Health Tips

by ~nawo~ [Feb 3, 2003]

 

รวบรวมข้อมูลต่างๆเพื่อสุขภาพค่ะ เรื่องน่ารู้ ที่ทุกคนควรต้องรู้ ลองอ่านดูค่ะ

หัวข้อที่เอามาให้อ่านกันนี้ เป็นข้อมูลที่นาวคิดว่าความน่าเชื่อถือ บางส่วนมาจากการหาข้อมูลหลายๆแห่ง บางส่วนมาจากประสบการณ์ทั้งจากตนเองและคนที่รู้จัก และสุดท้ายก็มาจากความรู้ที่เรียนมาค่ะ

MENU
Sunscreen Tips (คลิก เพื่อไปดูที่หน้า Sun Safety Info ค่ะ)
1. น้ำต้ม, น้ำกลั่น, น้ำกรอง, น้ำ RO และน้ำ DI ต่างกันอย่างไร แบบไหนควรดื่ม ไม่ควรดื่ม [Feb 3, 2003]
2. วิธีการตรวจสอบมะเร็งผิวหนังด้วยตนเอง [Feb 3, 2003]
3. I.U. ในวิตามิน คืออะไร  [Feb 6, 2003]
 4. วัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร  [Feb 6, 2003]

 

 

1. น้ำต้ม, น้ำกลั่น, น้ำกรอง, น้ำ RO และน้ำ DI ต่างกันอย่างไร แบบไหนควรดื่ม ไม่ควรดื่ม
น้ำต้ม คือการนำน้ำประปาไปต้มจนน้ำเดือด ซึ่งคือที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ดังนั้น เชื้อโรคที่ทนความร้อนได้น้อยกว่า 100 องศาเซลเซียส ก็จะตายไป

น้ำกลั่น คือการนำน้ำไปต้ม จนระเหยกลายเป็นไอ แล้วปล่อยให้น้ำควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง หลักการก็คือสิ่งที่ไม่ระเหยกลายเป็นไอ ก็จะเหลือทิ้งอยู่ ไม่ได้ไปรวมกับน้ำที่ควบแน่นกลับลงมา ดังนั้น น้ำนี้จะสูญเสียแร่ธาตุต่างๆที่มีอยู่ไป แต่สำหรับเชื้อโรค ก็จะเหมือนกันน้ำต้ม เพราะกระบวนการเกิดที่ 100 องศาเซลเซียสเหมือนกัน

น้ำกรอง จะมี 2 ลักษณะ คือ กรองด้วยคาร์บอน กับ กรองด้วย UV 

การกรองด้วยคาร์บอน คาร์บอกจะช่วยดูดซับกลิ่นและรสชาติที่ไม่พึงประสงค์ รวมทั้งคลอรีน ออกไป คาร์บอนที่ใช้ มี 2 แบบ คือ Solid Block Carbon กับ Granular Activated Carbon ซึ่งแต่ละแบบ จะมีข้อดีและเสีย ต่างกันไป

การกรองด้วย UV เป็นการใช้รังสียูวี เพื่อฆ่าจุลชีพ หรือเชื้อโรคต่างๆที่อยู่ในน้ำ โดยการไปตัดวงจรการแพร่พันธุ์ของจุลชีพเหล่านั้น 

น้ำ RO (Reverse Osmosis)  คือ การกรองโดยใช้ membrane ภายใต้ความดันค่ะ ซึ่งเมมเบรนนี้จะรูเล็กมากๆพอแค่ให้โมเลกุลของน้ำผ่านไปได้เพียงอย่างเดียว แต่สิ่งเจือปนจะผ่านไม่ได้ รวมถึงแร่ธาตุต่างๆก็จะถูกกำจัดออกไปด้วย เป็นระบบการทำความสะอาดน้ำดื่มตามบ้านที่ปัจจุบันใช้กันโดยทั่วไป

ส่วนตัวนาวว่าน้ำ RO ดื่มได้ไม่อันตรายค่ะ สะอาดด้วย แต่ก็จะไม่ได้รับแร่ธาตุที่มีประโยชน์ที่อยู่ในน้ำ

น้ำ DI ( De-ionization) เป็นการแยกประจุของสิ่งเจือปนออกจากโมเลกลของุน้ำ (recharge) โดยใช้คอลัมน์ที่มี ion exchange media บรรจุอยู่ เพื่อทำให้น้ำบริสุทธิ์ น้ำที่ได้จะบริสุทธิ์มากๆๆ (ultra pure water) 

จากการที่น้ำ DI บริสุทธิ์มากๆนี้ ประกอบกับกระบวนการที่ทำให้มันสะอาด ซึ่งต้องนำน้ำเข้าไปผ่านในตัวกลางซึ่งเป็น Sodium Hydroxide ซึ่งเป็นด่าง  ทำให้มีการถกเถียงอย่างมาก ว่าน้ำนี้สมควรนำมาใช้ดื่มหรือไม่ เนื่องจากน้ำ DI มีความบริสุทธิ์มาก มันจึงอาจจะกลายสภาพเป็นตัวทำละลายชั้นเยี่ยม เมื่อเราดื่มเข้าไปก็จะส่งผลให้แร่ธาตุที่อยู่ในร่างกายเข้าไปละลายอยู่ในน้ำนี้แทน ร่างกายเราก็จะเสียแร่ธาตุ และเกิดภาวะ  osmotic shock ได้

