ผู้วิจัย รองศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร*

คณะ ครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสกลนคร

ปีที่วิจัยสำเร็จ 2542-2543

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดไว้ 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นการศึกษาลักษณะและตัวแบบประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ และตอนที่ 2 เป็นการวิจัยพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เพื่อปรับปรุงประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ

การวิจัยตอนที่ 1 มุ่งศึกษาลักษณะและตัวแบบประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ โดยศึกษาปัจจัยที่สำคัญ 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านชีวสังคมของคณบดี ปัจจัยด้านจิตลักษณะของคณบดี ปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำของคณบดี และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางภารกิจของคณบดีร่วมกับคุณลักษณะ 2 ประการ คือ พฤติกรรมความร่วมมือในการทำงานของคณบดี และสภาพความคงอยู่ในตำแหน่งของคณบดี สำหรับประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในเรื่องนี้คือ ประสิทธิผลการทำงานของคณบดีด้านประสิทธิผลของคณบดีและด้านประสิทธิผลของคณะ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสวงหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลการทำงานของคณบดีทั้งด้านประสิทธิผลของคณบดี และด้านประสิทธิผลของคณะ เปรียบ-เทียบประสิทธิผลการทำงานของคณบดีทั้งด้านประสิทธิผลของคณบดี และด้านประสิทธิผลของคณะระหว่างตัวแปรในปัจจัยภาวะผู้นำที่แตกต่างกัน ศึกษาการใช้ทฤษฎีของฟีดเลอร์ และทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมพยากรณ์ประสิทธิผลการทำงานของคณบดีในพฤติกรรมผู้นำประเภทต่าง ๆ ศึกษาทฤษฎีต้นแบบประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีและหาระดับประสิทธิผลการทำงานของคณบดีทั้งด้านประสิทธิผลของคณบดี และด้านประสิทธิผลของคณะ สำหรับตัวแปรในแต่ละปัจจัย คือ ปัจจัยด้านชีวสังคมของคณบดี ได้แก่ เพศ อายุ วุฒิทางการศึกษา ตำแหน่งทางวิชาการและประสบการณ์ในตำแหน่ง ปัจจัยด้านจิตลักษณะของคณบดี ประกอบด้วยความเชื่ออำนาจในตน ลักษณะมุ่งอนาคต ความมีเหตุผลเชิงจริยธรรม สุขภาพจิตและเจตคติ

-----------------------------------

* ประธานคณะกรรมการบริหาร สาขาการบริหารการศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา สถาบันราชภัฏสกลนคร

ที่ดีต่องาน ปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำ ประกอบด้วยพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งงานและพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งสัมพันธ์ และปัจจัยสภาพแวดล้อมทางภารกิจของคณบดี ประกอบด้วยความสัมพันธ์ระหว่างคณบดีและสมาชิกในคณะ โครงสร้างของงานในคณะ และอำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของคณบดี สำหรับสภาพแวดล้อมทางภารกิจถูกแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ลักษณะที่เอื้อต่อคณบดีต่ำ ปานกลาง และสูง และตัวแปร คุณลักษณะ 2 ประการ คือ พฤติกรรมความร่วมมือในการทำงาน และสภาพความคงอยู่ในตำแหน่งของคณบดี กรอบแนวคิดทฤษฎีสำหรับการวิจัยครั้งนี้ได้จากแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาประสิทธิผลภาวะผู้นำทางการศึกษาของฮอยกับ มิสเกล (Hoy and Miskel. 1982 : 242) ทฤษฎีประสิทธิผลภาวะผู้นำตามสภาพการณ์ของฟีดเลอร์ (Fiedler. 1967) และทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมของ ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2530)

ประชากรที่ศึกษา คือ คณบดีที่ปฏิบัติหน้าที่ระหว่างปีการศึกษา 2540 - 2541 ในสถาบันราชภัฏ สำหรับกลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยครั้งนี้ได้จากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ประกอบด้วยรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ 18 คน อาจารย์ที่เป็นผู้แทนของคณะต่างๆ 553 คน และคณบดี 116 คน จากสถาบันราชภัฏ 26 สถาบัน แบบสอบถามที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามวัดปัจจัยภาวะผู้นำของคณบดี ประกอบด้วย แบบสอบถามวัดด้านชีวสังคมของคณบดี 5 ด้าน แบบสอบถามวัดด้านจิตลักษณะของคณบดี 5 ลักษณะ แบบสอบถามวัดพฤติกรรมผู้นำของคณบดี แบบสอบถามการวัดสภาพแวดล้อมทางภารกิจของคณบดี 3 ลักษณะ แบบสอบถามวัดพฤติกรรมความร่วมมือในการทำงานของคณบดี แบบสอบถามวัดสภาพความคงอยู่ในตำแหน่งของคณบดี และแบบสอบถามวัดประสิทธิผลการทำงานของคณบดี 2 ลักษณะ คือ ประสิทธิผลของคณบดี และประสิทธิผลของคณะ

การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน สหสัมพันธ์อย่างง่าย การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรทีละขั้น ทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 2 ทาง และแบบ 3 ทาง

ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลการทำงานของคณบดีทั้งด้านประสิทธิผลของคณบดี และด้านประสิทธิผลของคณะอยู่ระดับปานกลางค่อนข้างสูง ปัจจัยภาวะผู้นำ 2 ปัจจัยและคุณลักษณะ 2 ประการ สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการทำงานของคณบดีด้านประสิทธิผลของคณบดี ประกอบด้วยสภาพแวดล้อมทางภารกิจของคณบดี จิตลักษณะของคณบดีมีตัวพยากรณ์ที่ดี คือ เจตคติที่ดีต่องานของคณบดี และลักษณะมุ่งอนาคตของคณบดี พฤติกรรมความร่วมมือของคณบดี และสภาพความคงอยู่ในตำแหน่งของคณบดี ปัจจัยภาวะผู้นำ 3 ปัจจัย สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการทำงานของคณบดีด้านประสิทธิผลของคณะ ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมทางภารกิจของคณบดี ปัจจัยชีวสังคมของคณบดีมีตัวพยากรณ์ที่ดี คือ ประสบการณ์ในตำแหน่งของคณบดี และจิตลักษณะของคณบดีมีตัวพยากรณ์ที่ดี คือ เจตคติที่ดีต่องานของคณบดี และความเชื่ออำนาจในตนของคณบดี เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการทำงานของคณบดีระหว่างปัจจัยภาวะผู้นำที่แตกต่างกัน พบว่า สภาพแวดล้อมทางภารกิจของคณบดี และพฤติกรรมความร่วมมือของคณบดีที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของคณบดีทั้ง 2 ด้านแตกต่างกัน นอกจากนั้นยังพบว่าตำแหน่งทางวิชาการของคณบดี ความมีเหตุผลเชิงจริยธรรมและเจตคติที่ดีต่องานของคณบดีที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของคณบดีเฉพาะด้านประสิทธิผลของคณบดีแตกต่างกัน และพบว่าเพศของคณบดีและลักษณะมุ่งอนาคตของคณบดีที่แตกต่างกันส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของคณบดีเฉพาะด้านประสิทธิผลของคณะแตกต่างกัน สำหรับผลการใช้ทฤษฎีของฟีดเลอร์และทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมพยากรณ์ประสิทธิผลการทำงานของคณบดีในพฤติกรรมผู้นำประเภทต่าง ๆ ของคณบดี ได้ข้อค้นพบโดยสรุป คือ พฤติกรรมผู้นำทั้งแบบมุ่งงาน และมุ่งสัมพันธ์ ต่างก็ส่งผลร่วมกับสภาพแวดล้อมทางภารกิจของคณบดีและตัวแปรในปัจจัยด้านชีวสังคมและจิตลักษณะหลายตัวแปร และพบว่าคณบดีที่มีจิตลักษณะรวมสูงมีประสิทธิผลการทำงานเฉพาะด้านประสิทธิผลของคณบดีสูงกว่าคณบดีที่มีจิตลักษณะรวมต่ำ โดยกลุ่มที่มีจิตลักษณะรวมสูงมีตัวแปรที่พยากรณ์ได้ดีคือเจตคติที่ดี ต่องานและความเชื่ออำนาจในตน ส่วนกลุ่มที่มีจิตลักษณะรวมต่ำมีตัวแปรที่พยากรณ์ได้ดี คือ สุขภาพจิต และผลการวิจัยพบว่าทฤษฎีต้นแบบประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดี มีลักษณะไม่คล้ายคลึงกับประสิทธิผลภาวะผู้นำของฟีดเลอร์ โดยพบว่าคณบดีที่มีพฤติกรรมแบบมุ่งงานและ มุ่งสัมพันธ์ต่างก็มีประสิทธิผลการทำงานสูงในสภาพแวดล้อมทางภารกิจที่เอื้อต่อคณบดีระดับปานกลาง และสูง

การวิจัยตอนที่ 2 มีจุดมุ่งหมายพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปเพื่อปรับปรุงประสิทธิผลภาวะ ผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 สำหรับชุดหนึ่งในบทเรียนสำเร็จรูป และมีความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่างคณบดีก่อนและหลังการศึกษาบทเรียนสำเร็จรูปทุกชุด

การวิจัยนี้ใช้แบบแผนการวิจัยเชิงพัฒนา มีขั้นตอนการดำเนินงาน 12 ขั้นตอน คือ (1) การศึกษาลักษณะและตัวแบบประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ (ตอนที่ 1) (2) การกำหนดหัวเรื่อง (3) การกำหนดหัวเรื่องย่อยของแต่ละหัวเรื่อง (4) การให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบหัวเรื่องและหัวเรื่องย่อยที่กำหนดให้ (5) ปรับปรุงแก้ไขหัวเรื่องและหัวเรื่องย่อย (6) การยกร่างบทเรียน สำเร็จรูป (7) การทดลองใช้บทเรียนสำเร็จรูปครั้งที่ 1 (8) การปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 1 (9) การทดลอง ใช้บทเรียนสำเร็จรูปครั้งที่ 2 (10) การปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 2 (11) การทดลองใช้บทเรียนสำเร็จรูป ครั้งที่ 3 (12) การปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 3

ผลการศึกษาวิจัยลักษณะและตัวแบบการปรับปรุงประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ พบว่า ประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดียังสามารถใช้ทฤษฎีประสิทธิผลภาวะผู้นำตามสภาพการณ์ของฟีดเลอร์ (Fiedler. 1967) เป็นกรอบทฤษฎีหลัก ส่วนตัวแบบการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปผู้วิจัยได้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเรื่อง การปรับปรุงประสิทธิผลภาวะผู้นำของ ฟีดเลอร์และคณะ (Fiedler, Chemers and Mahar. 1977, 1989) เป็นแนวทางการพัฒนาบทเรียนแต่ละชุดได้โดย กำหนดหัวเรื่องที่ใช้พัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปเรื่อง การแสวงหาภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏได้ 10 หัวเรื่อง โดยแต่ละหัวเรื่องเป็นชุดในบทเรียน 1 ชุด คือ (1) ปฐมบท (2) การค้นหาแบบของพฤติกรรม ผู้นำของคณบดี (3) ทำความเข้าใจกับสภาพการณ์ในการนำของคณบดี (4) การประเมินความสัมพันธ์ระหว่างคณบดีกับสมาชิกในคณะ (5) การประเมินโครงสร้างของงานในคณะ (ความชัดเจนของงานในคณะ) (6) การประเมินอำนาจในตำแหน่งของคณบดี (7) การประเมินอำนาจในการควบคุมสภาพการณ์ในการนำของคณบดี (8) การประสานแบบของพฤติกรรมผู้นำให้เข้ากับสภาพการณ์ในการนำของคณบดี (9) การปรับเปลี่ยนสภาพการณ์ในการนำของคณบดี (10) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ

จากการนำบทเรียนสำเร็จรูปไปทดลองใช้ 3 ครั้ง กับคณบดีที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 49 คน พบว่าส่วนใหญ่มีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการจัดพิมพ์ การใช้กรณีตัวอย่างควรให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ทำงานของคณบดีหรือในสถาบันราชภัฏ และการใช้คำ ข้อความ และศัพท์เฉพาะควรให้มี ความสอดคล้องและต่อเนื่องกัน ส่วนผลการทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปในการทดลองครั้งที่ 3 พบว่า ชุดแต่ละชุดของบทเรียนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 และบทเรียนสำเร็จรูปทุกชุดมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนากลุ่มตัวอย่างคณบดีให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ระหว่างก่อนและหลังการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01.

