ดาวเทียมที่ใช้ในประเทศไทย


ดาวเทียมที่ใช้ในประเทศไทย

1. ดาวเทียมไทยคม ดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ปี 2534 บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติของกระทรวงคมนาคมเป็นเวลา 30 ปี โดยได้รับ การคุ้มครองสิทธิเป็นเวลา 8 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้พระราชทานนามดาวเทียมของ โครงการอย่างเป็นทางการว่า "ไทยคม" (THAICOM) เพื่อเป็นสัญลักษณ์เชื่อมโยงประเทศไทย กับเทคโนโลยี สื่อสารใหม่ และในปีเดียวกันกลุ่มชินวัตรได้จัดตั้ง บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัดเพื่อดำเนินการโครงการ โดยทำหน้าที่จัดสร้างจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร ให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียมและบริหารโครงการ ดาวเทียมไทยคมตลอดอายุสัมปทาน นอกจากนี้บริษัทฯ ได้จดทะเบียนเข้าเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ในวันที่ 18 มกราคม 2537 และ ต่อมาในปี 2542 บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)ได้เปลี่ยน ชื่อเป็น "บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)" ปัจจุบันบริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการจัดส่งดาวเทียม ไทยคม 1A, 2 และ 3 เข้าสู่วงโคจรในปี 2536, 2537, และ 2540 ตามลำดับ โดยดาวเทียมไทยคม 1A และ2 ซึ่งเป็นดาวเทียมรุ่นHS-376 สามารถให้บริการของช่องสัญญาณจำนวน 28 ทรานสพอนเดอร์แบ่งเป็นย่าน ความถี่ C-Band 22 ทรานสพอนเดอร์และ Ku-Band 6 ทรานสพอนเดอร์ ดาวเทียมไทยคม 3 ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรอวกาศเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2540 ดาวเทียมไทยคม 3 เป็น ดาวเทียมรุ่น Spacebus-3000A ซึ่งมีขนาดใหญ่และกำลังส่งสูงมาก ประกอบด้วยช่องสัญญาณย่านความถี่ C-Band จำนวน 25ทรานสพอนเดอร์ มีพื้นที่บริการครอบคลุมสี่ทวีป คือเอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกานอกจากนี้ยังมีช่องสัญญาณย่าน ความถี่ Ku-Band 14 ทรานสพอนเดอร์ โดยแบ่งเป็น Fix Spot Beam ซึ่งมีพื้นที่บริการครอบคลุมประเทศ ไทยและประเทศในภูมิภาพอินโดจีน SteerableSpot Beam ครอบคลุมพื้นที่ประเทศอินเดีย

2.ดาวเทียมไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ (IPSTAR) ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานด้าน อินเทอร์เน็ต โปรโตคอล (Internet Protocol) หลังจากที่ปล่อยขึ้นสู่อวกาศไปเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2548 ที่ผ่านมา โดยบริการบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมจะทำให้พื้นที่ ห่างไกล มีโอกาสได้ใช้เช่นเดียวกับคนในเมืองหลวง เพียงมีแค่จานรับสัญญาณดาวเทียมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 84 -120 ซม. และแซทเทลไลท์โมเด็ม เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ก็ใช้งานได้ทันที ทำลายข้อจำกัดและเติมเต็มช่องว่างทางดิจิตอล เพราะไม่จำเป็นต้องรอเดินโทรศัพท์ สร้างชุมสาย และตั้งเสาสัญญาณที่มีราคาแพงๆ

3. ดาวเทียมไทพัฒ ดาวเทียม “ไทพัฒ” มีขนาด 35 x 35 x 60 ซม3 น้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม โคจรรอบโลกเป็นแบบวงโคจรต่ำ (Low earth orbit) มีความสูงเฉลี่ยจากผิวโลก 815 กิโลเมตร ในแนวที่ผ่านขั้วโลกเหนือและ ใต้ การโคจรแต่ละรอบใช้เวลา 101.2 นาที ทำให้โคจรรอบโลกได้วันละ 14.2 ครั้ง แต่ละครั้งของการโคจรจะผ่านเส้นแวงที่เลื่อนออกไปประมาณ 25 องศา ทำให้ดาวเทียมไทพัฒมีการโคจรผ่านทุกพื้นที่ในโลก และจะผ่านประเทศไทยทุกวันเวลาประมาณ 8.30-12.30 น. 2-3 ครั้ง และเวลา 20.30-00.30 น. 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งมีเวลาให้สถานีภาคพื้นดินติดต่อ กับดาวเทียมประมาณ 17 นาที

4.ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เป็นดาวเทียมซึ่งใช้ในการตรวจวัดข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถตรวจวัดข้อมูลอากาศในที่ ๆ มนุษย์ไม่สามารถทำการตรวจวัดได้โดยตรงจากเครื่องมือตรวจอากาศชนิดอื่น ๆ เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้อยู่ในที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงได้ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่ http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=65

5. ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติมาถูกนำมาใช้ในการ สำรวจเรื่องต่างๆ ทั้งทรัพยากรน้ำ ธรณีวิทยา การเกษตร การใช้ที่ดิน ป่าไม้ การวาง ผังเมือง หรือภัยพิบัติ ซึ่งดาวเทียมสำรวจทรัพยากรที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน ก็มีหลายดวงด้วยกัน เช่น IKONOS QUICKBIRD RADASAT-1 LANDSAT-5, 7 SPOT 5 IRS-1C และล่าสุดในปีพ.ศ. 2550 ประเทศไทยได้ส่งดาวเทียมสำรวจทรัพยากรสัญชาติไทย ดวงแรกขึ้นโคจรในอวกาศ นั่นคือ ดาวเทียม THEOS รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่http://www.engineeringtoday.net/magazine/articledetail.asp?arid=3065&pid=301


อ้างอิงเนื้อหาจากhttps://sites.google.com/site/obayshop911/bth-thi-13-thekhnoloyi-smay-him/

อ้างอิงรูปภาพจาก https://www.google.com/search?q=