ความเห็นส่วนตัวคือ น้ำ DI เหมาะที่จะเอาไปใช้ในทางวิทยาศาสตร์ ทางวิศวกรรม หรือ การแพทย์ที่ต้องการความบริสุทธิ์สูง มากกว่านำมาดื่มค่ะ

[back to MENU]

References: http://www.eng-tips.com/gviewthread.cfm/lev2/7/lev3/37/pid/798/qid/29596

http://www.rinsepure.com/DI%20Water%20Explanation.html

http://www.finishing.com/156/65.html

http://www.rdmag.com/basics/0108basl.asp

http://diwaterinc.com/dibasics.htm

http://www.care2.com/channels/solutions/consumer_guides/77

 

 

 

2. วิธีการตรวจสอบมะเร็งผิวหนังด้วยตนเอง

A STEP-BY-STEP GUIDE TO SKIN SELF-EXAM

อย่านึกว่าคนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง มีแค่คนผมบลอนด์ ผิวขาม ตาสีฟ้าเท่านั้น เพราะที่จริงแล้วทุกคนมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนังได้ทั้งนั้น 

ต่อไปนี้คือวิธีการตรวจสอบผิวหนังด้วยตนเอง ให้ทำเดือนละครั้ง คุณจะสามารถเห็นความผิดปกติของการเกิดเนื้อร้ายได้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งยังมีโอกาสรักษาให้หายได้สูง

 

ต้องเตรียมอะไร
1.  แสงสว่าง
2.  กระจกแบบเต็มตัว
3. กระจกขนาดมือถือ
4. เก้าอี้
5. ไดร์เป่าผม

 

ดูอะไร  
ถ้าคุณทำตามขั้นตอนนี้แล้วสังเกคพบสิ่งผิดปกติ ให้ไปพบแพทย์ทันที 
- ความผิดปกติใดๆ ที่เกิดจากการผิวหนังเกิดการขยายตัว รวมถึง การเจ็บปวด เป็นรอย เป็นตุ่ม เป็นมันวาว มีสี หรือมีความน่าสงสัยอันเป็นสาเหตุของความเจ็บปวด หรือ ไม่ก็ตาม 
- สีของจุดด่างดำ ขี้แมลงวัน เปลี่ยนไป มีอาการคัน ขนาดใหญ่ขึ้น เลือดออก เจ็บที่บริเวณไฝ หรือ มันนิ่มลง 
- ให้ดูลักษณะของไฝซึ่งจะเป็นอันตรายได้ ตาม checklist "ABCD" ด้านล่าง 
1. Asymmetry 
ความไม่สมมาตร รูปร่างด้านนึง ไม่สมดุลกับอีกด้านนึง 
2. Border 
ขอบ หมายถึงไม่กลม เนื้อบริเวณขอบเปื่อย  เป็นร่อง หรือ ขอบไม่ชัดเจน 
3. Color 
สี ไฝควรมีสีน้ำตาลสีเดียว ไม่ใช่หลากหลายสี เช่น น้ำตามเข้ม น้ำตาล ดำ แดง น้ำเงิน  น้ำเงิน-ดำ หรือขาว 
4. Diameter 
เส้นผ่าศูนย์กลาง ไฝควรมีขนาดไม่ใหญ่กว่ายางลบที่ปลายดินสอ หรือเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1/4 นิ้ว 
- ข้อสุดท้ายก็คือ "E" (elevation or enlargement) ไฝมีขนาดขยายใหญ่ขึ้น

 

ตรวจตรงไหนบ้าง 

ตรวจจากหัวจรดเท้า A HEAD-TO-TOE EXAM

- ยืนในที่สว่าง และพิจารณาร่างกายอย่างถ้วนถี่ 
1. อันดับแรก พิจารณาที่ใบหน้า หู ศีรษะ และในช่องปาก โดยใช้กระจกขนาดเล็ก ใช้ไดร์เป่าผมช่วยเป่าผมที่บริเวณศีรษะ เพื่อจะได้ดูหนังศีรษะได้อย่างชัดเจน
2. ต่อมา ดูที่มือ (รวมทั้งเล็บมือ และฝ่ามือ) ข้อศอก แขน รักแร้ ให้ยกแขนขึ้น แล้วดูทั้งแขนซ้าย แขนขวา 
3. ตรวจดูคอ คาง และลำตัว ของคุณ ถ้าเป็นผู้หญิงให้ตรวจดูหน้าอกขณะหายใจ
4. ใช้กระจกขนาดเล็ก ดูที่บริเวณหลัง ไหล่ และหลังลำคอ ใช้กระจกแบบเต็มตัว ดูที่บริเวณก้น และขาด้านหลัง
5. นั่งลง เพื่อดูอวัยวะเพศ และตรวจดูขาและเท้า รวมถึงส้นเท้า ฝ่าเท้า นิ้วเท้า และง่ามเท้าอย่างละเอียด 


