แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อำเภอบางซ้าย
ที่ สถานที่ / ที่ตั้ง สภาพ
1 คลองเจ้าเจ็ด-บางยี่หน
การคมนาคม ทางน้ำ
มีน้ำไหลตลอดปี สองฝั่งคลองเป็น
ทัศนียภาพชนบท มีบ้านเรือนแบบ
ชนบททรงไทยโบราณตั้งอยู่ทั้งสอง
ฝั่ง มีวัดสำคัญ 3 วัด การสัญจรทาง
น้ำยังเป็นปัจจัยสำคัญของชุมชน


อำเภอบางไทร

ที่ สถานที่ / ที่ตั้ง สภาพ
1 ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรในพระบรม-
ราชินูปถัมภ์
ม.4 ต.ช้างใหญ่ ห่างจากที่ว่าการ
อ.บางไทร ประมาณ 10 กิโลเมตร
อยู่ทิศเหนือของกรุงเทพฯ ห่าง
จากจังหวัดปทุมธานี 22 กม. ตาม
เส้นทางสายวัดเสด็จ บางปะอิน
 
2 ลานเท
ม.8 ต.บางไทร และ ม.3
ต.ไม้ตรา
เป็นตอนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา
ในฤดูน้ำหลาก ลำน้ำจะกว้างใหญ่
มาก ทำให้บรรยากาศและ
ทัศนียภาพสวยงามตามแบบชนบท
ไทย ๆ
3 วัดหลวงพ่อน้อย
ม.2 ต.บ้านแป้ง ห่างจากที่ว่าการ
อำเภอประมาณ 5 กิโลเมตร เดิน-
ทางได้ทั้งทางรถยนต์และทางเรือ
เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง
ของอำเภอบางไทร อยู่ริมฝั่งแม่น้ำ
น้อย
4 ค้างคาวแม่ไก่
วัดท่าซุงทักษิณาราม
ม.6 ต.ไม้ตรา อยู่ห่างจากที่ว่าการ
อำเภอประมาณ 8 กิโลเมตร
มีประมาณกว่าพันตัว
5 หลวงพ่อจง
ม.1 ต.หน้าไม้ ห่างจากที่ว่าการ
อำเภอประมาณ 13 กิโลเมตร
เดินทางโดยทางรถยนต์
เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง
ของอำเภอบางไทร


อำเภอบางปะหัน

ที่ สถานที่ / ที่ตั้ง สภาพ
1 อำเภอบางปะหัน
อยู่ทิศเหนือของจังหวัด เนื้อที่
ประมาณ 120 ตร.กม. ทิศเหนือ
ติด อ.มหาราช ทิศใต้ติด อ.
พระนครศรีอยุธยา ทิศตะวันออก
ติด อ.นครหลวง ทิศตะวันตกติด
อ.บางบาล และ อ.ป่าโมก
จ.อ่างทอง
เป็นที่นาราบลุ่ม มีแม่น้ำลพบุรีไหล
ผ่าน น้ำไหลตลอดปี สองฝั่งคลองมี
ทัศนียภาพชนบทมีบ้านเรือนชนบท
ทรงไทยโบราณตั้งอยู่สองฝั่ง การ
สัญจรทางน้ำยังเป็นปัจจัยสำคัญ
ของคนในชุมชน


อำเภอบางปะอิน

ที่ สถานที่ / ที่ตั้ง สภาพ
1 พระราชวังบางปะอิน
ม.4 ต.บ้านเลน
เดินทางได้โดยเส้นทาง กรุงเทพฯ
-บางปะอิน, อยุธยา-บางปะอิน
หรือเดินทางโดยรถไฟได้ตลอดวัน
มีผู้มาเที่ยวชมทั้งชาวไทยและชาว
ต่างชาติในแต่ละวันจำนวนมาก
เป็นสถานที่ร่มรื่นน่าศึกษา


อำเภอบ้านแพรก

ที่ สถานที่ / ที่ตั้ง สภาพ
1 โรงเรียนบ้านแพรกประชาสรรค์
เส้นทางถนนสายบางปะหัน-ลพบุรี
เป็นแหล่งการศึกษาประวัติศาสตร์
และวัฒนธรรมของลุ่มแม่น้ำลพบุรี
ช่วงอำเภอบ้านแพรกถึงอำเภอ
มหาราช บางปะหัน โดยเก็บรวบรวม
ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นไว้เพื่อ
ประโยชน์ทางการศึกษา มีชิ้นงาน
และโบราณวัตถุจำนวน 4,000 -
5,000 ชิ้น เช่น ตุ๊กตาโบราณ สมุด-
ข่อยโบราณ เครื่องปั้นดินเผา ฯลฯ


