ระบบของการสื่อสารดาวเทียม


มนุษย์ได้คิดค้นดาวเทียมขึ้นมาเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ในระยะทางไกลๆ โดยดาวเทียมที่สร้างขึ้นในสมัยแรก ๆ นั้นจะทำหน้าที่เป็นตัวสะท้อนคลื่นวิทยุความถี่ไมโครเวฟต่อมาได้มีการพัฒนาให้มีการติดตั้งอุปกรณ์รับส่งคลื่นไมโครเวฟเข้าไปในตัวดาวเทียม เพื่อใช้ทวนสัญญาณความถี่ไมโครเวฟแล้ว แปลงความถี่ให้แตกต่างกันก่อนส่งมายังโลก ดาวเทียมสามารถโคจรรอบโลกได้โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก ส่งผลให้โคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ นับตั้งแต่การประดิษฐ์คิดค้นดาวเทียมขึ้นมาทำให้โลกเกิดสิ่งใหม่ๆ และอำนวยประโยชน์ให้มนุษย์อย่างมากมายทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ดาวเทียมสื่อสาร เป็นดาวเทียมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ตลอดจนการคมนาคมขนส่ง ช่วยในการควบคุมเส้นทางและบอกตำแหน่งที่อยู่ โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีรับส่งคลื่นวิทยุสื่อสารติดต่อกับสถานีภาคพื้นดินช่วยให้กิจการสื่อสารทางโทรศัพท์ โทรพิมพ์ โทรสาร และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ระหว่างประเทศเป็นไปอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว สำหรับประเทศไทยใช้บริการของดาวเทียมอินเทลแสตและดาวเทียมปาลาปา ของประเทศอินโดนีเซีย ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารนั้นจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณซึ่งในดาวเทียมจะติดตั้งอุปกรณ์รับส่งคลื่นวิทยุเพื่อใช้รับและถ่ายทอดสัญญาณสู่พื้นโลก โดยพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในตัวดาวเทียมนั้นได้มาจากเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งระบบการสื่อสารด้วยดาวเทียมนั้นจะมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนภาคอวกาศ (Space Segment) ซึ่งได้แก่ ตัวดาวเทียม และส่วนภาคพื้นดิน (Ground Segment) ซึ่งได้แก่ สถานีรับส่งภาคพื้นดินศูนย์โทรคมนาคม

ระบบของการสื่อสารดาวเทียม

ดาวเทียมสื่อสาร เป็นดาวเทียมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ตลอดจนการคมนาคมขนส่ง ช่วยในการควบคุมเส้นทางและบอกตำแหน่งที่อยู่ โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีรับส่งคลื่นวิทยุ สื่อสารติดต่อกับสถานีภาคพื้นดินช่วยให้กิจการสื่อสารทางโทรศัพท์ โทรพิมพ์ โทรสาร และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ระหว่างประเทศเป็นไปอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว สำหรับประเทศไทยใช้บริการของดาวเทียมอินเทลแสตและดาวเทียมปาลาปา ของประเทศอินโดนีเซีย ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารนั้น จะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณซึ่งในดาวเทียมจะติดตั้งอุปกรณ์รับส่งคลื่นวิทยุเพื่อใช้รับและถ่ายทอดสัญญาณสู่พื้นโลกโดยพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในตัวดาวเทียมนั้นได้มาจากเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งระบบการสื่อสารด้วยดาวเทียมนั้นจะมี องค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วนคือส่วนภาคอวกาศ (Space Segment) ซึ่งได้แก่ ตัวดาวเทียม และส่วนภาคพื้นดิน (Ground Segment) ซึ่งได้แก่ สถานีรับส่งภาคพื้นดินศูนย์โทรคมนาคม

