แบบทดสอบก่อนเรียน

วิชาหลักการวัดและประเมินผลการศึกษา

------------------------------------------------------------------------------------------

    1. ข้อใดเป็นการวัดผล

        ก. สมานสูงกว่าสมศรีมาก

        ข. ยุพินได้เป็นนางสาวไทยปีนี้

        ค. นครหนัก 80 กิโลกรัม

        ง. แดงมีปากกามากกว่าดำอยู่ 1 ด้าม

    2. ข้อใดเป็นการประเมินผล

        ก. มะม่วงต้นนี้ไม่มีผลเลย

        ข. หมู่บ้านนี้มีวัดอยู่ 2 วัด

        ค. บ้านของครูใหญ่หลังเล็กมาก

        ง. ที่ดินแปลงนี้มีเนื้อที่ 120 ตารางวา

    3. ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายของการประเมินผลระหว่างเรียน

        ก. ดูความรู้พื้นฐานของนักเรียน

        ข. ปรับปรุงการเรียนการสอน

        ค. ตัดสินผลการเรียน

        ง. ถูกทุกข้อ

    4. จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการวัดและประเมินผลการศึกษา คือข้อใด

        ก. เพื่อวินิจฉัย

        ข. เพื่อประเมินผล

        ค. เพื่อจัดตำแหน่ง

        ง. เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพผู้เรียน

    5. การวัดและประเมินผลมีประโยชน์ต่อใครบ้าง

        ก. ครู

        ข. นักเรียน

        ค. ผู้ปกครอง

        ง. ถูกทุกข้อ

    6. ข้อใดไม่ใช่ธรรมชาติของการวัดผลการศึกษา

        ก. เป็นการวัดที่สมบูรณ์

        ข. เป็นการวัดทางอ้อม

        ค. เป็นสิ่งสัมพันธ์

        ง. ไม่มีศูนย์แท้

    7. ข้อใดเป็นคุณธรรมของนักวัดผลการศึกษา

        ก. มีความซื่อสัตย์สุจริต

        ข. มีความรับผิดชอบสูง

        ค. มีความละเอียดถี่ถ้วน

        ง. ถูกทุกข้อ

    8. ข้อใดไม่ใช่ประเภทของพฤติกรรมทางการศึกษาตามแนวคิดของ Bloom

        ก. จิตพิสัย

        ข. พุทธิพิสัย

        ค. สมรรถพิสัย

        ง. ทักษะพิสัย

   9. “ด.ช.มนตรี เลี้ยงลูกบาศก์ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว” พฤติกรรมดังกล่าว

        เป็นพฤติกรรมทางการศึกษาประเภทใด (ใช้ตัวเลือกข้อ 8)

10. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

        ก. พฤติกรรมที่คาดหวัง

        ข. ผลที่ได้รับ

        ค. เงื่อนไข

        ง. เกณฑ์

    11.     ข้อใดเป็นเกณฑ์ในจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

        ก. แปลความหมายคำราชาศัพท์ได้ถูกต้องทุกข้อ

        ข. อธิบายการบวกเลข 2 หลักได้

        ค. บอกขั้นตอนการแก้สมการได้

        ง. ถูกทุกข้อ

    12. “เมื่อกำหนดคำมาให้ นักเรียนสามารถจำแนกคำเป็นคำตายได้ถูกต้องทุกคำ”

ข้อความที่ขีดเส้นใต้ เรียกว่าอะไร

        ก. เงื่อนไข

        ข. สถานการณ์

        ค. เกณฑ์

        ง. ก และ ข ถูก

    13. ข้อใดไม่เข้าพวก

        ก.ข้อสอบแบบเติมคำ

        ข. ข้อสอบแบบถูก-ผิด

        ค. ข้อสอบแบบอัตนัย

        ง.ข้อสอบแบบเลือกตอบ

    14. ถ้าต้องการวัดพฤติกรรมความตั้งใจเรียน ควรใช้เครื่องมือชนิดใด จึงจะเหมาะสมที่สุด

        ก. แบบทดสอบ

        ข.   แบบสอบถาม

        ค. การสัมภาษณ์

        ง. การสังเกต

    15. ข้อใดกล่าวได้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อสอบแบบใช้ความเร็ว (speed test)

        ก. เป็นข้อสอบที่ง่าย

        ข. มีจำนวนข้อสอบมาก

        ค. ให้เวลาในการทำมาก

        ง. ตัวอย่างข้อสอบ เช่น การวัดทักษะทางตา

   16. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อสอบแบบอัตนัย

        ก. ตรวจให้คะแนนได้ง่าย

        ข. วัดทักษะกระบวนการคิดได้ดี

        ค. วัดเจตคติหรือข้อคิดเห็นต่างๆ ได้ดี

        ง. ผู้ตอบมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น

    17. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อดีของข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบ

