Internet สำหรับผู้บริหาร

 

 

 

Outline

1.รู้จักกับ Internet

2.Internet สำหรับผู้บริหาร

3.การประยุกต์ใช้งาน Internet

4.บทสรุปและคำศัพท์

 

หมายเหตุ บทความดังกล่าวเป็นบทความสำหรับผู้บริหาร

ซึ่งมีพื้นฐานและทักษะที่แตกต่างกัน ทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต

บทความดังกล่าว เป็นบทความที่แสดงแนวความรู้ในทางกว้างและเป็นหลักการทางวิชาการ

……ที่สามารถเข้าใจได้โดยง่ายในระยะเวลาสั้น ๆเป็นองค์รวมเพื่อ ให้ทราบว่า …..

อินเตอร์เน็ตเป็นมาอย่างไร มีเครื่องมืออะไรบ้าง

การติดต่อสื่อสารเป็นอย่างไร แนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างไร

ผู้บริหารจะนำส่วนไหนของระบบงานมาใช้ให้เป็นประโยชน์และการประยุกต์ใช้งาน

ให้ได้มากที่สุดตามความคิดริเริ่มของผู้บริหารที่มีต่อเครื่องมือสมัยใหม่ดังกล่าว

รู้จักกับ Internet

ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทวีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ องค์กร เครือข่ายคอมพิวเตอร์ช่วยให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงกันไปทั่วโลก ดังที่นิตยสาร Time ฉบับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2540 ได้เสนอรายงานพิเศษภายใต้หัวข้อที่ชื่อว่า “Welcome to the Wired World : What the Networked Society means to you , Your business , Your country and the global” สังเกตุได้ว่า Wired World ซึ่งหมายถึงโลกที่ถูกพันด้วยเส้นลวด เป็นการเชื่อมต่อธุรกิจ เชื่อมต่อประเทศ ซึ่งมีแนวความคิดที่ว่า ทุก ๆ ประเทศ ได้เร่งพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร และเป็นผลทำให้ อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายแห่งโลกไร้พรมแดน

อินเตอร์เน็ตคืออะไร มาจากการสนธิคำว่า Interconnection กับ Network หมายถึงการเชื่อมต่อเครือข่าย เพื่อรวบรวมส่วนต่าง ๆ ฐานข้อมูลต่าง ๆ เข้ารวมกันจนดูเหมือนเป็นจุดรวมเดียวกัน

แนวความคิดในการเกิดระบบอินเตอร์เน็ต เกิดจากห้องปฏิบัติการวิจัยในสหรัฐอเมริกา และ ในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ ล้วนแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นทั้งสิ้น คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่แยกกันทำงานกันโดยอิสระ การถ่ายโอนข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งทำได้โดยการผ่านสื่อบันทึกข้อมูล จนในวันที่ 2 กันยายน 2512 ได้มีการทดลองเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยสี่แห่ง ภายใต้การควบคุมโครงการของอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยพิจารณาให้ทุนและกำหนดหัวข้องานวิจัย สำหรับในประเทศไทย ได้เริ่มติดต่อกับอินเตอร์เน็ตโดยใช้จดหมายอีเล็กโทรนิกส์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่เป็นแห่งแรก

เทคนิคในการเชื่อมโยงและการเข้าสู่ระบบ เทคนิคในการรับส่งข้อมูลหรือสื่อสารซึ่งกันและกันระหว่างคอมพิวเตอร์ เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่อธิบายวิธีสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน โปรโตคอลที่มีใช้ในปัจจุบันนี้ ได้แก่ โปรโตคอล ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) * การสื่อสารผ่านข่ายสายโทรศัพท์โดยมี โมเด็ม (MODEM)* เป็นอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณ ไปสู่ศูนย์และแต่ละศูนย์มีความสามารถในการส่งข้อมูลที่มีความเร็วที่แตกต่างกัน โดยพิจารณาจากจำนวน บิทที่ส่ง/รับ ต่อวินาที นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อโดยตรงโดยผ่านดาวเทียม และ การเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต(Login) ต้องมีศูนย์ที่สามารถติดต่อได้ โดยทางศูนย์ ได้กำหนดชื่อผู้ใช้ และ รหัสผ่าน และมีการลงทะเบียนในระบบเครือข่าย และเข้าสู่ระบบได้โดยการใช้โปรแกรมประยุกต์ที่เรียกว่า เบราวเซอร์ (Browser)* ที่บนพื้นฐานการทำงานของภาษา HTML* ที่สนับสนุนการทำงานของข้อมูลประเภทต่าง ๆ ที่พบเห็นในปัจจุบัน

