การปรับโครงสร้างกองทัพ ความฝันหรือ การพัฒนาสู่สุดยอด

                   ประเทศไทยในอดีตมีความเกี่ยวพันกับกองทัพเป็นอันมาก โดยเฉพาะการต่อสู้ เพื่อเอกราช  และ อธิปไตย บูรณภาพ แห่งดินแดน ความจำเป็นที่จะต้อง มีกองทัพเป็นเสมือนบ้านที่ต้องการรั้ว กองทัพไทยเป็นกองทัพที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่สมัยเริ่มของการทหารสมัยใหม่ ในยุคของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการนำเอาระบบต่าง ๆ  เข้ามาใช้มากมาย สมัยเริ่มต้นของการทหารสมัยใหม่การแบ่งแยกกองทัพยังไม่มีอย่างเด่นชัดทุกส่วน คือ กองทัพไทย แต่ต่อมาเริ่มมีการแยกกันอย่างเด่นชัดขึ้นมาตามกาลเวลา กองทัพไทยเริ่มใหญ่ขึ้นมีความซับซ้อนมากขึ้น ส่วนที่ใช้เครื่องบินก็เริ่มแยกมาเป็น กองทัพอากาศ ส่วนที่ใช้เรือก็แยกออกมาเป็นกองทัพเรือ เมื่อเริ่มมีการแยก ก็เริ่มมีการแบ่งพวก ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ทำให้เกิดทั้งข้อดีและข้อเสียมากมาย เมื่อมีการแบ่งทำให้เกิดความชำนาญเฉพาะทางมากขึ้น แต่เมื่อใดที่มีการแบ่งแยก การประสานงานก็ยากขึ้นด้วย ทุกคนล้วนมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศ ในส่วนของตน ทหารอากาศก็ปกป้องหน่วยฟ้า ทหารเรือก็ปกป้องน่านน้ำ ทหารบกก็ปกป้องแผ่นดิน

จนในบางครั้งลืมไปว่าเรากำลังปกป้องในสิ่งเดียวกัน   คือประเทศไทย   ในทางทฤษฎีการป้องกันประเทศ   มีไว้อย่างสวยหรู ต้องสนธิกำลังกัน มี โรงเรียนเสนาธิการทหาร  ที่ฝึกการปฏิบัติงานร่วมกัน แต่ในทางปฏิบัติมีน้อยมากที่จะทำการฝึกร่วมกันในสิ่งที่เราจะต้องปฏิบัติจริง จะมาอ้างเรื่องงบประมาณก็ไม่ได้ เพราะก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤตการทางการเงิน มีงบเพียงพอ แต่กองกทัพ ต่างฝ่ายต่างก้มหน้าก้มตาฝึก ไปไม่หันมาทำงานร่วมกันมากเท่าที่ควร ผลที่ออกมาและเป็นสิ่งที่เตือนให้กองทัพไทยได้รู้สึกตัว คือเหตุการณ์บ้านร่มเกล้า ทำให้ต้องมีการฝึกการประสานงานระหว่าง  กองทัพ แต่ก็เหมือนไฟไหม้ฟาง การเรียนรู้งานของกันและกันในระดับผู้ปฏิบัติจริง ๆ มีแต่การฝึก มีหรือไม่มี แต่เพียงในหลักสูตร ถ้าไม่มีการฝึกร่วมต่างประเทศการฝึกคงจะไม่มี ระบบการติดต่อสื่อสารของอากาศยาน และภาคพื้นมีการพัฒนาไปถึงไหนแล้ว ประสบการณ์ ในการฝึกร่วมของทหารไทยยังต่ำ การสนับสนุนทางอากาศอย่างใกล้ชิด การใช้อากาศยานในการโจมตี ก่อนทำการเข้าตี ตั้งแต่ตั้งหลังสงครามกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ สิ้นสุดลง กองทัพอากาศมามีการฝึกปฏิบัติร่วมกับหน่วยทหารจริงจังไม่กี่ครั้ง แต่ที่รู้กันอยู่มีว่าครั้งเดียวที่มีการปฏิบัติจริงและดัง ๆจนได้บทเรียนที่หลายคนลืมไปแล้ว

 ตราบใดที่ยังไม่มีการประชุมกันอย่างจริงจัง ในการป้องกันประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่ต่างคนต่างวาดรูปแล้วมาประกอบกันขัดเกลาในห้องปรับอากาศ ออกมาเป็นแผนที่สวยหรูแต่ทำไม่ได้   ที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง ที่ต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทั้งสองฝ่าย

