บทที่ 7

กระบวนการที่ใช้ในการเรียนการสอนและการเขียนแผนการสอน

 

กระบวนการที่ใช้ในการเรียนการสอน

กระบวนการ คือ แนวทางดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมีลำดับขั้นตอนที่ต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นจนแล้วจบ โดยขั้นตอนดังกล่าวมีการทดลองใช้แล้วพบว่าช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ นำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย เช่น

 

1. กระบวนการวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย

1. กำหนดปัญหา เป็นขั้นให้นักเรียนได้มองเห็นปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์หรือเรื่องที่จะศึกษา

2. ตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนคำตอบจากปัญหาที่จะศึกษา

3. รวบรวมข้อมูล เป็นขั้นให้นักเรียนรวบรวมข้อมูลต่างๆ โดยการศึกษาค้นคว้าหรือทดลอง

4. วิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 3 เพื่อใช้อธิบาย สนับสนุนสมมติฐาน

5. สรุปผล เป็นการสรุปความหมาย หลักการ หรือประเด็นสำคัญต่างๆ ของเรื่องที่ศึกษา

 

2. กระบวนการคณิตศาสตร์ มี 2 กระบวนการย่อย คือ

2.1 กระบวนการสร้างทักษะคำนวณ ประกอบด้วย

 

1) ตรวจสอบความคิดรวบยอด เป็นขั้นให้นักเรียนได้เข้าใจเกี่ยวกับเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ศัพท์สัจพจน์ หรือนิยามต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎ สูตร หรือทฤษฎีที่จะสอน

2) สรุปเป็นกฎ สูตร หรือทฤษฎีบท เป็นการให้นักเรียนสรุปกฎ สูตร หรือทฤษฎีต่างๆ

3) ฝึกการใช้กฏ สูตร หรือทฤษฎีบท เป็นการนำกฎ สูตร หรือทฤษฎีไปใช้แก้ปัญหา

 

4) ปรับปรุงแก้ไข เป็นการตรวจสอบคำตอบหรือหาข้อบกพร่องในแต่ละขั้นตอนของการฝึก เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น

2.2 กระบวนการแก้โจทย์ปัญหา ประกอบด้วย

1) วิเคราะห์โจทย์ เป็นการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบว่าโจทย์กำหนดอะไรให้บ้าง โจทย์ถามหาอะไร

2) กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติ เป็นการวางแผนเพื่อจะหาคำตอบนั้นเป็นลำดับขั้นตอน

3) ลงมือปฏิบัติ เป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ในขั้นที่ 2

4) ตรวจสอบคำตอบ เป็นขั้นให้นักเรียนได้ตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบและปรับปรุงแก้ไข

 

3. กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด ประกอบด้วย

1. สังเกต เป็นขั้นที่ครูเสนอตัวอย่างต่างๆ ทั้งที่เป็นลักษณะของความคิดรวบยอดนั้น และไม่ใช่

 

2. จำแนกความแตกต่างและหาลักษณะร่วม เป็นการให้นักเรียนระบุว่า จากตัวอย่างที่ยกมาทั้งหลายนั้น มีอะไรบ้างที่เป็นสิ่งที่แตกต่างกัน และอะไรบ้างที่เป็นสิ่งที่เหมือนกัน

 

3. ระบุความคิดรวบยอด เป็นการให้นักเรียนสรุปภาพรวมเกี่ยวกับความเหมือนเหล่านั้น เป็นวิธีการ หลักการของความคิดรวบยอด หรืออธิบายเกี่ยวกับความคิดรวบยอดนั้นๆ

4. ทดสอบและนำไปใช้ เป็นการอธิบายเกี่ยวกับความคิดรวบยอดนั้นอีกครั้ง แล้วจึงนำไปใช้ต่อไป

 

4. กระบวนการเรียนความรู้ความเข้าใจ ประกอบด้วย

 

1. สังเกตตระหนัก เป็นขั้นให้นักเรียนเล็งเห็นความสำคัญ ความจำเป็นของสิ่งที่จะเรียน และกำหนดเป้าหมายในการแสวงหาคำตอบจากข้อมูลหรือปัญหาที่ครูกำหนดให้

 

2. วางแผนปฏิบัติ เป็นการวางแผนปฏิบัติเพื่อหาคำตอบในสิ่งที่ครูกำหนด

 

3. ลงมือปฏิบัติ เป็นการปฏิบัติตามแนวทางหรือวิธีการที่ได้วางแผนไว้ หรือตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การไปศึกษาค้นคว้า การสัมภาษณ์ ฯลฯ

 

4. พัฒนาความรู้ความเข้าใจ เป็นการนำความรู้ที่ได้มารายงาน อภิปรายเชิงแปลความ ตีความ ขยายความ วิเคราะห์ หรือสังเคราะห์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น

 

5. สรุป เป็นการสรุปสาระสำคัญที่ควรรู้ หรือเป็นคำตอบของคำถามที่เราต้องการ แล้วจดบันทึกไว้

 

5. กระบวนการตระหนัก/สร้างเจตคติ ประกอบด้วย

1. สังเกต เป็นขั้นเสนอข้อมูลต่างๆ แก่ผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้ตระหนักในสิ่งที่จะเรียน เช่น ใช้คำถาม รูปภาพ ยกตัวอย่างเหตุการณ์ เป็นต้น

2. วิเคราะห์วิจารณ์ เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีการอภิปรายจากข้อมูล เหตุการณ์ สถานการณ์นำเสนอ

3. สรุป เป็นการสรุปแนวคิด หลักการ การกระทำ แนวปฏิบัติที่น่าจะยึดถือ ด้วยเหตุผล

 

6. กระบวนการปฏิบัติ ประกอบด้วย

 

1. สังเกตรับรู้ เป็นขั้นให้ผู้เรียนได้รู้จักกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติ วิธีปฏิบัติ ข้อควรระวัง ความสำคัญของสิ่งที่จะเรียนหรือปฏิบัติ

 

2. ทำตามแบบ เป็นขั้นให้นักเรียนปฏิบัติตามครู หรือทำตามแบบ เช่น ตัวอย่าง เทป วิดีโอ ขั้นตอนหรือวิธีการ เป็นต้น

 

3. ทำเองโดยไม่มีแบบ เป็นการให้นักเรียนฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง ตั้งแต่ต้นจนครบกระบวนการทำงาน ครูเป็นเพียง ผู้คอยชี้แนะ

 

7. กระบวนการ 9 ขั้น ประกอบด้วย

1. ตระหนักในปัญหาและความจำเป็น เป็นขั้นที่ครูเสนอข้อมูลต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เล็งเห็นปัญหาและความสำคัญของสิ่งที่จะเรียน

2. คิดวิเคราะห์วิจารณ์ เป็นขั้นการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีการวิเคราะห์วิจารณ์ ระบุองค์ประกอบย่อยๆ ของการทำงาน หรือสาเหตุต่างๆ ของปัญหา

3. สร้างทางเลือกหลายหลาก เป็นขั้นให้นักเรียนค้นหาวิธีการทำงานตามองค์ประกอบย่อยๆ ในขั้นที่ 2 หรือคิดหาวิธีแก้ปัญหาในแต่ละสาเหตุอย่างหลายหลาก

4. ประเมินและเลือกทางเลือก เป็นขั้นที่นักเรียนมีการประเมิน และเลือกวิธีการที่คิดว่าเหมาะสมและดีที่สุดในการทำงานนั้นๆ หรือในการแก้ปัญหานั้นๆ

5. กำหนดและลำดับขั้นตอนปฏิบัติ เป็นขั้นให้นักเรียนวางแผนการทำงาน หรือแก้ปัญหาตามวิธีการที่เลือกไว้

6. ปฏิบัติด้วยความชื่นชม เป็นขั้นที่นักเรียนลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ที่วางไว้

7. ประเมินระหว่างปฏิบัติ เป็นขั้นให้นักเรียนบันทึกผลการทำงาน หรือการแก้ปัญหาในแต่ละขั้นตอน พร้อมทั้งมีการตรวจสอบความถูกต้อง หรือความเหมาะสมด้วย

8. ปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ จากขั้นที่ 7 เมื่อพบว่าการดำเนินงานขั้นตอนไหนบกพร่องก็ให้รีบปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

9. ประเมินผลรวมเพื่อเกิดความภูมิใจ เป็นขั้นให้นักเรียนสรุปผลการทำงาน หรือการแก้ปัญหาทั้งหมด แล้วนำเสนอผลงานนั้น

8. กระบวนการสอนเพื่อการสื่อสาร เป็นขั้นตอนของการสอนภาษา เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย

 

1. นำเข้าสู่บทเรียน (Warm up) เป็นขั้นกระตุ้นหรือจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ความต้องการเล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ในสิ่งที่จะเรียนนั้น

2. ขั้นนำเสนอบทเรียน (Presentation) เป็นขั้นให้นักเรียนได้รู้จัก และทำความเข้าใจในสิ่งที่จะเรียน เช่น ความหมายของคำกลุ่มคำ ประโยค ถ้อยคำสำนวน สัญลักษณ์ รูปภาพ เครื่องหมาย ความหมายของแบบฟอร์ม องค์ประกอบหรือหลักการต่างๆ เป็นต้น

3. ขั้นฝึก (Practice) เป็นขั้นฝึกปฏิบัติงานต่างๆ ทางภาษา ให้เกิดความชำนาญ ถูกต้องและแม่นยำ เช่น ฝึกทักษะการพูด การฟัง การอ่าน หรือการเขียนเกี่ยวกับสิ่งที่ครูกำหนดให้

4. การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร (Production) เป็นการนำเอาความรู้จากสิ่งที่ได้เรียนไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น จัดแสดงผลงาน รายงานผลงาน ตรวจผลงานของคนอื่น ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น หรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ต่างๆ เป็นต้น

 

การเขียนกำหนดการสอน

กำหนดการสอน เป็นการวางแผนการเรียนการสอนล่วงหน้าตลอดภาคเรียน ซึ่งนักศึกษาจะต้องปฏิบัติดังนี้

วิเคราะห์เนื้อหาทั้งหมดที่จะใช้สอนของแต่ละวิชา

แยกเนื้อหาของแต่ละบทเป็นเนื้อหาย่อยๆ

กำหนดจุดประสงค์ปลายทาง หรือนำทาง ให้สอดคล้องกับเนื้อหานั้นๆ

กำหนดเวลาที่จะใช้สอนให้เหมาะสมในแต่ละเนื้อหานั้น

เขียนกำหนดการสอนเรียงตามลำดับเนื้อหา จากสัปดาห์ที่ 1 จนถึงสัปดาห์สุดท้าย

สัปดาห์สอบระหว่างภาค และปลายภาค ให้เขียนระบุลงไปในกำหนดการสอนด้วย

เขียนกำหนดการสอนให้เสร็จ ก่อนเริ่มเขียนแผนการสอน

เขียนแผนการสอนให้สอดคล้องกับกำหนดการสอน ซึ่งแต่ละแผนที่สอนควรให้จบกระบวนการในการสอนแต่ละครั้ง และทั้งนี้ให้พิจารณาตามความเหมาะสม

 

การเขียนแผนการสอน

แผนการสอน เป็นการเตรียมการสอนอย่างมีระบบ เป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ครูวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อและอุปกรณ์ ตลอดจนการวัดผลประเมินผลได้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้อย่างครบถ้วน และสอดคล้องกับพัฒนาการด้านต่างๆ ของผู้เรียน

องค์ประกอบของแผนการสอน ที่สำคัญได้แก่

1. จุดประสงค์การเรียนรู้ เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ครูควรทำความเข้าใจอย่างแจ่มชัด เพราะองค์ประกอบอื่นๆ จะเป็นไปในทิศทางใดก็ต้องใช้จุดประสงค์การเรียนรู้เป็นหลัก จุดประสงค์การเรียนรู้ประกอบด้วย

1.1 จุดประสงค์ปลายทาง เป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนในการสอนตามแผนการสอนหนึ่งๆ จุดประสงค์ปลายทางนี้สามารถเขียนได้ 2 ลักษณะคือ

(1) เขียนในลักษณะจุดประสงค์ทั่วไป

(2) เขียนในลักษณะจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

จุดประสงค์ปลายทางนี้ส่วนใหญ่ในแต่ละวิชา ทางกลุ่มโรงเรียนจะร่วมกันจัดทำขึ้น

    1. จุดประสงค์นำทาง เป็นจุดประสงค์ย่อยๆ ที่จะนำไปสู่จุดประสงค์ปลายทาง โดยต้องเขียนเป็นลักษณะจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมเท่านั้น จุดประสงค์นำทางนี้มีความสำคัญมากในการเขียนแผนการสอน เพราะองค์ประกอบอื่นๆ จะต้องยึดจุดประสงค์นำทางเป็นหลัก เช่น เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และนำไปวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอนในแต่ละแผนการสอน แนวทางในการเขียนจุดประสงค์นำทางมี 2 แนวทางคือ

1.2.1) เขียนตามขั้นตอนของกระบวนการที่นำมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

1.2.2) เขียนตามเนื้อหาย่อยๆ ที่ได้จากการวิเคราะห์เนื้อหาของจุดประสงค์ปลายทาง

2. เวลาที่ใช้สอน ต้องระบุให้ชัดเจนว่าใช้สอนกี่คาบ หรือกี่ชั่วโมง

3. สาระสำคัญ เป็นการเขียนที่แสดงให้เห็นถึงแก่นสารของเรื่องที่จะสอนอย่างชัดเจน ซึ่งอาจเขียนเฉพาะเนื้อหาที่สำคัญโดยสรุปหลักการหรือวิธีการต่างๆ ตลอดจนประโยชน์ที่นักเรียนจะได้รับจากการสอนครั้งนั้นๆ

4. เนื้อหา เป็นการบันทึกสรุปเนื้อหาสาระต่างๆ ที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้ทราบขอบข่ายของเนื้อหาที่จะสอนว่ามีอะไรบ้าง และมีสาระโดยสรุปอย่างไร อีกทั้งยังเป็นขอบข่ายให้ผู้สอนแทนทราบว่า จะสอนเนื้อหาอะไร สอนเพียงใด

5. กิจกรรมการเรียนการสอน เป็นการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ทำเป็นไปตามขั้นตอนของกระบวนการ และให้สอดคล้องกับจุดประสงค์นำทางทุกข้อ ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง

6. สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งที่นำความรู้เข้าสู่ผู้เรียนโดยผ่านประสาทสัมผัส ซึ่งใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของแต่ละแผน อาจเป็นสื่อที่เป็นสื่อทางวาจา หรือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ การเขียนนั้นควรคำนึงดังนี้

1) เป็นสื่อเฉพาะแต่ละแผน สื่อที่ต้องใช้เป็นประจำไม่ต้องเขียนเช่น กระดาน ชอล์ค

2) ระบุชื่อให้ชัดเจน เช่น ใบงาน ต้องระบุว่าเป็นใบงานเกี่ยวกับอะไร รูปภาพเป็นรูปภาพอะไร

7. การวัดผลและประเมินผล ให้แยกเขียนเป็น 2 ตอน

7.1) การวัดผล ต้องเขียนให้ชัดเจนและสอดคล้องกับจุดประสงค์นำทางแต่ละข้อ โดยเขียนให้ผู้อ่านทราบว่าเป็นการวัดผลเกี่ยวกับอะไร ใช้เครื่องมืออะไรวัด ซึ่งเป็นการวางแผนไว้ล่วงหน้า

7.2) การประเมินผล เป็นการประเมินผลหลังจากที่ได้วัดผลการเรียนการสอนในแต่ละแผนแล้ว เพื่อให้ทราบว่า จากการวัดผลแต่ละอย่างนั้นนักเรียนส่วนใหญ่ได้ผลอย่างไร อยู่ในเกณฑ์ความพอใจระดับใด

8. กิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม เป็นกิจกรรมที่ครูหรือนักเรียนได้กำหนดขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องหรือส่งเสริมความแม่นยำ อาจทำได้ทั้งในและนอกห้องเรียน เช่น ศึกษาดูงาน ทำรายงานค้นคว้าเพิ่มเติม จัดการแข่งขันหรือประกวด การทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องสิ่งที่เรียน

 

หมายเหตุ ในการเขียนแผนการสอนสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ต้องเขียนล่วงหน้าที่จะใช้สอนจริงอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และต้องให้อาจารย์พี่เลี้ยงตรวจก่อนทุกครั้ง เพื่อให้ข้อเสนอแนะและความคิดเห็น

 

เมื่อเราวิเคราะห์เนื้อหา กำหนดจำนวนคาบที่จะใช้สอนในแต่ละบทเรียน พร้อมทั้งเขียนเป็นจุดประสงค์ปลายทาง (โรงเรียน/กลุ่มโรงเรียนมีให้แล้ว) จากนั้นนำจุดประสงค์ปลายทางมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดเนื้อหาย่อย บางครั้งถ้าจุดประสงค์ปลายทางกว้างมากไป อาจแยกย่อยอีกก็ได้

เนื้อหาคณิตศาสตร์ (ค.012) มี 4 บทเรียน ได้แก่ ภาคตัดกรวย ฟังก์ชัน ตรีโกณมิติ และสถิติเบื้องต้น ซึ่งจะขอยกตัวอย่างเฉพาะเรื่องภาคตัดกรวยดังนี้

ภาคตัดกรวย (จำนวนคาบทั้งหมด 24 คาบ) จุดประสงค์ปลายทางคือ นักเรียนสามารถ

    1. นำความรู้เรื่องการเลื่อนแกนทางขนานไปใช้ในการเขียนกราฟได้
    2. บอกได้ว่าสมการที่กำหนดให้เป็นสมการของวงกลม พาราโบลา วงรี หรือไฮเปอร์โบลา พร้อมทั้งเขียนกราฟได้
    3. บอกส่วนต่างๆ ของภาคตัดกรวย เมื่อกำหนดความสัมพันธ์ที่มีกราฟเป็นภาคตัดกรวยได้
    4. เขียนความสัมพันธ์ที่มีกราฟเป็นภาคตัดกรวย เมื่อกำหนดส่วนต่างๆ ของภาคตัดกรวยให้พร้อมทั้งเขียนกราฟได้
    5. นำความรู้เรื่องภาคตัดกรวยไปใช้แก้ปัญหาได้

ผลการวิเคราะห์จุดประสงค์ปลายทาง นำไปกำหนดเนื้อหาย่อย และเขียนกำหนดการสอนได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ต้วอย่างการเขียนกำหนดการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ( ค.012 )

กำหนดการสอน วิชาคณิตศาสตร์ (ค.012) ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4

สอนระหว่างวันที.......่ เดือน..... พ.ศ...... ถึง....... วันที่.............. เดือน ...............พ.ศ........

รวมทั้งหมด 20 สัปดาห์ รวมเวลา X คาบ (จำนวนคาบ X ห้องเรียน)

สัปดาห์ที่

เนื้อหาย่อย

เวลา(คาบ)

จุดประสงค์การเรียนรู้

1

ปฐมนิเทศ

บทที่ 1 ภาคตัดกรวย

1.1 การเลื่อนแกนทางขนาน

1.2 สมการวงกลม

- นิยามและสมการทั่วไป

-การหาสมการวงกลมเมื่อกำหนดส่วนประกอบ

-การหาส่วนประกอบเมื่อกำหนด

สมการวงกลม

1

2

 

 2

 

 

เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับการเรียนการสอนและอื่นๆ

-นำความรู้เรื่องการเลื่อนแกนทางขนานไปใช้เขียนกราฟได้

 

-บอกได้ว่าสมการที่กำหนดให้เป็นสมการวงกลมใด

-เขียนสมการวงกลมเมื่อกำหนดส่วนประกอบต่างๆ ให้ได้

-บอกส่วนประกอบต่างๆของวงกลมเมื่อกำหนด

สมการมาให้ได้

 

สัปดาห์ที่

เนื้อหาย่อย

เวลา (คาบ)

จุดประสงค์การเรียนรู้

2

- การแก้โจทย์ปัญหา

3. สมการพาราโบลา

- นิยามและสมการทั่วไป

-การหาสมการพาราโบลาเมื่อกำหนดส่วนประกอบ

- การหาส่วนประกอบเมื่อกำหนดสมการพาราโบลา

- การแก้โจทย์ปัญหา

1

2

 

2

-แก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการวงกลมได้

-บอกได้ว่าสมการที่กำหนดให้ใดเป็นสมการพาราโบลา

-เขียนสมการพาราโบลาเมื่อกำหนดส่วนประกอบต่างๆ

ให้ได้

-บอกส่วนประกอบต่างๆ ของพาราโบลา เมื่อกำหนด

สมการมาให้ได้

-แก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการพาราโบลาได้

3

-การแก้โจทย์ปัญหา (ต่อ)

4. สมการวงรี

-นิยามและสมการทั่วไป

-การหาสมการวงรีเมื่อกำหนดส่วนประกอบ

-การหาส่วนประกอบเมื่อกำหนดสมการวงรี

-การแก้โจทย์ปัญหา

1

2

 

2

 

 

-บอกได้ว่าสมการที่กำหนดให้ได้เป็นสมการ วงรี

-เขียนสมการวงรีเมื่อกำหนดส่วนประกอบต่างๆ ให้ได้

-บอกส่วนประกอบต่างๆ ของวงรีเมื่อกำหนดสมการ

มาให้ได้

-แก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับวงรีได้

4

 

 

 

 

5. สมการไฮเปอร์โบลา

-นิยามและสมการทั่วไป

-การหาสมการไฮเปอร์โบลาเมื่อ

กำหนดส่วนประกอบ

-การหาส่วนประกอบเมื่อกำหนด

สมการไฮเปอร์ฯ

-การแก้โจทย์ปัญหา

6. การนำความรู้เรื่องภาคตัดกรวยไปใช้แก้ปัญหาที่ซับซ้อน

 2

 

 

2

 

1

-บอกได้ว่าสมการที่กำหนดให้ใดเป็นสมการไฮเปอร์โบลา

-เขียนสมการไฮเปอร์โบลาเมื่อกำหนดส่วนประกอบ

ต่างๆ ให้ได้

-บอกส่วนประกอบต่างๆ ของไฮเปอร์โบลาเมื่อกำหนด

สมการมาให้ได้

-แก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการไฮเปอร์โบลาได้

-นำความรู้เรื่องภาคตัดกรวยไปใช้แก้ปัญหาที่ซับซ้อน

ได้

5

 

…

20

  • การนำความรู้เรื่องภาคตัดกรวยไปใช้แก้ปัญหาที่ซับซ้อน (ต่อ)

ทดสอบท้ายบทเรียน

…

สอบปลายภาคเรียน

1

2

…

 

จุดประสงค์ที่ ………..

….

จุดประสงค์ที่ ………..

 

ตัวอย่างกำหนดการสอนวิชาภาษาไทย 

กำหนดการสอน วิชา/กลุ่มประสบการณ์ การอ่านและพิจารณาวรรณกรรม (ท 021 : 2 คาบ/สัปดาห์)

ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5

สอนระหว่างวันที่……เดือน…………….…….พ.ศ. 2541 ถึงวันที่…….เดือน………….…..พ.ศ. 2541

รวมทั้งหมด 20 สัปดาห์ รวมเวลา 40 X 2 ห้องเรียน คาบ (จำนวนคาบ X ห้องเรียน)

สัปดาห์ที่

เนื้อหาย่อย

เวลา (คาบ)

จุดประสงค์การเรียนรู้

1

ปฐมนิเทศ

บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ

การอ่าน (1 คาบ)

1.1ความหมายของการอ่าน

1.2ความสำคัญของการอ่าน

1.3ระดับของการอ่าน

1.4ลักษณะของการอ่าน

1

 

1

เพื่อสร้างความคุ้นเคยและข้อตกลงเบื้องต้นระหว่าง ผู้เรียนกับผู้สอน

มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอ่าน

- บอกความหมายของการอ่านได้

- บอกความสำคัญของการอ่านได้

- ระบุความแตกต่างของการอ่าน อ่านแตก อ่านเป็นได้

- อธิบายลักษณะการอ่านในใจ อ่านออกเสียงร้อยแก้ว

และทำนองเสนาะได้

2

บทที่ 2 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ

วรรณกรรม (1 คาบ)

1.1ความหมายของวรรณกรรม

1.2ลักษณะทั่วไปของวรรณกรรม

1.3ลักษณะของวรรณคดี

1.4องค์ประกอบของวรรณศิลป์

1.5ข้อแตกต่างของวรรณกรรมกับวรรณคดี

บทที่ 3 ประเภทของวรรณกรรม

(1 คาบ)

1.1ความหมายของวรรณกรรมร้อยแก้ว

1.2วรรณกรรมที่แต่งด้วยร้อยแก้ว

1.3ความหมายของวรรณกรรมร้อยกรอง

1.4วรรณกรรมที่แต่งด้วยร้อยกรอง

 

 

1

 

1

 

ีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวรรณกรรม

-บ่งชี้ตัวอย่างของงานเขียนที่เป็นข้อเขียนและ

วรรณกรรมได้

-ระบุความแตกต่างของวรรณกรรมกับวรรณคดีได้

-อธิบายความหมายของวรรณกรรมได้

-อธิบายองค์ประกอบของวรรณศิลป์ได้

-อธิบายลักษณะของวรรณกรรมและวรรณคดีได้

มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของวรรณกรรม

-บอกเหตุผลในการจำแนกประเภทของวรรณกรรมได้

-อธิบายความหมายของร้อยแก้วและร้อยกรองได้

-อธิบายลักษณะเนื้อหาของวรรณกรรมร้อยแก้วและ

ร้อยกรองได้ (บันเทิงคดีและสารคดี)

-สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับประเภทของวรรณกรรมได้

 

 

สัปดาห์ที่

เนื้อหาย่อย

เวลา (คาบ)

จุดประสงค์การเรียนรู้

3

บทที่ 4 ส่วนประกอบของหนังสือ (1 คาบ)

1.5ส่วนประกอบของหนังสือ

1.6ส่วนประกอบของวารสาร

1.7ส่วนประกอบของหนังสือพิมพ์

     

     

     

     

    บทที่ 5 การปฏิทัศน์หนังสือ (2 คาบ)

    5.1 ความหมายของการปฏิทัศน์หนังสือ

    5.2 หลักการปฏิทัศน์หนังสือ

1

 

 

 

 

1

ีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนประกอบของ

หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์

- บ่งชี้ตัวอย่างของหนังสือ, วารสาร,

และหนังสือพิมพ์ได้

- ระบุความแตกต่างของหนังสือ, วารสาร,

และหนังสือพิมพ์ได้

- อธิบายลักษณะและส่วนประกอบต่างๆ

ของหนังสือ,วารสาร,และหนังสือพิมพ์ได้

- สรุปลักษณะของสิ่งพิมพ์ที่เป็นหนังสือ,วารสาร,

หนังสือพิมพ์ได้

ปฏิทัศน์หนังสือที่อ่านได้

-บอกความหมายของคำว่า "ปฏิทัศน์หนังสือ" ได้

-บอกหลักของการปฏิทัศน์หนังสือได้

4

5.3 ตัวอย่างการปฏิทัศน์หนังสือ

 

 

 

(ต่อจนถึงสัปดาห์ที่ 10)

1

-นำหลักการปฏิทัศน์มาวิเคราะห์องค์ประกอบของ

หนังสือที่อ่านได้

-เขียนปฏิทัศน์หนังสือที่อ่านได้ประเมินผลงาน

การเขียนการเขียนปฏิทัศน์ของผู้อื่น

10

สอบวัดผลระหว่างภาคเรียน

(ต่อไปอีกจนถึงสัปดาห์ที่ 20)

 

จุดประสงค์ที่สอบคือ………………………………….

20

สอบวัดผลปลายภาคเรียน

 

จุดประสงค์ที่สอบคือ………………………………….