ชื่อเครื่องและที่อยู่ทางอีเล็กทรอนิกส์ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเรียกว่า ชื่อโฮสต์ (Host name) ในอินเตอร์เน็ตมีวิธีเขียนเป็นมาตรฐาน เช่น set.or.th เป็นเครื่องของ set หรือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

หากนำชื่อเครื่องมาประกอบกับรหัสประจำตัวของผู้ใช้ซึ่งเรียกว่า ชื่อบัญชี ก็จะกลายเป็นที่อยู่ประจำตัวของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตซึ่งใช้สำหรับการรับส่งจดหมายทางอีเล็กโทรนิกส์ได้ ที่อยู่ประจำตัวของผู้ใช้ในอินเตอร์เน็ตจะใช้ชื่อบัญชีคั่นด้วยเครื่องหมาย ‘@’ และต่อท้ายด้วยชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ จะกลายเป็นที่อยู่ทางอีเล็กทรอนิกส์ เช่น [email protected]

ส่วนชื่อต่าง ๆ ที่ประกอบรวมกันอยู่หลังสัญลักษณ์ @ ซึ่งเป็นชื่อเครื่องนั้นเรานิยมเรียกโดยทั่วไปว่า โดเมน (Domain) หรือกล่าวได้ว่าที่อยู่ทางอีเล็กโทรนิกส์ประจำตัวผู้ใช้ทุกคนจะมีรูปแบบดังนี้คือ

ชื่อบัญชีผู้ใช้@โดเมน ซึ่งมีรายละเอียดตามตารางข้างล่างนี้

 

ตารางที่ 1 ชื่อโดเมนดังเดิมที่มีอยู่จากการเริ่มใช้อินเตอร์เน็ต (Function)

โดเมน

กลุ่ม

ตัวอย่าง

com

edu

gov

mil

net

org

กลุ่มธุรกิจการค้า (Commercial)

สถาบันการศึกษา (Education)

หน่วยงานรัฐบาล (Government)

หน่วยงานทางทหาร (Military)

หน่วยงานเกี่ยวกับเครือข่าย (Networking)

องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร (Organization)

cnn.com

standford.edu

nasa.gov

army.mil

nyser.net

wto.org

ตารางที่ 2 ชื่อโดเมนในประเทศไทย (Function)

โดเมน

กลุ่ม

ตัวอย่าง

co

ac

go

net

or

กลุ่มธุรกิจการค้า (Commercial)

สถาบันการศึกษา (Academic)

หน่วยงานรัฐบาล (Government)

หน่วยงานเกี่ยวกับเครือข่าย (Networking)

องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร (Organization)

loxinfo.co.th

chula.ac.th

mof.go.th

ksc.net.th

bot.or.th

ตารางที่ 3 ชื่อโดเมนระดับบนสุดของประเทศต่าง ๆ (Area)

โดเมน

ประเทศ

โดเมน

ประเทศ

th

au

ca

de

jp

Thailand

Australia

Canada

German

Japan

ฯลฯ

at

br

ch

es

sg

Austria

Brazil

Switzerland

Spain

Singapore

ฯลฯ

ชื่อเครื่องในรูปแบบของชื่อโดเมนช่วยให้ผู้ใช้จดจำและเรียกใช้งานได้สะดวกและ

ทำให้ทราบว่าติดต่อสื่อสารกับใคร แต่ในลักษณะการสื่อสารที่เกิดขึ้นคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องใช้เป็นระหัสตัวเลขที่อยู่ประจำเครื่อง ซึ่งแต่ละเครื่องจะมีตัวเลขไม่ซ้ำกัน ซึ่งเรียกว่า เลขที่อยู่ ไอพี หรือ เลขที่อยู่อินเตอร์เน็ต

