แสดงการต่อวงจรภายนอกกับ Basic Stamp II(BS2)

เป็น Carrier board ซึ่งสามารถทำเองก็ได้โดยหา Socket ขนาด 24 pin แบบ Dip socket และ มี RS232 พอร์ตเพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมลงไปใน BS2

เป็นขาที่ออกจากสาย Null Modem โดย หมายเลข 1,2,3,4 และ 5 เป็นหมายเลขขาของ BS2 สาย Null Modem ก่อนซื้อสายเพื่อใช้ติดต่อกับ พอร์ตอนุกรมของพีซี ควรเลือกซื้อสายที่เป็น DB9 หรือสาย Null Modem ถ้าเป็นสาย DB9 จะไม่มีการไขว้สายภายในคอนเน็กเตอร์

รูปแสดงการต่อออกจากพอร์ตอนุกรมของพีซี ซึ่งสามารถต่อสายเองก็ได้แต่ก็ไม่ควรจะยาวเกินไปเพราะยิ่งยาว ข้อมูลที่ส่งผ่านไปในสายก็ยิ่งมีความผิดพลาดมาก

เป็นการต่อสวิทช์เข้ากับพอร์ตของ BS2 เราสามารถต่อในลักษณะนี้โดยสามารถใช้คำสั่งเพื่อ debounce การกดคีย์ซึ่งมีคำสั่งที่ใช้คือ Button สำหรับในรูปด้านซ้ายเมื่อกดสวิทช์ลอจิกที่เข้าไปยังพอร์ตคือ 1(เป็นการต่อแบบ pull down resistor) ส่วนด้านขวาเมื่อกดสวิทช์ลอจิกที่เข้าไปยังพอร์ตคือ 0(เป็นการต่อแบบ pull up resistor)

เป็นวงจรเพื่อนำสัญญาณ DTMF ออกมาไปที่ Amplifier หรือ ลำโพง

เป็นการต่อวงจรเพื่อให้เบสิกแสตมป์ส่งสัญญาณ DTMF เพื่อหมุนเบอร์โทรศัพท์ โดยต่อไปกับสายโทรศัพท์ได้เลย

ต่อวงจรเพื่อให้ BS2 ขับ LED ให้มีแสงแสดงออกมา โดยตัว BS2 จะทำหน้าที่เป็น current source อย่างที่ทราบแล้วว่าการต่อในลักษณะนี้อาจจะไม่มีเท่าควรเพราะ BS2 สามารถให้กระแสดออกมาได้ประมาณ 20 mA ซึ่งเป็นประมาณที่สามารถทำให้ LED มีแสงออกมาได้หากในเวลาเดียวกัน BS2 ต้องให้กระแสพร้อมกันทุกพอร์ต 16 พอร์ต BS2 จะไม่สามารถให้กระแสได้เต็มที่กับทุกๆพอร์ต ทางที่ดีควรเลือกต่อแบบ current sink จะดีกว่า

ต่อวงจรเพื่อให้ LED เปล่งแสงออกมาเมื่อสถานะที่พอร์ตนั้นๆมีค่าเป็น 0 ซึ่ง BS2 จะทำหน้าที่เป็น current sink (ตัวรับกระแส ซึ่งถ้าดูวงจรภายในพอร์ตของ BS2 ที่พอร์ตนั้นจะเป็น MOSFET ซึ่งจะต่อสัญญาณจากพอร์ตลงกราวน์เมื่อลอจิกที่พอร์ตนั้นมีค่าเป็น 0) การต่อวิธีนี้ดีที่สุด เพราะตัวพอร์ตแต่ละพอร์ตสามารถรับกระแสเข้ามาได้ถึง 25 mA ทุกพอร์ตโดยไม่มีผลกระทบใด ในกรณีที่ทั้ง 16 พอร์ตต่อวงจรเป็นแบบ current sink ทุกพอร์ต

วงจรเพื่อตรวจสอบ pulse ที่ส่งออกมาเมื่อมีการกดหรือปล่อยสวิทช์ โดยพัลซ์เกิดจากการดิสชาร์จ ของตัวเก็บประจุซี่งจะปล่อบกระแสไหลผ่านความต้านทาน 1k ซึ่งวงจรนี้จะทำงานร่วมกับคำสั่ง PULSIN

ตามรูป เมื่อใช้คำสั่ง PWM (Pulse width modulator)พอร์ตของ BS2 จะส่งระดับของโวลท์เตจมาตั้งแต่ 0-5 โวลท์ซึ่งสามารถนำไปต่อกับวงจรควบคุมการทำงานของมอเตอร์ได้ หรือต่อเข้ากับ Amplifier เพื่อขยายสัญญาณให้มีค่ามากขึ้นเพื่อให้เหมาะกับการนำไปใช้งาน ตัวเก็บประจุจะทำหน้าที่ในการปรับสัญญาณ Digital ที่ส่งออกมาให้มีค่าเป็นค่าเป็น Analog

เป็นวงจรที่ใช้ร่วมกับคำสั่ง RCTIME เพื่อใช้วัดค่า rise time(เวลา ขาขึ้นของสัญญาณ) ของวงจร RC

วงจรเพื่อทดสอบค่า RC

วงจรนี้ใช้กับคำสั่ง REVERSE ซึ่งจะทำให้ LED กระพริบตามคำสั่ง

วงจรที่ใช้เพื่อทดสอบกับคำสั่ง TOGGLE

ทดลองการส่งข้อมูลแบบขนานโดย ใช้ D Flip-Flop เก็บข้อมูล

ส่งข้อมูลแบบอนุกรมโดยใช้ D Flip-Flop ทำหน้าที่เป็นตัวเก็บ(latch) ข้อมูล

ส่งข้อมูลจากอนุกรมให้เป็นแบบขนาน ซึ่งถ้าใช้ IC ควรใช้เบอร์ 74HC595

แสดงการต่อไอซีเบอร์ ADC0831 ซึ่งเป็นทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาล็อกให้เป็นดิจิตอล ซึ่ง BS pin1 จะทำหน้าที่รับข้อมูลที่เป็นอนุกรมเข้าโดยขา BS pin 2 เป็น clock ส่วน BS2 ทำหน้าที่เป็น chip select

คำสั่งที่ไม่สามารถนำไปใช้ตั้งเป็นตัวแปรได้
1
Hosted by www.Geocities.ws