ตัวเก็บประจุ(Capacitors)
ตัวเก็บประจุจะเก็บประจุของไฟฟ้า ซึ่งหน่วยของความจุมีค่าเป็น Farad ซึ่งหนึ่ง Farad หมายถึงที่ต่อกับความต่างศักย์ 1 โวลท์สามารถเก็บประจุได้ถึง 6.28*10 ยกกำลัง 28 อิเล็คตรอน โดยทั่วไปแล้วตัวเก็บประจุจะมีค่าน้อยมากในระดับ พิโค ฟารัด ถึง ไมโครฟารัด
ตัวเก็บประจุสามารถเก็บประจุได้โดยการต่อขาไปที่แหล่งจ่ายไฟโดยตรง หรือต้องการเพิ่มระยะเวลาในการเก็บประจุก็สามารถนำตัวต้านทานมาต่ออนุกรมกับวงจรจะได้ในรูปด้านขวา

ตัวเก็บประจุจะคายประจุ(discharge)โดยการนำตัวต้านทานมาต่ออนุกรม และสามารถเพิ่มหรือลดเวลาในการคายประจุโดยขึ้นอยู่กับค่าของความต้านทานที่ต่ออนุกรมดังในรูป

การต่อตัวเก็บประจุและการคำนวณค่าตัวเก็บประจุ

การใช้ตัวเก็บประจุ
ตัวเก็บประจุตัวเดียวที่อยู่ในรูปสามารถแยกสัญญาณที่ไม่ต้องการให้ลงกราวน์ไปได้เลย

ตัวเก็บประจุสามารถบล็อกสัญญาณไฟดีซีไม่ให้ผ่านเข้ามาได้

ตัวเก็บประจุขนาดใหญ่ๆสามารถทำให้สัญญาณไฟที่ส่งมาจากแหล่งจ่ายไฟซึ่งเป็น Pulsating DC ให้เป็นสัญญาณเรียบๆได้ (Filtered DC)

หมายเหตุ
ตัวเก็บประจุค่า 0.1 uF ต่อคร่อมระหว่างขั้วแหล่งจ่ายไฟที่จ่ายให้กับ Logic chip สามารถลดการ spike ของแหล่งจ่ายไฟได้ การ spike เกิดขึ้นเมื่อ Logic chip มีการ Trig สัญญาณออกไป การต่อวงจรที่มีตัวต้านทานและตัวเก็บประจุ(RC circuit)
Integrator
วงจรแปลงสัญญาณลอจิกให้เป็น square wave ค่า R*C คือ time constant ของวงจร ซึ่ง RC จะต้องมีค่าอย่างน้อยที่สุด 10 เท่าของคาบของสัญญาณที่ป้อนเข้ามา ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นแล้วแอมปลิจูดของ output จะมีค่าลดลง วงจรในรูปสามารถใช้เป็นวงจร Low pass filter ได้เพื่อป้องกันสัญญาณที่มีความถึ่สูง

Differentiator
ในวงจรตามรูป RC circuit จะแปลงสัญญาณที่ป้อนเข้ามาให้เป็น Spiked wave ค่า RC ควรจะเป็น 1/10 เท่าของคาบของสัญญาณที่ป้อนเข้ามา วงจร Differentiator มักจะใช้กับเพื่อสร้างสัญญาณ Trigger

1
Hosted by www.Geocities.ws