อาวุธต่อสู้อากาศยานแบบ SAM 7

The SA-7 GRAIL (Strela-2) man-portable, shoulder-fired, low-altitude

เป็น อาวุธต่อสู้อากาศยาน ระดับต่ำระบบอาวุธจรวดพื้นสู่อากาศ ชนิดนี้คล้ายกับ ระบบของจรวดต่อสู้อากาศยาน เรดอาย ของสหรัฐ

ที่มีหัวรบเป็นวัตถุระเบิดแรงสูง และ มีระบบค้นหาเป้าหมายด้วยรังสีความร้อน โดยที่ จีนได้ปรับปรุงออกมาเป็น จรวดแบบ NH 5 ( Hong Nu แปลว่า ลูกเชอรี่สีแดง ).SA-7 เป็นอาวุธ พื้นสู่อากาศแบบนำพาโดยบุคคลรุ่นแรก จุดอ่อน ของจรวดชนิดนี้คือ ตัวจรวดอาจจะ พลาดเป้าเนื่องจากความร้อนจากดวงอาทิตย์ หรือความร้อนจากพื้นดินเมื่อใช้ในพื้นที่ภูเขา

 ระบบค้นหาเป้าหมายของ SA-7 มีระบบการกรอง เพื่อที่จะลด ประสิทธิภาพของ Flare ที่ใช้ลวงระบบอาวุธ  

ระบบประกอบด้วย

๑.ตัวจรวด(9K32 & 9K32M),

๒.ตัวท่อยิง (9P54 & 9P54M),

๓.แบตเตอรี่ (9B17).

๔.ระบบพิสูจน์ฝ่าย ที่สามารประกอบกับ หมวกเหล็ก ของผู้ทำการยิงได้

ส่วนประกอบอื่น ที่ มักจะขายแยก คือ

ระบบเสาอากาศ a passive RF antenna และหูฟังเพื่อ ช่วยในการแจ้งเตือนการเข้ามาของข้าศึก ถึงแม้ว่า SA 7 จะมีขีดจำกัดเรื่อง ระยะ และความสูง แต่มันก็ทำให้นัก บินที่พยามบินต่ำเพื่อที่จะหลบการตรวจจับของเรดาห์ต้องบินสูงขึ้นจนเรดาห์ สามารถตรวจจับได้  และถูกสกัดกั้นด้วย เครื่องบินขับไล่ หรือ อาวุธจรวดนำวิถีที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ที่อยู่ลึกเข้าไปในพื้นที่เขตหลังของข้าศึก .

ระบบอาวุธ SA 7 a(9K32 Strela-2)  เข้าประจำการในปี คศ ๑๙๖๙  แต่ก็ถูแทนที่ด้วย SA 7 b (9K32M Strela-2M) ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กันทั่วไป ข้อแตกต่างของรุ่น บี ที่ต่างจาก เอ หลัก คือ ดินขับที่ช่วยเพิ่มระยะและความเร็วของจรวด ระยะยิง ของรุ่นเอ จะอยู่ที่ ๓.๖ กม. ความสูงระหว่าง 15-1500 ม. หรือ ประมาณ 45-4500 ฟิต ที่ความเร็ว  ๔๓๗ ม ต่อวินาที หรือ ๑.๔ มัค  รุ่น บี จะอยู่ที่ ๔.๒ กม. ความสูงระหว่าง 15-2300 ม. หรือ ประมาณ 45-6900 ฟิต ที่ความเร็ว  ๕๐๐ ม ต่อวินาที หรือ ๑.๗๕  มัค  ทั้งสองรุ่น ใช้ระบบไล่ติดตามเป้าหมายด้วย ความร้อนจากท่อสันดาปท้ายของอากาศยาน

ในการเผชิญหน้าระหว่างปากีสถานและอินเดีย อินเดียมีความเหนือกว่าด้านอากาศยานถึง ๓ ต่อ ๑ แต่ อาวุธต่อสู้อากาศยานตระกูลเดียวกันนี้ ให้ความมั่นใจกับปากีสถานในการเผชิญหน้ากัน จรวด ANZA  MKI ,มีระยะยิงอยู่ที่ ๔.๒ กม. เข้าประจำการในกองทัพปากีสถานเมื่อปี คศ.๑๙๙๐ โดย เมื่อ ๒๖ พ.ค. ในปีเดียวกันนั้น มีเหตุการณ์ พิพาทย์กับอินเดีย  ปากีสถานสามารรถสอย MIG 21 และ MIG 27 ได้อย่างละหนึ่งลำในการบินล้ำน่านฟ้า

ในส่วนของอียิปต์ ได้มีการปรับปรุง ระบบอาวุธ Ayn as Saqr (เป็นSAM-7 อีกรุ่นหนึ่ง )และ Tayir as Sabah (เป็นSAM-2อีกรุ่นหนึ่ง )S  โดยรุ่นที่ปรับปรุงใหม่มีน้ำหนักเบากว่า สามารถติดตั้งได้บนยานรบได้เกือบทุกชนิด รวมทั้งสามารถ ติดตั้งระบบพิสูจน์ฝ่ายและ กล้องตรวจการเวลากลางคืน ได้