 

ภูมิหลังของปัญหาการวิจัย

“…การทำงานทุกอย่างต้องมีการเกี่ยวข้องประสานประโยชน์กับผู้อื่นเสมอ จึงต้องรู้จักทำตัวให้ใจกว้าง ให้เห็นความสำคัญของผู้อื่นเท่ากับความสำคัญของตนเองและงานของตน และสำคัญที่สุดต้องเข้าใจให้ถูกว่าการประสานงานกันนั้น คือ ไม่แบ่งฝ่ายแบ่งพวกกัน ไม่แย่งประโยชน์ ไม่แย่งความชอบกัน หากแต่ปรองดองกันด้วยความจริงใจ เห็นใจ และเข้าใจ โดยมุ่งหวังผลสำเร็จร่วมกันเป็นสำคัญกว่าสิ่งอื่น ๆ …” (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. 2529) ดังนั้นการบริหารงานใด ๆ จะเกิดประสิทธิผลได้ หัวหน้าจะต้องใช้ภาวะผู้นำกระจายความรับผิดชอบอย่างเป็นธรรมไปสู่ผู้ใต้บังคับบัญชาในหน่วยงานของตน ถึงแม้ว่าไม่มีปัจจัยใดที่สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงภายในหน่วยงานก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่จะปรับปรุงและพัฒนาได้ตลอดเวลาก็คือ ภาวะผู้นำของหัวหน้าหน่วยงาน (Owen. 1981 : 145) บนพื้นฐานที่ว่า ไม่มีรูปแบบการบริหารใด ที่เหมาะสมกับทุกสภาพการณ์ ในทำนองเดียวกันย่อมไม่มีผู้นำคนใดที่จะเหมาะสมกับการบริหารงานในทุกองค์การและทุกสถานการณ์ ดังนั้นหัวหน้าหน่วยงานจึงต้องมีความสามารถในการใช้ภาวะผู้นำให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (McCorkle and others. 1982 : 190) โดยสามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับทุกสถานการณ์ได้และใช้ความรู้ความสามารถของตนให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารงานอย่างมีประสิทธิผลด้วย

สถาบันราชภัฏเป็นองค์การทางวิชาการที่มีลักษณะพิเศษด้านโครงสร้างของอำนาจ และการใช้อำนาจขององค์การ กล่าวคือสถาบันเป็นองค์การที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างลักษณะขององค์การแนวดิ่ง (Vertical Organization) ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างของอำนาจและการใช้อำนาจรวมอยู่ระดับบนขององค์การ มีลักษณะสำคัญของการบริหารเน้นหนักทางด้านการสื่อสาร และการควบคุมจากเบื้องบน และอีกลักษณะหนึ่งก็คือ ลักษณะขององค์การแบบแนวนอน (Horizontal Organization) ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างของอำนาจและการใช้อำนาจมิได้รวมอยู่ระดับบนขององค์การ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นไปในลักษณะร่วมกันรับผิดชอบต่อความสำเร็จและประสิทธิผลของงานมากกว่ายึดถืออำนาจของตำแหน่ง และอำนาจตามสายบังคับบัญชา (Likert. 1961 : 234) คือเป็นองค์การที่มีโครงสร้างของอำนาจและการใช้อำนาจตามกฎหมายเหมือนกับส่วนราชการอื่น และในงานเดียวกัน มีโครงสร้างของอำนาจที่ไม่เป็นทางการอยู่ด้วย จึงทำให้ผู้บริหารทุกระดับ อาทิ อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี และโดยเฉพาะคณบดี ต้องสามารถผสมผสานการใช้อำนาจในหน้าที่ที่เหมาะสม สอดคล้องกับบทบาท หน้าที่ ในสถานการณ์ต่าง ๆ ขององค์การด้วย (Morris. 1981 : 7) นอกจากนั้น ลักษณะพิเศษขององค์การทางวิชาการ ก็คือเป็นองค์การที่เสมือนว่ามีเป้าหมายคลุมเครือ เป็นองค์การมักจะเกิดปัญหาทางด้านเทคโนโลยี เป็นองค์การที่ประกอบด้วยนักวิชาชีพชั้นสูงสาขาต่าง ๆ และเป็นองค์การแบบอนาธิปไตย (Riley and Baldridge. 1977 : 7) ลักษณะเหล่านี้ จึงทำให้การบริหารงานในคณะจะเกิดประสิทธิผลได้ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญมากมาย อาทิ คุณลักษณะผู้นำ พฤติกรรมผู้นำ ลักษณะสภาพการณ์ของคณะหรือหน่วยงาน เป็นต้น (Hoy and Miskel . 1982 : 248)

การปรับบทบาท หน้าที่ของสถาบันราชภัฏตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 กำหนดให้สถาบันราชภัฏเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการวิจัย ให้การบริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และผลิตครูและส่งเสริมวิทยะฐานะของครู (ราชกิจจานุเบกษา. 2538 ; เล่มที่ 112 ตามที่ 4 ก) ซึ่งมีผลทำให้เกิดการปรับโครงสร้างของหน่วยงาน ภารกิจ พร้อมทั้งปรับและเพิ่มหลักสูตรทั้งในระดับปริญญาตรี และสูงกว่า เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับสายการบังคับบัญชานั้น สถาบันราชภัฏประกอบด้วยผู้บริหารระดับต่าง ๆ ได้แก่ อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการสำนัก ประธานโปรแกรมวิชา และหัวหน้าฝ่าย (หนังสือที่ ศธ. 1502.6/ว 8881 สำนักงานสถาบันราชภัฏ ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542) ซึ่งผู้บริหารทุกระดับจะต้องปรับบทบาทและภารกิจให้สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะคณบดีซึ่งเป็นผู้บริหารระดับกลางมีความสำคัญที่สุดต่อการบริหารวิชาการในสถาบันราชภัฏเพราะต้องประสานงานระหว่าง ผู้บริหารระดับสูงเช่นอธิการบดี รองอธิการบดี และผู้ช่วยอธิการบดีกับผู้บริหารระดับปฏิบัติการ เช่น ประธานโปรแกรมวิชา นอกจากนั้นจะต้องปฏิบัติหน้าที่และบทบาทตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติ และต้องรับผิดชอบการสอนซึ่งเป็นงานประจำอยู่แล้ว คณบดียังต้องรับผิดชอบต่อภารกิจอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาอีกด้วย นอกจากนั้นสิ่งที่น่าหนักใจสำหรับคณบดี ก็คือ คณบดีไม่สามารถที่จะทำงานให้เสร็จทีละอย่าง การทำงานของคณบดีจะเน้นที่กระบวนการมากกว่าผลของงาน เน้นการเผชิญปัญหามากกว่ารับผลสำเร็จของปัญหา คณบดีจึงต้องผลักดันงานด้านต่าง ๆ ให้ก้าวหน้า ให้หลุดพ้นจากงานประจำของคณบดี เป็นต้น (Morris. 1981 : 8) จึงทำให้คณบดี มีปริมาณงานมากกว่าผู้บริหารในตำแหน่งอื่น ๆ ในสถาบันราชภัฏ ผลดังกล่าวจึงมีส่วนทำให้คณบดีปฏิบัติภารกิจได้ไม่ครอบคลุม จนบางครั้งถูกมองว่าเป็นผู้ที่ขาดความร่วมมือในการปฏิบัติงาน หรือบางรายต้องลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระเนื่องจากไม่สามารถรับผิดชอบภารกิจต่าง ๆ ได้ดี และครอบคลุมเพียงพอ ปัญหาดังกล่าวเมื่อพิจารณาจากองค์รวมของคณบดีแต่ละบุคคล สามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหาที่สำคัญที่สุดในบรรดาปัญหาต่าง ๆ ของคณบดีก็คือ คุณภาพภาวะผู้นำของคณบดี ทั้งนี้เนื่องจากมีผลการวิจัยเชิงประจักษ์ได้ให้ข้อสรุปที่สอดคล้องกันว่า คุณภาพภาวะผู้นำจะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์การได้

การบริหารงานในสถาบันราชภัฏเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) ก็คือ เพื่อให้สถาบันปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ของสถาบันในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นผู้มีสติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม สุขภาพ และพลานามัยสมบูรณ์ ใฝ่รู้ รักและผูกพันกับท้องถิ่น สามารถประกอบอาชีพและพึ่งตนเองได้ สามารถปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม และเกื้อหนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทั้งในท้องถิ่นและระดับประเทศ โดยมุ่งเน้นการให้โอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ท้องถิ่น (แผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 8 พ.ศ. 2540-2544. สถาบันราชภัฏสกลนคร 2540 : 11) ซึ่งการบริหารงานให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ หน่วยงานในสถาบันราชภัฏที่มีความสำคัญยิ่งก็คือคณะซึ่งเป็นหัวใจของการบริหารวิชาการในสถาบันราชภัฏจะต้องปรับเปลี่ยนทิศทางการบริหารวิชาการให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 8 ดังที่กล่าวมาแล้ว คณบดีจึงเป็นปัจจัยด้านบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดในการสร้างประสิทธิผลให้แก่คณะและประสิทธิภาพการบริหารงาน ดังนั้น ถ้าสถาบันราชภัฏใดสามารถแสวงหาคณบดีที่มีความพร้อมทางด้านวุฒิภาวะ คุณลักษณะ ศักยภาพ ความรู้ ความสามารถทางด้านศาสตร์และศิลป์ในการบริหารงาน รวมทั้งมีภาวะผู้นำที่มีคุณภาพย่อมทำให้สถาบันนั้นมีแนวโน้มที่จะดำเนินกิจการจนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน อนึ่งการตัดสินใจยากที่สุดประการหนึ่งในการบริหารงาน คือการตัดสินว่าบุคคลประเภทใดที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นผู้นำ เช่นเดียวกับการตัดสินใจว่าบุคคลประเภทใดที่สมควรเป็นคณบดี จึงจำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลประกอบการพิจารณา อาทิ ผลงานในอดีตจะเป็นดัชนีบ่งชี้ว่า เขาจะทำได้ดีเพียงใดในอนาคต ดังนั้นการแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับ คุณสมบัติแบบพฤติกรรมผู้นำ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และ คุณลักษณะและสภาพการณ์อื่น ๆ ของผู้บริหารและผู้นำที่ประสบผลสำเร็จจึงมีความจำเป็นสำหรับสถาบันราชภัฏ ผู้วิจัยจึงประสงค์ที่จะศึกษาถึงปัจจัยภาวะผู้นำของคณบดีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของคณบดี และสืบค้นต่อไปถึงอิทธิพลของภาวะผู้นำและสภาพแวดล้อมทาง ภารกิจของคณบดีที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของคณบดีหรือไม่ และแสวงหาทฤษฎีต้นแบบประสิทธิผลภาวะผู้นำหรือ ประสิทธิผลการทำงานของคณบดีจะมีลักษณะเช่นใด และแสวงหาประสิทธิผลการทำงานของคณบดีอยู่ระดับใด ทั้งนี้โดยอาศัยกรอบแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับประสิทธิผลภาวะผู้นำทางการศึกษาของ ฮอย และมิสเกล (Hoy and Miskel. 1982) ทฤษฎีประสิทธิผลภาวะผู้นำตามสภาพการณ์ของฟีดเลอร์ (Fiedler. 1967) และทฤษฎีต้นไม้ จริยธรรมของดวงเดือน พันธุมนาวิน (2530) เป็นแนวทางการวิจัย ซึ่งผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการกำหนดแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของคณบดี และการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานในสถาบันราชภัฏต่อไป

