การรบประชิด

CLOSE QUARTER BATTLE

 

ความหมาย

                การรบประชิดเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติการในการช่วยเหลือตัวประกัน และการปฏิบัติการในพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง ซึ่งมาจากคำว่า CLOSE QUARTER BATTLE คือการสู้รบในพื้นที่จำกัด โดยปกติแล้วจะหมายถึงที่มั่นที่มีฝ่ายตรงข้ามอยู่ ไม่ว่าจะเป็นอาคารยานพาหนะสถานที่สิ่งก่อสร้าง ส่วนใหญ่จะมีระยะในการ ใช้อาวุธตั้งแต่ 5-25 เมตร ตามมิติของสิ่งก่อสร้างนั้น ๆ โดยการรบประชิดนั้นจะต้องอาศัยทักษะการใช้อาวุธระยะใกล้เป็นอย่างมาก รวมทั้งจะต้องมีปฏิกิริยาตอบสนองประกอบกับการวินิจฉัยเป้าหมายอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการทำงานเป็นชุดที่สอดคล้องกัน

การใช้งานของหน่วยจู่โจม

กล่องข้อความ:              หน่วยจู่โจมมีความจำเป็นในการ ใช้เทคนิคในการรบประชิดในสถานการณ์การรบในพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง หรือการเข้าปฏิบัติ ในที่หมายที่เป็นอาคาร สิ่งก่อสร้างเช่น อาคารท่าอากาศยาน

สนาบบิน ศูนย์โทรคมนาคม ที่ตั้ง เรดาห์ อาคารกองบัญชาการ ที่บังคับการ รวมทั้งในที่มั่นดัดแปลงแข็งแรง

หลักการ

1.                   Surprise                 การจู่โจม

2.                   Speed                     ความเร็ว

3.                   Momentum          ความหนุนเนื่อง

4.                   Accuracy              ความแม่นยำ

5.                   Team Work          การทำงานร่วมกัน

 

ลำดับขั้นในการปฏิบัติ

1.       การโจมตี       (Fight through)

2.       การตรวจค้น  (Fight Back)

3.       การวางกำลัง  (Re – Organize)

4.       การถอนตัว  (WithDraw)

 

 

 

1.    การโจมตี       (Fight through)

-          เริ่มตั้งแต่เข้าสู่ที่หมาย (strong hold) ชุดปฏิบัติการจะทำการค้นหาและทำลายข้าศึกในที่หมาย หากเป็นสถานการณ์ที่มีตัวประกันในการต่อสู้การก่อการร้าย ก็จะทำการค้นหาและช่วยเหลือตัวประกัน และกำจัดควบคุมเป้าหมาย (ผู้ก่อการร้าย)ในพื้นที่ที่รับผิดชอบอย่างรวดเร็ว โดยการยิงประกอบการวินิจฉัยเป้าหมาย หากเป็นสถานการณ์ที่ต้องการค้นหายุทโธปกรณ์สำคัญ ก็จะปฏิบัติ พร้อมกันกับการทำลายข้าศึกด้วย

2.       การโจมตีกลับ, ตรวจค้น  (Fight Back)

-          เริ่มเมื่อที่หมายได้ถูกโจมตีผ่านแล้ว โดยชุดปฏิบัติการจะเข้าไป clear  ในพื้นที่ที่โจมตีผ่าน

ไปแล้วอีกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถควบคุมพื้นที่รับผิดชอบได้ทั้งหมด โดยมีการปฏิบัติสำคัญ เช่นการ CHECK DEATH ข้าศึก หรือ ผู้ก่อการร้าย

3.       การวางกำลังหรือปรับกำลัง  (Re – Organize)

ในห้วงนี้ชุดปฏิบัติจะทำการวางกำลัง เพื่อควบคุมพื้นที่รับผิดชอบ โดยชุดจะต้องทำการสำรวจ

สถานภาพตัวประกัน, ผู้ก่อการร้าย และกำลังฝ่ายเรา

4.       การถอนตัว  (With – Draw)

เมื่อทำการสำรวจและรายงานสถานภาพเรียบร้อยชุดปฏิบัติการจะต้องคอยคำสั่งการถอนตัว

เว้นแต่มีการปฏิบัติฉุกเฉินตามแผนที่วางไว้

การกวาดล้าง CLEARING

                คือ การปฏิบัติเพื่อควบคุมพื้นที่ที่รับผิดชอบนั้น ๆ โดยการใช้หลักการรบประชิด เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามในพื้นที่ถูกกำจัดหรือถูกควบคุม โดยไม่ต้องทำลายสิ่งก่อสร้างสถานที่นั้นทั้งหมด โดยกำลังปฏิบัติต้องควบคุมพื้นที่รับผิดชอบได้ทั้งหมด