ขีดจำกัดทางยุทธวิธี

๑.     การเก็บรักษาจะต้องเก็บใน ที่ที่มีการควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ ทำให้ การนำพาถูกจำกัด  การที่นำออกมาอยู่ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูงหรือมีความร้อนสูงนานจะส่งผลถึงอายุการใช้งานที่ลดลง ซึ่งโดยปกติอายุการใช้งานของ แบตเตอร์รี่ จะไม่เกิน ๑๕ ปี หากเก็บอยู่ในที่ที่ไม่เหมาะสม ก็อายุการใช้งานก็จะสั้นลง ดังนั้น ตามที่มีข่าวว่าชนกลุ่มน้อย ในพม่าโดยเฉพาะกลุ่มว้า มีไว้ในครอบครองนั้น ส่วนมาเป็นอาวุธที่เหลือมาจากสมัยรบกับขุนส่า บางส่วนอาจจะหมดอายุแล้ว แต่ว่าก็เชื่อว่ามีบางส่วนที่นำเข้ามาใหม่จากจีน แต่ก็คาดว่ายังคงต้องเก็บไว้ใช้ในพื้นที่ที่เป็นจุดสำคัญ คงจะไม่ใช่อยู่ตามฐานย่อย ที่ไกลจากตัว พื้นที่ บก.หลัก  ที่ที่คาดว่าต้องมีหนีไม่พื้น พื้นที่เมืองยอน

๒.    การยิงอาวุธต่อสู้ อากาศยานแบบนำพาด้วยบุคคล จะต้องอยู่ในพื้นที่ เปิดเพื่อให้สามารถตรวจการณ์ได้ ไม่สามารถยิงใน หลุมบุคคล หรือ ยิงในท่านอนหรือนั่งและมุมในการทำการยิงจะต้องมากว่า ๑๕ องศา กับพื้น ทำให้พลยิง สามารถถูกตรวจการณ์พบด้วยกำลังภาคพื้นดิน ดังนั้นการสนธิกำลังภาคพื้นดินเพื่อช่วยทำลายอาวุธต่อสู้อากาศยานจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะลดอันตรายกับอากาศยานได้  

๓.    การฝึกการใช้งานจะต้องมีการเรียนรู้พอสมควร ดังนั้น ข้อจำกัดคือหากไม่ได้รับการฝึกที่ถูกต้องและต่อเนื่อง ก็จะส่งผลในการอาวุธดังกล่าวลดประสิทธิภาพลงไป

คุณลักษณะ

ประจำการครั้งแรก  

1972

ภูมิภาคที่มีใช้

เกือบทุกภูมิภาค ,รวมทั้ง UWSA , MTA, พม่า ลาว

 พลยิง

1

ชื่อเครื่องยิง

9P54M

ความยาว (m)

1.47

เส้นผ่านศูนย์กลาง (mm)

70

น้ำหนัก (kg)

4.71

Reaction Time

5-10 seconds (acquisition to fire)

ชื่อตัวลูกจรวด

9M32M

ระยะยิงไกลสุด

5,500 meters

ระยะยิงใกล้สุด

500 meters

 เพดานบิน สูงสุด

4,500 meters

เพดานบินต่ำสุด

18 meters

ความยาว (m)

1.40

 เส้นผ่านศูนย์กลาง (mm)

70

น้ำหนัก  (kg)

9.97

ความเร็ว (m/s)

580

แรงขับเคลื่อน

เชื้อเพลิงแข็ง

ระบบนำวิถี

Passive IR homing device (operating in the medium IR range)

มุมในการติดคามเป้าหมาย

1.9องศา

Tracking Rate

6/sec

ชนิดหัวรบ

HE

น้ำหนัก หัวรบ (kg)

1.15

ชนิด ขนวน

Contact (flush or grazing)

 การทำลายตัวเอง (sec)

15

ระบบควบคุมการยิง

มีกล้องเล็ง และ ติดอยู่ที่เครื่องยิง พลยิงวินิจฉัยและติดตามเป้าหมายด้วยสายตาหมาย.

รุ่นต่างๆของ SA 7

SA-N-5 Naval version
HN-5A Chinese version
Strela 2M/A Yugoslavian upgrade
Sakr Eye Egyptian upgrade
 รุ่นนี้สามารถติดตั้งบนยานพาหนะ มีทั้งชนิด ๔, ๖ ,และ ๘ ท่อยิง รวมทั้งสามารถติดตั้งกับ เฮลิคอปเตอร์ได้ (Mi-24, S-342 Gazelle)

 

 รูป จรวดต่อสู้อากาศยานนำพาโดยบุคคลแบบ SA- 7

อาวุธต่อสู้อากาศยานแบบ SA 7

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กลับสู่หน้าหลัก

Hosted by www.Geocities.ws

1