การแพ้เครื่องสำอางค์ (cosmetic allergy)   

[back to Home]

by ~nawo~ [Jan 9, 2003]

 

แพ้หรือระคายเคืองกันแน่ (Allergy or Irritation?)

การแพ้เครื่องสำอางค์ที่พบได้บ่อย จะเป็นลักษณะผื่นแพ้ (cintant dermatitis) ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ใน 2 ลักษณะ 

Click to see Skin Anatomy

1. การแพ้อย่างแท้จริง
(True Allergy)

 เกิดจากการที่สารซึมลึกลงสู่ใต้ผิวหนังสู่ชั้นหนังแท้ (epidermis)  และจะไปกระตุ้นเซลล์บางชนิดซึ่งจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่เป็นสาเหตุของการแพ้
อาการ  บวม เกิดการเป็นผื่นนูนเป็นกลุ่มคล้ายรังผึ้ง (hive-like  breakouts)  แผลพุพอง และรวมถึงก็พบอาการผิวหนังแดง หยาบด้วย มีอาการปวดแสบปวดร้อน  การที่ผิวหนังแห้ง ลอก มีสะเก็ดน้ำเหลืองหรือมีตุ่มนูนเล็กๆ ใสๆ เกิดขึ้นและมักมีอาการคันร่วมด้วย โดยส่วนใหญ่ ผิวหนังจะแสดงอาการแพ้อย่างแท้จริงในครั้งแรกที่ได้รับการสัมผัสสารที่ทำให้ระคายเคือง แต่ในหลายๆกรณี ก็อาจใช้เวลานานหลายปีหรือต้องสัมผัสสารนั้นหลายๆครั้งจึงจะแสดงอาการ  หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 7-10 วัน ให้ไปพบแพทย์ผิวหนัง เพราะจะมีเพียงแพทย์เท่านั้นที่จะบอกชนิดของการแพ้และวิธีการรักษาที่ถูกต้องได้ (ถ้าอาการบวมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และ/หรือ มีผลต่อการหายใจ ให้พบแพทย์โดยเร็วที่สุด)

2. การระคายเคือง
(Irritation)

ในหลายๆกรณีของการเกิดการอักเสบ อาการระคายเคืองที่เกิดขึ้น ไม่ใช่การแพ้อย่างแท้จริง แต่ก็เป็นการทำร้ายผิวเช่นกัน
อาการ
อาจเริ่มจากการคัน ผิวหนังไหม้ เป็นลมพิษ ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลเปื่อย มีการคัน แสบ แดงเล็กน้อย ผิวแห้ง หรือบางรายมีสิวอุดตันเม็ดเล็กๆ คล้ายผดที่เรียกว่า สิวเทียม เกิดขึ้น
การระคายเคืองอย่างรุนแรง เช่นการสัมผัสสารซักล้างที่มีฤทธิ์เป็นกรด อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาได้ภายใน ไม่กี่นาที หรือไม่กี่ชั่วโมง แต่สำหรับการระคายเคืองที่ไม่รุนแรง เช่นการการสัมผัสกับผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม สีย้อมผ้า หรือพวกผ้ายืดอีลาสติก อาจต้องใช้เวลามากกว่า 1 วันหรือเป็นสัปดาห์จึงจะปรากฏอาการ

 

 * การระคายเคือง จะเป็นปัญหาที่พบโดยทั่วไปของเครื่องสำอางค์และสกินแคร์ *

 

การระคายเคืองจะสัมพันธ์กับปริมาณสารที่ได้รับ และจะเกิดอาการกับคนส่วนใหญ่ที่ได้สัมผัสกับสารนั้นๆ ตรงข้ามกับการแพ้อย่างแท้จริง ซึ่งจะไม่สัมพันธ์กับปริมาณของสารที่ได้รับ (การสัมผัสสารนั้นเพียงชั่วครู่ก็การทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงได้) และจะปรากฏอาการเพียงแค่ 1-2 % ของคนทั่วไปเท่านั้น