ความสามารถต่าง ๆ ในระบบอินเตอร์เน็ต มาพิจารณาดูว่า ในระบบอินเตอร์เน็ตที่พบเห็นในปัจจุบันมีบริการอะไรบ้าง สนับสนุนงานในด้านใด

 

ตารางที่ 4 ความสามารถต่าง ๆ ในระบบอินเตอร์เน็ต (Capability)

ความสามารถ

หน้าที่

E-mail

Usenet

 

Listserv

Chatting

Telnet

FTP

Archie

Gopher

WWW

เป็นบริการรับส่งข่าวสาร ระหว่างบุคคลหลาย ๆ บุคคล ผ่านเครือข่าย ในรูปแบบ

ของข้อมูลที่หลากหลาย

เป็นการอภิปรายปัญหา แลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นในหัวข้อเรื่องต่าง ๆ บน

กระดานอีเล็กโทรนิกส์ หรือกระดานข่าว ซึ่งหลาย ๆ คนต่างเห็นข้อความต่าง ๆ เหล่านั้นและสามารถ ตอบโตหรือให้ความเห็นเพิ่มเติม

เป็นการกระจายข่าว และ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นผ่านระบบ E-mail ที่มีอยู่ในระบบ

ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์ให้บริการอินเตอร์เน็ต

เป็นการพูดคุยกันของกลุ่มคนในระบบโดยใช้การสนทนาแบบเขียนข้อความเป็นการตอบโต้กันแบบ real time

เป็นการอนุญาตให้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล logon ในคอมพิวเตอร์คนอื่น เพื่อทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน ในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นทำงานอื่นอยู่

เป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่ง (File Transfer Protocol)

เป็นเครื่องมือสำหรับค้นหาข้อมูลที่ต้องการในระบบ สำหรับในการค้นหา ที่ตั้งของ FTP เพื่อที่จะนำข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ (Download)

เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้สำหรับการเปิดค้นหาข้อมูลด้วยระบบเมนู โดยแสดงผลข้อมูลบนจอภาพ และ สามารถเชื่อมกับ Archie server

World Wide Web เป็นการบริการข้อมูลข่าวสารแนวใหม่บนอินเตอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบันเนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการใช้งาน และได้ผนวกบริการอื่นไว้ในตัว เช่น E-mail Usenet Chatting FTP Gopher สนับสนุนการทำงานของข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลาย

ดังนั้นเราได้ทราบแล้วว่า ระบบอินเตอร์เน็ตต้องประกอบชื่อคอมพิวเตอร์หลัก ต่าง ๆ ซึ่งในโลกนี้มีเป็นล้านเครื่อง และมีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้ระบบสามารถสื่อและเข้าใจกันได้ มีหลักการในการตั้งชื่อ การตั้งที่อยู่ในระบบอีเล็กโทรนิกส์ เป็นแนวทางมาตรฐานเดียวกัน และมีการบริการในระบบที่เหมือนกันทั่วโลก และเป็นที่นิยมมากที่สุดในขณะนี้คือ WWW ซึ่งผนวกเครื่องมือต่าง ๆ ไว้มากมาย

 

Internet สำหรับผู้บริหาร

เมื่อได้ทราบความรู้เบื้องต้นในเรื่องของอินเตอร์เน็ตเรียบร้อยแล้ว ทำให้เราทราบว่า อินเตอร์เน็ต นั้นเป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมาก และเราก็ทราบว่าในการสื่อสารแต่ละครั้งนั้น สิ่งที่ได้รับคือ ข่าวสาร ซึ่งมีอยู่ในรูปแบบที่หลากหลาย ในฐานะที่เป็นผู้บริหาร ต้องทราบถึงคุณค่าของข่าวสาร ที่ต้องการเผยแพร่ หรือ นำไปพิจารณาในการตัดสินใจ

