาครั้งที่ 3 เพื่อหลึกเลี่ยงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

24  กรกฎาคม  2531  มีการเลือกตั้งทั่วไป พรรคชาติไทยได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด พลเอกชาติชาย  ชุณหะวัณ

จึงขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง

23     กุมภาพันธ์  2534  คณะทหารซึ่งมีพลเอกสุนทร  คงสมพงษ์ ยึดอำนาจการบริหารประเทศจากพลเอกชาติชาย

ชุณหะวัณ และเลือกนายอานันท์  ปันยารชุน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

22  มีนาคม  2535  มีการเลือกตั้งทั่วไปตามรัฐธรรมนูญปี 2534  ซึ่งกำกับโดยคณะ รสช. อันเป็นผลให้พรรคการเมือง 5 พรรค  ที่ได้คะแนนเสียงข้างมากสนับสนุนให้พลเอกสุจินดา  คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี

16     พฤษภาคม  2535  เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาชนชุมนุมประท้วงการสืบทอดอำนาจของพลเอกสุจินดา  คราประยูร 

จึงถูกปราบปรามอย่างรุนแรง ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ณ บริเวณถนนราชดำเนิน

11  ตุลาคม  2540  ปีที่ 42 ในรัชกาลที่ มีการตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับประชาชน) ขึ้น 336 มาตรา

4         มีนาคม  2543  จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นครั้งแรก  จำนวน  200  คน  โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ประจำจังหวัด (กกต.จว.) และใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง

มกราคม  2544   จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ส.. 2 แบบ ได้แก่ แบบบัญชีรายชื่อ 100 คน และแบบแบ่งเขต 400 คน

โดย คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง (กกต.เขตทำการแบ่งเขตเลือกตั้งตามจำนวนประชากร

สรุปความเป็นมา

          ตั้งแต่ประเทศไทยประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2475 เมื่อ 10 ธันวาคม  2475 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ปรากฏว่า มีการเลือกตั้ง ส.. มาแล้ว 21 ครั้ง มีรัฐประหาร 16 ครั้ง รัฐธรรมนูญไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 16 ฉบับ ฉบับปัจจุบัน คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2540  ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 11  ตุลาคม  2540  เป็นรัฐธรรมนูญที่ได้ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด  รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้บัญญัติให้เปลี่ยนแปลงการเลือกตั้ง ส..จากเดิมคือ หนึ่งเขตเลือกตั้งมีผู้แทนได้ 1-3 คน  มาเป็นระบบใหม่ ซึ่งเป็นแบบผสม คือมี 2 แบบ ได้แก่ แบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง  และกฎหมายกำหนดให้ กกต.เป็นผู้ดำเนินการจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยรวดเร็ว บริสุทธิ์ ยุติธรรม

                             เป่าเถ้า ที่จวนมอด          วะวับวอด มิวายแสง

                   จุดเพลิง อันเริงแรง                   เป็นเปลวลุก ขึ้นโลมลาม

                             ผูกไผ่ ทีละไผ่               ไปเป็นแพ สะพานข้าม

                   ผูกข้อ ต่อตาตาม                      ไปเป็นต้น ตระหง่านตรง

                             เรียงจุด ทีละจุด             เป็นเส้นสุด เป็นทรวดทรง

                   จดเจต-นาจง                          จำเรียงรจ นากวี

                             จับใจ มาใส่ใจ               จึงฝากใจ เป็นไมตรี

                   ความดี ต่อความดี                    ประดับโลก ให้งดงาม

สรุปเรียบเรียงโดย

รอง   ปัญสังกา

ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่ 5

จังหวัดนครพนม
 

1