 

ดังนั้นการที่เกิดการคันและมีสะเก็ดน่าจะเป็นสัญญาณของการระคายเคืองมากกว่าการแพ้อย่างแท้จริง ซึ่งอาการนี้มักเกิดเมื่อภูมิคุ้มกันน้อยลง สภาวะจากสิ่งแวดล้อม และ/หรือ การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารเคมีที่อาจทำให้เกิดการแพ้ได้ง่าย

 

การแพ้และการระคายเคืองอาจเกิดการสารดังต่อไปนี้

1. น้ำหอม
2. สารกันบูด
3. สบู่ หรือ soap-like formulation ได้แก่ แชมพูที่เป็น detergent-based
4. สี และ formaldehyde ที่ผสมอยู่กับใยผ้า เช่นเสื้อผ้าที่สวมใส่ ผ้าปูที่นอน เป็นต้น
5. Abrasive detergent ที่ใช้กำจัดน้ำมันและ grease
6. โลหะหนัก ได้แก่ นิกเกิล
7. การสัมผัสกับพืชบางชนิด เช่น
- Poison  ivy, poison oak, poison sumac
- ผลของต้น gingko; ใบและเปลือกมะม่วง; น้ำมันจากเปลือกเล็ดมะม่วงหิมพานต์
- ผักบางอย่างเช่นกระเทียม หัวหอม มะเขือเทศ ขิง, parsnip และแครรอท
- ดอกไม้ต่างๆในสวน เช่น English ivy, geranium, lilac,  magnolia, poinsettia, primrose, philodendron, and tulip

 

            การเกิดผื่นสัมผัส สิวและการแพ้อย่าแท้จริงจากเครื่องสำอางค์จะหายากมากในบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรง และมีระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ดี โดยเฉพาะพวกเมคอัพก็จะไม่ค่อยพบการแพ้ อย่างไรก็ตามการแพ้ ระคายเคือง หรือสิวจากเครื่องสำอางค์ก็อาจจะเกิดจากสิ่งต่างๆต่อไปนี้ 

1. การใช้เครื่องสำอางค์ใหม่ๆจำนวนมากๆตลอดเวลา 
โดยเฉลี่ยพบว่า คนนึงมักใช้เครื่องสำอางค์ 12-15 ชนิดบนใบหน้า ซึ่งจะประกอบไปด้วยสารเคมีต่างๆกันถึง 3000 ชนิดทุกๆวัน! ดังนั้น กรุณาหมั่นใส่ใจทุกผลิตภัณฑ์ว่าคุณใช้อะไรและเมื่อไหร่บ้าง รวมถึงอาหารที่กินและผลิภัณฑ์ชำระล้างทุกประเภทที่คุณใช้ในชีวิตประจำวันของคุณ 
2. การใช้แปรงหรืออุปกรณ์แต่งหน้าที่สกปรก 
ทำความสะอาดแปรงและอุปกรณ์การแต่งหน้าอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการใช้เมคอัพใหม่กับแปรงที่ยังไม่ได้ล้าง จะให้ดีที่สุดควรล้างแปรงและอุปกรณ์ไม่ต่ำกว่า 2-4 ครั้ง/เดือน (ดีที่สุดคืออาทิตย์ละครั้ง) อย่าลืมทำความสะอาดตลับแป้งตามร่องต่างๆอย่างสม่ำเสมอด้วย ระวังเรื่องน้ำยาและเครื่องมือที่เอาใช้ในการล้างและต้องแน่ใจว่าได้ล้างน้ำอย่างสะอาด รวมถึงแปรงและอุปกรณ์ต้องแห้งก่อนจะถูกนำไปใช้ในครั้งต่อไป
3. การใช้แปรงที่ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีสีแดงเป็นส่วนผสมและแปรงนั้นยังไม่ได้ทำความสะอาด
ผลิตภัณฑ์ที่ผสมสีแดงสังเคราะห์ ซึ่งสีแดงมักจะก่อให้เกิดโคเมโดนซึ่งเป็นสาเหตุของสิวที่เกิดการเครื่องสำอางค์ ("cosmetic  acne") รวมทั้งสิวหัวดำ หัวขาว และการระคายเคืองที่ไม่ร้ายแรงทั้งหลาย ทางที่ดีที่สุด ทำความสะอาดแปรงและอุปกรณ์ต่างๆทุกครั้งก่อนเอาไปใช้กับผลิตภัณฑ์ตัวใหม่
4. การใช้ฟองน้ำแต่งหน้าที่ทำจากลาเทกซ์
บางคนแพ้ลาเท็กซ์ค่ะ ไม่เว้นถุงมือยางและฟองน้ำที่ทำจากลาเท็กซ์แต่งหน้าด้วย ควรหลีกเลี่ยงฟองน้ำที่ทำจากลาเท็กซ์หากคุณแพ้นะคะ
5. การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่สะอาด มีสิ่งเจือปน
ตรวจดูสารเคมีที่ใช้และสารเจือปนมนผลิตภัณฑ์ที่คุณใช้ว่ามันแห้งสะอาดหรือไม่และหากเป็นแป้งฝุ่นก็ควรแน่ใจว่ามันสามารถผ่านทางตะแกรง (sifter)ได้ 
6. การใช้แปรงผิดประเภท
สำหรับการแต่งหน้าทั่วไป แปรงที่ทำจากขนสัตว์แท้จะดีที่สุด สำหรับแปรงที่ใช้กับครีม ควรใช้ที่ทำจากขนสังเคราะห์หรือไนลอน เพราะจะสารถควบคุมเวลาลงครีมได้ดีกว่า และล้างออกง่ายกว่า 

