วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง

 

สถานที่ตั้ง

                           วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุงเป็นสถานศึกษาสังกัด สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ   ตั้งอยู่ที่บ้านควนกุฎ   เลขที่   221   หมู่ที่   15 ตำบลควนมะพร้าว   อำเภอเมือง   จังหวัดพัทลุง    ห่างจากตัวเมืองจังหวัดพัทลุง  ประมาณ   11   กิโลเมตร

อาณาเขต

 

ทิศเหนือ

จดที่นา และที่ดินของราษฎร

ทิศใต้

จดศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง  (ถนนสายควนกุฎ - ริมทะเล)

ทิศตะวันออก

จดหน่วยวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 8 จังหวัดพัทลุง

ทิศตะวันตก

จดขนส่งจังหวัดพัทลุงและโรงเรียนบ้านควนกุฎ

 

สภาพพื้นที่

                        วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุงมีพื้นที่ทั้งหมด   2,011   ไร่    3   งาน   23   ตารางวา   พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนา พื้นที่บางส่วนได้รับการปรับปรุงเพื่อทำการปลูกพืชไร่   พืชสวนและทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์

 

ประวัติความเป็นมาของวิทยาลัยพอสังเขป

 

   1    เมษายน     2516  

ประกาศตั้งเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมพัทลุง

15    สิงหาคม    2517 

เปิดสอนเป็นปีแรกในระดับ ม.ศ.4 (หลักสูตร 3 ปี) มีนักเรียน 149 คน

 ครู-อาจารย์ 9 คน มีนายธำรง บุณยประสาท ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่

15    พฤษภาคม    2522

เปิดรับนักเรียน ม.ศ.5 โปรแกรมเกษตร เข้าเรียน ปวช. หลักสูตร 1ปี  

เปิดสอนระดับ ปวส.เป็นปีแรก (หลักสูตร 2 ปี) และในปีเดียวกันนี้ 

กรมอาชีวศึกษา ให้วิทยาลัยดำเนินการ ฝึกอบรมเกษตรกรรมเคลื่อนที่ให้กับเกษตรกร

 1    ตุลาคม    2522

ยกฐานะเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมพัทลุง สังกัด กองวิทยาลัยเกษตรกรรม

กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

16    พฤษภาคม    2527

วิทยาลัยฯ ได้เปิดสอนหลักสูตร ปวท. และ

ปวช.พิเศษ ตามโครงการ อศ.กช. พุทธศักราช 2527

16    พฤษภาคม    2536

วิทยาลัยฯ เปิดสอนหลักสูตร ปวส. (หลักสูตร 1 ปี) 

โดยรับผู้สำเร็จการศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)

16    พฤษภาคม    2537

ประกาศเป็นวิทยาลัยชุมชนชื่อ วิทยาลัยชุมชนควนกุฎ

วิทยาลัยฯ เปิดสอนหลักสูตร ปวช. สาขาวิชาพาณิชยการและช่างยนต์ หลักสูตร 3 ปี

  3    มิถุนายน    2539

วิทยาลัยฯจัดการศึกษาตามโครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต ในระดับชั้น ปวช.

26    กันยายน    2539

เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ

12   พฤษภาคม  2546 เปิดสอน เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ( ปวช.) ทวิภาคี สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
1   เมษายน  2548 โครงการความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยฯ กับบริษัทสยามโกเด้นท์ฟรุท จำกัด ปลูกมะละกอ
13  มิถุนายน  2548 ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับอาชีวศึกษา ขนาดเล็ก ประจำปีการศึกษา  2547
ตุลาคม 2548 โครงการความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยฯ กับบริษัทพาราเมาส์ออย  จำกัด ปลูกปาล์ม
  

ทำเนียบผู้บริหาร

 

ปี พ.ศ.

ชื่อ – สกุล

ตำแหน่ง

2516 – 2521

2521 – 2523

2523 – 2526

2526 – 2528

2528 – 2539

2539 – 2540

2540 – 2543

2543 – 2550

2550 - ปัจจุบัน

นายธำรง   บุณยประสาท

นายบุญวัฒน์   ไชยบุญ

นายชูรัฐ   มณีรัตน์

นายรักเกียรติ   แก้วจำนง

นายธำรง   บุณยประสาท

นายวิโรจน์   จุลถาวร

นายชม   สงทิพย์

นายปรีชา   เมียนเพชร

นายศุภชัย  สมทอง

อาจารย์ใหญ่

รักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการ

ผู้อำนวยการ

ผู้อำนวยการ

ผู้อำนวยการ

ผู้อำนวยการ

ผู้อำนวยการ

ผู้อำนวยการ

ผู้อำนวยการ

 

สีประจำวิทยาลัย

 
เขียว ขาว เหลือง
 

ปรัชญาของวิทยาลัย

เรียนเด่น    งานดี    มีวินัย    ใฝ่คุณธรรม

วิสัยทัศน์

              

                                 วิทยาลัยฯ มุ่งจัดการศึกษาให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของชุมชน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ควบคู่คุณธรรม และสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมอย่างมีความสุข

พันธกิจ

           1. จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถนำไปสู่การประกอบอาชีพด้วนความมั่นใจ
               2. ให้ผู้เรียนมีคุณธรรมและเป็นผู้นำในสังคม
               3. ส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยค้นคว้าเพื่อการพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

พุทธสุภาษิต

วิช.ชา อุป.ปตต เสฎ.ฐา

“บรรดาสิ่งที่งอกงาม ขึ้นมาวิชา ความรู้ ประเสริฐสุด”

ตราสัญลักษณ์ของวิทยาลัย

กลับหน้าหลัก

Hosted by www.Geocities.ws

1