 

ตัวอย่างกำหนดการสอนวิชาคอมพิวเตอร์

กำหนดการสอน วิชา/กลุ่มประสบการณ์ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (4 คาบ/สัปดาห์)

ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4

สอนระหว่างวันที่ 19 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2541 ถึงวันที่ 28 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541

รวมทั้งหมด 20 สัปดาห์ รวมเวลา 80 X 3 ห้องเรียน คาบ (จำนวนคาบ X ห้องเรียน)

สัปดาห์ที่

เนื้อหาย่อย

เวลา (คาบ)

จุดประสงค์การเรียนรู้

1

ปฐมนิเทศ

บทที่ 1 บทบาทของคอมพิวเตอร์ในชีวิต

ประจำวัน (3 คาบ)      1.1ความหมายและคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์

 

      1.2 บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานต่างๆ

      1.3 ผลกระทบของคอมพิวเตอร์กับสังคม

 

2

 

2

เพื่อสร้างความคุ้นเคยและข้อตกลงเบื้องต้นระหว่าง ผู้เรียนกับผู้สอน

มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของคอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน

- บอกความหมายและคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ได้

- บอกบทบาทและความสำคัญของคอมพิวเตอร์ใน

วงการต่างๆ ได้

- บอกผลกระทบของคอมพิวเตอร์กับสังคมทั้งใน

แง่บวกและแง่ลบได้

2

บทที่ 2 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

(2 คาบ)

2.1 ความเป็นมาและยุคต่างๆ ของ

คอมพิวเตอร์

2.2 ประเภทของคอมพิวเตอร์และความ

เป็นมาของไมโครคอมพิวเตอร์

บทที่ 3 ระบบคอมพิวเตอร์ (5 คาบ)

3.1 ความหมายของระบบคอมพิวเตอร์

3.2 ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์

 

 

2

 

2

 

 

มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

- ลำดับและบอกคุณลักษณะที่สำคัญของ

คอมพิวเตอร์แต่ละยุคได้

- จำแนกประเภทของคอมพิวเตอร์ได้

- บอกความเป็นมาของไมโครคอมพิวเตอร์ได้

มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์

- อธิบายความหมายของระบบคอมพิวเตอร์ได้

- บอกส่วนประกอบต่างๆ ของฮาร์ดแวร์พร้อมทั้ง

บอกหน้าที่ของแต่ละส่วนได้

3

3.3 ความหมายและประเภทของซอฟท์แวร์

 

3.4 บุคลากรในงานคอมพิวเตอร์

 

 

2

 

 

 

- บอกความหมาย จำแนกประเภทของซอฟท์แวร์

และบอกหน้าที่ในการทำงานของซอฟท์แวร์แต่ละ

ประเภทได้

- แจกแจงบุคลากรพร้อมบอกหน้าที่ในงาน

คอมพิวเตอร์ได้

 

 

  

สัปดาห์ที่

เนื้อหาย่อย

เวลา (คาบ)

จุดประสงค์การเรียนรู้

4

บทที่ 4 ข้อมูล (5 คาบ)

4.1 ความหมายของข้อมูล

4.2ชนิดและลักษณะข้อมูล

4.3รหัสแทนข้อมูล

4.4การจัดข้อมูล

4.5วิธีการนำข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์

 

 

2

มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล

- อธิบายความหมายของข้อมูลได้

- บอกชนิดและลักษณะของข้อมูลได้

- บอกความหมายของรหัสแทนข้อมูล และบอก

ลักษณะการเก็บข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์ได้

- อธิบายโครงสร้างการจัดข้อมูลทั่วไปได้

- บอกวิธีการและยกตัวอย่างการนำข้อมูล

เข้าคอมพิวเตอร์ได้

5

บทที่ 5 ภาษาคอมพิวเตอร์ (2 คาบ)

5.1 ลักษณะของภาษาแต่ละระดับ

 

 

บทที่ 6 ระบบไมโครคอมพิวเตอร์

(4 คาบ)

6.1 หน่วยรับข้อมูลและหน่วยประมวลผลกลาง

…………………………………………………………………………………………………………

2

 

 

 

2

มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์

-บอกลักษณะของภาษาแต่ละระดับได้

-บอกชื่อภาษาระดับสูง และอธิบายประเภทของงานที่

ใช้กับภาษาระดับสูงต่างๆ ได้

มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบไมโครคอมพิวเตอร์

- แจกแจงส่วนประกอบของระบบไมโครคอมพิวเตอร์

และบอกชื่ออุปกรณ์แต่ละหน่วยของ

ไมโครคอมพิวเตอร์ได้

………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………….

10

(ต่อจนถึงสัปดาห์ที่ 10)

สอบวัดผลระหว่างภาคเรียน

 

จุดประสงค์ที่สอบคือ………………………………………………

20

(ต่อจนถึงสัปดาห์ที่ 20)

สอบวัดผลปลายภาคเรียน

 

จุดประสงค์ที่สอบ…………………………………………………..

 

 ตัวอย่างการสอนวิชาวิทยาศาสตร์

กำหนดการสอน วิชา วิทยาศาสตร์ (ว 204 : 3 คาบ/สัปดาห์) ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4

สอนระหว่างวันที่ 19 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2541 ถึงวันที่ 28 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541

รวมทั้งหมด 20 สัปดาห์ รวมเวลา 80 X 3 ห้องเรียน คาบ

สัปดาห์ที่

เนื้อหาย่อย

เวลา (คาบ)

จุดประสงค์การเรียนรู้

1

ปฐมนิเทศ

บทที่ 1 โลกและการเปลี่ยนแปลง(18 คาบ)

1.1 โลกเกิดได้อย่างไร(1 คาบ)

-แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการกำเนิด

จักรวาลและโลก

1.2 ในโลกนี้มีอะไร (1 คาบ)

- ชั้นต่างๆ ของโลก(ชั้นเปลือกโลก,

ชั้นแมลเทิล,และชั้นแก่นโลก)

1

2

 

เพื่อสร้างความคุ้นเคยและข้อตกลงเบื้องต้นระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน

- ยกตัวอย่างแนวคิดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเกิดโลกได้

- สรุปได้ว่าการศึกษาเรื่องใดๆ อาจมีแนวคิดหรือ

ทฤษฎีที่อธิบายในเรื่องนั้นๆ ได้มากกว่า 1 ทั้งนี้ขึ้น

อยู่กับ ข้อมูลที่ค้นพบ

- สรุปเกี่ยวกับลักษณะของโลกซึ่งแบ่งเป็นชั้นๆ ได้

- อธิบายลักษณะบางประการของชั้นต่างๆ ของโลกได้

2

1.3 สถานะของสสารในโลก (2 คาบ)

-การเกาะตัวของอนุภาคของสสารและ

กิจกรรม"เกาะกันไว้"

-การเปลี่ยนสถานะของสสาร

 

-ลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบพื้นฐาน

ของสสาร

1.4 แม่เหล็กโลก (3 คาบ)

-สมบัติบางประการของแม่เหล็กและสภาพ

แม่เหล็กโลก

1

 

 

 

 

2

 

- สามารถอธิบายการเกาะตัวของอนุภาคของ

ของแข็ง,ของเหลวและก๊าซได้

- สามารถอธิบายการเปลี่ยนสถานะของสสารได้

สามารถปฏิบัติเกี่ยวกับการเกาะตัวของอนุภาคของ

ของแข็ง ของเหลว และก๊าซได้

- อธิบายความหมายของคำว่า "อะตอม,ธาตุ,และ

โมเลกุล"ได้

- อธิบายสมบัติบางประการของแม่เหล็กและสภาพ

แม่เหล็กโลกได้

- บอกประโยชน์ของแม่เหล็ก และแม่เหล็กโลกได้

3

-สนามแม่เหล็กของแท่งแม่เหล็ก และ

กิจกรรม "รอบๆ แท่งแม่เหล็ก"

-สนามแม่เหล็กโลก

1.5 มนุษย์ทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร (1 คาบ)

1

 

2

- สรุปเกี่ยวกับลักษณะของสนามแม่เหล็กของแท่ง

แม่เหล็กได้

- ชี้บ่งขั้วแม่เหล็กและสนามแม่เหล็กโลกได้

- อธิบายประโยชน์ของแม่เหล็กและสนามแม่เหล็ก

โลกได้

- อธิบายกระบวนการที่มนุษย์ทำให้เปลือกโลก

เปลี่ยนแปลงได้

- ยกตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกได้

 

 

สัปดาห์ที่

เนื้อหาย่อย

เวลา (คาบ)

จุดประสงค์การเรียนรู้

4

1.6 ธรรมชาติทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร (6 คาบ)

-ลักษณะของแผ่นเปลือกโลก

-การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

-การเกิดแผ่นดินไหว

 

1

2

 

-สรุปเกี่ยวกับลักษณะของแผ่นเปลือกโลกได้

-อธิบายกระบวนการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกได้

-สรุปเกี่ยวกับสาเหตุและผลการเกิดแผ่นดินไหว

5

-ภูเขาไฟ

 

-ภูเขา

-การกร่อน

1

2

-สรุปเกี่ยวกับการเกิดภูเขาไฟ และชี้บ่งบริเวณที่มี

โอกาสเกิดภูเขาไฟมากได้

-อธิบายเกี่ยวกับการเกิดภูเขาได้

-อธิบายและยกตัวอย่างกระบวนการกร่อนด้วย

กระแสน้ำ ปฏิกิริยาเคมี การเปลี่ยนแปลงของ

อุณหภูมิและแรงโน้มโถ่งได้

-สรุปผลที่เกิดจากการกร่อน และนำความรู้เกี่ยวกับ

การกร่อนไปอธิบายปรากฎการณ์ธรรมชาติ

บางอย่าง (การทับถม หินงอก หินย้อย)

10

(ต่อจนถึงสัปดาห์ที่ 10)

สอบวัดผลระหว่างภาคเรียน

 

จุดประสงค์ที่สอบคือ……………………………………………

20

(ต่อไปอีกจนถึงสัปดาห์ที่ 20)

สอบวัดผลปลายภาคเรียน

 

จุดประสงค์ที่สอบคือ……………………………………………

 

 ตัวอย่างแผนการสอนวิชาคณิตศาสตร์

แผนการสอนวิชา คณิตศาสตร์ (ค 015) บทที่ 1 เรื่อง พจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิต

ชั้น ม.5/1 วันที่ 15 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2541 เวลา 8.30-10.10 จำนวน 2 คาบ

ชั้น ม.5/2 วันที่ 16 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2541 เวลา 8.30-10.10 จำนวน 2 คาบ

รวมเวลาทั้งหมด 4 คาบ


1. สาระสำคัญ

ถ้าเราเข้าใจเกี่ยวกับนิยามของลำดับเลขคณิต จะสามารถนำไปใช้เพื่อหาข้อสรุปเป็นสูตรการหาพจน์ที่ n (พจน์ทั่วไป)ของลำดับเลขคณิตได้ดังนี้

พจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิต (an) = a1+(n-1)d เมื่อ a1 แทนพจน์ที่ 1 ของลำดับเลขคณิต n เป็นจำนวนเต็มบวก และ d (ผลต่างร่วม) = an+1-an

 

2. จุดประสงค์

จุดประสงค์ปลายทาง นักเรียนสามารถนำสูตรการหาพจน์ทั่วไป ไปใช้แก้โจทย์ปัญหาได้

จุดประสงค์นำทาง

    1. นักเรียนสามารถบอกนิยามของลำดับเลขคณิตได้
    2. นักเรียนสามารถบอกได้ว่าลำดับที่กำหนดให้เป็นลำดับเลขคณิตหรือไม่
    3. นักเรียนสามารถบอกสูตรการหาพจน์ทั่วไป ของลำดับเลขคณิตได้
    4. นักเรียนสามารถหาพจน์ที่ n และพจน์ต่างๆ ของลำดับเลขคณิตที่กำหนดให้ได้

3. เนื้อหา

1. นิยามของลำดับเลขคณิต กล่าวว่า "ลำดับเลขคณิตคือ ลำดับที่ผลต่างซึ่งเกิดจากการนำเอาพจน์หลังลบด้วยพจน์หน้าที่อยู่ติดกันมีค่าคงตัว (เท่ากัน) เสมอ เรียกค่าคงตัวนั้นว่า ผลต่างร่วมและเขียนแทนด้วย d"

2. พจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิต (an ) มีสูตรการหาดังนี้ an = a1 + (n-1)d เมื่อ an แทนพจน์ที่ n หรือพจน์ทั่วไป โดยที่ n เป็นจำนวนเต็มบวก และ d แทนผลต่างร่วม

 

4. กิจกรรมการเรียนการสอน (กระบวนการสร้างทักษะคำนวณ)

ตรวจสอบความคิดรวบยอด

1. ครูเขียนลำดับดังนี้บนกระดาน a1,a2,a3,…,an-1,an,an+1,… พร้อมกับถามว่า "รูปแบบที่ครูเขียนนี้แสดงเกี่ยวกับอะไร" จากนั้นให้นักเรียนอ่านพจน์ต่างๆ เหล่านั้น

2. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ

3. ครูให้นักเรียนศึกษาทำความเข้าใจ นิยามของลำดับเลขคณิต ที่แสดงในชาร์ทบนกระดาน

4. ให้นักเรียนยกตัวอย่างลำดับเลขคณิตคนละ 1 ตัวอย่าง จากนั้นสุ่มให้ออกมาเขียนบนกระดานพร้อมอธิบาย

5. ให้แต่ละคนตรวจสอบลำดับเลขคณิตของตนเอง ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง

สรุปเป็นกฏ สูตร ทฤษฎีบท

6. ครูให้นักเรียนศึกษาชาร์ทแสดงวิธีการหาพจน์ทั่วไป (an ) ดังนี้

7. ให้นักเรียนช่วยกันสรุปเป็นสูตรการหาพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิตและเขียนบนกระดานดังนี้ an = a1 + (n-1)d

 

 

ฝึกการใช้กฏ สูตร ทฤษฎีบท

8. ครูยกตัวอย่างการหาพจน์ทั่วไป และพจน์ต่างๆ ของลำดับเลขคณิตที่กำหนดให้ เช่น จงหาพจน์ที่ n และพจน์ที่ 20 ของลำดับเลขคณิต (1) 7,10,13,18… (2) 15,10,5,0,…

9. แจกใบงานที่ 1 เรื่อง การหาพจน์ทั่วไปให้นักเรียนแต่ละคนทำ ใช้เวลา 15 นาที

10. ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียนเป็นการบ้านส่ง

ปรับปรุงแก้ไข

11. ขณะนักเรียนกำลังทำกิจกรรมในใบงานที่ 1 นั้น ครูคอยดูแลให้คำปรึกษา เพื่อนักเรียนจะได้ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องได้

12. ครูให้นักเรียนออกมาเฉลยใบงานที่ 1 หน้าชั้นเรียน ทุกคนช่วยกันตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง

13. ครูตรวจใบงานที่ 1 ที่นักเรียนปรับปรุงแก้ไขแล้วอีกครั้ง

14. ครูตรวจแบบฝึกหัดเรื่องการหาพจน์ทั่วไป และนำข้อบกพร่องมาอธิบายชี้แนะ แล้วให้นักเรียนแก้ไขให้ถูกต้อง และครูตรวจผลการปรับปรุงแก้ไขแล้วอีกครั้ง

 

5. สื่อการเรียนการสอน

1. ชาร์ทแสดงนิยามของลำดับเลขคณิต

2. ชาร์ทแสดงวิธีหาพจน์ที่ n ของลำดับเลขคณิต

3. ตัวอย่างการหาพจน์ที่ n และพจน์ต่างๆ ของลำดับเลขคณิต

4. ใบงานที่ 1 เรื่องการหาพจน์ทั่วไป

5. แบบฝึกหัดเรื่องการหาพจน์ทั่วไป

 

6. การวัดผลและประเมินผล

การวัดผล

1. สังเกตจากการบอกนิยามของลำดับเลขคณิตของนักเรียน

2. สังเกตจากการยกตัวอย่างลำดับเลขคณิตของนักเรียน

3. สังเกตจากการบอกสูตรทั่วไปของลำดับเลขคณิต

4. ตรวจใบงานที่ 1 เรื่องการหาพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิต

5. ตรวจแบบฝึกหัดเรื่องการหาพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิต

 

การประเมินผล (ประเมินหลังสอนเสร็จ)

1. นักเรียนทุกคนบอกนิยามของลำดับเลขคณิตได้ถูกต้อง อยู่ในระดับ……………………

2. นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) ยกตัวอย่างลำดับเลขคณิตได้ถูกต้อง อยู่ในระดับ….

3. นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80)บอกสูตรการหาพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิต

  1. ได้ถูกต้องอยู่ในระดับ………………………………………………………………………………….

4. นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80)ทำใบงานที่ 1 เรื่องการหาพจน์ทั่วไปของลำดับ

เลขคณิตได้อยู่ในระดับ……………………………………………………………………………….

5. นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80)ทำแบบฝึกหัดเรื่องการหาพจน์ทั่วไปของลำดับ

เลขคณิตได้อยู่ในระดับ………………………………………………………………………………

ม.5/1

ม.5/2

ดีมาก

ปานกลาง

ดี

ต้องปรับปรุง

ดี

ดี

ดี

ปานกลาง

ดี

ดี

7. กิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม (ถ้ามี)

ควรสอนซ่อมเสริมนักเรียนชั้น ม.5/2 เรื่องลำดับเลขคณิต ..........................................................................................................................................................................

8. ข้อเสนอแนะความคิดเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยง

..........................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

 

 

ลงชื่อ.............................

(.......................................)

วันที่.......เดือน........พ.ศ....

 

9. ข้อเสนอแนะความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศก์

......................................................................................................................

....................................................................................................................

 

 

 

ลงชื่อ.............................

(.......................................)

วันที่.......เดือน........พ.ศ....

 

 

 

 

ตัวอย่างแผนการสอนวิชาภาษาไทย

แผนการสอนวิชา ท 021 (การอ่านและพิจารณาวรรณกรรม) บทที่ 3 เรื่อง ประเภทของวรรณกรรม

ชั้น ม. 5/1 วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 เวลา 13.00-13.50 น. จำนวน 1 คาบ

ชั้น ม. 5/2 วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 เวลา 08.30-09.20 น. จำนวน 1 คาบ

รวมเวลาทั้งหมด 2 คาบ

 


 

1. สาระสำคัญ

วรรณกรรมมีหลายประเภท การศึกษาเกี่ยวกับวรรณกรรมแล้วอธิบายประเภทของวรรณกรรมได้นั้น ผู้เรียนจะต้องอธิบายเหตุผลในการจำแนกประเภทของวรรณกรรมได้ว่า วรรณกรรมเล่มใด ฉบับใดเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง เล่มใดเป็นบันเทิงคดีหรือสารคดี จึงจะทำให้สามารถเลือกอ่านและพิจารณาคุณค่าวรรณกรรมดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

 

2. จุดประสงค์

จุดประสงค์ปลายทาง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของวรรณกรรม

จุดประสงค์นำทาง

1. บอกเหตุผลในการจำแนกประเภทของวรรณกรรมได้

 

2. อธิบายความหมายของร้อยแก้วและร้อยกรอง และยกตัวอย่างได้

3. อธิบายลักษณะเนื้อหาของวรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรองได้ (บันเทิงคดี สารคดี)

4. สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับประเภทของวรรณกรรมได้

 

3. เนื้อหา

- ความหมายของวรรณกรรมร้อยแก้ว

- วรรณกรรมที่แต่งด้วยร้อยแก้ว

- ความหมายวรรณกรรมร้อยกรอง

- วรรณกรรมที่แต่งด้วยร้อยกรอง

ประเภทของวรรณกรรม มี 2 ประเภท คือ

1. วรรณกรรมร้อยแก้ว คือ หนังสือที่ไม่มีลักษณะบังคับในการแต่ง แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

- สารคดี เช่น พระราชพงศาวดาร จดหมายเหตุ สารคดีท่องเที่ยว ฯลฯ

- บันเทิงคดี เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น นิทาน บทละครพูด ฯลฯ

2. วรรณกรรมร้อยกรอง คือ หนังสือที่มีลักษณะบังคับในการแต่งหรือกำหนดคณะ เช่น

กำหนดจำนวนคำ กำหนดสัมผัส กำหนดครุ-ลหุ วรรณกรรมร้อยแก้วแบ่งเป็น 2 ลักษณะ

- แบ่งตามลักษณะคำประพันธ์ ได้แก่ กวีนิพนธ์ต่างๆ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ฯลฯ

- แบ่งตามเนื้อหาหรือวัตถุประสงค์การแต่ง แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

- สารคดี เช่น สุภาษิตสอนหญิง โคลงเฉลิมพระเกียรติ ลิลิตองค์การแช่งน้ำ ฯลฯ

- บันเทิงคดี เช่น ขุนช้างขุนแผน ลิลิตพระลอ พระอภัยมณี ฯลฯ

 

 

4. กิจกรรมการเรียนการสอน (กระบวนการเรียนความรู้ความเข้าใจ)

สังเกต-ตระหนัก

1. ครูให้นักเรียน 3-5 คน อภิปรายโดยการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับหนังสือวรรณคดีและวรรณกรรม ที่ได้เห็นในตลาดหนังสือ ที่มีหลายชนิดหลายรูปแบบการแต่งและมีเนื้อหาต่างๆ กัน จึงต้องแบ่งประเภทของวรรณกรรมตามรูปแบบการแต่ง และตามเนื้อหาในเล่ม ให้นักเรียนสังเกตพิจารณาตัวอย่างวรรณกรรมประเภทต่างๆ ที่ครูนำมาให้ศึกษา 9-10 เล่ม เพื่อบอกลักษณะการแต่งของหนังสือแต่ละเล่ม

2. นักเรียนช่วยกันสรุปประเภทใหญ่ๆ ของวรรณกรรมตามลักษณะการแต่ง ซึ่งมี 2 ประเภท คือ วรรณกรรมร้อยแก้วกับวรรณกรรมร้อยกรอง

วางแผน-ลงมือปฏิบัติ

3. แบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่มให้แต่ละกลุ่มช่วยกันวางแผนศึกษาค้นคว้า เรื่องที่ครูกำหนดให้ ดังนี้

- กลุ่มที่ 1 วรรณกรรมร้อยแก้วประเภทสารคดี

- กลุ่มที่ 2 วรรณกรรมร้อยแก้วประเภทบันเทิงคดี

- กลุ่มที่ 3 วรรณกรรมร้อยกรองประเภทสารคดี

- กลุ่มที่ 4 วรรณกรรมร้อยกรองประเภทบันเทิงคดี

4. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันศึกษาค้นคว้าเรื่องที่ครูกำหนดให้ จากหนังสือเรียน ท 021, ใบความรู้เรื่อง "ประเภทของวรรณกรรม" และหนังสือเรียนประวัติวรรณคดี (ท 031, ท 032) กลุ่มละ 7-10 นาที

พัฒนาความรู้

5. ตัวแทนนักเรียนแต่ละกลุ่มนำความรู้ที่ได้ มารายงานหน้าชั้นเรียนขณะที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งรายงานหน้าชั้น นักเรียนคนอื่นๆ สามารถอภิปรายเพิ่มเติมได้

สรุป

6. นักเรียนช่วยกันสรุปสาระสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับประเภทของวรรณกรรม และทุกคนจดบันทึกความรู้ลงในสมุดบันทึกของตนเอง

7. นักเรียนทำแบบฝึกหัดตามคำสั่งในใบงานเรื่อง ประเภทของวรรณกรรม

 

5. สื่อการเรียนการสอน

1. หนังสือวรรณกรรมประเภทต่างๆ 9-10 เล่ม

2. ใบความรู้เรื่อง ประเภทของวรรณกรรม

3. หนังสือเรียน ท 021 ของประทีป วาทิกทินกร และสมพันธุ์ เลขะพันธุ์

4. ใบงานเรื่อง ประเภทของวรรณกรรม

 

6. การวัดผลประเมินผล

การวัดผล

1. สังเกตจากการรายงานหน้าชั้นเกี่ยวกับเหตุผลในการจำแนกวรรณกรรมที่อ่านเป็นประเภทต่างๆ

2. สังเกตจากการให้นักเรียนช่วยกันสรุปสาระสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับประเภทของวรรณกรรม ทั้งในแง่

ความหมายและลักษณะเนื้อหา และยกตัวอย่างประกอบ

3. ตรวจแบบฝึกหัดจากใบงานเรื่อง ประเภทของวรรณกรรม

การประเมินผล

ม.5/1

ม.5/2

  1. จากการรายงานหน้าชั้น นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) บอกเหตุผลในการ

จำแนกประเภทวรรณกรรมที่อ่านได้อยู่ในระดับ……………………………………………..

ดี

ดี

2. นักเรียนทุกคนสามารถสรุปสาระสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับประเภทของวรรณกรรม

ได้อยู่ในระดับ…………………………………………………………………………………………

ดี

พอใช้

3. นักเรียนทุกคนสามารถทำแบบฝึกหัดในใบงานเรื่องประเภทของวรรณกรรม

ได้อยู่ในระดับ…………………………………………………………………………………………

ดี

ดีมา

7. กิจกรรมเสนอแนะ

1. ให้นักเรียนทำบัญชีรายชื่อหนังสือวรรณกรรมแต่ละประเภท ประเภทละอย่างน้อย 30 ชื่อ

2. ให้นักเรียนนำตัวอย่างวรรณกรรมแต่ละประเภทมาแสดง และจัดนิทรรศการตามโอกาสอันควร

 

8. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยง

......................................................................................................................................................................................

......................................................................................................................................................................................

 

 

ลงชื่อ...............................................

(...................................................)

วันที่......เดือน.........พ.ศ.....................

 

9. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศก์

......................................................................................................................................................................................

......................................................................................................................................................................................

 

                                                                                                                  ลงชื่อ...............................................

                                                                                                  (...................................................)

                                                                                                     วันที่......เดือน.........พ.ศ.....................

 

 

 

 

 

 

 

ตัวอย่างแผนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์

แผนการสอน วิชา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ บทที่ 2 เรื่อง ประเภทของคอมพิวเตอร์และความเป็นมาของ

ไมโครคอมพิวเตอร์

ชั้น ม. 4/1 วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2541 เวลา 13.00-13.50 น. จำนวน 1 คาบ

ชั้น ม. 4/2 วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2541 เวลา 13.50-14.40 น. จำนวน 1 คาบ

ชั้น ม. 4/3 วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2541 เวลา 11.10-12.00 น. จำนวน 1 คาบ

รวมเวลาทั้งหมด 3 คาบ

 


1. สาระสำคัญ

ตั้งแต่ได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกเกิดขึ้นในโลก การสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องหลายๆ ด้าน ทั้งด้านขนาด ราคาเครื่อง ประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้คอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะปัจจุบันนี้ ได้มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาไม่แพงนัก ที่เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ เข้ามามีบทบาทมากในชีวิตประจำวัน ดังนั้นก่อนที่ผู้เรียนจะเจาะลึกในเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สิ่งหนึ่งที่ผู้เรียนน่าจะทำได้ คือ สามารถจำแนกประเภทของคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป และบอกถึงความเป็นมาของไมโครคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ต่อไป

 

 

2. จุดประสงค์

จุดประสงค์ปลายทาง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

จุดประสงค์นำทาง

- จำแนกประเภทของคอมพิวเตอร์ตามขนาดและราคาเครื่องได้

- บอกความเป็นมาของไมโครคอมพิวเตอร์ได้

 

3. เนื้อหา

- ประเภทของคอมพิวเตอร์

- ความเป็นมาของไมโครคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ จำแนกตามขนาดและราคาเครื่อง เป็น 4 ประเภท คือ

    1. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์
    2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
    3. มินิคอมพิวเตอร์
    4. ไมโครคอมพิวเตอร์

 

ไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และมีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับอีก 3 ประเภท จึงเป็นที่นิยมกันแพร่หลายสำหรับบุคคลทั่วไป เพราะสามารถทำงานได้หลายหน้าที่ ทั้งงานด้านข้อมูลส่วนบุคคลและงานอื่นๆ และปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตก็ได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพ และประโยชน์ในการใช้งานอย่างต่อเนื่อง

 

4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (กระบวนการเรียนความรู้ความเข้าใจ)

สังเกต-ตระหนัก

1. ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ จากรูปภาพที่ครูให้ดู หรือจากที่ครูเล่าให้ฟังทั้งในแง่ขนาดรูปร่าง ราคา ประโยชน์และประสิทธิภาพในการทำงานและอื่นๆ แล้วให้นักเรียนอภิปรายว่า "ถ้าเราจะจำแนกประเภทของคอมพิวเตอร์ นักเรียนจะจำแนกโดยใช้หลักการใด เพราะอะไร และจำแนกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง"

