ความเชื่อมั่นตามแนวคิดอิงเกณฑ์

ได้มีผู้เสนอวิธีการคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบอิงเกณฑ์ไว้หลายวิธี ซึ่งพอที่จะแยกออกเป็นหัวข้อต่าง ๆ พร้อมทั้งแสดงวิธีการคำนวณบางวิธี ดังนี้

 

1. การหาความเชื่อมั่นจากการพิจารณาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบอิงเกณฑ์

(reliability of criterion - referenced test score) วิธีนี้หาโดยการตรวจหาสัมประสิทธิ์ความ
สอดคล้องของคะแนนแต่ละคนที่แปรปรวนไปจากคะแนนจุดตัด จากการสอบด้วยแบบทดสอบ 1 ฉบับ ทดสอบกับนักเรียน 1 กลุ่มครั้งเดียว ซึ่งหาได้โดยการใช้วิธีของลิฟวิงสตัน (Livingston) และวิธีของโลเวทท์ (Lovett) เป็นต้น

1.1 การหาความเชื่อมั่นโดยวิธีของลิฟวิงสตัน (Livingston) ลิฟวิงสตันได้สร้างสูตรคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบอิงเกณฑ์ ดังนี้ (อนันต์ ศรีโสภา. 2525 : 85)

 

 

สูตร

 

เมื่อ rcc แทน ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบอิงเกณฑ์

                    แทน ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบอิงกลุ่ม (หาได้จากสูตร KR-20 หรือ

KR-21)

                    S2 แทน ความแปรปรวนของคะแนนการสอบ

แทน ค่าเฉลี่ยของคะแนน

                    C แทน คะแนนเกณฑ์ หรือ คะแนนจุดตัด

 

ตัวอย่าง 8.4 ในการสอบวิชาคณิตศาสตร์จำนวน 20 ข้อ มีค่าเฉลี่ย 13.5 ความแปรปรวน 2.5 ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบซึ่งหาโดยวิธี KR-20 มีค่าเท่ากับ .67 เกณฑ์ที่ผ่านต้องทำได้
ตั้งแต่ 14 ข้อขึ้นไป จงคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบอิงเกณฑ์ ตามวิธีของลิฟวิงสตัน

 

สูตร

ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบอิงเกณฑ์เท่ากับ .70

1.2 การหาความเชื่อมั่นโดยวิธีของโลเวทท์ (Lovett) เป็นการนำแบบทดสอบ
อิงเกณฑ์ฉบับเดียว ไปทดสอบกับนักเรียน 1 กลุ่มเพียงครั้งเดียว แล้วนำผลมาวิเคราะห์ ซึ่งมีสูตร ดังนี้

 

สูตร

 

เมื่อ rcc แทน ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบอิงเกณฑ์

                        K แทน จำนวนข้อสอบ

                        Xi แทน คะแนนสอบของนักเรียนแต่ละคน

                        C แทน คะแนนจุดตัด

 

ตัวอย่าง 8.5 นำแบบทดสอบอิงเกณฑ์ฉบับหนึ่งจำนวน 10 ข้อ ไปทดสอบกับนักเรียน 5 คน ปรากฏผลดังตาราง ถ้ากำหนดคะแนนจุดตัดเท่ากับ 6 คะแนน จงหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบฉบับนี้

 

ชื่อนักเรียน

Xi

Xi2

(Xi-C)

(Xi-C)2

มยุรี

8

64

2

4

แก้ว

8

64

2

4

สาธิต

7

49

1

1

ปกรณ์

5

25

-1

1

กิ่ง

9

81

3

9

?

38

283

-

19

 

จะได้ข้อมูลดังนี้ K = 10, C=6, Xi = 38, Xi2 = 283, (Xi-C)2 = 19

แทนค่าในสูตร

แบบทดสอบมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .43

 

