การสานลายผ้าด้วยไส้ไก่

(การผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการตัดเย็บเสื้อผ้า)

 

ประวัติการก่อตั้งกลุ่ม
( บ้านเลขที่ 81/1 หมู่ 1 ต.ปลายกลัด อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา )

         จากประสบการณ์การทำงานของกลุ่มเริ่มเป็นที่รู้จักในส่วนราชการต่าง ๆ
นางสาวฉันทนา มงคลไวย์ จึงเกิดความคิดว่าน่าจะพัฒนางานของกลุ่มให้เป็นที่
ยอมรับและสร้างงานหารายได้เสริมให้กับผู้ว่างงานและเยาวชนในตำบลปลายกลัด
จึงนำความคิดนี้ปรึกษาหารือกับกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าของนางสานิตย์ โพธิ์พิทักษ์ ซึ่งมีสมาชิกกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยจักรอุตสาหกรรมอยู่ที่บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 12
ต.ปลายกลัด ให้นำกิจกรรมของกลุ่มมารวมกัน เพื่อขอรับการสนับสนุนโครงการ
ส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมสู่ชนบท (สอช.) มาพัฒนาและเสริมสร้างงานให้กว้างขวาง
และเข้มแข็งขึ้น โดยประสานให้ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบางซ้าย
รับรองความเข้มแข็งของกลุ่มไปยังอุตสาหกรรมจังหวัด ขอรับการสนับสนุนโครงการ
ส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมสู่ชนบท (สอช.) ซึ่งก็ได้รับความเห็นชอบจากอุตสาหกรรม
ภาค 8 (ภาคกลาง) จังหวัดสุพรรณบุรี ให้นำโครงการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมสู่
ชนบทมาดำเนินการ ทั้งนี้การปฏิบัติงานเป็นไปตามรูปแบบข้อตกลงที่สำนักงาน
อุตสาหกรรมภาค 8 กำหนดไว้ คือจ่ายค่าแรงเป็นลักษณะเหมาจ่าย ใครทำมากก็
ได้มาก
         จากการทำงานของกลุ่มเป็นที่ยอมรับและสร้างรายได้ให้กับผู้ว่างงาน
เป็นอย่างดีตลอดมา ทั้งนี้เห็นได้จากอุตสาหกรรมภาค 8 ได้ประสานให้กลุ่มได้ม
ีความรู้ในด้านการจัดการและการบริหารกลุ่ม จัดให้มีการอบรม ทำความเข้าใจแก
่กลุ่มสมาชิกเรื่อยมา แต่การปฏิบัติงานของกลุ่มก็ยังขาดแคลนครุภัณฑ์รวมทั้ง
อาคารรองรับการทำงานของกลุ่มสมาชิก คณะกรรมการกลุ่มจึงหารือกันเพื่อ
สร้างความเข้มแข็งให้เกิดความมั่นคงต่อไปในอนาคตตามนโยบายการสร้างงาน
ในชนบทของรัฐบาล และได้นำเสนอและขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก
องค์การบริหารส่วนตำบลปลายกลัด เพื่อจัดสร้างอาคารรองรับสมาชิกกลุ่มที่จะมี
เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากภาวะผู้ถูกเลิกจ้าง-ผู้ว่างงาน ฯลฯ กลุ่มผู้ถูกเลิกจ้าง-ผู้ว่างงาน
จะได้ไม่ต้องเดินทางไปประกอบอาชีพในท้องถิ่นอื่น ๆ

 

วัตถุประสงค์การก่อตั้งกลุ่มอาชีพหัตถกรรมสืบสานภูมิปัญญาไทย

         1. เพื่อสร้างงานในท้องถิ่น ลดปัญหาการว่างงาน การถูกเลิกจ้าง อันมีผล
มาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เพื่อไม่ให้ประชาชนอพยพสู่ชุมชนเมืองหรือเข้าสู่ระบบ
โรงงาน เน้นให้ประชาชนในท้องถิ่นสามารถประกอบอาชีพเพื่อให้มีรายได้สามารถ
พึ่งพาตนเอง
         2. เพื่อสร้างความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน เน้นกระบวนการรวมกลุ่ม
สร้างองค์กรโดยใช้หลักประชาธิปไตย ให้สมาชิกกลุ่มเกิดการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันใน
สังคม
         3. เพื่อแก้ปัญหาเยาวชนในด้านต่าง ๆ เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหา
อาชญากรรม ฯลฯ ทำให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ไม่มั่วสุมยุ่งเกี่ยว
กับยาเสพติดอันนำไปสู่ปัญหาสังคมในด้านต่าง ๆ นอกจากนั้นแล้วกลุ่มตัดเย็บ
เสื้อผ้ายังดำรงค์รักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญาไทย โดยเล็งเห็นถึงคุณค่าทางศิลปะของ
ผู้สูงอายุในชุมชน ไม่ละเลยหรือทอดทิ้งศิลปหัตถกรรมผู้ทรงภูมิปัญญา แต่พยายาม
สืบสานภูมิปัญญาเหล่านี้ให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของกลุ่มอยู่เสมอ

 

วัสดุอุปกรณ์ในการสานลายด้วยใส้ไก่

         1. ด้าย
         2. จักร
         3. ผ้าตาข่าย
         4. หลอดกาแฟ
         5. ไม้เสียบลูกชิ้น
         6. ผ้าทำลายไส้ไก่

 