2. จากการอภิปรายครูชี้ให้เห็นว่า การจำแนกประเภทของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งตามลักษณะต่างๆ ได้หลากหลาย แต่ในที่นี้จะจำแนกตาม "ขนาดและราคาเครื่อง"

วางแผน-ลงมือปฏิบัติ

3. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน ให้แต่ละกลุ่มวางแผนศึกษา เพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาสาระต่างๆ ในใบความรู้เรื่องประเภทของคอมพิวเตอร์ และความเป็นมาของไมโครคอมพิวเตอร์ จากนั้นจะให้ทุกคนในกลุ่มช่วยกัน ทำแบบทดสอบเกี่ยวกับเรื่องที่ได้ศึกษา แข่งขันกันว่ากลุ่มใดจะได้คะแนนสูงสุด

4. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันศึกษา ทำความเข้าใจเนื้อหาจากใบความรู้ที่แจกให้กลุ่มละ 2-3 ชุด กลุ่มละ 7-10 นาที จากนั้นเก็บใบความรู้นั้น

พัฒนาความรู้ความเข้าใจ

5. แจกแบบทดสอบเรื่อง ประเภทของคอมพิวเตอร์และความเป็นมาของไมโครคอมพิวเตอร์ (ปรนัย 4 ตัวเลือก 10 ข้อ) ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันทำ กลุ่มละ 5-6 นาที

6. แต่ละกลุ่มเปลี่ยนกันตรวจ ส่งตัวแทนออกมาเฉลยเวียนกันกลุ่มละข้อ พร้อมกับอธิบาย นักเรียนกลุ่มอื่นๆ สามารถแสดงความคิดเห็นได้ และช่วยกันประเมินคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

7. รวมคะแนน และให้การเสริมแรงกับกลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด

สรุป

8. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปสาระสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับประเภทของคอมพิวเตอร์เมื่อจำแนกตามขนาดและราคาเครื่อง และสรุปเกี่ยวกับความเป็นมาของไมโครคอมพิวเตอร์ แล้วให้ทุกคนจดบันทึกความรู้ลงในสมุดบันทึกของตนเอง

 

5. สื่อการเรียนการสอน

1. รูปภาพคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ

2. ใบความรู้เรื่อง ประเภทของคอมพิวเตอร์ และความเป็นมาของไมโครคอมพิวเตอร์

3. แบบทดสอบเรื่อง ประเภทของคอมพิวเตอร์และความเป็นมาของไมโครคอมพิวเตอร์

 

6. การวัดผลประเมินผล

การวัดผล

1. สังเกตจากการให้อภิปรายเกี่ยวกับการแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์

2. จากการตรวจแบบทดสอบเรื่องประเภทของคอมพิวเตอร์ และความเป็นมาของไมโครคอมพิวเตอร์

3. สังเกตจากการให้ช่วยกันสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับประเภทของคอมพิวเตอร์และความเป็นมาของไมโครคอมพิวเตอร์

 

 

 

การประเมินผล

ม.4/1

ม.4/2

ม.4/3

1. จากการอภิปรายนักเรียนส่วนใหญ่(ร้อยละ 85) สามารถจำแนกประเภท

ของคอมพิวเตอร์ตามลักษณะต่างๆ พร้อมบอกเหตุผลได้อยู่ในระดับ…………

ดี

ดี

ดีมาก

2. นักเรียนทุกกลุ่มทำแบบทดสอบเรื่องที่เรียนได้อยู่ในระดับ………………………..

ดี

ดี

ดี

3. นักเรียนทุกคนสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับประเภทของคอมพิวเตอร์

  1. และความเป็นมาของไมโครคอมพิวเตอร์ได้อยู่ในระดับ…………………………..

ดี

ปานกลาง

ดี

7. กิจกรรมเสนอแนะ

..................................................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................................................

8. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยง

.................................................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................................................

 

 

 

ลงชื่อ.................................................

(.....................................................)

วันที่.......เดือน...........พ.ศ...............

 

9. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศก์

.................................................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................................................

 

 

 

ลงชื่อ.....................................

(.........................................)

วันที่.....เดือน..........พ.ศ.....

 

 

 

ตัวอย่างแผนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์

 แผนการสอนวิชา วิทยาศาสตร์ (ว 101) บทที่……..เรื่องสารละลาย

ชั้น ม.1/1 วันที่ 13 เดือน มกราคม พ.ศ.2541 เวลา 08.30-09.20 น. จำนวน 1 คาบ

ชั้น ม.1/2 วันที่ 14 เดือน มกราคม พ.ศ.2541 เวลา 09.20-10.10 น. จำนวน 1 คาบ

รวมเวลาทั้งหมด 2 คาบ

 


 

1. สาระสำคัญ

สารละลายเป็นสารที่ประกอบด้วยตัวทำละลายและตัวถูกละลาย ซึ่งพบบ่อยมากในชีวิตประจำวัน สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการละลายหรือในการทำละลายต่างกัน ผู้เรียนควรมีความรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

 

2. จุดประสงค์

จุดประสงค์ปลายทาง นักเรียนสามารถอธิบายและสรุปเกี่ยวกับสารละลายได้

จุดประสงค์นำทาง

1. นักเรียนบอกความหมายของสารละลายได้

2. นักเรียนบอกองค์ประกอบ ตัวทำละลาย ตัวถูกละลายได้

3. นักเรียนบอกความหมายของความเข้มข้นของสารละลาย สารละลายเจือจางได้

 

3. เนื้อหา

1. สารละลาย คือ สารเนื้อเดียวประกอบด้วยตัวทำละลาย ตัวถูกละลาย โดยทั่วไปสารละลายมีทั้งของแข็ง ของเหลว และก๊าซ สารแต่ละชนิดละลายในตัวทำละลายแต่ละชนิดได้ต่างกัน และตัวทำละลายชนิดเดียวกันจะละลายสารแต่ละชนิดได้ต่างกันด้วย

2. ปริมาณของตัวถูกละลายที่ละลายในการละลายเรียกว่า ความเข้มข้นของสารละลาย ในชีวิตประจำวันที่เราใช้สารละลายมีทั้ง สารละลายเข้มข้น และสารละลายเจือจาง

 

4. กิจกรรมการเรียนการสอน (กระบวนการวิทยาศาสตร์)

กำหนดปัญหา

1. ครูยกตัวอย่างสารต่างๆ ทั้งที่เป็นสารบริสุทธิ์ สารผสม และสารละลาย ที่พบในชีวิตประจำวัน โดยแบ่งเป็นพวกๆอย่างชัดเจน เช่น (1) น้ำกลั่น น้ำตาล เกลือ - - เป็นสารบริสุทธิ์ (2) น้ำเชื่อม น้ำเกลือ- -เป็นสารละลาย (3) น้ำขุ่น พริกเกลือ- -เป็นสารผสม

2. ครูซักถามนักเรียนเพื่อให้มองเห็นปัญหาที่จะเรียน (1) นักเรียนคิดว่าตัวทำละลายคืออะไร (2) ในสารละลายจะมีทั้งตัวถูกละลาย และตัวทำละลาย นักเรียนคิดว่าตัวทำละลายคืออะไร และตัวถูกละลายคืออะไร (3) ในสารละลายจะมีทั้งสารละลายเข้มข้น และสารละลายเจือจาง นักเรียนคิดว่าสารละลายที่เข้มข้นคืออะไร สารละลายเจือจางคืออะไร

 

ตั้งสมมติฐาน

3. ครูให้นักเรียนคิดหาคำตอบจากประเด็นปัญหาดังกล่าวรวบรวมไว้เพื่อตรวจสอบต่อไป

รวบรวมข้อมูล

4. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ ให้ศึกษาข้อมูลในบทเรียนหน้า….ใช้เวลา 10 นาที

วิเคราะห์และสรุป

5. ครูและนักเรียนอภิปรายและสรุปเกี่ยวกับ ความหมายของสารละลาย ตัวทำละลายและตัวถูกละลาย

6. ครูและนักเรียนอภิปรายสรุปเกี่ยวกับองค์ประกอบ ตัวทำละลาย และตัวถูกละลาย โดยใช้ตารางข้อมูล แนวคำถาม ตามบทเรียนหน้า…………………………...

7. ครูและนักเรียนอภิปราย และสรุปเกี่ยวกับความเข้มข้นของสารละลาย สารละลายเข้มข้น สารละลายเจือจาง ตามรายละเอียดในบทเรียนหน้า………

8. ให้นักเรียนแต่ละคนสรุปความหมายพร้อมยกตัวอย่าง เรื่องต่อไปนี้ ลงในสมุด

    1. สารละลายคืออะไร (2) ตัวทำละลายคืออะไร (3) ตัวถูกละลายคืออะไร (4) สารละลายเข้มข้นคืออะไร (5) สารละลายเจือจางคืออะไร

 

 

5. สื่อการเรียนการสอน

    1. เนื้อหาเกี่ยวกับความหมายของสารละลาย ในแบบเรียน ว 101 หน้า………
    2. ตารางข้อมูล ในแบบเรียน ว 101 หน้า……………
    3. เนื้อหาเกี่ยวกับความเข้มข้นของสารละลาย ในแบบเรียน ว 101 หน้า……….

 

 

6. การวัดผลและประเมินผล

การวัดผล

1. สังเกตจากการอภิปราย และซักถามเกี่ยวกับความหมายของสารละลาย สารละลายเข้มข้น และสารละลายเจือจาง

2. สังเกตจากการตอบคำถามเกี่ยวกับองค์ประกอบ ตัวทำละลาย และตัวถูกละลาย

3. ตรวจสมุด

การประเมินผล (ประเมินหลังสอนเสร็จ)

ม.1/1

ม.1/2

1. นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 75) อภิปรายและตอบข้อซักถามเกี่ยวกับความหมาย

ของสารละลาย สารละลายเข้มขึ้นและสารละลายเจือจางได้อยู่ในระดับ……………..

ดี

ดีมาก

2. นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 75) ตอบคำถามเกี่ยวกับองค์ประกอบ ตัวทำละลาย

และตัวถูกละลายได้อยู่ในระดับ………………………………………………………………….

ดี

ดี

3. จากการตรวจสมุด นักเรียนทุกคนเขียนตอบข้อคำถามต่างๆ ที่กำหนดได้อยู่ใน

ระดับ……………………………………………………………………………………………………

ดีมาก

ดี

 

 

7. กิจกรรมเสนอแนะ (ถ้ามี)

ครูให้นักเรียนรวบรวมสารละลายที่พบในชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งบอกว่าสารละลายนั้นมีสารใดเป็นตัวทำละลาย และสารใดเป็นตัวถูกละลาย

 

8. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยง

....................................................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................................................

 

ลงชื่อ..........................................

(...........................................)

วันที่.....เดือน.........พ.ศ......

 

9. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศก์

.................................................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................................................

 

ลงชื่อ.............................................

(....................................................)

วันที่.......เดือน............พ.ศ......

 

 

 

 

ตัวอย่างแผนการสอนวิชาเคมี

แผนการสอนวิชา เคมี (ว 431) บทที่ 1 เรื่อง การทดลองที่ 1.1 (การแยกสารประกอบ)

ชั้น ม.4/1 วันที่ 15 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2541 เวลา 08.30-09.20 น. จำนวน 1 คาบ

ชั้น ม.4/2 วันที่ 15 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2541 เวลา 13.00-13.50 น. จำนวน 1 คาบ

ชั้น ม.4/3 วันที่ 16 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2541 เวลา 08.30-09.20 น. จำนวน 1 คาบ

รวมเวลาทั้งหมด 3 คาบ

 


 

1. สาระสำคัญ

สารประกอบ เป็นสารบริสุทธิ์เนื้อเดียวที่ประกอบด้วยอะตอมของธาตุตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ในการตรวจสอบสารประกอบนั้น วิธีหนึ่งที่ใช้ได้คือ ให้ความร้อนแก่สารประกอบ เพื่อทำให้แยกสลายส่วนประกอบของสารประกอบนั้น ช่วยให้ระบุได้ว่าสารประกอบนั้นมีองค์ประกอบใดบ้าง การมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

 

2. จุดประสงค์

จุดประสงค์ปลายทาง

นักเรียนสามารถระบุได้ว่าสารชนิดใดเป็นธาตุ หรือสารประกอบพร้อมทั้งเขียนสัญลักษณ์หรือสูตรแทนได้

จุดประสงค์นำทาง

นักเรียนสามารถทำการทดลอง รวบรวมข้อมูล และสรุปได้ว่าสารบริสุทธิ์ที่กำหนดให้ใดเป็นธาตุ หรือสารประกอบ

 

3. เนื้อหา

สารประกอบ คือสารบริสุทธิ์เนื้อเดียวที่ประกอบด้วยธาตุตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ในการตรวจสอบสารประกอบวิธีหนึ่งคือ ใช้พลังงานความร้อนเข้าไปกระทำกับสารเหล่านั้น เพื่อให้เกิดการแยกสลายออกเป็นองค์ประกอบต่างๆ ได้

การทดลองที่ 1.1 เป็นการทดลองแยกสารโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (ด่างทับทิม) ซึ่งมีลักษณะเป็นเกล็ดสีม่วง ละลายน้ำแล้วจะได้สารละลายสีม่วงแดง เมื่อนำโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตไปเผา จะแยกสลายได้ 3 องค์ประกอบคือ (1) โพแทสเซียมแมงกาเนต เป็นของแข็งสีเขียวละลายน้ำได้ดี (2) แมงกานีส (IV) ออกไซด์ เป็นสารสีดำไม่ละลายน้ำ (3) ก๊าซออกซิเจนเป็นก๊าซไม่มีสีแต่ช่วยให้เกิดการเผาไหม้ได้ดี

ดังนั้น โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตเป็นสารประกอบ ซึ่งมีองค์ประกอบที่มีสมบัติทั้งที่มีส่วนที่คล้ายคลึงและแตกต่างจากสารเดิม

 

4. กิจกรรมการเรียนการสอน (กระบวนการทักษะกระบวนการ 9 ขั้น)

ตระหนักในปัญหาและความต้องการจำเป็น

1. ครูทบทวนเรื่องความหมายของสารประกอบ โดยให้นักเรียนช่วยกันบอกความหมายพร้อมกับยกตัวอย่างสารประกอบที่พบในชีวิตประจำวัน

