Output จาก TTL หรือ Microcontroller (ไมโครคอนโทรลเลอร์ก็เป็นไอซีชนิด TTL บางรุ่นก็เป็น CMOS)
บทนี้จะกล่าวถึงการต่อวงจร ภายนอกของไมโครคอนโทรลเลอร์ โดยอาศัยการควบคุมการทำงานจากไมโครคอนโทรลเลอร์ โดยจะพูดถึงสองแบบคือแบบ Current sink(ดึงกระแสเข้ามาในพอร์ตเมื่อลอจิกมีค่าเป็น 0 ที่พอร์ตนั้นๆ) และ Current source(จ่ายกระแสให้กับวงจรภายนอกเมื่อลอจิกมีค่าเป็น 1 ที่พอร์ตนั้นๆ) ซึ่งจะกล่าวโดยรวมจากไอซีทั่วไปและไมโครคอนโทรลเลอร์ ซึ่งจะกล่าวถึงไอซีชนิด TTL
TTL แบบสามารถดึงกระแสได้ถึง 16 mA ส่วน LS logic device จะดึงกระแสได้ประมาณ 8 mA แต่ TTL สามารถจ่ายกระแส(current source)ได้แค่ 250 uA หรือ 100 uA ใน LS logic device และ 60 uA สำหรับ 8051 ดูแล้วน้อยมากไม่สามารถนำไปไดร์ววงจรได้โดยตรง เพราะฉนั้นหากต้องการควบคุมการทำงานของวงจรภายนอกด้วย 8051 หรือ TTL แล้วควรทำวงจรให้เป็นวงจรดึงกระแสมากกว่า โดยทั่วไปแล้ว TTL จะดึงกระแสเมื่อสัญญาณที่พอร์ตมีค่าเป็น 0 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการจ่ายกระแสของพอร์ต TTL จะไม่สามารถใช้งานได้เลยทีเดียว เราก็สามารถทำได้แต่ไม่แนะนำ โดยการนำทรานซิสเตอร์มาเพื่อเพิ่มกระแสจากพอร์ตนั้นดูในรูป ที่ 1

ในรูปที่สองเป็นวงจรสำหรับขับ LED


รูปที่ 5 ใช้สัญญาณลอจิกเพื่อทำให้มอเตอร์ที่เป็นชนิดดีซีมอเตอร์สามารถหมุนได้ทั้งสองทิศทางและสามารถหยุดการหมุนของมอเตอร์ด้วย

ในรูปที่ 6 ควบคุมโดยใช้แหล่งจ่ายไฟที่มีทั้งบวกและลบ


ส่วนในรูปข้างล่างนี้เป็นวงจรควบคุมความเร็วของมอเตอร์โดยใช้ OP-AMP มาช่วยในการควบคุมความเร็วและทิศทางของมอเตอร์

ส่วนในรูปที่ 9 เราใช้สัญญาณจากพอร์ต TTL เพื่อควบคุมการทำงาน ซึ่งวงจรจะทำงานเมื่อป้อนความต่างศักย์ตั้งแต่ 0 ถึง 5 โวลท์ ในส่วนของอินพุทอาจจะต่อ DAC ตัวหนึ่งเพื่อแปลงสัญญาณดิจิตอลให้เป็นความต่างศักย์ทางไฟฟ้า

1
Hosted by www.Geocities.ws