วิธีทำลายไทย ใหญ่

         ใช้ผ้าตามแนวนอน หนึ่งดอกใช้ไส้ไก่ 7 เส้น
         เส้นที่ 1 ยก 1 ข่ม 1
         เส้นที่ 2 ยก 1 ข่ม 2 ยก 1 ข่ม 2
         เส้นที่ 3 ยก 1 ข่ม 1 ยก 1 ข่ม 1
         เส้นที่ 4 ยก 1 ข่ม 1 ยก 1 ข่ม 1
         เส้นที่ 5 ข่ม 1 ยก 1
         เส้นที่ 6 ยก 1 ข่ม 2 ยก 1 ข่ม 2
         เส้นที่ 7 ยก 1 ข่ม 1

 

วิธีทำลายไทย เล็ก

         ใช้ผ้าตามแนวนอน หนึ่งดอกใช้ไส้ไก่ 7 เส้น
         เส้นที่ 1 ขัด 1 เว้น 1
         เส้นที่ 2 ขัด 1 ข่ม 1 ยก 1
         เส้นที่ 3 ยก 1 ข่ม 1 ยก 2
         เส้นที่ 4 ขัด 1 ยก 1 ข่ม 3
         เส้นที่ 5 ยก 1 ข่ม 1 ยก 2
         เส้นที่ 6 ขัด 1 ข่ม 1 ยก 1
         เส้นที่ 7 ขัด 1 เว้น 3
         ต่อจากนั้น ทำทแยงด้านซ้าย ขวา ยกดอกกึ่งกลาง

 

วิธีทำลายขั้นบันได

         ใช้ผ้าตามแนวนอน กว้างยาวตามความเหมาะสม
         เส้นที่ 1 ยก 1 ข่ม 2
         เส้นที่ 2 ยก 1 ข่ม 1
         เส้นที่ 3 ยก 1 ข่ม 2
         เส้นที่ 4 ยก 1 ข่ม 1
         เส้นต่อไปทำเหมือนเดิม ความยาวตามความต้องการ

 

วิธีทำลายเฉลวไม่ยกดอก

         ลายนี้จะมีด้วยกัน 9 เส้น ในการทำ 1 ดอก
         เส้นที่ 1 ยก 2 ข่ม 1
         เส้นที่ 2 ยก 1 ข่ม 2
         เส้นที่ 3-9 ทำเหมือนกัน
         ต่อจากนั้น ทำทแยงด้านซ้าย ขวา ยกดอกกึ่งกลาง

 

ผลการดำเนินงานของกลุ่ม

         จากการดำเนินงานของกลุ่มที่ผ่านมา นับว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง
โดยที่ผ่านมานั้นกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าตำบลปลายกลัดมีความเข้มแข็งมากขึ้น ซึ่งประเมิน
ได้จากสมาชิกกลุ่มที่มีจำนวนมากขึ้นและได้รับความไว้วางใจจากบริษัทแฟนซีอาร์ท
และบริษัทจินตนามาร์เก็ตติ้ง นำงานมาให้สมาชิกกลุ่มเป็นผู้เย็บ ทำให้สมาชิกกลุ่ม
มีรายได้เลี้ยงตนเอง
         นอกจากงานในรูปแบบบริษัทที่ทางกลุ่มเป็นผู้ประสานมาให้แก่สมาชิกทำแล้ว ทางกลุ่มยังได้เล็งเห็นถึงการพึ่งพาตนเองของกลุ่มในอนาคต โดยมีเป้าหมายที่จะสร้าง
ความเข้มแข็งให้กลุ่ม สร้างงานจากความคิดของสมาชิกในกลุ่ม ผลิตโดยสมาชิกใน
กลุ่ม และหาตลาดจากการประสานงานของสมาชิกในกลุ่ม โดยมีเป้าหมายเพื่อเข้าสู่
รูปแบบของหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในที่สุด
         กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าตำบลปลายกลัด ได้มีโอกาสนำผลงานของกลุ่มไปจัด
แสดงในวันการศึกษานอกโรงเรียนที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับความสนใจและชื่นชมต่อผู้
พบเห็น เพราะมีความแปลกใหม่ ไม่มีที่ใดเหมือน ทั้งยังถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของการ
ผสมผสานงานหัตถกรรม ของภูมิปัญญาท้องถิ่น ในรูปแบบของศิลปประยุกต์ อีกทั้ง
กิจกรรมที่เกิดขึ้นยังทำให้เยาวชน และผู้สูงอายุเกิดความรักซึ่งกันและกันและหวงแหน
ความเป็นไทยไว้

 

ตัวอย่างกิจกรรมกลุ่ม


สอนเยาวชนให้รู้จักลายสาน
สืบสานภูมิปัญญาไทย


การปฏิบัติงานของกลุ่มได้รับการพัฒนาฝีมือมาโดยตลอด ทำให้เกิดผลงานจาก
ความคิดสร้างสรรค์ ผสมผสานระหว่างงานหัตถกรรมประยุกต์ของภูมิปัญญาที่มีอยู่
ในท้องถิ่น คิดประดิษฐ์ลายสานด้วยไส้ไก่ นำเสนอต่อบริษัทวิจิตรามาเก็ตติ้ง ซึ่งเป็น
บริษัทตัดเย็บเสื้อผ้าเพื่อการส่งออกรับไปพิจารณา ก็ได้รับการเห็นชอบนำลวดลายสาน
ที่เกิดขึ้นไปตกแต่งลงบนเสื้อ โดยกลุ่มเป็นผู้รับช่วงการผลิตต่อ

 

ตัวอย่างผลผลิต

     

ผู้เรียบเรียง

         นายเสถียร สายทัศน์ ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบางซ้าย
จ.พระนครศรีอยุธยา 035-282168



 

กลับหน้าหัวข้อ อาชีพเด่นของแต่ละอำเภอในอยุธยา

Hosted by www.Geocities.ws