ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา เราจะนำเสนอเรื่องการมัตติเพล็กซ์ (Multiplexing)

  • VDL / Multiplexing Services


การมัตติเพล็กแบบแบ่งความถี่

การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ จะอนุญาตให้ผู้ส่งหรือสถานีส่งจำนวนหลาย ๆ สถานี และสถานีฝ่ายรับสามารถสื่อสารร่วมกันอยู่บนสายสัญญาณเดียวกันได้ ด้วยการใช้เทคนิคแบบแอนะล็อกที่ข้องเกี่ยวกับแบนด์วิดธ์ของลิงก์ หรือตัวกลางส่งข้อมูลเป็นสำคัญ...

More

 

การมัตติเพล็กแบบแบ่งความยาวคลื่น

 

คือการนำสัญญาณที่มีความยาวคลื่นต่างกันมารวมกัน แล้วทำการส่งเข้าไปในเส้นใยแก้วนำแสง เทคโนโลยี WDM เป็นเทคโนโลยีที่ใช้เพิ่มขนาดแบนด์วิท การส่งข้อมูลบนเครือข่ายใยแก้วนำแสง...

More

การมัตติดเพล็กแบบแบ่งเวลา

เป็นการแบ่งเวลาในการใช้สายส่งเพื่อใช้ส่งข้อมูล เหมาะกับสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอล เนื่องจากสัญญาณดิจิตอลมีช่วงเวลาที่แน่นอนของบิตแต่ละบิต จึงทำให้สามารถมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลาให้มีความสอดคล้องกับเวลาของบิตได้ ...

 

More


การมัลติเพล็กซ์  (Multiplexing)

Multiplexing ถูกนำมาใช้งานสำหรับการติดต่อสื่อสารที่เป็นระยะทางไกล (long-haul communication) ชุดของสายสัญญาณ (Trunk) ที่นำมาใช้ในการติดต่อระยะทางไกล ( long-haul network) เป็นเส้นใยนำแสงที่มีประสิทธิภาพสูง หรือสายโคแอกเชียล หรือผ่านไมโครเวฟ การเชื่อมต่อนี้สามารถนำเสียงผ่านไปได้ในอัตราสูงในปริมาณมาก และสามารถส่งผ่านสัญญาณเสียงไปได้ทันทีโดยใช้วิธีการ multiplexing

จากรูป แสดงให้เห็นหน้าที่ของการทำ multiplexing ในรูปแบบที่ง่ายมีจำนวนอินพุท จำนวน n อินพุทเข้าไปที่มัลติเพลกเซอร์ ( multiplexer) ตัวมัลติเพลกเซอร์ต่อเชื่อมเข้ากับสายเชื่อมต่อ ( link) เส้นเดียวเข้ากับ demultiplexer ด้วย link มีความสามารถ ในการส่งผ่านสัญญาณได้จำนวน n ช่องสัญญาณ (channel) ตัว multiplexer จะรวมเอาข้อมูล (multiplex) จาก input line จำนวน n line และส่งผ่านสายสัญญาณเชื่อมต่อ ( data link) ที่มีความสามารถสูง เมื่อ demultiplexer รับ stream ข้อมูลที่เป็น multiplexed มาแยก ( demultiplexers) ออกไปตามช่องสัญญาณแล้วนำส่งไปยัง output line ที่ต้องการ

 

เทคนิคการมัลติเพล็กซ์ มี 3 วิธีด้วยกัน ดังนี้
1. การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ (Frequency-division multiplexing: FDM)
2. การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความยาวคลื่น(Wavelength-division multiplexing: WDM)

3. การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลา (Time Division Multiplexing: TDM)