การปรับตัวขอวประชากรให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในภาคเหนือ
                     ๑.การตั้งถิ่นฐานของประชากร
                     การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนและการประกอบอาชีพของประชากรไทยที่อาศัยอยู่ตามภาคต่าง ๆ นั้น จะมีลักษณะ ที่แสดงให้เห็นถึงการรู้จักปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติและทางสังคมเป็นอย่างดี เพื่อให้ชีวิต ความเป็นอยู่ อยู่รอดมาด้วยดีโดยตลอดมา การกระจายตัวของของประชากรว่ามีอยู่หนาแน่นหรือเบาบางบริเวณใดก็ แสดงถึงการตั้งถิ่นฐานและอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วย
                     การกระจายตัวของประชากรและการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในภาคเหนือ ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ ดินและ แหล่งน้ำเป็นส่วนใหญ่ กล่าวคือบริเวณที่เป็นที่ราบหรือแอ่งแผ่นดินระหว่างภูเขาที่มีแม่น้ำลำธารไหลผ่านพาโคลนตม ตะกอนจากที่สูงมาทับถม ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะในการเพาะปลูกพืชผลชนิดต่าง ๆ มีทั้งพืชพรรณเมือง ร้อนและเมืองหนาว เพราะมีภูมิอากาศหนาวเย็นในฤดูหนาวโดยเฉพาะบนที่สูง ที่มีชาวเขาตั้งบ้านเรือนอยู่ ส่วนบริเวณที่ ราบที่มีดินอุดม แม้จะเป็นที่ราบแคบ ๆ ไม่กว้างขวางเท่าที่ราบในภาคกลาง แต่ก็มีผู้คนตั้งบ้านเรือนมาช้านานจนกลาย เป็นเมืองสำคัญต่าง ๆ ในภาคเหนือ เช่น เมืองเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน เมืองเชียงใหม่เป้นเมืองสำ คัญมากของภาคเหนือปัจจุบันนี้ มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ตลอดเวลา ในปัจจุบันปรากฎว่าจ.เชียงรายมีจำนวน ประชากรเกินล้านคน และกำลังกลายเป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยว ที่ขยายตัวขึ้นไปทางเหนือสุดประเทศ และอาจ ต่อเข้าไปถึงเขตสาธารณรัฐประชาชนจีนตอนใต้
                     ส่วนบริเวณภูเขา ที่สูงหรือพื้นที่ที่ติดชายแดนและเต็มไปด้วยป่าเขาทุรกันดาร ห่างไกลเส้นทางคมนาคม เช่น ใน จ.แม่ฮ่องสอน น่าน จะมีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง ถ้าเส้นทางคมนาคมสะดวกขึ้น ก็จะได้รับการส่งเสริมให้เป็นแหล่ง ท่องเที่ยว จะทำให้ทีผู้คนเข้าไปท่องเที่ยวและตั้งถิ่นฐานกันมากขึ้น
                     ๒.อาชีพสำคัญของประชากร
                     อาชีพสำคัญของประเทศในภาคเหนือแสดงให้เห็นความสามารถในการปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ทางภูมิประเทศและภูมิอากาศของภาคนี้เช่นกัน เนื่องจากภาคเหนือมีลักษณะภูมิประเทศที่มีทิวทัศน์สวยงาม เต็มไปด้วย ป่าเขา น้ำตก และมีลักษณะภูมิอากาศเย็นสบายกว่าภาคอื่น ๆ ประชากรทั้งชาวเมืองและชาวเขามีขนบประเพณีเก่าแก่ แม้จะตั้งถิ่นฐานมาช้านาน ก็ยังรักษาวัฒนธรรมอันดีงามของตนไว้ จึงทำให้ภูมิภาคนี้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจสำคัญ ของประเทศ โดยเฉพาะเมืองเชียงใหม่ได้กลายเป็นเมืองสำคัญที่เป็นที่รู้จักกันอย่างมากทั่วโลก เป็นแหล่งศูนย์กลางการ ท่องเที่ยวของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาชีพต่าง ๆ ที่นำรายได้มาสู่ภูมิภาคนี้ที่สำคัญ คือ
                     - อาชีพด้านการเกษตร ได้แก่ การเพาะปลูก การทำไร่ ทำนา รวมทั้งการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นอาชีพดั้ง เดิม ที่มีทำกันตามพื้นที่ราบระหว่างภูเขา ที่มีดินอุดมสมบูรณ์มีแหล่งน้ำใช้ทั่วไป ทำให้บางบริเวณสามารถปลูกข้าวทำนา ถึงปีละ ๒ ครั้ง เนื่องจากประชากรมีจำนวนมากขึ้น ทั้งผู้คนที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานใหม่และนักท่องเที่ยวที่เพิ่มจำนวนมาก ขึ้นทุกปี ทำให้ต้องเพิ่มการผลิตอาหารส่งตามโรงแรม ร้านค้ามากขึ้น มีการปลูกพืชผัก ผลไม้เมืองหนาวที่เจริญเติบโต ได้ในภาคเหนือที่มีอากาศหนาวเย็น เพื่อเป็นตลาดสำหรับชาวต่างประเทศ อาทิ สตอเบอรี่ ลิ้นจี่ ลำไย ส้มและผัก ไม้ผล ไม้ดอก ที่มีปริมาณมากพอที่จะส่งไปยังตลาดใกล้เคียงในกรุงเทพฯ และตลาดต่างประเทศอีกด้วย ทำให้ชาวเมืองและ ชาวเขามีรายได้เพิ่มมากขึ้น