ปัจจัยที่มีผลต่อคุณค่าของข่าวสารในระบบอินเตอร์เน็ต คุณค่าของข่าวสารหมายถึงประโยชน์ซึ่งเพิ่มขึ้นให้แก่องค์การในการใช้ข่าวสาร ยิ่งมีประโยชน์มากเท่าใดข่าวสารนั้นก็มีคุณค่าเพิ่มขึ้นเท่านั้น ดังนั้นมีปัจจัยที่สำคัญ ๆ 4 ประการที่กำหนดคุณค่าของข่าวสาร ทั้งนี้ไม่เฉพาะเจาะจงในระบบอินเตอร์เน็ต ยังสามารถนำไปใช้กับสื่ออื่น ๆ

    1. ความเหมาะสมของข่าวสาร คือระดับข่าวสารที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับสถานการณ์ที่ตัดสินใจ เพื่อการจัดการเกี่ยวข้องกับการให้ได้มาและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
    2. คุณภาพของข่าวสาร คือระดับข่าวสารเป็นตัวแทนของความเป็นจริง ข้อมูลต้องมีความ ถูกต้อง และ แม่นตรง มากยิ่งทำให้ผู้บริหารตัดสินใจได้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
    3. ความทันกับเวลา เพื่อนำเอาข่าวสารใหม่ ๆ มาพิจารณาร่วมกับข่าวสารในอดีต เพื่อทำการตัดสินใจ ข่าวสารต่าง ๆ ต้องมีการปรับปรุงอยู่เสมอ
    4. ปริมาณของข่าวสาร คือจำนวนของข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของผู้บริหาร ก่อนที่จะตัดสินใจต้องพิจารณาว่าปริมาณของข่าวสารที่เกี่ยวข้องเพียงพอกับการตัดสินใจหรือไม่

อินเตอร์เน็ตมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร เมื่อองค์กรมีการใช้ระบบอินเตอร์เน็ต

เป็นเครื่องมือสื่อสารกับกลุ่มที่หลากหลาย ทั้งภายในองค์การและภายนอกองค์การ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอินเตอร์เน็ตมีประโยชน์มากมายต่อองค์กร

    1. สามารถติดต่อสื่อสารได้ทั่วโลก เราได้ทราบในเบื้องต้นแล้วระบบอินเตอร์เน็ตสามารถติดต่อกับบุคคลได้ทั่วโลก และเป็นการง่ายที่ทุก ๆ คน จากหลายมุมโลกสามารถ login เข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้ง่าย เป็นการสื่อสารที่ไร้พรมแดน (Globalization)
    2. ลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร เนื่องจากการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้น เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว สามารถติดต่อสื่อสารได้ถึงหลาย ๆ สถานที่ที่ต้องการติดต่อ เพราะในอดีต บางองค์กรใช้เครือข่ายภายในเพื่อเป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
    3. ค่าใช้จ่ายต่อรายการที่ต่ำกว่า เมื่อผู้ใช้เข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตแล้ว สามารถดำเนินการติดต่อสื่อสารได้หลาย ๆ สถานที่ และ หลาย ๆ ครั้ง และยังเป็นผลทำให้ ค่าใช้จ่ายต่อรายการต่ำกว่า ไม่มีความจำเป็นต้องใช้กระดาษ ซองจดหมาย
    4. ลดค่าใช้จ่ายทางด้านตัวแทนหรือตัวกลาง ในอดีตมีการติดต่อทางด้านการค้า จำเป็นต้องมีผู้ดำเนินการในการเป็นสื่อกลางของการค้า ต้องมีการใช้อัตรากำลังคนที่เพิ่มขึ้น เมื่อมาใช้ระบบอินเตอร์เน็ตแล้ว สามารถลดบุคลากรที่เป็นสื่อกลางได้ และยังสามารถติดต่อได้ทั่วโลก
    5. อินเตอร์เน็ตช่วยให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ ความยืดหยุ่น และสร้างความคุ้นเคย ได้ง่าย เนื่องจาก โปรแกรมเบราวเซอร์ ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงให้ดีมากขึ้น ทำให้มีการปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน มีความยืดหยุ่นในการนำมาใช้ และ สร้างความคุ้นเคยได้ดี เช่น การใช้ E-mail Chat room กระดานข่าว นอกจากนี้ยังสนับสนุนข้อมูลข่าวสารที่เป็น ภาพเคลื่อนไหว เสียง
    6. ก่อให้เกิดการกระจายของความรู้ ทุกวันนี้ ความรู้ และ ข่าวสารใช้สื่อทางอินเตอร์เน็ตในการนำเสนอ ข้อมูลต่าง ๆ สถิติต่าง ๆ ถูกจัดเก็บไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ที่สามารถเข้าถึงและนำมาใช้ได้ ซึ่งพบเห็นได้มากมายใน WWW

