ชื่อโครงการ เครื่องจำลองสถานการณ์การรบ

แผนงาน   XXXXX

หน่วยเจ้าของโครงการ  XXXXX

ผู้อำนวยการโครงการ   XXXXXX

นายทหารโครงการ       XXXXXXX

๑.หลักการและเหตุผล

                   ๑.๑ ความเป็นมา

Reject                         ในการฝึกทำการรบนั้นปัจจัยที่ทำให้การฝึกได้ผลคือความสมจริงในการฝึก  ซึ่งปัจจุบันการทำการฝึกให้สมจริงนั้นนั้น จะต้องใช้ทรัพยากรค่อนข้างมากและ ยังไม่สามารถกระทำให้สมจริงได้ โดยเฉพาะในเรื่องของการโต้ตอบจากฝ่ายตรงข้าม  ดังนั้น แนวความคิดในการที่จะใช้เครื่องจำลองสถานการณ์การรบในการฝึกของหน่วยเพื่อให้เกิดความสมจริงในการฝึก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพของหน่วยโดยรวมได้เป็นอย่างดี

                   ๑.๒ ปัญหาและสาเหตุ

                        ในการพัฒนาการฝึกของหน่วยรบนั้น ในปัจจุบันค่อนข้างห่างไกลจากการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ บุคลากรของกองทัพที่มีความสามารถในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และคอมพิวเตอร์ไม่ค่อยให้ความสนใจกับการพัฒนาด้านการฝึกของหน่วยในระดับผู้ปฏิบัติเท่าที่ควร จึงทำให้การใช้เทคโนโลยีดังกล่าวดูเป็นเรื่องห่างไกล

                        ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำให้การฝึกสมจริง  และการพัฒนาการฝึกนั้น มีอยู่ หลายสาเหตุ  ได้แก่

                             ๑. การใช้ทรัพยากรมากในการฝึก เช่น กระสุนและวัตถุระเบิดจริงในการฝึก การใช้ สป.๓ ในการเคลื่อนย้ายหน่วยเพื่อให้ได้ฝึกในสภาพภูมิประเทศที่ต้องการ การสูญเสียทรัพยากรเวลาในการจัดการฝึกที่ต้องมีการประสานงาน การเดินทางทางธุรการ  และการตรวจภูมิประเทศ

Reject                             ๒. ความไม่สมบูรณ์ของความสมจริงที่มิอาจทำได้ เช่น การฝึกการปฏิบัติด้วยกระสุนจริงโดยที่มีข้าศึกสมมติจริงอยู๋ในสถานการณ์และมีการโต้ตอบได้ ซึ่งการฝึกดังกล่าวไม่สามารถกระทำได้เลย

                            ๓. นอกจากนี้การตรวจสอบการฝึกที่ให้ได้ผลดีที่สุด คือ การตรวจสอบโดยที่ไม่ให้ผู้รับการฝึกรู้สึกว่าต้องรบกับกรรมการมากกว่าข้าศึกก็ไม่สามารถกระทำได้ รวมทั้งการบันทึกรายละเอียดการฝึกด้วยการบรรยายเป็นลายลักษณ์อักษร หรือภาพนิ่ง ไม่สามารถทำให้การประเมินค่าหน่วยเป็นไปได้อย่างถูกต้อง  ซึ่งส่วนใหญ่การประเมินค่าหน่วยจะขึ้นอยู่กับกรรมการในขณะนั้น

               ๑.๓ ความจำเป็น

                        ๑.๓.๑ ในปัจจุบันปัญหาในเรื่องของทรัพยากรของกองทัพมีจำนวนน้อยลง ซึ่งส่งผลกระทบกับประสิทธิภาพโดยรวมของหน่วยรบเป็นอย่างมาก  โดยเฉพาะการใช้อาวุธที่ต้องใช้ สป.๕ จำนวนมาก เพื่อให้เสริมสร้าง และดำรงขีดความสามารถดังกล่าวของหน่วยได้ โดยใช้งบประมาณที่น้อยกว่ามาก นอกจากนี้ยังประหยัดในเรื่องของ  สป.๓ เบี้ยเลี้ยงกำลังพล ในการเคลื่อนย้ายหน่วย เพื่อให้ได้พื้นที่การฝึกที่เหมาะสม