                     - อาชีพการทำป่าไม้ การใช้ช้างลากจูงไม้ก็นับว่าเป็นอาชีพดั้งเดิมที่สืบเนื่องจากการที่ภาคเหนือมีสภาพภูมิ ประเทศที่อุดมด้วยป่าไม้นานาชนิด ทั้งไม้สักและไม้มีค่าอื่น ๆ ที่นามาใช้ปลูกสร้างบ้านเรือนในสมัยแรก ๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่น ฐาน ทำเครื่องใช้ เช่น พวกไม้แกะสลัก เครื่องเขิน ในสมัยหลังเมื่อมีผู้คนเพิ่มมากขึ้นก็มีการทำลายป่าเพื่อขยายพื้นที่เพาะ ปลูก รุกล้ำป่าสงวนอุทยานแห่งชาติ รุกล้ำพื้นดินป่าเขาธรรมชาติ ก่อให้เกิดเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องแก้ไขอย่างรีบด่วน
                     - อาชีพการเลี้ยงสัตว์ มีทั้งการเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้งาน เช่น ช้าง เลี้ยงเพืออุตสาหกรรมป่าไม้ ชักลากไม้จากที่ สูงออกจากป่าสู่ลำธาร ลำห้วยและใช้ช้าง ลา ล่อ โค เพื่อเป็นยานพาหนะขนส่ง เพราะไม่มีทางน้ำสะดวกเหมือนภาคกลาง สัตว์ โค สุกร เป็ดและไก่ ใช้เป็นอาหารสำคัญ ในปัจจุบันช้างได้กลายเป็นสัตว์สำคัญนำมาแสดงให้นักท่องเที่ยวชมอีกด้วย
                     - อาชีพการทำเหมืองแร่ ภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขา หุบเขา มีโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่เต็มไปด้วยแหล่ง แร่ ทั้งแร่โลหะ เช่น ดีบุก วุลแฟรม เงินและแร่อโลหะพวกฟลูออไรต์ใน จ.ลำพูน เชียงใหม่ หิน กรวด ทราย ตามลุ่มน้ำ เช่น ในแม่น้ำกก ที่ถูกนำมาใช้มากในปัจจุบัน และแร่เชื้อเพลิงพวกลิงไนต์ เช่น ที่แม่เมาะ จ.ลำปาง ทำให้ประวชากรชาว เหนือรู้จักนำแร่เหล่านี้มาใช้ประโยชน์มาช้านาน เช่น การทำเครื่องประดับเงินของชาวเขา การทำเครื่องใช้พวกขัน ถาดเงิน ของชาวเมือง เหล่านี้เป็นต้น และในปัจจุบันก็มีการทำเหมืองแร่ในเชิงการค้า เช่น การทำเหมืองลิกไนต์ที่ อ.แม่เมาะ ใน จ.ลำปาง เหมืองแร่เหล็กฟลูออไรต์ ที่ อ.แม่ลาน้อย อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
                     - อาชีพการอุตสาหกรรม ได้แก่
                     - อุตสาหกรรมพื้นเมือง ภาคเหนือมีชื่อเสียงในด้านหัตถกรรม หรือ อุตสาหกรรมพื้นเมืองมาช้านาน ซึ่งเป็น อุตสาหกรรมขนาดย่อมที่นิยมทำกันภายในครัวเรือน เช่น การทำเครื่องเขิน เครื่องเงิน การแกะสลัก การทำร่มกระดาษ การทำเสื้อผ้าสำเร็จรูป การทอผ้าฝ้าย ผ้าไหม เครื่องปั้นดินเผา สำหรับเป็นขอวที่ระลึก เพื่อจำหน่ายให้แก่บรรดานักท่อง เที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
                     - อุตสาหกรรมสมัยใหม่ หรืออุตสาหกรรมโรงงาน ยังขยายตัวไม่มากในภาคเหนือ ส่วนมากเป็นโรงงานที่ ผลิตวัตถุสำเร็จรูปจากผลิตผลการเกษตรกรรมพื้นเมือง เช่น โรงบ่มยา โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป
                     - อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ปัจจุบันอุตสาหกรรมขั้นที่สามที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้านบริการท่องเที่ยว โรงแรม และการขนส่งได้ขยายตัวมากขึ้น เนื่องมาจากภาคเหนือเป็นภาคที่มีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวมากมาย คือ มีทิวทัศน์ ธรรมชาติอันสวยงาม มีโบราณสถานหลายแห่ง และประชากรยังคงรักษาวัฒนธรรมเก่าแก่ของตนไว้ จึงเป็นสิ่งดึงดูด ใจให้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางไปท่องเที่ยวกันมากมายในแต่ละปี โดยเฉพาะเชียงใหม่ เชียง ราย ลำปาง แม่ฮ่องสอน ได้มีโอกาสพัฒนาบ้านเมืองเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวช่วยทำให้เกิด อาชีพต่าง ๆ ที่ชาวเมืองและชาวเขามีความชำนาญอยู่แล้ว ให้เจริญเติบโตยิ่งขึ้น เช่น อาชีพศิลปหัตถกรรมด้านแกะสลัก จักสาน ทำร่ม ทำของที่ระลึก เครื่องเงิน เครื่องเขิน มีอยู่แทบทุกตำบล รวมทั้งอาชีพที่เกิดใหม่ เช่น การบริการให้ความ สะดวกแก่นักท่องเที่ยว ได้แก่ กิจการเกี่ยวโรงแรม มัคคุเทศน์ ร้านค้าของที่ระลึก
กลับหน้าแรก
Hosted by www.Geocities.ws

1