ตัวต้านทาน
ตัวต้านทานจะควบคุมการไหลของกระแส ถ้ามีค่าความต้านทานมาก กระแสก็จะไหลได้น้อย หากค่าความต้านทานน้อย กระแสก็จะไหลน้อย ซึ่งค่าความต้านทานมีหน่วยเป็น OHM ความต่างศักย์ 1 Volt คือความสามารถในการให้กระแสได้ 1 แอมแปร์โดยผ่านตัวต้านทานที่มีค่าเป็น 1 โอห์ม
รูปแสดงการต่อความต้านทานและการคำนวณตัวต้านทาน

การใช้ตัวต้านทาน
ตัวต้านทานสามารถนำไปอนุกรมเข้าไปกับวงจรที่ประกอบไปด้วย Lamp LED speaker Transistor หรืออุปกรณ์อื่นเพื่อจำกัดกระแสที่ไหลผ่านอุปกรณ์นั้น
รูปแสดงการต่อตัวต้านทานกับ LED

ในรูป LED จะทำงานก็ต่อเมื่อมีความต่างศักย์ตกคร่อมประมาณ 1.7 โวลท์(แสงสีแดง) และตัวต้านทานที่นำมาต่อสามารถกำหนดกระแสที่ไหลผ่าน LED ได้ตามกฏของโอห์ม I=V/R จากสูตรสามารถหาค่ากระแสได้ดังนี้ I=(6-1.7)R ก็จะได้กระแสไหลผ่านวงจรตามตาราง
การแบ่งความต่างศักย์(Voltage Division)
ในกรณีที่มีแหล่งจ่ายกระแสไฟมากเกินความต้องการ เราสามารถนำตัวต้านทานมาต่ออนุกรมเพื่อทำให้ความต่างศักย์ตามเราต้องการ ซึ่งในรูปมีสูตรคำนวณดังนี้
Vout=Vin(R2/(R1+R2))
วงจร WheatStone Bridge
เป็นวงจรที่สามรถนำประยุกต์เพื่อใช้ในการวัดค่าความต้านทาน ในรูปแรก เมื่อมิเตอร์อยู่ที่จุด Balance จะทำให้อัตราส่วนของ R1/R3=R2/R4 และสามารถนำวงจรถัดไปไปใช้งานเพื่อวัดค่าความต้านทานได้เลย โดย R5 จำกัดกระแสที่ไหลผ่านวงจรเพื่อป้องกันมิเตอร์เสียหาย สำหรับค่า R1 และ R2 ควรมีเปอร์เซนต์ความผิดพลาดไม่เกิน 1 เปอร์เซนต์ R6 และ สวิทช์ S1 จะป้องกันการเสียหายของมิเตอร์ การวัดความต้านทาน R3 ทำได้โดยการปรับ R4 จนกระทั่ง มิเตอร์มีค่าเป็น 0 ซึ่งค่า R3 ที่ได้จะมีค่าเท่ากับ R4 กระแสที่ไหลผ่านมิเตอร์ไม่ควรเกิน 1 mA

1
Hosted by www.Geocities.ws