เหตุการณ์ก่อการร้ายสากลในประเทศไทย

ส่วนใหญ่เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เป็นการกระทำที่มุ่งร้ายต่อศัตรูของขบวนการก่อการร้ายต่าง ๆ โดยไทยมิได้เป็นเป้าหมายโดยตรง หรือแม้แต่เป้าหมายไทยในต่างประเทศ อย่างไรก็ดีเมื่อมีสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจ สถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศในไทยหลายชาติ มักขอความคุ้มครองจากทางการไทยเพื่อเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น สำหรับเหตุการณ์การก่อการร้ายสากลที่สำคัญ ๆ เกี่ยวข้องกับประเทศไทย มีดังนี้
 
๑.กรณียึดสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอล (๒๘-๓๐ ธ.ค.๒๕๑๕) กระทำโดยสมาชิกขบวนการก่อการร้ายปาเลสไตน์ อัลฟาตาห์ กลุ่ม BLACK SEPTEMBER บุกเข้ายึดสถานเอกอัครราชทูตประจำกรุงเทพฯ เมื่อ ๒๘ ธ.ค.๒๕๑๕ ซึ่งตรงกับวันสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และจับกุมบุคคลที่อยู่ในสถานเอกอัครราชทูตไว้เป็นตัวประกัน ๖ คน กับยื่นข้อเรียกร้องต่อทางการอิสราเอล ๓ ข้อ คือ ให้ปล่อยเชลยศึกชาวอาหรับ ๓๕ คน และนายเคโชโอกาโมโต สมาชิกองทัพแดงญี่ปุ่น (ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่อิสราเอลจับกุม) รัฐบาลไทยได้เข้าทำการเจรจาต่อรอง ผลปรากฎว่าผู้ก่อการร้ายยอมมอบอาวุธและปล่อยตัวประกัน ฝ่ายไทยจัดเครื่องบินพิเศษนำออกไปยังกรุงไคโร อียิปต์ ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น
๒.การปล้นยึดเครื่องบินจากฟิลิปปินส์มาลงไทย (๗-๑๓ เม.ย.๒๕๑๙) โดยผู้ก่อการร้ายขบวนการแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร (MORO NATIONAL LIBERATION FRONT OF MINDANAO)

๓ คน ปล้นยึดเครื่องบินโดยสารภายในประเทศจากฟิลิปปินส์เพื่อไปลงยังลิเบีย พร้อมด้วยผู้โดยสาร ๗๐ คน เป็นตัวประกันยื่นข้อเรียกร้องคือให้รัฐบาลฟิลิปปินส์จ่ายเงินค่าไถ่จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐฯ และให้เติมน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องบินกับทั้งขอให้ปล่อยตัวนักโทษการเมือง ๒ คน และผู้ต้องหาปล้นยึดเครื่องบินอีก ๒ คน เครื่องบินดังกล่าวได้แวะลงไทยเมื่อ ๙-๑๒ เม.ย.๒๕๑๙ หลังจากทางการฟิลิปปินส์จัดเครื่องบินมาเปลี่ยนให้แล้ว ได้เดินทางต่อไปยังลิเบียเมื่อ ๑๓ เม.ย.๒๕๑๙ โดยทางการลิเบียยินยอมให้ลี้ภัย และปล่อยเครื่องบินกับตัวประกันทั้งหมดกับประเทศ ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น
๓.การปล้นยึดเครื่องบินจากอินโดนีเซียมาลงไทย (๒๘-๓๑ มี.ค.๒๕๒๔) ผู้ก่อการร้ายขบวนการคอมมานโดญิฮาด (COMMANDO JIHAD MOVEMENT) ของอินโดนีเซียจำนวน ๕ คน ได้ปล้นยึดเครื่องบินโดยสารภายในประเทศเมื่อ ๒๘ มี.ค.๒๕๒๔ จากอินโดนีเซียเพื่อไปลงยังประเทศที่สาม (ศรีลังกา) และได้แวะลงที่กรุงเทพฯ ในวันเดียวกัน พร้อมทั้งยื่นข้อเรียกร้อง ๓ ข้อ ต่อรัฐบาลอินโดนีเซียคือ ขอให้ปล่อยนักโทษการเมือง ๘๔ คน ให้ประณามรองประธานาธิบดีอาดัม มาลิก และไม่ให้มีทหารอิสราเอลในกองทัพอินโดนีเซีย ต่อมาเมื่อการเจรจาต่อรองกับผู้ก่อการร้ายไม่เป็นผลหน่วยจู่โจมอินโดนีเซีย จึงเข้าทำการบุกยึดเครื่องบินคืนได้เมื่อ ๓๑ มี.ค.๒๕๒๔ โดยทางการไทยเป็นผู้ควบคุมปฏิบัติการ ผลปรากฎว่าผู้ก่อการร้ายเสียชีวิต ๔ คน ถูกจับกุมตัว ๑ คน เจ้าหน้าที่จู่โจมอินโดนีเซียเสียชีวิต ๑ คน ผู้โดยสารปลอดภัย เจ้าหน้าที่ประจำเครื่องบินเสียชีวิต ๑ คน

ครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรก ที่หน่วยปฏิบัตการพิเศษ กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ ของ ทหารอากาศหรือ คอมมานโดได้ทำงานในการชิงตัวประกัน ร่วม กับ กรมรบพิเศษที่ 5 ของอินโดนีเซีย
๔.กรณีระเบิดบริษัท เอ.อี.นานา (๒ ธ.ค.๒๕๒๕) ได้มีผู้นำระเบิดซ่อนไว้ในกระเป๋าเอกสารทิ้งไว้ในสำนักงานบริษัท เอ.อี.นานา ซึ่งเคยเป็นที่ทำการสถานกงสุลกิตติมาศักดิ์อิรักประจำกรุงเทพฯ และได้เกิดระเบิดขึ้นขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามจะนำกระเป๋าออกจากตัวอาคาร ทำให้อาคารของบริษัท เอ.อี.นานา พังถล่มลงมา เจ้าหน้าที่ตำรวจไทยเสียชีวิต ๑ คน บาดเจ็บ ๑๗ คน ต่อมาเมื่อ ๓ ธ.ค.๒๕๒๕ ได้มีโทรศัพท์ไปยังสำนักข่าว AFP ในกรุงปารีส อ้างว่าขบวนการปฏิบัติการอิสลามแห่ง อิรัก (IRAQI ISLAMIC ACTION ORGANIZATION) เป็นผู้วางระเบิด เนื่องจากสถานที่ดังกล่าวเป็นตัวแทนในการรักษาผลประโยชน์ของอิรักในไทย
๕ การปล้นยึดเครื่องบินจากไทยไปลงแอลจีเรีย (๕-๒๐ เม.ย.๒๕๓๑) ผู้ก่อการร้ายซึ่งเชื่อว่าเป็นสมาชิกขบวนการฮิชบอลลาห์ (HIZBALLAH) จำนวน ๖-๘ คน ได้ปล้นยึดเครื่องบินโดยสารของสายการบินคูเวตจากกรุงเทพฯ ไปลงในเมืองมาชาตในอิหร่านเมื่อ ๕-๘ เม.ย.๒๕๓๑ พร้อมด้วยผู้โดยสารและลูกเรือ ๑๑๒ คน รวมทั้งเชื้อพระวงศ์ของคูเวต ๓ คน เป็นตัวประกันกับเรียกร้องให้รัฐบาลคูเวตปล่อยตัวนักโทษชาวมุสลิมชีอะห์ ๑๗ คน ที่ถูกคุมขังอยู่ในคูเวตข้อหาขับรถยนต์บรรทุกระเบิดพุ่งเข้าชนสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา และวางระเบิดสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสรวมทั้งเป้าหมายอื่น ๆ อีก ๔ แห่ง ในคูเวตเมื่อ ๑๒ ธ.ค.๒๕๒๖ เมื่อการเจรจาต่อรองไม่เป็นผล ผู้ก่อการร้ายจึงนำเครื่องบินออกจากอิหร่านไปลงที่ไซปรัสเมื่อ ๘-๑๒ เม.ย.๒๕๓๑ และที่แอลจีเรียเมื่อ ๑๒-๒๐ เม.ย.๒๕๓๑ หลังจากที่ทางการแอลจีเรียจัดเครื่องบินพิเศษนำออกไปยังกรุงเบรุต เลบานอน มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ๒ คน เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของคูเวต
๖.การลอบสังหารเลขานุการตรี สอท.ซาอุดิอาระเบีย เมื่อ ๔ ม.ค.๒๕๓๒ คนร้ายลอบสังหารนาย SALEH AL-MALIKI เลขานุการตรี สอท.ซาอุดิอาระเบีย/กท. ที่ ซ.พิพัฒน์ ๑ บริเวณหน้าบริษัทกิจเจริญอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ถ.สาธรใต้ เขตบางรัก กท. ใช้อาวุธปืน ๖.๓๕ มม. ซึ่งกลุ่ม THE SOLDIERS OF JUSTICE (TRUTH) กับกลุ่ม ISLAMIC JIHAD อ้างความรับผิดชอบ ซึ่งเคยปรากฏข่าวสารว่ากลุ่มอาบูนิดาล (ABU NIDHAL ORGANIZATION/ANO) อาจเป็นผู้กระทำ เพราะห้วงปี ๒๕๓๑-๓๒ กลุ่ม ANO ได้ใช้ชื่อในการปฏิบัติการว่า SOLDIERS OF TRUTH ในการปฏิบัติการในประเทศต่าง ๆ หลายครั้ง