                โดยทั่วไปการกวาดล้างจะเป็นการปฏิบัติ ณ. ที่หมายเพื่อให้มีชัยชนะโดยเด็ดขาดในพื้นที่นั้น ๆ ในขั้นตอนนี้ก็คือ การตะลุมบอนในการเข้าตีในการรบตามแบบ ซึ่งจะใช้หลักการเดียวกัน แต่ต่างกันที่ลักษณะของที่หมาย การกวาดล้าง (Clearing)

                ที่กล่าวถึงต่อไปนี้จะไม่มีเงื่อนไขตัวประกัน โดยหลักการที่ใช้ก็จะเหมือนกันเพียงแต่ถ้าเป็นการกวาดล้างในภารกิจที่ต้องทำลายกำลังฝ่ายตรงข้ามก็จะใช้อาวุธที่หนักกว่าไม่จำเป็นต้องระมัดระวังในการเลือกเป้าหมาย เพราะทุกชีวิตในที่หมายคือ ข้าศึก แต่หากมีเงื่อนไขตัวประกันก็จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไป

 

 

 

 

การกวาดล้างห้อง (ROOM CLEARING)

                ในการปฏิบัติ ณ. พื้นที่สิ่งปลูกสร้างขอบเขตทั่วไปก็จะแบ่งเป็นห้องซึ่งการกวาดล้างห้องจะเป็นพื้นฐานของการกวาดล้างอาคารต่อไป

                รูปแบบการกวาดล้างของหน่วยปฏิบัติการพิเศษมีหลากหลายรูปแบบ โดยที่จะกล่าวถึงเป็นพื้นฐานของผู้ปฏิบัติการทุกนายที่เริ่มการฝึกการรบประชิด

การเข้าห้อง (ROOM ENTRY)

                การเข้าห้องนั้น ก่อนจะเข้าห้องควรจะมั่นใจว่าฝ่ายตรงข้ามที่อยู่ภายในไม่คาดคิด หรือทำอย่างไรก็ได้ให้ฝ่ายตรงข้ามไม่พร้อมที่จะทำการต่อสู้ ต้านทาน  ถ้าเป็นการกวาดล้างเพื่อทำลาย การใช้ระเบิด, อาวุธหนัก ก่อนที่จะเข้า เป็นวิธีที่พึงประสงค์ที่สุด หากเป็นการปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือบุคคล อาจจะใช้ Flash bang หรือวิธีการเข้าสู่ที่หมายอื่น ๆ (MOE) ซึ่งจะกล่าวถึงในโอกาสต่อไป การเข้าห้องโดยทั่วไปจะมี 2 รูปแบบ

1.       การเข้าแบบกลัดกระดุม

2.       การเข้าแบบไขว้ หรือแบบกรรไกร

 

1.      การเข้าแบบกลัดกระดุม

เป็นการเข้าโดยไม่ตัดทางกันในระหว่างเข้า และในระหว่างนั้นทำการลดเป้าหมายของตนเอง

ลงโดยใช้เทคนิคการวางเท้า

 

                                                    1                                          2

                

                                            1                                                             2

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2.      การเข้าแบบไขว้

 

                                                1                                          2

 


                                    

                                     2                                                        1                                              

 

 

ข้อดีของการเข้าแบบนี้คือ ผู้ปฏิบัติจะได้เห็นพื้นที่รับผิดชอบตนเองก่อนเข้านานกว่า การเข้าแบบที่ ๑ เล็กน้อย

สำหรับการฝึกขั้นพื้นฐาน ควรใช้แบบกลัดกระดุม เพื่อลดอันตรายจากการตัดทางปืน

 

การปฏิบัติการกวาดล้างห้อง

                เทคนิคการกวาดล้างห้องมีหลายรูปแบบแต่รูปแบบที่นิยมในการฝึกเบื้องต้นคือ BLOCK FORMATION คือ การเข้าไปวางตัว และกวาดล้างด้วยการยิงขั้นต้นก่อนแล้วจึงเคลื่อนที่เพื่อโจมตี (Fight through)

