ประวัติความเป็นมา  
ซากหอยหิน 150 ล้านปี ค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 โดยชาวบ้านที่เข้าหาเก็บของป่าในบริเวณเหมืองร้างห่างจากหมู่บ้านประมาณ
1.5 กิโลเมตร ค้นพบหินที่มีลักษณะคล้ายหอยสวยงาม แปลกตาเป็นจำนวนมาก จึงเก็บมาวางขายตามริมถนน ระยะแรกขายกิโลกรัมละ 2 บาท 
มีผู้สนใจซื้อเป็นจำนวนมาก ทำให้ขายได้ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 12 บาท และเพิ่มเป็นกิโลกรัมละ 20 บาท
นายประภา ยุวานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภูขณะนั้นทราบข่าวจึงแจ้งให้เจ้าหน้าที่จากกรมทรัพยากรธรณี ให้มาตรวจสอบ
และนำหินที่ชาวบ้านมาวางขายไปพิสูจน์ ได้ข้อสรุปว่าหินที่พบเป็นซากฟอสซิลหอยดึกดำบรรพ์กาบคู่ เป็นหอยน้ำจืด ยุคจูราสสิคตอนปลาย
อายุระหว่าง 145 – 157 ล้านปี
และเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2537 นายประภา ยุวานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู ได้เดินทางมาดูแหล่งที่ค้นพบซากดึกดำบรรพ์
หอยหินสองฝาที่บ้านห้วยเดื่อ โดยมี นายประเทือง ปัญโญวัฒน์ ผู้ช่วยอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานีเป็นผู้แนะนำ
ชาวบ้านได้เข้าไปขุดซากหอยดึกดำบรรพ์กันมากขึ้น ในช่วงแรกๆ สามารถขุดเก็บ ซากดึกดำบรรพ์จากบริเวณหินที่ผุสลายกลายเป็นดิน
ได้โดยง่าย ซากหอยดึกดำบรรพ์ ยังมีความคงทนต่อการผุสลายได้มากกว่า ยังมีสภาพเป็นตัวๆ ฝังอยู่ในดิน ในบางบริเวณ ที่มีธารน้ำไหลชะล้าง
เอาดินออกไปก็จะเห็นซากหอยดึกดำบรรพ์โผล่กระจัดกระจายอยู่ ให้ชาวบ้านไปขุดเก็บได้โดยง่าย และซากหอยจะมีลักษณะที่สมบูรณ์ราคาดี 
ราคาซากหอยดึกดำบรรพ์ที่ขายกันแตกต่างกันไปตามความสวยงามและความสมบูรณ์ บางตัวราคาอาจสูงถึงตัวละ 1,500 บาท ซึ่งนับวันซากหอย
ดึกดำบรรพ์หายากมากขึ้น และยังมีผู้ต้องการอยู่ ชาวบ้านต้องขุดและสกัดเอา ซากหอยดึกดำบรรพ์ออกมาขายเรื่อยๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน หนังสือพิมพ์
หลายฉบับได้รายงานข่าวและเขียนบทความเกี่ยวกับการขุดหาซากหอยดึกดำบรรพ์ที่บ้านห้วยเดื่อ ทำให้เป็นที่สนใจเดินทางมาที่แหล่งค้นพบซากหอย
ดึกดำบรรพ์ ที่บ้านห้วยเดื่อมากขึ้น เมื่อมีผู้คนมามากขึ้น ได้ขุดเจาะพื้นดินและไหล่เขาเหนือหน้าผาเป็น บริเวณกว้าง นิคมสร้างตนเองเชียงพิณ
ซึ่งเป็นผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์พื้นที่บริเวณนั้น และอำเภอเมืองหนองบัวลำภูต่างเกรงว่าเป็นการทำลายธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม มากขึ้น 
และอาจเป็นอันตรายต่อผู้ขุดหาซากหอยดึกดำบรรพ์ จึงสั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดเข้าไปขุดหาซากหอยดึกดำบรรพ์ แต่ยังมีผู้ลักลอบเข้าไปขุดอยู่ จนกระทั่ง
วันที่ 2 มิถุนายน 2537 ได้เกิดเหตุหินถล่มลงมาทับผู้ที่ลักลอบขุดค้นหาซากหอยดึกดำบรรพ์ มีคนตาย 1 คนและได้รับบาดเจ็บ 3 คน ผู้ว่าราชการ
จังหวัดหนองบัวลำภูในขณะนั้นจึงสั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดเข้าไปขุดหา ซากหอยดึกดำบรรพ์ โดยเด็ดขาด
จังหวัดหนองบัวลำภูได้พัฒนาบริเวณที่ค้นพบซากหอยดึกดำบรรพ์เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับงบประมาณ
ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์หอยหินโบราณ 150 ล้านปี ในปี 2538 ต่อมาได้สร้างอาคารพิพิธภัณฑ์หลังใหม่เสร็จในปี 2545
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 จังหวัดหนองบัวลำภูได้ให้คณะกรรมการดำเนินงาน ด้านพิพิธภัณฑ์หอยหิน มีเจ้าหน้าที่ของพื้นที่ได้
รับมอบหมายให้สำรวจพื้นที่ เพื่อจัดทำ โครงการปรับปรุงและพัฒนา โดยนาย อดุลย์ เหล็กกล้า เป็นหัวหน้าส่วนโยธา พาคณะเดินทางสำรวจเส้นทาง
ได้ค้นพบเศษกระดูก ซากฟอสซิลคาดว่าเป็นซากฟอสซิลได้โนเสาร์ ที่กระจัดกระจายตามแนวถนน หลังจากนั้นได้เดินทางสำรวจบริเวณพิพิธภัณฑ์
หอยหิน มีนายรุ่งเรือง ธนปราชญ์เปรื่อง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และนายอดุลย์ เหล็กกล้า หัวหน้าส่วนโยธา ได้มาสำรวจเส้นทางที่จะปรับปรุง
และมาพบซากฟอสซิลจำนวนหนึ่ง และมีความสมบูรณ์มาก หลังจากนั้นวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 หน่วยขุดค้นซากฟอสซิลจากภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
นำโดยนายสมชัย เตรียมวิชานนท์ และคณะ เดินทางมาถึงบริเวณ พิพิธภัณฑ์หอยหิน มีเจ้าหน้าที่จากจังหวัด ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล 
หัวหน้าส่วนโยธา และเจ้าหน้าที่ ได้เข้าไปขุดค้นบริเวณทางทิศเหนือของพิพิธภัณฑ์หอยหินประมาณ 100 เมตร ได้ค้นพบซากฟอสซิลคล้ายกระดูกสัตว์
จำนวนมาก มีทั้งส่วนที่ละเอียด ส่วนขนาดใหญ่ และการขุดค้นจะมีแรงงาน การใช้เครื่องจักร เครื่องมือเข้ามาดำเนินการเป็นระยะๆ เริ่มพบ เศษชิ้นส่วน
ขนาดใหญ่และพบฟันไดโนเสาร์ การขุดค้นดำเนินไปจนถึงปลายปี 2544 การขุดค้น ยังไม่เสร็จเรียบร้อย และคณะขุดค้นได้นำชิ้นส่วนไปทำความสะอาด
ที่ภูเวียงจำนวนหนึ่ง
จากการขุดค้นพบซากฟอสซิลบริเวนด้านเหนือของอาคารพิพิธภัณฑ์หอยหินโบราณ จังหวัดหนองบัวลำภูได้พิจารณาเห็นว่าพื้นที่
บริเวณนี้เป็นมรดกล้ำค่าทางธรรมชาติ ที่สามารถพัฒนาและปรับปรุงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทั้งการศึกษาซากฟอสซิลหอยหิน 
ซากฟอสซิลไดโนเสาร์ กระดูกสัตว์โบราณอื่นๆ รวมทั้งพืชพันธุ์ไม้มากกว่า 30 ชนิด ที่สมควร ที่จะดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว 
จังหวัดได้ให้งบประมาณผ่าน องค์การบริหารส่วนตำบลโนนทัน สร้างอาคารแสดงซากฟอสซิลไดโนเสาร์ เสร็จในปี พ.ศ. 2545