อำเภอผักไห่

ที่ สถานที่ / ที่ตั้ง สภาพ
1 วังมัจฉา
วัดตึกคชหิรัญศรัทธาราม

ต.อมฤต
เดินทางไปได้ทั้งทางบกและ
ทางน้ำ ทางบกใช้ถนนสาย
ผักไห่-ป่าโมก (ฝั่งตะวันออก)
เป็นแม่น้ำธรรมชาติ (แม่น้ำน้อย)
มีปลาขนาดใหญ่ เช่นปลาสวาย
ปราแรด ปลาตะเพียน มารวมอยู่
บริเวณวัดจำนวนมาก มีอาหารปลา
จำหน่าย
และมีเรือบริการท่องเที่ยวลำน้ำ
2 โฮมสเตย์ ต.หน้าโคก
เดินทางไปได้ทั้งทางบกและทาง
น้ำ ทางบกใช้ถนนลาดยางสาย
เสนา-ผักไห่-อ่างทอง
มีบ้านพักริมน้ำให้พัก
มีการจัดกิจกรรมล่องเรือชมสภาพ
ความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และ
การตีไก่-กัดปลา
3 ตลาดน้ำลาดชะโด ต.หนองน้ำใหญ่
อยู่ห่างจากตัวอำเภอเพียง 5 ก.ม.
เดินทางไปได้ทั้งทางถนนและ
ทางน้ำ
เป็นตลาดไม้เก่าแก่อยู่ชายน้ำ
ที่หาดูได้ยาก
4 ศาลเจ้าผักไห่ ม.4 ต.ผักไห่
ทางบก
มีถนนมาจาก อ.วิเศษชัยชาญ อ.
ป่าโมก จ.อ่างทอง และ อ.บางบาล
อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุญา
ทางน้ำ
มีแม่น้ำน้อยไหลผ่านไปถึง อ.เสนา
เป็นสถานที่สักการะเพื่อความเป็น
ศิริมงคลของคนไทยเชื้อสายจีนและ
บุคคลทั่วไป ได้ปรับปรุงและก่อสร้าง
ใหม่ มีความสวยงาม ใกล้อดีต-
ท่าเรือเมล์แดง 2 ชั้น ตลาดผักไห่
ขึ้นร่องระหว่างผักไห่-ตลาดท่าเตียน
กทม. ซึ่งเป็นเรือเมล์ลำสุดท้ายใน
ท้องน้ำอยุธยา
5 วังมัจฉา วัดดอนลาน ต.ดอนลาน
อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 10
กม. เดินทางได้ทั้งทางถนนและ
ทางเรือ
เป็นแม่น้ำธรรมชาติ(แม่น้ำน้อย) ที่มี
ปลามารวมกันบริเวณนี้จำนวนมาก
สภาพร่มรื่น เป็นระเบียบเรียบร้อย
สะอาด เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
6 วัดบ้านแค ต.บ้านแค
อยู่ในเส้นทางถนนสาย
ผักไห่-ป่าโมก (ฝั่งตะวันออก)
มีการพัฒนาภูมิทัศน์ในวัดตลอดเวลา
เป็นแหล่งรวมของชุมชน เป็นที่ปลูก
ป่าไม้ชุมชน มีบ่อปลาดุกยักษ์
พื้นพระอุโบสถโดยรอบเป็นหินอ่อน
7 วัดย่านอ่างทอง ต.บ้านใหญ่
เดินทางสะดวกทั้งทางบกและ
ทางน้ำ
ทางบกมีถนนลาดยางถึงวัด
เป็นวัดหลวงเก่าแก่ โบสถ์เก่าแก่
มีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม
และมีวัตถุมงคลล้ำค่า
8 บึงหนองบางทอง
ม.4 ต.ลาดน้ำเค็ม
ถนนสายป่าโมก-ผักไห่ (ฝั่ง
ตะวันออก) เลี้ยวที่ชลประทาน

เป็นบึงน้ำที่มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ มากมาย
ขึ้นรอบบึงร่มรื่น ในบึงปล่อยพันธุ์ปลา
ต่าง ๆ ไว้จำนวนมาก เหมาะแก่การ
พักผ่อน