บทบาทของผู้บริหารต่อระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นที่สังเกต ได้ว่าอินเตอร์เน็ต เป็น

สื่อกลางที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 และสื่อกลางนี้จะบรรจุวิสัยทัศน์เพื่ออนาคต ดังนั้นสภาวะกดดันทางธุรกิจจะมีบทบาทที่สำคัญในการสำรวจดูว่ามนุษย์สามารถบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับธุรกิจประจำวันได้อย่างไร อาทิเช่น ข้อมูลแพร่สะพัดทุกที่ทุกทาง ข้อมูลเป็นสื่อกลางในการสร้างชุมชน ลูกค้าเป็นหุ้นส่วนข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งปัจจัยที่กล่าวถึงผู้บริหารต้องแก้ไขความกดดันดังกล่าวให้ได้ ดังนั้น ความเจริญและสมรรถนะของเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงต้องมีการจัดรูปแบบกระบวนการ และ บทบาทใหม่

ลองมาพิจารณาบทบาทของผู้บริหาร ซึ่งประกอบไปด้วย การวางแผน (Planing) การจัดองค์การ (Organizing) การนำ (Leading) การกำกับดูแล (Controlling) และ การประเมินผล (Evaluating) ผู้บริหารต้องมีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด และ นำบทบาททางด้านการบริหารไปประยุกต์ใช้ในการเปลี่ยนแปลงองค์กรของท่าน เพื่อที่จะรองรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้ คือ

    1. สภาวะความกดดันทางธุรกิจ ซึ่งได้กล่าวมาแล้ว 2 – 3 ปัจจัย
    2. ความเจริญและสมรรถนะของเทคโนโลยีสารสนเทศ
    3. เครือข่ายของโลก (Global networks)
    4. เครือข่ายของการค้า (Enterprise networks)

ในฐานะที่เป็นนักบริหาร ต้องพิจารณาถึงการนำข้อมูลข่าวสารมาใช้ในองค์การได้

อย่างเหมาะสม รู้จักคุณค่าคุณประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต สามารถนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ต่อองค์การอย่างไร นักบริหารที่ชาญฉลาดต้องปรับบทบาททางด้านการบริหารอย่างไรเหมาะสม กับ องค์การที่เปลี่ยนแปลงไปทุกขณะ อาทิเช่น เป็นนักกลยุทธไร้พรมแดน เป็นผู้บริหารที่ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายต่าง ๆ ได้มากที่สุด เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นและสร้างแรงจูงใจได้ดี

การประยุกต์ใช้งาน Internet

ระบบเครือข่ายของอินเตอร์เน็ตได้มีการนำมาใช้เป็นรูปแบบเพิ่มเติมอีก 2 รูปแบบ ทั้งนี้เพื่อเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพของการทำงาน การสื่อสารภายในองค์กรให้ดีขึ้น โดยเป็นการใช้เทคโนโลยี ของอินเตอร์เน็ต มีรูปแบบการใช้เหมือนกันทุกประการ เพียงแต่แตกต่างทางด้านขอบเขตของผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่มีอยู่ในระบบ โดยมีรายละเอียดดังนี้