อาคาร สถานที่  :
ลักษณะของตัวอาคารพิพิธภัณฑ์มีลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีพื้นที่ ประมาณ 60 ตารางเมตร เป็นลักษณะอาคารปูนชั้นเดียว
หลังคาสูงเป็นห้องโถงใหญ่ และมีการจัดแสดงภายใน

การจัดแสดงภายใน  :
การจัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑ์หอยหินโบราณ 150 ล้านปี มีรายละเอียดดังนี้
1. นิทรรศการเรื่องราวของซากฟอสซิลหอยหินโบราณ 150 ล้านปี ที่อยู่ในยุคจูราสสิค ตอนปลาย อายุประมาณ 145-157 ล้านปี
2. จัดแสดงหอยหินสองกาบที่ค้นพบบริเวณบ้านห้อยเดื่อ ที่ประกอบด้วยหอยหินสองกาบที่มีขนาดแตกต่างๆ กัน
3. จัดแสดงนิทรรศการความรู้เรื่องจังหวัดหนองบัวลำภู แสดงข้อมูล รูปภาพสถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่สำคัญต่าง ๆ แบ่งแยก
ตามอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดหนองบัวลำภู 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู อำเภอนากลาง อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอสุวรรณคูหา อำเภอโนนสัง 
และกิ่งอำเภอนาวัง
4. แสดงหุ่นจำลองสภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดหนองบัวลำภูที่แวดล้อมไปด้วยภูเขา แสดงเส้นทางการคมนาคมของจังหวัด
5. แสดงผลิตภัณฑ์และตัวอย่างสินค้าพื้นเมืองหนองบัวลำภู
6. เครื่องสืบค้นข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (ชำรุด ไม่สามารถใช้งานได้)

การจัดแสดงภายในอาคารจัดแสดงซากฟอสซิลไดโนเสาร์ ดังรายละเอียดดังนี้
1. จัดนิทรรศการเรื่องราวของไดโนเสาร์ เรื่องราวของไดโนเสาร์ที่มาการค้นพบ ซากฟอสซิลในเขตภาคอีสาน
2. จัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวของไดโนเสาร์พันธุ์ต่างๆ การจัดแสดงเป็นป้ายนิทรรศการที่สวยงามพิมพ์ 4 สี เหมาะสำหรับ
การศึกษาของเด็ก
3. จัดแสดงกระดูกและรอยเท้าของไดโนเสาร์ที่ค้นพบในเขตตำบลโนนทัน

ลักษณะพิเศษที่เป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าต่อชุมชน  :  
พิพิธภัณฑ์หอยหินโบราณ 150 ล้านปี และซากฟอสซิลไดโนเสาร์ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเรื่องราวความรู้ทางด้านธรรมชาติ
และธรณีวิทยาของจังหวัดหนองบัวลำภูที่เป็น แหล่งค้นพบที่สำคัญควรค่าแก่การศึกษาของเยาวชนจังหวัดหนองบัวลำภู

กลับหน้าหลัก