9 ไร่นาสวนผสม บ.นาคูล่าง ต.นาคู
เดินทางไปได้เฉพาะทางรถยนต์
(มีรถประจำทางผ่าน)
เป็นสถานที่ทำการเกษตรแบบผสม-
ผสาน และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการ
เกษตรของชาวบ้าน รวมทั้งเป็นที่
ศึกษาดูงานด้านการเกษตรแบบ
ผสมผสาน
10 วัดโคกทอง
42 บ.กุฎี ต.กุฎี
การคมนาคมสะดวก มีถนน-
คอนกรีตถึงวัด

เป็นวัดที่มีชื่อเสียง มีวัตถุมงคลล้ำค่า
สะอาด เงียบสงบ มีความสวยงามมาก
เวลาน่าน้ำจะเหมือนวัดลอยน้ำ สร้าง
ขึ้นตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2370 เดิมตั้ง
อยู่ห่างแม่น้ำน้อย บนเนินสูงซึ่งเป็นที่
เลี้ยงวัวควายของชาวบ้าน เรียกว่า
"โคก" เมื่อสร้างวัดขึ้นมาเรียกว่า
"วัดโคกทอง" มีกุฏิสงฆ์เป็นอาคารไม้
ทรงไทยเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก 18
หลัง พระประธานในอุโบสถเป็นพระ-
พุทธชินราชจำลอง มีเจดีย์ที่สร้างมา
นานกว่า 100 ปี



อำเภอพระนครศรีอยุธยา

ที่ สถานที่ / ที่ตั้ง สภาพ
1 วัดพระศรีสรรเพชญ เป็นวัดสำคัญที่อยในู่พระราชวัง-
หลวงสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่นเดียว
กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามที่
กรุงเทพฯ ในสมัยสมเด็จพระรามา-
ธิบดีที่ 1 ใช้เป็นที่ประทับ ต่อมาใน
สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรง
สร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่ แล้ว
โปรดยกให้เป็นเขตพุทธาวาส จึง
เป็นวัดในเขตพระราชวังไม่มี
พระสงฆ์
2 วิหารพระมงคลบพิตร พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูป
สัมฤทธิ์องค์ใหญ่องค์หนึ่งใน
ประเทศไทย พระมงคลบพิตรนี้
แต่เดิมอยู่ทางทิศตะวันออกนอก-
พระราชวัง สมเด็จพระเจ้า-
ทรงธรรมโปรดให้ชะลอมาไว้ทาง
ด้านทิศตะวันตก และโปรดให้ก่อ
มณฑปสวมไว้ ครั้นถึงแผ่นดิน
สมเด็จพระเจ้าเสือยอดมณฑปเกิด
ไฟไหม้เพราะอสุนีบาต ทำให้
พระศอของพระมงคลบพิตรหักลง
จึงโปรดให้ก่อสร้างใหม่เป็นมหา-
วิหารแทน ต่อมาเมื่อเสียกรุงครั้งที่
2 วิหารพระมงคลบพิตรถูกไฟไหม้
อีก การปฏิสังขรณ์พระวิหารและ
องค์พระพุทธรูปใหม่ ฝีมือไม่งดงาม
อ่อนช้อยเหมือนของเก่า
3 พระที่นั่งพเนียด
ต.สวนพริก
เป็นที่ประทับทอดพระเนตรการ
คล้องช้าง ลักษณะเป็นคอกล้อมด้วย
ซุงทั้งต้น มีปีกกาแยกเป็นรั้วสอง-
ข้าง รอบคอกพเนียดเป็นกำแพงดิน
ประกอบอิฐสูงเสมอยอดจั่ว ด้านหลัง
คอกตรงข้ามแนวปีกกาเป็น
พลับพลาที่ประทับ บูรณะเมื่อ พ.ศ.
2500
4 วัดพระราม อยู่นอกเขตพระราชวังไปทางด้าน
ทิศตะวันออก สมเด็จพระราเมศวร
ทรงสร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิง
พระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง
พระราชบิดา วัดนี้มีบึงใหญ่อยู่หน้า
วัดเดิมเรียกว่าหนองโสน ต่อมา
เปลี่ยนชื่อเป็นบึงพระราม ปัจจุบัน
คือสวนสาธารณะบึงพระราม
5 วัดไชยวัฒนาราม
อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก
ซึ่งเป็นฝั่งตรงข้ามเกาะเมือง (ฝั่ง
เดียวกับวัดพุทไธสวรรค์) อยู่ใน
เขตพื้นที่ ศรช.บ้านป้อม
พระเจ้าปราสาททองโปรดให้สร้าง
ขึ้น ปัจจุบันเป็นวัดร้างแต่ยังมีพระ-
ปรางค์ใหญ่และเจดีย์รายตามมุมคง
เหลืออยู่ รูปทรงยังสมบูรณ์ดีเป็น
ส่วนมาก
6 วัดภูเขาทอง
อยู่ใกล้ทางหลวงหมายเลข 39
(เส้นทางไปจังหวัดอ่างทอง) ใน
เขตพื้นที่ ศรช.ภูเขาทอง
ตั้งอยู่ห่างจากพระราชวังหลวงไป
ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ประมาณ 2 กิโลเมตร สร้างใน พ.ศ.
1930 สมัยสมเด็จพระราเมศวร