ในปัจจุบันหาลองสมมติสถานการณ์ ว่ามีกองกำลังบุกเข้ายึดพื้นที่ตามแนวชายแดน และ กองกำลังต้องการใช้ ถ้าต้องใช้กำลังทางอากาศลึกเข้าไปในพื้นที่ปฏิบัติการฝ่ายข้าศึก  ในขณะที่กองกำลังทบ.วางแผนที่จะรุก เพื่อยึดพื้นที่ กลับคืน ใครจะเป็นผู้ที่ชี้เป้าให้กับอากาศยาน ... เป้าหมายในพื้นที่ ป่าภูเขา ไม่ใช่เรื่องง่ายในการ พิสูจน์ทราบ ส่วนเป้าหมายในเมืองก็อุดมไปด้วย อาวุธต่อสู้อากาศยาน ที่ไม่สามารถให้นักบินใช้อาวุธได้อย่างหมูๆเหมือนที่สนามฝึกใช้อาวุธชัยบาดาล ...ผบ.ทบ กับ ผบ.ทอ จะไปอยู่ที่ไหน เราจะใช้ที่ไหนเป็นที่บัญชาการ ....เพื่อให้สามารถมีการประสานงานกันอย่างเป็นรูปธรรม .นี่เป็นเรื่องสมมติที่ไม่ค่อยมีใครสมมติกันแต่ว่าเป็น หนทางปฏิบัติที่ต้องเกิดถ้ามีเหตุการณ์ จริงและกองทัพก็เป็นหน่วยงานเดียงที่ต้องรองรับเรื่องนี้ จะให้ตำรวจ หรือกรมชลประทาน หรือ กระทรวงมหาดไทยมาช่วยไม่ได้ แน่.. นี่คือโจทย์ ที่นำมาสู่ สภาวะปัจจุบันที่งบประมาณกองทัพถูกลดลง ตามกระแสโลก (จะมาเพิ่มอีกทีก็ตอนจะมีสงคราม )  การจัดและปรับกำลังให้มีเอกภาพและเกิดประสิทธิภาพสุด เป็นส่งที่ทุกหน่วยต้องทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะงบประมาณที่จำกัดลง

                สิ่งหนึ่งที่ต้องมีการปรับคือ การสนธิหน่วยงานที่ซ้ำซ้อนหรือเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ใกล้เคียงกัน ให้สามารถใช้งานร่วมกันได้  ที่ผ่านมาโดยหลักการคือ ทุกกองทัพต้องมีการมีความสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น หน่วยส่งกำลัง หรือที่เรียกว่า พลาธิการ ส่วนที่ทำหน้าที่สื่อสาร สรรพวุธ โรงเรียนที่ฝึกความสามารถเฉพาะทาง เช่น โรงเรียนสอนการกระโดดร่ม ทีมีอยู่ในทุกเหล่าทัพไม่เว้นแม้กระทั่งกรมตำรวจ ที่อาจจะต้องยกให้เพราะ อเมริกันมาสร้างรากฐานไว้ มีหลายส่วนมีหน้าที่คลายกัน ยกตัวอย่างเช่น หน่วยพลาธิการ  มีสิ่งอุปกรณ์ที่คล้ายกัน เช่นรองเท้า เสื้อผ้าที่ต่างกันแค่สี และรายละเอียดเล็กน้อย สิ่งตาง ๆ  เหล่านี้บางครั้งสามารถให้ร่วมกันได้ การจัดซื้อจัดหาเป็นของจำนวนมาก ย่อมสะดวกและถูกกว่า ลดปริมาณเจ้าหน้าที่ลงได้ มีความจำเป็นแค่ไหนที่ทหารอากาศต้องใส่ชุดฝึกสีน้ำเงิน ทหารเรือต้องใส่สีพรางแบบหนึ่ง ทหารบกใส่แบบหนึ่ง สีต้องแบบนี้ แบบนั้น ขอถามว่า ทหารนาวิกโยธินไทย กับทหารบกไทย รบในภูมิภาคเดียวกันหรือไม่ คำตอบคือ รบในพื้นที่ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เป็นไปได้หรือไม่ที่จะรวมงบประมาณของสามเหล่าทัพในการจัดหาเสื้อผ้า จัดทำขึ้นมาเป็นสีของกองทัพไทย โดยใช้เทคโนโลยี วิเคราะห์จากสีโดยรวมของพื้นที่ปฏิบัติการส่วนใหญ่ ตัวอย่างของสีพรางของบางประเทศใช้วิเคราะห์จากภาพถ่าย ดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศ และนำมาประมวลหาสีโดยเฉลี่ยของพื้นที่ ออกมาเป็นสีพรางมาตรฐานของกองทัพสามารถใช้ในพื้นที่ทั่วไปได้ แต่หากต้องไปในพื้นที่ที่แปลกออกไปจะเป็นสีที่ทำมาพิเศษเช่น สีพรางสำหรับหิมะ เพียงเท่านี้ก็สามารถได้สีที่เป็นมาตรฐานได้ ทั้งกองทัพ แต่อุปสรรคประการสำคัญคือ คน ความไม่ยอมกันของแต่ละเหล่าทัพ ข้ออ้างนา นา ประการ ผลประโยชน์ในการจัดหา ฯลฯ

