หุ่นยนต์ เพื่อพัฒนาสติปัญญา
การแข่งขั้นพัฒนาโปรแกรมสำหรับหุ่นยนต์

 
ทฤษฎีของ constrictionism
    เสนอว่า การเรียนรู้ จะมีประสิทธิภาพ ต่อเมื่อ เด็กได้เรียนรู้จากกิจกรรม ที่มีการสร้างสรรค์ เช่น การที่เด็กเล่นก่อปราสาททราย ที่ชายทะเล แต่งกลอน เล่นคอมพิวเตอร์ หรือร้องเพลง การเรียนรู้แบบ Constrictioninm เกิดขึ้นได้ 2 ขั้นตอน คือ เมื่อเด็กสร้างสรรค์งานอยู่ สมองของเด็กจะจะเรียนรู้ไปดวย ซึ่งการเรียนรู้โดยวิธีนี้ ทำให้เด็กสามารถแก้ปัญหา ที่ซับซ้อนมากขึ้นได้ เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ อย่างสร้างสรรค์ แก่เด็ก Papert และเพื่อนร่วมทีม แห่งสถาบัน MIT ได้ออกแบบสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็ก รวมทั้งการควบคุมสภาพแวดล้อมในการเรียนที่ดี เพื่อที่จะทำให้ใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากที่สุด

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  ส่วนมากเรามักจะเคยได้ยินคำว่า หุ่นยนต์ กันมาแล้วทุกคน และ อาจจะ เคยเห็นแต่ใน TV หรือภาพยนตร์ โดยสนใจว่า หุ่นยนต์ ทำงานอย่างไร ดังนั้นจึงได้นำเอาแนวคิดเรื่อง หุ่นยนตร์ มาเป็นแนวทางในการพัฒนาสติปัญญา ให้นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ ได้ศึกษาพื้นฐานความคิดในเรื่องหุ่นยนต์ แต่ขณะเดียวกัน ก็มีขั้นตอนที่ทำให้ เกิดกระบวนการเรียนรู้ พัฒนากระบวนการคิด สติปัญญา และสนุกสนาน ซึ่งเป็นแนวทาง การจัดการศึกษาในยุคของ การปฏิรูปการศึกษา ในปัจจุบัน ไม่ใช่เป็นเพียง การเล่นของเล่น

 

รายชื่อทีมที่เข้าแข่งขันพัฒนาโปรแกรม สำหรับหุ่นยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 11 ทีม คือ

1ทีม เบ็ญจะมะมหาราช นักเรียนระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียน เบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี
2 ทีมปวช.บอย นักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน ระดับ ปวช. (คอมพิวเตอร์ ธุรกิจ) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดอุบลราชธานี
3 ทีมนารีนุกูล นักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนนารีนุกูล จังหวัดอุบลราชธานี
4 ทีม MISSION นักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนกีฬา จังหวัดอุบลราชธานี
5 ทีม Professional นักเรียนระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียน เบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธาน
6 ทีม White นักเรียนระดับมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนศรีประทุมวิทยากร
7 ทีม ปวช.เกิร์ล นักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน ระดับ ปวช. (คอมพิวเตอร์ ธุรกิจ) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดอุบลราชธานี
8 ทีม VICTORY นักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนศรีประทุมพิทยาคาร
9 ทีม Laserjet นักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนศรีประทุมวิทยากร
10 ทีม BMNet นักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช
11ทีมราชภัฏ นักศึกษาภาควิชาคอมพิวเตอร์ สถาบันราชภัฏ อุบลราชธานี

วันแรกของการแข่งขัน

1 รู้จักอุปกรณ์ Lego เพื่อสร้างความคุ้นเคย กับอุปกรณ์ แต่ละชิ้น ผู้เข้าแข่งขันจะได้รู้จักอุปกรณ์ โดยการนับอุปกรณ์ที่ได้รับว่ามีอุกรณ์ อะไรบ้าง จำนวนเท่าไร ซึ่งขั้นตอนนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะได้เริ่มสัมผัสกับ อุปกรณ์ แต่ละชิ้น ซึ่งบางคน ก็ ได้สัมผัสเป็นครั้งแรก
2 รับทราบกติกาการประกอบหุ่นยนต์วันแรก ที่เน้นการสร้างหุ่นยนต์ ที่สามารถเคลื่อนที่ได้


3 เรียนรู้ วิธีการต่ออุ
กรณ์แต่ละชิ้น โดยอุกรณ์แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ อุปกรณ์ในส่วนที่เป็นโครงสร้าง อุปกรณ์ส่วนที่เป็นการขับเคลื่อน เช่นระบบมอเตอร เฟืองต่างๆ และอุปกรณ์ส่วนที่เป็นส่วนประมวลผล เช่น RCX และ sensor ต่างๆ
4 ผู้เข้าแข่งขัน ต่อหุ่นยนต์ตามจินตนาการ โดยมีเงื่อนไข คือ ให้เคลื่อนที่ได้ เลี้ยวได้
5 เรียนรู้ วิธีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมการทำงานของ RCX แล้วทดลองใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ควบคุมหุ่นยนต์

 

 

 

 

 


ในแต่ละวันของการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขั้นจะได้รับความรู้ และพัฒนา หุ่นยนต์ ไปที่ละขั้น ดังนี้
1 การประกอบโครงสร้างหุ่นยนต์ ให้แข็งแรง
2 การประกอบระบบการขับเคลื่อน คือ มอเตอร์ และ ระบบเฟือง
3 ควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ ด้วย RCX
4 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์
5 สร้างหุ่นยนต์ให้เคลื่อนที่ และเลี้ยวได้

แข่งขันหุ่นยนต์ สนามที่ 1 ให้หุ่นยนต์ วิ่งไปอ้อมจุดที่กำหนด แล้วกลับมาที่เดิม

6 การใช้ light sensor และการเขียนโปรแกรมควบคุมให้หุ่นยนต์ เคลื่อนที่ไปตามเส้นที่กำหนด

แข่งขันสนามที่ 2 ให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปตามเส้นที่กำหนด

7 การใช้ Touch Sensor และการเขียนโปรแกรมควบคุมการใช้ touch sensor เพื่อให้หุ่นยนต์ถอยหลังหรือเลี้ยว เมื่อไปชน สิ่งกีดขวาง

แข่งขันสนามที่ 3 ให้หุ่นยนต์เคลื่อที่ผ่านเส้นทางที่เป็นเขาวงกต

แข่งขันสนามที่ สุดท้าย หุ่นยนต์เคลื่อนที่ผ่านอุปสรรคต่างๆ เข้าสูเส้นชัย คือ วิ่งตามเส้น ผ่านเขาวงกต ข้ามสะพาน ผ่านเนินลูกระนาด และเข้าสู่เส้นชัย

กลับหน้าแรก

Hosted by www.Geocities.ws

1