การพัฒนาบุคลากรให้มีความรอบรู้เฉพาะทางนั้นสามารถพัฒนาได้หลายแนวทาง โดยมากสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏและสถาบันราชภัฏได้ใช้วิธีการให้ผู้รับการพัฒนามารับฟังบรรยายจากวิทยากร ในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ในช่วงเวลาที่กำหนดให้ วิธีการดังกล่าวแม้จะให้ผลดีที่ผู้รับการพัฒนาได้รับความรู้ความเข้าใจจากวิทยากรโดยตรง มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันกับบุคคลอื่น แต่ก็มีข้อจำกัดบางประการ เช่น การอยู่กันกระจัดกระจายของบุคลากร ถ้าหากจะพัฒนาให้ทั่วถึงก็เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรด้านต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นในกรณีการพัฒนาประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏทั่วประเทศ จึงมีข้อจำกัดในความกระจัดกระจายของสถานที่ตั้งสถาบันซึ่งอยู่ทั่วประเทศ และความสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยเฉพาะด้านงบประมาณ ถ้าหากจะพัฒนาให้ทั่วถึง ดังนั้นวิธีการพัฒนาแบบเดิมจึงไม่มีความเหมาะสม เพราะความจำกัดในด้านทรัพยากรด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านกำลังคน กำลังเงิน วัสดุอุปกรณ์และเวลา วิธีการที่อาจจะกระทำได้อย่างเหมาะสมมากกว่า คือ วิธีการให้คณบดีได้ศึกษาด้วยตนเองจากสื่อการเรียนรู้ที่ผู้ดำเนินการพัฒนาจัดให้

ความเป็นไปได้ประการหนึ่งที่จะให้คณบดีในสถาบันราชภัฏมีความรู้ ความสามารถ ในด้านการปรับปรุงประสิทธิผลภาวะผูนำก็คือ การใช้ "บทเรียนสำเร็จรูปหรือชุดฝึกด้วยตนเอง" ซึ่งเป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ที่มีความงดงามคงทน เคลื่อนย้ายง่าย เข้าถึงประชากรเป้าหมายได้ทุกสภาวะภูมิประเทศ ผลิตง่ายราคาถูกกว่าการผลิตสื่อประเภทอื่นๆ และเป็นที่คุ้นเคยของผู้รับการพัฒนาเป็นอย่างดี (Worthen. 1985 : 4037) นอกจากนี้บทเรียนสำเร็จรูปที่พัฒนาขึ้นนี้ได้อาศัยหลักการสอนแบบโปรแกรม หรือแบบสำเร็จรูป (Programmed Instruction) ซึ่งมีการวางแผนในการพัฒนาไว้ล่วงหน้าอย่างรอบคอบ มีการกำหนดวัตถุประสงค์การพัฒนาที่ชัดเจน อาศัยหลักการเรียนรู้ที่สำคัญหลายประการ ซึ่งจะทำให้คณบดีเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ได้ดีพอ ๆ กับการรับฟังจากการบรรยายที่วิทยากร มีการเตรียมตัวล่วงหน้าอย่างดี (Meyer.1984 : 48) ด้วยเหตุนี้ การวิจัยครั้งนี้จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปเพื่อปรับปรุงประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ โดยอาศัยหลักการสอนแบบโปรแกรมดังกล่าว เพื่อให้ได้สื่อการเรียนรู้สำหรับพัฒนาคณบดีในสถาบันราชภัฏที่มีประสิทธิภาพต่อไป

ปัญหาการวิจัย

1. ปัจจัยภาวะผู้นำของคณบดี ซึ่งประกอบด้วย ชีวสังคม จิตลักษณะ พฤติกรรมผู้นำ และสภาพแวดล้อมทางภารกิจ จะส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของคณบดีทั้งด้านประสิทธิผลของคณบดี และ ด้านประสิทธิผลของคณะหรือไม่

2. คณบดีที่มีปัจจัยภาวะผู้นำแตกต่างกัน จะมีประสิทธิผลการทำงานทั้งด้านประสิทธิผลของคณบดี และด้านประสิทธิผลของคณะ แตกต่างกันหรือไม่

3. ทฤษฎีของฟีดเลอร์และทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมหรือจิตลักษณะ 5 ประการ สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการทำงานของคณบดีทั้งด้านประสิทธิผลของคณบดี และประสิทธิผลของคณะในพฤติกรรมผู้นำประเภทต่าง ๆ ได้หรือไม่

4. ทฤษฎีต้นแบบประสิทธิผลการทำงานของคณบดีมีลักษณะอย่างไร

5. ประสิทธิผลการทำงานของคณบดีทั้งด้านประสิทธิผลของคณบดี และด้านประสิทธิผลของคณะอยู่ในระดับใด

6. ร่างบทเรียนสำเร็จรูปมีส่วนประกอบอะไรบ้าง

7. ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปมีวิธีการศึกษาได้โดยวิธีใด มีประสิทธิภาพหรือไม่อย่างไร

จุดมุ่งหมายของการวิจัย

1. เพื่อแสวงหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลการทำงานของคณบดีด้านประสิทธิผลของคณบดี และด้านประสิทธิผลของคณะ โดยศึกษาอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการทำงานของคณบดี จากปัจจัยด้านชีวสังคมของคณบดี ด้านจิตลักษณะของคณบดี ด้านพฤติกรรมผู้นำของคณบดี ด้านสภาพแวดล้อมทางภารกิจของคณบดี ตัวแปรคุณลักษณะด้านพฤติกรรมความร่วมมือในการทำงานของคณบดี และสภาพความคงอยู่ในตำแหน่งของคณบดี

2. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการทำงานของคณบดีด้านประสิทธิผลของคณบดี และประสิทธิผลของคณะที่มีปัจจัยภาวะผู้นำแตกต่างกัน

3. เพื่อศึกษาการใช้ทฤษฎีของฟีดเลอร์และทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมหรือจิตลักษณะ 5 ประการ พยากรณ์ประสิทธิผลการทำงานของคณบดีทั้งด้านประสิทธิผลของคณบดี และด้านประสิทธิผลของคณะในพฤติกรรมผู้นำประเภทต่าง ๆ

4. เพื่อศึกษาทฤษฎีต้นแบบประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดี

5. เพื่อศึกษาระดับของประสิทธิผลการทำงานของคณบดี ด้านประสิทธิผลของคณบดีและด้าน

ประสิทธิผลของคณะ

6. เพื่อให้ได้ร่างบทเรียนสำเร็จรูปที่มีส่วนประกอบต่าง ๆ ตามที่กำหนดครบถ้วน คือ ชื่อบทเรียนสำเร็จรูป คำแนะนำในการใช้บทเรียน แนวคิด วัตถุประสงค์ เนื้อหา แบบประเมินตนเอง ท้ายบท เอกสารอ่านประกอบ และรายชื่อเอกสารอ้างอิง (ถ้ามี)

7. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป โดยวิธีการต่อไปนี้

7.1 เปรียบเทียบผลการทำแบบทดสอบประจำบทเรียนกับเกณฑ์มาตรฐาน 90/90

7.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ระหว่างก่อนและหลังการศึกษาบทเรียนสำเร็จรูปทุกชุด

 

ความสำคัญของการวิจัย

1.ผลการวิจัยนี้จะเป็นข้อมูลเพื่อใช้ในการบ่งชี้คุณลักษณะและคุณสมบัติของคณบดีที่มีประสิทธิผล เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานในสถาบันราชภัฏ

2. ผลการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับพัฒนาตนเอง โดยการปรับพฤติกรรมผู้นำของคณบดีให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางภารกิจของคณบดี เพื่อเพิ่มประสิทธิผลการทำงานของคณบดี และสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการพัฒนาประสิทธิผลภาวะผู้นำของผู้บริหารที่กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่หรือการเตรียมผู้บริหารของสถานฝึกอบรมผู้บริหาร สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ และสถาบันราชภัฏ

3. ทำให้ได้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การแสวงหาภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏที่จะนำไปใช้พัฒนาคณบดีด้วยวิธีการศึกษาด้วยตนเอง ไม่ว่าคณบดีจะอยู่ในสถาบันราชภัฏแห่งไหน ทำให้เกิดการเพิ่มพูน ความรู้ ความสามารถ และเกิดทักษะการใช้ภาวะผู้นำของคณบดี เพื่อการบริหารงานในคณะต่าง ของสถาบันราชภัฏให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป

    1. ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นการใช้ทฤษฎีประสิทธิผลภาวะผู้นำตามสภาพการณ์ของฟีดเลอร์และทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมของดวงเดือน พันธุมนาวิน ในการวิจัยผู้บริหารอุดมศึกษาในประเทศไทย

 

5. ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้เกิดองค์ความรู้ด้านประสิทธิผลภาวะผู้นำของผู้บริหารอุดมศึกษาระดับคณบดีในสถาบันราชภัฏ

6. ผลการวิจัยจะเป็นข้อมูล เพื่อใช้สำหรับกำหนดแนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการ ในสถาบันราชภัฏ

7. ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางการวิจัยเชิงพัฒนาสำหรับการวิจัย เพื่อพัฒนาประสิทธิผลภาวะผู้นำของผู้บริหารทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่อไป

 

กรอบแนวคิดในการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ผสมผสานทฤษฎีการบริหารการศึกษาและทฤษฎีทางจิตวิทยาสังคมต่อไปนี้มากำหนดเป็นกรอบของการอธิบายและพยากรณ์ประสิทธิผลการทำงานของคณบดีในสถาบันราชภัฏ คือ

1. กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาประสิทธิผลภาวะผู้นำทางการศึกษาของฮอยและมิสเกล (Hoy and Miskel. 1982 : 248) ซึ่งอธิบายว่า ประสิทธิผลขององค์การควรวิเคราะห์จากองค์ประกอบที่สำคัญ คือ คุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารการศึกษา พฤติกรรมผู้นำ และคุณลักษณะของสภาพการณ์ขององค์การทางการศึกษา สำหรับการวิจัยครั้งนี้จะยึดปัจจัยที่สำคัญอยู่ 4 ประการ คือ ด้านชีวสังคมของคณบดี จิตลักษณะของคณบดี พฤติกรรมผู้นำของคณบดี และ สภาพแวดล้อมทางภารกิจของคณบดี

2. ทฤษฎีประสิทธิผลภาวะผู้นำตามสภาพการณ์ของฟีดเลอร์ (Fiedler’s Contingency Theory of Leadership Effectiveness) กล่าวว่า ประสิทธิผลภาวะผู้นำหรือองค์การขึ้นอยู่นกับผลรวมของแบบของพฤติกรรมผู้นำและสภาพการณ์ที่เหมาะสม (Hoy and Miskel 1982 : 235 ; citing Fiedler. 1967)

3. ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมของดวงเดือน พันธุมนาวิน (2538 : 2-17) กล่าวว่าพฤติกรรมความเป็นคนดี และคนเก่ง มีองค์ประกอบทางจิตที่เกี่ยวข้องอยู่ 8 ประการ สำหรับการวิจัยนี้นำมาศึกษา 5 ประการ คือ ความเชื่ออำนาจในตน ลักษณะมุ่งอนาคต ความมีเหตุผลเชิงจริยธรรม สุขภาพจิตและเจตคติที่ดีต่องาน

4. ผลการวิจัยของนักวิจัยในประเทศไทยและต่างประเทศมากำหนดคุณลักษณะที่สำคัญ 2 ประการ ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารอุดมศึกษา คือ พฤติกรรมความร่วมมือของคณบดี หรือพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการบริหารของคณบดี (เจิดหล้า สุนทรวิภาต. 2532 ; อ้างอิงจาก Parten. 1933) และสภาพความคงอยู่ในตำแหน่งของคณบดี หรือ ความผูกพันต่อตำแหน่งของคณบดี (สุจิตรา จรจิตร และปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. 2532 ; อ้างอิงจาก Cook and others. 1981 และ Porter and others. 1973, 1974, 1975)

5. ผลการวิจัยของนักวิจัยต่างประเทศมากำหนดกรอบของประสิทธิผลการทำงานของคณบดี 2 ลักษณะ คือ ประสิทธิผลของคณบดี และ ประสิทธิผลของคณะ (Chemers and Ayman. 1985)

6. ผลการวิจัยของนักวิจัยในประเทศไทย และต่างประเทศมากำหนดเป็นแนวทางการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป (วิโรจน์ สารรัตนะ. 2532 ; อ้างจาก Espich and Williams. 1967 และ Romiszoski. 1986) ซึ่งแสดงให้เห็นดังภาพประกอบที่ 1 และ 2 ดังนี้

 

 wpeA.jpg (33692 bytes) 

 

ภาพประกอบที่ 1 กรอบแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้สำหรับการวิจัย เพื่อศึกษาลักษณะ

และตัวแบบประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดี

ขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัยเชิงพัฒนา

จากการศึกษาวิจัยเพื่อศึกษาลักษณะและตัวแบบประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดี และการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการวิจัยออกเป็น 12 ขั้นตอน ดังนี้

1. ศึกษาลักษณะและตัวแบบประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดี (ภาพประกอบที่ 1)

2. กำหนดหัวเรื่อง

3. กำหนดหัวเรื่องย่อยของแต่ละหัวเรื่อง

4. ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบหัวเรื่องและหัวเรื่องย่อย

5. ปรับปรุงแก้ไขหัวเรื่องและหัวเรื่องย่อย

6. ยกร่างบทเรียนสำเร็จรูป

7. การทดลองใช้บทเรียนสำเร็จรูปครั้งที่ 1

8. การปรับปรุงแก้ไขบทเรียนสำเร็จรูปครั้งที่ 1

9. การทดลองใช้บทเรียนสำเร็จรูปครั้งที่ 2

10. การปรับปรุงแก้ไขบทเรียนสำเร็จรูปครั้งที่ 2

11. การทดลองใช้บทเรียนสำเร็จรูปครั้งที่ 3

12. การปรับปรุงแก้ไขบทเรียนสำเร็จรูปครั้งที่ 3

การดำเนินงานวิจัยทั้ง 12 ขั้นดังกล่าวได้แสดงให้เห็นในภาพประกอบที่ 2 ดังนี้

wpe4.jpg (44968 bytes)

 

ภาพประกอบที่ 2 ขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัยเชิงพัฒนาเพื่อปรับปรุง

ประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ

 

ขอบเขตของการวิจัย

ขอบเขตของการวิจัยในที่นี้จะกล่าวถึงเรื่องเนื้อหาการศึกษาวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง และตัวแปรที่ศึกษา ดังนี้

 

เนื้อหาการศึกษาวิจัย

1. การศึกษาวิจัยตอนที่ 1 ศึกษาเฉพาะปัจจัยภาวะผู้นำของคณบดีซึ่งประกอบด้วย ด้านชีวสังคมของคณบดี จิตลักษณะของคณบดี พฤติกรรมผู้นำของคณบดี สภาพแวดล้อมทางภารกิจของคณบดี พฤติกรรมความร่วมมือของคณบดี และสภาพความคงอยู่ในตำแหน่งของคณบดี ส่วนประสิทธิผลการทำงานของคณบดี จะศึกษาประสิทธิผลของคณบดี และประสิทธิผลของคณะ

2. การวิจัยเชิงพัฒนาเป็นความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ จำกัดขอบเขตเฉพาะประสิทธิผลภาวะผู้นำตามลักษณะและตัวแบบ ซึ่งได้รับผลจากการวิจัยจากเนื้อหาการศึกษาวิจัย ข้อที่ 1 และผู้วิจัยศึกษาวิเคราะห์ได้ ซึ่งได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว

3. การวิจัยนี้มุ่งพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เพื่อใช้พัฒนาคณบดีในสถาบันราชภัฏทั้งในด้านความรู้ความสามารถในเชิงทฤษฎีและด้านปฏิบัติ โดยการเสนอเนื้อหาทั้งที่เป็นภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยตอนที่ 1 คือ คณบดีทุกคนที่กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสถาบันราชภัฏทั้ง 36 สถาบัน ระหว่างปีการศึกษา 2540-2541 จำนวน 156 คน สำหรับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ประกอบด้วยรองอธิการบดีผ่ายวิชาการจำนวน 18 คน คณบดี จำนวน 116 คน และอาจารย์ที่เป็นผู้แทนคณะ จำนวน 553 คน ซึ่งได้จากสถาบันราชภัฏที่เป็นหน่วยตัวอย่าง ทั้งหมดจำนวน 26 สถาบัน

2. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเชิงพัฒนา คือ คณบดีทุกคนที่กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสถาบันราชภัฏทั้ง 36 สถาบัน ระหว่างปีการศึกษา 2543 สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำหรับการวิจัยเชิงพัฒนาครั้งนี้ คือ คณบดีในสถาบันราชภัฏที่เป็นหน่วยตัวอย่างสำหรับทดลองบทเรียนสำเร็จรูปครั้งที่ 1 คือ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 4 คน ครั้งที่ 2 คือ สถาบันราชภัฏเลย จำนวน 5 คนและครั้งที่ 3 คือสถาบันราชภัฏสกลนคร อุดรธานี นครราชสีมา อุบลราชธานี บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ธนบุรี พระนคร เชียงใหม่ ลำปาง กำแพงเพชร พิบูลสงคราม พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ราชนครินทร์ ลพบุรี เพชรบุรี หมู่บ้านจอมบึง ยะลา นครศรีธรรมราช และสงขลา โดยสุ่มอย่างง่าย สถาบันละ 2 คน ได้กลุ่มตัวอย่างคณบดีจำนวน 40 คน

 

ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรที่ศึกษาในการวิจัยตอนที่ 1 มีตัวแปรควบคุม ตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ตัวแปรอิสระและตัวแปรควบคุม ประกอบด้วย

 

1.1 ด้านชีวสังคมของคณบดี ประกอบด้วย

1.1.1 เพศของคณบดี

1.1.2 อายุของคณบดี

1.1.3 วุฒิทางการศึกษาของคณบดี

1.1.4 ตำแหน่งทางวิชาการของคณบดี

1.1.5 ประสบการณ์ในตำแหน่งของคณบดี

 

1.2 ด้านจิตลักษณะของคณบดี ประกอบด้วย

1.2.1 ความเชื่ออำนาจในตนของคณบดี

1.2.2 ลักษณะมุ่งอนาคตของคณบดี

1.2.3 ความมีเหตุผลเชิงจริยธรรมของคณบดี

1.2.4 สุขภาพจิตของคณบดี

1.2.5 เจตคติที่ดีต่องานของคณบดี

1.3 ด้านพฤติกรรมผู้นำของคณบดี ประกอบด้วย

1.3.1 พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งงาน

1.3.2 พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งสัมพันธ์

 

1.4 ด้านสภาพแวดล้อมทางภารกิจของคณบดี ประกอบด้วย

1.4.1 ความสัมพันธ์ระหว่างคณบดีกับสมาชิกในคณะ

1.4.2 โครงสร้างของงานในคณะ

1.4.3 อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของคณบดี

 

1.5 พฤติกรรมความร่วมมือของคณบดี

1.6 สภาพความคงอยู่ในตำแหน่งของคณบดี

2. ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิผลการทำงานของคณบดี ประกอบด้วย

2.1 ประสิทธิผลของคณบดี

2.2 ประสิทธิผลของคณะ

 

ข้อตกลงเบื้องต้น

บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การแสวงหาภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏนี้ได้พัฒนาขึ้นโดยอาศัยหลักการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ การให้ผู้รับการพัฒนาได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนอย่างกระตือรือร้นจากการมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับคำถาม การเสริมแรงจากการให้ทราบผลการเรียนรู้เป็นระยะ ๆ และในทันที มีการจูงใจโดยเสนอเนื้อหาเป็นเรื่อง ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีทั้งภาคทฤษฎีที่สอดคล้องกับลักษณะและตัวแบบ ประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏในผลการวิจัยตอนที่ 1 ตลอดจนอาศัยหลักการสอนเพื่อความรอบรู้ จึงทำให้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องนี้สามารถพัฒนาคณบดีให้สามารถถ่ายโยงการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติจริงได้

สมมุติฐานการวิจัย

เพื่อแสดงถึงผลการวิจัยตอนที่ 1 ผู้วิจัยได้ตั้งสมมุติฐานการวิจัยให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัยไว้ดังนี้

จุดมุ่งหมายการวิจัยข้อที่ 1 เพื่อแสวงหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลการทำงานของคณบดี ด้านประสิทธิผลของคณบดี และด้านประสิทธิผลของคณะ โดยการศึกษาอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการทำงานของคณบดี จากปัจจัยด้านชีวสังคมคณบดี ด้านจิตลักษณะของคณบดี ด้านพฤติกรรมผู้นำของคณบดี ด้านสภาพแวดล้อมทางภารกิจของคณบดี ตัวแปรทางคุณลักษณะด้านพฤติกรรมความร่วมมือในการทำงานของคณบดี และสภาพความคงอยู่ในตำแหน่งของคณบดี