                        ๑.๓.๒ บทเรียนจากการรบ การปะทะหลายครั้งของกำลังฝ่ายเรา ข้อผิดพลาดที่เกิดหลายครั้งเกิดจากการตัดสินใจที่ช้าเกินไปซึ่ง สาเหตุหนึ่ง คือไม่มีการฝึกการตอบสนองต่อเหตุการณ์  หรือการฝึกการตัดสินใจอย่างฉับพลัน ฉะนั้นการใช้เครื่องจำลองสถานการณ์การรบจะช่วยฝึกการตัดสินใจของหน่วยกำลังรบที่ต้องใช้การตัดสินใจอย่างรวดเร็วในการปฏิบัติงานเป็นหลัก ซึ่งสามารถจะลดข้อผิดพลาดและความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

                        ๑.๓.๓ จากการประเมินผลการฝึกในอดีตที่ผ่านมายังไม่มีมาตรฐาน และระบบการติดตามผลการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งๆที่การประเมินผลการฝึกเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่ไม่ได้มีการจัดเก็บ และวิเคราะห์หาสาเหตุข้อผิดพลาดอย่างเป็นรูปธรรม ระบบดังกล่าวสามารถจัดเก็บการฝึกได้เพื่อเป็นข้อมูลใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพหน่วยได้อย่างเป็นมาตรฐาน และยุติธรรมกับทุกฝ่าย

Reject                         ๑.๓.๔ ในการฝึกปัจจุบัน  ฝ่ายการข่าวไม่ได้เข้ามาร่วมกับฝ่ายยุทธการเท่าที่ควร การที่นำระบบเครื่องจำลองสถานการณ์การรบมาใช้จะสามารถสนธิกับการใช้ทรัพยากรข้อมูลด้านการข่าวในการสร้างฝ่ายตรงข้าม และสิ่งแวดล้อมที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกับฝ่ายตรงข้าม และสิ่งแวดล้อมที่กำลังพลของเราจะต้องไปพบจะสร้างความมั่นใจ และประสิทธิภาพให้กับหน่วยได้เป็นอย่างดี

๒.วัตถุประสงค์

                        วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ คือ การจัดทำเครื่องจำลองสถานการณ์การรบระดับชุดปฏิบัติการ ที่สามารถให้ความสมจริงในการฝึกโดยสามารถใช้ในการฝึกระดับ ชุดปฏิบัติการรบพิเศษ ชุดปฏิบัติการพิเศษ ชุดจู่โจม หมู่ทหารราบ รวมทั้งสามารถใช้ในการฝึกการใช้อาวุธและการตัดสินใจเป็นบุคคลได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกำลังพล และหน่วยรวมทั้งช่วยประหยัดทรัพยากรในการฝึกได้เป็นอย่างดี โดยในขั้นต้นจะใช้ทำการฝึก ในลักษณะทีม    คน ก่อน เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ

๓.ความเป็นไปได้ของโครงการ

               ๓.๑ บุคลากรทางการวิจัย

                        ในสภาพของหน่วยมีขีดจำกัดในเรื่องของเวลา ที่จะใช้ในการวิจัย เพราะมีภารกิจหลักของหน่วยค่อนข้างมากจึงจำเป็นต้องใช้บุคลากรจากต่างหน่วยมาร่วม รวมทั้งเทคโนโลยีบางส่วนเกินขีดความสามารถของกำลังพลในกองทัพ เช่น การเขียนโปรแกรมด้านกราฟ ฟิคขั้นสูงที่มีรายละเอียดค่อนข้างมาก และต้องใช้เวลาในการจัดทำ ส่วนอุปกรณ์ที่ไม่มีในท้องตลาด เช่น การทำอาวุธประจำกายจำลอง เพื่อที่ใช้กับเครื่องจำลองสถานการณ์การรบ

                        (รายละเอียดตามข้อมูลบุคลากรทางการวิจัย)

                   ๓.๒ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี  (อธิบาย ถึงต้นแบบ ทฤษฎี หรือหลักการที่จะใช้)