                   ในด้านของส่วนที่ให้ความรู้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนการบิน . โรงเรียนฝึกการกระโดดร่มร่ม . หน่วยที่ฝึกหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ตัวอย่างแรกที่จะพูดถึงคือโรงเรียนการบินก่อน คือต้องกล่าวถึงที่มาคือความต้องการที่จะสมบูรณ์ในตัวเองของกองทัพ กองทัพบก มีศูนย์การบินทหารบก ทำหน้าที่ดังกล่าวอยู่ ทั้งที่การบินของทหารบกมีมานานกว่า ทหารอากาศแต่ความเจริญ ต่างจากกองทัพอากาศ ส่วนหนึ่งนั้นเป็นเป็นเพราะว่าความใหญ่โตเกินไป เหมือนครอบครัวที่มีลูกมาก ทำให้สิ่งที่ต้องนำมาหล่อเลี้ยง ที่มีความจำเป็นในการพัฒนา ไม่เพียงพอ การที่นำมารวมกัน จะทำให้ งบประมาณที่เคยเป็นเบี้ยหัวแตก เป็นก้อนมากขึ้น อาวุธที่ได้จะได้มีความทันสมัยขึ้น

                              การบินส่วนใหญ่เป็น เรื่องของเทคโนโลยี ที่ต้องการพัฒนา และติดตามตลอดเวลา การส่งกำลังเป็นสิ่งหลักประการหนึ่ง ที่ทำให้บรรดาเครื่องบินทั้งหลายยังคงปฏิบัติการได้เป็นอย่างดี  สิ่งที่กองทัพบกต้องการบินทหารบก คือการสนับสนุนกำลังทางพื้นดินเป็นหลักซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเห็นใจ ในสภาพปัจจุบัน การปฏิบัติการประสานงานในการฝึกการปฏิบัติการต่าง ๆ  (ก่อนหน้าวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ) ต้องยอมรับว่าไม่ดีเท่าที่ควร การวางแผนการปฏิบัติการแต่ละครั้งในระดับฝ่ายอำนวยการไม่ค่อยจะมีนักบินมาร่วมในการวางแผนมาก็มาบินเลย บางคนสักแต่ว่าบินไม่รู้ว่าทำอะไรด้วยว่ารู้แต่ว่าปล่อยนักกระโดดร่ม รู้แต่ว่าบินไม่รู้เลยว่าลงไปทำอะไร, ข้อจำกัดขีดจัดกัดยิบย่อย ของอากาศยานนอกตำรามีมากมายจนดูเหมือนขาดมาตรฐานในการดูแลรักษาปรนิบัตรบำรุง การยุทธส่งทางอากาศ เรามีทหารราบส่งทางอากาศ มีการวางแผนการยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ ส่งที่ทำการฝึก คือกำลังภาคพื้นในส่วนของนักบินไม่ได้มีการวางแผนร่วม ไม่มีการฝึกการยุทธการบินทางยุทธวิธีร่วมกัน ไม่มีแผนฉุกเฉินที่อากาศยานต้องปฏิบัติร่วมกับกำลังภาคพื้น โดยปกติการบินทางยุทธวิธี นักบินจะไปฝึกต่างหาก ไม่ทราบด้วยเหตุผล ความยากลำบากประการใด ไม่สามารถปฏิบัติร่วมกันได้บ่อย ๆ ไม่มีความพยายามที่จะหันหน้าเข้าหากัน การฝึกบินต่าง ๆ โดยเฉพาะเครื่องลำเลียง เป็นที่นินทาอย่างสนุกปากว่า ไปเชียงใหม่ ขนลำใย ไปหาดใหญ่ขนเหล้าเรดเลเบิ้ลมาขาย การรบคงไม่ต้องการบินเดินทางเท่าใดนัก หลายครั้งที่เครื่องปฏิเสธ ภารกิจอย่างมีข้อสงสัย 

ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกภารกิจในช่วงเช้าวันจันทร์ หรือเย็นวันศุกร์ ความเป็นอยู่ที่แตกต่าง  นักบินต้องนอนโรงแรมนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับเพราะต้องการความสดในการปฏิบัติภารกิจ แต่ก็เป็นที่รู้กันโดยนัยว่า ยังมีนักบินที่ไร้วินัยบางคน ดื่มก่อนปฏิบัติภารกิจ ละเมิด กฏนิรภัย อาจจะเป็นจุดหนึ่งที่เป็นที่มาของการยกเลิกบางภารกิจ

                   ในส่วนของการประสานอากาศยาน หากเป็นต่างเหล่าทัพ ย่อมมีความซับซ้อนมากขึ้น  ภารกิจของกองทัพต้นสังกัดย่อมสำคัญกว่า ไม่ว่าจะเป็นภารกิจอะไร เช่นการฝึกกระโดดร่มทางยุทธวิธี ที่ในการแทรกซึมเข้าพื้นที่ ซึ่งถือว่าเป็นภารกิจในการยุทธ กับ ภารกิจด่วนขนของทางธุรการของ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ไม่ต้องคิดเลยว่าจะต้องยกเลิกภารกิจใด ความยุ่งยากในการประสานงานเป็นสิ่งหนึ่ง ทำให้ต้องมี ศูนย์การบินทหารบก   หากกำจัดกำแพงดังกล่าวได้   ให้งานด้านการบินเป็นของ  ทหารอากาศ อย่างเดียว  ซึ่งอาจจะเรียกเป็นหน่วยบิน  กองทัพ

( หาชื่อเรียกใหม่ ที่น่าจะลดความแบ่งแยกได้บ้าง )  โรงเรียนการบินสามารถที่จะรวมกันได้ ระบบการส่งกำลังก็สามารถที่จะใช้ร่วมกันได้ ระบบการป้องกันฐานบินก็ โดยให้ระบบการป้องกันฐานบินเป็นความรับผิดชอบ ของส่วนภาคพื้น (ทบ.)

 ทุกสิ่งกล่าวถึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะกระทำ มีเรื่องมากมายมหาศาลที่ต้องแก้ไขปรับปรุง แต่สิ่งได้รับคือ การบินที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ความประหยัด และกองทัพบกก็ลดความอุ้ยอ้ายลง

                   อีกหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทมากขึ้นทุกวันคือในเรื่องของหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ซึ่งเป็นหน่วยที่ตอบสนองคำว่า เล็กแต่มีประสิทธิภาพ หน่วยปฏิบัติการพิเศษของทุกเหล่าทัพจะผลิต บุคลากรที่มีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากต้องการคุณภาพสูง จึงสามารถ หน่วยปฏิบัติการพิเศษของไทย เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ มีการฝึกฝน รับเทคโนโลยีทางทหารมาอย่างมากมายทั้งขีดความสามารถ และทำงานเป็นหน่วยที่มีคุณภาพ ความซับซ้อนแบบก่ำกึ่งมีอยู่เช่นกัน ยกตัวอย่างในเรื่องของหลักสูตร การลาดตระเวน ซึ่งในพื้นฐาน มีหลักการใกล้เคียงกันมาก จนแยกแทบไม่ออกต่างกันเพียงภูมิประเทศที่ปฏิบัติ ความเน้นหนัก การจุดระเบิดที่วัสดุอุปกรณ์ เทคนิคไม่ต่างกันเท่าใดนัก การรบประชิด หรือที่เรียกว่า ซีคิวบี หลักการพื้นฐานเดียวกัน อาวุธที่ใช้ต้องการคุณลักษณะที่ใกล้เคียงกันมาก