สถานีภาคพื้นดินแต่ละแห่งนั้นสามารถเป็นได้ทั้งสถานีรับและสถานีส่ง จึงทำให้สถานีภาคพื้นดินแต่ละแห่งมีทั้งเครื่องรับและเครื่องส่ง ส่วนดาวเทียมนั้นจะเป็นเพียงสถานีทวนสัญญาณและส่งสัญญาณ ไปยังจุดหมายปลายทางที่สถานีภาคพื้นดินอื่นๆ และสัญญาณจากสถานีรับส่งภาคพื้นดินจะส่งไปยังศูนย์โทรคมนาคมแล้วศูนย์โทรคมนาคมจะส่งสัญญาณไปยังสถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุปลายทางการสื่อสาร ผ่านดาวเทียมสามารถกระทำได้โดย สถานีภาคพื้นดินส่งคลื่นความถี่ไมโครเวฟผสมสัญญาณข่าวสารขึ้นไปยังดาวเทียม ซึ่งจะเรียกว่าความถี่เชื่อมโยงขาขึ้น (Up-Link Frequency) โดยปกติความถี่ไมโครเวฟขาขึ้น จะใช้ประมาณ 6 กิกะเฮิร์ต เครื่องรับภายในตัวดาวเทียมจะรับสัญญาณเข้ามาแล้วทวนสัญญาณให้แรงขึ้นพร้อมกำจัดสัญญาณรบกวนออกไป ก่อนส่งสัญญาณกลับมายังพื้นดิน ทั้งนี้ดาวเทียมจะทำการเปลี่ยนความถี่คลื่นไมโครเวฟให้แตกต่างไป จากความถี่ขาขึ้นแล้วจึงส่งความถี่ไมโครเวฟที่ผสมสัญญาณข่าวสารกลับลงมาเรียกว่า ความถี่เชื่อมโยง ขาลง (Down-Link Frequency) โดยปกติความถี่ไมโครเวฟขาลงจะใช้ประมาณ 4 กิกะเฮิร์ต

ดาวเทียมทำงานอย่างไร ?

ดาวเทียมจะถูกส่งขึ้นไปลอยอยู่ในตำแหน่ง วงโคจรค้างฟ้า ซึ่งมีระยะห่างจากพื้นโลกประมาณ 36000 - 38000 กิโลเมตร และโคจรตามการหมุนของโลก เมื่อเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นโลกจะเสมือนว่า ดาวเทียมลอยนิ่งอยู่บนท้องฟ้า และดาวเทียมจะมีระบบเชื้อเพลิงเพื่อควบคุมตำแหน่งให้อยู่ในตำแหน่งองศาที่ได้สัปทานเอาไว้ กับหน่วยงานที่ดูแลเรื่องตำแหน่งวงโคจรของดาวเทียมคือ IFRB ( International Frequency Registration Board )

การรับและส่งสัญญาณ

ดาวเทียมที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า จะทำหน้าที่เหมือนสถานีทวนสัญญาณ คือจะรับสัญญาณที่ยิงขึ้นมาจากสถานีภาคพื้นดิน เรียกสัญญาณนี้ว่า สัญญาณขาขึ้นหรือ ( Uplink ) รับและขยายสัญญาณพร้อมทั้งแปลงสัญญาณให้มีความถี่ต่ำลงเพื่อป้องกันการรบกวนกันระหว่างสัญญาณขาขึ้นและส่งลงมา โดยมีจานสายอากาศทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณ ส่วนสัญญาณในขาลงเรียกว่า ( Downlink )