 

การทดสอบการแพ้ (Patch Test) มี 2 แบบ
1.  Open Patch Test
เป็นการทดสอบโดยการเอาสารมาทาที่บริเวณท้องแขน หลังหรือหลังหู ขนาดประมาณ 1 ซ.ม. โดยไม่ต้องเอาอะไรมาปิดทับ สารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองมักอ่านผลใน 12 ช.ม. ส่วนสารที่มักให้เกิดการแพ้จะแสดงปฏิกิริยาภายใน 48 - 72 ช.ม. หรืออาจทำง่ายๆ โดยการทาสารนั้นที่ใบหูติดต่อกัน 10 วัน
2. Closed Patch Test
เป็นการทดสอบโดยการใช้ผ้าก็อชหรือพลาสเตอร์ที่มีสารเคมีที่จะทำการทดสอบแล้วนำมาแปะไว้ที่ผิวหนัง ถ้าทำน้อยๆ ก็ติดที่ต้นแขน หรือถ้าต้องการทดสอบเป็นบริเวณกว้าง ก็เอาไปแปะที่หลัง ทิ้งไว้ 48 ชม. แพทย์จะนัดมาอ่านผลการทดสอบ 2 ครั้ง ( ครั้งที่ 1 ที่ 48 ชม. , ครั้งที่ 2 ที่ 96 ชม. หรือหลังจากนั้น) ระหว่างนี้ไม่ให้แผ่นหลังเปียกน้ำ
- พยายามหลีกเลี่ยงภาวะที่มีเหงื่อออกมาก เช่น วิ่ง เล่นกีฬา หรือถูกแสงแดดมาก ๆ 
- ไม่ควรทำการทดสอบนี้ หากคุณกำลังตั้งครรภ์

การทดสอบบางอย่าง อาจมีการฉายแสง โดยใช้หลอด mercury arc lamp เพื่อแทนแสง UV หากสงสัยว่าจะมีการแพ้แบบ photoallergic contact dermititis

 

References:

http://www.thebeautybottle.com/articles/cosmeticallergy.shtml

http://www.thaiclinic.com/allergic_contact_rash.html

http://www.arubaaloe.com/allergy.htm

http://www.aad.org/pamphlets/cosmetic.html

 

Hosted by www.Geocities.ws

1