ปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ต่อระบบนิเวศน์

 

              แสง ยังมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการออกหากินของสัตว์ต่างๆ สัตว์ส่วนใหญ่จะออกหากินเวลากลางวัน แต่ก็มีสัตว์อีกหลาย ชนิดที่ออกหากินเวลากลางคืน เช่น ค้างคาว นกฮูก เป็นต้น
             อุณหภูมิ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะดำรงชีวิตอยู่ได้ในอุณหภูมิประมาณ 10 – 30 องศาเซลเซียส ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงมากหรือ - อุณหภูมิต่ำมากจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่น้อยทั้งชนิดและจำนวน หรืออาจไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ได้เลย เช่น แถบขั้วโลก และบริเวณ ทะเลทราย ในแหล่งน้ำที่อุณหภูมิไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง
แต่สิ่งมีชีวิตก็มีการปรับตัว เช่น ในบางฤดูกาลมีสัตว์และพืชหลายชนิดต้องพักตัวหรือจำศีล เพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว สัตว์ประเภทอพยพไปสู่ถิ่นใหม่ที่มีอุณหภูมิเหมาะสมเป็นการชั่วคราวในบงฤดู เช่น นกนางแอ่นอพยพจากประเทศจีน มาหากินในประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว และอาจเลยไปถึงมาเลเซียราวเดือนกันยายนทุกปี
สิ่งมีชีวิตจะมีรูปร่างลักษณะหรือสีที่สัมพันธ์กับอุณหภูมิของแหล่งที่อยู่เฉพาะแตกต่างกันไปด้วย เช่น สุนัข ในประเทศที่มี อากาศหนาว จะเป็นพันธุ์ที่มีขนยาวปุกปุย แต่ในแถบร้อนจะเป็นพันธุ์ขนเกรียน ต้นไม้เมืองหนาวก็มีความเฉพาะ เช่น ป่าสน จะอยู่ในเขตหนาวแตกต่างจากพืชในป่าดิบชื้นในเขตร้อน
            แร่ธาตุ แร่ธาตุต่างๆ จะมีอยู่ในอากาศที่ห่อหุ้มโลก อยู่ในดินและละลายอยู่ในน้ำ แร่ธาตุที่สำคัญได้แก่ ออกซิเจน คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และแร่ธาตุอื่นๆ เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกชีวิตต้องการในกระบวนการดำรงชีพ แต่สิ่งมีชีวิต แต่ละชนิดต้องการแร่ธาตุเหล่านี้ในปริมาณที่แตกต่างกัน และระบบนิเวศแต่ละระบบจะมีแร่ธาตุต่างๆ เป็นองค์ประกอบใน ปริมาณที่แตกต่างกัน
               ความชื้น ความชื้นในบรรยากาศจะแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของโลกและยังเปลี่ยนเแปลงไปตามฤดูกาล ความชื้นมีผลต่อการ ระเหยของน้ำออกจากร่างกายของสิ่งมีชีวิต ทำให้จำกัดชนิดและการกระจายของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่ด้วย ในเขตร้อนจะมีความ ชื้นสูง เนื่องจากมีฝนตกชุกและสม่ำเสมอ และจะมีความอุดมสมบูรณ์ จึงมีความหลากหลายของชนิดและปริมาณ ของสิ่งมีชีวิตมาก กว่าในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว

Home

 

Hosted by www.Geocities.ws

1