๗.นักศึกษาพม่าจี้เครื่องบินมาลงที่อู่ตะเภา๖ ต.ค.๓๒  นักศึกษาพม่า ๒ คน จี้เครื่องบินของสายการบินพม่า ซึ่งบินจากเมืองมะริดมาลงที่อู่ตะเภา จ.ระยอง เมื่อ ๖ ต.ค.๓๒ เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า ต่อมา พล.อ.เทียนชัย สิริสัมพันธ์ รอง นรม. ในขณะนั้นได้เจรจาต่อรองในที่สุดผู้ต้องหายอมมอบตัว
๘. นักศึกษาพม่าจี้เครื่องบินสายการบินไทย นักศึกษาพม่า ๒ คน จี้เครื่องบินของสายการบินไทย เส้นทาง กท.-ย่างกุ้ง ออกจาก กท.ไปลงที่เมืองกัลกัตตาในอินเดียเมื่อ ๑๐ พ.ย.๓๒ เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า และให้ปล่อยนักโทษการเมือง วันต่อมาได้ยอมจำนนกับทางการอินเดีย
๙ คนร้ายขับรถบรรทุกระเบิด C-๔ เมื่อ ๑๑ มี.ค.๓๗ คนร้ายขับรถบรรทุก ๖ ล้อ บรรทุกระเบิดแสวงเครื่องขนาดใหญ่อยู่ในแท้งค์น้ำ ประกอบด้วย แอมโมเนียไนเตรด, ระเบิดซี ๔ ขนาด ๒ ปอนด์ ๒ ลูก, เชื้อปะทุ ๑๐ ดอก และแท่งดินระเบิดซี ๔ ขนาด ๑/๔ ปอนด์ ๓ แห่ง, มีเชื้อปะทุ ๖ ดอก ขณะคนร้ายขับรถออกจากที่จอดห้างเซ็นทรัล และเลี้ยวซ้ายมุ่งไปทางสี่แยกเพลินจิต-ชิดลม ได้ประสบอุบัติเหตุชนกับรถ จยย. และคนร้ายได้หลบหนีไป ต่อมา ตำรวจจับกุมผู้ต้องสงสัยชาวอิหร่านได้ ๑ คน ส่งฟ้องศาล แต่ในที่สุดศาลฎีกาได้กลับคำพิพากษาให้ยกฟ้อง เมื่อ ๑๘ ก.พ.๔๑
๑๐ นักศึกษาหัวรุนแรงพม่ายึดสถานเอกอัครราชทูตพม่า เมื่อ ๑ ต.ค. ๔๒ ตรงกับวันที่ นายวิลเลี่ยม โคเฮน รมต.กลาโหมสหรัฐเดินทางมาเยือนไทย นักศึกษาพม่า ๕ คนได้บุกเข้ายึดสถานเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทย และจับกุมตัวประกันไว้กว่า ๓๐ คน พร้อมกับยื่นข้อเรียกร้อง ๓ ข้อต่อรัฐบาลพม่า คือ (๑) ปล่อยตัวนักโทษการเมืองทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข (๒) เปิดการเจรจากับคณะกรรมมาธิการสภาผู้แทนประชาชน (๓) ร่วมมือกับสมาชิกสภาผู้แทนประชาชนจัดตั้งรัฐบาลผสม ผลปรากฎว่า รัฐบาลไทยจัดเฮลิคอปเตอร์ กับตัวประกันสำคัญ คือ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร รมช.ต่างประเทศไปส่งลงบริเวณพื้นที่บ้านแม่เพี้ยเล็ก ซึ่งเป็นพื้นที่อิทธิพลของกะเหรี่ยงเคเอ็นยู หรือกะเหรี่ยงคริสต์ ไม่มีการสูญเลือดเนื้อใดๆ