                        ระบบ Motion capture technology สำหรับการจับภาพเคลื่อนไหวของผู้ใช้ แล้วประมวลออกมาเป็นภาพเคลื่อนไหว       มิติ   ระบบ    Motion   Tracking   technology    สำหรับการกำหนดตำแหน่งการ

เคลื่อนไหวระบบ Virtual Reality สำหรับการมองเห็นที่เหมือนจริงระบบ Virtual  Simulation  walkthrough ระบบ   Safety   Weapon   infrared       ซึ่งระบบต่าง ๆ  ข้างต้นจะทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง

( work station )โดยการใช้ โปรแกรมสำเร็จรูปช่วย เช่น 3D Studio Max , Studio 9 Family ,  Studio Central Library ,  IRIS View Kit , Image Version , Cosmo player , Java Language , Open Inventor ,และ Prolog สำหรับ Prolog เป็นโปรแกรมที่ใช้ในเขียนให้ข้าศึกที่กำหนดขึ้นในเครื่องมีความฉลาด (AI) ระบบที่ใช้จะเป็น Unix

๓.๓ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และสิ่งอำนวยความสะดวก วัสดุอุปกรณ์ที่หน่วยมีอยู่ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ อาวุธประจำกายแต่วัสดุส่วนมากต้องจัดซื้อ ได้แก่

                   อุปกรณ์จับการเคลื่อนไหว ที่ประกอบด้วย sensor จำนวน ๕๐ – ๖๐ จุด ต่อ คน และ ต้องใช้ประกอบกับ กล้องจับภาพเคลื่อนไหว เพื่อทำmotion capture

                   อุปกรณ์ จอภาพติดศีรษะ

                   ปืนอินฟราเรด ที่ใช้ในการฝึกรูปร่างน้ำหนักเท่าของจริง

                   เครื่องคอมพิวเตอร์ความเร็วในการประเมินผลสูงที่จะเป็น server

                   เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้เป็นลูกข่าย

                   ชุดระบบ Local Area Network( LAN)

                   ชุดเครื่องฉายภาพ และฉากรับภาพ

๔ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและเอกสารอ้างอิง

                   นิตยสาร Defense technology, Program user manual ของ แต่ละโปรแกรม ได้แก่ 3D Studio  Max’s Manual  , Studio 9 Family’s Manual ,  Studio Central Library ‘s Manual ,  IRIS View Kit , Image Version , Cosmo player , Java Language , Open Inventor ,และ Prolog ‘

๕.ขอบเขตการวิจัย

                   การวิจัยจะเน้นหนักในการนำเอาการเคลื่อนไหว และปัจจัยต่างๆ ทั้งภาพ และเสียง ที่เหมือนจริงใส่ลงในโปรแกรมการจำลองสถานการณ์ และการกำหนดเงื่อนไขการทำงานของอาวุธที่มีอยู่จริงให้กับโปรแกรมดังกล่าวให้สามารภสร้างภาพ และเสียงรวมทั้งผลที่เกิดขึ้นในการฝึกให้ใกล้เครียงความเป็นจริงที่สุด รวมทั้งการใช้งานร่วมกัน  ๒ นาย ที่จะต้องมีการประสานการทำงานของอาวุธ และภาพที่จะสร้างขึ้นโดยผลขั้นสุดท้ายจะสามารถใช้ในการฝึกการใช้อาวุธ และการตอบสนองต่อสถานการณ์จำลองได้

๖.สมมติฐานการวิจัย

                   เมื่อเสร็จสิ้นการวิจัยแล้วคาดว่าจะสามารถใช้งานอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมาในการฝึกในขั้นต้นเป็นบุคคล หรือ ทีม ๒ นาย  ซึ่งสามารถที่จะทำการฝึกในภูมิประเทศที่ได้จำลองไว้ได้พบกับข้าศึกที่ได้ป้อนข้อมูลไว้จากฝ่ายการข่าว  และสามารถประมวลผลการใช้อาวุธ ความเร็วในการตอบสนอง ได้

๗.ระเบียบวิธีการวิจัย

                   การดำเนินการจะต้องจัดห้อง Studio

                        - ห้องสำหรับ Computer Graphic 3D Animation  -ขนาด ๕๐ ตรม.

                         - ห้องสำหรับทดลอง การใช้งาน  Simulation ๑๐๐ ตรม.