อินทราเน็ต (Intranet) เป็นรูปแบบ network เฉพาะองค์กร บุคคลภายนอก หรือ องค์กร ภายนอกไม่สามารถเข้าสู่ระบบข้อมูลในระบบนี้ได้ เนื่องจากเป็นการใช้ข้อมูลภายในองค์กรเท่านั้น ไม่เหมือนกับ อินเตอร์เน็ต ใคร ๆ ก็สามารถเรียกดูข้อมูลได้ เหมาะสมสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ หรือ องค์กรที่มีหน่วยงานหลากหลาย และอยู่ห่างไกลกัน

เอ็กทราเน็ต (Extranet) บางองค์กรอนุญาตให้บุคคลภายนอก หรือ องค์กรภายนอก เข้ามามีส่วนในการเรียกใช้ข้อมูลข่าวสารในระบบอินทราเน็ตขององค์กร โดยเน้นให้มีการเชื่อมโยงระหว่าง คู่ค้าทางธุรกิจ มีการใช้ระบบ EDI* ที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์กรเท่านั้น

อินเตอร์เน็ตและพาณิชย์อีเล็กโทรนิกส์ (Internet and Electronic Commerce)

รูปแบบของธุรกิจในอินเตอร์เน็ต ส่วนมากเป็นธุรกิจทางด้านการขาย และ การให้บริการทางด้านข้อมูล เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้ซื้อและผู้ขาย ที่อยู่ห่างไกลกันสามารถบรรลุผลทางการค้าได้ โดยมีรูปแบบของธุรกิจเป็นดังนี้

    1. Virtual Storefront เป็นการขายสินค้าทั่วไป ผ่าน Website เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบของการแสดงสินค้า การให้ข้อมูลของสินค้า ในลักษณะ On-line เช่น การขายหนังสือผ่านอินเตอร์เน็ต ของ www.amazon.com
    2. Marketplace Concentrator เป็นการรวบรวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า และ บริการ จากหลาย ๆ หน่วยผลิต เข้ามาสู่จุดเดียวกัน เพื่อทำการซื้อขาย หรือ ตกลงการซื้อขาย โดยใน Website จะมีข้อมูลของผู้ผลิตเป็นจำนวนมากให้มีการเปรียบเทียบในด้านต่าง ๆ
    3. Information Broker เป็นการจัดเตรียมข้อมูลของสินค้าและบริการ และ คุณลักษณะที่สำคัญของสินค้า เพื่อให้ลูกค้าได้ทราบ ส่วนใหญ่เท่าที่พบเห็นมักจะเป็น Website ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ที่เน้นในเรื่องข้อมูลข่าวสารเท่านั้น
    4. Transaction Broker เป็นการจัดเตรียมข้อมูลสินค้าและบริการ ราคา อัตราค่าบริการ เงื่อนไขการให้บริการ การทำการซื้อขายสินค้าดังกล่าวผ่านคนกลางหรือ Website ที่เป็น Broker
    5. Electronic Clearinghouses เป็นการเสนอซื้อและเสนอขายสินค้า ในรูปแบบของการประมูล เพราะต้องมีการตอบโต้ระหว่างกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยมี Website ที่ทำหน้าที่เป็น Clearinghouse เพื่อกำหนดเวลา เงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อให้การประมูลบรรลุผล เช่น www.ebay.com
    6. Reverse Auction เป็นรายการที่ผู้บริโภคตกลงซื้อสินค้าหรือบริการ จากผู้ขายหรือผู้ให้บริการหลาย ๆ ราย ในราคาและเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้เหมือนกัน
    7. Digital Product Delivery เป็นรายการขายสินค้าประเภท Software Multimedia Digital Product ส่งสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
    8. Content Provider เป็นการสร้างรายได้จากการเสนอขายการโฆษณา และ เน้นการให้พื้นที่บนโฆษณา เพื่อเชื่อมไปสู่ Website ของเจ้าของสินค้าที่ลงโฆษณา
    9. On-line Service Provider เป็นการให้บริการศูนย์อินเตอร์เน็ต ให้การสนับสนุนทางด้าน Hardware Software เช่น ศูนย์อินเตอร์เน็ตทั่ว ๆ ไป