ผบ.เหตุการณ์ขณะนั้นคือ พล.ต.สนั่น ขจรประสาท โดยตั้ง บก.เหตุการณ์ที่ ตึกของบริษัท บายเออร์

เหตุการณ์นักศึกษาพม่าบุกยึดสถานฑูตพม่าประจำประเทศไทย สรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังนี้
ห้วงเวลา : 1-2 ตุลาคม 2542
เงื่อนไข : กลุ่มก่อการร้ายเรียกร้องต่อรัฐบาลพม่า คือ
1. ปล่อยนักโทษการเมืองทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข
2. เปิดการเจรจากับคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนประชาชน
3. ร่วมมือกับสมาชิกสภาผู้แทนประชาชนจัดตั้งรัฐบาลผสม หากว่ารัฐบาลทหารพม่า ไม่ยอมทำตามข้อเรียกร้อง จะไม่รับผิดชอบต่อการกระทำทุกอย่าง

บทเรียนจากการปฏิบัติการ

1.    การตั้ง บก.เหตุหารณ์ที่ติด ที่หมายมากเกินไป

2.    ขาดการควบคุม และการจัดการที่..ไม่มีการกั้นเขตวงรอบ เจ้าหน้าที่ ตร.ท้องที่ขาดความรู้ ในการดำเนินการ

3.    ขาดการประสานงานและการทำความเข้าใจกับสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสาร

4.    ผบ.เหตุการณ์ไม่มีความรู้ ในการปกิบัติการ ของ นปพ. และความเข้าใจในสถานการณ์เพียงพอ

๑๑ กองกำลังทหารกะเหรี่ยง กลุ่ม "ก็อดอาร์มี่" ยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี เมื่อ ๒๔-๒๕ ม.ค. ๔๓ ทหารกะเหรี่ยง กลุ่ม "ก็อดอาร์มี่" ๑๐ คนได้บุกเข้ายึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี อ.เมือง จังหวัดราชบุรี และได้จับกุมตัวประกัน ซึ่งมีทั้งคนไข้ แพทย์และพยาบาล พร้อมยื่นข้อต่อรองให้รัฐบาลทหารพม่ายุติการปราบปรามชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดนไทย-พม่า รัฐบาลไทยได้จัดการขั้นเด็ดขาด โดยการสนธิกำลังหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายสากลระหว่างทหารและตำรวจ เข้าช่วยเหลือตัวประกัน ผลปรากฏว่า ตัวประกันปลอดภัย หน่วยต่อต้านการก่อการร้ายสากลได้รับบาดเจ็บ ๘ นาย ผู้ก่อการร้าย ๑๐ คนเสียชีวิตทั้งหมด

เหตุการณ์กองกำลังทหารกะเหรี่ยง กลุ่มก็อตอามี่ บุกยึดโรงพยาบาลราชบุรี
ห้วงเวลา : 24-25 มกราคม 2543
เงื่อนไข : กลุ่มก่อการร้ายเรียกร้องต่อรัฐบาลพม่า คือ ให้รัฐบาลพม่ายุติการปราบปรามชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน ไทย - พม่า

สิ่งที่ได้จากการปฏิบัติ

·     พิมพ์เขียวสถานที่สำคัญควร มีการรวบและปรับปรุงให้ทันสมัย

·     เหตุการณ์ นี้ทำให้รัฐบาลมองเห็นความสำคัญของการมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษที่มีตุณ ภาพ ซึ่งก่อนหน้านี้หน่วยรองได้ของบประมาณในการปรุงและ การฝึก แต่ขาดความเอาใจใส่การหน่วยงานระดับสูงเท่าทีควร  มีการตีดทอนงบประมาณเป็นจำนวนมากไปใข้ประโยชน์ในด้านอื่น

·     เครื่องแต่งกายในการปฏิบัติและอุปกรณ์ได้รับการอรุมิติงบประมาณในการจัดซื้อ หลังจากการปฏิบัติการครั้งนี้

 

 

กลับสู่หน้าหลัก

 


------------------------

Hosted by www.Geocities.ws

1