                         - ห้องประชุม สำหรับ ๕ คน และ ๑๖ คน

                         - ห้องขนาด ๒๐ ตรม. จำนวน ๒ ห้องเพื่อใช้ในการทดสอบส่วนต่างๆของโปรแกรม

                   ขั้นตอนการดำเนินการ

                        - กำหนดขอบเขตของ สถานการณ์ และภารกิจที่จะเกิดขึ้นในโปรแกรมการฝึก

                        - ออกแบบสภาพแวดล้อมจำลอง อุปสรรค์ สิ่งกีดขวาง 

                        - ออกแบบภาพ Graphic Animation

                        - เขียนโปรแกรมควบคุม Graphic

                        - ออกแบบห้อง Simulation

                        - ออกแบบ อาวุธ อินฟราเรด

                        - ทำ Sound Effect

                        - การทดลองเทคนิค Motion Capture

                        - การทดลองเกี่ยวกับอุปสรรค์ และสภาพแวดล้อม

                            - อุปสรรค มีชีวิต เช่น ข้าศึก พลเรือนในพื้นที่  สุนัข ทหารหน่วยข้างเคียง

                            - อุปสรรค ไม่มีชีวิต เช่น กับระเบิด ยานพาหนะ

                        - การ Synchronize  ระหว่าง อาวุธ กับเสียงและตำแหน่ง

                        - การ Synchronize ระหว่าง สภาพแวดล้อมจำลองกับ Motion Capture

                        - การ Synchronize ระหว่าง อาวุธ เสียงและตำแหน่งสภาพแวดล้อมจำลองกับ Motion Capture

                        - สภาพแวดล้อมจำลอง Motion Capture

                        - ทดลองใช้ในการฝึก

                        - ปรับปรุงแก้ไข

                        - ติดตั้งระบบในสถานที่จริง

                        - ทดสอบและปรับปรุงแก้ไข

                        - ติดตั้งระบบในสถานที่ที่จะใช้งาน

                        - ทดสอบและปรับปรุงแก้ไข

                        - ทดสอบขั้นสุดท้าย

๘.แผนงานในการดำเนินโครงการ

                   (อธิบายให้ชัดเจนว่าขั้นตอนการทำงานมีอะไรบ้าง จะทำอะไร เวลาเท่าใด อาจจะแสดงเป็นแผนปฏิบัติการ ตามขั้นตอน หรือใช้แบบฟอร์ม สวพ.กห.๑ - ๒ แผนภูมิขั้นตอนการดำเนินงาน)

๙.ความต้องการงบประมาณ

                   ๙.๑ รายละเอียดความต้องการงบประมาณ

                          ความต้องการงบประมาณรวม   ๑๖,๙๗๐,๒๑๙  บาท

                          ( รายละเอียดตามแบบฟอร์ม สวพ.๑-๓ รายละเอียดความต้องการงบประมาณ )

๑๐.การควบคุม กำกับและประเมินผล

                   การควบคุมกำกับ และประเมินผล จะทำเป็น ๒ ห้วง ต่อไปนี้ .-

                   ๑.ขั้นการออกแบบ และทำภาพ

                        ๑.๑ ขั้นการออกแบบ กราฟฟิค ของ สภาพแวดล้อม และ อุปสรรค์

                        ๑.๒ ขั้นการสนธิลักษณะที่จะเกิดขึ้นในเรืองภาพ และเสียงให้มีความสมจริง

                   ๒.กำหนดเงื่อนไข และใช้งานโปรแกรม

                        ๒.๑ การทดลอง  การใช้งานทั้งโดยการฝึกโดยกำลังพลจากหลายหน่วยและทำแบบสอบถามขึ้น เพื่อเป็นส่วนช่วยในการประเมินผล

๑๑. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                   สามารถประหยัดทรัพยากรที่ใช้ในการฝึกได้เป็นจำนวนมาก การสร้างสภาวะแวดล้อมที่สมจริงในการฝึก เช่น ข้าศึก และภูมิประเทศ ที่มีการสร้างขึ้นให้มีตัวตน และตอบโต้ได้ด้วยข้อมูลที่มีอยู่จริงจะ เพิ่มประสิทธิภาพให้กับส่วนปฏิบัติการของส่วนกำลังรบที่ใช้อุปสรรค์ดังกล่าว ในการฝึกช่วยให้การตรวจสอบประเมินผลการฝึกมีมาตรฐาน และสามารถติดตามผลได้ เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพของหน่วยในระยะยาว