อำเภอมหาราช

ที่ สถานที่ / ที่ตั้ง สภาพ
1 ตำบลเจ้าปุก
 
  - พระตำหนักเจ้าปลุก
  บ.กลาง ม.4 ต.เจ้าปลุก
ปัจจุบันเรียกว่า "วัดหน้าวัว" (ร้าง)
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นต้นรัชกาล
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พร้อม ๆ กับที่โปรดให้ปฏิสังขร
เมืองลพบุรีเป็นราชธานีสำรอง โดย
สร้างเป็นพระตำหนักประทับร้อน
กลางทางเวลาเสด็จพระราชดำเนิน
จากพระนครศรีอยุธยาไปเมือง-
ลพบุรี
  - ปลาเผาเจ้าปลุก
  สี่แยกถนนโพธิ์พระยา-ท่าเรือ
  ตัดกับถนนบางปะหัน-ลพบุรี
  เขต ต.เจ้าปลุก
เป็นร้านอาหารที่สำคัญบริเวณตำบล
เจ้าปลุก มี 4 ร้าน คือ แดงปลาเผา,
เจ้าปลุก 1, 2, 3 อาหารอร่อยขึ้นชื่อ
คือปลาช่อนเผา ราคาถูก
  - ปลาเค็มแดดเดียว
  แหล่งผลิตบริเวณหนองหม้อ
  อยู่สี่แยกเจ้าปลุกไปทางทิศ-
  ตะวันตก ตามถนนโพธิ์พระยา
  -ท่าเรือ ประมาณ 500 เมตร
มีปลาช่อน ปลาตะเพียน ปลาเนื้ออ่อน
ปลาสลิด รวมทั้งปลาย่างที่เรียกว่า
ปลากรอบ ปลาสวายย่าง ปลาช่อนย่าง
มีหัวน้ำปลาและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีก
มาก แวะซื้อหาเป็นของฝากได้
  - น้ำปลาชาวบ้าน
  แหล่งทำอยู่ที่บ้านหนองหม้อ
  บ้านขวาง บ้านเจ้าปลุก และที่
  โรงงานผลิตน้ำปลาตำบลหัวไผ่
ได้จากปลาตัวเล็ก ๆ เช่นปลาสร้อย
ปลากระดี่ นำมาหมักเกลือทำให้ได้
น้ำปลามีคุณภาพเพราะทำจากปลา
จริง ๆ ไม่มีส่วนผสมอื่นเจือปน
  - มะตูมเชื่อม
  แหล่งผลิตและจำหน่ายอยู่ที่
  บริเวณสี่แยกเจ้าปลุก
หอมหวานน่ารับประทาน
2 ผ้าฝ้ายทอ
โรงเรียนวัดน้ำเต้า
โครงการของสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนารถ ที่โรงเรียนวัด-
น้ำเต้าทำการทอผ้าส่งไปจำหน่ายใน
พระราชวังสวนจิตรลดา
3 เครื่องจักสาน
อยู่ริมถนนสายเอเชีย กรุงเทพฯ-
นครสวรรค์ อยู่ระหว่างตำบล-
บ้านขวางกับท่าตอ
เป็นของดีของฝากอีกอย่างหนึ่ง เช่น
ฝาชี ตะกร้า งอบ สุ่มไก่ และอื่น ๆ
ที่จอดรถสะดวก



