เพียร์ทเพียร์โปรเซส (Peer-to-Peer Processes)

เมื่อพิจารณาจากรูปที่ 2.2 จะพบว่าแต่ละชั้นสื่อสารจะมีการสื่อสารกันทั้งระดับแนวนอนและแนวตั้งซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ มาตรฐานการสื่อสารของโพรโทคอลและมาตรฐานงานบริการตามลำดับโดยให้สังเกตคำว่า “โพรโทคอล (Protocol)” และ “บริการ (Service)” ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คำทั้งสองมีแนวคิดแตกางกัน แม้ว่าจะมีการนำไปใช้ปะปนกันอยู่บ่อยๆ ก็ตามโดยที่ มาตรฐานบริการ ในที่นี้คือ ชุดคำสั่งปฏิบัติงานที่เตรียมไว้เพื่อบริการชั้นสื่อสารที่อยู่เหนือกว่า และใช้ข้อมูลจากชั้นสื่อสารที่อยู่ต่ำกว่า (มองในลักษณะแนวตั้งหรือแนวดิ่ง) กล่าวคือ มาตรฐานบริการจะเกี่ยวข้องกับการอินเตอร์เฟชระหว่างชั้นสื่อสาร ในขณะที่ โพรโทคอลจะเกี่ยวข้องกับการสื่อสารบนชั้นสื่อสารเดียวกันระหว่างเครื่องต้นทางกับปลายทาง แต่การส่งแพ็กเก็ตข้อมูล จากโฮสต์ A ไปยังโฮสต์ B นั้น (มองในลักษณะแนวนอน) ใช่ว่าเป็นการสื่อสารถึงกันโดยตรงทั้งที่เข้าใจ กล่าวคือยังส่ง (โฮลด์ A) จะส่งผ่านข้อมูลจากชั้นสื่อสารบน สุดมายังชั้นล่างสุดจนกระทั่งถึงชั้นสื่อสารฟิสิคัลที่จะนำข้อมูลส่งผ่านลิงก์จริงๆ ไปยังฝั่งรับ (โฮสต์ B) ดังนั้น กระบวนการสื่อสารระหว่างต้นทางกับปลายทางของโพรโทคอลตั้งแต่ชั้นสื่อสารดาต้าลิงก็ขึ้นไป จะเป็นกระบวนการสื่อสารที่เรียกว่า เพียร์ทเพียร์โปรเซส (Peer-to-Peer Process) ซึ่งมิใช่เป็นการเชื่อมต่อถึงกันโดยตรงในทางกายภาพ แต่เป็นการเชื่อมต่อกันในเชิงตรรกะหรือลอจิตัลนั่นเอง