มีดอรัญญิก ถูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอนครหลวง

 

ประวัติความเป็นมา

         นับเวลาย้อนถอยไปเมื่อหลายร้อยปีก่อน อาชีพตีมีดของชาวบ้านต้นโพธิ์ -
ไผ่หนอง ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รู้จักกันในนามมีด
“อรัญญิก” ไม่สามารถระบุได้ชัดว่าคนบ้านต้นโพธิ์ - ไผ่หนอง เริ่มตีมีดเพื่อการสงคราม
หรือว่าเพื่อการค้าขายกันแน่
         มีประวัติพอสังเขปว่าชาวบ้านดั้งเดิมของบ้านต้นโพธิ์ - ไผ่หนอง นั้นเป็นคน
เวียงจันทร์ที่อพยพมาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 2 เนื่องจากในขณะนั้น เวียงจันทร์เกิด
ทุกข์เข็ญ ข้าวยากหมากแพง มีโจรผู้ร้ายชุกชุม “นายเทา” หรือ “ขุนนราบริรักษ์” (ได้
รับแต่งตั้งบรรดาศักดิ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ) จึงเป็นผู้นำครอบครัวย้ายถิ่นฐานมา โดยนำ
วิชาช่างสิบหมู่ คือ ช่างทอง ช่างตีมีด ติดตัวกันมาด้วย เพื่อที่จะนำมาประกอบอาชีพ
ทำทองรูปพรรณ เช่น ทำสร้อยข้อมือ แหวน ฯลฯ ตามแต่จะมีคนว่าจ้างมา ซึ่งต่อมา
เศรษฐกิจของคนทั่วไปไม่สู้ดีนัก การสั่งทำเครื่องทองรูปพรรณน้อยลง “นายเทา และ
ครอบครัว” จึงหันมาตีมีดเป็นอาชีพหลักมากขึ้น เรื่อยมาถึงทุกวันนี้ (ต้นตระกูลของ
นายเทาคือสกุล กล่อมเกลี้ยง)

 

วัสดุอุปกรณ์และแรงงานที่ใช้

         1. เตาเผา  (เตาเผาที่ใช้มีลักษณะฝังลงในดิน มีตะแกรงใส่ถ่าน)
         2. สูบลม เพื่อใช้เป่าไฟ
         3. ค้อน  ใช้เพื่อสำหรับตีมีด มีอยู่ 3 อัน
         4. คนจับเหล็ก  นายเตาคนนี้มีความสำคัญมาก เพราะหน้าที่นี้ต้องอยู่ใกล้
กับไฟ
         5. คนตี ประกอบด้วยคน 3 คน
         6.เหล็กเส้น

 

ขั้นตอนการตีมีด

         1. คัดเลือกเหล็กเส้นขนาดตามความเหมาะสม และตัดตามขนาดที่ต้องการ

 

         2. นำเหล็กเส้นที่ตัดเรียบร้อยแล้ว เผาไฟให้ได้ที่

 


         3. นำเหล็กที่เผาไฟได้ที่แล้วมาตีขึ้นรูป หลังจากขึ้นรูปเสร็จแล้วนำกลับไป
เผาไฟซ้ำอีก และนำมาตีเพื่อตบแต่งอีกครั้ง

 


         4. ตกแต่งให้มีความคม

 


         5. เผาไฟเพื่อชุบแข็งอีกครั้งหนึ่ง

 


         6. นำไปเข้าด้าม เป็นขั้นตอนสุดท้าย

 

 

ปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไข

         1. ปัญหาเหล็กเส้นขาดตลาด
         2. ปัญหาเหล็กเส้นขึ้นราคา
         3. ไม้ที่จะนำมาทำด้ามมีดขาดตลาด

         แนวทางแก้ไขปัญหาใหญ่ๆ ทั้ง 3 ประการนี้คือ หยุดการตีมีดไว้ชั่วคราว
รอจนกระทั่งวัสดุที่จะนำมาใช้มีราคาที่เหมาะสม

 

การจัดการด้านการตลาด

         มีการเปิดเป็นร้านค้าขายปลีกทั่วไป และรับทำตามสั่ง

 

รายชื่อผู้เรียบเรียง

         1. นายประจักษ์ ไกรอนันต์ (ผู้ค้นคว้าข้อมูลและภาพ)
         2. นายวุฒิพงษ์ จีรวุฒิ (ผู้เรียบเรียง)
         3. นายพิชญานิน สรรเสริญ (ผู้จัดพิมพ์)

         ที่อยู่ ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอนครหลวง หมู่ 5 ตำบลนครหลวง
อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13260 โทร 0-3535-9667


กลับหน้าหัวข้อ อาชีพเด่นของแต่ละอำเภอในอยุธยา
Hosted by www.Geocities.ws