                อีกรูปแบบคือ  FLUID หรือแบบเคลื่อนที่ประกอบการโจมตี (Fight through) ซึ่งรูปแบบที่เคลื่อนที่ประกอบการโจมตีนั้นจะมี ข้อดีคือ ไม่ตกเป็นเป้านิ่ง ดำรงความหนุนเนื่อง แต่หากผู้ปฏิบัติไม่รับการฝึกที่ดีพออาจจะเป็นอันตรายกับฝ่ายเดียวกัน รวมทั้งในการปฏิบัตินั้นไม่มีแบบที่แน่นอน ตายตัว ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความอ่อนตัว และสามารถริเริ่ม ได้ตามความเหมาะสม แต่การฝึกปฏิบัติจะต้องใช้รูปแบบเพื่อเป็นพื้นฐาน เมื่อผู้รับการฝึกผ่านการฝึกขั้นต้นแล้ว และมีการฝึกเข้ากับปัญหาภาคสนามที่ซับซ้อนมากขึ้นก็จะสามารถนำไปดัดแปลงใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

การฝึกพื้นฐาน

                การปฏิบัติงานในการกวาดล้างขั้นต่ำที่พึงประสงค์จะต้องใช้ 2 นายขึ้นไป เพื่อสามารถช่วยเหลือกันได้ในหลาย ๆ กรณี ฉะนั้นการฝึกการกวาดล้างจะเริ่มที่ชุด 2 คน และเพิ่มเป็น 4, 6 ตามลำดับ ก่อนที่จะไปเข้าฝึกในระดับชุด เพื่อให้เกิดทักษะพื้นฐาน

 

 

 

 

ก.        การฝึกการใช้ชุด 2 คนกวาดล้าง

การเคลื่อนที่เข้าสูทางเข้า Approach

1.            

 
คนที่นำจะต้องพร้อมใช้อาวุธ, ปลดเซฟ, ปืนชี้ในทิศทางเข้า การเข้าจะต้องไม่อยู่ใน

แนวทางเดินช่องทางเข้า

  พื้นที่อันตราย

 
 

 

 

 

 

 

 


2.             เมื่อพบประตู คนที่เห็นประตูให้ระวังป้องกันที่ช่องทางเข้า โดยตะโกนคำว่า “คุม

ประตู” หรือ “COVER” คนที่อยู่ด้านหลังผ่านหรืออ้อมคนที่ COVER ประตูไว้ โดยการชี้ปืนเข้าหาประตูตลอดเวลา และเตรียมเข้าทำการเปิดประตู, เตรียมระเบิด, MOE

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


3.             เมื่อถึงประตู หมายเลข 1 และ 2 ประสานกันให้สัญญาณในการเปิด

- เมื่อเปิดประตูแล้วก็ขว้างระเบิด (ถ้ามี) โดยการ COOK OFF 2 วินาที โดยให้ระวัง

สิ่งกีดขวางภายในห้อง โดยจะต้องเว้นระยะให้ระเบิดทำงาน 1-2 วินาทีก่อน

- ถ้าขว้าง FLASH BANG ให้ขว้างขึ้นบนในแนว 45 องศา

- คนที่ระวังป้องกันประตูอยู่จะเข้าก่อนสามารถยิงที่หมายที่ปรากฎได้ทันที

- คนเปิดประตูเข้าตามยิงเป้าหมายตามเหตุการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบ

ข.       การปฏิบัติการ Fight through (การโจมตี)

1.       ไม่ขวางทางเข้าประตู, ไม่รีบร้อนลนลานตื่นเต้น, ห้ามวิ่ง กระโดด โดยไม่จำเป็น

2.       ไม่เข้าลึกจนเกินไป

3.       คนที่เข้าอยู่ด้านประตูเปิดจะต้องเข้าชิดประตู

4.       เมื่อทำการยิงที่หมายที่ปรากฏเรียบร้อย

หมายเลข  1   ตะโกนคำว่า clear เรียบร้อย

หมายเลข  2                                     เรียบร้อย

                       ยืนตรวจการด้านหน้าด้านหลัง

                                - การตรวจการณ์ เริ่มจากพื้นไกลสุดมาใกล้สุด

                                                - ตรวจการณ์ด้านหลัง

                                                -    เพดานจากใกล้ไปไกล (โดยเฉพาะการรบในพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง)

                       การตรวจการต้องตรวจอย่างเร็ว แต่ รอบคอบ        

                การเคลื่อนที่กวาดล้าง (ADVANCE)

ก.       ผู้ปฏิบัติจะให้สัญญาณกันโดยใช้คำว่า “go” เคลื่อนที่ตรวจตามจุดอับต่าง ๆ ในห้อง