อำเภอเสนา

ที่ สถานที่ / ที่ตั้ง สภาพ
1 เทศบาลตำบลเจ้าเจ็ด
เส้นทางถนนลาดยางห่างจาก
อำเภอเสนาประมาณ 5 กิโลเมตร
แหล่งน่าชม
- วัดเจ้าเจ็ดใน วัดเจ้าเจ็ดนอก วัด-
  กลางคลองวัฒนาราม บ้าน-
  ทรงไทย บ้านสมัย ร.5 พลับพลา-
  ใจสมาน
อาหาร
- ก๋วยเตี๋ยวป้าปุ๊ ป้าแป๊ะ
อาชีพ
- เกษตรกรรม เจียรไนพลอย เลี้ยง-
  ปลาคร้าฟ ผลิตปุ๋ย สานกระเป๋า
  ด้วยผักตบชวา
ประเพณีวัฒนธรรมวิถีชีวิตไทย
- แห่เรือพระพุทธเกษตรวัดเจ้าเจ็ด-
  ใน งานประเพณีทำบุญตักบาตร-
  ปีใหม่ งานประเพณีสงกรานต์
  งานประเพณีลอยกระทง
กำหนดการท่องเที่ยวเชิง-
อนุรักษ์บ้านทรงไทยสองฝั่ง
คลองเจ้าเจ็ด
-
ลงเรือที่ท่าเรือเทศบาลตำบล-
  เจ้าเจ็ด ชมบ้านโบราณไทย-
  สไตล์ยุโรปช่วงปลายรัชกาลที่ 5
  ต้นรัชกาลที่ 6 ชมการเจียรไน
  พลอยอุตสาหกรรมในครัวเรือน
  ของชุมชนบ้านแถว นมัสการ-
  หลวงพ่อพระพุทธเกษร พระพุทธ-
  รูปศักดิ์สิทธิ์ที่หล่อด้วยเกษร
  ดอกไม้ ณ วัดเจ้าเจ็ดใน ชม
  สะพานแขวนที่ชาวบ้านร่วมใจกัน
  สร้างอายุนับ 100 ปี ชมธรรมชาติ
  สองฝั่งคลองถึงคุ้งโพล้เพล้สถาน
  ที่สำคัญที่รัชการที่ 6 เคยเสด็จ
  ค้างแรม นมัสการหลวงพ่อโป-
  ชมเจดีย์เก่าวัดกลางคลองวัฒนา-
  รามซึ่งเป็นวัดที่ได้รับรางวัลชนะ
  การประกวดเมืองที่มีเอกลักษณ์
  และชมบ้านทรงไทยที่ได้รับ
  รางวัล ล่องเรือชมทิวทัศน์ถึง
   ประตูน้ำเจ้าเจ็ด
  



อำเภออุทัย

ที่ สถานที่ / ที่ตั้ง สภาพ
1 วัดสะแก
ม.7 ต.ธนู
นมัสการหลวงปู่ดู่ และชมอุทยาน-
ปลาธรรมชาติ
2 วัดโกโรโกโส
ม.6 ต.ข้าวเม่า
นมัสการหลวงพ่อแก้ว
3 วัดจำปา
ม.1 ต.อุทัย
นมัสการหลวงพ่อหิน
4 อนุสรณ์สถานพระเจ้าตากสิน
ม.2 ต.โพสาวหาญ
 
5 วัดโตนดเตี้ย
ต.อุทัย
ชมอุทยานปลาธรรมชาติ

วัดพระศรีสรรเพชญ์
อำเภอพระนครศรีอยุธยา




วัดพระศรีสรรเพชญ์สร้างอยู่บนพื้นที่ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวง
มาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ครั้นถึงแผ่นดิน
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. 1991 ทรงถวายที่นั้นเป็นพุทธาวาส
ลักษณะเด่นของวัดคือ พระเจดีย์ใหญ่ 3 องค์ ตั้งเป็นประธานของวัด ซึ่งเป็นที่
บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
และสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

ตลอดระยะเวลาของราชอาณาจักรอยุธยา วัดพระศรีสรรเพชญ์เป็นวัดใน
พระราชวังหลวงที่ใช้ประกอบพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีถือน้ำ-
พิพัฒน์สัตยา ฯลฯ เป็นที่ทรงศีลของพระมหากษัตริย์ และเป็นที่เก็บพระบรม-
อัฐิพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ วัดนี้ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา จะนิมนต์
พระสงฆ์เข้ามาเป็นครั้งคราว เมื่อมีการประกอบพระราชพิธี

