ลวดลายบนเครื่องเงิน

         ลวดลายบนเครื่องเงินเครื่องถมไทย ที่เป็นลายประจำชาตินั้นเป็นลวดลายภาคกลาง ลวดลายต่าง ๆ 

ล้วนมีที่มา บางลายก็คล้ายคลึงกับลายของอิหร่าน  อินเดีย และจีน คือลายที่มาจากธรรมชาติบางชนิด

เช่น ลายดาวกระจาย  ลายบัวคว่ำบัวหงาน และบางลายก็มาจากวัฒนธรรมความเชื่อของฮินดู แต่กระนั้น

ก็ยังมีลายไทยทั่วไปมีลักษณะเฉพาะหาดูที่ไหนไม่ได้นอกจากในประเทศไทยนี้

       ลวดลายต่าง ๆ บนเครื่องเงินสารพัดชนิด พอจะแบ่งกว้าง ๆ ได้หลายประเภท

 

       รูปธรรมชาติและรูปเหมือนจริงต่าง ๆ  เช่น ทิวทัศน์ทั่วไป สัตว์ ต้นไม้ สถานที่สำคัญเช่น 

พระปรางค์วัดอรุณ  พระเจดีย์กลางน้ำ  รูปจากประวัติศาสตร์  เช่นพระนเรศวรชนช้าง ลายสถานที่เหล่านี้

มีมาไม่นานเท่าไรนัก

      รูปเทพเจ้า มาจากความเชื่อโบราณแบบฮินดู เช่นพระวิษณุกรรม พระสุรัสวดี  เทพบุตร เทพธิดา

      รูปสัตว์จากป่าหิมพานต์และจากเทพนิยาย มีราชสีห์  คชสีห์ หงส์ ครุฑ  นาค  กินนร-กินรี 

ลายพวกนี้มีมาแต่โบราณ

      รูปตัวละครในวรรณคดี  ที่นิยมกันมากคือรามเกียรติ์ มีรูปพระราม  นางสีดา  ยักษ์ ลิง ทั้งเต็มตัว

ครึ่งตัวในอิริยาบถต่าง ๆ หรือเป็นภาพเหตุการณ์ตอนใดตอนหนึ่งทั้งตอน

      รูปสัตว์ 12 ราศี  มีที่มาจากความเชื่อแบบจีน ทำมาแต่โบราณและทำกันทั่วไปในภูมิภาคแถบนี้

        ลายไทย  เป็นไปไม่ได้เลยที่จะกล่าวถึงลักษณะลายไทยทั้งหมดเพียงไม่หน้า แต่อาจกล่าวถึงลาย

เด่น ๆ เฉพาะบนเครื่องเงินเพียงไม่กี่อย่างเท่านั้น

              - ลายกนก เฉพาะกนกอย่างเดียวก็แทบนับจำนวนไม่ได้ แต่เดิมคำว่า "กนก" เป็นชื่อตู้ลายรดน้ำ

ของอินเดียเมื่อ 2,000 ปีมาแล้ว แต่ต่อมาคำว่ากนกกลายเป็นลักษณะลายอย่างที่รู้จักกันทั่วไปกนกมี

หลายลักษณะ อ้วนผมหรือพลิ้วไหวต่างกันหรือมีหัวหางต่างกันก็มีชื่อเรียกต่างกัน เช่น กนกใบเทศ

(กนกผสมใบเทศ) กนกเปลว (ปลายเหมือนเปลวไฟ) กนกผักกูด กนกลายนาค  กนกหางโต เป็นต้น

               - ลายดอก ที่นิยมคือ ดอกบัว ดอกมะลิ ดอกจอก ดอกพุดตาน ลายใบเทศ (ใบฝ้ายเทศ)

ดอกชัยพฤกษ์ ลายดอกไม้ร่วง

               - ลายพุ่ม  เช่นพุ่มข้าวบิณฑ์ เทพนม

               - ลายช่อ เช่นช่อกนกสามตัว ช่อเปลว

               - ลายก้านขด เป็นการนำลายหลายอย่างมาต่อกันโดยมีลายเชื่อมต่อรร้อยกันไปเรื่อย ๆ มีหลาย

ชนิด

               - ลายเปลว ลายเครือเถา เป็นลายที่เลื้อยไปอย่างอิสระ ภายในรูปทางของสิ่งที่ทำ มีทั้งเครือเถา

ชั้นเดียว เครือเถาไขว้

               - ลายขอบและลายเชิง  ใช้ในพื้นที่แคบ  หรือแต่งตามของทั้งแนวนั้งแนวนอน มีหลายลาย เช่น

ลายหน้ากระดาษ  ลายเกลียว  ลายก้านต่อดอก  ลายกรวยเชิง ลายเฟือง

               - ลายบัว  มีหลายแบบ ทำตามส่วนโค้งของภาชนะเช่น เชิงพาน

               - ฐานประกอบลาย  ใช้เป็นลายฐานต่าง ๆ เช่นเดียวกับลายบัว

               - ยังมีลายไทยอื่น ๆ แต่ไม่ค่อยเห็นในเครื่องเงินมากนัก เช่น ลายผนังแบบต่างๆ ลายกระจัง

ในกรอบสี่เหลี่ยม ฯลฯ

         ภาชนะชิ้นใหญ่ ลายเหล่านี้ไม่อยู่โดดเดี่ยว แต่จะผสมผสานลายต่าง ๆ เข้าด้วยกันให้เต็มพื้นที่สุด

แท้แต่จินตนาการของช่างแต่ละคน

         ลายที่วิจิตรพิสดารที่สุดเป็นลายที่ประกอบด้วยรูปลายหลายแบบมากที่สุดที่จะมากได้ และก็แน่นอน

หาดูไม่ค่อยได้

 


< Home

Copyright © 2000  Mr.Kanchana Pumnual. All rights reserved.

Revised : เมษายน 28, 2543 .

Hosted by www.Geocities.ws

1