        ก. ตรวจให้คะแนนได้ง่าย

        ข. วัดได้ครอบคลุมเนื้อหา

        ค. ต้องใช้เวลาในการสร้างน้อย

        ง. ควบคุมความยากง่ายของข้อสอบได้

 

 

คำชี้แจง ข้อ 18-22 เป็นข้อความที่เกี่ยวกับคุณลักษณะของแบบทดสอบปรนัย จงเลือกตัวเลือก ก-จ ที่สอดคล้องกับข้อความดังกล่าวมากที่สุด

                ก. ข้อสอบแบบจับคู่

                ข. ข้อสอบแบบเลือกตอบ

                ค. ข้อสอบแบบถูกผิด

                ง. ข้อสอบแบบตอบสั้น

                จ. ข้อสอบแบบเติมคำ

    18. เหมาะสำหรับการจัดทำเป็นข้อสอบมาตรฐาน

    19. มีประโยชน์น้อยมากสำหรับการค้นคว้าหาข้อบกพร่องในการเรียน

    20. มีความยุ่งยากที่สุดในการให้คะแนน

    21. ช่วยให้นักเรียนได้คะแนนมากโดยการเดา

    22. เป็นข้อสอบที่มีคุณสมบัติดีที่สุดในบรรดาข้อสอบปรนัยด้วยกัน

    23. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติที่เรียกว่าความเป็นปรนัยของข้อสอบ

        ก. คำถามชัดเจนผู้สอบเข้าใจได้ตรงกัน

        ข. วัดได้ตรงตามเนื้อหาที่ต้องการจะวัด

        ค. มีความแจ่มชัดในการแปลความหมายของคะแนน

        ง. การตรวจให้คะแนนตรงกันไม่ว่าใครจะตรวจก็ตาม

    24. ข้อใดเป็นลักษณะที่เรียกว่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัด

        ก. วัดได้แน่นอน คงเส้นคงวา

        ข. แบ่งผู้สอบออกเป็นกลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อน

        ค. วัดคุณลักษณะหรือพฤติกรรมได้ตามต้องการ

        ง. สัดส่วนของผู้ที่ตอบถูกกับจำนวนคนที่เข้าสอบ

    25. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย

        ก. ต้องใช้วิธีการวัดทางอ้อม

        ข. เป็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

        ค. คะแนนที่ได้จากการวัดมีความคลาดเคลื่อนน้อยมาก

        ง. ไม่สามารถจำแนกออกเป็นความรู้สึกที่ถูกหรือผิดได้อย่างเด็ดขาด

    26. เครื่องมือชนิดใดที่ใช้กันน้อยในการวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย

        ก. การสังเกต

        ข. แบบทดสอบ

        ค. การสัมภาษณ์

        ง. มาตราส่วนประมาณค่า

    27. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการสัมภาษณ์

        ก. ปรับคำถามใช้ชัดเจนได้

        ข. ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายน้อย

        ค.     ใช้ได้กับทุกคนที่พูด อ่านได้

        ง. ได้ข้อมูลจากบุคคลที่ต้องการจริง

    28. ข้อใดไม่ใช่ระดับพฤติกรรมทางด้านพุทธิพิสัยตามแนวคิดของบลูม (Bloom)

        ก. การวิเคราะห์

        ข. ความรู้ความจำ

        ค. การสังเคราะห์

        ง. การสื่อความหมาย

 

คำชี้แจง จงพิจารณาคำถามข้อ29-32 ว่าวัดพฤติกรรมระดับใด โดยใช้ตัวเลือก ก-จ ในการตอบ

                ก. ความรู้ความจำ

                ข. ความเข้าใจ

                ค. การนำไปใช้

                ง. การวิเคราะห์

                จ. การประเมินค่า

 

    29. กุญชร แปลว่าอะไร

    30. สัตว์ข้อใดเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก

    31. จากเรื่องขุนช้างขุนแผน นางวันทองเป็นคนดีหรือไม่

    32. ขิงก็รา ขาก็แรง” หมายความว่าอย่างไร

    33. ข้อมูลชุดใด ควรใช้ค่าเฉลี่ยเป็นตัวแทนของข้อมูล

        ก. 2, 3, 1, 4 และ 2

        ข. 20, 21, 24 และ 50

        ค. 12, 13, 40, 8 และ 9

        ง. 50, 53, 60, 55 และ 300

    34. คะแนนผลการสอบ เป็นการวัดที่อยู่ในมาตราใด

        ก. nominal scale

        ข. ordinal scale

        ค. interval scale

        ง. ratio scale

    35. ข้อใดไม่ใช้วิธีการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง

        ก. ค่าเฉลี่ย

        ข. มัธยฐาน

        ค. ฐานนิยม

        ง. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

    36. “นำข้อมูลทั้งหมดมาเรียงลำดับจากน้อยไปมาก แล้วนำเอาข้อมูลที่อยู่ตรงกลางมาเป็นตัวแทน” ข้อความดังกล่าวเป็นแนวคิดของอะไร