2.การหาค่าความเชื่อมั่นจากการพิจารณาความเชื่อมั่นในการตัดสินจำแนกความรอบรู้ (reliability of mastery classification decision) เป็นวิธีการตรวจหาสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องในการตัดสินจำแนกความรอบรู้-ไม่รอบรู้ โดยทดสอบซ้ำด้วยแบบทดสอบฉบับเดียวกัน หรือแบบทดสอบคู่ขนาน ซึ่งทำการหาได้โดยวิธีการของคาร์เวอร์(Carver) วิธีของบุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์ วิธีของแฮมเบิลตันและโนวิก (Hambleton and Novick) วิธีของสวามินาธาน แฮมเบิลตันและ
อัลจินา(Swaminathan, Hambleton and Algina)และวิธีของสับโคเวียก (Subkoviak) เป็นต้น ในที่นี้จะขอเสนอเพียง 2 วิธี ดังนี้

 

2.1 การหาความเชื่อมั่นตามวิธีของคาร์เวอร์ (Carver) วิธีการคำนวณคือนำแบบทดสอบคู่ขนานจำนวน 2 ฉบับ หรือแบบทดสอบฉบับเดียวกันแต่สอบ 2 ครั้ง ไปทดสอบกับ
นักเรียนกลุ่มเดียวกัน แล้วนำผลการสอบไปแจกแจงเป็นตาราง ดังนี้

 

 

ฉบับ ก.

ฉบับ ข.

สอบผ่าน

สอบไม่ผ่าน

สอบผ่าน

A

b

สอบไม่ผ่าน

D

c

 

 

 

สูตร หรือ

 

เมื่อ rcc แทน ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ

a แทน จำนวนคนที่สอบผ่านทั้งฉบับ ก. และ ฉบับ ข.

c แทน จำนวนคนที่สอบไม่ผ่านทั้งฉบับ ก. และ ฉบับ ข.

N แทน จำนวนคนสอบทั้งหมด (เท่ากับ a+b+c+d)

 

ตัวอย่าง 8.6 ในการสอบด้วยแบบทดสอบอิงเกณฑ์ ซึ่งเป็นแบบทดสอบคู่ขนานจำนวน 2 ฉบับ โดยมีข้อสอบฉบับละ 5 ข้อ มีผู้เข้าสอบ 10 คน ปรากฏผลดังตาราง ถ้ากำหนดคะแนนจุดตัดเท่ากับ 4 คะแนน จงหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ

 

คนที่

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

คะแนนฉบับ ก.

4

3

2

3

4

5

5

4

3

2

คะแนนฉบับ ข.

5

3

4

3

5

4

4

5

2

3

 

 

ขั้นตอนการคำนวณ

1. บันทึกจำนวนผู้สอบผ่าน - ไม่ผ่านคะแนนจุดตัดทั้ง 2 ฉบับ ลงในตาราง

 

ฉบับ ก.

ฉบับ ข.

สอบผ่าน

สอบไม่ผ่าน

สอบผ่าน

5 (a)

1 (b)

สอบไม่ผ่าน

0 (d)

4 (c)

 

 

ผู้สอบผ่านทั้ง 2 ฉบับ (a) มี 5 คน คือคนที่ 1,5,6,7 และ 8

ผู้สอบไม่ผ่านทั้ง 2 ฉบับ (c) มี 4 คน คือคนที่ 2,4,9 และ 10

2. หา a+c = 4+5 = 9

N = 10

3. หา

ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบอิงเกณฑ์มีค่าเท่ากับ 0.9

 

2.2 หาค่าความเชื่อมั่นตามวิธีของแฮมเบิลตันและโนวิก (Hambleton and Novick) วิธีนี้จะนำแบบทดสอบฉบับเดียวกันสอบ 2 ครั้ง หรือสอบด้วยแบบทดสอบคู่ขนานจำนวน 2 ฉบับ กับกลุ่มตัวอย่างเดียวกัน แล้วนำผลมาคำนวณ โดยใช้สูตร ดังนี้

 

สูตร Po = P11 + P22

 

เมื่อ Po แทน ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ

P11 แทน สัดส่วนของผู้รอบรู้ตรงกันทั้ง 2 ฉบับ (สัดส่วนผู้สอบผ่านทั้ง 2 ฉบับ)

P22 แทน สัดส่วนของผู้ไม่รอบรู้ตรงกันทั้ง 2 ฉบับ (สัดส่วนผู้สอบไม่ผ่านทั้ง 2 ฉบับ)

 

สามารถเขียนเป็นตารางแจกแจงได้ดังนี้

 

   

ฉบับ ข.

(หรือสอบครั้งที่ 2)
   

สอบผ่าน

สอบไม่ผ่าน

ฉบับ ก.