[back to MENU]

References: http://www.vsd.cape.com/~falcoawm/va-skincare.htm

 

 

3. I.U. ในวิตามิน คืออะไร

I.U. ย่อมาจากคำว่า International Units เป็นหน่วยของ biological material เช่น enzymes, hormones, vitamins, etc.
หน่วยที่ว่านี้ ได้มาจากการวัด biological activities ดังนั้น จึงมักจะเห็นการใช้หน่วย I.U. นี้กับสารอาหาร

ตัวอย่างข้างล่างแสดงวิตามินในหน่วย milligrams (mg) or micrograms (µg) ที่ equivalent กับ 1 international unit.

Vitamin A 1 IU     all-trans retinol 0.300 micrograms (µg)
Vitamin D 1 IU     Vitamin D crystalline 0.025 micrograms (µg)
Vitamin E 1 IU     dl-alphatocopherol acetate(s.) 1 milligramm (mg)

 
[back to MENU]

References: http://newton.dep.anl.gov/askasci/chem99/chem99136.htm 

http://www.vhihealthe.com/experts/diet/diet_q065.html

 

 

 

4. วัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร

ข้อความด้านล่าง copy มาจากเวบไซต์ของ อ.ย. คิดว่าน่าสนใจดีค่ะ หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พิษภัยอันเกิดจากวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร กรุณาคลิกที่ reference ด้านล่างค่ะ

ชนิดของวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร
           วัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร ปัจจุบันมีอยู่ 12 ชนิด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ.2536) อาจมีบางท่านคิดอยู่ในใจว่า ถ้านอกเหนือจาก 12 ชนิด ที่ประกาศแล้ว หมายความว่าใช้ผสมอาหารได้อย่างนั้นหรือ ขอตอบว่า มิใช่เช่นนั้น วัตถุบางอย่างเอามาผสมอาหารแล้ว ก็ไม่ได้ช่วยให้อาหาร ดูดีขึ้น กลับทำให้เกิดลักษณะที่น่ารังเกียจ เช่น มีกลิ่นเหม็นของสารเคมี มีสีที่ดูสกปรก เป็นต้น ใครขืนเอา มาใส่ก็เชื่อได้ว่าไม่มีคนซื้อแน่ อีกอย่างราคาของสารนั้นก็เป็นตัวบังคับด้วย ถ้าต้องเอาของแพง ๆ มาใส่ แล้วยังไม่มีคนซื้อก็คงไม่มีใครเขาทำกันแน่

วัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร 12 ชนิด ได้แก่

  1. น้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธีเติมโบรมีน (Brominated vegetable oil)
  2. กรดซาลิซิลิค (Salicylic acid)
  3. กรดบอร์ริค (Boric Acid)
  4. บอร์แรกซ์ (Borax)
  5. แคลเซียมไอโอเดท หรือ โพแทสเซียมไอโอเดท (Calcium iodate and Potassium iodate)
    ยกเว้นการใช้เพื่อปรับสภาวะโภชนาการเกี่ยวกับการขาดสารไอโอดีน ตามที่ได้รับความ
    เห็นชอบจากสำนักงาน-คณะกรรมการอาหารและยา
  6. ไนโตรฟูราโซน (Nitrofurazone)
  7. โพแทสเซียมคลอเรท (Potassium chlorate)
  8. ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) สารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde Solution) และพาราฟอร์มาลดีไฮด์ (Paraformaldehyde)
  9. คูมาริน (Coumarin) หรือ 1,2-เบนโซไพโรน (1,2-Bezopyrone) หรือ 5,6-เบนโซ-แอลฟา-ไพโรน (5-6-Benzo - a - pyrone) หรือ ซิส-ออร์โธ-คูมาริค แอซิด แอนไฮไดร์ด (cis-o-coumaric acid, anhydride) หรือ ออร์โธ-ไฮดรอกซีซินนามิค แอซิด แลคโตน (O-Hydroxycinnamic acid, lactone)
  10. ไดไฮโดรคูมาริน (Dihydrocoumarin) หรือ เบนโซไดไฮโดรไพโรน (Benzodihydropyrone) หรือ 3-4-ไดไฮโดรคูมาริน (3,4-Dihydrocoumarin) หรือ ไฮโดรคูมาริน (Hydrocoumarin)
  11. เมทธิลแอลกอฮอล์ (Methyl alcohol) หรือ เมทานอล (Methanol)
  12. ไดเอทธิลินไกลคอล (Diethylene Glycol) หรือ ไดไฮดรอกซีไดเอทธิล-อีเธอ (Dihydroxydiethyl ether) หรือ ไดไกลคอล (diglycol) หรือ 2,2,’-ออกซีบิส-เอทานอล (2,2’-oxybis-ethanol) หรือ 2,2’- ออกซีไดเอทานอล (2,2’-Oxydiethanol)

[back to MENU]

References: http://vm.cfsan.fda.gov/~dms/flg-7a.html
Hosted by www.Geocities.ws

1