ดังนั้น การนำอินเตอร์เน็ต มาประยุกต์ใช้ในองค์กร สามารถทำได้หลากหลายทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์ในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การกำกับดูแล การรายงานผ่านระบบเครือข่าย การเข้าถึงข้อมูลของหน่วยต่าง ๆ ในระบบเครือข่าย สามารถกระทำได้โดยง่าย สำหรับการดำเนินการสร้างธุรกิจบนเครือข่าย ก็สามารถกระทำได้หลายรูปแบบเช่นกัน อาจจะเป็นรูปแบบที่ผสมผสานกัน ให้เหมาะกับสภาพความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก เช่น อาจจะมีการเชื่อมโยงระหว่าง ธุรกิจกับธุรกิจ (B to B) หรือ ธุรกิจกับลูกค้า (B to C) เป็นต้น

บทสรุป

จากเหตุของการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานของระบบการสื่อสารในประเทศต่าง ๆ สามารถคาดการณ์ได้ว่า ในปัจจุบันนี้ (2544) มีผู้ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต มากกว่า 750 ล้านคนทั่วโลก มี Website มากกว่า 500 ล้าน Website หรือ URL* คาดว่าในปี ค.ศ.2001 จะมีผู้ใช้เครือข่ายถึง 1500 ล้านคนทั่วโลก ในฐานะที่เป็นผู้บริหารขององค์กร จะทราบได้ว่า ต้องมีผู้ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมากขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริม พาณิชย์อีเล็กโทรนิกส์ ให้มีธุรกรรมเพิ่มมากขึ้น

ในอดีต การได้มาของข้อมูล ต้องใช้เวลามากโดยเฉพาะข้อมูลที่อยู่ห่างไกล ดังนั้นผู้บริหาร ต้องรู้จัดวิธีที่ได้มาของข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย ต้องใช้การค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือ ใช้ตัวค้น (Search Engines)* กล่าวคือรู้จักใช้ตัวค้น รู้จักการใช้ อีเมล์ (E-mail) การรับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Download)* การใช้บริการในระบบอินเตอร์เน็ต ที่เกี่ยวข้องกับระบบงาน ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น

เมื่อได้ข้อมูล ทำให้ทราบว่าแหล่งข้อมูลมาจากที่ได้ สังเกตได้จากชื่อ Website ที่อยู่ของ E-mail ที่มีหลักการในการตั้งชื่อโดเมน ว่าเป็นหน่วยงานใด ภาครัฐ ภาคเอกชน หรือ องค์กรไม่แสวงหากำไร มาจากประเทศใด และรู้จักการใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการ และได้ทราบว่า การนำระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาใช้ในองค์กร นั้น ก็สามารถทำได้โดยง่าย จะใช้เป็นการภายในองค์กร หรือ ภายนอกองค์กร หรือ เป็นระบบสากล ที่ทุกคนทั่วโลกสามารถเข้าสู่เครือข่ายได้ นอกจากนั้น รูปแบบการค้าทางอีเล็กโทรนิกส์ เพื่อนำมาใช้ในองค์กร ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์โดยรวมขององค์การ โดยเฉพาะทางด้านค่าใช้จ่าย และ การประหยัดเวลาในการสื่อสารดังที่ได้กล่าวข้างต้น

คำศัพท์

TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เป็นเทคนิคในการรับส่งข้อมูลหรือสื่อสารซึ่งกันและกันระหว่างคอมพิวเตอร์ ซึ่งเรียกว่า โปรโตคอล เป็นข้อกำหนดที่อธิบายวิธีสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการออกแบบโปรแกรม ไม่ว่าคอมพิวเตอร์ในเครื่องจะมี ฮาร์ดแวร์ แตกต่างกันหรือไม่ก็ตาม