คิดวิเคราะห์วิจารณ์

2. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม เพื่ออภิปรายว่า "ถ้าเรามีสารบริสุทธิ์อยู่ชนิดหนึ่ง เราจะมีวิธีตรวจสอบได้อย่างไรว่า

สารบริสุทธิ์นั้นเป็นสารประกอบหรือไม่ และองค์ประกอบของสารนั้นมีอะไรบ้าง"

สร้างทางเลือกหลายหลาก

3. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดหาวิธีตรวจสอบสารประกอบหลายๆ วิธี ที่น่าจะเป็นไปได้

ประเมินและเลือกทางเลือก

4. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกวิธีตรวจสอบที่คิดว่าเหมาะสมที่สุด กลุ่มละ 1 วิธี

กำหนดและลำดับขั้นตอนปฏิบัติ

5. ครูให้นักเรียนดูสาร โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (ด่างทับทิม) แล้วให้แต่ละกลุ่มกำหนดขั้นตอนวิธีตรวจสอบว่าใช่สารประกอบหรือไม่ และมีองค์ประกอบใดบ้าง ตามวิธีตรวจสอบที่เลือกไว้แล้วในข้อ 4

6. ครูเสนอวิธีตรวจสอบที่เหมาะสม เพื่อให้นักเรียนอภิปราย และเปรียบเทียบกับวิธีที่กลุ่มเลือก จากนั้นครูอธิบายวิธีตรวจสอบตามการทดลองที่ 1.1 ในหนังสือเรียน เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามข้อสงสัยต่างๆ

ปฏิบัติด้วยความชื่นชม

7. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือทำการทดลอง และบันทึกข้อมูลต่างๆ ตามหัวข้อที่กำหนดให้ในแบบเรียน พร้อมกับเลือกตัวแทนออกมารายงานผลของการทดลอง

ประเมินระหว่างปฏิบัติ

8. ครูคอยตรวจดูว่าระหว่างการทำงานที่ได้รับมอบหมาย นักเรียนมีข้อสงสัยอะไรบ้าง และพยายามเน้นให้เด็กตรวจสอบความถูกต้อง ในแต่ละขั้นตอนของการปฏิบัติงานด้วย เมื่อพบปัญหาให้คำปรึกษาหารือกันเอง หรือปรึกษาครู

ปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ

9. เมื่อมีปัญหาใดๆ ระหว่างการทำงาน ครูจะเป็นผู้ชี้แนะแนวทางในการแก้ไข เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ

ประเมินผลรวมเพื่อเกิดความภาคภูมิใจ

10.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปผลการทดลองที่ถูกต้อง หลังจากให้แต่ละกลุ่มออกมารายงานผลแล้ว จากนั้นให้นักเรียนทุกคนสรุปบันทึกวิธีการทดลอง และผลการทดลองลงในสมุดเป็นการบ้าน ส่งให้ครูตรวจ

 

5. สื่อการเรียนการสอน

1. อุปกรณ์ ได้แก่ หลอดทดลองขนาดกลาง ตะเกียงแอลกอฮอล์ ขาตั้งพร้อมที่จับหลอดทดลอง ธูปหรือเศษไม้ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร และไม้ขีดไฟ

2. สารเคมี ได้แก่ น้ำกลั่น สารโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต

3. แบบบันทึกการทดลอง ในหนังสือเรียน (ว 431)

 

6. การวัดผลและประเมินผล

การวัดผล

1. สังเกตจากการอภิปรายกลุ่มเกี่ยวกับการเลือกวิธีตรวจสอบสารประกอบ

2. สังเกตจากการปฏิบัติงานขณะที่ทำการทดลอง การออกมารายงานผลหน้าชั้นเรียน

3. ตรวจสมุดบันทึกการทดลองที่ 1.1

 

 

การประเมินผล

ม.4/1

ม.4/2

ม.4/3

1. นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) อภิปรายและเลือกวิธีตรวจสอบสารประกอบได้

เหมาะสมอยู่ในระดับ……………………………………………………………………………….

ดี

ดี

ปานกลาง

2. นักเรียนทุกกลุ่มทำการทดลองที่ 1.1 และรายงานผลการทดลองได้อยู่ในระดับ….

ดี

ดี

ดี

3. นักเรียนทุกกลุ่มเขียนบันทึกการทดลองที่ 1.1 ได้อยู่ในระดับ…………………………

ดี

ดี

ดี

 

 

7. กิจกรรมเสนอแนะ (ถ้ามี)

ครูอาจให้นักเรียนทดลองตรวจสอบสารบริสุทธิ์อื่นๆ ที่พบในชีวิตประจำวัน เพื่อตรวจดูว่าเป็นสารประกอบหรือไม่ และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง มีลักษณะอย่างไร

 

 

8. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยง

.................................................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................................................

 

 

 

ลงชื่อ.............................................

(.................................................)

วันที่.......เดือน.......พ.ศ.........

 

9. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศก์

.................................................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................................................

 

ลงชื่อ...............................................

(...............................................)

วันที่.......เดือน..........พ.ศ.......

 

 

 

 

ตัวอย่างแผนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ

แผนการสอนวิชา ภาษาอังกฤษหลัก (อ 011) บทที่ 1 เรื่อง Stand up. Sit down.

ชั้น ม.1/1 วันที่ 15 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2541 เวลา 09.20-10.10 น. จำนวน 1 คาบ

ชั้น ม.1/2 วันที่ 15 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2541 เวลา 11.10-12.00 น. จำนวน 1 คาบ

ชั้น ม.1/3 วันที่ 17 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2541 เวลา 13.00-13.50 น. จำนวน 1 คาบ

รวมเวลาทั้งหมด 3 คาบ


1. สาระสำคัญ

การออกคำสั่งที่ขึ้นต้นด้วยคำกริยา ใช้ข้อความสั้นๆ เป็นประโยคคำสั่งที่เข้าใจง่าย ผู้ฟังที่มีความรู้ความเข้าใจในคำศัพท์ต่างๆ ที่ใช้ในประโยคนั้นๆ ก็จะสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น ถ้าผู้เรียนตั้งใจฝึกฟังและฝึกพูดเกี่ยวกับประโยคคำสั่งประเภทนี้ ก็จะเป็นพื้นฐานอย่างดีในการใช้ติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น

 

2. จุดประสงค์

จุดประสงค์ปลายทาง

นักเรียนสามารถฟังประโยคคำสั่งหรือข้อความแล้วปฏิบัติตามได้ และพูดประโยคคำสั่งหรือข้อความเหล่านั้นได้

จุดประสงค์นำทาง

1. นักเรียนสามารถบอกความหมายของศัพท์บางตัวที่ใช้ฝึกการฟังและพูดประโยคคำสั่งได้ เช่น Please, Stand up, Sit down, Hello, Hi, close, open, look at, go to และอื่นๆ

2. นักเรียนสามารถปฏิบัติตามคำสั่งต่างๆ ได้

3. นักเรียนสามารถพูดประโยคคำสั่งต่างๆได้

 

3. เนื้อหา

ศัพท์ใหม่ ได้แก่ Please, stand up, sit down, open, close, look at, go to, Hello, Hi, good-bye, thanks, fine, book, blackboard, class, door, page, picture, student, teacher, window

ประโยคคำสั่ง ได้แก่ (1) Please stand up. (2) Colse the door. (3) Open the window, please. (4) Please sit down. (5) Open your book. (6) Look at page. (7) Look at the picture. (8) Go to the blackboard. และประโยคคำสั่งอื่นที่ใช้ศัพท์ง่ายๆ ที่นักเรียนรู้จัก

 

4. กิจกรรมการเรียนการสอน (กระบวนการสอนเพื่อการสื่อสาร)

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Warm up)

1. หลังจากครูและนักเรียนทักทายกันตามปกติเช่นทุกครั้งที่เข้าสอน ครูออกคำสั่งให้นักเรียนบางคนในชั้นเรียนให้ปฏิบัติตาม เช่น

- Somchai, please stand up. เมื่อสมชายปฏิบัติได้แล้ว ครูก็พูดต่ออีกว่า Sit down, please.

- Malee. Close the door, please. เมื่อมาลีปฏิบัติตามคำสั่งเสร็จ ครูกล่าวคำว่า Thanks.

2. ครูบอกนักเรียนว่า "ในชีวิตประจำวันเรามักจะใช้ประโยคคำสั่งอยู่บ่อยๆ ดังนั้นเพื่อให้เราสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจ วันนี้เราจะฝึกการใช้ประโยคคำสั่งง่ายๆ " จากนั้นครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ

ขั้นนำเสนอเนื้อหาช่วงที่ 1 (Presentation)

3. ครูสอนศัพท์ใหม่ โดยใช้บัตรคำ เริ่มจากครูอ่านออกเสียงให้ฟัง นักเรียนออกเสียงตามสะกดคำ และให้ความหมายคำ ซึ่งการให้ความหมายคำแต่ละคำนั้น ครูควรพยายามยกตัวอย่างเป็นภาษาอังกฤษง่ายๆ แสดงท่าทางประกอบ และให้เด็กเดาความหมายเอง

ขั้นฝึกปฏิบัติช่วงที่ 1 (Practice)

4. ครูให้นักเรียนจับคู่ถาม-ตอบ เกี่ยวกับศัพท์ที่ได้เรียนในคาบเรียนนี้

5. ครูพูดศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ แล้วให้นักเรียนแปลความหมาย โดยวิธีสุ่มถาม

ขั้นนำเสนอเนื้อหาช่วงที่ 2 (Presentation)

6. ครูพูดประโยคคำสั่งทีละประโยค (ดังปรากฏในเนื้อหา) หรือให้ฟังจากเทป และให้นักเรียนพูดตาม จากนั้นครูเขียนประโยคนั้น ๆ บนกระดานดำ แล้วให้นักเรียนอ่านอีกครั้ง

7. ครูอธิบายความหมายของแต่ละประโยค โดยวิธีแสดงท่าทางประกอบ แล้วให้นักเรียนปฏิบัติตามคำสั่งนั้น

ขั้นฝึกปฏิบัติช่วงที่ 2 (Practice)

8. ให้นักเรียนจับคู่ฝึกพูดประโยคคำสั่งต่างๆ พร้อมให้ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นๆ ครูเป็นผู้สังเกตและประเมินผลการฝึก

9. สุ่มนักเรียนบางคู่ออกมาสาธิตการใช้ประโยคคำสั่ง

ขั้นนำไปใช้เพื่อการสื่อสาร (Production)

10. ให้นักเรียนช่วยกันคิดประโยคคำสั่งอื่นๆ ที่คล้ายกับสิ่งที่เรียนในคาบนี้ โดยอาศัยศัพท์ที่นักเรียนเคยรู้มาแล้ว ให้นักเรียนที่นึกได้ออกคำสั่งนั้น แล้วให้เพื่อนปฏิบัติตาม ครูช่วยแนะนำปรับปรุงให้สมบูรณ์

11. ครูสรุปบทเรียน พร้อมทั้งแนะนำให้นักเรียนลองนำไปใช้ฝึกพูดกับคนอื่นๆ เช่น ที่บ้านกับเพื่อนๆ ในโรงเรียน เป็นต้น

 

5. สื่อการเรียนการสอน

    1. บัตรคำแสดงศัพท์ใหม่ต่างๆ
    2. เทปชุดฝึกพูดและฟังประโยคคำสั่งของบทเรียนที่ 1
    3. การแสดงท่าทางประกอบการสอนศัพท์ และการสอนประโยคคำสั่งต่างๆ
    4. อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ประกอบการฝึก เช่น ประตู หน้าต่าง หนังสือ ฯลฯ
    5. หนังสือเรียน "English for a changing world" บทที่ 1

 

 

6. การวัดผลและประเมินผล

การวัดผล

    1. สังเกตจากการตอบคำถามเกี่ยวกับการให้ความหมายศัพท์ใหม่ และประโยคคำสั่งต่างๆ
    2. สังเกตจากการให้นักเรียนฝึกพูดประโยคคำสั่ง และปฏิบัติตามคำสั่ง

 

 

 

การประเมินผล

ม.1/1

ม.1/2

ม.1/3

1. นักเรียนทุกคนสามารถบอกความหมายศัพท์ และประโยคคำสั่งต่างๆ ได้อยู่ใน

ระดับ…………………………………………………………………………………………………..

ดี

ดี

พอใช้

2. นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80)สามารถพูดประโยคคำสั่ง และปฏิบัติตามคำสั่ง

ต่างๆได้อยู่ในระดับ……………………………………………………………………………….

ดี

ดี

ปรับปรุง

7. กิจกรรมเสนอแนะ

- ครูอาจให้นักเรียนรวบรวมประโยคคำสั่งง่ายๆ ที่นักเรียนรู้จักเพิ่มเติมจากที่เรียนส่งครูเป็นการบ้านคนละ 10 (หรือ 20) ประโยค

- ครูควรทำการสอนซ่อมเสริมนักเรียนชั้น ม.1/3 เรื่องการพูดประโยคคำสั่งและปฏิบัติตามคำสั่งต่างๆ

 

8. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยง

.................................................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................................................

 

 

ลงชื่อ.................................................

(.....................................................)

วันที่......เดือน........พ.ศ..........

 

9. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศก์

.................................................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................................................

 

 

 

ลงชื่อ........................................................

(.....................................................)

วันที่........เดือน............พ.ศ........