วิหารพระมงคลบพิตร
อำเภอพระนครศรีอยุธยา



พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปอิฐบุทองสัมฤทธิ์ สีดำตลอดองค์เพราะ
เคลือบรักไว้ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระไชยราชา ราว พ.ศ.2081
สำหรับเป็นพระพุทธรูปประจำวัดซีเซียง ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาใน
สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทรงโปรดเกล้าฯให้ชะลอพระมงคลบพิตรมาไว้
ทางตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ และสร้างมณฑปครอบไว้
ครั้นแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ เกิดฟ้าผ่าเครื่องมณฑปพังลงมาต้องพระศอ
หัก ก็โปรดเกล้าฯให้รื้อซากมณฑปสร้างใหม่และซ่อมพระศอให้เหมือนเดิม
จนเมื่อ พ.ศ. 2310 เสียกรุงศรีอยุธยา วิหารพระมงคลบพิตรถูกไฟไหม้
ทรุดโทรม พระเมาฬีและพระกรขวาหัก

ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 พระยาโบราณราชธานินทร์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง
สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้ซ่อมองค์พระด้วยปูนปั้น และในปี พ.ศ.
2535 ได้มีการลงรักปิดทองพระมงคลบพิตรทั้งองค์ นับเป็นพระพุทธรูปปาง
มารวิชัยที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย

พระที่นั่งเพนียด
ตำบลสวนพริก อำเภอพระนครศรีอยุธยา

พระที่นั่งองค์นี้ เป็นที่สำหรับพระราชาธิบดีประทับทอดพระเนตรการจับ
ช้างเถื่อนในเพนียด ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ในราชการทั้งในเวลาปกติและใน
เวลาสงคราม

การจับช้างเถื่อนนี้ ถ้าหากว่ามีแขกเมืองเข้ามาในฤดูที่พอจะจับได้แล้ว
พระราชาธิบดีมักจะโปรดให้ทำพิธีจับช้างให้แขกเมืองชมทุกคราวไป ดังเช่น
ปรากฏในจดหมายเหตุของเชวาเลีย เดอโชมองต์ ราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาใน
แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ว่าสมเด็จพระนารายณ์โปรดให้ชมการ
จับช้างเถื่อนที่เพนียดเมืองลพบุรีครั้งหนึ่ง ในรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นรัชกาล
สุดท้ายที่พระราชาธิบดีแห่งประเทศไทยโปรดให้มีการจับช้างเถื่อน ก็ยัง
ปรากฏว่าได้ทรงโปรดให้จับช้างกลางแปลงที่เพนียดตำบลทะเลหญ้า ให้
พระเจ้าชาร์นิโคลาสที่ 2 ทอดพระเนตรครั้งหนึ่ง ให้กับแกรนดุ๊กบอริสวลาดิมิ
โรวิตซ์ แห่งรุสเซีย ทอดพระเนตรอีกครั้งหนึ่ง

เดิมตั้งแต่แรกสร้างกรุงศรีอยุธยาลงมาจนถึงแผ่นดินสมเด็จ
พระมหาจักรพรรดิ กำแพงพระนครด้านตะวันออกเฉียงเหนืออยู่พ้นวัด
เสนาสนารามเข้าไป เพนียดคล้องช้างอยู่ที่วัดซอง ซึ่งเป็นที่ว่าการอำเภอ
กรุงเก่าในปัจจุบันนี้ ต่อมา พ.ศ. 2123 พระมหาธรรมราชาได้ขยายกำแพง
พระนครด้านนี้ออกไปจนถึงริมแม่น้ำ เพนียดคล้องช้างอยู่ในกำแพงพระนคร
ไม่สะดวกแก่การจับช้าง จึงได้ย้ายไปอยู่ที่ตำบลทะเลหญ้า (ปัจจุบันเรียก
ตำบลสวนพริก) ซึ่งอยู่ข้างวัดบรมวงศ์ในปัจจับันนี้ แต่พระที่นั่งเพนียด
ของเดิมซึ่งสร้างครั้งแผ่นดินสมเด็จพระธรรมราชานั้นถูกพม่าเผาเมื่อเสีย
กรุงศรีอยุธยาครั้งหลัง ใน พ.ศ. 2310

