ความเที่ยงตรงตามแนวคิดอิงเกณฑ์

การพิจารณาความเที่ยงตรงของแบบทดสอบตามแนวคิดอิงเกณฑ์จะต้องพิจารณาสองลักษณะ คือความเที่ยงตรงตามเนื้อหา และความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง ความเที่ยงตรงตามเนื้อหาเป็นการตรวจสอบข้อสอบรายข้อว่าสามารถเป็นตัวแทนของพฤติกรรม หรือขอบเขตที่จะวัดได้ดีเพียงใด ส่วนความเที่ยงตรงตามโครงสร้างเป็นคุณลักษณะภายในตัวผู้สอบ ที่แสดงถึงการมีความสามารถได้ครบถ้วนในจุดประสงค์ที่วัดโดยข้อสอบนั้น ซึ่งเรียกว่า ผู้รอบรู้ หรือคุณลักษณะที่แสดงถึงการไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนในจุดประสงค์ที่กำลังวัดซึ่งเรียกว่า ผู้ไม่รอบรู้ (สงบ ลักษณะ. 2523 : 37-38)

 

1. ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา

โรวิเนลลี และแฮมเบิลตัน (Rovinelli and Hambleton) ได้เสนอวิธีการกำหนดจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม แล้วเขียนข้อสอบขึ้นตามจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมนั้นนำเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหาหลาย ๆ คนพิจารณาความสอดคล้องระหว่างข้อสอบแต่ละข้อกับจุดมุ่งหมาย (item objective congruence : IOC) ซึ่งอาจใช้มาตราส่วนประมาณค่า หรือวิธีจับคู่ว่าข้อใดวัดจุดประสงค์ใด ก็ได้

 

วิธีการหาความเที่ยงตรงตามเนื้อหาตามแนวคิดของ โรวิเนลลี และแฮมเบิลตัน (Rovinelli and Hambleton) ในเชิงปฏิบัติ ทำได้ดังนี้

1. นำจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมกับข้อสอบที่วัดจุดประสงค์นั้น ๆ หรือ ข้อสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหาวิชาแต่ละคนพิจารณาว่าสอดคล้องกันหรือไม่ ด้วยการทำเป็นแบบสำรวจให้ผู้เชี่ยวชาญซึ่งไม่น้อยกว่า 3 คน พิจารณา (บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. 2526 : 69) โดยการกำหนดให้คะแนนผลการพิจารณาตัดสิน ดังนี้

กา / ในช่อง +1 ถ้าแน่ใจว่าจุดประสงค์สอดคล้องกับเนื้อหา หรือข้อสอบสอดคล้องกับจุดประสงค์

กา / ในช่อง 0 ถ้าไม่แน่ใจว่าจุดประสงค์สอดคล้องกับเนื้อหา หรือข้อสอบสอดคล้องกับจุดประสงค์

กา / ในช่อง -1 ถ้าแน่ใจว่าจุดประสงค์ไม่สอดคล้องกับเนื้อหา หรือข้อสอบไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์

 

ตัวอย่าง 8.10 แบบประเมินความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมกับเนื้อหา

 

เนื้อหา

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

คะแนนการพิจารณา

   

+1

0

-1

1. ตารางแจกแจงความถี่

1. สามารถหาพิสัยของข้อมูลได้ถูกต้อง

     
 

2. สามารถหาขีดจำกัดบน และขีด

จำกัดล่างของอันตรภาคชั้น จาก

ตารางแจกแจงความถี่ได้ถูกต้อง

     
 

3. ..............................................

     

 

 

ตัวอย่าง 8.11 แบบประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

 

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

ข้อสอบ

คะแนนการพิจารณา

   

+1

0

-1

1.สามารถหาพิสัยของ

ข้อมูลได้ถูกต้อง

1. ถ้าผลการสอบเป็นดังนี้ 10, 6,

8, 4 และ 7 อยากทราบว่า

ข้อมูลนี้ มีพิสัยเท่าไร ?

ก. 4 ง. 7

ข. 5 จ. 8

ค. 6

     

 

 

2. บันทึกผลความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนเป็นรายข้อ แล้วนำมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย โดยใช้สูตร ดังนี้

สูตร

 

เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์กับเนื้อหา หรือ ความสอดคล้อง

ระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ ( index of item objective congruence )

? R แทน ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด

N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด

 

ตัวอย่าง 8.12 จงหาผลรวมของคะแนนความคิดเห็น (? R) และค่า IOC ระหว่าง
จุดประสงค์กับเนื้อหา

 

เนื้อหา

จุดประสงค์

เชิงพฤติกรรม

คะแนนความคิดเห็น

ของผู้เชี่ยวชาญ

? R

IOC

   

คนที่1

คนที่2

คนที่3

คนที่4

คนที่5

   
1.ตารางแจกแจงความถี่ 1. .................

1

0

1

1

1

4

.80

  2. .................

1

1

-1

-1

1

1

.20

2. ค่ากลางของข้อมูล 3. ................

1

1

0

-1

-1

0

.00

  4. .................