สมมุติฐานการวิจัยข้อที่ 1 ปัจจัยด้านชีวสังคมของคณบดีทั้ง 5 ตัวแปร จิตลักษณะของคณบดี 5 ลักษณะ พฤติกรรมผู้นำคณบดี สภาพแวดล้อมทางภารกิจกับ 3 ตัวแปร ร่วมกับพฤติกรรมความร่วมมือในการทำงาน และสภาพความคงอยู่ในตำแหน่งของคณบดี ร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการทำงานของคณบดีด้านประสิทธิผลของคณบดี และด้านประสิทธิผลของคณะได้

จุดมุ่งหมายการวิจัยข้อที่ 2 เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการทำงานของคณบดีด้านประสิทธิผลของคณบดี และประสิทธิผลของคณะที่มีปัจจัยภาวะผู้นำแตกต่างกัน

สมมุติฐานการวิจัยข้อที่ 2 ตัวแปรและปัจจัยภาวะผู้นำของคณบดีที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อ ประสิทธิผลการทำงานของคณบดีด้านประสิทธิผลของคณบดีและประสิทธิผลของคณะแตกต่างกัน

จุดมุ่งหมายการวิจัยข้อที่ 3 เพื่อศึกษาการใช้ทฤษฎีของฟีดเลอร์ และ ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมหรือจิตลักษณะ 5 ประการ พยากรณ์ประสิทธิผลการทำงานของคณบดีทั้งด้านประสิทธิผลของคณบดีและด้านประสิทธิผลของคณะ ในพฤติกรรมผู้นำประเภทต่าง ๆ

จุดมุ่งหมายการวิจัยข้อที่ 4 เพื่อศึกษาทฤษฎีต้นแบบประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดี

สมมุติฐานการวิจัยข้อที่ 3 ทฤษฎีต้นแบบประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ คล้ายคลึงกับทฤษฎีประสิทธิผลภาวะผู้นำของฟีดเลอร์

จุดมุ่งหมายการวิจัยข้อที่ 5 เพื่อศึกษาระดับของประสิทธิผลการทำงานของคณบดีด้านประสิทธิผลของคณบดี และด้านประสิทธิผลของคณะ

สมมุติฐานการวิจัยข้อที่ 4 ระดับประสิทธิผลการทำงานของคณบดีด้านประสิทธิผลของคณบดีและประสิทธิผลของคณะอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ

จุดมุ่งหมายการวิจัยข้อที่ 6 เพื่อให้ได้ร่างบทเรียนสำเร็จรูปที่มีส่วนประกอบต่าง ๆ ตามที่กำหนดครบถ้วน คือ ชื่อบทเรียนสำเร็จรูป คำแนะนำในการใช้บทเรียน แนวคิด วัตถุประสงค์ เนื้อหา แบบประเมินตนเองท้ายบท เอกสารอ่านประกอบ และรายชื่อเอกสารอ้างอิง (ถ้ามี)

จุดมุ่งหมายการวิจัยข้อที่ 7 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนด้วยวิธีการต่อไปนี้

7.1 เปรียบเทียบผลการทำแบบทดสอบประจำบทเรียนกับเกณฑ์มาตรฐาน 90/90

7.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ระหว่างก่อนและหลังเรียนบทเรียนสำเร็จรูปทุกชุด

สมมุติฐานการวิจัยข้อที่ 5 คะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบประจำบทเรียนแต่ละชุดของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด เมื่อคิดเป็นร้อยละแล้วได้ 90 หรือสูงกว่า

สมมุติฐานการวิจัยข้อที่ 6 ร้อยละ 90 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดทำข้อสอบข้อหนึ่ง ๆ ของ แบบทดสอบประจำบทเรียนได้ถูกต้อง

สมมุติฐานการวิจัยข้อที่ 7 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดหลังศึกษาบทเรียนสำเร็จรูปสูงกว่าก่อนศึกษาบทเรียนสำเร็จรูป

 

 

 

บทย่อผลการวิจัย

การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจลักษณะและตัวแบบประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ ได้ข้อสรุปที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการวิจัยเชิงพัฒนาครั้งนี้ คือ สามารถใช้ทฤษฎีประสิทธิผลภาวะผู้นำตามสภาพการณ์ของฟีดเลอร์ (Fiedler.1967) เป็นกรอบหลักในการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เพื่อปรับปรุงประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ

การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปเพื่อปรับปรุงประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ เป็นวิธีการหนึ่งของการพัฒนาบุคลากรของสถาบันราชภัฏที่เหมาะสมกับลักษณะการกระจายของบุคลากรที่เป็นคณบดีในสถาบันราชภัฏและเป็นการลดภาระการสิ้นเปลืองทรัพยากรด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องของงบประมาณที่จำกัดในสภาพการณ์ปัจจุบัน ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปเรื่อง การแสวงหาภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏขึ้น เพื่อให้คณบดีได้ศึกษา เรียนรู้การปรับปรุงภาวะผู้นำโดยใช้วิธีการศึกษาด้วยตัวเอง โดยมีจุดมุ่งหมายของการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปให้เกิดประสิทธิภาพภายใต้สมมุติฐานการวิจัย 3 ประการคือ

(1) คะแนนจากแบบทดสอบประจำชุดแต่ละชุดของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด เมื่อคิดเป็นร้อยละแล้วได้ 90 หรือสูงกว่า

(2) ร้อยละ 90 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดทำข้อสอบข้อหนึ่งๆ ของแบบทดสอบประจำชุดได้ ถูกต้อง และ

(3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดหลังการศึกษาบทเรียนสำเร็จรูปสูงกว่าก่อนการศึกษาบทเรียนสำเร็จรูปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

 

ผลการวิจัยครั้งนี้นำเสนอโดยสรุปดังต่อไปนี้

1. วิธีดำเนินการวิจัย

การวิจัยตอนที่ 1 เป็นการศึกษาลักษณะและตัวแบบประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ ได้ทำการศึกษากับประชากรที่ทำหน้าที่คณบดี จำนวน 156 คน ระหว่างปีการศึกษา 2540–2541 โดยการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอนมาใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ 18 คน อาจารย์ที่เป็นผู้แทนจากคณะจำนวน 553 คน และคณบดีจำนวน 116 คน จากสถาบันราชภัฏ 26 สถาบัน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ คือ แบบสอบถามฉบับที่ 1 เป็น แบบสอบถามวัดปัจจัยภาวะผู้นำของคณบดี แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้าน ชีวสังคมของคณบดี ด้านจิตลักษณะของคณบดี 5 ด้าน คือ ความเชื่ออำนาจในตนมีค่าความเชื่อมั่น 0.6679 ลักษณะมุ่งอนาคตมีค่าความเชื่อมั่น 0.6832 ความมีเหตุผลเชิงจริยธรรมมีค่าความเชื่อมั่น 0.1747 สุขภาพจิตมีค่าความเชื่อมั่น 0.8847 และเจตคติที่ดีงานมีค่าความเชื่อมั่น 0.4385 แบบสอบถามวัดพฤติกรรมผู้นำมีค่าความเชื่อมั่น 0.9470 แบบสอบถามวัดสภาพแวดล้อมทางภารกิจของคณบดี มีค่าความเชื่อมั่น 0.8800 แบบสอบถามวัดพฤติกรรมความร่วมมือของคณบดี มีค่าความเชื่อมั่น 0.7897 และแบบสอบถามวัดสภาพความคงอยู่ในตำแหน่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.7619 ส่วนฉบับที่ 2 เป็นแบบสอบถามวัดประสิทธิผลการทำงานของคณบดีด้านประสิทธิผลคณบดี มีค่าความเชื่อมั่น 0.9522 และแบบสอบถามวัดประสิทธิผลการทำงานของคณบดี ด้านประสิทธิผลของคณะ มีค่าความเชื่อมั่น 0.9238 แบบสอบถามทั้งหมดถูกส่งไปให้กลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มใน 26 สถาบัน ที่เป็นหน่วยตัวอย่าง จำนวน 687 ชุด ปรากฏว่าได้รับคืน จำนวน 615 ชุด คิดเป็นร้อยละ 89.51

การวิจัยตอนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนการดำเนินงาน 12 ขั้นตอน ดังนี้

1. การศึกษาลักษณะและตัวแบบประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ เพื่อใช้เป็นแนวทางการกำหนดหัวเรื่องที่จะพัฒนาเป็นบทเรียนสำเร็จรูป

2. การกำหนดหัวเรื่องตามผลการศึกษาวิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 1

3. การกำหนดหัวเรื่องย่อยของแต่ละหัวเรื่อง เพื่อใช้เป็นแนวทางการเสนอเนื้อหา

4. การให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบหัวเรื่องและหัวเรื่องย่อย ให้มีความถูกต้องตามหลักการ แนวคิด หรือ ทฤษฎีประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดี และให้มีความสอดคล้องกับความเป็นจริงในถาบันราชภัฏมากขึ้น

5. การปรับปรุงแก้ไขหัวเรื่องและหัวเรื่องย่อยตามข้อเสนอแนะที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญ

6. การยกร่างชุดฝึกแต่ละชุดในบทเรียนสำเร็จรูปด้วยตนเอง ให้มีจำนวนตามหัวเรื่อง

ที่กำหนดให้ 10 หัวเรื่อง แต่ละชุดให้มีส่วนประกอบต่างๆ ตามที่ผู้วิจัยกำหนด คือ ชื่อชุดฝึก คำแนะนำการใช้ชุดฝึก แนวคิด วัตถุประสงค์ เนื้อหา แบบประเมินผลตนเองตามชุดฝึก รายชื่อเอกสารอ้างอิงและเอกสารอ่านประกอบ (ถ้ามี)

7. การทดลองการใช้ชุดฝึกในบทเรียนสำเร็จรูปครั้งที่ 1 กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคณบดีในสถาบันราชภัฏมหาสารคามจำนวน 4 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการคัดเลือกอย่างเจาะจง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยตรวจสอบหาข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข

8. การปรับปรุงแก้ไขชุดฝึกในบทเรียนสำเร็จรูปครั้งที่ 1 ตามข้อเสนอแนะที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่างในขั้นที่ 7

9. การทดลองใช้ชุดฝึกในบทเรียนสำเร็จรูปครั้งที่ 2 กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคณบดีในสถาบันราชภัฏเลยจำนวน 5 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการคัดเลือกอย่างเจาะจง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ช่วยตรวจสอบหาข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข

10. การปรับปรุงแก้ไขชุดฝึกในบทเรียนสำเร็จรูปขั้นที่ 2 ตามข้อเสนอแนะที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่างในขั้นตอนที่ 9

11. การทดลองการใช้ชุดฝึกในบทเรียนสำเร็จรูปครั้งที่ 3 กับกลุ่มตัวอย่างคณบดีในสถาบันราชภัฏที่เป็นหน่วยตัวอย่าง 20 สถาบันๆ ละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายจากคณบดีทั้งหมดในแต่ละสถาบันที่เป็นหน่วยตัวอย่าง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของชุดฝึกตามสมมุติฐานการวิจัยที่กำหนด และเพื่อตรวจสอบหาข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข

12. การปรับปรุงแก้ไขชุดฝึกในบทเรียนสำเร็จรูปครั้งที่ 3 ตามข้อมูลที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่างในขั้นตอนที่ 11

2. การวิเคราะห์ข้อมูล

ข้อมูลสำหรับการวิจัยครั้งนี้ได้ทำการวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows คำนวณค่าสถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐานของการวิจัย หลายประการ คือ สถิติเชิงบรรยาย สหสัมพันธ์อย่างง่าย การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรทีละขั้น ทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 2 ทาง และแบบ 3 ทาง

3. สรุปผลการวิจัย

การดำเนินงานตามวิธีดำเนินการวิจัย 12 ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยสรุปผลวิจัยได้ดังนี้

1. ลักษณะและตัวแบบประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดี

 

1.1 สามารถใช้ทฤษฎีประสิทธิผลภาวะผู้นำตามสภาพการณ์ของฟีดเลอร์เป็นโครงสร้างหลักซึ่งประกอบไปด้วย

1.1.1คุณลักษณะด้านพฤติกรรมผู้นำของคณบดี

1.1.2 สภาพแวดล้อมทางภารกิจของคณบดี หรือ สภาพการณ์ในการนำของคณบดี ซึ่งกำหนดองค์ประกอบย่อยไว้ 3 ประการคือ

  1. ก. ความสัมพันธ์ระหว่างคณบดีกับสมาชิกในคณะ
  2. ข. โครงสร้างของงานในคณะหรือ ความชัดเจนของงานในคณะ

  3. ค. อำนาจในตำแหน่งของคณบดี

 

โดยกำหนดสภาพการณ์ในการนำของคณบดีไว้ 3 สภาพการณ์ คือ สภาพการณ์ที่เอื้อต่อการนำของคณบดีต่ำ ปานกลางและสูง

1.2 ตัวแบบการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปเพื่อปรับปรุงประสิทธิผลภาวะนำของคณบดี ผู้วิจัยได้ศึกษาจากตัวแบบบทเรียนสำเร็จรูปการปรับปรุงประสิทธิผลภาวะผู้นำของฟีดเลอร์และคณะ (Fiedler, Chemers and Mahar. 1977 ; 1989) และแนวทางการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปจากนักวิจัยในประเทศไทยและต่างประเทศ (วิโรจน์ สารรัตนะ. 2523 ; อ้างจาก Espich and Williams. 1967 และ Romiszoski. 1986) ได้ตัวแบบบทเรียนสำเร็จรูปเรื่องการแสวงหาภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏจำแนกออกเป็น 10 หัวเรื่อง คือ

1.2.1 ปฐมบท

1.2.2 การค้นหาแบบของพฤติกรรมผู้นำของคณบดี

1.2.3 ทำความเข้าใจกับสภาพการณ์ในการนำของคณบดีหรือสภาพแวดล้อมทาง

ภารกิจของคณบดี

1.2.4 การประเมินความสัมพันธ์ระหว่างคณบดีกับสมาชิกในคณะ

1.2.5 การประเมินโครงสร้างของงานในคณะ หรือความชัดเจนของงานในคณะ

1.2.6 การประเมินอำนาจในตำแหน่งของคณบดี

1.2.7 การประเมินอำนาจการควบคุมสภาพการณ์ในการนำของคณบดี หรือการ

ประเมินอำนาจในการควบคุมสภาพแวดล้อมทางภารกิจของคณบดี

  1. 1.2.8 การประสานแบบของพฤติกรรมผู้นำให้เข้ากับสภาพการณ์ในการนำ

 

1.2.9 การปรับเปลี่ยนสภาพการณ์ในการนำ

1.2.10 ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ

2. หัวเรื่องที่กำหนดได้จากลักษณะและตัวแบบเพื่อปรับปรุงประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีมี 10 หัวเรื่อง แต่ละหัวเรื่องนำไปพัฒนาเป็นชุดฝึกในบทเรียนสำเร็จรูปได้ 1 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วยหัวเรื่องย่อยที่กำหนดขึ้นจากการศึกษาเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องและได้รับการตรวจสอบ เพื่อปรับปรุงแก้ไขจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว ดังต่อไปนี้

2.1 ปฐมบท

      1. เป้าหมายที่สำคัญของคณบดีในฐานะผู้นำองค์การระดับคณะ
      2. ผู้นำ ภาวะผู้นำและประสิทธิผลภาวะผู้นำเป็นคุณลักษณะสำคัญของคณบดี
      3. ความสัมพันธ์ระหว่างคณบดีกับสมาชิกในคณะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดี

2.2 การค้นหาแบบของพฤติกรรมผู้นำของคณบดี

      1. การค้นหาแบบของพฤติกรรมผู้นำโดยใช้แบบประเมิน แอล พี ซี

2.2.2 ประเภทของพฤติกรรมผู้นำ

2.2.3 ความสัมพันธ์ระหว่างแบบของพฤติกรรมผู้นำกับสภาพการณ์ในการทำงาน

ของคณบดี

2.3 ทำความเข้าใจกับสภาพการณ์ในการนำของคณบดี

2.3.1 สภาพการณ์ในการนำของคณบดีกับประสิทธิผลการทำงานของคณบดี

2.3.2 องค์ประกอบที่เป็นเงื่อนไขต่อการควบคุมสภาพการณ์ในการทำงานของคณบดี

2.3.3 สภาพการณ์ในการทำงานของคณบดีที่แตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิผล

การทำงานของคณบดีแตกต่างกัน

    1. การประเมินความสัมพันธ์ระหว่างคณบดีกับสมาชิกในคณะ

2.4.1 ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคณบดีกับสมาชิกในคณะ

      1. การแสวงหาและอธิบายข้อมูลเชิงปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างคณบดีกับสมาชิกใน

คณะจากแบบประเมินความสัมพันธ์ระหว่างคณบดีกับสมาชิกในคณะ

    1. การประเมินความชัดเจนของงานในคณะ

2.5.1 ลักษณะและความสำคัญของความชัดเจนของงานในคณะ

2.5.2 การประเมินความชัดเจนของงานในคณะ

2.6 การประเมินอำนาจในตำแหน่งของคณบดี

2.6.1 ลักษณะและความสำคัญของอำนาจในตำแหน่งของคณบดี

2.6.2 การประเมินอำนาจในตำแหน่งของคณบดี

2.7 การประเมินอำนาจในการควบคุมสภาพการณ์ในการนำของคณบดี

      1. ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ 3 ประการ ของอำนาจการควบคุม สภาพการณ์ในการนำของคณบดี

2.7.2 ลักษณะและระดับของอำนาจการควบคุมสภาพการณ์ในการนำของคณบดี

2.7.3 แนะนำวิธีการวิเคราะห์อำนาจการควบคุมสภาพการณ์ในการนำของคณบดี

2.8 การประสานแบบของพฤติกรรมผู้นำให้เข้ากับสภาพการณ์ในการนำของคณบดี

2.8.1 การประสานแบบของพฤติกรรมผู้นำให้เข้ากับสภาพการณ์ในการนำของคณบดีได้

อย่างเหมาะสม

2.8.2 การใช้และการหลีกเลี่ยงการใช้แบบของพฤติกรรมผู้นำให้เหมาะสมกับ

สภาพการณ์ในการนำของคณบดี

2.9 การปรับเปลี่ยนสภาพการณ์ในการนำของคณบดี

2.9.1 ลักษณะของการปรับเปลี่ยนสภาพการณ์ในการนำของคณบดี

2.9.2 การปรับเปลี่ยนสภาพการณ์ในการนำของคณบดีให้เอื้อต่อแบบของ

พฤติกรรมผู้นำของคณบดี

2.10 ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ

2.10.1 สรุปผลการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีใน

สถาบันราชภัฏ

2.10.2 ปัจจัยและตัวแปรที่ส่งผลโดยตรงและโดยมีตัวแปรอื่นมากระตุ้นกับ

ประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ

3. ข้อบกพร่องของบทเรียนสำเร็จรูปซึ่งได้จากการทดลองใช้ทั้ง 3 ครั้ง และได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้ว มีดังนี้

    1. ข้อบกพร่องที่ได้จากการทดลองใช้ครั้งที่ 1-3
      1. บทเรียนสำเร็จรูปชุดที่ 1 , 2และ10 ตรวจสอบเรื่องการพิมพ์ให้ถูกต้อง
      2. บทเรียนสำเร็จรูปชุดที่ 4-9 ตรวจสอบเรื่องการพิมพ์ให้ถูกต้องและกรณี ตัวอย่างต้องปรับให้เกี่ยวข้องกับการศึกษา
      3. บทเรียนสำเร็จรูปชุดที่ 3 ควรเปลี่ยนชื่อเรื่องจาก "สภาพแวดล้อมทางภารกิจของคณบดี" เป็น "สภาพการณ์ในการนำของคณบดี"
      4. คำถามสรุปท้ายชุดที่ 5 ตัวเลือกตอบของคำถามชุดที่ 3-5 ขาดหายไป 2 ตัวเลือก คือตัวเลือก ข และ ง
      5. กรณีตัวอย่างชุดที่ 6 , 7 และ 8 ควรปรับให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในสถาบันราชภัฏ
      6. ปรับปรุงคำถามและตัวเลือกตอบของแบบทดสอบภาวะผู้นำของคณบดี 6 ข้อคือข้อ 2,3,4,7,11และ14 ให้เหมาะสม
      7. การใช้ภาษาในบทเรียนทุกชุดควรสอดคล้องกัน โดยเฉพาะศัพท์หรือข้อความที่มีความหมายเฉพาะ
      8. กรณีตัวอย่างควรปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพการทำงานของคณบดีให้มากขึ้น
      9. คำถามสรุปท้ายชุดของบทเรียนที่เป็นแบบทดสอบบางข้อมีลักษณะซ้ำซ้อน

4. ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป ซึ่งเป็นผลมาจากการทดลองใช้ชุดฝึกในบทเรียนสำเร็จรูปครั้งที่ 3 มีผลสรุป 2 ลักษณะดังนี้

    1. ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปแต่ละชุดตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 พบว่าชุดฝึกในบทเรียนสำเร็จรูปมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90 ตัวแรกทุกชุด กล่าวคือแต่ละชุดมีคะแนนเฉลี่ยจากแบบคำถามสรุปท้ายชุดฝึกของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด เมื่อคิดเป็นร้อยละแล้วได้ 90 หรือสูงกว่า และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90 ตัวหลัง กล่าวคือ คำถามสรุปท้ายชุดฝึกของกลุ่ม ตัวอย่างทั้งหมดที่วัดการบรรลุวัตถุประสงค์ของบทเรียนแต่ละชุด กลุ่มตัวอย่างทำได้ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 90 หรือสูงกว่าทุกวัตถุประสงค์
    2. ประสิทธิภาพของชุดฝึกรวมทุกชุดในบทเรียนสำเร็จรูป จากการเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนและหลังการศึกษาชุดฝึกในบทเรียนสำเร็จรูปทุกชุด พบว่าชุดฝึกรวมกันทุกชุดมีประสิทธิภาพที่สามารถพัฒนากลุ่มตัวอย่างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

