เครื่องเขิน

อูบ

วัสดุ เครื่องเขินรักแดง ถมสีดำและเขียว เป็นลายเครือเถา ยอดฝาเป็นหน้าสตรีชาวเหนือทำมวยสูงทรงขโดง

ประโยชน์ใช้สอย ใส่เสื่อผ้า ของใช้ ขนาด สูง 68 ซม. ฐานกว้าง 41 ซม. แหล่งกำเนิด เชียงใหม่

       เครื่องเขิน เป็นชื่อเรียกภาชนะเครื่องใช้ที่สานด้วยไม้ไผ่แล้วเคลือบด้วยรัก เขียนลาดลายประดับ

ตกแต่งด้วยชวด ทองคำเปลว หรือ เงินเปลว เครื่องเขินเป็นภาชนะเครื่องใช้ที่นิยมใช้กันในภาคเหนือ

โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ ถึงกับมีหมู่บ้านที่ผลิตเครื่องเขินด้วย ภาษาพื้นเมืองว่าบ้าน"ทำฮักทำหาง"

หรือบ้านเขิน

        "เครื่องเขิน" นั้นเชื่อกันว่าเรียกตามชื่อของเผ่าหรือกลุ่มคนผู้ทำคือพวก "ไทยเขิน" ที่อยู่ในเชียงตุง

ต่อมาได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่ในเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละ (ประมาณ พ.ศ. 2325-

2358) แล้วรวมกันตั้งเป็นหมู่บ้านซึ่งกลายเป็นหมู่บ้านหนึ่งคือ "บ้านเขิน" อยู่ในตำบลหายยา อ.เมืองเชียง

ใหม่ มาจนทุกวันนี้  เครื่องเขินที่ทำกันในหมู่บ้านนี้ทำสืบต่อกันมาตามแบบอย่างของบรรพบุรุษนานนับ

ร้อยปี  เครื่องเขินที่ทำส่วนมากเป็นพวกภาชนะเครื่องใช้สอยที่เป็นประโยชน์มากกว่าที่จะใช้เป็นเครื่อง

ประดับตกแต่ง เช่น ขันน้ำ โถแห้ง กล่องใส่ยาเส้น พานแว่นฟ้า เชี่ยนหมาก เป็นต้น

   

หีบบุหรี่ กระโถน น้ำต้น

วัสดุ เครื่องเขนลายรดน้ำ ประเภทของใช้ แหล่งกำเนิด เชียงใหม่
หีบบุหรี่ กว้าง 13.5 ซม. ยาว 21 ซม. สูง 9 ซม.
กรุโถน กว้าง 15 ซม. สูง 10 ซม.
น้ำต้น กว้าง 18 ซม. สูง 21 ซม.

        อย่างไรก็ตามการเรียกเครื่องเขินนี้ นานเสนอ นิลเดช ได้ให้ความเห็นไว้ในเรื่องกำมะลอว่า

"...จะเป็นไปได้ไหมว่าการผลิตเครื่องเขินของเมืองเชียงใหม่มีมาแต่เดิมสมัยเชียงใหม่เป็นเมืองเอกราช

ร่วมสมัยอยุธยา และภายหลังที่พระเจ้ากาวิละไปนำพวกชาวไทยจากเมืองเขินมาอยู่ที่เชียงใหม่ ชาวไทย

เขินได้ผลิตเครื่องเขินขึ้นเป็นขันหมาก และแอบหมาก ขนาดต่างๆ ขึ้นจำหน่ายให้ชาวเชียงใหม่ใช้จน

ภาชนะใดก็ตามที่สานด้วยไม้ลงรักปิดทองแต้มสีต่าง ๆ จะต้องเรียกกันว่า เขิน..."

 


< Home

Copyright © 2000  Mr.Kanchana Pumnual. All rights reserved.

Revised : เมษายน 28, 2543 .

Hosted by www.Geocities.ws

1