พระที่นั่งเพนียด และตัวเพนียด ที่ยังคงเหลือซากอยู่ในปัจจุบันนี้
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้ซ่อมครั้งหนึ่ง ต่อมา
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้กรมหลวงเทพพลภักดิ์เป็น
แม่กองออกไปซ่อมอีกครั้งหนึ่ง ถึงรัชกาลที่ 5 พระที่นั่งนี้ชำรุดจึงโปรดให้
ซ่อมอีกครั้ง

วัดพระราม
อำเภอพระนครศรีอยุธยา

สมเด็จพระราเมศวร โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดพระรามขึ้นตรงบริเวณที่
ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ซึ่งเป็น
พระราชบิดา เมื่อ พ.ศ. 1912 ต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์วัดนี้ในสมัยสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถ และอีกครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่จึงเป็นฝีมือช่างสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

ในปัจจุบัน วัดพระรามอยู่ติดกับบึงพระรามซึ่งเดิมเรียกว่าหนองโสน ใกล้กับ
พระอนุสาวรีย์สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) และอยู่ทางทิศ
ตะวันออกของวิหารพระมงคลบพิตร ภายในวัดยังปรากฏซากวิหารใหญ่
องค์พระปรางค์ที่มีระเบียงโอบล้อม มีพระพุทธรูปศิลาปรักหักพังตั้งเรียงราย
โดยรอบ และมีพระอุโบสถอยู่ทางทิศเหนือ

วัดไชยวัฒนาราม
อำเภอพระนครศรีอยุธยา

สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างวัดไชยวัฒนารามขึ้นใน
ปี พ.ศ. 2173 เพื่ออุทิศถวายให้เป็นอนุสรณฺสถาน ณ บ้านเดิมของพระราช
มารดา และเพื่อเฉลิมพระเกียรติในการเสด็จขึ้นครองราชย์ ด้วยทรงมี
พระราชนิยมศิลปะแบบขอม วัดนี้จึงมีสถาปัตยกรรมรูปปรางค์ ประกอบด้วย
พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาติเป็นองค์ประธานสูงเด่นอยู่ท่ามกลางปรางค์ทิศ
และปรางค์รายทั้ง 8 ทิศ สันนิษฐานว่าแต่เดิมในคูหาปรางค์ประธานเป็นที่
ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุหรือสิ่งอันควรบูชาอื่น ๆ

พระอุโบสถอยู่ทางด้านตะวันออกของพระปรางค์ มีซากพระประธานเป็น
พระพุทธรูปปางมารวิชัยสร้างด้วยหินทราย และที่ฐานประทักษิณด้าน
ทิศเหนือ มีฐานรากของเจดีย์ 3 องค์ตั้งเรียงกัน สันนิษฐานว่าเป็นที่บรรจุพระ
อัฐิเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง รัตนกวีแห่งกรุงศรีอยุธยา) เจ้าฟ้าสังวาลย์
และเจ้าฟ้านิ่ม พระสนมเอกในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

วัดภูเขาทอง
ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา

สมเด็จพระราเมศวร ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดภูเขาทองเมื่อ พ.ศ. 1930
ณ ทุ่งฝั่งตะวันออกทางด้านเหนือ ห่างจากพระราชวังไปประมาณ 2 กิโลเมตร
ต่อมาใน พ.ศ. 2112 พระเจ้าหงสาวดีมีชัยชนะต่อกรุงศรีอยุธยา จึง
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ใหญ่ขึ้นที่วัดนี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ

ครั้นรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระอาราม
และพระเจดีย์ใหญ่ซึ่งหักพังลงมาก่อนหน้าแล้ว แต่ทรงให้เปลี่ยนรูปเจดีย์
ของเดิม เป็นแบบไทย คือตอนข้างบนถึงยอดทำเป็นรูปย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง

วังมัจฉาวัดตึกคชหิรัญศรัทธาราม
ตำบลอมฤต อำเภอผักไห่

(ภาพจาก www.thaitambon.com)



เป็นวังปลาซึ่งอยู่ในบริเวณที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว
เป็นจำนวนมากในวันหยุด เนื่องจากมีปลาหลายชนิดจำนวนมาก
เป็นบริเวณที่ปลาชะโดว่ายน้ำชนเรือที่ผ่านไปผ่านมา
โดยในแต่ละปีจะมีนักท่องมาเยี่ยมชมกว่า 20,000 คน


กลับหน้าหลัก
ศนจ.อย.