 

การอภิปรายผล

ผลการวิจัยสรุปข้างต้นสามารถอภิปรายผลได้ดังนี้

1. ลักษณะและตัวแบบประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ จากการศึกษาวิจัยตอนที่ 1 พบว่า สามารถนำทฤษฎีประสิทธิผลภาวะผู้นำตามสภาพการณ์ของฟีดเลอร์ (Fiedler. 1967) มาใช้เป็นโครงสร้างหลักในการกำหนดลักษณะและตัวแบบ ซึ่งประกอบด้วย (1) คุณลักษณะด้านพฤติกรรมผู้นำของคณบดี (2) สภาพแวดล้อมทางภารกิจของคณบดีหรือสภาพการณ์ในการนำของคณบดี ซึ่งกำหนดองค์ประกอบย่อยได้ 3 ประการ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างคณบดีกับสมาชิกในคณะ โครงสร้างของงานในคณะและอำนาจในตำแหน่งของคณบดี โดยการกำหนดสภาพการณ์ในการนำของคณบดีไว้ 3 สภาพการณ์ คือ สภาพการณ์ที่เอื้อต่อคณบดีต่ำ ปานกลาง สูง ส่วนจิตลักษณะของคณบดีจากทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมของ ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2538) ที่สำคัญ ที่ค้นพบจากการวิจัยตอนที่ 1 คือ เจตคติที่ดีต่อการทำงานของคณบดี ลักษณะมุ่งอนาคตของคณบดีและความเชื่ออำนาจในตนของคณบดีและคุณลักษณะทางด้านการบริหาร 2 ประการ คือ พฤติกรรมความร่วมมือของคณบดี และสภาพความคงอยู่ในตำแหน่งของคณบดี เป็นคุณลักษณะเสริมของคณบดีที่มีผลทำให้คณบดีได้ใช้แบบการนำในสภาพการณ์ต่างๆ ให้เกิดประสิทธิผลซึ่งอาศัยหลักความสัมพันธ์แบบพหุคูณหรือหลักการกรองหลายขั้นตอน (Multiple Screen Model) ของฟีดเลอร์มาเพื่ออธิบายได้

จากผลของการวิเคราะห์ลักษณะของการบริหารงานของคณบดีในสถาบันราชภัฏและจากผลการวิจัยตอนที่ 1 แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความเหมาะสมในการกำหนดหัวเรื่องต่างๆ เช่น "ปฐมบท", "การค้นหาแบบของพฤติกรรมผู้นำของคณบดี", "ทำความเข้าใจกับสภาพการณ์ในการนำของคณบดี" เป็นต้น ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญทั้งที่เป็นนักวิชาการและนักปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยและในสถาบันราชภัฏ ซึ่งจะทำให้ให้คณบดีที่ได้ศึกษาเนื้อหาดังกล่าว มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของผู้นำ ภาวะผู้นำและประสิทธิผลภาวะผู้นำที่มีผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานของคณบดี ได้ทราบถึงแนวทางค้นหาแบบของพฤติกรรมผู้นำของคณบดี และเกิดความรู้และเข้าใจเรื่องของสภาพการณ์ในการนำของคณบดีว่ามีลักษณะองค์ประกอบที่สำคัญอะไรบ้างมีอิทธิผลต่อประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีแต่ละลักษณะอย่างไร เป็นต้น ซึ่งตามทฤษฎีการจูงใจของลอเลอร์และปอร์เตอร์ (Lauler Portor. ; อ้างจาก วิโรจน์ สารรัตนะ : 25 : 424) ได้กล่าวถึงบุคคลที่มีแรงจูงใจในการทำงานได้ดีขึ้นและถูกต้องขึ้น ถ้าหากได้ทราบถึงบทบาท หน้าที่ และสภาพแวดล้อมทางภารกิจของตนเอง หรือ ตามแนวคิดของการบริหารแบบเน้นวัตถุประสงค์ ซึ่งจะให้ความสำคัญกับผู้ปฏิบัติได้ทราบถึงวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายสุดท้ายที่จะได้จากการทำงานจะเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้ปฏิบัติได้ใช้ความพยายาม เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการกำหนดหัวเรื่องดังกล่าวข้างต้น เพื่อพัฒนาเป็นบทเรียนสำเร็จรูปชุดหนึ่ง ๆ จึงมีความเหมาะสมที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารงานวิชาการของคณบดีให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพได้

2. ตัวแบบการพัฒนาประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ ผลการศึกษาวิจัยพบว่ามีขั้นตอนการดำเนินงาน 10 ขั้นตอน เป็นการผสมผสานระหว่างทฤษฎีประสิทธิผลภาวะผู้นำตามสภาพการณ์ของฟีดเลอร์ ตัวแบบจากบทเรียนสำเร็จรูปการปรับปรุงประสิทธิผลภาวะผู้นำของฟีดเลอร์และคณะ และแนวทางการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปของนักวิจัยในประเทศไทยและต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้ตัวแบบการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เพื่อปรับปรุงประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏมีความถูกต้องตามแนวคิด หลักการหรือทฤษฎีของการพัฒนา ปรับปรุงประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปให้มีความสอดคล้องกับสภาพจริงของสถาบันราชภัฏให้มากที่สุด นอกจากนั้นหัวเรื่องทั้งหมดที่ได้จากตัวแบบดังกล่าวได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักวิชาการและนักปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยและในสถาบันราชภัฏ จึงมีความเหมาะสมที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏได้อย่างเหมาะสมต่อไป

3. หัวเรื่องย่อยของแต่ละหัวเรื่องที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นโครงร่างเสนอเนื้อหา ผู้วิจัยได้เน้นการจัดลำดับจากการให้ความรู้พื้นฐานไปสู่ความเข้าใจ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ ตลอดจนการนำไปประยุกต์ใช้ในสภาพการณ์จริงต่อไป ดังเห็นได้จากรูปแบบการเสนอเนื้อหาในบทเรียนสำเร็จรูปแต่ละชุดจะให้ผู้ศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความหมาย จุดมุ่งหมาย แนวคิดและความสำคัญของเรื่องนั้น ๆ ก่อนแล้วจึงให้มีความสามารถในการสังเคราะห์ การวิเคราะห์ การประยุกต์ใช้ หรือ การฝึกปฏิบัติแล้วแต่กรณี ลักษณะการจัดลำดับของหัวเรื่องย่อย เพื่อเสนอเนื้อหาดังกล่าว เป็นไปตามเกณฑ์การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction) ซึ่งสามารถนำไปใช้พัฒนาคณบดีให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นได้

4. ข้อบกพร่องของบทเรียนสำเร็จรูป ส่วนหนึ่งจะเกี่ยวข้องกับการพิมพ์ไม่ถูก และกรณีตัวอย่างควรเกี่ยวข้องกับการศึกษา และสภาพการทำงานของคณบดีให้มากขึ้น อีกส่วนหนึ่งเป็นการใช้คำ หรือข้อความเฉพาะควรสอดคล้องกันในบทเรียนชุดต่าง ๆ ผู้วิจัยได้ปรับปรุงให้เหมาะสมกับข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่างคณบดีให้มากที่สุด ถึงแม้ว่ากลุ่มตัวอย่างคณบดี ซึ่งได้ศึกษาบทเรียนสำเร็จรูปทุกชุดจากการทดลองใช้ครั้งที่ 3 และได้ประเมินคุณภาพของชุดต่าง ๆ ในบทเรียนทั้ง 10 ชุด อยู่ในเกณฑ์ระดับเหมาะสมมากก็ตาม (กลุ่มตัวอย่างส่วนมากได้ประเมินคุณภาพของชุดที่ 1-9 อยู่ระดับเหมาะสมมาก และชุดที่ 10 อยู่ระดับเหมาะสมปานกลาง)

5. ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปแต่ละชุดตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ซึ่งผลการทดลองใช้บทเรียนสำเร็จรูปทุกชุดครั้งที่ 3 พบว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90 ตัวแรกและมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90 ตัวหลัง ตามสมมุติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ทั้ง 2 ข้อ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้วชุดฝึกแต่ละชุดในบทเรียนสำเร็จรูปมีประสิทธิภาพที่สามารถพัฒนาผู้เรียน(คณบดี)ให้เกิดการเรียนรู้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ได้

6. ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปทุกชุด ตามเกณฑ์การเปรียบเทียบความแตกต่างของ ผลการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่างระหว่างก่อนและหลังการศึกษาบทเรียนสำเร็จรูปทุกชุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งพบว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์และเป็นไปตามสมมุติฐานการวิจัยข้อที่ 3 แสดงให้เห็นว่าบทเรียนสำเร็จรูปทั้งหมดทุกชุดมีประสิทธิภาพที่สามารถนำไปใช้พัฒนาคณบดีในสถาบันราชภัฏโดยใช้วิธีเดียวกับวิธีที่ใช้ทดลองครั้งที่ 3 ได้ดี

เหตุผลที่บทเรียนสำเร็จรูปรวมทุกชุดมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ดังกล่าวในระดับสูงนั้นอาจเป็นผลมาจากประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการและสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับภารกิจและสภาพการณ์ต่างๆ ของคณบดีในสถาบันราชภัฏต่าง ๆ ในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังสามารถจะนำไปประยุกต์ใช้ได้ และวิธีการในการศึกษาก็เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคณบดี ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ และความละเอียด รอบคอบในการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปที่อาศัยหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ในหลักการสอนแบบโปรแกรม และรูปแบบการเรียนรู้แจ้ง(Mastery Learning) ซึ่งมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีพฤติกรรมการเรียนรู้ตามเกณฑ์ที่กำหนดจากการเรียนการสอนแบบซ่อมเสริม

 

ข้อเสนอแนะ

จากผลการวิจัยพัฒนาเพื่อปรับปรุงประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีสถาบันราชภัฏที่ได้เสนอไปแล้วนั้น ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้

ข้อเสนอแนะเพื่อการนำไปใช้

1. การนำบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง "การแสงวงหาภาวะผู้นำของคณบดี" ไปใช้พัฒนาคณบดีในสถาบันราชภัฏ ควรดำเนินการดังนี้

1.1 ทำการทดสอบคณบดีด้วย แบบทดสอบภาวะผู้นำของคณบดี หากใครที่ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 90 ของคะแนนเต็ม ควรต้องได้รับการพัฒนา โดยเฉพาะผู้ที่ได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ดังกล่าวมาก

1.2 ให้คณบดีที่ต้องได้รับการพัฒนาทำแบบทดสอบคำถามสรุปบทเรียนท้ายชุดแต่ละชุด ก่อนที่จะศึกษาบทเรียนสำเร็จรูปแต่ละชุด เพื่อทดสอบความรู้ความสามารถว่าควรได้รับการพัฒนาด้วยบทเรียนสำเร็จรูปนี้หรือไม่ โดยผู้ที่ทำคะแนนได้ถึงร้อยละ 90 ของคะแนนเต็มขึ้นไป (ทำข้อทดสอบถูกหมด 5 ข้อ) ไม่จำเป็นต้องรับการพัฒนา คงได้รับการพัฒนาหรือต้องศึกษาบทเรียนสำเร็จรูปเฉพาะชุดที่ทำคะแนนได้ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของคะแนนเต็มเท่านั้น