ย่านความถี่ดาวเทียม

ดาวเทียมที่ส่งสัญญาณในย่านความถี่ C-BAND จะมีกำลังส่งค่อนข้างต่ำประมาณ 8-16 วัตต์ ดังนั้นเมื่อสัญญาณส่งมาถึงโลกจึงมีสัญญาณที่อ่อนมาก ในการรับสัญญาณเราจึงจำเป็นต้องใช้จานที่มีขนาดใหญ่ แต่มีข้อดีคือครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างรวมทั้งสามารถตั้งมุมยิงสายอากาศให้มีขอบเขตจุดศูนย์กลางของสัญญาณโดยเน้นความเข็มของสัญญาณไว้ได้ สาเหตุที่ไม่สามารถส่งสัญญาณที่กำลังวัตต์สูงๆได้ เนื่องจากในภาคพื้นดินก็ยังคงใช้ความถี่อยู่ในย่านนี้ด้วยเหมือนกัน เพราะถ้าส่งที่กำลังวัตต์สูงๆจะทำให้เกิดการรบกวนกันระหว่างคลื่น ส่วนการส่งในย่านความถี่ KU-BAND จะส่งด้วยกำลังวัตต์ที่สูงกว่าระบบ C-BAND หรือบางประเทศก็ส่งที่กำลังวัตต์สูงๆเลย ทำให้สัญญาณที่รับได้ที่ภาคพื้นดินมีความเข็มสัญญาณสูงมาก ในการรับสัญญาณในระบบนี้จึงใช้จานที่มีขนาดเล็กๆก็รับสัญญาณได้แล้ว จานที่ใช้กับระบบ KU-BAND จะมีขนาดตั้งแต่ 1.5 ฟุตขึ้นไป ขอบเขตในการส่งสัญญาณหรือ Footprint ในระบบ KU-BAND ส่วนมากจะส่งสัญญาณในขอบเขตที่จำกัดเช่นมีขอบเขตเฉพาะจัหวัด หรือ เฉพาะประเทศ ในระบบเคเบิ้ลทีวีผ่านดาวเทียมส่วนมากจะนิยมใช้ระบบนี้ในการส่งสัญญาณเพื่อบริการลูกค้า เพราะว่าสามารถจะ บริการลูกค้าได้ง่าย ใช้จานรับที่มีขนาดเล็กทำให้ประหยัดต้นทุนโดยรวม ข้อเสียของระบบนี้คือ จะมีผลต่อสัญญาณเมื่อมีฝนตกหนักหรือท้องฟ้าปิดด้วยเมฆฝนมากๆ จะทำให้รับสัญญาณได้อ่อนลงหรืออาจจะรับไม่ได้ในในเวลานั้น แล้วก็จะกลับคืนมาปกติเมื่อสภาพอากาศปกติ

C Band กับ Ku Band คืออะไร ต่างกันอย่างไร

หลายคนไปร้านขายจานกับกล่องดาวเทียม เจอคนขายถามว่าจะดูดาวเทียมย่าน C-Band หรือ Ku-Band ก็เกิดอาการงงว่ามันคืออะไร แล้วต่างกันตรงไหน ย่านไหนดีกว่ากัน ตรงนี้มีคำตอบนะคะ ดาวเทียมที่อยู่เหนือผิวโลกสูงประมาณ 36,000 กิโลเมตร ส่งสัญญาณแค่ไม่กี่วัตต์ออกมา เจอสภาพบรรยากาศของโลกสัญญาณก็จะถูกหน่วงไปประมาณ 200 dB พอมาถึงพื้นโลกนั้นสัญญาณที่เหลือจะอ่อนมากๆ เราจึงต้องใช้สายอากาศในลักษณะรูปร่างคล้ายจานที่เราเรียกว่าจานดาวเทียม เพื่อที่จะทำการรวมสัญญาณอ่อนๆเหล่านี้โดยการสะท้อนไปรวมกันยังจุดโฟกัส แม้จะรวมสัญญาณโดยรอบและจากทุกตำแหน่งของจานแล้วก็ตาม ค่าความเข้มของสัญญาณที่ได้ก็ยังน้อยมากในระดับ ไมโครวัตต์เท่านั้น (1 ใน ล้าน) สัญญาณเหล่านี้ก็จะถูกนำไปประมวลผลด้วยวงจรอิเลคทรอนิคส์ แต่เนื่องจากสัญญาณนั้นอ่อนมาก อาจจะมีโอกาศถูกรบกวนได้สูง จึงต้องมีการขยายสัญญาณทันทีหลังจากรับสัญญาณมาแล้วด้วยเครื่องขยายสัญญาณรบกวนต่ำหรือ Low Noise Amplifier (LNA) คุณสมบัติเด่นอันหนึ่งของการรับสัญญาณดาวเทียมก็คือจำนวนสัญญาณที่จานจะรับได้นั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับความถี่ นั่นคือหากจานมีขนาดเท่ากัน สัญญาณจะได้รับแรงขึ้นหากความถี่ที่ส่งมานั้นสูงขึ้น นั่นหมายถึงว่าจานเดียวกันนั้น Gain จะสูงที่ความถี่สูง ทำให้เราสามารถใช้จานเล็กๆ รับสัญญาณที่ความถี่สูงได้ ทำให้การออกอากาศในปัจจุบันใช้ Ku band หรือแม้แต่ Ka band ในการออกอากาศทีวีผ่า


อ้างอิงเนื้อหาจากhttp://www.geocities.ws/nutta/page-5.html

อ้างอิงรูปภาพจาก https://www.slideshare.net/ssuserf36fc3/ss-57779704