 

 

 

 

 

 

ตัวอย่างแผนการสอนวิชาดนตรี

แผนการสอนวิชา ศ 305 (ศิลปะกับชีวิต) บทที่ 3 เรื่อง ประวัติและวิธีการขับร้องเพลงไทยสากล

ชั้น ม. 3/1 วันที่ 10 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2542 เวลา 13.00-13.50 น. จำนวน 1 คาบ

ชั้น ม.3/2 วันที่ 12 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ2542 เวลา 08.30-09.20 น. จำนวน 1 คาบ

รวมเวลาทั้งหมด 2 คาบ

 


1. สาระสำคัญ

เพลงไทยสากล เป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นตามหลักวิชาดนตรีสากล บันทึกทำนองด้วยตัวโน้ตสากล คำร้องเป็นภาษาไทยมีการเรียบเรียงประสานตามแนวสากล ซึ่งนักฟังเพลงไทยสากลที่ดี ถ้ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการขับร้องเพลงไทยสากลที่ถูกต้องแล้ว จะสามารถฝึกขับร้องเพลงไทยสากลต่างๆ ได้เป็นอย่างดีด้วยตนเอง

 

2. จุดประสงค์

จุดประสงค์ปลายทาง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขับร้องเพลงไทยสากล และสามารถขับร้องเพลงไทยสากลได้

จุดประสงค์นำทาง 1. อธิบายความหมายของเพลงไทยสากลได้

2. เล่าประวัติความเป็นมาของเพลงไทยสากลได้

3. อธิบายวิธีการขับร้องเพลงไทยสากลที่ถูกต้องได้

 

3. เนื้อหา

    1. ความหมายของเพลงไทยสากล
    2. ประวัติความเป็นมาของเพลงไทยสากล
    3. วิธีการขับร้องเพลงไทยสากล

 

เพลงไทยสากล เป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นตามหลักวิชาดนตรีสากล บันทึกทำนองด้วยตัวโน๊ตสากล คำร้องเป็นภาษาไทย มีการเรียบเรียงประสานตามทฤษฎีการเรียบเรียงประสานตามแนวสากล

 

วิธีการขับร้องเพลงไทยสากลที่ถูกต้อง ประกอบด้วย

    1. ร้องให้ถูกต้องตามคำร้อง
    2. ร้องให้ตรงตามระดับเสียงของตัวโน๊ต
    3. ร้องให้เต็มเสียง
    4. แบ่งวรรคตอนของการหายใจให้ถูกต้อง

 

 

4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (กระบวนการเรียนความรู้ความเข้าใจ)

สังเกต-ตระหนัก

1. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องเพลงประเภทต่างๆ พร้อมกับเปิดเพลงหลายๆ ประเภทที่แตกต่างกันให้นักเรียนฟัง รวมทั้งเพลงสากล และเพลงไทยสากลด้วย

2. ครูชี้ให้นักเรียนเห็นว่า เพลงประเภทใดบ้างเป็นเพลงไทยสากล จากนั้นให้นักเรียนช่วยกันอธิบายและสรุปความหมายของ "เพลงไทยสากล" แล้วนักเรียนทุกคนจดลงในสมุดบันทึกของตนเอง

3. ครูเล่าประวัติความเป็นมาของเพลงไทยสากลให้นักเรียนฟัง และเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นด้วย

วางแผน-และลงมือปฏิบัติ

4. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 8-10 คน เพื่อศึกษาใบความรู้เรื่อง "วิธีการขับร้องเพลงไทยสากล" และเพื่อฝึกปฏิบัติตามวิธีการขับร้องเพลงไทยสากลจากครู ดังนี้

- ร้องให้ถูกต้องตามคำร้อง

- ร้องให้ตรงตามระดับเสียงของตัวโน้ต

- ร้องให้เต็มเสียง

- แบ่งวรรคตอนของการหายใจให้ถูกต้อง

5. นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาทำความเข้าใจใบความรู้เรื่อง วิธีการขับร้องเพลงไทยสากล

พัฒนาความรู้ความเข้าใจ

6. สุ่มตัวแทนนักเรียนบางกลุ่มออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับจากใบความรู้นั้น

7. ครูแจกแผ่นกระดาษเนื้อคำร้อง "เพลงสรรเสริญพระบารมี" คนละแผ่น พร้อมฝึกร้องพร้อมกันอย่างถูกวิธี โดยมีครูเป็นผู้แนะนำปรับปรุงแก้ไข

8. แต่ละกลุ่มออกมาร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีหน้าชั้นเรียน กลุ่มที่ยังไม่ได้ร้อง ให้ช่วยกันวิจารณ์และเสนอข้อแนะนำที่คิดว่าเหมาะสม

สรุป

9. นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาสาระสำคัญเกี่ยวกับ ประวัติและวิธีการขับร้องเพลงไทยสากล แล้วให้ทุกคนจดบันทึกในสมุดบันทึกของตนเอง ส่งให้ครูตรวจ

 

5. สื่อการเรียนการสอน

    1. วิทยุเทปพร้อมเทปเพลงต่างๆ
    2. ใบความรู้เรื่อง วิธีการขับร้องเพลงไทยสากล
    3. แผ่นกระดาษเนื้อคำร้อง เพลงสรรเสริญพระบารมี

 

 

6. การวัดผลประเมินผล

การวัดผล

    1. สังเกตจากการให้นักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับความหมายของเพลงไทยสากล
    2. สังเกตจากการออกมาอธิบายและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการขับร้องเพลงไทยสากลในใบความรู้ของนักเรียนแต่ละกลุ่ม
    3. สังเกตจากการให้นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาสาระสำคัญเกี่ยวกับประวัติและวิธีการขับร้องเพลงไทยสากลและตรวจสมุดบันทึกสรุปของนักเรียนทุกคน
    4. สังเกตจากการให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีหน้าชั้นเรียน

 

 

 

การประเมินผล

ม.3/1

ม.3/2

1. นักเรียนทุกคนสรุปเกี่ยวกับความหมายของ เพลงไทยสากลได้อยู่ในระดับ……………

ดี

ดี

2. นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) อธิบายวิธีการขับร้องเพลงไทยสากลได้อยู่ใน

ระดับ…………………………………………………………………………………………………..

ดี

ดี

3. นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80)สามารถเขียนเล่าประวัติความเป็นมาของ

เพลงไทยสากลได้อยู่ในระดับ….………………………………………………………………….

ดี

พอใช้

4. นักเรียนทุกคนสามารถขับร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีได้อยู่ในระดับ………………….

ดี

ดี

 

 

7. กิจกรรมเสนอแนะ

- ให้นักเรียนฝึกร้องเพลงไทยสากลที่นิยมในอดีต และปัจจุบันแล้วจัดประกวดแข่งขันกันตามโอกาสอันควร

- ควรให้นักเรียนชั้น ม.3/2 ไปค้นค้วาเพิ่มเติมประวัติความเป็นมาของเพลงไทยสากล

 

 

8. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยง

.................................................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................................................

 

 

 

ลงชื่อ..................................................

(...................................................)

วันที่......เดือน........พ.ศ................

 

9. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศก์

.................................................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................................................

 

 

ลงชื่อ................................................

(......................................................)

วันที่.........เดือน..............พ.ศ............

 

 

 

 

 

ตัวอย่างแผนการสอนวิชาสังคมศึกษา

แผนการสอนวิชา ส 101 ประเทศของเรา 1 บทที่ 1 เรื่อง ภูมิประเทศของเรา (ครั้งที่ 1)

ชั้น ม.1/1 วันที่ 13 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2542 เวลา 13.00-13.50 น. จำนวน 1 คาบ

ชั้น ม.1/2 วันที่ 14 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2542 เวลา 08.30-09.20 น. จำนวน 1 คาบ

รวมเวลาทั้งหมด 2 คาบ

 


 

1. สาระสำคัญ

ประเทศไทยตั้งอยู่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร ติดต่อกับประเทศพม่า ลาว กัมพูชาและมาเลเซีย ซึ่งการศึกษาลักษณะภูมิประเทศจากภาพถ่ายดาวเทียมจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน

 

2. จุดประสงค์

จุดประสงค์ปลายทาง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศของสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศของเรา

จุดประสงค์นำทาง 1. บอกที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขตติดต่อของประเทศไทยได้

2. บอกวิธีการศึกษาลักษณะภูมิประเทศที่ได้ข้อมูลถูกต้องและชัดเจนได้

 

3. เนื้อหา

ภูมิประเทศของเรา

- ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขตติดต่อของประเทศไทย

- วิธีการศึกษาลักษณะภูมิประเทศ

ประเทศไทย ตั้งอยู่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 513,115 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่างๆ ดังนี้ คือ ลาว พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย

สำหรับวิธีการศึกษาลักษณะภูมิประเทศนั้น แบ่งเป็น

- วิธีการศึกษาลักษณะภูมิประเทศไทยอดีต

- วิธีการศึกษาลักษณะภูมิประเทศในปัจจุบัน

- วิธีการศึกษาลักษณะภูมิประเทศที่ได้ข้อมูลถูกต้องและชัดเจน

ซึ่งสรุปแล้ววิธีการศึกษาลักษณะภูมิประเทศที่ได้ข้อมูลถูกต้องและชัดเจน คือ "จากภาพถ่ายดาวเทียม"

 

4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (กระบวนการเรียนความรู้ความเข้าใจ)

สังเกต-ตระหนัก

ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับที่ตั้งของประเทศไทย โดยมีแผนที่ประกอบ

ครูให้นักเรียนช่วยกันอภิปรายว่า "การที่เรารู้จักลักษณะภูมิประเทศเรานั้น มีประโยชน์อย่างไร"

วางแผน-ลงมือปฏิบัติ

แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันวางแผนศึกษาค้นคว้า หัวข้อต่อไปนี้ จากหนังสือเอกสารประกอบการค้นคว้าที่ครูเตรียมมาให้

- กลุ่มที่ 1 ทำเลที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขตติดต่อของประเทศไทย

- กลุ่มที่ 2 วิธีการศึกษาลักษณะ ภูมิประเทศในอดีต

- กลุ่มที่ 3 วิธีการศึกษาลักษณะภูมิประเทศในปัจจุบัน

ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันศึกษาค้นคว้าเรื่องที่ครูกำหนด จากเอกสารประกอบการค้นคว้าที่ครูแจกให้ กลุ่มละ 7-10 นาที

พัฒนาความรู้

ตัวแทนนักเรียนนำความรู้ที่ได้มารายงานหน้าชั้นเรียน ขณะที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งรายงานหน้าชั้น นักเรียนคนอื่นๆ สามารถอภิปรายเพิ่มเติมได้

สรุป

นักเรียนช่วยกันสรุปสาระสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับ ทำเลที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขตติดต่อของประเทศไทย และวิธีการศึกษาลักษณะภูมิประเทศที่ได้ข้อมูลถูกต้องและชัดเจน ทุกคนจดบันทึกความรู้ลงในสมุดบันทึกของตนเอง

ให้นักเรียนทุกคนวาดแผนที่ประเทศไทย พร้อมทั้งแสดงอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ส่งให้ครูตรวจ

 

5. สื่อการเรียนการสอน

    1. แผนที่ประเทศไทย
    2. หนังสือเอกสารประกอบการค้นคว้า
    3. กระดาษวาดเขียนสี

 

 

6. การวัดผลประเมินผล

การวัดผล

1. สังเกตจากการรายงานหน้าชั้นเรียนเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ ที่ครูกำหนดให้

2. สังเกตจากการให้นักเรียนช่วยกันสรุปสาระสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับ ทำเลที่ตั้ง ขนาด

อาณาเขตติดต่อของประเทศไทย และวิธีการศึกษาลักษณะภูมิประเทศ

3. ตรวจผลงานการวาดแผนที่ประเทศไทยของทุกคน

 

การประเมินผล

ม.1/1

ม.1/2

1. จากการรายงานหน้าชั้น นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) สามารถอธิบายเกี่ยวกับเรื่อง

ที่กำหนดให้ได้อยู่ในเกณฑ์……………………………………………………………………………..

ดี

ดี

2. นักเรียนทุกคนสามารถช่วยกันสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับ ทำเลที่ตั้ง ขนาด อาณาเขต

ติดต่อของประเทศไทย และวิธีการศึกษาลักษณะภูมิประเทศ ได้อยู่ในเกณฑ์……………

ดี

ดี

3. นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 90) วาดภาพแผนที่ประเทศไทยพร้อมกับแสดงอาณา

ติดต่อได้อยู่ในเกณฑ์…………………………………………………………………………………….

ดี

ปานกลาง

 

7. กิจกรรมเสนอแนะ

ให้นักเรียนร่วมกันนำผลงานการวาดแผนที่ประเทศไทยไปจัดป้ายนิเทศ

 

8. ข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยง (ให้ครูพี่เลี้ยงตรวจก่อนนำไปใช้สอน)

 

9. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศก์ (อาจารย์นิเทศก์ประจำโรงเรียน/หรือจากสถาบันให้ข้อคิดเห็น

เสนอแนะเพิ่มเติม)

 

 

 

 

 ตัวอย่างแผนการสอนวิชางานช่างพื้นฐาน

แผนการสอนวิชา งานช่างพื้นฐาน บทที่ 1 เรื่อง เครื่องมืองานไม้

ชั้น ม.1/1 วันที่ 14 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2542 เวลา 13.00-14.40 น. จำนวน 2 คาบ

ชั้น ม.1/2 วันที่ 16 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2542 เวลา 08.30-10.10 น. จำนวน 2 คาบ

รวมเวลาทั้งหมด 4 คาบ

 


 

1. สาระสำคัญ

เครื่องมืองานไม้มีความจำเป็นมากในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานไม้ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างเรียบร้อยและถูกต้อง ในการทำงานจะต้องรู้จักวิธีใช้ ตลอดทั้งการบำรุงรักษาเครื่องมืออย่างถูกต้อง

 

 

2. จุดประสงค์

    1. นักเรียนสามารถบอกวิธีการใช้เครื่องมือชนิดต่างๆ ที่ใช้ในงานไม้ได้
    2. นักเรียนสามารถบอกวิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือที่ใช้ในงานไม้ได้

 

 

3. เนื้อหา

เครื่องมืองานไม้

    • ชนิดของเครื่องมือที่ใช้ในงานไม้
    • การใช้เครื่องมืองานไม้
    • วิธีการบำรุงรักษาเครื่องมืองานไม้

 

 

4. กิจกรรมการเรียนการสอน

ขั้นสร้างความสนใจ (Motivation)

1. ครูถามนักเรียนว่า ใครบ้างที่เคยเห็นเครื่องมือที่ใช้ในงานไม้

  1. 2. ครูถามนักเรียนต่อว่า "เครื่องมืองานไม้ที่นักเรียนเห็นนั้น" เขาเรียกชื่อว่าอะไร
  2. 3. นักเรียนตอบคำถามแล้ว ครูเขียนชื่อเครื่องมือลงบนกระดานดำ แล้วบอกนักเรียนต่อว่า ชั่วโมงนี้ครูจะอธิบายถึงวิธีการใช้ การบำรุงรักษาเครื่องมืองานไม้ที่พวกเธอกล่าวมาแล้วนี้
  3. ขั้นให้เนื้อหาความรู้ (Information)

    4. ครูอธิบายวิธีการใช้กบไสไม้ด้วยมือ ให้นักเรียนฟัง

    5. ครูสุ่มถามนักเรียนถึงวิธีการใช้กบไสไม้ด้วยมือ

  4. 6. ครูสาธิตการถอด ประกอบ และการใช้กบไสไม้ด้วยมือให้นักเรียนดู
  5. 7. ครูให้นักเรียนออกมาทดลอง การถอด ประกอบ และการไสไม้ด้วยมือให้ดู พร้อมทั้งอธิบายเพิ่มเติม
  6. 8. ครูอธิบายและซักถามถึงวิธีการบำรุงรักษากบไสไม้ด้วยมือ

 

 

ขั้นพยายาม (Application)

9. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียน ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มฝึก และถอดประกอบและ

ขั้นสำเร็จผล (Progress)

10. ครูสังเกตการถอดประกอบ และการไสทีละกลุ่ม

 

5. สื่อการเรียนการสอน

    1. แผ่นใสเกี่ยวกับชนิดของเครื่องมืองานไม้
    2. ใบเนื้อหาความรู้วิธีการบำรุงรักษาเครื่องมืองานไม้

 

 

6. การวัดผลประเมินผล

การวัดผล

    1. สังเกตจากการบอกวิธีการใช้เครื่องมืองานไม้
    2. สังเกตจากการบอกวิธีการบำรุงรักษาเครื่องมืองานไม้

 

 

การประเมินผล

ม.1/1

ม.1/2

1.นักเรียนทุกคนบอกวิธีการใช้เครื่องมืองานไม้ได้อยู่ในระดับ……………………..

