ระบบนิเวศหาดหิน (Rocky shore)


หาดหินเป็นลักษณะชายหาดที่ประกอบไปด้วยหินต่างๆ ในบริเวณเขตน้ำขึ้นน้ำลง เรามักจะพบหาดหินตามเกาะต่างๆ หรือตามชายฝั่งทะเลที่เชื่อมติดต่อกับภูเขา จากการผุพังหรือการกัดเซาะของน้ำทะเล ทำให้เกิดซอกเล็กซอกน้อยอยู่มากมาย ทำให้ หาดหินค่อนข้างที่จะพบสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่มากมาย รวมทั้งยังเป็นแหล่งหลบภัยของสัตว์น้ำวัยอ่อนได้เป็นอย่างดี ปัจจัยสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญในบริเวณหาดหิน ได้แก่ อิทธิพลของคลื่นลม น้ำขึ้นน้ำลง ความร้อน ความแห้งแล้ง ส่งผลทำให้สิ่งมีชีวิตที่มาอาศัยอยู่ต้องมีการปรับตัวเอง ทั้งทางด้านรูปร่างและการยึดเกาะกับพื้นหินให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกพัดพาไปจากการซัดของคลื่น ตัวอย่างเช่น เพรียงหินและหอยนางรม จะยึดติดอยู่กับหินตลอดชีวิต และมีเปลือกหนาปิดได้สนิท เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ ในร่างกายเมื่อเวลาน้ำลง พวกที่มีเส้นใยช่วยในการยึดเกาะ เช่น หอยแมลงภู่ ปูใบ้และปูหิน ซึ่งมีเปลือกหอยแข็งและหนา สาหร่าย เห็ดหูหนูและสาหร่ายบางชนิดต้องมีส่วนที่ยึดเกาะกับก้อนหิน ปูแมงมุมมีการพรางตัวให้มีลักษณะคล้ายกับก้อนหิน รวมทั้งมี ขาเรียวคมเพื่อเกาะกับก้อนหินได้มั่นคงภายในหาดหินเมื่อเวลาน้ำลง ทำให้มีน้ำค้างอยู่ตามแอ่งหรือซอกต่างๆ เราเรียกแอ่งน้ำ นี้ว่า แอ่งน้ำขึ้นน้ำลง(tide pool) พืชและสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในแอ่งน้ำนี้ จะต้องมีการปรับตัวได้ดีมากต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้น ออกซิเจนที่ลดน้อยลงและความเค็มที่เพิ่มขึ้น สัตว์ที่พบในแอ่งนี้ ได้แก่ ดอกไม้ทะเล หอยทะเล จำพวกหอยขี้นก สาหร่ายบางชนิด เพรียงหิน เหล่านี้เป็นต้น สิ่งหนึ่งที่ควรระวังเมื่อเราไปศึกษาธรรมชาตินิเวศของหาดหิน เมื่อพลิกก้อนหินขึ้นศึกษา และเมื่อศึกษา เสร็จแล้วต้องพลิกกลับลงไปเช่นเดิม เพราะว่าสิ่งมีชีวิตที่อยู่ใต้ก้อนหิน จะไม่สามารถปรับตัวได้ทันต่อสิ่งแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป และจะทำให้มันตายได้ จึงต้องการทำให้มันกลับไปในสิ่งแวดล้อมที่มันเคยอาศัยอยู่

 

Home


Hosted by www.Geocities.ws

1