-1

-1

-1

-1

1

-3

-.60

 

 

3. พิจารณาคัดเลือกในจุดประสงค์ หรือข้อสอบที่มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 0.50 ถึง1.00 ซึ่งแสดงว่าจุดประสงค์นั้นวัดได้ครอบคลุมเนื้อหา หรือข้อสอบนั้นวัดได้ตรงจุดประสงค์ และถ้าข้อใดได้คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า 0.50 ต้องนำไปปรับปรุงแก้ไข เพราะว่ามีความสอดคล้องกันต่ำ

 

2. ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง

เราจะทราบความเที่ยงตรงตามโครงสร้างก็ต่อเมื่อ นำข้อสอบไปสอบกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่มีความรอบรู้จะตอบข้อสอบข้อนั้นถูก ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ไม่รอบรู้จะตอบข้อสอบข้อนั้นผิด วิธีการหาความเที่ยงตรงตามโครงสร้างมี ดังนี้

 

2.1 วิธีของคาร์เวอร์ (Carver) คาร์เวอร์ (Carver. 1970 : 256 ) ได้เสนอวิธีการหาค่าความเที่ยงตรงจากการนำเอาแบบทดสอบอิงเกณฑ์ไปสอบกับนักเรียนในกลุ่มที่เรียนแล้ว และกลุ่มที่ยังไม่ได้เรียน โดยแจกแจงในตารางดังนี้

 

 

 

กลุ่มที่ยังไม่ได้เรียน

กลุ่มที่เรียนแล้ว

ผ่าน

B

A

ไม่ผ่าน

C

D

 

 

 

สูตรที่ใช้ในการคำนวณคือ

 

เมื่อ แทน ความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง

a แทน จำนวนผู้ที่เรียนแล้วสอบผ่าน

c แทน จำนวนผู้ที่ยังไม่ได้เรียนแล้วสอบไม่ผ่าน

N แทน จำนวนคนทั้งหมด (N = a+b+c+d)

ค่าความเที่ยงตรงตามโครงสร้างตามวิธีของ คาร์เวอร์ (Carver) นี้ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ที่สอบไม่ผ่านก่อนเรียน และจำนวนผู้ที่สอบผ่านหลังจากที่เรียนแล้ว

 

ตัวอย่าง 8.13 นำเอาข้อสอบอิงเกณฑ์ฉบับหนึ่งไปสอบกับนักเรียน 2 กลุ่ม โดยที่กลุ่มแรกยังไม่ได้เรียน จำนวน 10 คน กับกลุ่มที่สองคือกลุ่มที่เรียนแล้ว จำนวน 12 คน (ผลปรากฏข้างล่างนี้) จงหาค่าความเที่ยงตรงตามโครงสร้างของแบบทดสอบ เมื่อกำหนดคะแนนจุดตัดเท่ากับ 8 คะแนน

คะแนนของกลุ่มที่ยังไม่ได้เรียน คือ 6,7,8,7,9,9,9,6,7,7

คะแนนของกลุ่มที่เรียนแล้ว คือ 8,6,8,8,7,9,9,10,8,6,7,10

 

วิธีคำนวณ

1. นำคะแนนจุดตัดไปเปรียบเทียบกับคะแนนสอบของทุกคน ใครได้คะแนนตั้งแต่ 8 คะแนนขึ้นไปถือว่าสอบผ่าน ถ้าต่ำกว่า 8 คะแนนถือว่าสอบไม่ผ่าน

2. หาจำนวนนักเรียนที่ยังไม่ได้เรียนแล้วสอบไม่ผ่าน (ในข้อนี้มี 6 คน)

3. หาจำนวนนักเรียนที่เรียนแล้วสอบผ่าน (ในข้อนี้มี 8 คน)

4. แทนค่าในสูตร เมื่อ a=8 , c=6 , N=22

 

ข้อสอบมีความเที่ยงตรงตามโครงสร้างเท่ากับ 0.64

 

 

2.2 วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบฟี (phi correlation coefficient) ซึ่งวิธีนี้เสนอโดยมิลล์แมน (Millman) มีสูตรดังนี้

 

สูตร

 

 

เมื่อ แทน ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง

a แทน จำนวนผู้สอบผ่านก่อนเรียน

b แทน จำนวนผู้สอบผ่านหลังเรียน

c แทน จำนวนผู้สอบไม่ผ่านก่อนเรียน

d แทน จำนวนผู้สอบไม่ผ่านหลังเรียน

 

ตัวอย่าง 8.14 จงหาค่าความเที่ยงตรงตามโครงสร้างแบบฟี เมื่อได้ผลการสอบดังตารางข้างล่างนี้ โดยกำหนดคะแนนจุดตัดเท่ากับ 8 คะแนน

 

คนที่

1

2

3

4

5

6

7

คะแนนก่อนเรียน

6

7

8

8

6

5

7

คะแนนหลังเรียน

8

8

9

10

7

8

9

 

 

วิธีคำนวณ

1. หาจำนวนผู้สอบผ่านก่อนเรียน (ในข้อนี้มี 2 คน จะได้ a=2)

2. หาจำนวนผู้สอบผ่านหลังเรียน (ในข้อนี้มี 6 คน จะได้ b=6)

3. หาจำนวนผู้สอบไม่ผ่านก่อนเรียน (ในข้อนี้มี 5 คน จะได้ c=5)

4. หาจำนวนผู้สอบไม่ผ่านหลังเรียน (ในข้อนี้มี 1 คน จะได้ d=1)

 

นำผลมาใส่ตารางได้ ดังนี้

 

 

ก่อนเรียน

หลังเรียน

 

ผ่าน

2(a)

6 (b)

8 (a+b)

ไม่ผ่าน

5 (c)

1 (d)

6 (c+d)

 

7(a+c)

7(b+d)

14(N)

 

 

5. แทนค่าต่าง ๆ ลงในสูตร

แบบทดสอบมีความเที่ยงตรงตามโครงสร้างเท่ากับ 0.58

           Back           Next

 

Hosted by www.Geocities.ws

1