ดี

ดี

2. นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) บอกวิธีการบำรุงรักษาเครื่องมืองานไม้

ได้อยู่ในระดับ……………………………………………………………………………....

ดี

ดี

 

 

7. กิจกรรมเสนอแนะ

 

8. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยง

.................................................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................................................

 

ลงชื่อ.........................................

(..................................................)

วันที่........เดือน........พ.ศ...........

 

9. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศก์

.................................................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................................................

 

ลงชื่อ............................................

(...............................................)

วันที่.........เดือน..........พ.ศ............

 

 

 

 

 ตัวอย่างแผนการสอนวิชากรรมวิธีการผลิต

แผนการสอนวิชา กรรมวิธีการผลิต บทที่ 1 เรื่อง กรรมวิธีการผลิตเหล็กกล้า

ชั้น ปวช.3/1 วันที่ 17 เดือน มกราคม พ.ศ. 2543 เวลา 08.30-10.10 น. จำนวน 2 คาบ

ชั้น ปวช.3/2 วันที่ 18 เดือน มกราคม พ.ศ. 2543 เวลา 08.30-10.10 น. จำนวน 2 คาบ

รวมเวลาทั้งหมด 4 คาบ


1. สาระสำคัญ

การผลิตเหล็กกล้า คือ การนำสินแร่เหล็กมาถลุง เพื่อให้ได้เหล็กชนิดต่างๆ มาใช้ในงานอุตสาหกรรม เหล็กกล้าที่ได้จากการผลิตมีความจำเป็นต่องานอุตสาหกรรม คือ นำไปเป็นโลหะภัณฑ์ที่ใช้ในงานต่างๆ เช่น งานตกแต่ง งานโครงสร้างหรืองานที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษ

 

 

2. จุดประสงค์

    1. ผู้เรียนสามารถบอกคุณสมบัติของเหล็กกล้าได้
    2. ผู้เรียนสามารถอธิบายกรรมวิธีการผลิตเหล็กกล้าได้อย่างถูกต้อง

 

 

3. เนื้อหา

    1. คุณสมบัติของเหล็กกล้า
    2. กรรมวิธีการผลิตเหล็กกล้า

 

 

4. กิจกรรมการเรียนการสอน

ขั้นสร้างความสนใจ (Motivation)

    1. ครูอธิบายถึงความรู้พื้นฐานทางโลหะวิทยา
    2. ครูเตรียมฉายสไลด์เรื่อง การถลุงโลหะ

 

ขั้นให้เนื้อหาความรู้ (Information)

3. ครูฉายสไลด์ที่เตรียมไว้ จบแล้วให้นักเรียนซักถาม

4. ครูอธิบายคุณสมบัติของเหล็กกล้า จากแผ่นใส

5. ครูสุ่มถามนักเรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติของเหล็กกล้า

6. ครูฉายเทปโทรทัศน์เกี่ยวกับกรรมวิธีการผลิตเหล็กกล้า จบแล้วถามนักเรียนเป็นรายบุคคล หากนักเรียนยังตอบ

คำถามได้ไม่ดี ครูจัดฉายเทปโทรทัศน์ใหม่อีกรอบ

 

ขั้นพยายาม (Application)

7. ครูให้นักเรียนตอบคำถามในแบบทดสอบ คุณสมบัติและกรรมวิธีการผลิตเหล็กกล้า

ขั้นสำเร็จผล (Progress)

8. ครูตรวจแบบทดสอบ และอธิบายเกี่ยวกับคุณสมบัติและกรรมวิธีการผลิตเหล็กกล้าเพิ่มเติม

 

5. สื่อการเรียนการสอน

    1. สไลด์ เรื่อง การถลุงโลหะ
    2. เทปโทรทัศน์ เรื่องกรรมวิธีการผลิตเหล็กกล้า

 

 

6. การวัดผลประเมินผล

การวัดผล

    1. สังเกตจากการบอกคุณสมบัติของเหล็กกล้า
    2. สังเกตจากการอธิบายกรรมวิธีการผลิตเหล็กกล้า
    3. ตรวจแบบทดสอบ

 

 

การประเมินผล

ปวช.3/1

ปวช.3/2

1.นักเรียนทุกคนบอกคุณสมบัติของเหล็กกล้าได้อยู่ในระดับ…………….

ดีมาก

ดี

2. นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) อธิบายกรรมวิธีการผลิตเหล็กกล้า

ได้อยู่ในระดับ…………………………………………………………………….

ดีมาก

ดี

 

 

7. กิจกรรมเสนอแนะ

-

8. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยง

....................................................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................................................

 

ลงชื่อ...........................................

(.....................................................)

วันที่........เดือน.........พ.ศ............

 

9. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศก์

.................................................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ........................................

(..............................................)

วันที่......เดือน...........พ.ศ...............

 

 

 

 

 

 ตัวอย่างแผนการสอนกลุ่มวิชาพื้นฐานอาชีพ

แผนการสอนวิชา กลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพ (งานบ้าน) บทที่ 1 เรื่อง การกวาดบ้าน

ชั้น ป.1/1 วันที่ 9 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 เวลา 13.00-14.00 น. จำนวน 3 คาบ

รวมเวลาทั้งหมด 3 คาบ

 


 

1. สาระสำคัญ

    1. บ้านเป็นของสมาชิกในครอบครัว ทุกคนจึงต้องช่วยกันดูแลบ้านให้น่าอยู่อาศัย
    2. การกวาดบ้านให้สะอาดเรียบร้อยขึ้นอยู่กับการเลือกใช้เครื่องใช้ให้ถูกหน้าที่และถูกวิธี
    3. 2. จุดประสงค์

      1. เมื่อครูนำเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำความสะอาดบ้านมาให้ 5 ชนิด นักเรียนสามารถบอกชื่อได้ถูกต้องทุกชนิด

      2. เมื่อครูนำเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำความสะอาดบ้านมา 5 ชนิด นักเรียนสามารถบอกหน้าที่ของเครื่องมือเครื่องใช้ได้ถูกต้องทุกชนิด

    4. หลังการปฏิบัติงานเสร็จแล้ว นักเรียนสามารถทำความสะอาดและเก็บรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ได้ถูกวิธี

 

 

3. เนื้อหา

การกวาดบ้าน

ชนิด และเครื่องมือที่ใช้ทำความสะอาดบ้าน

 

4. กิจกรรมการเรียนการสอน (กระบวนการทักษะกระบวนการ 9 ขั้น)

ขั้นตระหนักในปัญหา

    1. ครูจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญและความจำเป็นของการกวาดบ้านให้สะอาด เรียบร้อย น่าอยู่ น่าอาศัย โดยการร้องเพลงเกี่ยวกับการทำความสะอาดบ้าน และสนทนาเรื่องประโยชน์ของความสะอาด
    2. ขั้นคิดวิเคราะห์ วิจารณ์

    3. ครูนำนักเรียนสนทนาเพื่อให้นักเรียนตอบคำถาม เช่น สนทนาว่าเนื้อหาของเพลงบอกถึงการทำอะไรบ้าง และเพราะเหตุใดจึงต้องทำ
    4. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปถึงผลดีและความจำเป็นของการทำความสะอาด
    5. นำเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำความสะอาดบ้านให้นักเรียนดูแล้วให้นักเรียนบอกชื่อและหน้าที่ของเครื่องมือเครื่องใช้เท่าที่นักเรียนรู้จัก
    6. ครูแนะนำชื่อและหน้าที่ของเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำความสะอาดเพิ่มเติม
    7. ขั้นสร้างทางเลือกหลากหลาย

    8. ครูนำสนทนาเพื่อให้นักเรียนตอบคำถามเช่น
    9. - ถ้าห้องเรียนของเราสกปรก นักเรียนคิดว่าจะทำอย่างไร และใช้เครื่องมือเครื่องใช้อะไรบ้าง

      - ถ้าโต๊ะและ/หรือเก้าอี้ของนักเรียนสกปรก จะทำอย่างไรจึงจะสะอาด

      ขั้นประเมินและเลือกทางเลือก

    10. ถ้าพื้นห้องเรียนสกปรก (มีฝุ่นและเศษกระดาษ) นักเรียนจะใช้เครื่องมือ เครื่องใช้อะไรทำความสะอาดจึงจะทำให้ห้องเรียนสะอาดน่าอยู่
    11. ขั้นกำหนดและลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ

    12. ให้นักเรียนช่วยกันคิด และจัดลำดับขั้นตอนของการทำความสะอาดห้องเรียนว่าจะเริ่มด้วยการทำอะไรก่อนตามลำดับ จนกระทั่งห้องเรียนสะอาด
    13. ขั้นปฏิบัติด้วยการชื่นชม

    14. ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติโดยการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำความสะอาดที่เลือกไว้และดำเนินการปฏิบัติตามขั้นตอนที่ได้ช่วยกันวางแผนไว้ โดยมีครูเป็นผู้แนะนำให้กำลังใจอยู่อย่างใกล้ชิด
    15. ประเมินผลระหว่างปฏิบัติ

    16. ให้เด็กได้รู้จักสังเกตการทำงานของตนเองและเพื่อนว่าการปฏิบัติงานนั้นประสบความสำเร็จได้ด้วยดีหรือไม่ (ห้องเรียนสะอาดหรือไม่) หรืออาจมีอุปสรรคปัญหาใดในระหว่างปฏิบัติ และให้เสนอแนะสิ่งที่ควรปรับปรุง เช่น การกวาดเพียงอย่างเดียวยังไม่สามารถทำให้ห้องเรียนสะอาดที่สุด ถ้าต้องการให้สะอาดกว่านี้ควรให้ถูพื้นด้วย
    17. ปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ

    18. ให้นำเอาวิธีที่เสนอแนะไว้ในข้อ 10 มาลงมือปฏิบัติ โดยการหาอุปกรณ์ ในการถูพื้นมาถูพื้นห้องให้สะอาดเรียบร้อย
    19. ประเมินผลรวมเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ

    20. ให้นักเรียนพูดสรุปการปฏิบัติงานตั้งแต่ขั้นลงมือทำจนกระทั่งห้องเรียนสะอาดเรียบร้อยด้วยดี หลังจากนั้นครูก็ให้กำลังใจด้วยการยกย่อง ชมเชยหรือให้เกิดความภูมิใจในการปฏิบัติงานของตน
    21. ให้นักเรียนเก็บเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำความสะอาดเข้าที่ให้เรียบร้อย
    22. ครูสรุปให้นักเรียนเกิดแนวคิดดังนี้

- บ้านเรือนและห้องเรียนตลอดจนอาคารสถานที่ที่สะอาด ปราศจากสิ่งสกปรกทั้งหลาย จะทำให้สถานที่นั้นน่าอยู่น่าอาศัยและยังทำให้จิตใจแจ่มใส ร่าเริง

 

5. สื่อการสอน

    1. เพลงเกี่ยวกับการทำความสะอาดบ้าน
    2. เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำความสะอาด
    3. แบบประเมินความรู้ความเข้าใจเจตคติของนักเรียน

 

 

6. การวัดและประเมินผล

การวัดผล

    1. สังเกตจากการตอบคำถามของนักเรียนที่สนทนาโต้ตอบกับครู
    2. สังเกตการปฏิบัติงานและกระบวนการทำงานของนักเรียน เช่น การจับการถืออุปกรณ์เครื่องมือ ตลอดจนการทำงานตามขั้นตอน
    3. ตรวจผลงานที่นักเรียนปฏิบัติ

 

การประเมินผล

1.นักเรียนทุกคนตอบคำถามเกี่ยวกับการทำความสะอาดได้อยู่ในระดับดี

2. นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) ปฏิบัติงานตามกระบวนการทำงานได้อยู่ในระดับดีมาก

3. ผลงานของนักเรียนทุกคนทำได้อยู่ในระดับดีมาก

7. กิจกรรมเสนอและเพิ่มเติม

    1. มอบหมายให้นักเรียนทำความสะอาดห้องเรียนและระเบียงหน้าห้องเรียน จัดเวรหมุนเวียนทำความสะอาด โดยครูคอยติดตามประเมินผลอย่างใกล้ชิด
    2. มอบหมายให้นักเรียนทำความสะอาดที่บ้าน และรายงานผลการปฏิบัติให้ครูทราบ

 

8. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยง

.................................................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ..........................................

(.................................................)

วันที่......เดือน..........พ.ศ.............

 

9. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศก์

.................................................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................................................

 

ลงชื่อ................................................

(......................................................)

วันที่........เดือน..............พ.ศ.............

 

BACK

 

Hosted by www.Geocities.ws

1