การรวมสัญญาณแบบแบ่งความถี่(Freqency Division Multiplex:FDM)



          การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ หรือแบบFDM จะใช้เทคนิคแบบอะนาล็อกที่เกี่ยวของกับแบนด์วิธของลิงค์หรือสื่อกลางส่งข้อมูลเป็นสำคัญโดยสัญญาณต่างๆจะถูกสร้างขึ้นจากแต่ละสถานีส่งด้วยการมอดูเลตกับสัญญาณพาหะ ให้มีความแตกต่างกันบนสื่อกลาง กล่าวคือ แบนด์วิธของลิงค์จะมีการแบ่งส่วนเป็นย่านความถี่ย่อย ให้เพียงพอกับแบนด์วิธที่มีอยู่ อย่างไร็ตาม แต่ละแชนแนลก็จะมีแบนดืวิธที่ไม่ได้ถูกใช้ที่เรียกว่า Guard Band เพื่อป้องกันไม่ให้แต่ละแชนเนลเกิดการแทรกแทรงสัญญาณระหว่างกัน

           ตัวอย่างการมัลติเพล็กซ์แบบ FDM เช่นการส่งสัญญาณคลื่นวิทยุกระจายเสียง AM ซึ่งแบนด์วิธของคลื่น AM ปกติจะอยู่ในช่วงความถี่ 500 - 1500 KHz นั่นหมายถงแบนด์วิธจริงๆ จะมีเพียง 1000 KHz โดยสมมติว่าแต่ละสถานีมีความต้องการแบนด์วิธประมาณ 5 KHz ในการส่งสัญญาณ ดังนั้นเราจึงสามารถกระจายเสียงสถานีแต่ละสถานีด้วยคลื่นวิทยุ AM ได้มากถึง 200 สถานี ด้วยการส่งผ่านสเปกตรัมคลื่นวิทยุ AM ในอากาศซึ่งเป็นช่องสัญญารเดียวกันได้ โดยใช้เทคนิค การมอดูเลตกับสัญญาณพาหะที่มีความถี่แตกต่างกัน โดยแต่ละคลื่นความถี่ที่ส่งผ่านช่องสัญญาณ จำเป็นต้องมี Guard Band เพื่อป้องกันการรบกวนกันระหว่างสถานีข้างเคียง โดยสถานีส่งจะมีอุปกรณ์มัลติเพล็กเซอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นทั้ง MUX และ DEMUX ในตัว จะรับสัญญาณข้อมูลจากสถานีส่งแต่ะสถานี และส่งสัญญาณไปยังแต่ละแชลแนลผ่านลิงค์เพื่อไปยังปลายทาง ในขณะที่สถานีปลายทางจะมีอุุปกรณืที่เรียกว่าดีมัลติเพล็กเซอร์ ที่ทำหน้าที่แยกสัญญาณกลับคืน เพื่อส่งออกไปยังจุดหมายปลายทางต่อไป โดยสื่อนำสัญญาณที่นำมา ใช้สามารถเป็นสายเคเบิล หรือคลื่นวิทยุก็ได้ เทคโนโลยีที่นำเทคนิคการมัลเพล็กแบบ FDM มาใช้ เช่น การกระจายคลื่นวิทยุ/โทรทัศน์ ระบบเคเบิ้ลทีวี และระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบอะนาล๊อก



การรวมสัญญาณอะนาล๊อก ด้วยสัญญาณ carrier 3 ความถี่ผลลัพท์ที่ได้เป็นสัญญาณ composite ส่งไปในตัวกลาง



การแยกอะนาล๊อก ด้วยสัญญาณ filter 3 ความถี่ผลลัพท์ที่ได้เป็นสัญญาณอะนาล๊อก ต้นฉบับส่งไปยังผู้รับปลายทาง



อุปกรณ์มัลติเพล็กเซอร์








>>กลับหน้าแรก<<