MODEM (Modulation/DEModulation) เป็นอุปกรณ์ แปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณโทรศัพท์(Analog) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ส่งผ่านข่ายสายโทรศัพท์ และ แปลงสัญญาณโทรศัพท์ เป็นสัญญาณดิจิตอล เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางได้รับสัญญาณนั้น

Browser หมายถึงโปรแกรมที่แสดงผลข้อมูล บันทึกข้อมูล เปลี่ยนแปลงข้อมูล ตามที่ระบบอนุญาตให้กระทำได้ โดยเรียกใช้จากแหล่งที่ตั้งของข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น อินเตอร์เน็ตเอ็กพลอเรอร์ เนสแคป

HTML (Hypertext Markup Language) เป็นโปรแกรมหรือภาษาที่เขียนขึ้นเพื่อสร้าง Webpage

หรือ สร้างสื่อต่าง ๆ ที่สามารถทำให้ Browser เรียกทำงานได้ ซึ่งประกอบไปด้วยโครงสร้างของโปรแกรม ที่สนับสนุนการทำงาน ของข้อความ ภาพ เสียง วิดีโอ และสื่อผสมต่าง ๆ (Multimedia) และภาษาดังกล่าวจะทำงาน(run) อยู่บน Hypertext transport protocol (http) ซึ่งอยู่ในระบบ TCP/IP อีกประการหนึ่ง

 

EDI (Electronic Data Interchange) เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญชนิดหนึ่งของพาณิชย์อีเล็กโทรนิกส์ ระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ มีการแลกเปลี่ยนเอกสารระหว่างสององค์กร เช่น อินวอยซ์ การวางบิล คำสั่งซื้อ เป็นการช่วยประหยัดกระดาษ และระบบดังกล่าวยังรักษาโครงสร้างของเอกสารให้คงเดิม ซึ่งมีความแตกต่างกับการใช้ อีเมล์

URL (Uniform Resource Locator) คือที่อยู่แหล่งที่ตั้งที่อยู่ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น http://www.amazon.com อันประกอบไปด้วย ลักษณะของข้อความ คือ http ชื่อโดเมน

Search Engines : ตัวค้น หมายถึงโปรแกรมที่เป็นเครื่องมือสำหรับหาแหล่งที่ตั้งของข้อมูลสารสนเทศที่ลงทะเบียนอยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเปรียบเสมือนกับดัชนี หรือ บัตรชื่อเรื่องของหนังสือหรือเรื่องราวต่าง ๆ ในห้องสมุด

Download เป็นวิธีการรับข้อมูลจาก URL หรือ Website ต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางที่เป็นผู้รับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแหล่งที่ให้ข้อมูลได้จัดทำข้อมูลไว้สำหรับส่งข้อมูลเหล่านั้น โดยมากจะเป็นข้อมูลที่มีแฟ้มข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น แฟ้มประเภท PDF แฟ้มประเภท Microsoft word (DOC) หรือ Excel (XLS) และ ข้อมูลประเภท ภาพ (JPEG, GIF) เสียง (MP3) หรือ Multimedia (AVI,MPEG) เป็นต้น

 

เรียบเรียงโดย สุรัติ พูนพิสิฐทรัพย์

อ้างอิง

1.Laudon & Laudon Essentials of Management Information System third edition 1999

2.พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร นิด้า 2542

3.บุญทัน ดอกไธสง ศตวรรษที่ 21 ยุคแห่งการท้าทายทางการบริหาร นิด้า 2543

4.ชุติมา ต่อเจริญ และ สุรัติ พูนพิสิฐทรัพย์ การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ต ม.อ.วิทยาเขตภูเก็ต 2543

 

ย้อนกลับหน้าสรรสาระ

Hosted by www.Geocities.ws

1