แต่หากกระทำได้แล้วจะเกิดประโยชน์สูงสุด ประโยชน์อีกอย่างคือการ ที่จะตอบสนองปัญหาการก่อการร้ายสากลที่จะเกิดขึ้นเมื่อไรไม่มีใครรู้  การปฏิบัติการดังกล่าวต้องใช้บุคลากรมากในการ  ปฏิบัติงานในหนึ่งภารกิจ ความเป็นหนึ่งเดียวมีความจำเป็นมากในหน่วยงานดังกล่าว การปฏิบัติงานจริงไม่เหมือนในภาพยนตร์ที่มีกลุ่มพระเอก       แค่ หก เจ็ดคน วางแผนเตรียมเข้า และเข้าไปปฏิบัติและเป็นฝ่ายชนะทุกครั้ง ในความเป็นจริงต่างกันมาก

                   ในปัจจุบันการปฏิบัติการพิเศษในเรื่องของการต่อต้านการก่อการร้ายสากล มีการฝึกร่วมกันอยู่เสมอ แต่มันคงจะดีกว่าถ้าทุกคนรู้สึกว่าเป็นหน่วยเดียวกัน ความใกล้ชิดจะมีมากกว่า แต่เป็นเรื่องธรรมดาที่บอกไว้ในทุกหัวข้อที่ผ่านมาคือ มันเป็นการยาก ที่จะนำเอาคนที่มีความมั่นใจในตนเองสูงมารวมกันแล้วต้องมีใครคนใดคนหนึ่งยอมกัน สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องจัดหาวิธีการที่เหมาะสม แนวความคิดในการรวมหน่วยปฏิบัติการพิเศษ เป็นแนวความคิดที่หลายประเทศคิดจะทำเพราะสามารถลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับหน่วยได้เป็นอย่างดี แตลายละเอียดการปรับเปลี่ยนนั้นคงไม่ใช่เรื่องที่จะสามารถทำได้ในชั่วอายุคน การจะทำให้ลดขนาดกองทัพให้กะทัดรัด และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในสหรัฐก็มีแนวความคิดดังกล่าว แต่ทุกหน่วยมีเกียรติประวัติอันยาวนาน ไม่อยากให้ชื่อของตนลบเลือนหายไป ความภาคภูมิใจหายไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้หน่วยเหล่านี้ดำรงอยู่ได้ แต่เมื่อหันกลับมามองสภาพ การที่เปลี่ยนแปลงไป กองทัพทุกแห่งถูกลดงบประมาณลง นั่นหมายถึงจะต้องทำตัวเองเล็ก หน่วยปฏิบัติการพิเศษ เป็นหน่วยที่ขนาดเล็กอยู่แล้ว ต้องทำให้ตนเองกะทัดรัดมากขึ้นต้องเสียสละบางอย่าง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

                   ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อย ในหลายองค์กร การรวมกันมีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของงบประมาณที่จะสามารถใช้ได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ทุก ทุกฝ่ายต้องหันหน้าเข้าหากัน ลดความมี ทิฐิ ลดความเห็นแก่พวกพ้องเห็นแก่ลูกน้องตนเอง เห็นแก่ผลประโยชน์ เสียสละ พวกเราก็เริ่มต้นกันได้ เริ่มจากการประสานงานที่ใกล้ชิดกันมากขึ้นนึกถึงเสมอว่า เราต้องทำงานร่วมกัน รบกับศัตรูเดียวกัน

                   การฝึกร่วมเหล่าทัพเป็นเพียงจุดเริ่ม ต้นที่ดีอย่างหนึ่งในการปรับตัวเข้าหากันเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงโครงสร้างและแนวทางปฏิบัติของกองทัพเพื่อให้สามารถป้องป้องพื้นแผ่นดินไทยได้จริงๆ  อย่าให้ต้องมีบทเรียนเพิ่มเติม เพื่อเตือนความจำของนักเรียนขี้ลืมคนนี้อีกเลย

                   การปรับโครงสร้างกองทัพเป็นสิ่งที่ดีและเป็นไปได้ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ยากจนเกินไปนัก, น่าเป็นความฝันที่ทหารอาชีพทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องทำงานร่วมกัน เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของชาติ ในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลง และเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นการสืบทอด เจตนารมณ์ ของเหล่านักรบไทยในอดีต ที่ได้พลีชีพ เพื่อประเทศชาติบ้านเมืองได้อยู่รอดปลอดภัย และจะต้องดำรงอยู่ตลอดไป

                                             กลับสู่หน้าหลัก

 

 

 

 

 

 

Hosted by www.Geocities.ws

1