1.3 ให้คณบดีที่ต้องได้รับการพัฒนาดำเนินการตาม 1.2 ตามลำดับจากชุดที่ 1-10 ในเวลาและสถานที่ที่แต่ละคนสะดวก หลังจากการศึกษาบทเรียนสำเร็จรูปแล้ว ให้คณบดีทำแบบทดสอบคำถามสรุปบทเรียนท้ายชุดแต่ละชุดนั้น ๆ เสร็จแล้วจึงทำการตรวจสอบความถูกต้องโดยอาศัยคำเฉลยในชุดฝึกเพื่อซ่อมเสริม หากทำข้อใดไม่ถูกต้องให้ทำการศึกษาซ่อมเสริมตามคำแนะนำในชุดฝึกเพื่อซ่อมเสริมประเด็นดังกล่าวนั้น จนกว่าจะมีความรู้ ความเข้าใจ หรือฝึกปฏิบัติในเรื่องนั้นได้ จึงจะทำการทดสอบตนเอง เพื่อจะศึกษาชุดฝึกชุดต่อไปได้

1.4 เมื่อคณบดีได้ศึกษาบทเรียนสำเร็จรูปครบทุกชุดแล้ว ให้ทำแบบทดสอบภาวะผู้นำของคณบดีอีกครั้งหนึ่ง หากสามารถทำคะแนนจากแบบทดสอบได้ถึงร้อยละ 90 ของคะแนนเต็ม หรือมากกว่าก็แสดงว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในเรื่องของภาวะผู้นำของคณบดีตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด แต่ถ้าหากทำแบบทดสอบได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ดังกล่าว แสดงว่าควรตรวจสอบหาข้อบกพร่องที่ทำให้ไม่สามารถทำคะแนนได้ตามเกณฑ์ดังกล่าวได้ โดยเฉพาะผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำกว่าเกณฑ์ดังกล่าวมากแล้วหาทางปรับปรุงแก้ไข เพื่อศึกษาเพิ่มในส่วนที่ตนเองคิดว่ายังไม่มีความรู้ ความเข้าใจ หรือฝึกปฏิบัติต่อไป

2. หลังจากได้พิจารณาคณบดีไปได้รับระยะเวลาหนึ่ง 15-30 วัน หรืออื่น ๆ ตามความเหมาะสม ผู้บริหาร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจจะเป็นบุคลากรในศูนย์ฝึกอบรมของสถาบันราชภัฏควรสังเกตพฤติกรรมการทำงานของคณบดีที่ได้รับการพัฒนาไปแล้วว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือไม่ นอกจากนั้น ควรตรวจสอบองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ เช่น พฤติกรรมผู้นำของคณบดี ความสัมพันธ์ระหว่างคณบดีกับสมาชิกในคณะ ลักษณะความชัดเจนของงานในคณะ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพที่ดีขึ้นหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อศึกษาสาเหตุที่ควรปรับปรุงแก้ไขต่อไป

3. หากมีเหตุการณ์หรือสภาพการณ์ใดที่เกิดขึ้นแล้วมีผลทำให้การเสนอเนื้อหาในชุดต่าง ๆ ของบทเรียนสำเร็จรูปบางส่วนคาดเคลื่อนไปจากสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นใหม่นั้น ควรแจ้งให้ผู้วิจัยทราบ เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้มีความถูกต้องต่อไป

4. การนำบทเรียนสำเร็จรูปไปใช้พัฒนาบุคลากร ไม่จำกัดเฉพาะคณบดีในสถาบันราชภัฏเท่านั้น แต่อาจจะปรับใช้กับบุคลากรอื่น ๆ เช่น ผู้บริหารสถาบันราชภัฏระดับอื่น เช่น อธิการบดี รองอธิการบดี เป็นต้น หรือผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษาอื่น ๆ เช่น อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการโรงเรียน และผู้ช่วย หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอหรือจังหวัดและผู้ช่วย ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดและผู้ช่วย เป็นต้น โดยอาศัยวิธีดำเนินงานเดียวกัน

ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

1. บทเรียนสำเร็จรูปเรื่อง การแสวงหาภาวะผู้นำของคณบดีนี้ พัฒนาจากกรอบความคิดของผลการวิจัยพื้นฐานลักษณะและตัวแบบประสิทธิผลภาวะผู้นำของคณบดีในสถาบันราชภัฏ ซึ่งเป็นการวิจัยหรือทดสอบทฤษฎีประสิทธิผลภาวะผู้นำตามสภาพการณ์ของฟีดเลอร์ และทฤษฎีและแนวคิดเสริมดังกล่าวว่าสามารถใช้กับคณบดีในสถาบันราชภัฏได้หรือไม่ ดังนั้นถ้าจะนำบทเรียนสำเร็จรูปนี้ไปใช้กับผู้บริหารหน่วยงานลักษณะอื่นที่มิใช่หน่วยงานทางการศึกษา ควรจะศึกษาเพื่อเป็นการทดสอบทฤษฎี ดังกล่าวก่อน

2. บทเรียนสำเร็จรูปที่พัฒนาขึ้นนี้ได้รับการทดสอบประสิทธิภาพเฉพาะในเรื่องความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาและทักษะในการปฏิบัติตามกรณีตัวอย่างหลังการศึกษาสิ้นสุดลงไปแล้วเท่านั้น ไม่ได้ศึกษาประสิทธิภาพที่มีผลต่อเนื่องไปถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงานและผลการปฎิบัติงานที่มีคุณภาพหลังจากการศึกษาสิ้นสุดแล้วในช่วงเวลาหนึ่ง ดังนั้นผู้ที่สนใจอาจวิจัยให้ทราบถึงประสิทธิภาพของชุดฝึกด้วยตนเองในประเด็นดังกล่าวได้

3. การทดลองใช้บทเรียนสำเร็จรูปครั้งที่ 3 มีข้อจำกัดเกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย ผู้วิจัยไม่สามารถดำเนินการวิจัยด้วยตนเองได้ จึงขอความร่วมมือจากผู้บริหารสถาบันราชภัฏเป็นผู้ดำเนินการวิจัยให้ตามระเบียบและขั้นตอนที่ผู้วิจัยกำหนด จึงอาจเป็นตัวแปรที่มีผลกระทบต่อการทดลองได้ทั้งในทางบวกหรือทางลบ ดังนั้นเพื่อขจัดอิทธิพลของตัวแปรดังกล่าว และเพื่อให้เป็นหลักการเรียนการสอนแบบโปรแกรมอย่างแท้จริง ผู้วิจัยควรดำเนินการด้วยตนเอง

4. เนื่องจากการทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปครั้งที่ 3 นั้น ผู้วิจัยได้ให้กลุ่ม ตัวอย่างตรวจสอบหาข้อบกพร่องของบทเรียนสำเร็จรูปแต่ละชุดที่ควรปรับปรุงแก้ไขด้วย จึงควรจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างไม่บรรลุผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ ดังนั้น การวิจัยเพื่อพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปอื่น ๆ ที่มีลักษณะเดียวกันนี้ หากต้องการทราบประสิทธิภาพอย่างแท้จริงควรหลีกเลี่ยงวิธีการที่ให้กลุ่มตัวอย่างช่วยตรวจสอบหาข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไขด้วย

 

 


 

 

 

บรรณานุกรม

เจิดหล้า สุนทรวิภาต. คุณลักษณะของผู้นำและประสิทธิผลของภาควิชาของคณะศึกษาศาสตร์ใน

มหาวิทยาลัยไทย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2534.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม : การวิจัยและพัฒนาบุคคล. กรุงเทพมหานคร :

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2538.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. ความผูกพันต่อสถาบันของอาจารย์ในสาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรม

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2532.

“พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พุทธศักราช 2538,” ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 112

ตอนที่ 4 ก. ลงวันที่ 26 มกราคม 2538.

ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา. “ พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่บัณฑิต

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ ห้องประชุมสวนอัมพร

กรุงเทพมหานคร,” ประมวลพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท. 2529.

ราชภัฏสกลนคร, สถาบัน. แผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 8 พ.ศ. 2540 - 2544. สกลนคร :

สำนักวางแผนและพัฒนา สถาบันราชภัฏสกลนคร, 2540.

วิโรจน์ สารรัตนะ. การพัฒนาชุดฝึกด้วยตนเองเรื่องการวางแผนการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา.

ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2532.

สภาสถาบันราชภัฏ, สำนักงาน. หนังสือที่ ศธ. 1502.6 / ว 8881 เรื่องการแบ่งส่วนราชการใน

สถาบันราชภัฏ. ลงวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2542.

Chemers, M.M. , R.W. Rice , E. Sunstrom , W. Butler. and R. Ayman. “Leadership

Orientation as a Moderator of Relationship Between Job Performance and Job Satisfaction of Mexican Managers,” Personality and Social Psychology Bulletin. 4 : 359-367 ; December, 1985.

Cook, J.D. and others. The Experience of Work : A Compendium and Review

of 249 Measures and Their Use. London : Academic Press, Inc., 1981

Espich, James E. and Bill Williams. Developing Program Instructional Materials.

New York : Lear Siegler, Inc., 1967.

Fiedler, F.E. A Theory of Leadership Effectiveness. New York : Mc Graw – Hill, 1967.

 

. M.M. Chemers , and L. Mahar. Improving Leadership Effectiveness :

The Leader Match Concept. New York : John Wiley & Sons, Inc., 1976.

 

International. 45(7) : 106 ; may, 1976.

Hoy, W.K. and C.G. Miskel. Educational Administration : Theory, Research

and Practice. 2 nd ed. New York : Random House, 1982.

Likert, R. New Patterns of Management. New York : Mc Graw - Hill Book

Company, 1961.

Meyer, G. Rex. Modules : From Design to Implementation. Singapore : The

Columbo Plan Staff College for Technician Education, 1984.

McCorkle, C.O. and others. Management and Leadership in Higher Education.

San Francisco : Jossey - Bass Publishers, 1982.

Morris, V.C. Deaning : Middle Management in Accademic. Urbana, Chicago :

University of Illinois Press, 1981.

Parten, M.B. “School Participation among Pre-School Children,” Journal of

Social Psychology. 27, 1933.

Porter, L.W. and R.M. Steers. “Organization Work and Personal Factor in

Turnover and Absenteeism,” Psychological Bulletin. 80 : 151 - 176 ; 1973.

 

. and others. “Organizational Commitment, Job Satisfaction and

Turnover Amang Psychiatric Technicians,” Journal of Applied

Psychology. 59 (5) : 603 - 609 ; October, 1974.

 

. E.E. Lawler and J.R. Hackman. Behavior in Organization

International. Student Edition, Tokyo : Mc Graw-Hill Kogakusa, Ltd. 1975.

Riley, C.L. and V.J. Baldridge. Governing Academic Organization, New Problems,

New Perspective. California : Mc Cutchan Publishing Cooperation, 1977.

Romiszosky, K.E. Self-Training Materials and Instruction. New York : John

Willey & Sons, 1986.

Worthen, B.R. “Printed Materials in the Classroom,” in The International

Encyclopedia of Education. Great Britain : A Wheaton & Co., Ltd., 1985.

 

BACK

Hosted by www.Geocities.ws

1