๑๒. หน่วยที่จะนำผลวิจัยไปใช้

                   หน่วยกำลังรบเดินดินทุกหน่วย โดยเฉพาะหน่วยทหารราบ ชุดปฏิบัติการพิเศษ ชุดจู่โจม  สามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

๑๓. แนวความคิดในการขยายผล

                   โครงการดังกล่าวสามารถขยายจากการฝึกระดับบุคคลเป็นการฝึกระดับหมวดได้ โดยใช้หลักการเดียวกันเพียงแต่อาจต้องการงบประมาณ เช่น งบในการจัดซื้อ ชุดประจำบุคคล ซึ่งราคาประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาทต่อคน  และเทคโนโลยีบางอย่างเพิ่มเติมเล็กน้อย รวมทั้งในอนาคตอาจจะสามารถเชื่อมต่อกับระบบอำนวยการยุทธ์ของฝ่ายอำนวยการในการฝึกปัญหาที่บังคับการ (Command post exercise) ได้ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการฝึกของส่วนอำนวยการยุทธ์  และส่วนปฏิบัติ

๑๔.นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย

                   Motion capture  เป็นเทคนิคในการจับภาพโดยใช้  Sensor  ติดที่ตัวคน โดยที่ส่วนข้อพับ เคลื่อนไหว ต่าง ๆ โดยการเคลื่อนไหวจะถูกบันทึกด้วยกล้อง ที่สามารถจดจำโครงสร้างของร่างกายไว้ และส่งไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการสร้างภาพเคลื่อนไหว โดยข้อมูลเหล่านี้จะต้องมีการเขียนโปรแกรมอีกส่วนเพื่อควบคุมโครงสร้างที่มีอยู่

                   Motion Tracking คือ อุปกรณ์สำหรับกำหนดทิศทาง เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทราบว่ากำลังเคลื่อนไหว ไปในทิศทางใดซึ่งอุปกรณ์นี้สามารถที่จะติดได้หลายแห่ง เช่น ที่ศีรษะเพื่อให้ทราบว่าหันหน้าไปทางใด จึงได้มองเห็นภาพมุมนั้น หรือ ติดกับลู่กล (พื้นที่เลื่อนได้ เมื่อทีการเดินหรือวิ่ง ) เพื่อให้ทราบว่าเดินไปทางใด  ความเร็วเท่าใด

                   Virtual Reality  ลักษณะเป็นหน้ากากมีจอภาพ ขอบด้านล่างอยู่ในระดับสายตาซึ่งจะป้อนข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในรูปแบบภาพ ๓ มิติ  จะต้องใช้ร่วมกับ Motion Tracking

๑๕.คำชี้แจงเพิ่มเติม

                        ในขั้นสุดท้ายของการดำเนินงานจะได้โปรแกรมที่สามารถรองรับการฝึกได้  ๑๖ นาย แต่ อุปกรณ์ประจำบุคคลจะได้เพียง      ชุด     เนื่องจากไม่สามารถทำการผลิตได้เองต้องสั่งทำ  และซื้อ  ได้แก่ ( Virtual Reality และ ปืน อินฟราเรดที่มีลักษณะเหมือนจริง)   อุปกรณ์ดังกล่าวมีราคาต่อหน่วยค่อนข้างสูง แต่เมื่อเทียบผลที่จะได้รับอนาคตจะเป็นสิ่งที่เทียบกันมิได้ โครงการในลักษณะนี้ในหลายประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีก็ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาเพื่อใช้

                                               

                                                            ขอรับรองว่าถูกต้อง

 

                                                             (ลงชื่อ  )XXXXXXXXXXXXXXXX

                                                                    ตำแหน่ง   นายทหารโครงการ                                  

                                                                                                /   ธ.ค ./   ๔๔                                                                                  

 

 

 

 

 

 

Hosted by www.Geocities.ws

1