        ก. มัธยฐาน

        ข. ฐานนิยม

        ค. ความแปรปรวน

        ง. ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย

    37. ข้อใดไม่เข้าพวก

        ก. ความแปรปรวน

        ข. ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย

        ค. มัธยฐาน

        ง. พิสัย

    38. การหาค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ข้อมูลต้องอยู่ในมาตราใด

        ก. นามบัญญัติ

        ข. อันตรภาค

        ค. เรียงอันดับ

        ง. ถูกทุกข้อ

    39. ค่า rxy เท่ากับ -0.90 หมายความว่าอย่างไร

        ก. สัมพันธ์กันน้อยมาก

        ข. สัมพันธ์กันสูงมากในทิศทางเดียวกัน

        ค. สัมพันธ์กันปานกลางในทิศทางตรงกันข้าม

        ง. สัมพันธ์กันแน่นอนในทิศทางตรงกันข้าม

    40. ข้อใดเป็นการวิเคราะห์ข้อสอบแบบอิงกลุ่ม

        ก. ดัชนี B

        ข. ดัชนี S

        ค. ค่า r

        ง. ถูกทุกข้อ

    41. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับค่าอำนาจจำแนกแบบอิงกลุ่ม

        ก. มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 1.00

        ข. ค่าอำนาจจำแนกที่ดีอยู่ระหว่าง .20 ถึง 1.00

        ค. อำนาจจำแนกเป็น 0 แสดงว่าข้อสอบไม่มีค่าอำนาจจำแนก

        ง. ไม่มีข้อถูก

    42. ค่า P เท่ากับ 1.00 หมายความว่าอย่างไร

        ก. ไม่มีใครทำถูกเลย

        ข. เป็นข้อสอบที่ใช้ได้

        ค. เป็นข้อสอบที่ง่ายมาก

        ง. ก และ ข ถูก

    43. ค่าดัชนี S ติดลบ หมายความว่าอย่างไร

        ก. เป็นข้อความที่ใช้ได้

        ข. สมควรคัดเลือกไว้ใช้ต่อไป

        ค. เป็นข้อสอบที่ดี เป็นไปตามทฤษฎี

        ง. ผู้เข้าสอบก่อนเรียนทำถูกมากกว่าหลังเรียน

    44. ข้อใดผิด

        ก. p = -0.20

        ข. r = 0.00

        ค. B = -0.25

        ง. S = -0.33

    45. ข้อใดเป็นลักษณะของความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัด

        ก. นิ่มขายของช่วยแม่ ดังนั้นจึงบวกเลขได้เก่ง

        ข. แดงสอบข้อสอบฉบับนี้กี่ครั้งก็ได้คะแนนเท่าเดิม

        ค. แก้วเรียนไม่เก่ง ทำข้อสอบกี่ครั้งก็ได้คะแนนไม่ดี

        ง. ครูสมชาติออกข้อสอบตามตารางวิเคราะห์หลักสูตร

    46. ข้อใดเป็นลักษณะของความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา

    (ใช้ตัวเลือกข้อ 45)

    47. การหาค่าความเชื่อมั่นวิธีใดที่คะแนนไม่จำเป็นต้องให้ 1 เมื่อตอบถูก หรือให้ 0 เมื่อตอบผิด

        ก. KR 20

        ข. KR 21

        ค. Coefficient alpha

        ง. ก และ ข ถูก

    48. ข้อใดไม่ใช่วิธีการหาค่าความเชื่อมั่นแบบอิงเกณฑ์

        ก. วิธีของโลเวทท์ (Lovett)

        ข. วิธีของคาร์เวอร์ (Carver)

        ค. วิธีของลิฟวิงสตัน (Livingston)

        ง. วิธีของคูเดอร์-ริชาร์คสัน (Kuder-Richardson)

49. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

        ก. แบบทดสอบที่มีข้อสอบมากจะมีความเชื่อมั่นสูงกว่าแบบทดสอบที่มีข้อสอบน้อย

        ข. แบบทดสอบที่ประกอบด้วยข้อสอบที่มีความยากง่ายใกล้เคียงกัน                      จะมีความเชื่อมั่นสูงกว่าแบบทดสอบที่มีความยากง่ายต่างกัน

        ค. ผู้สอบที่มีความสามารถใกล้เคียงกันจะทำให้แบบทดสอบ

    มีความเชื่อมั่นสูงกว่าผู้สอบที่มีความสามารถแตกต่างกัน

          ง. แบบทดสอบที่ประกอบด้วยข้อสอบที่ยากปานกลางจะมีความเชื่อมั่น

มากกว่าแบบทดสอบที่มีข้อสอบง่ายหรือยากมาก

    50. ข้อใดไม่ใช่คะแนนแปลงรูป (derived score)

        ก. แก้วสอบวิชาคณิตศาสตร์ได้ 80%

        ข. กล้าสอบวิชาดนตรีได้คะแนน T 60

        ค. กนกสอบวิชาฟิสิกส์ได้ 90 คะแนน

        ง. พายุสอบวิชาภาษาอังกฤษได้ลำดับที่ 3

    51. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณสมบัติของโค้งปกติ (normal curve)

        ก. พื้นที่ใต้โค้งทั้งหมดมีค่าเท่ากับ 1

        ข. ลักษณะของโค้งเป็นรูประฆังคว่ำ

        ค. ค่าของคะแนนเฉลี่ย ฐานนิยม และมัธยฐานจะเท่ากัน

        ง. เส้นปลายทั้งสองข้างของโค้งจะค่อยๆ ลงไปจรดกับแกนนอน

    52. ถ้าสมศักดิ์สอบได้ 20 คะแนน จะแปลงเป็นคะแนนมาตรฐาน Z (Z-score) ได้เท่าไร ถ้าในกลุ่มนั้นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5

        ก. 1.0

        ข. 1.2

        ค. 1.5

        ง. 2.0

    53. จากข้อ 52 จะแปลงเป็นคะแนนมาตรฐาน T (T-score) ได้เท่าไร

        ก. 62

        ข. 65

        ค. 73

        ง. 76

   54. ถ้า ด.ช. นภดล สอบได้คะแนน Z เท่ากับ 0 คำกล่าวข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง

        ก. สอบได้ 0 คะแนน

        ข. มีความสามารถปานกลาง

        ค. จะได้คะแนน T เท่ากับ 50

        ง. สอบได้คะแนนเท่ากับค่าเฉลี่ยของกลุ่ม

    55. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับคะแนนมาตรฐาน Z (Z-score)

        ก . มีค่าเฉลี่ยเป็น 0

        ข. มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็น 1

        ค.มีทั้งค่าที่เป็นบวก และค่าที่เป็นลบ

        ง. ถ้ามีค่าเท่ากับ 0 หมายความว่า นักเรียนคนนั้นทำข้อสอบไม่ถูกเลย

  56. การอนุมัติผลการเรียนในระดับประถมศึกษาเป็นหน้าที่ของใคร

        ก. โรงเรียน

        ข. กรมวิชาการ

        ค. ศึกษาธิการอำเภอ

        ง. หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ

    57. ข้อใดเป็นเกณฑ์การพิจารณาการเลื่อนชั้นในระดับประถมศึกษา

        ก. มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

        ข. ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

        ค. เฉพาะชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, 3 และ 5 มีการประเมินผลปลายปี

        ง. ถูกทุกข้อ

    58. กลุ่มประสบการณ์ใดไม่เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเลื่อนชั้น

        ก. ประสบการณ์พิเศษ

        ข. สร้างเสริมลักษณะนิสัย

        ค. การงานและพื้นฐานอาชีพ

        ง. สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต

    59. นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ถ้ามีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80 และไม่ได้รับ

การผ่อนผันให้เข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน นักเรียนผู้นั้นจะได้ผลการเรียนเป็นอะไร

        ก. ร

        ข. 0

        ค. มส

        ง. มผ

60. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น

    ก. การสอบแก้ตัวให้ระดับผลคะแนนไม่เกิน “1”

    ข. การเปลี่ยนผลการเรียน “ร” ให้กระทำให้เสร็จสิ้นภายในภาคเรียนถัดไป

    ค. ผลการเรียน “มส” หมายถึง ไม่มีสิทธิเข้ารับการประเมินผลปลายภาคเรียน

ง. วัดผลปลายภาคเรียนเฉพาะผู้ที่มีเวลาเรียนตลอดภาคเรียนไม่น้อยก่วาร้อยละ 60

                                                        

 

Hosted by www.Geocities.ws

1