นั้นๆ

-    สายตากับแนวปืนจะต้องไปพร้อมกัน

-    การประสานกันของทั้ง 2 นายจะต้องมีเป็นอย่างดี

-    นึกเสมอว่าห้องยังไม่ปลอดภัย อาจมีข้าศึกหลงเหลืออยู่

-    ต้องใช้ความรวดเร็วและรอบคอบ

ค.        เมื่อเคลื่อนที่ไปจนสุด ก็จะทำการตรวจด้น (โจมตีกลับ) (Fight Back)

 

 

 

 

 

ง.        การตรวจค้น (Fight Back)

1.           ตรวจเพดานผนังพื้นให้ความสนใจกับรอยแตกขนาดใหญ่ เพราะอาจเป็นทางหรือที่ที่

ฝ่ายตรงข้ามซ่อนตัวอยู่ หรือเข้ากลับมาโจมตีฝ่ายเรา (โดยปกติจะเน้นในกรณีการรบในพื้นที่ที่สิ่งปลูกสร้าง  ที่ข้าศึกมีเวลาในการเตรียมที่หมาย )

2.           การตรวจสอบ ข้าศึก ว่าตายหรือไม่ (CHECK DEATH)

3.           เมื่อเคลื่อนที่กลับมายังจุดเริ่มโจมตี ให้สัญญาณว่าห้องนี้ถูกตรวจค้น เรียบร้อยแล้ว

ตะโกนคำว่า Clear (เรียบร้อย)

จ.        การถอนตัว

การออกนอกห้องกรณีที่มีการระวังป้องกัน, มีการปฏิบัติหลายทีมก่อนออกให้คนที่จะออก

ก่อนตะโกนคำว่า “พร้อมออก, พร้อมออก” คนที่ COVER อยู่ ต้องตะโกนคำว่า “ออกได้” จึงจะออกได้

* ในการปฏิบัติงานอาจจะไช้วิธีการอื่นได้หลายอย่างเพื่อป้องกันการสับสน เช่นการใช้

chem. lite (แท่งเรืองแสง) หรือการใช้รหัสผ่าน / สัญญาณผ่าน เป็นต้น

 


การปฏิบัติงานโดยชุด 2 คนเป็นพื้นฐานที่สำคัญเป็นปัจจัยที่จะมีผลต่อความสำเร็จของหน่วย การฝึกที่สมบูรณ์ควรจะเริ่มที่ชุด 2 คน จนเกิดความชำนาญปฏิบัติจนเป็นธรรมชาติ เพราะหากการปฏิบัติเพียง 2 คนขั้นพื้นฐานทำได้ไม่ดี เมื่อไปปฏิบัติเป็นชุดที่ใหญ่ขึ้นจะมีรายละเอียดที่มากขึ้นรวมทั้งอาจจะเกิดอันตรายระหว่างการฝึกได้ ดังนั้นผู้ควบคุมการฝึกจะต้องระมัดระวังในการฝึกที่รวดเร็วข้ามขั้นตอนจนเกินไป โดยไม่มีความจำเป็น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ตัวอย่างแบบฝึก การเข้ากวาดล้าง

การใช้ชุด 2 นาย กวาดล้างหลายห้อง             2 MAM TEAM MULTI-ROOM CLEARING

การใช้ชุด 4 นาย กวาดล้างห้องเดียว              4 MAM TEAM SINGLE ROOM CLEARING

การใช้ชุด 4 นาย กวาดล้างหลายห้อง             4 MAM TEAM MULTI-ROOM CLEARING

 

 

 

บทสรุป

                ในการรบประชิดนั้น ในสถานการณ์จริง ผู้ปฏิบัติจะต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่จะเกิดขึ้นตลอดเวลาอย่างรวดเร็ว , สิ่งกีดขวางตามธรรมชาติ ( เครื่องเรือน บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง )และ เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมักจะเกิดขึ้นเสมอ แบบฝึกนี้เป็นเพียงการฝึกขั้นต้นที่ทำให้เกิดความชำนาญ ในการปฏิบัติ และเมื่อทำการฝึกมากขึ้น ผู้ออกแบบการฝึกจะต้องพัฒนา ปัญหาการฝึกให้เหมาะสมต่อไป แต่พึงระลึกไว้เสมอว่าหาทำการฝึกที่ข้ามขั้นตอน จะเป็นผลเสียอย่างใหญ่หลวงกับผู้ปฏิบัติเอง อันตรายที่จะเกิดขึ้นจะมีมาก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สนามฝึกการประชิด

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาพอาคารฝึกรบประชิด ตัวอย่าง

 

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Hosted by www.Geocities.ws

1