สอบผ่าน

P11

 

(หรือสอบครั้งที่ 1)

สอบไม่ผ่าน

 

P22

 

 

 

ตัวอย่าง 8.7 นำแบบทดสอบอิงเกณฑ์ 2 ฉบับ คือ ฉบับ ก. และ ฉบับ ข. ไปทดสอบกับนักเรียน จำนวน 15 คน ปรากฏผลดังนี้

มีผู้ผ่านเกณฑ์ทั้ง 2 ฉบับ จำนวน 5 คน

มีผู้ไม่ผ่านเกณฑ์ทั้ง 2 ฉบับ จำนวน 5 คน

จงคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบอิงเกณฑ์ตามวิธีของแฮมเบิลตัน และโนวิก

 

วิธีคำนวณ

1. บันทึกจำนวนนักเรียนที่สอบผ่านและไม่ผ่านทั้ง 2 ฉบับ

2. หาค่าสัดส่วนของผู้ที่ถูกตัดสินว่ารอบรู้ทั้ง 2 ฉบับ และไม่รอบรู้ทั้ง 2 ฉบับ แล้วนำค่าที่ได้มาใส่ลงตาราง

P11 = 5/15 = .33

P22 = 6/15 = .40

   

ฉบับ ข.

 
   

สอบผ่าน

สอบไม่ผ่าน

ฉบับ ก.

สอบผ่าน

.33 (P11)

 
 

สอบไม่ผ่าน

 

.40 (P22)

 

3. แทนค่าในสูตร Po = P11 + P22

= .33 + .40 = .73

ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบอิงเกณฑ์มีค่าเท่ากับ .73

ข้อสังเกต วิธีการประมาณค่าความเชื่อมั่นวิธีนี้คล้ายกับวิธีของคาร์เวอร์ (Carver)

 

องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ

ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่อไปนี้ (บุญเรียง ขจรศิลป์. 2527 : 106)

1. ความยาวของแบบทดสอบ แบบทดสอบที่มีข้อสอบจำนวนมากจะมีค่าความเชื่อมั่นสูงกว่าแบบทดสอบที่มีจำนวนข้อสอบน้อย

2. ความเป็นเอกพันธ์ของความง่ายของข้อสอบ แบบทดสอบที่ประกอบด้วยข้อสอบมีระดับความง่ายใกล้เคียงกัน จะมีความเชื่อมั่นสูงกว่าแบบทดสอบที่ประกอบด้วยข้อสอบที่มีระดับความง่ายต่างกัน

3. อำนาจจำแนกของข้อสอบ แบบทดสอบที่ประกอบด้วยข้อสอบที่มีอำนาจจำแนกสูง จะมีค่าความเชื่อมั่นสูงกว่าแบบทดสอบที่ประกอบด้วยข้อสอบที่มีอำนาจจำแนกต่ำ

4. ความยากของข้อสอบ แบบทดสอบที่ประกอบด้วยข้อสอบที่มีระดับความยากปานกลาง จะมีค่าความเชื่อมั่นสูงกว่าแบบทดสอบที่ประกอบด้วยข้อสอบที่ง่ายมากๆหรือยากมากๆ

5. ความแตกต่างของผู้สอบ ในการคำนวณค่าความเชื่อมั่น ถ้าผู้เข้าสอบมีความสามารถแตกต่างกันมากจะทำให้ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบมีค่าสูง

6. ชนิดของแบบทดสอบ ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบที่จำกัดเวลาในการสอบ (speed test) จะสูงกว่าแบบทดสอบที่ไม่จำกัดเวลา ปล่อยให้ผู้สอบทำจนเต็มความสามารถ (mastery test)

7. ความเที่ยงตรงของแบบทดสอบ แบบทดสอบที่มีความเที่ยงตรงสูงจะมีค่าความเชื่อมั่นสูงกว่าแบบทดสอบที่มีความเที่ยงตรงต่ำ

8. ความเป็นปรนัย (objectivity) ของแบบทดสอบ แบบทดสอบที่ประกอบด้วยข้อสอบที่มีความเป็นปรนัยสูง จะมีค่าความเชื่อมั่นสูง

            Back       Next

 

 

Hosted by www.Geocities.ws

1