รายชื่อแมลงอนุรักษ์

ด้วงกว่างดาว   เป็นด้วงขนาดใหญ่ ตัวผู้มีขาหน้ายาวสวยงาม ตัวเมียขาหน้าสั้น ด้วงชนิดนี้พบทางภาคเหนือและ

ภาคตะวันออก

ด้วงคีมยีราฟ   พบที่ภาคเหนือและภาคตะวันออ ด้วงคีมหรือด้วงเขี้ยวกางในประเทศไทยมีหลายชนิด และมีรูปรา่ง

แปลก สวยงามจึงมีการล่าจับกันมาก

ด้วงดินขอบทองแดง   ด้วงดินที่มีขนาดใหญ่ ตัวสีดำ แต่ขอบบริเวณส่วนอกมีเหลือบเป็นสีทองแดง

พบที่ภาคกลางภาคตะวันออก และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ด้วงดินปีกแผ่น   ด้วงดินที่มีปีกหน้าแบนบางเป็นแผ่นทำให้ดูสวยงาม และ แปลก เป็นแมลงที่หายาก พบเฉพาะ

ทางใต้

ผีเสื้อกลางคืนค้างคาว   ผีเสื้อขนาดใหญ่ปลายปีกหลังยาวลงมาส่วนใหญ่มีสีเหลือ

เนื่องจากมีขนาดใหญ่และสวยงาม จึงมีการล่าจับกันมาก แมลงในสกุลนี้ที่พบในประเทศไทยมี 4 ชนิด คือ

ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายหยัก ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายตรง ผีเสื้อหางยาวสี่ตาปีกลายตรง และ

ผีเสื้อหางยาวสี่ตาปีกลายหยัก

ผีเสื้อไกเชอร์   เป็นแมลงอนุรักษ์ที่กำหนดไว้ในบัญชีหมายเลข 2 ของ อนุสัญญา CITES ในประเทศไทย

ชนิดเดียว คือ ผีเสื้อไกเชอร์ พบที่ภาคเหนือ เฉพาะบนดอยผ้าห่มปก อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ชอบ

บินสูงอยู่เหนือยอดไม้ เป็นแมลงที่หายาก

ผีเสื้อถุงทอง   เป็นแมลงอนุรักษ์ที่กำหนดไว้ในบัญชีหมายเลข 2 ของอนุสัญญา CITES ในประเทศไทย

ที่พบแล้วมีอยู่หลายชนิด เช่น ผีเสื้อถุงทองป่าสูง ผีเสื้อถุงทองปักษ์ใต้ ผีเสื้อถุงทองธรรมดา ถึงแม้ว่า

ผีเสื้อถุงทองบางชนิดสามารถนำมาเลี้ยงใด้ แต่ไม่ได้ทำการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ในเชิงธุรกิจ

ผีเสื้อนางพญา   เป็นผีเสื้อกลางวันที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พบ 3 ชนิด คือ ผีเสื้อนางพญา

พม่า พบที่ภาคเหนือ  ผีเสื้อนางพญาเขมร พบที่ภาคตะวันออก และผีเสื้อนางพญากอดเฟรย์ พบที่ภาคใต้

ผีเสื้อภูฐาน   เป็นแมลงอนุรักษ์ที่กำหนดไว้ในบัญชีหมายเลข 2 ของอนุสัญญา CITES ในประเทศไทย

มีชนิดเดียว คือผีเสื้อภูฐานหรือผีเสื้อเชียงดาว พบเฉพาะบนยอดดอยเชียงดาว แต่ในปัจจุบันไม่เคยพบอีก

สันนิษฐานว่าคงสูญพันธ์ไปจากประเทศไทยแล้ว

ผีเสื้อรักแร้ขาว   เป็นผีเสื้อหายากชนิดหนึ่ง บริเวณขอบปีกหลังมีสีขาว พบแถบภาคกลาง

ผีเสื้อหางดาบตาลไหม้   พบที่ภาคเหนือและภาคใต้ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะแตกต่างกัน

ผีเสื้อหางติ่งสะพายเขียว   มีสีสวยงาม พบที่ภาคกลางและภาคใต้

แมลงทั้ง 13 รายการนี้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ได้ประกาศอยู่ในบัญชีท้ายกฏกระทรวงฉบับที่ 4

(พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 และประกาศ

ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับฏีกา เล่ม 111 ตอนที่ 31 ก ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2534

อยากทราบรายละเอียด ได้โปรดสอบถาม คุณพงศ์ชาติ เชื้อหอม นิด้ารุ่นที่ 4 ภูเก็ตเอื้อเฟื้อข้อมูล

หัวหน้าอุทยานทั้งภูเก็ต และ สุราษฎร์ธานี  สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร โทร 0-2579-4128

 

กลับสู่รายการ

 

 

 

 

 

 

Hosted by www.Geocities.ws

1