ภาคอีสาน

coolbar.gif (4491 bytes)

pot.jpg (6203 bytes)

    อีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งการปกครองออกเป็น19 จังหวัด มีพื้นที่และประชากรคิดเป็นอัตราส่วนถึง 1 ใน 3 ของประเทศ มีลักษณะภูมิประเทศแปลกไปจากภูมิภาคอื่นๆเพราะส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง เรียกว่า "ที่ราบสูงโคราช"   มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ยระหว่าง120-180เมตร ซึ่งเป็นผลมาจากการยกตัวและยุบตัวของเปลือกโลกเมื่อราว 150-230 ล้านปีมาแล้ว โดยยกตัวขึ้นมาทางทิศตะวันตกและลาดเอียงไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้แม่น้ำสายสำคัญของภาคนี้ไหลจากทางตะวันตกไปทางตะวันออกแล้วไหลไปรวมกันกับแม่น้ำโขง

    อีสานเป็นดินแดนที่แยกจากภาคกลางและภาคเหนืออย่างเห็นได้ชัดตามลักษณะของภูมิประเทศ โดยมีภูเขาที่ยกขึ้น เป็นขอบของที่ราบสูง เช่นเทือกเขาเพชรบูรณ์ และเทือกเขาดงพญาเย็นทางด้านตะวันตกแบ่งเขตออกจากภาคเหนือและภาคกลาง เทือกเขาพนมดงรักทางภาคใต้และบางส่วนของด้านตะวันออกแบ่งเขตจากภาคกลางและทีราบต่ำของกัมพูชา

    ลักษณะดังกล่าว หากมองจากที่สูงมากๆ จะเห็นว่าอีสานคล้ายกับกระทะใบใหญ่ ที่มีขอบเป็นสันสูงจนเกือบโดยรอบ ยกเว้นทางด้านทิศตะวันออก และมีเทือกเขาภูพานผุดขึ้นมากลางแอ่งกระทะ วางทอดตัวยาวในแนว ตะวันออกเฉียงใต้-ตะวันตกเฉียงเหนือ   แบ่งอีสานออกเป็น2ส่วน เรียกว่า "แอ่งสกลนคร" ทางตอนเหนือ และ "แอ่งโคราช" ทางตอนใต้

    เนื่องจากโครงสร้างหลักของอีสานประกอบด้วยหินทรายที่มีชั้นเกลือของตะกอนทะเลน้ำเค็ม แทรกอยู่ ดินของภาคอีสานส่วนใหญ่จึงเป็นดินทรายและดินร่วนปนทราย ที่มักจะมีเกลือปนอยู่ด้วยทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเพาะปลูก แม้ว่าอีสานมีความสมบูรณ์ที่ได้จากแม่น้ำสำคัญ2สาย คือแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี ซึ่งมีแม่น้ำสาขาอีกมากมาย รวมถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงก็ตาม แต่เมื่อ้ทียบกับปริมาณพื้นที่ทั้งหมดของภูมิภาคซึ่งกันดารกว่าา จึงเป็นที่มาของภาพพจน์ว่า "อีสานแห้งแล้ง"

    เป็นที่หน้าแปลกว่าบนผืนดินที่เลื่องลือถึงแต่ความแห้งแล้งแต่กลับมีมรดกทางวัฒนธรรมมากมาย งานศิลปะต่างๆ ล้วนเป็นผลจากศรัทธาที่สะท้อนสภาพสังคมในอดีตที่สั่งสมมาช้านานในแต่ละสมัย และมีการสืบทอดต่อกันไป นั่นจึงเป็นเสน่ห์ของ ภาคอีสาน

coolbar.gif (4491 bytes)

 

home2.gif (20220 bytes)

Hosted by www.Geocities.ws

1